qa

นั่งคุยกับเพื่อนเรื่อง ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version

ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version
ร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557 มี 2 version

30 ก.ย.57 นั่งคุยกับเพื่อน
เรื่องตัวบ่งชี้ทั้ง 3 ระดับในร่างคู่มือประกันฯ ฉบับปี 2557
ซึ่งเป็นฉบับนี้ห้ามใช้อ้างอิงนะครับ แต่ใช้นั่งคุยกัน เพื่อเตรียมความพร้อมได้
เพราะต้องดำเนินการตามเอกสารนี้ตั้งแต่สิงหาคม 2557 แต่เกณฑ์ทางการยังไม่ออก
จะรอให้ออก ก็เชื่อแน่ว่าไม่ทันการ จะไปอ้างกับใครว่าเกณฑ์ออกช้าก็คงไม่ได้
เพราะไม่มีใครฟัง
แล้วพบว่า สกอ. ปรับปรุงคู่มือบางหน้า ซึ่งฉบับเดิมที่ผมมีจะมี 50 หน้า
แต่ฉบับใหม่มี 52 หน้า โดยเพิ่มตัวบ่งชี้ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
เข้าไปในตัวบ่งชี้ระดับคณะวิชา ทำให้เพิ่มจาก 8 ตัว เป็น 9 ตัว
หา download ฉบับได้จาก
http://www.mua.go.th/users/bhes/
ชื่อลิงค์ ร่างคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 ฉบับประชาพิจารณ์
แต่ถ้าเป็นรุ่นที่ผม up เข้าไปใน scribd.com
จะเพิ่มเอกสารแนบคือ
หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ
ที่อยู่ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 127 ง หน้า 14 วันที่ 1 ตุลาคม 2556

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มี 3 ระดับ

เล่าสู่กันฟัง
พบว่า สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชาพิจารณ์ 9 ครั้ง ระหว่าง 6 พ.ค. – 2 มิ.ย.57 เอกสารที่ใช้คือ ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 รอบ พ.ศ. 2558 – 2562

1. ระดับการประเมินจะลึกขึ้น
แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
ซึ่งเดิมมีเพียง 2 ระดับคือ ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
+ ระดับหลักสูตรมี 14 ตัวบ่งชี้ คือ 1.1 – 1.14
+ ระดับคณะมี 8 ตัวบ่งชี้ คือ 2.1 – 2.8
+ ระดับสถาบันมี 10 ตัวบ่งชี้ คือ 3.1 – 3.10
รวม 32 ตัวบ่งชี้
2. การประเมินในระดับหลักสูตร
ประกอบด้วยตัวบ่งชี้มาตรฐาน และตัวบ่งชี้พัฒนา
ตัวบ่งชี้มาตรฐาน 1.1 มี 12 เกณฑ์
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งเป็นตรีใช้ 5 เกณฑ์ โทและเอกใช้ 12 เกณฑ์
ตัวบ่งชี้พัฒนา 1.2 – 1.14 มี 13 ตัวบ่งชี้
แบ่งเป็นตรีใช้ 10 ตัว โทใช้ 8 ตัว และเอกใช้ 9 ตัว
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
3. การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์
ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
4. การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)

แฟ้มจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://www.qad.nu.ac.th/backoffice/php_form/uploads/files/Draft%20criteria%20for%20IQA2557.pdf

หรือ http://www.scribd.com/doc/221987061/

แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา

28 ม.ค.56 ศาสตราจารย์เกียรติคุณกิตติชัย วัฒนานิกร
ประธานกรรมการ คณะกรรมการประกันคุณภาพภายในระดับอุดมศึกษา
ได้ลงนามในประกาศ เรื่อง แนวปฏิบัติการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
เพื่อกำหนดแนวปฏิบัติในการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
รวมทั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่สถาบันอุดมศึกษา ผู้มีส่วนได้เสีย ต้นสังกัด
และเป็นหลักประกันต่อสาธารณชน
.. ในส่วนของภาคผนวกมีรายละเอียดข้อมูลที่จัดเก็บเพิ่มเติมในการตรวจเยี่ยม

http://www.scribd.com/doc/143860097/

http://www.cca.chula.ac.th/edocuments/images/files/letter/03_56/in_01912_2556.pdf

แบ่งปันประสบการณ์จากการประชุมเชิงปฏิบัติการด้าน QA

รศ.อุษณีย์ คำประกอบ
รศ.อุษณีย์ คำประกอบ

2 วันของการเข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการ QA ตามโครงการ 1 ช่วย 9 ของ โดยสุดยอดวิทยากร รศ.อุษณีย์ คำประกอบ จึงขอแบ่งปันประสบการณ์อันเกี่ยวเนื่องใน 2 เรื่อง

เรื่องแรก เป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการบรรยายของวิทยากร ที่ผมซาบซึ้งในความมีน้ำใจของท่านที่มีให้กับเรามาตลอดระยะเวลาหลายปีที่ ผ่านมา ยิ่งได้เห็นในครั้งนี้กับ “ความทุ่มเท” หรือ “การทำการบ้านอย่างหนัก” ของท่าน ผมพูดได้อย่างเต็มปากว่า ท่านคือกูรูด้าน QA แบบที่พูดได้สนิทใจว่า รู้จริง รู้ลึก รู้ถึงความเชื่อมโยงของเกณฑ์ต่างๆ ทั้งของ สกอ. และ สมศ. และที่สำคัญไปกว่า รู้ถึงเจตนารมณ์ของเกณฑ์ในแต่ละตัวบ่งชี้ ไม่ใช่เพียงแค่เข้าใจจากการตีความตามตัวอักษรที่ผู้ประเมินหลายคนรวมถึงตัว ผมเองเข้าใจอยู่ สิ่งที่ได้เรียนรู้จาก 2 วัน ที่เสียเวลาไป มันจึงคุ้มค่ามาก เพราะ 1.เรานำไปเขียน/ปรับปรุง SAR ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น เพื่อคะแนนที่จะได้เพิ่มขึ้น 2.การเรียนรู้ในบทบาทของความเป็นครู ที่ต้องเป็นผู้ให้ และมีความพร้อมที่จะให้ ทุกครั้งที่ต้องยืนหน้าชั้นเรียน คงจะต้องถามตัวเองเสมอว่า “วันนี้เราพร้อมแล้วหรือยัง” พร้อมทั้งการเป็นผู้ให้ด้วยจิตวิญญาณความเป็นครู และพร้อมในเนื้อหาบทเรียนที่จะให้ทั้งในเชิงลึกและเชิงกว้าง เหมือนที่ท่านวิทยากรบอกว่า อาจารย์ส่วนใหญ่มีทักษะวิชาชีพที่ได้ร่ำเรียนมาและเข้ามาเป็นอาจารย์ในทันที แต่สิ่งที่ขาดไป คือ บทบาทและหน้าที่ความเป็นครู ไม่ได้ร่ำเรียนมาด้วย สำหรับผมแล้ว อาชีพการเป็นครู/อาจารย์ มันจึงไม่ง่ายอย่างที่หลายคนคิด…..

เรื่องที่สอง เป็นเรื่องของ “คนชอบกาแฟ” เป็นธรรมเนียมปฏิบัติของการประชุม/สัมมนา ที่ต้องมีบริการ ชา/กาแฟ ในเวลา 10.30 น. และ 14.30 น. ส่งผลให้ในช่วง 2 วัน ที่ผ่านมา ผมดื่มกาแฟวันละ 3 แก้ว (รอบเช้ามาจากที่บ้านแล้ว 1 แก้ว) แต่ก็มีอาจารย์บางท่านไม่ดื่ม ทราบมาว่า Caffeine ทำให้ใจสั่น รวมถึงคนที่เป็นความดัน ก็ไม่ดื่ม บางคนดื่มแล้วมีผลข้างเคียง ทำให้ปวดหัว กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ หัวใจเต้นเร็ว แต่ผลจากงานวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ ได้สรุปว่า การดื่มกาแฟในปริมาณปานกลาง ไม่ส่งผลใดๆ ต่อคนเป็นโรคหัวใจ ในทางตรงข้าม กาแฟมีสารต้านอนุมูลอิสระ (Antioxidants) ในปริมาณที่มากกว่าผักและผลไม้หลายชนิดด้วยซ้ำ และผลจากงานวิจัยพบว่า การดื่มกาแฟเป็นประจำช่วยลดอัตราเสียงมะเร็งต่อมลูกหมาก ลดอัตราเสี่ยงโรคพาร์กินสัน ลดอัตราการเสียชีวิตจากหัวใจวายเฉียบพลัน ข้อมูลจากการวิจัยตลอด 26 ปี กับผู้หญิงมากกว่า 67,000 คน ในประเทศสหรัฐอเมริกา การดื่มกาแฟ 4 แก้วต่อวัน ลดอัตราเสี่ยงมะเร็งเยื่อบุมดลูก กาแฟยังช่วยลดระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนซึ่งเป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ลดปริมาณสารอินซูลินที่มีผลต่อโรคเบาหวาน
สรุปแล้ว การประชุม 2 วันที่ผ่านมานั้น ผมได้ทั้งสุขภาพสมองและสุขภาพกาย คุ้มค่าจริงๆ ครับ

แหล่งข้อมูลเรื่องที่ 2 : The Nation ฉบับวันที่ March 1, 2012

! http://blog.nation.ac.th/?p=2022

กลไกที่ทำให้สังคมมั่นใจในคุณภาพบัณฑิต [itinlife389]

หมอรักษาเสือ
หมอรักษาเสือ

 

รมต.กระทรวงศึกษาธิการ เซ็นอนุมัติให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีสาน แม้จะมีนักศึกษาหลายพันคน อันมีจุดเริ่มต้นมาจากข่าวขายปริญญาในปี 2554 (สุชาติ ธาดาธำรงเวช, 2555) เป็นสถาบันการศึกษาล่าสุดที่ถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลเรื่องมาตรฐานการศึกษา และผลการตรวจสอบเงื่อนไขในวิชาชีพครู ซึ่งก่อนหน้านั้นมีวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ปิดเมื่อปี 2540 และวิทยาลัยศรีอีสานปิดเมื่อปี 2533 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาครัฐมีกลไกกำกับติดตามให้สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถไปทำงานในสังคมได้ตรงกับที่กำหนดไว้

elephant

หลักสูตรที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษาอาจจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ มีสภาวิชาชีพ และไม่มีสภาวิชาชีพ หมายความว่าหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพรับรองจะต้องจัดการเรียนการสอนตามที่สภาวิชาชีพเห็นชอบก่อนสอน เช่น เรียนวิชาอะไร เป็นเวลาเท่าใด คุณสมบัติอาจารย์ เครื่องมือที่พร้อม เงื่อนไขการฝึกงาน เป็นต้น เพราะหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว สภาวิชาชีพจะออกใบรับรองวิชาชีพให้ไปทำงาน ถ้าไม่มีใบรับรองก็ไม่สามารถทำวิชาชีพนั้นได้ อาทิ สัตวแพทย์ วิศวะ พยาบาล แพทย์ เป็นต้น การได้ใบรับรองวิชาชีพมีกระบวนการตั้งแต่ก่อนเปิดหลักสูตร ระหว่างจัดการเรียนการสอน และภายหลังจากสำเร็จการศึกษา

dog

กลางมีนาคม 2556 พบข่าวว่าหลักสูตรสัตวแพทย์ในสถาบันหนึ่ง ที่สภาวิชาชีพไปตรวจมาตรฐานครั้งแรก หลังเปิดหลักสูตรแล้ว 5 ปี พบว่าหลักสูตรไม่ผ่านหลังเปิดสอนแล้ว 5 รุ่น รวมทั้งสิ้น 170 คน ถ้าสภาฯ ไม่ออกใบรับรองให้จริงก็จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถไปรักษาสัตว์ได้ อีกหลักสูตรคือ วิศวกรรมศาสตร์ที่อาจไม่ได้ใบรับรองวิชาชีพหากสภาวิชาชีพไม่รับรอง แต่บัณฑิตกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ และปริญญาไปประกอบอาชีพแบบไม่มีใบรับรอง ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรนี้เป็นอีกเหตุการณ์ที่สะท้อนความเข้มงวดเรื่องคุณภาพการศึกษา ส่วนสาขาด้านไอทีนั้น ปัจจุบันยังไม่มีสภาวิชาชีพ แต่ผู้สำเร็จการศึกษามักกรองตนเองไปทำงานด้านอื่น เพราะตำแหน่ง web developer, mobile developer, developer, network admin, server admin ก็ล้วนต้องเข้าใจในเรื่องนั้นก่อนสมัครงาน เนื่องจากงานที่ทำจะวัดกันตั้งแต่วันที่เริ่มงาน ไม่มีลองผิดลองถูก หากไม่เข้าใจก็จะเริ่มต้นไม่ได้ ต่างกับอาชีพอื่นที่ค่อยเรียนรู้และฝึกฝนกันไป

 

http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303890331&grpid=01&catid=no