อาชีวะฯยึดกระแสพระราชดำรัช ยกระดับนร.อาชีวะ กับรัฐบาลจีน

30 เมษายน 2556
      

          นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (เลขาธิการ สอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระกระแสพระราชดำรัสเกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษากับตนว่า จากการที่ได้ทรงเสด็จฯทอดพระเนตรยังโรงเรียนมัธยมอาชีวศึกษาเจิ้นซ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเปิดสอนหลักสูตรอาหารจีน เสริมสวย ถ่ายภาพ การโรงแรม พบว่าทำได้ดี มีความก้าวหน้าเอาจริงเอาจัง เพราะจีนเห็นความสำคัญการเรียนสายอาชีพ และสถานประกอบการก็ให้ความร่วมมือโดยการเข้ามาร่วมเป็นเจ้าภาพในการจัดการเรียนการสอนด้วย และยังเน้นจัดการเรียนการสอนอาชีพเฉพาะด้านอย่างลึกซึ้งตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและยังมีรูปแบบการเรียนที่ดี ที่สำคัญให้เด็กได้ไปฝึกงานในต่างประเทศเป็นปี ซึ่งจากกระแสพระราชดำรัสดังกล่าวนี้ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จะนำมาขยายผลการจัดการศึกษาร่วมกับประเทศจีนโดยเฉพาะในสาขาที่ประเทศจีนมีความโดดเด่นและสั่งสมมาอย่างยาวนานจนเป็นที่ยอมรับทั่วโลก อาทิ สาขาการดูแลสุขภาพ การแพทย์แผนจีน อาหารจีน เป็นต้น ซึ่งเท่าที่ผ่านมา วิทยาลัยอาชีวศึกษาไทยมีความร่วมมือกับวิทยาลัยของจีนในการส่งครูมาสอนภาษาจีน ปีละประมาณ 50 คน โดยครูจีนจะมาสอนเกี่ยวกับการสื่อสารภาษาจีน ภาษาจีนธุรกิจ แต่ไม่ได้สอนอาชีพที่เป็นจุดเด่นของจีน อย่างไรก็ตาม ในเร็ว ๆ นี้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) จะเดินทางไปเจรจาความร่วมมือด้านการศึกษากับกระทรวงศึกษาธิการจีน ดังนั้นตนจะถือโอกาสนี้เดินทางไปด้วยเพื่อเพิ่มความร่วมมือในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในสาขาที่จีนมีความเชี่ยวชาญ และอาจจะส่งครูมาสอนอาชีพนั้น ๆ รวมถึงให้เด็กอาชีวะไทยได้ไปฝึกงานที่ประเทศจีนด้วย โดยจะทำในลักษณะความร่วมมือระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล ไม่ใช่เฉพาะส่วนของวิทยาอาชีวศึกษาที่ดำเนินการกันเองเท่านั้น

          ที่มา: http://www.naewna.com

 http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32558&Key=hotnews

 
30 เมษายน 2556
      

ประสาน ศธ.ดึงนศ.เข้าสู่ตลาดแรงงาน 

          ประสานศธ.ดึงนศ.เข้าสู่ตลาดแรงงาน
          “เผดิมชัย”ชี้ขาดแรงงานมากกว่าตกงาน
          เชื่อเด็กไม่ค้าประเวณียกเว้นฟุ่มเฟือย

          “เผดิมชัย”ชี้ไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานมากกว่าตกงาน เชื่อนศ.ไม่คิดเข้าสู่อาชีพค้าประเวณียกเว้นมีค่านิยมใช้จ่ายฟุ่มเฟือย สั่งก.แรงงานเก็บข้อมูลตำแหน่งงานทุกระดับการศึกษา แจ้งศธ.-สถานศึกษา ดึงนศ.ว่างงานเข้าสู่ตลาดแรงงาน ชี้รัฐลงทุน 2.2 ล้านล้าน ส่งเสริมจ้างงานเพิ่มขึ้น
          นายเผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน กล่าวถึงกรณีนักวิชาการแสดงความเป็นห่วงเมื่อเปิดประชาคมอาเซียนในปีพ.ศ.2558 ที่มีการเปิดเสรีการเคลื่อนย้ายคนได้อย่างเสรี จะทำให้ธุรกิจการค้าประเวณีขยายตัวมากขึ้นโดยเฉพาะนักศึกษาระดับอุดมศึกษาประเทศต่างๆที่ตกงานจะเข้าสู่อาชีพนี้มากขึ้นว่า ปัญหานักศึกษาไทยตกงานนั้นไม่น่าห่วงเพราะขณะนี้ประเทศไทยมีปัญหาขาดแคลนแรงงานสาขาต่างๆอย่างมาก และกระทรวงแรงงานจะสำรวจตำแหน่งงานว่างในสาขาต่างๆจากสถานประกอบการและจะส่งข้อมูลไปยังกระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)และสถานการศึกษาต่างๆเพื่อให้การผลิตกำลังคนสอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานและส่งเสริมให้ผู้ที่เรียนจบระดับปวช. ปวส. และปริญญาตรีมาสมัครงานในตำแหน่งงานว่าง เพื่อจะได้มีงานทำ นอกจากนี้ การที่รัฐบาลมีโครงการลงทุนพัฒนาประเทศ 2.2 ล้านล้านบาท จะช่วยให้เกิดการจ้างงานในสาขาต่างๆเป็นจำนวนมาก ทำให้นักศึกษามีงานทำเพิ่มขึ้น
          “ทุกวันนี้ประเทศไทยต้องการแรงงานเยอะมาก ปัญหานักศึกษาไทยตกงานจึงไม่น่าห่วง กระทรวงแรงงานพร้อมสนับสนุนตำแหน่งงานให้แก่นักศึกษาทั้งในไทยและต่างประเทศ ผมเชื่อว่านักศึกษาส่วนใหญ่คงไม่มีใครคิดอยากไปทำอาชีพค้าประเวณีต่างก็ต้องการมีงานดีๆทำทั้งนั้น ปัญหาการตกงานจึงไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาเลือกทางเดินไปสู่อาชีพค้าประเวณี แต่เป็นความต้องการส่วนตัว เนื่องจากมีพฤติกรรมใช้จ่ายฟุ่มเฟือยมากกว่า” รมว.แรงงาน กล่าว
          นายเผดิมชัย กล่าวอีกว่า ส่วนปัญหานักศึกษาจากประเทศต่างๆในอาเซียนจะไหลเข้ามาในไทยและเข้าสู่อาชีพค้าประเวณีในไทยนั้น กระทรวงแรงงานก็มีมาตรการดูแลอยู่แล้วโดยแรงงานจากประเทศต่างๆที่จะเข้ามาในไทยจะต้องมายื่นใบอนุญาตทำงานจากกระทรวงแรงงาน ซึ่งจะต้องมีงานรองรับและนายจ้างชัดเจน จึงจะได้รับใบอนุญาต แต่หากเป็นการลักลอบเข้ามาค้าประเวณีก็เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายของไทย

          ที่มา: http://www.naewna.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32557&Key=hotnews

มหา’ลัยขานรับ “บัณฑิตไทยไม่โกง”

29 เมษายน 2556

ที่ประชุมอธิการบดีฯ มอบ”นิด้า” ทำโพล “บัณฑิตไทยไม่โกง” ขยายผลบรรจุหลักสูตรสังคม นศ.ปี 1 ต้องเรียน ด้านจุฬาฯ ชงซอฟแวร์ตรวจจับการคัดลอกผลงานวิชาการภาคภาษาไทยพร้อมตั้งคณะตรวจสอบการใช้งบฯ 2.2 ล้านของรัฐบาลโปร่งใสหรือไม่ ส่วนยอดสมัครแอดมิสชั่นส์ปี 56 สรุปรวม 113,400 รายใกล้เคียงปีที่แล้ว

ที่สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) วันที่ 28 เม.ย.56 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าได้มีการประชุมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และลงนามความร่วมมือ”โครงการบัณฑิตไทยไม่โกง” โดยนายสมคิด เลิศไพฑูรย์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ในฐานะประธาน ทปอ. กล่าวว่า สมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(สอท.)ได้สรุปยอดการรับสมัครคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิสชั่นส์กลางประจำปีการศึกษา 2556 มียอดสมัครทั้งหมด 113,400 คน ซึ่งตัวเลขดังกล่าวใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ก็ยังได้มีการรายงานยอดสมัครการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาในระบบรับตรงผ่านเคลียริ่งเฮาส์ ประจำปี2556 จำนวน 31,710 คน โดยในปีนี้ มีผู้ที่ขอสละสิทธิ์ 11,735 คน ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวสละสิทธิ์ น้อยกว่าปีที่ผ่านมาทำให้เห็นได้ว่าระบบเคลียสริ่งเฮาส์ประสบความสำเร็จ และที่สำคัญทำให้นักศึกษาได้รู้จักตัวเองมากขึ้น

ทั้งนี้ ทปอ.ฝากถึงนักเรียนที่สมัครผ่านระบบแอดมิสชั่นส์ ให้รีบมาตรวจสอบข้อมูลใช้ในการคัดเลือกฯ และรายชื่อนักเรียนที่ถูกตัดสิทธิ์แอดมิสชั่นส์กลางให้มาตรวจสอบข้อมูล วันที่ 28-30 เม.ย.56 www.cuas.or.th ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกายวันที่ 9 พ.ค.56 www.cuas.or.th สอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย วันที่ 14-16 พ.ค.56 และมหาวิทยาลัย/สถาบันอุดมศึกษาที่สอบได้ ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา วันที่ 22 พ.ค.56 www.cuas.or.th นอกจากนั้น ที่ประชุมได้เห็นชอบแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการศึกษา และจัดทำโครงการจัดตั้งกระทรวงอุดมศึกษาและวิจัย โดยมีนายวันชัย ศิริชนะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง (มฟล.) เป็นประธาน

“ทปอ.ได้มีการหารือถึงกรณีที่รัฐบาลจะดำเนินโครงการพัฒนาระบบการขนส่งจากระบบถนนไปสู่ระบบรางและระบบน้ำ จำนวน 2.2 ล้านล้าน มีมติเห็นชอบว่าควรจะต้องเข้าไปช่วยศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ ปัญหาอุปสรรคต่างๆ รวมถึงผลิตกำลังคนรองรับโครงการดังกล่าว และที่สำคัญจะต้องมีการตรวจสอบการทุจริตในการดำเนินโครงการดังกล่าว”นายสมคิด กล่าว

ด้านนายสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดี นิด้า กล่าวว่า ทปอ.ได้มอบหมายให้นิด้าทำโพล โครงการบัณฑิตไทยไม่โกง เพื่อให้มีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ ที่ผ่านมานิด้าได้ร่วมกับโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร ได้จัดทำหลักสูตรโตไปไม่โกงซึ่งประสบคงามสำเร็จ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่โรงเรียนในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่มีโรงเรียนอยู่ทั่วประเทศไม่มีการนำหลักสูตรนี้ไปใช้ จึงฝากให้ ศธ.เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องนี้ด้วย ในส่วนของอุดมศึกษาจะมีการกำหนดเรื่องดังกล่าวบรรจุในกลุ่มวิชาทั่วไป และวิชาสังคมศึกษาให้กับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ในระดับปริญญาตรีได้เรียน ขณะเดียวกัน ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ทำซอฟแวร์ เพื่อตรวจสอบถึงการลอกผลงานทางวิชาการของนิสิตนักศึกษา และอาจารย์ ที่เป็นภาคภาษาไทย

ที่มา: http://www.siamrath.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32539&Key=hotnews

คอลัมน์: มติชน มติครู : จัดระเบียบ..แก้ ‘ครู’ ขาดแคลน

29 เมษายน 2556

สุนทร เชี่ยวพานิช  ในขณะที่ทุกภาคส่วนของสังคมไทยกำลังตื่นตัว พร้อมระคนไปกับความละล้าละลังกับข้อกังขาในความชัดเจนชนิดที่อาจเรียกได้ว่า “ไร้” เอกภาพ โดยเฉพาะบนเส้นทางของการเตรียมการที่จะรับมือกับการเปลี่ยนถ่ายมิติในการดำเนินชีวิตเพื่อเข้าสู่สังคมยุคใหม่ แต่ทุกอย่างก็ต้องก้าวผ่านไปสู่การเป็นประชาคมอาเซียนอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง ในปี พ.ศ.2558

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งถือเป็นองค์กรหลักที่สำคัญในการสร้างเยาวชนของชาติ แม้ที่ผ่านมาได้มีการเตรียมความพร้อมไว้คอยรับมือกับสภาพของสังคมที่กำลังจะเปลี่ยนไปกันอย่างน่าสนใจ โดยเฉพาะได้พยายามที่จะเร่งพัฒนาระดับคุณภาพการศึกษา ควบคู่ไปกับการให้ความรู้ในด้านวิทยาการสมัยใหม่ให้แก่เด็กๆ ไทย ทั้งนี้ ก็เพื่อจะได้เป็นบุคลากรที่มีคุณสมบัติสอดคล้องกับสภาพของสังคมยุคไร้พรมแดน “อย่างไร้รอยต่อ” เช่น ให้ความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน นักศึกษา ไม่ว่าจะเป็นการจัดให้มีการเรียนการสอนรายวิชาอาเซียนศึกษา ทั้งในรูปแบบของการให้ความรู้เฉพาะเรื่อง และองค์รวมแห่งการเรียนรู้ อาทิ ให้รู้ถึงที่มาที่ไป และความจำเป็นของการที่จะต้องรวมกลุ่มกันเป็นประเทศอาเซียน บทบาทของการเป็นประเทศสมาชิก ตลอดจนในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม รวมทั้งในด้านขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรม ฯลฯ

นอกจากนั้น ยังได้จัดกิจกรรมในเชิงของการส่งเสริมให้เด็กๆ ได้เรียนรู้ว่าควรที่จะพัฒนาตนเองอย่างไร จึงจะทำให้สามารถดำรงชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่น ทั้งต่อคนไทยด้วยกันและต่อประชากรอาเซียนได้อย่างสร้างสรรค์ และมีความสุข

แต่สิ่งที่หลายฝ่ายต่างเป็นห่วงกันมากในขณะนี้ก็คือ ปัญหาในเรื่องการ “ขาดแคลนครู” ที่นับวันจะมีจำนวนมากเพิ่มขึ้น ทั้งๆ ที่ครูนั้นถือเป็นตัวจักรที่สำคัญในระดับต้นๆ ของการทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ไปสู่ตัวเด็ก จากข้อมูลพบว่าในปี พ.ศ.2560 จะมีครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เกษียณอายุราชการจำนวนประมาณ 100,000 คน ซึ่งถือว่ามีจำนวนที่ไม่น้อย และหากจะนับรวมกับครูทั้งจากภาครัฐและเอกชนที่เกษียณอายุราชการไปในห้วงระยะเวลา 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้งที่เกษียณอายุราชการปกติ และเข้าร่วมโครงการเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด ก็น่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 คน ที่จะต้องพ้นไปจากแวดวงการศึกษา

ที่สำคัญบรรดาครูที่ต้องเซย์กู๊ดบายไปทั้งก่อนหน้านี้ และที่กำลังจะโบกมืออำลาไปจากระบบการศึกษาเหล่านี้ล้วนเกิดขึ้นมาจากผลผลิตของภาครัฐในอดีต รวมทั้งยังได้รับการ “การันตี”จากสังคมมาเป็นอย่างดี ทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ตลอดจนความมุ่งมั่น ความอดทน ความเสียสละ และอื่นๆ
ที่น่าสนใจก็คือบรรดาครูกลุ่มนี้ต่างก็ได้ผ่านการศึกษาเล่าเรียนอย่างเข้มข้นมาจากสถาบันที่ผลิตครูโดยเฉพาะ ในห้วงระยะเวลาระหว่างปี พ.ศ.2516-2519 โดยในช่วงนั้นปรากฏว่าประเทศไทย ได้มีกลุ่มเด็กที่จะต้องเข้าเรียนในระดับประถมศึกษามากที่สุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ต้องเผชิญกับปัญหาเรื่องครูขาดแคลนเป็นจำนวนมาก ดังนั้น ภาครัฐจึงได้มีนโยบายในการส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนในสายวิชาชีพครูกันอย่างอึกทึก พร้อมทั้งกำหนดหลักสูตรต่างๆ ขึ้นมากมายสำหรับผู้ที่สนใจจะเข้ามาเป็นครู

ทั้งนี้ ก็เพื่อเป็นการตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของภาคประชาชนให้ทั่วถึง เช่น มีการรับผู้เรียนที่จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.ศ.5) เข้าเรียนในหลักสูตรประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา (ป.ป.) การเข้ารับการศึกษาภาคค่ำ (twilight) หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการศึกษา (ปกศ.) และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาการชั้นสูง (ปกศ.สูง) ควบคู่ไปกับการเปิดให้เรียนภาคปกติในวิทยาลัยครู (เดิม) รวมทั้งยังได้จัดตั้งวิทยาลัยครูเพิ่มขึ้นอีกหลายแห่งทั่วประเทศ นอกจากนั้น ยังได้มีการผลิตครูโดยคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ ที่น่าสนใจก็คือในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา บรรดาครูที่จบการศึกษาในรุ่นที่รัฐผลักดันนี้ก็ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการขับเคลื่อน และพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวไปข้างหน้าได้อย่างเป็นระบบทั้งในระดับ “ปัจเจก” และระดับ “มหภาค”ที่เหนืออื่นใด จุดเด่นของครูในรุ่นนี้ก็คือการแสดงออกถึงความเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณของความเป็นครูค่อนข้างชัดเจน รวมทั้งยังมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองทั้งในด้านความรู้ความสามารถ ตลอดจนด้านทักษะและประสบการณ์ของความเป็นครูอย่างแท้จริง เช่น การสมัครเข้าสอบวิชาชุดครูทั้งในระดับประกาศนียบัตรพิเศษวิชาการศึกษา (พ.กศ.) ประกาศนียบัตรพิเศษวิชาครูมัธยมศึกษา (พ.ม.) สมัครสอบวิชาชุดครูทั้งสองระดับนี้ทางไปรษณีย์ การใช้เวลาในช่วงปิดภาคเรียนไปเข้ารับการอบรมโครงการจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน (อศร.) เข้าอบรมภาคค่ำในระดับปริญญาการศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) ใช้เวลาในวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ และปิดภาคเรียนไปเข้ารับการศึกษาในระดับปริญญาตามโครงการการศึกษาสำหรับบุคลากรประจำการ (กศบป.) รวมทั้งเข้ารับการศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยต่างๆ จนทำให้มีครูจำนวนมากสามารถเรียนจบหลักสูตรการศึกษาเพื่อพัฒนาตนเองทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ที่สำคัญสามารถนำพาการศึกษาของชาติให้ก้าวไปสู่จุดหมายปลายทางได้อย่างพึงพอใจ

ทั้งนี้ เป็นเพราะเกิดจากการมีวิสัยทัศน์และแผนงานที่ชัดเจน ตลอดจนมีการประสานงานกันอย่างเป็นระบบระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในยุคนั้น ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย กรมการฝึกหัดครู สภาการฝึกหัดครู คณะครุศาสตร์ และศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยต่างๆ คุรุสภา วิทยาลัยครู ตลอดจนหน่วยงานต้นสังกัดของครู ที่สำคัญที่สุดก็คือ ความตื่นตัวและความกระตือรือร้นในการพัฒนาตนเองของครูในรุ่นนั้น ที่สมควรจะได้จดบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์การศึกษาไทยยุคหนึ่ง
ครั้นต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการศึกษาขึ้นในปี พ.ศ.2542 พร้อมทั้งได้มีการตรากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาขึ้นมาหลายฉบับ ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ.2545 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ.2546 พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาฯ พ.ศ.2547 ฯลฯ ในส่วนของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเฉพาะสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่รับผิดชอบต่อการจัดการศึกษาให้แก่เด็กไทยทั้งประเทศ จะได้มีความพยายามที่จะพัฒนาคุณภาพการศึกษาในรูปแบบต่างๆ แต่ในทางปฏิบัติก็ต้องประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย ไม่ว่าจะเป็นในด้านนโยบายจากซีกการเมือง ที่นอกจากแกว่งไปแกว่งมาแล้ว ยังต้องเผชิญกับปัญหาทางด้านข้อกฎหมายต่างๆ ฯลฯ จนทำให้เส้นทางในการยกระดับคุณภาพการศึกษาไม่สามารถดำเนินการได้อย่างที่คาดหวัง
ประกอบกับในช่วงนั้นได้มีการปรับเปลี่ยนระบบโครงสร้างในการบริหารงานของกระทรวงศึกษาธิการใหม่ทั้งระบบ สุดท้ายจึงทำให้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษแรกที่ดำเนินการมากว่า 10 ปี ส่วนใหญ่จึงเป็นไปในลักษณะของการแสวงหาคำตอบ ซึ่งผลที่ปรากฏออกมาก็คือ นอกจากจะส่งผลทำให้การปฏิรูปการศึกษาไม่ประสบผลอย่างที่ควรจะเป็นแล้ว ยังทำให้การจัดการศึกษาในยุคปฏิรูปการศึกษาไม่เป็นที่พึงพอใจของสังคมที่ต่างก็คาดหวังกันไว้ค่อนข้างสูงที่ต้องการเห็นการปฏิรูปการศึกษาเป็นเบ้าหล่อหลอมเด็กๆ ไทยให้มีคุณภาพ ทั้งในด้านความรู้ ความสามารถ ควบคู่ไปกับด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์ โดยเฉพาะก่อนที่ประเทศไทยจะต้องก้าวเข้าสู่เวทีของการแข่งขันยุคประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 ไม่ว่าจะเป็นในด้านของการใช้ภาษาอังกฤษ หรือแม้แต่ในด้านสมรรถนะที่สำคัญๆ เช่น การคิด วิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างมีเหตุผล การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การรู้เท่าทันกระแสของสังคมยุคใหม่ การดำเนินชีวิตอยู่ในสังคมอาเซียน การดำรงชีวิตตามหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และอื่นๆ

ทั้งนี้ โดยต่างก็ได้ฝากความหวังทั้งหมดนี้ไว้กับ “ครู” เหตุผลก็เพราะยังมีความเชื่อมั่นอยู่เสมอว่า ครูเท่านั้นจะเป็นผู้ที่สามารถประสิทธิ์ประสาทวิชาความรู้ไปสู่ตัวเด็กๆ ได้ดีที่สุด ทั้งนี้ โดยไม่เข้าใจถึงสภาพข้อเท็จจริงของกระบวนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ ว่านอกจากจะต้องมีครูที่มีศักยภาพเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้ไปสู่เด็กแล้ว ยังจะต้องมีปัจจัยอื่นๆ อีกหลายอย่างที่เอื้อ ไม่ว่าจะเป็นด้านงบประมาณ สื่อการเรียนการสอน รวมทั้งความร่วมมือจากภาคสังคม และอื่นๆ ที่เหนืออื่นใดก็คือ นโยบายในด้านการจัดการศึกษาจะต้องมีความชัดเจนและต่อเนื่อง แต่ที่ผ่านๆ มา ดูเหมือนกระทรวงศึกษาธิการกลับมีการเปลี่ยนแปลงตัวรัฐมนตรีกันเป็นว่าเล่น ดังนั้น จึงทำให้การดำเนินงานด้านการศึกษาของชาติต้องเกิดอาการสะดุดและไม่ต่อเนื่อง ที่สำคัญยังได้ส่งผลทำให้ผู้ปฏิบัติงานในทุกระดับ นอกจากจะเกิดอาการสับสนในด้านนโยบายแล้ว ต่างยังเกิดอาการอ่อนล้าไปตามๆ กัน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาในเรื่องครูสังกัดสำนักงาน คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่จะเกษียณอายุราชการภายในปี พ.ศ.2560 จำนวนประมาณ 100,000 คน รวมกับครูทั้งภาครัฐและเอกชนที่ได้เกษียณอายุราชการย้อนหลังไปเมื่อประมาณ 5-6 ปีที่ผ่านมาแล้ว ก็น่าจะมีจำนวนไม่น้อยกว่า 300,000 คนนั้น จึงถือเป็นเรื่องที่ไม่ใช่ล้อเล่น เพราะนี่ถือเป็น “หลุมดำหลุมใหญ่” ที่จะส่งผลกระทบทั้งต่อการปฏิรูปการศึกษาและการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต

หากกระทรวงศึกษาธิการเองยังไม่มียุทธ ศาสตร์ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ เพราะอย่าลืมว่ากลุ่มครูที่เกษียณอายุราชการกลุ่มนี้ ไม่เพียงแต่จะมีจำนวนมากเท่านั้น แต่ยังมีประวัติและที่มาที่ไปที่ไม่ธรรมดา ดังนั้น การแก้ปัญหาครูขาดแคลนในยุคโลกาภิวัตน์ ซึ่งถือเป็นยุคของการแข่งขันนี้ จึงควรที่จะต้องกระทำกันอย่างพิถีพิถัน ที่สำคัญจะต้องเตรียมการกันเสียแต่เนิ่นๆ และมีมาตรฐาน ทั้งนี้ ก็เพื่อที่จะทำให้ได้ครูที่มีคุณภาพจริงๆ มาทำงานด้านการศึกษาอย่างสมน้ำสมเนื้อ

ดังนั้น จึงต้องฝากให้ นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ที่มาจากพรรคเพื่อไทย และยังเป็นนักการเมืองน้ำดีที่สังคมต่างให้การเชื่อถือ จึงควรที่จะใช้โอกาสนี้สร้างมิติใหม่ที่เป็นคุณประโยชน์ ทั้งต่อการศึกษาและประเทศชาติ คือนอกจากจะต้องให้ความสำคัญกับปัญหาในเรื่องการขาดแคลนครูนี้อย่างจริงจังแล้ว ยังควรที่จะต้องเชิญหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตครู ไม่ว่าจะเป็นคณะครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ทั้งจากมหาวิทยาลัยเก่าแก่ มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียง มหาวิทยาลัยเปิด รวมทั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏ และหน่วยงาน อื่นๆ มาร่วมกัน “จัดระเบียบ” ในการผลิตครูใหม่ทั้งระบบ เพื่อจะได้วางแผนในการสร้างครูยุค “โลกไซเบอร์” ที่มีคุณภาพจริงๆ เพื่อนำไปทดแทนครูรุ่น “เราสู้” ที่กำลังจะอำลาไปจากแวดวงการศึกษาในอีกไม่ช้า

อย่างน้อยก็ถือเป็นการช่วยบรรเทาปัญหาทางด้านการศึกษาให้ลดน้อยถอยลง โดยเฉพาะถ้าหากสามารถคัดเลือกคนที่มีคุณภาพเข้าไปทำหน้าที่เป็นครู และที่เหนืออื่นใดในการคัดเลือกคนที่จะเข้ามาเป็นครูนั้น จะต้องมีการกำหนด “สเปก” ไว้ให้ชัดเจนว่า ผู้ที่จะมาเป็นครูได้นั้น ไม่เพียงแต่จะต้องเป็นคนที่มีความรักและความศรัทธาต่อวิชาชีพครูเท่านั้น แต่ยังต้องเป็นผู้ที่มีทั้งบุคลิกภาพ มีความมุ่งมั่น มีความทุ่มเท และความเสียสละที่จะมาทำงานด้านการศึกษาอย่างแท้จริง ไม่ใช่เอาใครก็ได้มาเป็นครู

สุดท้ายจะได้ไม่ต้องมาโทษกันไปโทษกันมาถึงเรื่อง “คุณภาพ” การศึกษาที่ “ตกต่ำ” เหมือนอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32540&Key=hotnews

จี้ กคศ. สั่งเลิกผลสอบครูดีเอสไอประกบทีมทุจริต

29 เมษายน 2556

‘เลขาฯกพฐ.’แจง ก.ค.ศ.ยังไม่มีมติเรียกผู้สอบคัดเลือกครูผู้ช่วยที่คะแนนสูงผิดปกติทั้ง 509 คน มารับการทดสอบใหม่

ความคืบหน้ากรณีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ระบุว่าที่ประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เมื่อเร็วๆ นี้ ได้มีมติให้ส่งข้อมูลของผู้ที่สอบคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมา จำนวน 509 คน ที่มีคะแนนสูงผิดปกติเกิน 180 คะแนน จากคะแนนเต็ม 200 คะแนน ไปให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา ใช้ประกอบการพิจารณายกเลิกผลการสอบ หากส่อว่าทุจริต โดยเทียบกับข้อมูลผลการเรียน และผลการสอบครั้งก่อนๆ รวมทั้งให้มีการจัดทดสอบใหม่ เพื่อพิสูจน์ว่าใครทำข้อสอบได้เอง และใครที่ทุจริตการสอบนั้น
เมื่อวันที่ 27 เมษายน นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จริงๆ แล้วมติของ ก.ค.ศ.ครั้งที่ผ่านมา ยังไม่ชัดเจนว่าจะต้องให้ผู้สอบได้คะแนนสูงผิดปกติทั้ง 509 คน มาเข้ารับการทดสอบใหม่ แต่มีมติให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งสำเนากระดาษคำตอบของคนเหล่านี้ พร้อมคะแนนที่ผิดปกติไปให้เขตพื้นที่การศึกษา 130 เขต และสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สพฐ. เพื่อให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการพิจารณาที่จะยกเลิกผลการสอบ โดยได้กำหนดแนวปฏิบัติเอาไว้ อาทิ ให้นำรายชื่อผู้ที่สอบได้คะแนนผิดปกติไปตรวจทาน เปรียบเทียบคะแนนการสอบในอดีต และเปรียบเทียบกับผลการเรียนในใบระเบียนผลการเรียนหรือทรานสคริป หากขัดแย้งกับผลการสอบครูผู้ช่วย ก็น่าจะค่อนข้างผิดปกติ นอกจากนี้ อาจนำผลการปฏิบัติงานช่วงที่เป็นพนักงานราชการ หรือครูอัตราจ้างและอื่นๆ มาพิจารณาด้วยว่าเป็นเช่นไร มีปัญหาอะไรหรือไม่ ผลการปฏิบัติงานสอดคล้องกับคะแนนที่สอบได้หรือไม่
เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อว่า ที่ประชุม ก.ค.ศ.ได้ระบุไว้ตอนท้ายว่า หากสุดท้ายแล้ว อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯมีเหตุจำเป็นก็สามารถเรียกบุคคลเหล่านี้มาสอบเพิ่มเติม โดยใช้วิธีการทดสอบได้ ซึ่งในขั้นตอนการทดสอบนี้ยังไม่มีการพูดคุยกันในรายละเอียดว่า จะให้หน่วยงานใดดำเนินการ เพราะ สพฐ.เองคงไม่ดำเนินการเรื่องนี้ ควรให้หน่วยงานกลางเข้ามาทำจะดีกว่า

ด้านนายอรรคพล ตรึกตรอง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ขอนแก่น เขต 5 กล่าวว่า ส่วนตัวเห็นว่าที่ประชุม ก.ค.ศ.ควรใช้อำนาจสั่งการให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯประกาศยกเลิกผลการสอบครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมาได้ เพราะในข้อ 6 ของหลักเกณฑ์และวิธีการ คัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือมีเหตุพิเศษ ว12 ระบุว่าหากพบการกระทำที่ทุจริต ก็ให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯยกเลิกผลการสอบได้ หรือหากมีหลักฐานที่เชื่อได้ว่าส่อไปในทางไม่สุจริต ก็สามารถสั่งยกเลิกได้ ซึ่งขณะนี้ทาง ศธ.ก็มีข้อมูลเข้าข่ายที่ ก.ค.ศ.จะสั่งการให้ยกเลิกได้อยู่แล้ว แต่เหมือน ก.ค.ศ.ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรมากนัก
นายศักดิ์สิทธิ์ ถิรทัฬหกุล ประธาน อ.ก.ค.ศ. เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 3 กล่าวว่า การให้ผู้สอบครูผู้ช่วยที่คะแนนสูงผิดปกติมารับการทดสอบใหม่ เป็นเพียงกระบวนการหนึ่งที่ต้องการพิสูจน์ว่า เก่งหรือไม่เก่งจริงเท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว ก.ค.ศ.ไม่กล้าฟันธงมากกว่า ไม่เข้าใจว่าทำไม ก.ค.ศ.จึงไม่มีมติสั่งการให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯประกาศยกเลิกผลการสอบไปเลย เพราะถ้า ก.ค.ศ.ไม่สั่งการอะไรมา เชื่อว่า อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯต่างๆ ก็ไม่กล้าที่จะยกเลิกอย่างแน่นอน ถึงแม้ว่าจะให้ผู้สอบได้คะแนนสูงผิดปกติทั้ง 509 คน เข้ารับการทดสอบแล้วได้คะแนนต่ำลง อ.ก.ค.ศ.ก็คงไม่กล้าสั่งยกเลิก เพราะผู้รับการทดสอบใหม่อาจจะอ้างว่า ไม่ได้อ่านหนังสือมากเหมือนการสอบครั้งก่อน คะแนนจึงได้น้อยลง

แหล่งข่าวระดับสูงใน ศธ.กล่าวว่า จริงๆ แล้วในที่ประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ผ่านมาได้มีการสอบถามถึงประเด็นที่จะให้ ก.ค.ศ.ใช้อำนาจสั่งยกเลิกผลการสอบของกลุ่มผู้สอบได้คะแนนสูงผิดปกติทั้ง 509 คน เพราะจากข้อมูลผลการวิเคราะห์คะแนนสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมาของนายชอบ ลีซอ อดีตผู้ตรวจราชการ ศธ.ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล ค่อนข้างสรุปชัดเจนว่ามีความผิดปกติ และน่าจะมีการทุจริต แต่ทาง ผู้บริหารสำนักงาน ก.ค.ศ.ได้ชี้แจงว่า ก.ค.ศ.ไม่มีอำนาจสั่งยกเลิก มีอำนาจแค่ยับยั้งเท่านั้น และเวลานี้ก็ไม่สามารถใช้อำนาจได้เพราะได้มีการสั่งบรรจุไปแล้วโดย อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ

ทางด้านนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยว่า ต้นเดือน พฤษภาคมนี้ดีเอสไอจะประชุมร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อรายงานความคืบหน้าการขยายผลตรวจสอบการทุจริตสอบครูผู้ช่วย เพื่อประกอบการพิจารณาเพิกถอนสิทธิของผู้สอบได้ที่มีคะแนนสูงผิดปกติ โดยดีเอสไอจะนำพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้องไปเสนอที่ประชุมว่า มีเหตุเหมาะสมในการสั่งเพิกถอนสิทธิผู้เข้าข่ายกระทำผิดหรือไม่ ซึ่งเป็นอำนาจของกระทรวงศึกษาฯในการดำเนินการทางวินัย ส่วนดีเอสไอจะดำเนินการทางอาญา ซึ่งการสอบสวนที่ผ่านมาพบข้อมูลว่ามีการกระทำผิดเชื่อมโยงในลักษณะขบวนการ แต่อยู่ระหว่างหาหลักฐานทางคดี เพื่อนำไปสู่การแจ้งข้อกล่าวหาและดำเนินคดีกับ ผู้เกี่ยวข้อง เบื้องต้นมีกลุ่มบุคคลต้องสงสัยที่ดีเอสไอเฝ้าระวังอยู่ แต่ยังบอกไม่ได้ว่าอยู่ในพื้นที่ใด
รายงานข่าวแจ้งว่า ดีเอสไอจะแต่งตั้งนายชอบมาเป็นที่ปรึกษาคดีพิเศษนี้ด้วย เพื่อให้ใช้หลักวิชาการช่วยวิเคราะห์คะแนนสอบที่มีความผิดปกติ เพื่อนำข้อมูลมาประกอบหลักฐานที่ดีเอสไอได้จากการสอบปากคำพยานบุคคลว่าทั้ง 2 ส่วนนี้เกี่ยวพันกันหรือไม่ ก่อนนำไปสู่การแจ้งข้อหาทางอาญาและดำเนินการทางวินัย ทั้งนี้ ในสัปดาห์หน้า ดีเอสไอจะลงพื้นที่สอบปากคำพยานเพิ่มเติมอีก 2 ปาก

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

 

การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อไปสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย

29 เมษายน 2556

เนื่องจากในระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 จะมีการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดย ผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ดังนั้น สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา จึงเตรียมความพร้อมสำหรับให้บริการออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูให้ทันต่อความต้องการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะเข้าสมัครสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย คุรุสภาจึงเปิดให้บริการกรณีพิเศษสำหรับ การไปสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 โดยไม่เว้น วันหยุดราชการ และขอแจ้งขั้นตอน เพื่อขอรับบริการ ได้อย่างรวดเร็ว จำแนกเป็นกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มผู้สาเร็จกำรศึกษำ ปี 2556 ที่ยื่นคาขอรับใบอนุญำต ผ่ำนมหำวิทยำลัยในระบบ KSP BUNDIT
ให้ติดตามและติดต่อขอรับใบอนุญาตกับ ทางมหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ได้รับหนังสือรับรองสิทธิ แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ให้กรอกข้อมูลในแบบบันทึกข้อความ “การขอรับ ใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีส้ม) แนบหนังสือรับรองสิทธิ นำเอกสารวางในตะกร้ารับเรื่องหนังสือรับรองสิทธิ และให้รอรับใบอนุญาต ณ อาคาร หอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กลุ่มผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญำต (กรณีที่มำยื่นเอกสำรใหม่) ทุกประเภท
กดบัตรคิว หมายเลข 3 กรอกแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ (คส.01.10) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว กรอกข้อมูลในแบบบันทึกข้อความ “การขอรับใบอนุญาต กรณี มีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีส้ม) แนบเอกสารประกอบตามที่กำหนดให้เรียบร้อย รอเจ้าหน้าที่เรียกคิวและตรวจสอบเอกสารที่ช่องบริการ ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กลุ่มผู้ขอต่ออำยุใบอนุญำตประกอบวิชำชีพครู
กดบัตรคิว หมายเลข 2 กรอกแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตฯ (คส.02) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว แบบแสดงคุณสมบัติของผู้ต่ออายุใบอนุญาต (คส.02.10) และแบบบันทึกข้อความ “การขอรับใบอนุญาตฯ กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีเขียว) และ แนบเอกสารตามที่กำหนด รอเจ้าหน้าที่เรียกคิวและตรวจสอบเอกสารที่ช่องบริการ ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1 สำหรับผู้ที่ใบอนุญาตฯ หมดอายุแล้วหรือมีอายุเหลือน้อยกว่า 180 วัน ต้องกรอกแบบ “บันทึกชี้แจงการต่ออายุใบอนุญาต หลังใบอนุญาตฯ หมดอายุ” (แบบฟอร์มสีขาว) เพิ่มเติมด้วย

กรณีการขอขึ้นทะเบียนและการต่ออายุ ใบอนุญาต ที่ส่งมาทางไปรษณีย์
ให้ติดต่อกลุ่มบริหารทั่วไปทางการทะเบียน สำนักทะเบียนและใบอนุญาต เพื่อตรวจสอบการรับเข้า ของเอกสาร และติดต่อเจ้าหน้าที่งานขึ้นทะเบียน หรือต่ออายุใบอนุญาต เพื่อติดตามเอกสาร
กรณีที่เอกสารผ่านการตรวจสอบแล้ว ให้รอรับ ใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กรณีได้รับการอนุมัติแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต หรือกรณีขอทำใบแทนใบอนุญาต เนื่องจากใบอนุญาตสูญหาย ชำรุด เปลื่ยนชื่อ-สกุล คำนำหน้าชื่อ หรือทำบัตรสมาชิกเพียงอย่างเดียว
กดบัตรคิว หมายเลข 5 กรอกแบบคำขอใบแทนใบอนุญาต (คส.03) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว แนบสำเนา บัตรประชาชน ใบแจ้งความหรือแบบบันทึกถ้อยคำ สำเนาใบอนุญาต ฉบับเดิม (ถ้ามี) ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

สำหรับผู้ที่ขอบัตรพกพาเพียงอย่างเดียว ให้กรอก แบบคำขอบัตรประจำตัวสมาชิก (คส.08) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน และสำเนา ใบอนุญาต ฉบับเดิม (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย ชำระค่าธรรมเนียมและรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

คุรุสภา :สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาCall Center : 0-2304-9899
www.ksp.or.th–จบ–

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32534&Key=hotnews

‘ภาวิช’ จ้องเชือดธุรกิจรับจ้างทำผลงาน

29 เมษายน 2556

ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีการรับจ้างทำรับทำดุษฎีนิพนธ์ ระดับปริญญาเอกทุกสาขาวิชาผ่านทางเว็บไซต์หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ดังกล่าวจะพบรายละเอียดและช่องทางติดต่อผู้รับจ้างที่อ้างว่าเป็นหัวหน้าทีมวิจัย หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และมีข้อความเชิงรับประกันคุณภาพผลงานที่รับจ้าง อาทิ ทีมงานประกอบด้วย อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาปริญญาเอกหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 10 ท่าน ซึ่งมีประสบการณ์ในงานวิจัยมากกว่า 20 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบข้อความเชิงโอ้อวด อาทิ มีคนรับทำหลายรายที่อยู่ได้ไม่นานก็หายไป เพราะทำไม่ได้ แต่เราอยู่มานานแล้ว บางรายที่ปฏิเสธเราไปสุดท้ายก็ต้องนำงานมาให้เราทำ หลังจากที่ให้เจ้าอื่นทำแล้วได้รับงานที่แย่มาก ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบทพิสูจน์ เรารับงานมามากกว่าหนึ่งพันเรื่องแล้ว เป็นต้น

“จริง ๆ เรื่องการรับจ้างทำผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ มีและรู้มานานแล้ว เริ่มจากวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโทก่อน แล้วขยับล่างเป็นสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี ขยับบนเป็นดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก ขณะที่ร้านรับทำผลงานก็มีพัฒนาการ จากแรก ๆ แค่รับพิมพ์ผลงานจากต้นฉบับก่อน พอพิมพ์ไปมาก ๆ ก็มีผลงานวิชาการมากจนเป็นฐานข้อมูลได้ ต่อมาเกิดการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลโยงใยกันทั่วประเทศ จนปัจจุบันถ้าอยากได้ผลงานแบบใดก็สามารถชี้ได้เลย และที่น่าเป็นห่วงอย่างมากคือ ได้มีการขยายวงไปถึงการรับจ้างทำผลงานวิชาการ เพื่อขอประเมินวิทยฐานะครู โดยมีข้อมูลว่าเก็บหัวละ 200,000 บาท ซึ่งผมถือว่าเรื่องนี้เป็นอาชญากรรมทางการศึกษาได้เลย” ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าวและว่า ในวันที่ 3 พ.ค.นี้ ตนจะเข้าพบ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อหารือเรื่องนี้ เพราะคิดว่าตอนนี้ปัญหาเข้าขั้นหนักจนต้องพึ่งดีเอสไอให้ช่วยแล้ว ขณะเดียวกันก็กำลังพิจารณาว่าจะกำหนดบทลงโทษได้หรือไม่ ทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างที่เป็นนิสิต/นักศึกษา ผู้รับจ้าง รวมถึงมหาวิทยาลัย โทษฐานที่ไม่ควบคุมดูแลการทำผลงานอย่างมีคุณภาพจนปล่อยให้มีการว่าจ้างกันเกิดขึ้น.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32533&Key=hotnews

สอศ.ดันแก้เกณฑ์ทุนอำเภอแบ่งกลุ่มเฉพาะเด็กอาชีวะ

29 เมษายน 2556

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 4 ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านข้อเขียนเพียง 137 คน จากผู้สมัคร 20,381 คน ทำให้ ศธ.เตรียมการที่จะเปิดรับสมัครคัดเลือกรอบ 2 นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนทั้งหมดไม่มีนักเรียนของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เลย ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ในวันที่ 3 พ.ค.นี้ ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ.เป็นประธาน ตนจะเสนอให้มีการปรับหลักเกณฑ์ หรือแยกเด็กสายอาชีวศึกษาออกมาเป็นกลุ่มพิเศษ เพื่อให้โอกาสเด็กอาชีวะได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนตามโครงการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมของรัฐบาล

เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินโครงการฯ ในรุ่นที่ 5 สอศ. จะเสนอให้ ศธ. ดำเนินโครงการ 1 จังหวัด 1 ทุน ภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รวม 77 ทุน โดยนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับทุนจะต้องเรียนดี มีฐานะยากจน มีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมจากทุกจังหวัด นอกจากนี้จะต้องเรียนอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนอาชีวะทั้งในสถานศึกษาสังกัด สอศ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รับทุนเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับทุนเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับมาประกอบอาชีพในประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32532&Key=hotnews

ระบบการศึกษาของเรา

ระบบการศึกษาของเรา (Our Education System)

our education system
our education system

ด้วยเกณฑ์คัดเลือกที่ยุติธรรม
ทุกคนได้ข้อสอบชุดเดียวกัน
ถ้าใครปีนต้นไม้ได้
ก็จะได้ไปต่อ

For a fair selection
everybody has to take the same exam:
please climb that tree

ระบบการศึกษาของเรา
“ทุกคนเป็นอัจฉริยะในตนเอง
แต่ถ้าคุณตัดสินว่าปลาสามารถปีนต้นไม้ได้
ปลาก็มีชีวิตทั้งชีวิตของมัน เชื่อว่ามันน่ะโง่”
Our education System
“Everybody is a genius.
But if your judge a fish by its ability to climb a tree,
it will live its whole lifebelieving that it is stupid.”
??? Albert Einstein
(It’s disputed whether Einstein said this or not. I like it regardless.) http://www.princeton.edu/aos/people/graduate_students/hill/quotes/

Fake Quote .. ประโยคที่ Einstein ไม่ได้กล่าวไว้ http://skepticaesoterica.com/category/history/ (fake quote)
The first appearance of this quote is from The Rhythm of Life: Living Every Day with Passion and Purpose (2004) by Matthew Kelly, p. 80, however there is no evidence of it being printed prior, and no evidence Einstein said it.

แต่ภาพนี้ไม่ได้บอกว่า
ทุกตัวอยากอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน
คือ ไม่ไปอยู่บนโต๊ะอาหารของใคร

ความตั้งใจของภาพนี้ คือ การจัดการศึกษา และใช้เกณฑ์การวัดผลที่เหมาะกับแต่ละบุคคลเพื่อให้ทุกคนถูกพัฒนาไปอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน .. ได้ไปต่อทุกคน ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

http://malenenielsen1984.wordpress.com/2013/04/05/our-education-system/

http://www.empowernetwork.com/yvettewilkinson2/blog/did-you-know-that-self-education-is-just-as-important-as-formal-education/

http://www.lolbrary.com/post/19912/our-education-system/

quoteinvestigator.com มีประเด็นเห็นต่าง หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาตีน
ปลาตีน

http://quoteinvestigator.com/2013/04/06/fish-climb/

สะท้อนภาพจังหวัดผ่านคำขวัญ(itinlife394)

คำขวัญขี้เหล้า
คำขวัญขี้เหล้า

มีโอกาสได้อ่านอะไรในเฟซบุ๊คมากมาย แล้ววันหนึ่งก็มีเพื่อนในเฟสให้คำขวัญ(ขี้เหล้า)เมืองลำปาง  พบในแฟนเพจฮาคนเมือง เป็นการเขียนเชิงล้อเลียนเสมือนบ่นให้ฟังด้วยภาษาล้านนา อ่านแล้วก็เชื่อว่าคนต่างถิ่นไม่เข้าใจแน่ เพราะเป็นภาษาถิ่น และสถานที่ในท้องถิ่น มีนิยามศัพท์ดังนี้ เยี่ยวเหี้ยคือถ่ายเบาไม่เป็นที่ คืนฮุ่งคือตลอดทั้งคืน เตวคือเดิน คนขี้ฮ่อนคือคนที่รู้สึกร้อนง่าย ร้านอาหารกลางคืนได้แก่ มดแดง มดยิ้ม ปลาทูแช็ค กิ๊บบอน ลาบศรีชุม ตลาดได้แก่ตลาดอัศวิน กาดกองต้า คลองถม กาดมืด ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า แล้วก็พูดถึงหลักกิโลขนาดใหญ่ และฟาร์มแกะฮักยู

หน้าที่ของคำขวัญจังหวัดก็จะสะท้อนความภูมิใจ ความโดดเด่น เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้ทราบว่าจังหวัดมีอะไรดี ลำปางมีคำว่าขวัญว่า ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ซึ่งให้ข้อมูลว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินสำหรับใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีรถม้าเพื่อการเดินทางและปัจจุบันหันมาเน้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีดินขาวเป็นวัตถุดิบในจังหวัดจึงมีโรงงานเซรามิกจำนวนมากผลิตได้สวยงามและราคากันเอง มีวัดเก่าแก่และมีวัดสถาปัตยกรรมพม่าจำนวนมากที่สุดในไทย มีศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จัดช้างแสดงให้นักท่องเที่ยวชม

เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดก็มักจะเปลี่ยนตาม เช่น ส้มโอหวานของนครปฐม และทุเรียนของนนทบุรีก็เคยผ่านวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้สวนส้มโอเสียหายกว่าร้อยละ 70 สวนทุเรียนเสียหายกว่าร้อยละ 98 หรือฝึกช้างใช้ของลำปางก็หยุดฝึกช้างเป็นผลจากรัฐบาลประกาศเลิกสัมปทานทำไม้ปี 2532 หรือ โอ่งมังกรของราชบุรีก็ได้รับความนิยมลดลง หรืองาช้างและหน่อไม้ไร่ของอุทัยธานีก็หายไปจากคำขวัญใหม่แล้ว หรือดอกไม้งามสามฤดูก็ไม่มีในคำขวัญของเลยแล้ว โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง การปรับตัวปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมย่อมทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดังเช่นคำขวัญจังหวัด

have and have not
have and have not

http://www.oknation.net/blog/countrygirl/2012/04/23/entry-1

http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=10967

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1973817

http://www.facebook.com/photo.php

http://www.thainame.net/รถม้