Timeline รับบุคคลเข้าศึกษาในอุดมศึกษา พ.ศ.2561 จำนวน 5 รอบ
ตามที่ นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ประชุมร่วมกับที่ประอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.)
ที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.)
และที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (ทปอ.มทร.)
เกี่ยวกับการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยระบบใหม่ วันที่ 15 ธันวาคม 2559
ณ สำนักงานคณะกรรมการการการอุดมศึกษา
วัตถุประสงค์
1. เพื่อแก้ปัญหาให้นักเรียนต้องอยู่ในห้องเรียนจนครบหลักสูตรมัธยมปลาย
2. เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครอง นักเรียนไม่ต้องวิ่งรอกสอบหลายที่สามารถเลือกสาขาที่ต้องการเรียน มีความถนัด
3. เพื่อยังคงเปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาสามารถเลือกนักเรียนได้ตามความต้องการ
แล้วพบว่า ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย
ได้ออกแถลงข่าวเรื่อง การคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2561
เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2559
พบว่ารับนักเรียนเข้าศึกษาในระบบมีทั้งหมด 5 รอบ ดังนี้
รอบที่ 1 ใช้แฟ้มสะสมงาน
การรับนักเรียนโดยใช้แฟ้มสะสมผลงาน(Portfolio)
ไม่มีการสอบคัดเลือก เช่น การรับนักเรียนดี/ช้างเผือก
นักเรียนที่มีความสามารถด้านกีฬา ดนตรีศิลปวัฒนธรรม
โอลิมปิกวิชาการ นักเรียนกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์
หรือ เด็กดีมีคุณธรรม เป็นต้น
คัดเลือกโดยพิจารณาจากการสอบสัมภาษณ์และแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)
โดยนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาแล้ว
มหาวิทยาลัยจะส่งรายชื่อให้ ทปอ. ทำการตัดสิทธิ์
การเข้าศึกษาในระบบอื่น ๆ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 2 ใช้คะแนน ช่วง มี.ค.2561 – เม.ย.2561
ระบบโควตา หรือรับตรงโดยใช้คะแนน ที่มหาวิทยาลัยสามารถดำเนินการได้เอง
รูปแบบที่ 1 โควตา
เช่น
โควตาพื้นที่ของมหาวิทยาลัยตามภูมิภาค
โครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (CPIRD)
โครงการผลิตแพทย์หนึ่งอำเภอหนึ่งทุน(ODOD) เป็นต้น
คัดเลือกโดยข้อสอบที่มหาวิทยาลัยจัดสอบรูปแบบที่ 2 สอบตรงที่มหาวิทยาลัยจัดสอบ
เช่น การสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆรูปแบบที่ 3 รับตรงโดยใช้คะแนนที่จัดสอบโดย สทศ.
โดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(O-NET , GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ)
เช่น โครงการรับตรงของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
ทั้งนี้ การจัดสอบโดยสทศ. หรือ สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
เช่น O-NET ,GAT/PAT , 9 วิชาสามัญ และการจัดสอบโดยมหาวิทยาลัย
เช่น ข้อสอบโควตา ข้อสอบตรงของคณะ/สาขาต่าง ๆ
จะต้องอยู่ภายในช่วงเวลาเดียวกัน
คือ ช่วงเดือนมีนาคม 2561 – เมษายน 2561
โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ทุกมหาวิทยาลัยที่เปิดดำเนินการคัดเลือกเอง
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
และจะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกในระบบเคลียริ่งเฮาส์
รอบที่ 1 และ รอบที่ 2
รอบที่ 3 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 (ระบบรับตรงร่วมกัน)
คัดเลือกโดยใช้ ผลคะแนนที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
(GAT/PAT และ/หรือ วิชาสามัญ 9 วิชา)
ผลคะแนน O-NET และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)
โดยนักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้มากที่สุด 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกและต้องการเข้าศึกษา
ต้องทำการยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาเพียง 1 ที่ ผ่านเคลียริ่งเฮาส์
เมื่อนักเรียนที่ยืนยันสิทธิ์เข้าศึกษาผ่าน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 1 แล้ว
จะถูกตัดสิทธิ์จากการคัดเลือกใน ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2
รอบที่ 4 ระบบเคลียริ่งเฮาส์ รอบที่ 2 (ระบบคัดเลือกกลาง)
คัดเลือกโดย ผลการเรียนเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร(GPAX)
ผลคะแนน O-NET และ ผลคะแนน GAT/PAT
ที่จัดสอบโดยสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(องค์การมหาชน)
โดยยังคงสัดส่วนและกระบวนการคัดเลือกเหมือนระบบแอดมิชชันเดิม
นักเรียนเลือกสมัครได้ 4 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
ผ่านการคัดเลือกได้เพียง 1 อันดับ คณะ/สาขาและมหาวิทยาลัย
รอบที่ 5 รับตรงอิสระ
ทั้งนี้ภายหลังการรับนักศึกษาในระบบเคลียริ่งเฮาส์แล้วเสร็จ
หากมหาวิทยาลัยยังไม่สามารถรับนักเรียนได้ตามจำนวนที่ต้องการ
มหาวิทยาลัยต่าง ๆ สามารถดำเนินการได้เอง
รวมทั้ง มหาวิทยาลัย คณะ/สาขา ต่าง ๆ
สามารถเปิดสอบวิชาเฉพาะได้เองอีกด้วย
http://p-dome.com/new-admissions-61/
http://www.komchadluek.com/news/edu-health/247329