Book and Learning

ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง - ช่วงเริ่มต้นปี 2506

ประวัติสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง – ช่วงเริ่มต้นปี 2506

การก่อตั้งสมาคมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง เริ่มขึ้นในช่วงปี 2506 – 2507 โดยภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ ให้ข้อคิดเตือนใจแก่นักเรียนในขณะนั้น ให้พยายามรวบรวมศิษย์เก่ามาพบปะพูดคุยกันอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ปี พ.ศ. 2510 ภราดามิเกล ซีซีเรีย อิลเดฟองซ์โซ กลับมารับตำแหน่งอธิการอีกครั้ง ถึงปี พ.ศ. 2512 และในวันคริสต์มาสของทุกปีได้มีการจัดงานวันครอบครัว ดังนั้นคณะครูโรงเรียนที่เป็นศิษย์เก่าได้ปรึกษากับคณะครูอาวุโส มีมติร่วมกันให้จัดงานพบปะสังสรรค์ประจำปี ซึ่งครั้งแรกจัดใต้อาคารเซนต์หลุยส์ โดยเชิญภราดาฟิลิป อำนวย ปิ่นรัตน์ มาเป็นประธาน มีผู้มาร่วมงานประมาณ 30 คน ปี พ.ศ. 2511 – 2515 การพบปะระหว่างศิษย์เก่ากับโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ แต่ยังไม่มีประธานฯ มารับผิดชอบโดยตรง ปี พ.ศ. 2516 คณะครูโรงเรียนได้มอบหมายให้ ม.เรืองยุทธ นวลบุญเรือง รุ่น 02 และ ม.สุรเดช ประสาทพร รุ่น 04 ร่วมกันยกร่างข้อบังคับ ชมรมศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง และสรรหาศิษย์เก่ามาเป็นประธานจัดงาน เพื่อปรึกษากันก่อตั้งสมาคมฯ ได้นายชนะ บูรมินเหนทร์ รุ่น 04 มาเป็นประธานจัดงานฯ วาระ 1 ปี ผลัดเปลี่ยนกันเป็นประธานชมรม มาโดยตลอด

อ้างอิงจาก เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553 เสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ.2553
ในสมัยที่ พี่มนัสพี เดชะ เป็นนายกสมาคมฯ สมัยที่ 18

http://www.thaiabc.com/acla/team.asp

http://www.thaiabc.com/acla/team_bkk.asp

เอกสารในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ศ.2553
คลิกเพื่อเปิด e-book
หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

สารบัญใน หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

อีบุ๊ก (e-book)
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 1 : scribd.com
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 2 : pubhtml5.com

thai dance

สารบัญ (ใช้เลขหน้าตาม e-book ตั้งแต่ 1 – 93)

  1. หน้าปก 1
  2. ปกใน 2
  3. สำนักพระราชวัง 3 – 4
  4. สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ 5
  5. กำหนดการ 6
  6. รัตนชยาลัยกถา (คำไว้อาลัย) : เจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง 7
  7. คำไว้อาลัย : เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าสุดชาดาราม พระอารามหลวง 8
  8. ระลึกถึง อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย : ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ 9
  9. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 10
  10. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย : ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 11 – 12
  11. อัจฉริยบุรุษ สุดประเสริฐยิ่งนัก “อาจารย์ ศักดิ์ รัตนชัย” : ประดิษฐ สรรพช่าง 13
  12. ข่าวสาร กลุ่มพิธีการฯ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 14
  13. ค่าใช้จ่าย 15
  14. มูลนิธิส่งเสริมงานวัฒนธรรมลำปาง สนับสนุนน้ำดื่ม และน่ำแข็ง 15
  15. ท่าฟ้อนเผียไหม 16 – 17
  16. เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง 18 – 19
  17. สารบัญ (ตามเล่มเอกสาร) 20
  18. ประวัติและผลงาน อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 21 – 40
  19. ความหลัง ความทรงจำ ชุดภาพงานแสดงแห่งชีวิต ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 41 – 59
  20. ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้บุกบั่น ฟันฝ่า ตามหาอาจารย์ สุดขอบฟ้า ร่ำเปิงถึงความหลัง : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 60 – 63
  21. แด่ปูชนียะ อาจาริยะ ศักดิ์ ส.รัตนชัย : อาจารย์ประดิษฐ สรรพช่าง 64 – 67
  22. ซอสะหรีสักเสิน เชิดชูเกียรติ อาจารย์ศักดิ์ สักเสริฐ รัตนชัย ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ถ่ายทอดและสืบทอดตำนานแผ่นดิน : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 68 -70
  23. การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เอกสารชุดที่ 12 71 – 88
  24. เอกสารเพิ่มเติม เรื่อง แก้วตาแม่ : อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด 89 – 92
  25. ปกหลัง 93
สารบัญ ตาม e-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

อ่านบทความเรื่องที่ 47 ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ชวนอ่านบทความของเพื่อนในสื่อสังคม

คร ๆ ก็บอกเล่าเรื่องราวผ่านสื่อสังคม .. เรามักมีเพื่อนในสื่อสังคม พบว่า มีการแชร์แบ่งปันเรื่องราวที่เพื่อนสนใจ ทั้งแบบเฉพาะตนเอง เฉพาะเพื่อน หรือเป็นสาธารณะ ผมมีเพื่อนสมัยประถมและมัธยม ที่มีเรื่องมาเล่าให้ได้ติดตามเสมอ มีของมาขาย มีของที่ได้ซื้อมา มีที่เที่ยว แล้วหยิบมาเล่าสู่กันฟัง ผมมีเพื่อนสมัยอุดมศึกษา มักเล่ากิจกรรมการกิน การอยู่ การใช้ชีวิต พร้อมภาพประกอบมาให้อ่านกันอย่างเพลินใจ ผมมีหัวหน้าที่แบ่งปัน เกี่ยวกับทฤษฎีการบริหาร การจัดการ การตลาด บุคคลและองค์กร และเรื่องน่าสนใจ ที่เป็น public อยู่มากมายหลายสิบบทความ รวบรวมเป็นฐานข้อมูล และอีบุ๊คให้เข้าถึงได้ง่าย มักชวนนิสิตเข้าไปติดตาม (follow) อยู่เสมอ ถ้าเรามีชีวิตในโลกออนไลน์ ได้ใช้สื่อสังคม อาจมองเห็นช่องทางทำธุรกิจ ช่องทางบันเทิง หรือโอกาสในการสื่อสารใหม่ การรับข้อมูลข่าวสารในเรื่องที่เราชอบ มักเริ่มต้นจากการกด like / share / follow เพราะอาจมีสักวันที่ได้นำหลักการที่ได้จากการอ่าน การฟังเหล่านั้นไปปรับใช้ในชีวิตก็เป็นได้ สรุปว่า ทักษะทางสังคม ก็มีความจำเป็นในการใช้ชีวิตในสังคม

บทความมากมายน่าสนใจ
เช่น ซีรี่บทความของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ เรื่องที่ 41 – 47 มีดังนี้

  1. สมองคิด ปากพูด กายทำ ของคน 8 ลักษณะ ในงาน หรือชีวิตประจำวัน
  2. ใครทำ ใครได้ บุคลิกภาพของเรา และการรับรู้ของคนอื่นในองค์กร
  3. ฟันเฟืองมนุษย์ในองค์กร
  4. แนวคิด Makoto Marketing
  5. ความพอใจคนทำงาน กับ ความพอใจขององค์กร
  6. การปรับภาพลักษณ์ด้วย ชื่อ หรือ ตรา กับการสร้างคุณค่าทางการตลาด
  7. ผู้นำ : คนที่มีภาวะผู้นำกับผู้นำที่ยกระดับองค์กร

http://www.thaiall.com/facebook/

If you can't explain it simple, you don't understand it well enough.

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ .. ดังคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งใด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัวคุณเอง ยังไม่เข้าใจมันดีพอ (If you can’t explain it simple, you don’t understand it well enough.)” โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้นึกถึงความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในสื่อสังคม มักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ชาวโซเชียล พบว่า #ชาวโซเชียล จุดประกาย ปลุกกระแส ตาม “ข่าวในแต่ละช่วงเวลา” ให้ชาวโซเชียลช่วยกันอธิบาย สืบค้น อย่างมีความสุขตามสายอาชีพ หมอก็อธิบายแบบหนึ่ง ทนายก็อธิบายแบบหนึ่ง นักข่าวก็อธิบายแบบหนึ่ง อินฟูเอ็นเซอร์ก็อธิบายอีกแบบ ผู้อ่านก็เข้ามาช่วยอธิบายในแบบของตน เป็นกรณีศึกษาในห้องเรียน ให้เข้าไปดูพฤติกรรมชาวโซเชียล ที่ช่วยอธิบายเหตุการณ์ตามประสบการณ์ หรือฐานสมรรถนะเฉพาะตน ที่ได้อ่าน ได้ดู ได้ฟังมา แล้วก็อธิบายตามความเชื่อ ซึ่งเป้าหมายของการสื่อสาร เลือกนำเสนอผ่านการเขียน/พูดแสดงออก คือ เพื่อให้ข้อมูล ทั้งเชิงบวก เชิงลบ หรือสร้างสรรค์ มีที่มาของการแสดงความเห็นได้หลายสาเหตุ

http://www.thaiall.com/futureclassroom/

Albert Einstein Quotes. (n.d.). Quotes.net. Retrieved March 14, 2022, from https://www.quotes.net/quote/9276.

หนังสือ เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18

เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง

ใน #สังคมคนรักอ่าน พบเพื่อน ๆ เล่าเรื่องการอ่านหนังสือ แบ่งปันประสบการณ์ เรื่องราวชวนคิด และชวนอ่านหนังสืออยู่เสมอ ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง เป็น limited edition แต่ผมมีโชคได้รับมา 3 เล่ม ด้วยความเมตตา จาก พระครูสิริธรรมบัณฑิต และ พระครูสุตชยาภรณ์ แล้วได้สนทนาธรรมเรื่องงานกฐิน และหนังสือชื่อ “ปักหมุดเมืองไทย บันทึกเรื่องราววัดในจังหวัดลำปาง” หรือ “เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18” จากการพูดคุยกับพระครูทำให้ผมเข้าใจ และคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของหนังสือเล่มนี้ได้ชัดเจนขึ้น สำหรับรายละเอียดเนื้อหาในหนังสือจะมีข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละวัด แต่ภาพในหนังสือสวยสดงดงามกดไลค์ได้ทุกภาพ แต่ใน e-book จะถูกลดความละเอียดลง เพื่อลดเวลาดาวน์โหลดสำหรับการอ่านออนไลน์ ตัวอย่างข้อมูลที่ปรากฎในหนังสือของ วัดมิ่งเมืองมูล ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่เผยแพร่ข้อมูลรวมพบ 4 หน้า คือ หน้า 74 – 77 มีข้อมูลที่น่าสนใจของวัดในหัวข้อ ความเป็นมา อาคารเสนาสนะ ปูชนียวัตถุ อาณาเขต การบริหารและการปกครอง

หนังสือเล่มนี้พิมพ์จำนวนจำกัด ผมได้มา 3 เล่ม ท่านใดที่อ่าน e-book จาก เว็บไซต์ปักหมุดประเทศไทย หรือตาม qr code ของวัดมิ่งเมืองมูล หรือวัดศรีชุม ไปอ่านความเป็นมา และดูภาพสวยภายในวัด แล้วยังมีความต้องการหนังสือเล่มนี้ฉบับตีพิมพ์ ไว้ในครอบครอง โดยมีเหตุผลอันควรที่ชัดเจน ติดต่อไปที่พระครูที่ดูแลวัดภายในเล่มได้ครับ หรือถามมาที่ผมก็ได้
เพราะผมมีเครือข่ายของพระครูที่ครอบครองหนังสือเล่มนี้อยู่ หากมีเพื่อนมาขอส่วนของผมไปจนหมดแล้ว ก็ยังสามารถประสานจากพระครูส่งหนังสือไปให้ผู้ที่สนใจได้ ถ้าขอหนังสือมาและนำไปใช้ด้วยเหตุผลอันควร ก็เชื่อว่าพระครูท่านจะพิจารณามอบให้เป็นกรณีไป แล้วส่งไปให้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

https://pukmudmuangthai.com/detail/20071

http://www.thaiall.com/e-book/

หนังสือ วิทยาการคำนวณ ม.3

มีโอกาสอ่านหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียบเรียงคือ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มี 191 หน้า มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งแบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชัน” หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “การรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล” หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 “การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลกระทบ” หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้”

พบเนื้อหา ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน หน้า 14 พบเครื่องมือที่ใช้ คือ MIT App inventor และ Thunkable ซึ่งอธิบายขั้นตอนการพัฒนามี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข” ตัวอย่างที่ 2 “การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบคำถาม” แล้วต่อยอดการใช้ blockly ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น บอร์ด KidBright ร่วมกับหลอดไฟ USB หน้า 51 โดยใช้โปรแกรม KidBright IDE บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียน python ควบคุมบอร์ด Raspberry Pi 3 สั่งควบคุมการเปิดปิดไฟ หน้า 63 ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งแบบ no code และ code ที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ iot ในปัจจุบัน

http://www.thaiall.com/programming/thunkable.htm

7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่า เตรียมตัวตกงาน ชอบครับ จึงสรุปใหม่เพื่อนำไปแชร์ต่อ

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

อ.อดิศักดิ์ แชร์บทความมาในกลุ่มบุคลากร
เรื่อง “7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องเตรียมตัว-เตรียมใจตกงาน
ใน manager online 2 มกราคม 2560
ผมตามบทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ที่เพื่อน ๆ แชร์มาให้อ่านเสมอ
ครั้งนี้ท่านเล่าว่ามีเพื่อนอาจารย์ “ลาออก”
แล้วฝากคำแนะนำไว้ 7 ข้อสำหรับ “อาจารย์รุ่นน้อง” ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000000252
https://www.facebook.com/Life101.Co.Ltd/photos/a.163584947075166.25005.163576530409341/986938344739818/

เมื่อผมได้อ่านที่ ดร.อานนท์ เขียนแล้ว
.. ก็สรุปเป็นคำพูดที่จะนำไปพูดคุยกับนักศึกษาต่อไป
หากต้องการรายละเอียดฉบับเต็ม คลิ๊กลิงค์ของ manager ด้านบนได้ครับ

 

1. ลดอัตตา
อย่าคิดว่าเราเป็นที่สุด ในความจริง ไม่มีใครเหนือใคร
ความรู้ของคนเราเป็นแบบ intersection
คนไม่จบ ดร. ไม่มีตำแหน่ง ผศ. ที่เก่งทั้งทฤษฎี และปฏิบัติก็เยอะ
ควรผูกมิตร และยกย่องเขา ปรับตัวเรา และ make friend และ adapt

2. เปลี่ยนจากศูนย์กลางแห่งความรู้เป็นศูนย์กระจายความรู้
ต้องเปลี่ยนจาก Knowledge Guru เป็น Knowledge Facilitator
หาของใหม่จากภายนอก มาสอนนิสิตนักศึกษา และแชร์ความรู้บ่อย ๆ
พาลูกศิษย์ และตัวเองไปเจอเวทีหรือคนข้างนอกบ้าง
สมัยนี้เวที หรือ idol หรือ group หรือ conference หรือสื่อสังคม มีเยอะ

3. อย่าขาดการติดต่อกับโลกภายนอกมหาวิทยาลัย
มีอะไรอยู่ภายนอกมากมาย โลกพัฒนาไปเร็ว
เราติดตาม ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเท่าทันการเพิ่มขึ้นของความรู้หรือไม่
ได้พยายามรับรู้ และมีส่วนบ้างรึเปล่า
ที่สำคัญอย่าทำตัวเป็นผู้ตามความรู้อย่างเดียว
ถ้าให้ดีต้องเขียนความรู้ เป็น primary มากกว่า secondary อย่างเดียว

4. หมั่นเช็ค Rating ของตัวเอง
สังคมนอกมหาวิทยาลัยยอมรับเราไหม เรารับงานข้างนอกบ้างไหม
ตัวเราสะท้อนถึงลูกศิษย์ ก็เหมือน แม่ปูกับลูกปู
ถ้าเราเองยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม แล้วลูกปูจะเดินตรงได้อย่างไร

5. อย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง
หัวข้อนี้น่าจะเตือนเรื่องความรู้สึกเหนือคนอื่น และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ความไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่แบ่งปันรายได้ที่ได้รับจากสังคม
แต่ไปเบียดบังเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีรายได้เหมือนตน
ถ้ามีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน แบ่งปัน ความเจ้ายศเจ้าอย่างก็จะลดลง

6. ทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ออกบริการสังคมโดยใช้องค์ความรู้ ดังคำว่า “การให้มีความสุขมากกว่าการรับ”
หรือการทำ CSR นั่นเอง ถ้าทำ 5 ข้อแรกได้ ข้อนี้ก็น่าจะหมุนไปเอง
หากเป็นอาจารย์ก็นำงานวิจัยไปช่วยเหลือสังคม

7. ให้ทุนนิสิต
หากทำ 6 ข้อได้ ก็จะมีโอกาสทำข้อ 7 คือ การแสวงหาแหล่งทุน
มาสนับสนุนนิสิต นักศึกษา หรือเพื่อนอาจารย์ และหมุนวนไปทำ 6 ข้อแรกต่อไป

อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค มาครับ ขอแชร์

karnaugh in digital technique
karnaugh in digital technique

ตื่นเช้าครับ ก็อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค
ของ น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี พ.ต.อนุรักษ์ เถื่อนศิริ
เล่มที่ผมมีพิมพ์ครั้งที่ 15 เมื่อ พฤษภาคม 2543

หนังสือมี 6 บท
1. ระบบตัวเลข
2. รหัส
3. พีชคณิตบูลีน และการออกแบบวงจรลอจิก
4. แผนผังคาร์โนท์
5. การเข้ารหัสและการถอดรหัส
6. ฟลิป ฟลอป

http://www.thaiall.com/digitallogic/

บทที่ 1 พูดเรื่องเลขฐาน แล้วก็พูดถึงเทคโนโลยี
ว่าเราใช้ฐาน 2 (Binary number) ฐาน 16 (Hexadecimal number)
มีแบบฝึกหัด และตัวอย่างละเอียดมากในบทนี้
ผมว่าต้องมีนักวิชาการนอกสายไอที
ตั้งคำถามว่า “ในชีวิตจริงต้องใช้เลขฐานด้วยหราาาา”
อยากชวนไปดูหนังเรื่อง “inferno”
ชอบคำพูดตอนท้าย ๆ ที่บอกว่า “เธอคิดว่า เธอกู้โลก”
ก็จริงนะ
แต่ละคนมีวิธีช่วยกู้โลกแตกต่างกันไป พระเอกกู้อีกแบบหนึ่ง

บทที่ 2 แปลงอักษรเป็นตัวเลข
ถ้าดูหนังเรื่อง Matrix หรือ Source code Movie
จะรู้ว่า ข้อมูล (Data) ที่เราเห็น เข้าใจ และตีความอยู่
ในทางไอที เค้าเก็บ 0 กับ 1 คือด้วยหลักสภาวะทางไฟฟ้า
แล้วก็มีการ encode และ decode ตลอดเวลา
ซึ่ง BCD (Binary-Coded Decimal) ก็ใช้แทน 0-9
ก็เป็นหัวข้อให้เรียนรู้การเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างง่าย
ชีวิตจริงใช้ ASCII กับ Unicode ในปัจจุบัน

บทที่ 3 Boolean Algebra
สรุปว่าเป็นเรื่องของ และ (and) กับ หรือ (or)
แล้วแทนด้วยสัญลักษณ์ที่ชื่อ Gate และ Truth Table
อ่านแล้วนึกถึงอดีตของคนเขียนกฎด้านหนึ่ง
ในคู่มือสมัยนั้น เค้าเขียนว่า “และ” แต่เจตนารมณ์คือ “หรือ”
ซึ่งภาษาไทยก็ยืดหยุ่นครับ
เหมือนเขียนว่าวงจรจะส่งสัญญาณ “ออกเป็น 0 และ 1
ซึ่งบางคนจะค้านว่า “ออกเป็น 0 หรือ 1

บทที่ 4 แผนผังคาร์โนห์ ซึ่งผมชอบบทเรียนนี้
อ่านแล้วสนุก ตีความตามภาพ ออกมาเป็น 0 กับ 1
หรือฟังก์ชันคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้เลย
เอาเรื่องนี้คุยกับนักศึกษาทีไรก็สนุกครับ
เหมือนตาราง XO นั่นหละ ถ้าเป็นตาราง 9 ช่อง
มีหลักที่เล่นแล้วไม่มีวันแพ้ มีแต่ชนะ กับเสมอนั่นหละครับ
แต่ Karnaugh ไม่ได้มี 9 ช่องนะครับ
เค้ามี 4 หรือ 8 หรือ 16 หรือมากกว่านั้น
จากที่มาของเลขฐาน 2 ที่กระทำต่อกัน

บทที่ 5 เข้ารหัส (Encode) และถอดรหัส (Decode)
คือการแปลงจากรหัสหนึ่งเป็นอีกรหัสหนึ่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับดิจิตอลเทคนิคอย่างชัดเจน
ตัวอย่างที่ชัดเลย คือ ส่ง BCD Code แล้วแปลงเป็นเลขฐาน 10
เอาวงจรนี้ไปควบคุมหลอด LED ให้แสดงเลขดิจิตอล
ตัวอย่าง ให้นึกถึงเลขดิจิตอลตามสัญญาณไฟจราจรในอดีต
ว่าเลข 1 ตัว ใช้หลอดไฟคุม 7 ดวง ถ้าเลข 8 ก็สว่างทุกดวง
หัวข้อนี้เหมาะกับคนที่จะต่อยอดทางอิเล็กทรอนิกส์
ผมล่ะนึกถึง อ.ทรงเกียรติ ขึ้นมาเลย เห็นท่านแชร์เรื่อง IoT ตลอด

บทที่ 6 ฟลิป ฟลอป คือวงจรที่มี output เป็น 0 หรือ 1 อีกนั่นหละ
เค้าออกแบบ ไว้ 4 แบบที่เล่าในหนังสือเล่มนี้
คือ RS Flip Flop, D Flip Flop, T Flip Flop, JK Flip Flop
เพื่อแนะนำว่าแต่ละ Flip Flop มีเงื่อนไขการทำงานอย่างไร
อาจนำไปประยุกต์ทำงานกับวงจรที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

electronic logic
electronic logic

 

FIN magazine “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย”

fin magazine
fin magazine

พบนิตยสารอีกเล่า คือ FIN Magazine ฉบับ “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
เป็นนิตยสารแจกฟรี Special issue

contents
– ๙ พระบรมราโชวาท
– ภาพวาดฝีพระหัตถ์
– ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
– รูปที่มีทุกบ้าน

https://app.box.com/s/p4zivvscwjmp7njtuky152zrp7tt8ugz
http://www.4shared.com/office/SmEadZU5ce/finmagazine.html
https://1drv.ms/b/s!Ao3SSLS4TV2thQyEUvHFfSAERuwU
https://www.dropbox.com/s/53h0gh0zvx18neu/finmagazine.pdf?dl=0
https://drive.google.com/open?id=0B57tftxwECsiQnNYN2dMZ1JGaXM

๙ พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
1. การทำงาน
2. ความรู้ตน
3. ความพอเพียง
4. ความดี
5. ความซื่อสัตย์
6. ความคิด
7. การให้
8. หน้าที่
9. ความสงบหนักแน่น

พูดคุยกับนักศึกษา ด้วย 4 คำถาม คือ ชวนฝัน ชีวิตจริง เป้าหมาย การไปถึงเป้าหมาย

วิกฤตหนังสือ
วิกฤตหนังสือ

หลังปิดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน
และเปิดภาคเรียนมาแล้ว 1 เดือน ก็ยิงคำถามไป 4 คำถาม
ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
คำถามที่ 1 – ทำไมต้องอ่านหนังสือ
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาคิดว่าการอ่านหนังสือดีอย่างไร
สิ่งที่ทราบจากนักศึกษา คือ ข้อดีสารพัดจากการอ่านหนังสือ

คำถามที่ 2 – หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอ่านหนังสืออะไรบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาสำรวจตนเองว่าหนังสือดีนั้น อ่านไปกี่เล่ม
ประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ในการอ่านหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

คำถามที่ 3 – ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร
คำตอบ …
เพื่อชวนมองหาเป้าหมายของชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา
ในสายไอทีเรามีทางเลือกที่ค่อยข้างหลากหลาย
ถ้าใครที่วางแผนชีวิตไว้ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ต้องรอให้เค้าค่อย ๆ คิดกันต่อไป

คำถามที่ 4 – การไปถึงเป้าหมาย ต้องอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนมองลงไปว่าหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน อ่านกันบ้างรึยัง
นักศึกษาบางกลุ่มคงตอบได้เป็นฉาก ๆ ว่าวางแผนชีวิตอย่างไร
บางกลุ่มอาจทำได้แค่ชวนคิด กระตุ้นให้ไปหาหนังสือมาอ่านเท่านั้น
บางกลุ่มเป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรไปอีกระยะหนึ่ง

http://www.thaiall.com/readbookt