coach

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21

essential learning
essential learning

วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ ในศตวรรษที่ 21 โดย
ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์

หลังฟังแล้วก็นำมาเล่าสู่กันฟัง
ว่า นอกจากความรู้ในสาระวิชาหลัก มีสิ่งที่ต้องรู้ยังมีอีกมากมาย
แต่ที่ชอบในแนวคิดนี้อย่างมาก คือ การมีทักษะสำคัญ 3 ด้าน
1. ทักษะชีวิตและการทำงาน คือ การปรับตัว รับผิดชอบ และเป็นผู้นำ
2. ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม คือ มีวิจารณญาณ แก้ปัญหาเป็น และสื่อสารได้
3. ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี คือ ประเมินสารสนเทศได้ ใช้ไอทีเป็น
ทักษะที่ 3 ต้องชวนดูซีรี่เรื่อง CSI : Cyber ตอบได้ครบ (พึ่งดูมาครับ ยังไม่จบเลย)


ในอดีต
รับความรู้เยอะ ๆ แล้วก็ท่องเยอะ ๆ เคยใช้ได้

แต่ยุคสมัยนี้
มอบความรู้ตรง ๆ ใช้ไม่ได้ผล
เค้าเน้นให้สอนเรื่องสำคัญ (Essential)
แล้วนำความรู้ไปต่อยอดเอง ความรู้จะงอกขึ้นมา (Teach less, Learn more)
เดี๋ยวนี้ต้องเปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้ (Knowledge)” ไปสู่ “ทักษะ (Skill)
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก มาเอานักเรียนเป็นหลัก (Child Center)
เรียนด้วยการปฏิบัติจริง เรียก Project Base Learning
เป็นการฝึกให้เด็กทำโครงงาน แล้วครูเป็นโค้ช ช่วยเหลืออยู่ข้าง ๆ
แล้วได้ฝึกนำเสนอ ทำงานเป็นทีม แลกเปลี่ยนเพื่อต่อยอดเป็นความรู้ของตนเอง
ครูต้องเป็นครูฝึก (Coach) ที่ฝึกให้นักเรียนทำงาน และบรรลุ
แล้วนักเรียนเกิดแรงบันดาลใจ (Inspiration)
ครูต้องมีทักษะในการสร้างแรงบันดาลใจ มีพลัง มีไฟ มีชีวิตชีวา ไม่มีกรอบ
การเรียนยุคใหม่ไม่สนใจคำตอบ (Answer) แต่สนใจกระบวนการหาคำตอบ (Process)
โจทย์ข้อหนึ่งมี คำตอบมากมาย การให้เด็กร่วมกันหาคำตอบ (A question has many answers.)
เราจึงสนใจกระบวนการที่เด็กทำงานร่วมกัน (Team work)
นักเรียนทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ (Development)
การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้ (Increase experience by homework)
การบ้านสมัยใหม่ คือ การบ้านทั้งปี เรียนเป็นทีม ปลายปีแสดงละคร (Drama)
สมัยนี้ความรู้มหาศาล จนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงต้องมี PLC (Professional Learning Community)
เพื่อครูรวมตัวกันเรียนรู้การออกแบบการสอนที่เหมาะสมของแต่ละที่ เป็น “ชุดการเรียนรู้ครู
เป็นชุมชนการเรียนรู้ ให้ครูมีทักษะการเรียนรู้ เพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรณที่ 21
PLC ไม่ใช่ทำครั้งเดียว แต่ต้องทำอย่างต่อเนื่อง จะได้ผลกว่า

เรื่องของ ทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
อยู่ใน คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557
หน้า 69
โดย สกอ. หวังว่าหลักสูตรจะจัดให้มีการสร้างโอกาสการเรียนรู้
ที่ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพนักศึกษา และทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
ให้ได้มาตรฐานสากล

โค้ชสู่ผู้เล่น…. นิเทศฯบนสนามดิจิทัลทีวี

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน
! http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสาร มวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบ การบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2472