บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

ไซเบอร์โฮมหนุนการศึกษาไทยจริงหรือ (itinlife390)

game addiction
game addiction

มีนักวิชาการกล่าวถึงวิธีการแก้ปัญหาขาดแคลนครูในหลายโรงเรียนของไทย เพราะปัจจุบันมีโรงเรียนที่ไม่มีครูเลย บางโรงเรียนมี 1 คน ซึ่งสถิติในภาพรวมของประเทศมีอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนประมาณ 1 ต่อ 20 ซึ่งมีความเหมาะสม แต่มีปัญหาที่การกระจายครู พบว่า บางพื้นที่ก็กระจุก บางทีก็ไม่มีเลยสักคน แต่มีนักเรียนรอเรียนหนังสืออยู่ ประกอบกับความต่อเนื่องของนโยบายแท็บเล็ตพีซีที่จะมาเป็นปีที่สอง หนุนด้วยการขยายพื้นที่บริการวายไฟร์ (Wi-Fi) และอินเทอร์เน็ตฟรีของกระทรวงไอซีที ล้วนสนับสนุนคำว่าไซเบอร์โฮม (Cyber Home) ให้เป็นจริง

เมื่อมองการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเด็กไทย ก็พบรายละเอียดในข่าวการจัดงานแข่งเกมออนไลน์เมื่อปลายมีนาคม 2556 ที่ให้ข้อมูลว่ามีคนไทยที่เข้าเกม Hon เดือนละเกือบ 2 ล้านคน โดยเกม Hon กับเกม Point Blank มีสัดส่วนในร้านเน็ตกว่าร้อยละ 80 ซึ่งสถิตินี้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่าเด็กไทยเข้าถึงโลกไซเบอร์ได้มากจนบริษัทเกมเลือกประเทศไทยเป็นเวทีหนึ่งในการจัดการแข่งขันของเกมเมอร์ (Gamer) แต่ทำไมเมื่อต้องแข่งขันทางวิชาการกลับพบว่าคะแนนอยู่รั้งท้ายของโลก เมื่อสพฐ.จัดสอบ National Test (NT) โดยใช้แนวข้อสอบแบบ PISA พบว่าด้านเหตุผลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าด้านคำนวณและด้านภาษา แล้วไปพบหนังสั้นเรื่องหนึ่งที่ฉายภาพว่าคุณครูยืนสอนอยู่หน้าชั้น แต่นักเรียนก็เปิดเฟซบุ๊คและเล่นเกมออนไลน์ อาจเป็นบรรยากาศที่ครูปล่อยให้นักเรียนเลือกเรียนรู้ด้วยตนเองมากเกินไป การใช้อินเทอร์เน็ตผิดวัตถุประสงค์แบบไม่ถูกที่ถูกเวลา โดยเฉพาะในขณะที่ครูกำลังพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการเพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยมีศักยภาพในการแข่งขันด้านการศึกษาไม่เป็นไปตามคาด

ที่น่าเป็นห่วงคือการขยายโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของภาครัฐไปสู่ครัวเรือน แม้จะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะทำให้ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการนี้ได้ แต่ถ้าวันนั้นมาถึงก็จะมีคำถามว่ายังมีเด็กติดเกมอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่าอินเทอร์เน็ตเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้การศึกษาล้มเหลว เพราะเด็กติดเกมก็จะไม่ใส่ใจกับการเรียน แต่จะอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เล่นเกมในโลกไซเบอร์ทั้งวันทั้งคืน พฤติกรรมที่แต่งชุดนักเรียนออกบ้านไปร้านเกมก็จะเกิดขึ้นน้อยลง เพราะไซเบอร์โฮมก็เหมือนย้ายร้านเกมไปอยู่ที่บ้าน ส่วนโรงเรียนก็คงจะตั้งอยู่ที่เดิมต่อไป

http://suite101.com/article/video-game-addiction–how-much-video-gaming-is-too-much-a279998

 

ดันไซเบอร์โฮม (Cyber home) ส่งไอซีทีถึงบ้าน

ict กับ child
ict กับ child

 

cyber home จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครู
เด็ก ๆ จะได้เรียนผ่านอินเทอร์เน็ต เรียนผ่านอีเลินนิ่ง
เรียนแบบ child center


“ภาวิช” แจงช่วยแก้คุณภาพครู สสค.ชี้ไทยเผชิญปัญหาแก่-จน-โง่

http://www.thairath.co.th/content/edu/335714

จากการเสวนาวิชาการนานาชาติด้านการศึกษาและประชุมปฏิบัติการเพื่อการปฏิรูปหลักสูตร โดยสำนัก งานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) องค์การยูเนสโก และคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร ศ.(พิเศษ) ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตร ศธ. กล่าวว่า หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ใช้อยู่ปัจจุบันใช้มานานกว่า 12 ปี ศธ.จึงต้องปรับให้สอดรับกับโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยเน้นหลักสูตรที่นำไปสู่การปฏิบัติ ทั้งข้อมูลจาก สสค.พบว่า คนกว่า 70% ของประเทศไม่ได้เรียนต่ออุดมศึกษาและต้องเข้าสู่ตลาดแรงงาน ดังนั้น การศึกษาพื้นฐานจึงไม่ควรตอบสนองเพียงแค่เด็กที่เข้าสู่อุดมศึกษา แต่ต้องรวมถึงเด็กกลุ่มใหญ่ของประเทศ และหลังจากที่รัฐบาลปฏิรูปหลักสูตรแล้ว ก็จะปฏิรูปครูต่อ เพราะพบการผลิตครูที่มีจำนวนมากแต่กระทบต่อคุณภาพและการมีงานทำ โดยปัจจุบันเรามีผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู ถึง 1 ล้านคน และเป็นครูอยู่ในระบบ 600,000 คน หรือครู 1 คน ต่อนักเรียน 19 คน ซึ่งเป็นอัตราส่วนที่เหมาะสม แต่ปัญหาคือความล้มเหลวของการกระจายครู ทำให้ขาดแคลนครูบางพื้นที่ หากมีระบบไอซีทีที่ดีก็จะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนครูที่มีคุณภาพ ศธ.จึงกำลังเสนอให้รัฐบาลขับเคลื่อนระบบไอซีที จัดทำระบบไซเบอร์โฮม เพื่อใช้ไอซีทีที่เข้าถึงทุกบ้าน

ด้าน ดร.กฤษณพงศ์ กีรติกร รองประธานคณะกรรมการ สสค. คนที่ 2 กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องนำไปสู่การปฏิรูปประเทศไม่ใช่แค่ปฏิรูปเพื่อการศึกษา เพราะประเทศไทยกำลังเผชิญสถานการณ์ 3 ด้านคือ “แก่ จน และโง่

1. ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมวัยชรา สิ่งที่เห็นขณะนี้คือโรงเรียนร้างและการยุบรวมโรงเรียน และอีก 10 ปีข้างหน้าจะเห็น ร.ร.อาชีวะร้าง

2.ความยากจน

3. ระดับการศึกษาแรงงานไทยที่ต่ำกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น การศึกษาไทยต้องส่งเสริมให้วัยแรงงานได้ศึกษาต่อเพื่อพัฒนาฝีมือแรงงาน ใช้โรงเรียนที่ว่างอยู่เป็นที่ฝึกอาชีพ.

http://www.thairath.co.th/content/edu/335714

http://variety.n108.com/view/%E0%B8%84%E0%B8%B3%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B9%81%E0%B8%95%E0%B8%81-%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B6%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A1%E0%B8%AA%E0%B9%8C-80.html

เกมออนไลน์ชื่อดัง HON และ Point Blank ตั้งเป้านักเรียน-นักศึกษา

 

ภาพจาก Neolution E-Sport
ภาพจาก Neolution E-Sport

30 มี.ค.56 ผู้จัดงาน Garena Star League 2013 จัดแข่งประชัน 2 เวทีเกมออนไลน์ชื่อดัง HON และ Point Blank ตั้งเป้านักเรียน นักศึกษา ชมงานกว่า 5 หมื่นคน เล็งขยายพื้นที่จัดงานครั้งหน้าอีกเท่าตัว รองรับเกมเมอร์ (Gamer) จากการสำรวจยังพบว่าทั้ง 2 เกม เป็นเกมที่มีสัดส่วนการเล่นกว่า 80% ของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะเกม HON ที่มีผู้เล่นแอคทีฟกว่า 2 ล้านคนต่อเดือน

นายสกลกรณ์ สระกวี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร Playinter และ Garena ผู้จัดงาน Garena Star League 2013 เปิดเผยว่า การจัดงาน Garena Star League 2013 ถือเป็นครั้งแรกที่บริษัทขยายไลน์การจัดงานมาเป็นงานใหญ่จากที่เคยเข้าร่วมกับงานเกมประจำปีมาก่อนหน้านี้ โดยการจัดงานครั้งนี้บริษัทใช้งบประมาณทั้งหมดราว 15 ล้านบาท เพื่อจัดแข่งขันหาผู้ชนะใน 2 เกมที่ได้รับความนิยมอย่างมากในประเทศไทยคือ Hero of Newerth (HON) และ Point Blank ซึ่งเป็นเกมแนววางแผน โดยมีผู้แข่งขันที่เป็นนักกีฬาอี-สปอร์ต จาก 9 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย รัสเซีย สหรัฐอเมริกา ยุโรป จีน และไทย เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อหาผู้ชนะในเกม HON ซึ่งทีมผู้ชนะจะได้รับรางวัลกว่า 9 แสนบาท ส่วนทีมผู้ชนะเกม Point Blank จะได้รับรางวัลราว 2 แสนบาท

สำหรับเป้าหมายการจัดงานในครั้งนี้ บริษัทคาดว่าจะมีผู้สนใจเข้าร่วมงานเกิน 5 หมื่นคน โดยเน้นกลุ่มผู้เข้าร่วมงานเป็นนักเรียนนักศึกษา และหวังให้เกิดการผลักดันวงการอี-สปอร์ตอย่างเต็มรูปแบบในประเทศไทย โดยบริษัทมั่นใจว่าการจัดงานในครั้งนี้เป็นการจัดงานที่ถือว่ายิ่งใหญ่ที่สุดงานหนึ่งในประเทศไทย นอกจากนี้ บริษัทยังวางแผนขยายพื้นที่การจัดงานในครั้งต่อไปให้ใหญ่กว่าการจัดงานในครั้งนี้อีกว่าเท่าตัว โดยคาดว่าจะแบ่งพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน คือ เวทีจัดการแข่งขันและโซนจำหน่ายสินค้าต่างๆ โดยเฉพาะอุปกรณ์การเล่นเกมออนไลน์ เพื่อรองรับความต้องการของผู้เข้าร่วมงาน

นายสกลกรณ์ กล่าวอีกว่า กระแสความนิยมเกม HON และ Point Blank ในประเทศไทยถือเป็นเกมออนไลน์ 2 เกมที่มีผู้เล่นจำนวนสูงสุดในปัจจุบัน โดยเฉพาะเกม HON ที่มีผู้เล่นแอคทีฟกว่า 2 ล้านคนต่อเดือน ส่วนเกม Point Blank ถือเป็นเกมออนไลน์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 2 นอกจากนี้ จากการสำรวจยังพบว่าทั้ง 2 เกม เป็นเกมที่มีสัดส่วนการเล่นกว่า 80% ของร้านอินเทอร์เน็ตคาเฟ่ทั่วประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้งาน Garena Star League 2013 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30-31 มีนาคม 2556 ณ ไบเทค บางนา ฮอลล์ 103 ตั้งแต่ 10.00-21.30 น. โดยนอกจากกิจกรรมการแข่งขันเกม HON และ Point Blank ภายในงานดังกล่าวยังมีการจำหน่ายอุปกรณ์สำหรับการเล่นเกมออนไลน์และสินค้าต่าง ๆ

หนังสั้นสุจิปุลิ
http://www.youtube.com/watch?v=tvrwxbuDNeY

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=503350609701978&set=a.172813332755709.30332.164000793636963
http://download.online-station.net/view/g/1101
http://gamerdb.online-station.net/hon
http://www.thairath.co.th/content/tech/335851

 

อีกก้าวของ GIS จังหวัดลำปาง

ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม

 

quantum gis
quantum gis

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.443766532367104.1073741851.22824543725254

 

นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน
นายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง ร่วมประชุมคณะทำงานพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) โดยมีนายศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธาน เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS) จังหวัดลำปาง โดยมีหัวหน้างานจังหวัดลำปางเป็นประธานคณะทำงาน, สถิติจังหวัดลำปางเป็นรองประธานคณะทำงาน เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ความสามารถและประสบการณ์ใช้ระบบสารสนเทศภูมิทัศน์ศาสตร์ (GIS) เป็นคณะทำงาน และหัวหน้ากลุ่มงานข้อมูลสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานจังหวัดลำปาง เป็นคณะทำงานและเลขานุการ ณ ห้องประชุม POC ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดลำปาง เมื่อวันศุกร์ ที่ 29 มีนาคม 2556

 

28 มี.ค.56 ในการประชุมเรื่อง GIS คุณถาวร จันทร์ต๊ะ ได้นำเสนอการใช้โปรแกรม Quantum GIS ของ nectec ที่ map แผนที่ 1 ต่อ 4000 ส่วนทีมของสำนักงานสาธารณสุขนำเสนอโปรแกรม JHCIS ซึ่งใช้ระบุตำแหน่งบ้านที่มีผู้ป่วยเป็นโรคต่าง ๆ ทำให้มีฐานข้อมูลสำหรับติดตามผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การลงข้อมูลก็สามารถดำเนินการได้ไม่ยากนักคล้ายกับการปักหมุดของ google map และ export ออกมาเป็น excel เพื่อส่งไปใช้ในโปรแกรมอื่น ๆ ได้

ในที่ประชุมได้พูดถึงการลงข้อมูลเดิมไว้ ผ่านโปรแกรม ARCView หรือ ARCInfo แต่ก็ไม่มีรายละเอียดในระหว่างการประชุมมากนัก เพราะก้าวต่อไปคือการนำเสนอประเด็นผู้สูงอายุ กับผู้พิการผ่านเว็บเบส ทำให้มีประเด็นที่ค่อนข้างหลากหลายในเวลาที่จำกัด

 

jhcis
jhcis

มีประเด็นที่พอสรุปได้เบื้องต้น
1. จัดทำความร่วมมือระหว่างจังหวัดกับกระทรวงที่เกี่ยวข้อง
2. ประสานพื้นที่ ทำความเข้าใจและลงข้อมูลผ่าน JHCIS
3. กำหนดข้อมูลแผนที่สำหรับจัดทำ GIS ให้ชัดเจน
ในระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้านว่าจะใช้แผนที่จากหน่วยใด

 

http://www.nonpordang.com/new/thread-139-1-1.html

GIS for JHCIS on mobile version 1.0.0
http://www.nonpordang.com/ftp/gis/mgis_2013_02_24_1_0_0.zip

ผมสนใจเรื่องทำแผนที่มานานแล้ว แต่ก็ไม่ได้ลงไปในรายละเอียด วันนี้ได้พบผู้รู้ นักวิชาการ ผู้ลงมือปฏิบัติ และผู้กำหนดนโยบายในหลายระดับ ทำให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้นมาก
+ http://www.thaiall.com/map

 

เก็บตก
วันศุกร์ที่ 15 ก.พ.56
ราว 11 โมง ไปประชุมถอดบทเรียนเครือข่ายมหาวิทยาลัยลำปาง มีท่านรองผู้ว่าศุภชัย เอี่ยมสุวรรณ และผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม แล้ววันศุกร์ที่ 28 มี.ค.56 ราว 11 โมงเช่นกัน ไปประชุมเรื่องพัฒนาระบบ GIS กับ 2 ท่านเดิม ปรากฎว่าไฟฟ้าดับทั้ง 2 ครั้งที่ไปประชุม น่าจะเป็นอุบัติเหตุครับ

 

Download
Quantum GIS : http://www.qgis.org
JHCIS : http://www.jhcis.net

 

15ก.พ.56 ประชุมวิจัย
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=599537473393721&set=a.598908416789960.144219.506818005999002
http://www.facebook.com/photo.php?fbid=599731393374329&set=a.598908416789960.144219.506818005999002

เตรียมตัวอย่างไร ถ้าจะกลายเป็นชาวอาเซียน

ตอนนี้หากคนถามว่าอาเซียนคืออะไร แล้วทำหน้างง ๆ สงสัยจะต้องหลุดกระแส ยิ่งผู้นำประเทศมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาชูประเด็นการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ
! http://bit.ly/Yclnyq

ภควัต สมิธธ์
ภควัต สมิธธ์

ทั้งโลกยิ่งตื่นเต้นกับคำว่า Change (เปลี่ยน) คลื่นความใหม่ของแนวคิดย่อโลกด้วย Cyber Network จึงทำให้คำว่า เปลี่ยน มีความชัดเจนมากขึ้น ประสบการณ์ท่องเที่ยวภาคเหนือของผม บ่งบอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากการย่อโลกด้วยการติดต่อสื่อสารผ่านระบบสังคมออนไลน์ ทำให้ความเชื่อ ความคิด และพฤติกรรมของบุคคลเปลี่ยนไปตามประสบการณ์ที่พบเห็น และได้สื่อสารกับคนในสังคมที่ต่างทั้งภาษาและวัฒนธรรม ลองนึกถึงเวลาไปเที่ยวดอยแล้วพบคนพูดสำเนียงชาวเขาที่สวมยีนส์ คู่กับรองเท้าผ้าใบยี่ห้อดังแบบนักบาสเกตบอล ก็เกิดความคิดที่ว่า เราไม่สามารถหยุดโลกได้ แต่เราจะใช้ประโยชน์อย่างไรกับการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้น

การรวมกลุ่มของประเทศอาเซียนมีพื้นฐานแนวคิดมาจากการรวมกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป การใช้ค่าเงินเดียวกัน ข้อตกลงทางการค้าเดียวกัน การแลกเปลี่ยน เคลื่อนย้ายแรงงาน และการศึกษาแบบเสรี ฟังดูดีและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เมื่อได้ยินบางกระแสที่ไม่เห็นด้วยกับการรวมอาเซียน โดยคิดไปว่าการรวมกลุ่มจะทำให้ประเทศไทยหายไป ภาษา วัฒนธรรม เอกลักษณ์จะโดนชาติที่เจริญอย่างสิงคโปร์กลืนความเป็นไทย ในทางกลับกันมองได้ว่า แนวคิดเรื่องอาเซียนไม่ได้ต้องการให้ทุกประเทศกลายเป็นประเทศเดียวกัน หากแต่มองเรื่องศักยภาพของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกัน จะสามารถเติมเต็มความสมบูรณ์ให้กันและกันได้ โดยเรียกพวกเราทั้งหมดว่าอาเซียน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ในภูมิภาคว่า เรามีแนวทางการค้า การลงทุน การดำเนินชีวิตคล้ายคลึงกัน และเราจะช่วยกันดูแลผลประโยชน์ของภูมิภาคบนพื้นฐานของกฎเกณฑ์ที่ยอมรับร่วมกัน

คนไทยมีหลายแนวคิด บ้างอนุรักษนิยม บ้างสมัยใหม่นิยม บางคนมีเพื่อนเยอะแต่กลับไม่ถูกคอกับคนข้างบ้าน เราชอบแข่งกับคนข้างบ้านแต่ญาติดีกับคนที่อื่น ถ้าเขาซื้อรถใหม่เราจะอารมณ์เสีย แล้วเวลาโจรจะปล้นบ้าน หรือในยามเจ็บป่วย คนที่ไหนจะช่วยเรา ผมอยากให้เราลองมองย้อนไปในอดีตว่า ความคล้ายคลึงของพวกเราชาวอาเซียนมีมากมาย เรากินข้าว เราเคารพผู้ใหญ่ เราเก่งเกษตรกรรม เราเด่นศิลปะ เราอุดมสมบูรณ์ ส่วนความขัดแย้งที่ผ่านมาไม่ได้เกิดโดยประชาชนของประเทศนั้นๆ เพียงแต่เป็นเรื่องของโอกาสทางการเมือง การปกครอง แนวคิดของผู้นำ การขยายดินแดน ซึ่งเป็นลักษณะพื้นฐานของการอยู่รอดแบบสมัยอดีต แต่ปัจจุบันเรารู้จักกัน เราสื่อสารกัน เราค้าขายกัน เราสามารถใช้ประโยชน์จากความคล้ายคลึงให้เป็นจุดแข็งในการต่อสู้ทางเศรษฐกิจกับภูมิภาคอื่น เช่น การทำให้อาเซียนเป็นฐานการผลิตอาหารและการเกษตรของโลก เพราะเราปลูกข้าว เรามีพืชผักผลไม้ อาหารทะเล สมุนไพรที่มีประโยชน์ เรามีฝีมือ นอกจากนั้นชาวอาเซียนมีอุปนิสัยเป็นมิตร ชอบต้อนรับ เราสามารถเป็นฐานการท่องเที่ยวหลากหลายรูปแบบที่ทำรายได้มหาศาลในแต่ละปี

ประชาชนของทุกประเทศสมาชิกอาเซียนจะต้องปรับตัวปรับใจ เพื่อยินยอมเป็นสมาชิกที่แท้จริงของอาเซียน ไม่ใช่แค่พูดถึงแล้วผ่านไป ต้องสร้างความรู้สึกการเป็นเจ้าของร่วมกัน ประมาณว่าร่วมกันเป็นหุ้นส่วน ชาวอาเซียนต้องฝึกฝนตนเองในการรับรู้ข่าวสารประเทศเพื่อนบ้าน ฝึกการใช้ภาษาอังกฤษอย่างน้อยก็ฝึกอ่านข่าวสั้นๆ จากหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ ยอมรับในความเป็นตัวตนของกันและกัน รับฟังความคิดเห็น แลกเปลี่ยนภูมิปัญญา และเลิกเปรียบเทียบให้เกิดปมด้อย แต่จะต้องช่วยกันยกระดับความรู้ ความคิด ค่านิยม ในการสร้างความเจริญและความมั่นคงของภูมิภาค

จากที่เห็นทุกมหาวิทยาลัยเปิดโปรแกรมการเรียนเพื่อป้อนความต้องการของตลาดอาเซียน การส่งนักศึกษาไปฝึกงานกับมืออาชีพ เพื่อให้เกิดความชำนาญก่อนสำเร็จการศึกษา และการเปิดรับนักศึกษาจากอาเซียนเข้ามาเรียน ทำให้บรรยากาศความร่วมมือดูมีชีวิตชีวาและมีความเป็นสากลมากขึ้น เราลองหันมาเรียนภาษาประเทศเพื่อนบ้านเป็นภาษาที่สาม ซึ่งยังมีผู้ที่ชำนาญจำนวนไม่มากก็จะดูดีมีเสน่ห์อยู่ไม่น้อย น้องๆ รุ่นใหม่ จะต้องวางแผนในการเลือกสาขาที่จะเรียนให้สอดคล้องกับอนาคตในสาขาที่ขาดแคลน เช่น แพทย์แขนงต่างๆ วิศวกรรมปิโตรเลียมและเคมี บัญชีและการเงิน สาธารณสุข หรือสาขาที่จำเป็นต่อตลาดธุรกิจอินเตอร์ เช่น นิเทศศาสตร์ คอมพิวเตอร์ บริหารธุรกิจระหว่างประเทศ มัลติมีเดีย สถาปนิกและออกแบบ การโรงแรมและท่องเที่ยว แต่ที่สำคัญไม่ว่าจะเลือกเรียนสาขาใด ก็จำเป็นต้องเข้าใจธรรมชาติของภูมิภาคอาเซียนว่ายังคงมีกรอบวัฒนธรรมดั้งเดิมอยู่ หากเราเรียนรู้ การต้อนรับ การทักทาย การแสดงความเคารพซึ่งหมายถึงการยอมรับและการรับฟังผู้อื่น ก็จะเพิ่มความราบรื่นในการผูกมิตร

asean
asean

เมื่อก่อนเวลาเห็นคนที่ทำตัวเชยๆ เรามักจะเรียกเขาว่ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน ในทางกลับกัน ถ้าเราล้าหลังกว่าใครในอาเซียนก็จะตกที่นั่งลำบากแบบเดียวกัน อย่างไรก็ตาม รวมกันเป็นกลุ่มก็ยิ่งเพิ่มความแข็งแกร่ง คิดดูสิขนาดซุปเปอร์ฮีโร่ยังต้องทำงานเป็นทีม

โดย : ภควัต สมิธธ์
! http://www.ประเทศอาเซียน.com

! http://blog.nation.ac.th/?p=2534

จำนวนครู น่าเป็นห่วงมากกว่าคุณภาพการสอน 0 คน

zero teacher in school
zero teacher in school

พบข้อมูลจำนวนครูต่อโรงเรียน แล้วรู้สึกน่าเป็นห่วงมี 2 กรณี
กรณีแรกที่เข้าข่ายน่าเป็นห่วงมาก คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 1 คน
กรณีที่สองที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด คือ ทั้งโรงเรียนมีครู 0 คน

จากข่าววิชาการเรื่อง “ปัญหาการศึกษาไทยถอยหลังลงคลอง ชี้การเรียนการสอนด้อย-ขาดจิตสำนึก” ที่  ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศวร์ เจริญเมือง ที่ปรึกษารัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในระหว่างเป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะกลุ่มเป้าหมายครูเพื่อสังคม
ในหัวข้อเรื่อง”บทบาทของครูต่อการศึกษา สังคมและประเทศชาติ
ชี้ว่า ปัญหาของการศึกษาไทยในขณะนี้มีอยู่ 3 เรื่อง
1. ปัญหาการขาดความรับผิดชอบของครู ทั้งที่มีการให้งบประมาณกว่า 10,000 ล้านบาท หรือแม้แต่การเพิ่มเงินเดือนครูให้มากขึ้น แต่กลับปรากฏว่าการเรียนการสอนไม่ดีขึ้น และส่งผลให้สัมฤทธิ์ผลทางการเรียนไม่ปรากฏ
2. ปัญหาความแตกต่างทางการศึกษา จากอัตราครูที่สูงขึ้น เงินเดือนที่สูงขึ้น มีผู้บริหารจำนวนมากขึ้น แต่การศึกษากลับถดถอยไม่มีความก้าวหน้า
3. เกิดความเหลื่อมล้ำอย่างรุนแรงระหว่างโรงเรียนในเมืองหลวง เมืองใหญ่ และชนบท ซึ่งปัญหาทั้งหมดที่เกิดขึ้นไม่ใช่ เพราะระบบการเมืองที่ล้มลุกคลุกคลาน ไม่เข้มแข็ง ไม่มั่นคง แต่ขึ้นอยู่กับครูผู้สอนที่มีการจัดการเรียนการสอนไม่มีประสิทธิภาพ
บรรทัดสุดท้ายชี้ว่า
ขณะนี้มีโรงเรียนอีกหลายพันแห่งที่มีครูคนเดียว แต่ต้องสอนนักเรียนทั้งโรงเรียน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151501840442272&set=a.423083752271.195205.350024507271
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32209&Key=hotnews
http://202.143.169.168/emis/table_school.php?areaid=50

ข้อมูล สถิติด้านการศึกษา

ข้อมูลสถิติด้านการศึกษาฉบับย่อ เป็นข้อมูลสถิติพื้นฐานที่ได้สำรวจและจัดเก็บ ณ วันที่ 10 มิถุนายนของทุกปีการศึกษา และได้จำแนกเป็นข้อมูลพื้นฐานทางการศึกษาของการศึกษาทุกระดับและทุกสังกัด นำเสนอผ่านตารางข้อมูลพื้นฐาน และในลักษณะแผนภูมิเปรียบเทียบถึงความ สัมพันธ์ระหว่างกลุ่ม/ประเภทข้อมูลที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อประโยชน์ในการวางแผนการตัดสินใจและการบริหารจัดการในภารกิจต่างๆ ของผู้ปฏิบัติงานและผู้บริหารการศึกษาทุกระดับรวมถึงผู้สนใจและองค์กรทั้งภาครัฐ/เอกชนที่อยู่ทั้งในและนอกประเทศ อาทิ จำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกรายชั้น รายจังหวัด  จำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกรายชั้น รายสังกัด  จำนวนนักเรียน นักศึกษา จำแนกรายสังกัด รายจังหวัด

data statistic
data statistic

http://www.moe.go.th/data_stat/

สถิติจำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียน

ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(Office of the basic education commission department operation center)

ได้จัดทำสรุปรายงานข้อมูลจาก data on web ได้ละเอียด มีระบบช่วยค้นหาโรงเรียน มีเมนูสำหรับโรงเรียน ได้แก่  1) คำอธิบายการกรอกข้อมูล 2) สำหรับเขตพื้นที่การศึกษา 3) กรอกข้อมูลโรงเรียนรัฐบาล 4) กรอกข้อมูลโรงเรียนเอกชน 5) รายงานข้อมูลโรงเรียนรัฐบาล 6) รายงานข้อมูลโรงเรียนเอกชน 7) ตรวจสอบการส่งข้อมูล 8) สรุปการรายงานข้อมูล ซึ่งข้อมูลหนึ่งที่ลองเข้าไปดู คือ สรุปภาพรวมโรงเรียนทุกสังกัด จำนวนนักเรียน และจำนวนห้องเรียน

information eis
information eis

http://doc.obec.go.th/doc/web_doc/information_eis.htm

ปี 2554 ประเทศมีอัตราส่วนครู 20 ต่อ 1

student and teacher 2554
student and teacher 2554

ข้อมูลจำนวนครู จำนวนอาจารย์ และผู้สอนในปีการศึกษา 2554
ณ วันที่ 4 กันยายน 2555
พบว่า ประเทศไทยมีครู/คณาจารย์/ผู้สอน
จำนวน 696,231 คน ดูแลนักเรียน นิสิต นักศึกษา จำนวน 13,954,735 คน
คิดเป็นนักเรียน 20.04 คนต่อครูหนึ่งคน
http://www.moc.moe.go.th/ViewContent.aspx?ID=4281

Biodata ของ สกว.

biodata of trf
biodata of trf

สกว. จัดทำจดหมายข่าว หรือสาร Biodata ซึ่งเป็นข่าวสารประจำสัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2550 ใน http://biodata.trf.or.th/list_all_news.aspx
พบว่า รายการข่าวสารฉบับแรกที่เผยแพร่ คือ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 (2007)
ประชาชนสามารถลงทะเบียนรับจดหมายข่าว
ทางอีเมลได้ที่ http://biodata.trf.or.th
เมื่อนับถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 มีมาแล้วทั้งหมด 266 ฉบับ
ซึ่งอ่านได้ทั้งผ่านเว็บเพจ และ pdf file

หัวข้อต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. บทนำ
2. มุมเอกสาร/สิ่งพิมพ์แนะนำประจำสัปดาห์
3. ปิดท้ายสาร Biodata ด้วยข่าวประชาสัมพันธ์ อาทิ การประชุมทางวิชาการ เป็นต้น
4. ข่าวสารทุนวิจัย สกว.
5. ข่าวสารทั่วไปของ สกว.
6. ข่าวสารทุนวิจัยของหน่วยงานอื่น
7. ข่าวสารทั่วไปของหน่วยงานอื่น