ประสบการณ์ของมนุษย์แปรผันตามอายุ

นักเลงคีย์บอร์ด
นักเลงคีย์บอร์ด

ถ้าอายุน้อย ประสบการณ์ก็จะน้อยไปด้วย
ทางกฎหมายมักนิยามว่า อายุน้อยแล้ว คิดอ่านไม่เป็น ทำอะไรผิดก็ไม่ควรรับโทษเท่าผู้ใหญ่

ถ้าอายุมาก ประสบการณ์มากก็จริง แต่ประสิทธิภาพในการตัดสินใจจะลดลง
เนื่องจากความสามารถทางสมอง ความจำลดลง
บ่อยครั้งที่ผู้สูงอายุมีอาการของโรคความจำเสื่อม
ดังนั้นองค์กรต่าง ๆ จึงกำหนดอายุสูงสุดไว้ที่ 60 ปี
เพราะเชื่อว่าหลังจากนั้นจะทำงานได้ไม่เต็มที่

http://www.thaiall.com/mis/mis02.htm
ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525
เยาวชน หมายถึง บุคคลที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 14 ปีบริบูรณ์ แต่ยังไม่ถึง 18 ปีบริบูรณ์

กฎหมายไทยกำหนดว่า
– เด็กอายุต่ำกว่า 14 ปี (อายุไม่ถึง 7 ปี ไม่ต้องรับโทษตามกฎหมาย)
– เยาวชนอายุ 14 – 20 ปี
http://www.thailocalmeet.com/index.php?topic=22575.0

ตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กของสหประชาชาติ ได้จำกัดความว่า
เด็ก คือ มนุษย์ทุกคนที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี

วัยสูงอายุ หรือ วัยชรา หมายถึง มนุษย์ที่มีอายุอยู่ในช่วงปลายของชีวิต
ในทางสถิติมักถือว่าผู้ที่อยู่ในวัยสูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุ 60-65 ปีขึ้นไป
ประเทศไทยกำหนดไว้ว่าผู้สูงอายุ คือ บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป

การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย
– การสูญเสียฟัน
– ผิวหนังเหี่ยวย่นเพิ่มขึ้น
– สีผมเปลี่ยนเป็นสีเทา หรือสีขาว
– ความสามารถในการมองเห็นลดลง
– การรับรู้ทางเสียงลดลง
– ร่างกายเคลื่อนไหวได้น้อยลง และใช้เวลามากขึ้น
– การใช้ความจำน้อยลง
– ความต้องการทางเพศลดลง หรือหมดไป