university

ตอนที่ 15 สิบอันดับ ม.เอกชน
ที่มีคนเรียนมากที่สุด ในภาค 2 ปี 2566 นิทานเรื่อง โรงเรียนเทียมดาว

หากคุณครูประจำชั้นต้องแนะแนวนักเรียน
เพื่อหาที่เรียนต่อ ควรมีสารสนเทศว่า
ประเทศไทย นิยมเรียนต่อ
ระดับอุดมศึกษาของรัฐ หรือ ของเอกชน มากกว่ากัน

จากข้อมูลในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566
ที่พบใน เว็บไซต์สำนักงานปลัด
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
โดยนักข่าวมติชน ใช้ข้อมูลเมื่อ 11 เม.ย.67 นำมาเขียนข่าว

พบว่า มากที่สุด คือ
สถาบันอุดมศึกษาของรัฐ มี 1,267,818 คน
รองลงมาคือ
สถาบันอุดมศึกษาของเอกชน มี 259,115 คน
สถานศึกษานอกสังกัด มี 19,477 คน
รวมมีผู้เรียน 1,546,410 คน

https://info.mhesi.go.th/homestat_std.php

จากสารสนเทศที่ได้รับการเผยแพร่
สรุปว่า เด็กไทยเลือกเรียนต่อ
ในมหาวิทยาลัยของรัฐมากที่สุด
แต่การเลือกมหาวิทยาลัยเอกชน
ก็น่าสนใจเช่นกัน

แล้วมหาวิทยาลัยใด
มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด
จึงเป็นคำถามที่น่าสนใจ
เมื่อนำข้อมูลจำนวนผู้เรียน
มาจัดเรียงจากมากไปน้อย
พบรายชื่อ 10 มหาวิทยาลัย ดังนี้
อันดับ 1 มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยศรีปทุม
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยรังสิต
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
อันดับ 5 มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยสยาม
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยธนบุรี
อันดับ 10 มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
มีผู้เรียนมากที่สุด มีมากถึง 40,095 คน
แล้วท่านล่ะ มีความคิดเห็นอย่างไร

https://vt.tiktok.com/ZSYByd4AU/

https://www.matichon.co.th/education/news_4616728

https://www.khaosod.co.th/special-stories/news_8276400

ตอนที่ 15 สิบอันดับ ม.เอกชน
ที่มีคนเรียนมากที่สุด ในภาค 2 ปี 2566
นิทานเรื่อง โรงเรียนเทียมดาว
#อุดมศึกษา
#มหาวิทยาลัย
#โรงเรียน
#ครูแนะแนว
#จัดอันดับ
#เพื่อน
#university
#ranking
#tiktokuni

เอ.ไอ. แนะนำหลักสูตร ที่เลือกเรียนแล้ว จะมีอาชีพในอนาคต

ตั้งคำถามให้ เอ.ไอ. ตอบคำถาม พบว่า ได้รับคำแนะนำ 5 หลักสูตรแรก ที่นักเรียนควรเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะได้มีอาชีพ มีงานทำในอนาคต
.
นักเรียนจะเลือกสายที่หนึ่ง หรือสายสุดท้าย ก็ขึ้นกับ ความชอบ ความถนัด พละกำลัง ของแต่ละครอบครัว
.
ผมคิดว่าไม่สำคัญ
ว่าท่านจะเป็น เด็กหน้าห้อง
หรือ เด็กหลังห้อง
เพราะในปัจจุบัน
อยากเรียนหลักสูตรไหน ก็เรียนได้
การศึกษาเปิดกว้างกว่าในอดีตอย่างมาก
หากมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ อดทน
และมีความพยายามที่มากพอ
.
ลองทายกันดูได้ครับ
ว่าเมืองไทยมีสายอาชีพไหน
ตามคำแนะนำของ เอ.ไอ.
ที่โดนใจท่านบ้าง คิดเหมือนกัน
หรือคิดต่างกัน หรือไม่
.
สรุปว่าที่ เอ.ไอ. เสนอมานั้น ประกอบด้วย
1. วิทยาศาสตร์สุขภาพ
2. วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมข้อมูล
3. การเงิน การลงทุน และอสังหาริมทรัพย์
4. ธุรกิจ การตลาดดิจิทัล และดิจิทัลมีเดีย
5. การจัดการโลจิสติกส์ และวิศวกรรมโลจิสติกส์
.
แล้วท่านคิดอย่างไรกับอันดับข้างต้นนี้

Students
A.I. answer

สายหลักสูตรน่าเรียนในมหาวิทยาลัย
#artificialintelligence
#curriculum
#university
#education

7 อันดับคณะวิชา ที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด

ตามข้อมูลของ #มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามคณะวิชาต่าง ๆ แล้ว ได้มีการจัดทำรายงานสรุปผล เพื่อให้ข้อมูลเป็นสาธารณะ สำหรับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ที่ดูแลหลักสูตรได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ หรือวางแผนต่อไป สำหรับนักศึกษาแล้วจะทำให้รู้ว่าเรียนคณะวิชาใดที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด ส่วนผู้ดูแลหลักสูตรแล้ว ทำให้ใช้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค เพื่อพัฒนาต่อไป

โดยข้อมูลเมื่อปีการศึกษา 2566 พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละคณะวิชาจำนวนเท่าใดแล้ว จึงได้นำข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนมาจัด #เรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าคณะวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. คณะครุศาสตร์ 547 คน
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 359 คน
  3. คณะวิทยาการจัดการ 239 คน
  4. คณะวิทยาศาสตร์ 167 คน
  5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 115 คน
  6. คณะพยาบาลศาสตร์ 48 คน
  7. คณะเทคโนโลยีการเกษตร 20 คน

รวมประมาณ 1495 คน

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ณ ปัจจุบัน แยกตามคณะ
ข้อมูลล่าสุด ในปี 2566

7 อันดับสาขาวิชา ในคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีเพื่อนเรียนด้วยเยอะที่สุด

ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2566 แล้ว พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาเป็นจำนวนเท่าใด จึงได้นำข้อมูลจำนวนที่เข้าเรียนมาจัดเรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าสาขาวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(คณิตศาสตร์)
  2. สาธารณสุขชุมชน
  3. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
  4. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ชีววิทยา)
  5. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ฟิสิกส์)
  6. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(เคมี)
  7. เคมีประยุกต์

รวม 7 สาขาวิชามีเพื่อนรวมประมาณ 180 คน

มหาวิทยาลัยเนชั่น nation university

ภาพธรรมชาติ ชุด in the park

วงเวียนระหว่างอาคาร

ภาพโดย อ.ชัญญานุช แซ่ตั้ง
ถ่ายด้วยสมาร์ทโฟน
หลังสอนออนไลน์ที่ตึก 5
ก็เดินกลับตึกแดง
มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง
เห็นธรรมชาติสดใส
ในปลายฤดูเหมันต์ (หน้าหนาว)
ในช่วงเช้า ๆ เที่ยง ๆ บ่าย ๆ
เส้นทางพาดผ่านระหว่างอาคาร
เดินลัดเลาะไปตาม อ่างตระพังดาว
ทางยาวกว่า 300 เมตร
ชมนก ชมไม้ ชมธรรมชาติ ไปด้วยกัน
ชมน้ำ ชมฟ้า ไปด้วยกัน

ภายใน มหาวิทยาลัยเนชั่น
Nation University in the park

ปล. โพสต์นี้เป็นโพสต์แรกหลังเปลี่ยนมาใช้ ASTRA Theme บน WordPress

สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายของผู้สอบผ่านข้อเขียน โควตา มช.

แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม
แผนที่อาคารเรียนรวม

ในวันเสาร์ที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 10.30น.
นักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
จะมีการสอบสัมภาษณ์ ในหลายอาคาร ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
อาทิ ณ อาคารเรียนรวมหลังที่ 5
สำนักทะเบียนและประมวลผล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ก็มีหลายหลักสูตร หลายสถาบัน ที่ผ่านเข้าถึงรอบ
สัมภาษณ์ผู้สอบผ่านข้อเขียนการสอบคัดเลือกนักเรียนในเขตพัฒนาภาคเหนือฯ
หรือที่เรียกว่าโควตามหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน

ประกาศห้องสอบสัมภาษณ์มหาวิทยาลัยของรัฐและเอกชน
วันที่ 28 มกราคม 2560 เวลา 8.30 – 12.00 น.
1. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อาคาร RB5 ห้อง 5101
2. มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ อาคาร RB5 ห้อง 5103 และ 5104
3. มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคาร RB5 ห้อง 5201 และ 5205
4. มหาวิทยาลัยกรุงเทพ อาคาร RB5 ห้อง 5202 และ 5203
5. มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย อาคาร RB5 ห้อง 5301 และ 5305
6. มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ อาคาร RB5 ห้อง 5302, 5303 และ 5304
7. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่ อาคาร RB5 ห้อง 5401
8. มหาวิทยาลัยศรีปทุม อาคาร RB5 ห้อง 5402 และ 5403

กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
กำหนดการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ

การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่ามี 2o นิสัยนี้ที่จะทำให้เรามีความสุข (Happiness) ซึ่งเพื่อนรักและใจดีแชร์มา บอกว่าให้แชร์คนที่รักต่อไป .. จัดปายยย

Harvard Research Reveals 20 Habits
That Will Make You Happy, Guaranteed!

1. Be Grateful .. สำนึกบุญคุณคนที่ดีต่อเรา
2. Choose Your Friends Wisely .. เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด
3. Cultivate Compassion .. ให้ความเห็นอกเห็นใจแก่คนอื่น
4. Keep Learning .. หมั่นเรียนรู้
5. Become a Problem Solver .. เป็นผู้แก้ปัญหาได้
6. Do What You Love .. ทำในสิ่งที่คุณรัก
7. Live in the Present .. อยู่กับปัจจุบัน
8. Laugh often .. หัวเราะบ่อย ๆ
9. Practice Forgiveness .. ฝึกการให้อภัย
10. Say Thanks often .. กล่าวขอบคุณเสมอ
11. Create Deeper Connections .. สร้างความสัมพันธ์ลึกล้ำ
12. Keep Your Agreement .. รักษาสัญญา คำพูด
13. Meditate .. ทำสมาธิ
14. Focus on What You’re Doing .. ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังทำ
15. Be Optimistic .. มองโลกในแง่ดี
16. Love Unconditionally .. รักอย่างไม่มีเงื่อนไข
17. Don’t Give up .. อย่ายอมแพ้
18. Do Your Best and then Let it Go .. ทำดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด
19. Take Care of Yourself .. ดูแลตัวเอง
20. Give back to society .. ตอบแทนสังคม

http://www.cycleharmony.com/healthy-living/emotional-wellbeing/harvard-research-reveals-20-habits-that-will-make-you-happy-guaranteed
http://www.huffingtonpost.com/andrew-merle/top-20-habits-for-happine_b_9835174.html

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th

ยินดียิ่งแล้ว แขกแก้วมาเยือนที่ทำงาน

Lampang 2020
Lampang 2020
ntc 2015 conference
ntc 2015 conference
ntu fut 2016 symposium
ntu fut 2016 symposium

ทุกมหาวิทยาลัยก็จะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ หลายมหาวิทยาลัยจะมีความสัมพันธ์กับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยเนชั่น มีความสัมพันธ์กับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีฟุคุอิ ได้จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการร่วมกันทุกปี โดยเฉพาะการประชุมวิชาการที่จัดมาตั้งแต่ปี 2014 บางปีก็เดินทางไปที่ประเทศญี่ปุ่น และปีนี้ (2016) ก็มีกิจกรรมร่วมกันมากมาย

กิจกรรมดูงานในลำปางมีแผน ดังนี้
3 ธ.ค.59
– ชมกาดกองต้า
4 ธ.ค.59
– ดูการผลิตข้างแต๋น
– ดูงานกลุ่มตีมีดบ้านขามแดง
– ดูงานการผลิตเซรามิค
5 ธ.ค.59
– เยี่ยมศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย
– เยี่ยมวัดพระธาตุลำปางหลวง
6 ธ.ค.59
กิจกรรมทางวิชาการในห้อง Auditorium, NTU, Lampang

3 ธันวาคม 2559
3 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
4 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
5 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559
6 ธันวาคม 2559

24 – 26 มกราคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2014/

13 – 14 ธันวาคม 2557
! http://www.nation.ac.th/ntc2557/

18 ธันวาคม 2558
! http://www.nation.ac.th/ntc2015/

3-6 ธันวาคม 2559
! http://www.nation.ac.th/ntc2016/

6-14 ตุลาคม 2558
โครงการ: Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
! http://www.nation.ac.th/news-detail.php?main=fpdazyrr//243&content=465
! https://www.facebook.com/NationUNews/posts/886858211391265:0

Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology
Joint Symposium between NATION UNIVERSITY and Fukui University of Technology

การเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2558

มีคู่มือมากมายที่ค้นหาได้ในอินเทอร์เน็ต

การขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2558
การขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2558

พบ ประกาศคณะกรรมการการอุดมศึกษา
เรื่อง คู่มือการขออนุญาตเปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ.2558
ประกาศวันที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ.2558
การเปลี่ยนประเภทมีสาระสำคัญ 4 หมวด ใน 15 หน้า
หมวดที่ 1 การยื่นคำขอ และเอกสารหลักฐาน
หน้า 1 – 3
หมวดที่ 2 หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการออกใบอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หน้า 4 – 12
หมวดที่ 3 การจัดทำข้อกำหนดของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หน้า 13
หมวดที่ 4 ขั้นตอนในการพิจารณาอนุญาตให้เปลี่ยนประเภทสถาบันอุดมศึกษาเอกชน
หน้า 14 – 15
เอกสารนี้ลงนามโดย รองศาสตราจารย์ คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ
ประธานกรรมการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

พบว่ามีประเด็นสำคัญมากมาย
อาทิ

หน้า 5 ข้อ 1.3 ประเภท
(1) มหาวิทยาลัย : ให้การศึกษาและส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง
โดยต้องเปิดสอนทั้งกลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
และกลุ่มสาขาวิชาสังคมศาสตร์หรือมนุษยศาสตร์
โดยแต่ละกลุ่มสาขาวิชาหลักต้องประกอบด้วยระดับปริญญาตรี
อย่างน้อย 3 สาขาวิชาย่อย และระดับปริญญาโทอย่างน้ อย 1 สาขาวิชาย่อย
ซึ่งรวม 2 กลุ่มสาขาวิชาหลักแล้ว
มีระดับปริญญาตรีไม่น้อยกว่า 6 สาขาวิชาย่อย และระดับปริญญาโทไม่น้อยกว่า 2 สาขาวิชาย่อย
และต้องปฏิบัติภารกิจของสถาบันอุดมศึกษาอย่างครบถ้วนอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

https://www.facebook.com/groups/thaiebook/723383757812445/