quality

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายใน มี 3 ระดับ

เล่าสู่กันฟัง
พบว่า สำนักมาตรฐานและคุณภาพอุดมศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา จัดประชาพิจารณ์ 9 ครั้ง ระหว่าง 6 พ.ค. – 2 มิ.ย.57 เอกสารที่ใช้คือ ร่าง คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 รอบ พ.ศ. 2558 – 2562

1. ระดับการประเมินจะลึกขึ้น
แบ่งเป็น 3 ระดับคือ ระดับหลักสูตร ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
ซึ่งเดิมมีเพียง 2 ระดับคือ ระดับคณะวิชา และระดับสถานศึกษา
+ ระดับหลักสูตรมี 14 ตัวบ่งชี้ คือ 1.1 – 1.14
+ ระดับคณะมี 8 ตัวบ่งชี้ คือ 2.1 – 2.8
+ ระดับสถาบันมี 10 ตัวบ่งชี้ คือ 3.1 – 3.10
รวม 32 ตัวบ่งชี้
2. การประเมินในระดับหลักสูตร
ประกอบด้วยตัวบ่งชี้มาตรฐาน และตัวบ่งชี้พัฒนา
ตัวบ่งชี้มาตรฐาน 1.1 มี 12 เกณฑ์
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรและเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
แบ่งเป็นตรีใช้ 5 เกณฑ์ โทและเอกใช้ 12 เกณฑ์
ตัวบ่งชี้พัฒนา 1.2 – 1.14 มี 13 ตัวบ่งชี้
แบ่งเป็นตรีใช้ 10 ตัว โทใช้ 8 ตัว และเอกใช้ 9 ตัว
ตัวบ่งชี้ 1.2 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่มีคุณวุฒิปริญญาเอก
ตัวบ่งชี้ 1.3 ร้อยละของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตรที่ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ
ตัวบ่งชี้ 1.4 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.5 จำนวนบทความของอาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาเอกที่ได้รับการอ้างอิง
ในวารสารระดับชาติหรือนานาชาติต่อจำนวนอาจารย์ประจำหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.6 สัดส่วนจำนวนนักศึกษาเต็มเวลาเทียบเท่าต่อจำนวนอาจารย์ประจำสังกัดหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.7 กระบวนการจัดการเรียนรู้และการบูรณาการกับงานวิจัย
การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ 1.8 การบริหารหลักสูตร
ตัวบ่งชี้ 1.9 การประเมินผลผู้เรียน
ตัวบ่งชี้ 1.10 การดูแล ช่วยเหลือ และสนับสนุนนักศึกษา
ตัวบ่งชี้ 1.11 คุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
(ป.ตรี โท เอก) (ประเมินจากผู้ใช้บัณฑิต)
ตัวบ่งชี้ 1.12 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาโท ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.13 ผลงานของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่
ตัวบ่งชี้ 1.14 ร้อยละของบัณฑิตปริญญาตรีที่ได้งานทำหรือประกอบอาชีพอิสระภายใน 1 ปี
3. การประเมินในระดับคณะ
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับคณะ จำนวนรวม 8 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
ตัวบ่งชี้ 2.2 การบริการนักศึกษา (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.3 กิจกรรมนักศึกษา (ถ้ามี)
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ (ถ้ามี)
ตัวบ่งชี้ 2.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
ตัวบ่งชี้ 2.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำ และนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.7 การบริการวิชาการแก่สังคม
+ การบริหารจัดการ มี 1 ตัวบ่งชี้
ตัวบ่งชี้ 2.8 การบริหารของคณะเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์
ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
4. การประเมินในระดับสถาบัน
ประกอบด้วยผลการดำเนินงานระดับหลักสูตร ระดับคณะ และเพิ่มเติมตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการในระดับสถาบัน จำนวนรวม 10 ตัวบ่งชี้
+ การผลิตบัณฑิต มี 3 ตัวบ่งชี้
3.1 ผลการประเมินระดับหลักสูตร
(ค่าเฉลี่ยของระดับคุณภาพของทุกหลักสูตรที่คณะรับผิดชอบ)
3.2 การบริการนักศึกษา
3.2 กิจกรรมนักศึกษา
+ การวิจัย มี 3 ตัวบ่งชี้
3.4 ระบบและกลไกการบริหารและพัฒนางานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์
3.5 เงินสนับสนุนงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ต่อจำนวนอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
3.6 ผลงานวิชาการของอาจารย์ประจำและนักวิจัยประจำ
+ การบริการวิชาการ มี 1 ตัวบ่งชี้
3.7 การบริการวิชาการแก่สังคมเพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชนและสังคม
+ การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม มี 1 ตัวบ่งชี้
3.8 ระบบและกลไกการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
+ การบริหารจัดการ มี 2 ตัวบ่งชี้
3.9 การบริหารของสถาบันเพื่อการกำกับติดตามผลลัพธ์ตามพันธกิจและกลุ่มสถาบัน
3.10 ผลการบริหารงานของคณะ
(คะแนนเฉลี่ยของผลการประเมินระดับคุณทุกคณะ)

แฟ้มจาก มหาวิทยาลัยนเรศวร
http://www.qad.nu.ac.th/backoffice/php_form/uploads/files/Draft%20criteria%20for%20IQA2557.pdf

หรือ http://www.scribd.com/doc/221987061/

องค์ประกอบชำรุด ผลลัพธ์ย่อมผิดรูปไป

สิ่งมีชีวิตทั้งมวลล้วนเป็นไปตามกฎวัฏสงสาร มีเกิดมีดับเปลี่ยนไปตามภพภูมิ มีเกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป แล้วก็กลับมาเกิดใหม่

องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ
องค์ประกอบนั้น สำคัญนะ

แล้วทุกสถานะก็จะมีองค์ประกอบและค่าประจำองค์ของตน การเลื่อนไหลจากสถานะหนึ่งไปอีกสถานะหนึ่งล้วนมีที่มาที่ไป ซึ่งค่าขององค์ประกอบทั้งหมดจะถูกรวมและประเมินว่าจะไหลไปอยู่ที่ใดเป็นเวลาเท่าใด เช่นเดียวกันกับคุณภาพการศึกษาที่ต้องมีองค์ประกอบเป็นปัจจัยว่าสถาบันจะรุ่ง หรือจะร่วง

ทุกอย่างเกิดขึ้นจากการรวมกันขององค์ประกอบ เช่น ข้าวมันไก่จะประกอบด้วย ข้าว ไก่ น้ำจิ้ม น้ำซุป แต่จะมีลูกค้ามากน้อยเพียงใดย่อมมีอีกหลายองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง สำหรับข้าวมันไก่ที่มีคุณภาพก็จะมีรสชาติและปริมาณใกล้เคียงกันทุกจาน หากกุ๊กทำมานับสิบปีที่เรียกว่ามืออาชีพก็มักมีมาตรฐาน คือ ปริมาณและรสชาติใกล้เคียงกันทุกจาน ส่วนร้านใดเปลี่ยนกุ๊กบ่อยก็คาดได้ว่าไม่มีมาตรฐาน คือ รสชาติเปลี่ยนตามแม่ครัว ลูกค้าก็มักทยอยหนีหายไปร้านอื่น

การศึกษายุคโบราณที่มีวัดเป็นโรงเรียนจะมีองค์ประกอบที่ต่างกับปัจจุบัน คือ มีพระสงฆ์ มีกระดานชนวน มีปั๊บสา มีศาลาวัดเป็นห้องเรียน ซึ่งยังไม่มีใครพูดถึงคุณภาพหรือมาตรฐาน แต่ปัจจุบันโรงเรียนประกอบด้วย อาคารเรียน ครู ห้องเรียน สื่อการเรียนรู้ หลักสูตร คุณภาพและมาตรฐาน เป็นต้น แล้วองค์ประกอบที่ทำให้โรงเรียนแตกต่างกันก็มีอยู่มากมาย เพื่อแยกความแตกต่างจึงมีการจัดลำดับโรงเรียน ก็มีทั้งจัดอันดับในจังหวัด ในประเทศ และในโลก เมื่อมีโรงเรียนที่เป็นเลิศก็ย่อมมีโรงเรียนที่อยู่ท้ายสุด ผู้จัดอันดับแต่ละรายก็จะสนใจองค์ประกอบที่เป็นที่มาของคะแนนแตกต่างกัน อาจพิจารณาจากจำนวนนักเรียนที่สอบเข้าในสถาบันการศึกษาของรัฐ จำนวนนักเรียนที่เป็นตัวแทนระดับชาติ หรือคะแนนเฉลี่ยจากการสอบวัดผลด้วยข้อสอบส่วนกลาง

ในระดับอุดมศึกษามีสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กำหนดว่าสถาบันที่มีคุณภาพต้องประเมินองค์ประกอบคุณภาพทั้งหมด 9 องค์ประกอบ นอกจากนั้นก็ยังมีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) (สมศ.) กำหนดว่ามาตรฐานคุณภาพต้องมี 18 มาตรฐาน หากลงไปในรายละเอียดก็จะพบว่ามีตัวบ่งชี้ และเกณฑ์คุณภาพอีกร้อยกว่าตัวที่ทุกหลักสูตรต้องปฏิบัติ ไม่มีหลักฐานมาแสดงก็จะไม่ได้คะแนนในส่วนนั้น ถ้าไม่ดำเนินการตามเกณฑ์ในระดับหนึ่งก็จะถูกประเมินว่าไม่มีคุณภาพ อาจมีผลพิจารณาจากต้นสังกัดว่าไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดรับนักเรียนในปีต่อไป หากดื้อดึงยังรับนักศึกษาต่อไปก็จะไม่ส่งเรื่องให้สำนักงาน ก.พ. เป็นผลให้หลักสูตรที่มีบัณฑิตจบออกมานั้นไม่สามารถรับราชการได้

องค์ประกอบของสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาที่มีคุณภาพต้องมี 9 องค์ประกอบ คือ แผนการดำเนินการ การผลิตบัณฑิต การพัฒนานักศึกษา การวิจัย การบริการวิชาการ การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริหาร การเงิน และการประกันคุณภาพ จากการกำกับให้มีการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องมากว่า 10 ปีของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ได้นำผลการประเมินคุณภาพการศึกษาของทุกสถาบันเผยแพร่สู่สาธารณะผ่านระบบ CHEQA เมื่อเข้าไปสืบค้นข้อมูลผลประเมินสถาบันการศึกษาในไทย พบว่า มีสถาบันการศึกษากลุ่มหนึ่งที่มีผลประเมินต่ำกว่าระดับดี โดยองค์ประกอบที่มีคะแนนต่ำคือ การผลิตบัณฑิต และการวิจัย

เมื่อเข้าไปดูผลการดำเนินงานของสถาบันที่มีผลประเมินในระดับต่ำในระบบ CHEQA ที่ สกอ. เผยแพร่ พบว่า ตัวบ่งชี้ของการผลิตบัณฑิตที่ได้คะแนนต่ำ คือ จำนวนอาจารย์ที่มีวุฒิปริญญาเอก และจำนวนอาจารย์ที่มีตำแหน่งทางวิชาการมีน้อย ซึ่งสะท้อนได้ว่าจำนวนอาจารย์ที่พร้อมสอนในระดับนี้ยังขาดแคลน ส่วนตัวบ่งชี้ของการวิจัยที่ได้คะแนนต่ำ คือ วงเงินสนับสนุนงานวิจัย ถ้าหลักสูตรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีอาจารย์ 5 ท่านจะต้องได้ทุนวิจัย 300,000 บาทต่อปี จึงจะได้คะแนนในระดับดีมาก

องค์ประกอบทั้งสองส่งผลถึงการผลิตบัณฑิตว่า ถ้าอาจารย์มีความพร้อมที่จะสอน ย่อมผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเป็นที่ยอมรับของสังคม ถ้าอาจารย์ทำวิจัยที่มีคุณภาพก็ย่อมจะได้องค์ความรู้ใหม่ และนำไปถ่ายทอดให้นักศึกษามีความรู้ใหม่ แล้วจบเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นที่ต้องการของสังคม แต่จากการติดตามข่าวเด่นประเด็นร้อนในเว็บไซต์ของกระทรวงศึกษาธิการ พบว่า สถาบันการศึกษาบางแห่งไม่ใส่ใจเรื่องคุณภาพการศึกษาจนเป็นเหตุให้ต้องถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัย หรือบางแห่งต่างเรื่องคุณภาพอาจารย์จน สกอ. มีคำสั่งให้หยุดรับนักศึกษาใหม่ในหลักสูตรที่มีจำนวนอาจารย์วุฒิปริญญาเอกน้อย และตำแหน่งทางวิชาการน้อย

เกณฑ์คุณภาพการศึกษาเป็นเรื่องที่มองได้หลายมุม คนที่กำหนดเกณฑ์เป็นคนกลุ่มหนึ่ง คนที่รักษากฎเป็นอีกกลุ่ม คนที่พิพากษาเป็นอีกกลุ่ม แต่กลุ่มใหญ่ที่สุดคือคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทุกข้อให้ครบถ้วน ปัจจุบันพบว่ามีนักวิชาการไทยก็ยังเห็นต่างเรื่องคุณภาพการศึกษา อาทิเช่น เน้นการกระจายโอกาสทางการศึกษาจนทำให้คุณภาพเสียไป เน้นเรียนกับมืออาชีพโดยใช้คนที่ทำงานในภาคธุรกิจมาเป็นอาจารย์พิเศษเป็นสัดส่วนที่มากเกินไปก็จะไม่เป็นตามเกณฑ์คุณภาพ

ประเทศไทยยังเป็นประเทศกำลังพัฒนา และอยู่ระหว่างพัฒนา ทั้งองค์ประกอบคุณภาพ มาตรฐานคุณภาพ และเกณฑ์คุณภาพมีการปรับเปลี่ยนตลอดเวลาในช่วงเวลา 10 ปีนี้ และจะยังปรับเปลี่ยนต่อไป การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบใดอย่างไรย่อมทำให้ผลลัพธ์แปรผันตามกันไป ในอนาคตการศึกษาไทยอาจให้ความสำคัญกับองค์ประกอบด้านศิลปวัฒนธรรมเป็นอันดับหนึ่ง ถ้าวันนั้นมาถึงก็เชื่อได้ว่าบัณฑิตใหม่จะสวดมนต์ และฟ้อนรำเป็นทุกคน

แหล่งข้อมูล
! http://www.cheqa.mua.go.th
http://www.mua.go.th
http://www.onesqa.or.th
http://www.moe.go.th

โดย ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ ในกรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/16WbWsK

คุณภาพการศึกษากับธุรกิจการศึกษา (itinlife398)

education business
education business

มีโอกาสเข้าอบรมเรื่อง CHEQA และมีประเด็นซักถามเรื่องการเผยแพร่เอกสารของสถาบันการศึกษาเพื่อใช้ตอบเกณฑ์คุณภาพการศึกษา เพราะมีสมมติฐานว่าสังคมต้องการดูเอกสารที่ใช้ตอบการมีคุณภาพการศึกษา แต่สถาบันการศึกษาหลายแห่งไม่เปิดเผยเอกสารที่ใช้ตอบว่าตนเองมีคุณภาพอย่างไร จะเปิดเผยเฉพาะช่วงที่ผู้ประเมินเข้าไปตรวจสอบเพียง 3 – 7 วันเท่านั้น ต่อมาเข้าอบรมเรื่องการขอรับความคุ้มครองจากกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้เข้าใจว่าปัจจุบันการศึกษาแบ่งเป็นสองขั้วคือคุณภาพการศึกษากับธุรกิจการศึกษา เมื่อมีการแข่งขันย่อมทำให้ผู้บริหารในสถาบันการศึกษาบางแห่งเกรงว่าข้อมูลจะรั่วไหล และสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน จึงไม่พร้อมเปิดเผยเอกสารแบบหมดเปลือก

หลังประกาศผล Admission 2556 นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยเอกชนมีที่นั่งเหลือว่างกว่า 90,000 คน ยังเปิดรอรับนักเรียนที่สอบแอดมิชชั่นกลางไม่ได้ สถาบันของเอกชนรับนักศึกษาในระบบนี้ได้เพียงร้อยละ 10 แต่สถาบันของรัฐรับได้ร้อยละ 80 ของเป้าหมาย เพราะนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์มักเลือกสถาบันของรัฐ ย่อมทำให้เกิดการแข่งขันในการรับนักศึกษาระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ จากข้อมูลในสื่อพบว่าสถาบันการศึกษาของรัฐหลายแห่งยังเปิดรับตรงรอบพิเศษเพิ่มเพราะยังไม่ได้ตามเป้าที่กำหนด แล้วยังมีบางหลักสูตรเปิดภาคพิเศษเพิ่มและมีค่าเรียนสูงกว่าเอกชน

คุณภาพการศึกษาหมายถึงความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีหน่วยงานรับผิดชอบพัฒนาเกณฑ์มาตรฐาน และตัวบ่งชี้คุณภาพการศึกษาตามพรบ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 หมวด 6 มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา ซึ่งมีผลต่อสถานศึกษาทุกระดับ ในสถาบันการศึกษาของรัฐเริ่มออกนอกระบบ เริ่มคิดแบบธุรกิจ จึงเป็นเหตุให้ต้องเปิดศูนย์นอกที่ตั้งไปแข่งขันกับภาคเอกชน แต่คุณภาพการศึกษากลับไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด แม้เป็นสถาบันของรัฐก็อาจต้องถูกยุบศูนย์นอกที่ตั้งเนื่องจากจำนวนและคุณวุฒิอาจารย์ประจำไม่ถึงเกณฑ์ที่กำหนด เพราะคุณภาพต้องมีความเข้าใจ การลงทุนและอาจไม่คุ้ม ทำให้สถาบันการศึกษาทั้งภาคเอกชน และภาครัฐที่ต้องออกนอกระบบต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจการศึกษาเพิ่มขึ้นจนอาจทำให้คุณภาพการศึกษาลดลง

 

http://www.enn.co.th/7173

http://thainame.net/edu/?p=1353