หนังสือ วิทยาการคำนวณ ม.3

มีโอกาสอ่านหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียบเรียงคือ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มี 191 หน้า มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งแบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชัน” หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “การรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล” หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 “การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลกระทบ” หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้”

พบเนื้อหา ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน หน้า 14 พบเครื่องมือที่ใช้ คือ MIT App inventor และ Thunkable ซึ่งอธิบายขั้นตอนการพัฒนามี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข” ตัวอย่างที่ 2 “การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบคำถาม” แล้วต่อยอดการใช้ blockly ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น บอร์ด KidBright ร่วมกับหลอดไฟ USB หน้า 51 โดยใช้โปรแกรม KidBright IDE บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียน python ควบคุมบอร์ด Raspberry Pi 3 สั่งควบคุมการเปิดปิดไฟ หน้า 63 ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งแบบ no code และ code ที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ iot ในปัจจุบัน

http://www.thaiall.com/programming/thunkable.htm