seminar

ทำไม คนชอบถามว่า การอบรม มีประกาศหรือเกียรติบัตร หรือไม่

ในบางสังคม ที่ไม่สนใจในบางเรื่อง เช่น หนังสือรับรอง (certificate) เพราะมีคำถามถึง ที่มาที่ไป ความเป็นมา ความน่าเชื่อถือของหนังสือรับรอง ระบบ ความสุจริต งานเอกสาร ประโยชน์ และการนำไปใช้ จึงมีประเด็นคำถามเรื่องความรู้จากการอบรม กับ หนังสือรับรองความรู้

มักมีคำถามต่อผู้จัดการอบรมในบางลักษณะว่า “การอบรมมีประกาศนียบัตรหรือเกียรติบัตรหรือไม่” ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
1. ใช้เป็นหลักฐานรับรอง (Evidence)
หลายคนต้องการเอกสารยืนยันว่าพวกเขาได้เข้าร่วมการอบรมจริงกับผู้ทรงคุณวุฒิ หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ เพื่อนำไปใช้สมัครงาน เลื่อนตำแหน่ง หรือเป็นเงื่อนไขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลสอบภาษาอังกฤษ
2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ (Credibility)
การมีเกียรติบัตรช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้เข้าอบรม โดยเฉพาะหากออกโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง เช่น กระทรวง ทบวง กรม
3. ข้อกำหนดขององค์กร/หน่วยงาน (Rule)
บางหน่วยงานกำหนดให้พนักงานต้องเข้ารับการอบรมพร้อมใบรับรองเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น ใบรับรองคุณวุฒิ
4. ใช้สะสมชั่วโมงการอบรม (Working hours)
ในบางอาชีพ เช่น ครู วิศวกร หรือแพทย์ อาจต้องสะสมชั่วโมงการอบรมเพื่อใช้ต่ออายุใบอนุญาต
5. แรงจูงใจในการเข้าร่วม (Motivation)
บางคนมองว่า การได้รับเกียรติบัตร (certificate) เป็นรางวัล (reward) ที่จับต้องได้หลังจากลงทุนเวลาและความพยายามในการอบรม

คำถาม มีเหตุผลใด ที่จัดการอบรมทางวิชาการแล้ว ไม่มีใบรับรองให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. การอบรมแบบไม่เป็นทางการ (Informal)
บางหลักสูตรจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ทั่วไปโดยไม่มีข้อกำหนดทางวิชาการที่ต้องรับรอง
2. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ (Budget)
การออกใบรับรองต้องใช้ทรัพยากร เช่น การพิมพ์ การลงนาม และระบบการออกเอกสาร ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
3. ไม่มีเกณฑ์การประเมินผล (Criteria)
หากไม่มีการวัดผล เช่น การสอบหรือการทดสอบความเข้าใจ อาจทำให้ไม่สามารถออกใบรับรองที่มีความน่าเชื่อถือได้
4. เน้นการเรียนรู้มากกว่าการรับเอกสาร (Document)
บางหน่วยงานให้ความสำคัญกับความรู้ที่ได้รับมากกว่าใบรับรอง จึงไม่ได้ออกเอกสารให้
5. ไม่ต้องการให้ใบรับรองถูกใช้ในทางที่ผิด (Risk)
บางกรณีกลัวว่าผู้เข้าร่วมอาจนำใบรับรองไปแสดงเป็นคุณสมบัติทางวิชาชีพ ทั้งที่หลักสูตรอาจไม่ครอบคลุมในระดับนั้น
6. เงื่อนไขของผู้จัดการอบรม (Policy)
บางองค์กรอาจมีนโยบายว่า จะออกใบรับรองให้เฉพาะหลักสูตรที่มีความยาวหรือความเข้มข้นเพียงพอเท่านั้น
7. ต้องการให้ผู้เข้าร่วมจดจ่อกับเนื้อหา (Learning)
หากการอบรมมีเป้าหมายเพื่อเสริมความรู้ระยะสั้น ผู้จัดอาจไม่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมโฟกัสไปที่ใบรับรองมากกว่าการเรียนรู้จริง

ตัวอย่างเกียรติบัตร

https://www.kruachieve.com/%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1/%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97/

กิจกรรมเสริมหลักสูตร กับพี่โหน่ง แห่ง a day magazine

a day magazine @ ntu
a day magazine @ ntu

เสาร์ที่ 26 พฤศจิกายน 2559
เห็นนักศึกษาคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง
จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร เชิญพี่โหน่ง (วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์)
แห่งนิตยสารดาวรุ่ง a day magazine
มาพูดคุยแบบเข่าชนกันที่ห้องประชุม Auditorium ม.เนชั่น
กิจกรรมครั้งนี้นักศึกษาจัดทำกันเองในวิชาสัมมนา
แล้วจัดทำคลิ๊ปประชาสัมพันธ์
เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมสัมมนา It’s time to inspire
https://www.youtube.com/watch?v=TKHNJe6RVcU

มันเป็นเวลาที่จะสร้างแรงบันดาลใจ (Inspiration)
นักศึกษาคณะนิเทศฯ จะได้รับการปลุกพลังที่อยู่ในใจ
ปลุกศักยภาพของตนเอง
ผ่านการแชร์ของวิทยากรที่ทำนิตยสารอย่างมืออาชีพ
นักศึกษาจะได้เรียนรู้บุคคลต้นแบบ แล้วติดตามแฟนเพจของ a day
ที่ https://www.facebook.com/adaymagazine/
มีข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจพรั่งพรูมาใน feed
พัฒนาการอ่านของนักศึกษา (Reading Skill)

นอกจากนั้น พี่วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์
ยังมีเว็บไซต์ที่ http://www.wongthanong.com
ประวัติใน wiki บอกว่าพี่เกิด 21 มกราคม 2511
ที่ ธนบุรี กรุงเทพมหานคร
จบคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง นิตยสารอะเดย์ (A Day)
ร่วมกับ นิติพัฒน์ สุขสวย และ ภาสกร ประมูลวงศ์
ปัจจุบันเป็นบรรณาธิการอำนวยการ นิตยสารอะเดย์
นิตยสาร Hamburger นิตยสาร Knock Knock
และบรรณาธิการที่ปรึกษาสำนักพิมพ์ อะบุ๊ค

ภาพโดย book terrier
ภาพโดย book terrier

ผลงาน
เรื่องเล็ก (2543)
เหมือนไขมัน (บทสัมภาษณ์ ประภาส ชลศรานนท์) (2543)
The Story of The Modern Rebel (2546)
The Bear Wish Project (นามปากกา เดปป์ นนทเขตคาม) (2547)
หญิงสาวนักขายขนมปัง (2547)
มากกว่านั้น (2548)
Wake Up ! (ร่วมกับ วชิรา รุธิรกนก และ ทรงกลด บางยี่ขัน) (2550)
Question Mark (บทสัมภาษณ์ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) (2550)
abc : Change (ผู้เขียน วงศ์ทนง ชัยณรงค์สิงห์,แทนไท ประเสริฐกุล,ใบพัด,เรียวตะ ซูซูกิ,วชิรา รุธิรกนก,นภาพร ไตรวิทย์วารีกุล,วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล,หนุ่มเมืองจันท์) (2551)
TRY (2552)
มัชฌิมนิเทศ (2553)
minidot004 COME HOME (2554)
NO M>RE NO L<SS (2555)
In My Life (2555)
Day After Day (2556)
Everyday Story (2557)
กรรมการผู้ตัดสินรายการ SME ตีแตก (2557-2558)
ทำอะไรเล็กๆ ง่ายๆ ก็มีความสุขได้ (2558)
เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (2558)
เดอะ ดาวน์ เป็นคนธรรมดามันง่ายไป (ภาพยนตร์สารคดี) (2558)
Everyday Story 2 (2559)

ภาพชุดที่ 1 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306139222785278/
ภาพชุดที่ 2 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306160609449806/
ภาพชุดที่ 3 โดย Book Terrier
https://www.facebook.com/groups/nationu/permalink/1306189219446945/