meaning

ตัวอย่างคำถามในข้อสอบอัตนัย

http://www.dek-d.com/admission/27780/

อยากให้นักศึกษาเตรียมตัวกันแต่เนิ่น ๆ
อีกไม่ถึงเดือนก็จะสอบกลางภาคแล้ว
มีตัวอย่างคำถามในข้อสอบ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ดังนี้
1. What are the advantages of …
เช่น อะไรเป็นประโยชน์ของ online shopping cart
2. What is the meaning of …
เช่น อะไรคือความหมายของ RFID
3. List 5 names of …
เช่น บอกชื่อบริษัทด้านไอที และสินค้าที่โดดเด่นของบริษัทนั้น มา 5 บริษัท
4. Explain about device that has …
เช่น อธิบายเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่มีระบบ Finger scan
5. What are the functions of …
เช่น อะไรเป็นหน้าที่ของ Switch (อย่าตอบตาม dictionary นะครับ)

ผมมักให้กำลังใจนักศึกษาไปว่า
ตอบมาเถอะ มาอย่างไรก็จะได้คะแนนตามนั้น
แต่ถ้าไม่เขียนอะไรมาเลย แล้วจะให้ตรวจอะไรล่ะครับ

ไล่ล่า มืออาชีพ

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

โฆษณาทั้งชวนเชื่อ และชวนด้วยความเชื่อจริงๆ ในเรื่องการ “เรียนกับมืออาชีพ” นับเป็นปรากฏการณ์ร่วม ที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เพราะความคิดเรียนเพียงเพื่อกระดาษหนึ่งแผ่น จบแล้วไม่มีงานทำ โดยเฉพาะในสาขาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ว่ากันว่าเรียนง่าย จบง่ายนั้น บั่นทอนขวัญและกำลังใจของผู้เรียนไม่น้อย

! http://bit.ly/165e7cO

ภาพประกอบจาก http://mediainsideout.net/local/2013/04/121

เนื่องเพราะเมื่อจบแล้ว ไม่สามารถเข้าสู่ระบบงานได้ทันที เพราะเรียนมาอย่างหนึ่ง แต่ในงานเป็นอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในสาขานิเทศศาสตร์ ที่หมุนไปไม่ทันโลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร

ฉะนั้น การเรียนรู้กับมืออาชีพ จึงเป็น “ข้อเสนอ” และทางเลือกของผู้บริหารสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง หรือในสภาพบรรยากาศสถานที่ทำงานจริง และเมื่อจบแล้ว มีหลักประกันว่าจะได้ทำงานแน่นอน แต่ประเด็น ก็คือ สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ สถาบันการศึกษาใด จะมีมืออาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตได้มากน้อย จริงจังเพียงใด

คำว่า “มืออาชีพProfessional หรือ Professionalism คืออะไรแน่ มีคนนิยามคำนี้ไว้หลากหลาย ถ้านิยามอย่างรวบรัด ก็อาจจะพูดได้ว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น และที่อาจไม่ค่อยได้พูดถึงนัก ก็คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วย แต่เพียงเท่านี้คงยังไม่เพียงพอที่จะบอก คุณลักษณะของมืออาชีพ เพราะดูเหมือนว่า ความเป็นมืออาชีพยังปะปนกับคำว่า อาชีพ หรือกระทั่งคำว่า “วิชาชีพ” เมื่อกล่าวถึงในบริบทของสื่อสารมวลชน

นอกจากคำว่า “อาชีพ” “วิชาชีพ” แล้ว เมื่อพูดถึงงานด้านสื่อสารมวลชน ยังมีคำว่า “อาชีวปฏิญาณ” อีกคำหนึ่ง คำสามคำนี้ ต่างกันอย่างไร

คำว่า อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงานที่ไม่เป็นโทษกับสังคมและมีรายได้ตอบแทนโดยอาศัย แรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป ส่วนวิชาชีพนั้น หมายถึง งานที่อุทิศจิตวิญญาณให้กับงาน ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีแบบแผนและจรรยาของหมู่คณะ จุดเน้นวิชาชีพคืออาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณ หากประกอบวิชาชีพขัดต่อจรรยาบรรณแล้ว จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม เช่น ครู หมอ นักกฎหมาย ตำรวจ ทหาร รวมทั้งสื่อมวลชน

สำหรับอาชีวปฏิญาณ เป็นศัพท์บัญญัติ ซึ่งยังอ้างอิงไม่ได้ชัดว่าใครคือต้นกระแสธาร แต่ครูหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กล่าวถึงบ่อยครั้ง คือ “…การปฏิญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่เป็นการทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว

กล่าวอย่างรวบรัด การเรียนกับมืออาชีพ หมายถึงการเรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในอาชีพนั้น ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงในเรื่องอาชีพสื่อสารมวลชน ในคณะที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่านิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือยังคงมีฐานะเป็นโปรแกรมในคณะวิทยาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งก็ตาม แต่ในโลกความเป็นจริง สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อย ยังขาดแคลนมืออาชีพที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์จริงไปพร้อมๆ กับการสอนทฤษฎีหรือหลักการในห้องเรียน

แต่ในทางตรงกันข้าม นักวิชาชีพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทักษะในการสอน หรือสามารถอธิบายถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างเห็นภาพ เหมือนอาจารย์อาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการเรียนการสอน นับเป็นเหรียญสองด้านที่ยังถกเถียงกันอยู่

คำว่า “เรียนกับมืออาชีพ” จึงยังเป็นคำที่ต้องค้นหาความหมายที่แท้จริงกันต่อไป แต่ในทางทฤษฎีการเรียนจากของจริง ฝึกปฏิบัติจริงและทำจริง นั่นคือสุดยอดของการเรียนแน่นอน

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2631