การขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู เพื่อไปสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย

29 เมษายน 2556

เนื่องจากในระหว่างวันที่ 29 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 จะมีการเปิดรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย โดย ผู้ที่จะสมัครสอบต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือใบอนุญาตปฏิบัติการสอน ดังนั้น สำนักงานเลขาธิการ คุรุสภา จึงเตรียมความพร้อมสำหรับให้บริการออกใบอนุญาต ประกอบวิชาชีพครูให้ทันต่อความต้องการ เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้ที่จะเข้าสมัครสอบบรรจุ ครูผู้ช่วย คุรุสภาจึงเปิดให้บริการกรณีพิเศษสำหรับ การไปสมัครสอบบรรจุครูผู้ช่วย ตั้งแต่วันที่ 22 เมษายน ถึงวันที่ 5 พฤษภาคม 2556 โดยไม่เว้น วันหยุดราชการ และขอแจ้งขั้นตอน เพื่อขอรับบริการ ได้อย่างรวดเร็ว จำแนกเป็นกลุ่ม ดังนี้

กลุ่มผู้สาเร็จกำรศึกษำ ปี 2556 ที่ยื่นคาขอรับใบอนุญำต ผ่ำนมหำวิทยำลัยในระบบ KSP BUNDIT
ให้ติดตามและติดต่อขอรับใบอนุญาตกับ ทางมหาวิทยาลัย
กลุ่มที่ได้รับหนังสือรับรองสิทธิ แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต ให้กรอกข้อมูลในแบบบันทึกข้อความ “การขอรับ ใบอนุญาต กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีส้ม) แนบหนังสือรับรองสิทธิ นำเอกสารวางในตะกร้ารับเรื่องหนังสือรับรองสิทธิ และให้รอรับใบอนุญาต ณ อาคาร หอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กลุ่มผู้ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญำต (กรณีที่มำยื่นเอกสำรใหม่) ทุกประเภท
กดบัตรคิว หมายเลข 3 กรอกแบบคำขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตฯ (คส.01.10) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว กรอกข้อมูลในแบบบันทึกข้อความ “การขอรับใบอนุญาต กรณี มีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีส้ม) แนบเอกสารประกอบตามที่กำหนดให้เรียบร้อย รอเจ้าหน้าที่เรียกคิวและตรวจสอบเอกสารที่ช่องบริการ ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กลุ่มผู้ขอต่ออำยุใบอนุญำตประกอบวิชำชีพครู
กดบัตรคิว หมายเลข 2 กรอกแบบคำขอต่ออายุใบอนุญาตฯ (คส.02) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว แบบแสดงคุณสมบัติของผู้ต่ออายุใบอนุญาต (คส.02.10) และแบบบันทึกข้อความ “การขอรับใบอนุญาตฯ กรณีมีความจำเป็นเร่งด่วน” (แบบฟอร์มสีเขียว) และ แนบเอกสารตามที่กำหนด รอเจ้าหน้าที่เรียกคิวและตรวจสอบเอกสารที่ช่องบริการ ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1 สำหรับผู้ที่ใบอนุญาตฯ หมดอายุแล้วหรือมีอายุเหลือน้อยกว่า 180 วัน ต้องกรอกแบบ “บันทึกชี้แจงการต่ออายุใบอนุญาต หลังใบอนุญาตฯ หมดอายุ” (แบบฟอร์มสีขาว) เพิ่มเติมด้วย

กรณีการขอขึ้นทะเบียนและการต่ออายุ ใบอนุญาต ที่ส่งมาทางไปรษณีย์
ให้ติดต่อกลุ่มบริหารทั่วไปทางการทะเบียน สำนักทะเบียนและใบอนุญาต เพื่อตรวจสอบการรับเข้า ของเอกสาร และติดต่อเจ้าหน้าที่งานขึ้นทะเบียน หรือต่ออายุใบอนุญาต เพื่อติดตามเอกสาร
กรณีที่เอกสารผ่านการตรวจสอบแล้ว ให้รอรับ ใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

กรณีได้รับการอนุมัติแล้วแต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาต หรือกรณีขอทำใบแทนใบอนุญาต เนื่องจากใบอนุญาตสูญหาย ชำรุด เปลื่ยนชื่อ-สกุล คำนำหน้าชื่อ หรือทำบัตรสมาชิกเพียงอย่างเดียว
กดบัตรคิว หมายเลข 5 กรอกแบบคำขอใบแทนใบอนุญาต (คส.03) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว แนบสำเนา บัตรประชาชน ใบแจ้งความหรือแบบบันทึกถ้อยคำ สำเนาใบอนุญาต ฉบับเดิม (ถ้ามี) ชำระค่าธรรมเนียม และรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

สำหรับผู้ที่ขอบัตรพกพาเพียงอย่างเดียว ให้กรอก แบบคำขอบัตรประจำตัวสมาชิก (คส.08) ติดรูปถ่าย 1 นิ้ว พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน และสำเนา ใบอนุญาต ฉบับเดิม (ถ้ามี) ให้เรียบร้อย ชำระค่าธรรมเนียมและรอรับใบอนุญาต ณ อาคารหอประชุมคุรุสภา ชั้น 1

คุรุสภา :สภาครูและบุคลากรทางการศึกษาCall Center : 0-2304-9899
www.ksp.or.th–จบ–

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32534&Key=hotnews

‘ภาวิช’ จ้องเชือดธุรกิจรับจ้างทำผลงาน

29 เมษายน 2556

ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษา รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งเบาะแสว่ามีการรับจ้างทำรับทำดุษฎีนิพนธ์ ระดับปริญญาเอกทุกสาขาวิชาผ่านทางเว็บไซต์หนึ่ง ซึ่งเมื่อเข้าไปในเว็บไซต์ดังกล่าวจะพบรายละเอียดและช่องทางติดต่อผู้รับจ้างที่อ้างว่าเป็นหัวหน้าทีมวิจัย หลักสูตรดุษฎีบัณฑิตของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ และมีข้อความเชิงรับประกันคุณภาพผลงานที่รับจ้าง อาทิ ทีมงานประกอบด้วย อดีตอาจารย์มหาวิทยาลัย นักศึกษาปริญญาเอกหลากหลายสาขาทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 10 ท่าน ซึ่งมีประสบการณ์ในงานวิจัยมากกว่า 20 ปี เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบข้อความเชิงโอ้อวด อาทิ มีคนรับทำหลายรายที่อยู่ได้ไม่นานก็หายไป เพราะทำไม่ได้ แต่เราอยู่มานานแล้ว บางรายที่ปฏิเสธเราไปสุดท้ายก็ต้องนำงานมาให้เราทำ หลังจากที่ให้เจ้าอื่นทำแล้วได้รับงานที่แย่มาก ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นบทพิสูจน์ เรารับงานมามากกว่าหนึ่งพันเรื่องแล้ว เป็นต้น

“จริง ๆ เรื่องการรับจ้างทำผลงานวิชาการในรูปแบบต่าง ๆ มีและรู้มานานแล้ว เริ่มจากวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโทก่อน แล้วขยับล่างเป็นสารนิพนธ์ระดับปริญญาตรี ขยับบนเป็นดุษฎีนิพนธ์ระดับปริญญาเอก ขณะที่ร้านรับทำผลงานก็มีพัฒนาการ จากแรก ๆ แค่รับพิมพ์ผลงานจากต้นฉบับก่อน พอพิมพ์ไปมาก ๆ ก็มีผลงานวิชาการมากจนเป็นฐานข้อมูลได้ ต่อมาเกิดการแลกเปลี่ยนฐานข้อมูลโยงใยกันทั่วประเทศ จนปัจจุบันถ้าอยากได้ผลงานแบบใดก็สามารถชี้ได้เลย และที่น่าเป็นห่วงอย่างมากคือ ได้มีการขยายวงไปถึงการรับจ้างทำผลงานวิชาการ เพื่อขอประเมินวิทยฐานะครู โดยมีข้อมูลว่าเก็บหัวละ 200,000 บาท ซึ่งผมถือว่าเรื่องนี้เป็นอาชญากรรมทางการศึกษาได้เลย” ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าวและว่า ในวันที่ 3 พ.ค.นี้ ตนจะเข้าพบ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือดีเอสไอ เพื่อหารือเรื่องนี้ เพราะคิดว่าตอนนี้ปัญหาเข้าขั้นหนักจนต้องพึ่งดีเอสไอให้ช่วยแล้ว ขณะเดียวกันก็กำลังพิจารณาว่าจะกำหนดบทลงโทษได้หรือไม่ ทั้งฝ่ายผู้ว่าจ้างที่เป็นนิสิต/นักศึกษา ผู้รับจ้าง รวมถึงมหาวิทยาลัย โทษฐานที่ไม่ควบคุมดูแลการทำผลงานอย่างมีคุณภาพจนปล่อยให้มีการว่าจ้างกันเกิดขึ้น.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32533&Key=hotnews

สอศ.ดันแก้เกณฑ์ทุนอำเภอแบ่งกลุ่มเฉพาะเด็กอาชีวะ

29 เมษายน 2556

ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) กล่าวว่า ตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดำเนินการคัดเลือกนักเรียนเข้าโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รุ่น 4 ซึ่งปรากฏว่ามีผู้สอบผ่านข้อเขียนเพียง 137 คน จากผู้สมัคร 20,381 คน ทำให้ ศธ.เตรียมการที่จะเปิดรับสมัครคัดเลือกรอบ 2 นั้น จากการตรวจสอบพบว่า ผู้ที่สอบผ่านข้อเขียนทั้งหมดไม่มีนักเรียนของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เลย ดังนั้นในการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน ในวันที่ 3 พ.ค.นี้ ซึ่งมีนายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ.เป็นประธาน ตนจะเสนอให้มีการปรับหลักเกณฑ์ หรือแยกเด็กสายอาชีวศึกษาออกมาเป็นกลุ่มพิเศษ เพื่อให้โอกาสเด็กอาชีวะได้รับทุนเรียนต่อระดับปริญญาตรีทั้งในและต่างประเทศ ในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนตามโครงการพัฒนาโครงสร้างการคมนาคมของรัฐบาล

เลขาธิการ กอศ. กล่าวต่อไปว่า สำหรับการดำเนินโครงการฯ ในรุ่นที่ 5 สอศ. จะเสนอให้ ศธ. ดำเนินโครงการ 1 จังหวัด 1 ทุน ภายใต้โครงการ 1 อำเภอ 1 ทุน รวม 77 ทุน โดยนักเรียน นักศึกษาที่ได้รับทุนจะต้องเรียนดี มีฐานะยากจน มีความประพฤติดี มีคุณธรรม จริยธรรม และสามารถคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมจากทุกจังหวัด นอกจากนี้จะต้องเรียนอยู่ในจังหวัดนั้น ๆ เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 2 ปี เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนอาชีวะทั้งในสถานศึกษาสังกัด สอศ. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) และสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ได้รับทุนเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับทุนเมื่อสำเร็จการศึกษาจะต้องกลับมาประกอบอาชีพในประเทศไทย เป็นระยะเวลาไม่ต่ำกว่าระยะเวลาที่ใช้ในการศึกษา.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 29 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32532&Key=hotnews

ระบบการศึกษาของเรา

ระบบการศึกษาของเรา (Our Education System)

our education system
our education system

ด้วยเกณฑ์คัดเลือกที่ยุติธรรม
ทุกคนได้ข้อสอบชุดเดียวกัน
ถ้าใครปีนต้นไม้ได้
ก็จะได้ไปต่อ

For a fair selection
everybody has to take the same exam:
please climb that tree

ระบบการศึกษาของเรา
“ทุกคนเป็นอัจฉริยะในตนเอง
แต่ถ้าคุณตัดสินว่าปลาสามารถปีนต้นไม้ได้
ปลาก็มีชีวิตทั้งชีวิตของมัน เชื่อว่ามันน่ะโง่”
Our education System
“Everybody is a genius.
But if your judge a fish by its ability to climb a tree,
it will live its whole lifebelieving that it is stupid.”
??? Albert Einstein
(It’s disputed whether Einstein said this or not. I like it regardless.) http://www.princeton.edu/aos/people/graduate_students/hill/quotes/

Fake Quote .. ประโยคที่ Einstein ไม่ได้กล่าวไว้ http://skepticaesoterica.com/category/history/ (fake quote)
The first appearance of this quote is from The Rhythm of Life: Living Every Day with Passion and Purpose (2004) by Matthew Kelly, p. 80, however there is no evidence of it being printed prior, and no evidence Einstein said it.

แต่ภาพนี้ไม่ได้บอกว่า
ทุกตัวอยากอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน
คือ ไม่ไปอยู่บนโต๊ะอาหารของใคร

ความตั้งใจของภาพนี้ คือ การจัดการศึกษา และใช้เกณฑ์การวัดผลที่เหมาะกับแต่ละบุคคลเพื่อให้ทุกคนถูกพัฒนาไปอยู่เหนือเส้นมาตรฐาน .. ได้ไปต่อทุกคน ไม่มีใครถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

http://malenenielsen1984.wordpress.com/2013/04/05/our-education-system/

http://www.empowernetwork.com/yvettewilkinson2/blog/did-you-know-that-self-education-is-just-as-important-as-formal-education/

http://www.lolbrary.com/post/19912/our-education-system/

quoteinvestigator.com มีประเด็นเห็นต่าง หรือให้รายละเอียดเพิ่มเติม

ปลาตีน
ปลาตีน

http://quoteinvestigator.com/2013/04/06/fish-climb/

สะท้อนภาพจังหวัดผ่านคำขวัญ(itinlife394)

คำขวัญขี้เหล้า
คำขวัญขี้เหล้า

มีโอกาสได้อ่านอะไรในเฟซบุ๊คมากมาย แล้ววันหนึ่งก็มีเพื่อนในเฟสให้คำขวัญ(ขี้เหล้า)เมืองลำปาง  พบในแฟนเพจฮาคนเมือง เป็นการเขียนเชิงล้อเลียนเสมือนบ่นให้ฟังด้วยภาษาล้านนา อ่านแล้วก็เชื่อว่าคนต่างถิ่นไม่เข้าใจแน่ เพราะเป็นภาษาถิ่น และสถานที่ในท้องถิ่น มีนิยามศัพท์ดังนี้ เยี่ยวเหี้ยคือถ่ายเบาไม่เป็นที่ คืนฮุ่งคือตลอดทั้งคืน เตวคือเดิน คนขี้ฮ่อนคือคนที่รู้สึกร้อนง่าย ร้านอาหารกลางคืนได้แก่ มดแดง มดยิ้ม ปลาทูแช็ค กิ๊บบอน ลาบศรีชุม ตลาดได้แก่ตลาดอัศวิน กาดกองต้า คลองถม กาดมืด ห้างเซ็นทรัลพลาซ่า แล้วก็พูดถึงหลักกิโลขนาดใหญ่ และฟาร์มแกะฮักยู

หน้าที่ของคำขวัญจังหวัดก็จะสะท้อนความภูมิใจ ความโดดเด่น เอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของจังหวัด ให้ทราบว่าจังหวัดมีอะไรดี ลำปางมีคำว่าขวัญว่า ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก ซึ่งให้ข้อมูลว่าเป็นแหล่งที่มีถ่านหินสำหรับใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ มีรถม้าเพื่อการเดินทางและปัจจุบันหันมาเน้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว มีดินขาวเป็นวัตถุดิบในจังหวัดจึงมีโรงงานเซรามิกจำนวนมากผลิตได้สวยงามและราคากันเอง มีวัดเก่าแก่และมีวัดสถาปัตยกรรมพม่าจำนวนมากที่สุดในไทย มีศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่จัดช้างแสดงให้นักท่องเที่ยวชม

เมื่อเวลาเปลี่ยนไปเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของแต่ละจังหวัดก็มักจะเปลี่ยนตาม เช่น ส้มโอหวานของนครปฐม และทุเรียนของนนทบุรีก็เคยผ่านวิกฤตน้ำท่วมปี 2554 ทำให้สวนส้มโอเสียหายกว่าร้อยละ 70 สวนทุเรียนเสียหายกว่าร้อยละ 98 หรือฝึกช้างใช้ของลำปางก็หยุดฝึกช้างเป็นผลจากรัฐบาลประกาศเลิกสัมปทานทำไม้ปี 2532 หรือ โอ่งมังกรของราชบุรีก็ได้รับความนิยมลดลง หรืองาช้างและหน่อไม้ไร่ของอุทัยธานีก็หายไปจากคำขวัญใหม่แล้ว หรือดอกไม้งามสามฤดูก็ไม่มีในคำขวัญของเลยแล้ว โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่อง การปรับตัวปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมย่อมทำให้เกิดความได้เปรียบในการแข่งขัน แต่การเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่ายดังเช่นคำขวัญจังหวัด

have and have not
have and have not

http://www.oknation.net/blog/countrygirl/2012/04/23/entry-1

http://www.snc.lib.su.ac.th/snclibblog/?p=10967

http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1973817

http://www.facebook.com/photo.php

http://www.thainame.net/รถม้

นโยบาย ศธ.ต้นเหตุการศึกษาไทยตกต่ำ

นโยบาย ศธ.ต้นเหตุการศึกษาไทยตกต่ำ

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 26 เมษายน 2556 21:27 น.

http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050418

ครูไทย (teacher)
ครูไทย (teacher)

แฉเรื่องเน่าๆ ในวงการการศึกษาของไทย ล้วนเป็นต้นเหตุให้ “เด็ก” จบการศึกษาคุณภาพต่ำลง! ชี้ปัญหาใหญ่สุดอยู่ที่กระบวนการผลิต “ครู” และนโยบาย ศธ.ในการเพิ่มวิทยฐานะครู ผิดพลาด เพราะข้อเท็จจริงครูประถม-มัธยมทำงานวิจัยไม่เป็น ต้องจ้างทำฉบับละ 6 หมื่น-1 แสนบาท แถมยังถูกวิชามารจากกรรมการพิจารณารีดเงินอีกคนละ 3 หมื่น สุดช้ำกว่า 90% ผลงานปลอม! วันนี้ระบบการศึกษาไทย กำลังนำไปสู่ “ระบบกินตัวเอง” เชื่อไม่รีบจัดการ การศึกษาของไทยจะดิ่งเหว

คนไทยอ่านหนังสือวันละ 7 บรรทัด

ระบบการศึกษาไทยห่วย

ประชาธิปไตยไทยไม่ไปไหนเพราะการศึกษาเรายังไม่ดีเพียงพอ

ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ฯลฯ

 

เมื่อพูดถึงระบบการศึกษาไทย อย่าแปลกใจที่เรามักจะได้ยินคำกล่าวเหล่านี้อยู่เสมอ แม้ประเทศไทยจะมีการปฏิรูปการศึกษามาแล้ว 2 ครั้งใหญ่ คือการปฏิรูปการศึกษา พ.ศ. 2542 ที่มี พ.ร.บ.การศึกษา 2542 ได้มีการแบ่งขั้วอำนาจการบริหารงานใหม่ในกระทรวงศึกษาธิการเป็น 5 แท่ง ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา แท่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา และครั้งที่สองกับการปฏิรูปการศึกษาในชื่อเรียกว่า การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่ 2 (2552-2561) โดยมีประเด็นหลัก 4 ประเด็น ได้แก่ กระบวนการเรียนรู้ใหม่, ครูยุคใหม่/ครูพันธุ์ใหม่ และครูสาขาขาดแคลน, สถานศึกษาและแหล่งเรียนรู้ใหม่ และการบริหารจัดการใหม่

แต่การปฏิรูปการศึกษาไทยเดินมาถูกทางหรือยัง หรือนับวันยิ่งก้าวเข้าสู่วังวนที่ทำให้การศึกษาไทยเดินหน้าไม่ถึงไหน?

เร่งผลิตครู-คุณภาพตก

ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ นักวิจัยสถาบันวิจัยและพัฒนาแห่งประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า หลังจากที่ได้เข้าไปเก็บข้อมูลและทำวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาไทยก็พบว่าประเทศไทยมีปัญหาเรื่องของระบบการศึกษาอย่างมาก โดยเฉพาะในเรื่องของ “ปัญหาครู” ที่ถือเป็น “จุดบอด” ที่แก้ยากที่สุด ยิ่งแก้ ยิ่งเข้าสู่วังวน

ปัญหาแรกเป็นปัญหาเรื่องจำนวนครู ถือเป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องยอมรับว่ารัฐบาลไทยปล่อยปละละเลยดูแลครูมานานมาก และนานกว่า 20 ปี

“เดิมเราต้องยอมรับว่ามหาวิทยาลัยปิดจะเป็นแหล่งที่ผลิตครูที่มีคุณภาพอย่างมาก โดยเฉพาะในคณะศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ซึ่งอาจารย์ของมหาวิทยาลัยปิดเหล่านี้ก็จบการศึกษาจากต่างประเทศ เช่น คุรุศาสตร์ จุฬาฯ เป็นคณะที่มีการเรียนการสอนที่ทันสมัย และมีคุณภาพมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วมีคำถามว่าเด็กที่มีคุณภาพเหล่านั้นมีสักกี่เปอร์เซ็นต์ที่เลือกที่จะประกอบอาชีพครู ความจริงคือมีน้อยมาก นอกนั้นไปทำอาชีพอื่น”

ปัญหานี้ทำให้รัฐบาลที่ผ่านมาเลือกแก้ปัญหาครูขาดแคลนด้วยการผลิตครูอย่างไม่อั้น เพื่อขยายฐานครู แต่ต้องยอมรับเลยว่าในขั้นตอนนี้ทำให้คุณภาพการศึกษาของครูตกลง

“ครูรู้แค่ไหน ก็จะสอนแค่นั้น หลักการมันมีอยู่แค่นั้น ถ้าได้ครูที่เรียนรู้มากๆ โดยเฉพาะมีโอกาสไปเรียนต่างประเทศ หรือมีโอกาสได้เรียนจากอาจารย์ที่เรียนจบมาจากต่างประเทศ ก็จะมีมุมมองด้านการศึกษาที่กว้างขวางกว่า แต่ถ้าครูเรียนจากครูที่ไม่ได้จบมาจากต่างประเทศ ซ้ำยังไม่ได้เรียนกับครูที่มีมุมมองกว้างขวาง ครูก็จะมีความรู้เท่าที่ครูของครูถ่ายทอดมาแค่นั้น เมื่อมาสอนนักเรียน ความรู้ที่สอนก็มีแค่ความรู้ที่ได้รับมา หรือบางทีอาจน้อยกว่า”

“ครู” ระบบกินตัวเอง!

ดร.ยงยุทธกล่าวต่อว่า กระทรวงศึกษาธิการนั้นมีครูอยู่จำนวนมาก และตัวกระทรวงศึกษาธิการก็มีงบประมาณบริหารมาก คิดเป็น 4.5-4.8% ของ GDP แต่ปรากฏว่าคุณภาพครูตกลงไปเรื่อยๆ เหมือนระบบที่กำลังกินตัวเอง อย่างที่กล่าวไปว่า การเร่งผลิตครูทำให้ครูที่มีความรู้กว้างขวางนั้นน้อยลง ครูที่จบจากต่างประเทศก็มีองค์ความรู้ใหม่ๆ มาถ่ายทอดให้ลูกศิษย์ แต่ลูกศิษย์ไม่มีเวลาเพิ่มเติมความรู้ ก็ใช้ความรู้เท่าที่เก็บเกี่ยวจากอาจารย์มาให้ส่งต่อไปให้เด็กอีกรุ่น ความรู้ก็ไม่ทันสมัย เพราะความรู้ต้องเพิ่มเติมอยู่ตลอด ความรู้ก็จะหดหายไปเรื่อยๆ และโดยเฉพาะในทุกวันนี้ที่ครูมีภารกิจจำนวนมากมาย ทั้งภารกิจที่กระทรวงมอบหมายให้ และการเลื่อนวิทยฐานะ ยิ่งทำให้ครูห่างไกลต่อการสอน คุณภาพของการสอนหนังสือก็ตกลงไปเรื่อยๆ อย่างน่าเสียดาย

life long learning คือ หลักการเรียนรู้ตลอดอายุขัยของคนเรา ตอนนี้เราอยู่ศตวรรษที่ 20 แล้ว ก็ต้องพยายามเรียนรู้นวัตกรรมใหม่ๆ เพิ่มเติมตลอดเวลา แต่ทุกวันนี้ไม่ใช่ ครูที่เพิ่มเติมความรู้ให้ตัวเองเหลือน้อยลงทุกที

วิธีการคัดเลือกคนเป็น “ครู”

ปัญหาต่อเนื่องที่ตามมาจากการเร่งผลิตครู คือครูเกือบทั้งหมดจะเป็นครูที่จบในประเทศไทย ทำให้องค์ความรู้ด้านการศึกษาไทยไม่ได้ยกระดับแล้ว และเนื่องจากปัญหาการขาดแคลนครู ก็ทำให้กระทรวงศึกษาธิการไม่มีเวลาคัดกรองครู ทั้งด้านความสามารถและจริยธรรมที่เข้มข้นเพียงพอ

กระทรวงศึกษาธิการ แค่ต้องการให้คนมาสอบ ไม่ได้มีการกลั่นกรองอย่างแท้จริง ดังนั้นไม่แปลกใจที่มีการประกาศรับสมัครครูให้ไปรวมกันอยู่ตรงกลาง ดูแค่วิทยฐานะว่าเป็นครู แต่ไม่เคยกำหนดคุณสมบัติที่เชี่ยวชาญ เช่น ครูภาษาอังกฤษ ต้องเป็นครูที่จบเอกด้านภาษาอังกฤษ เป็นต้น

ดร.ยงยุทธ กล่าวด้วยว่า ในพื้นที่ที่ห่างไกลจะยิ่งพบปัญหานี้ คือครูสอนวิชาคณิตศาสตร์ อาจไม่ได้เป็นครูที่จบคณิตศาสตร์มา เมื่อไม่ได้จบสาขาที่สอนมาโดยตรง ไม่มีความเชี่ยวชาญที่แท้จริง การศึกษาของครูไทยจำนวนไม่น้อยจึงเป็นไปในรูปแบบการสอนแบบ “งูๆ ปลาๆ”

เมื่อเป็นเช่นนี้ในการเรียนการสอนที่ครูไม่มีความเชี่ยวชาญในสาขานั้นอย่างแท้จริง ทำให้การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนค่อนข้างมีน้อย ส่วนใหญ่จึงใช้การสอนแบบท่องจำเพราะเป็นวิธีการสอนที่ง่ายที่สุด ทักษะความคิดของเด็กจึงไม่มี

ประเทศไทยพึ่งพาครูอาจารย์สูงมาก แม้แต่คำพูด ครูเว้นวรรคตรงไหน เด็กก็เว้นวรรคตรงนั้น ครูก็เลยสอนตามตำราเป๊ะ แต่ลองนึกภาพดู ถ้าครูคนไหนเว้นวรรคตรงไหนผิด เด็กก็ผิดตามด้วยอย่างไม่ต้องสงสัย

จุดนี้เป็นจุดสำคัญที่ทำให้ปัญหาคุณภาพการศึกษาไทยต่ำลงไปเรื่อยๆ

ปัญหาก.ศธ.ขาดการบริหารเป็นองค์รวม

ปัญหาจากส่วนกลางเป็นอีกปัญหาหนึ่ง ที่กระทบเรื่องของคุณภาพครูด้วย ตั้งแต่ระดับการบริหารงาน และระดับปฏิบัติการ

ระดับการบริหารงาน ปัญหาเกิดหลายระดับ ตั้งแต่ตัวผู้นำกระทรวงศึกษา หรือรัฐมนตรีก็มีการเปลี่ยนผู้นำ หรือรัฐมนตรีบ่อยมาก ลักษณะกิจกรรมก็จะเปลี่ยนตามนวัตกรรมของแต่ละคนที่เข้ามา ซึ่งไม่ได้เป็นการสานงานต่อกัน ข้าราชการก็มีหน้าที่ในการปรับตัวให้ทัน

“การวางนโยบายที่ดีจะต้องวางนโยบายที่ชัดเจน มีแผนการทำงานที่ต่อเนื่อง ดังนั้นไม่แปลกใจที่ปฏิรูปการศึกษารอบแรกในปี 2542 ถึงสอบตก และการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ทำมา 3 ปีแล้ว ก็ไม่ไปถึงไหน เพราะคนที่มาใหม่ก็ไม่ได้สานต่อ ไม่ได้ให้ความสนใจ”

จากนั้นการแบ่งงานในกระทรวงศึกษาธิการก็เป็นปัญหา เพราะการแบ่งงานเป็น 5 แท่งใหญ่ ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวง, สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา, แท่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.), สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)

โดยปัญหาเกิดขึ้นเมื่อแต่ละแท่งมีการบริหารงานที่เป็น พ.ร.บ.ของตัวเอง โดยเฉพาะ สพฐ., อาชีวะ และ สกอ. ซึ่งเป็นแท่งที่มีขนาดใหญ่ แต่ละแท่งไม่ต้องพึ่งพากัน ซึ่งตรงจุดนี้เองที่เป็นปัญหาเพราะไม่เกิดการทำงานแบบบูรณาการกัน คือมีแต่ “แท่ง” แต่ไม่มี “ท่อ”

“นายกฯ ยิ่งลักษณ์ เพิ่งขอข้อมูลเรื่องอุปสงค์-อุปทานว่าจะเตรียมการศึกษาอย่างไรเพื่อให้ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ปัญหาคือ พอนายกฯ เรียกข้อมูลขึ้นมา ไม่มีข้อมูลให้นายกฯ ได้เลย ต่างคนต่างมีข้อมูลที่ไม่สามารถนำมาเชื่อมต่อกันได้ ดังนั้นเรื่องของการ management information system เรียกว่าไม่มี และไม่ใช่ประชุมครั้งเดียว ประชุมไปสองครั้งแล้ว ข้อมูลก็ไม่สามารถหาให้นายกฯ ได้”

การที่นายกรัฐมนตรีต้องการข้อมูลดังกล่าวเป็นเพราะว่ารัฐบาลต้องการดูว่าคนในประเทศมีเพียงพอต่อตลาดแรงงานหรือไม่ ทั้งคนจบปริญญาตรี และคนจบ ปวช.ปวส. เพื่อจะเตรียมรับการก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน

“จริงๆ หลังจากนายกฯ ออกนโยบาย 4 ประสาน พัฒนา 4 เรื่อง ก็อยากได้ข้อมูลด้วยว่า การทำรถไฟระบบราง ก็ต้องใช้คน 5 แสนคน ยังพบว่างานวิจัยก็ไม่พอที่จะสนับสนุนข้อมูล เพราะแต่ละแท่งต่างคนต่างทำงาน แต่ตอนนี้ต้องปรับ เพราะต้องเป็นแหล่งผลิตบุคลากรที่มีคุณภาพ เช่น เด็กชั้น ม.3 ต้องส่งเข้าไปเรียนอาชีวศึกษาเท่าไร เข้าระบบสามัญเท่าไร ต้องชัดเจน”

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในกระทรวงศึกษาธิการในขณะนี้กลับพบว่าแต่ละแท่งต่างแย่งชิงเด็กเข้าเรียนแท่งของตัวเองมากกว่า แทนที่จะแบ่งสันปันส่วนตามสัดส่วนที่รัฐบาลได้วางแผนไว้เพื่อให้สอดคล้องกับตลาดแรงงานหรือการพัฒนาประเทศ

“ที่แย่งจำนวนเด็กกันมากเพราะรัฐบาลมีงบรายหัว ดังนั้นใครมีเด็กมากก็จะได้เงินมาก ซึ่งจริงๆ ไม่ถูกต้อง เลยกลายเป็นว่าต่อไป สพฐ.จะมาสอนอาชีวะเองอีก ปลัดกระทรวงศึกษาธิการก็ต้องจัดการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างนี้ให้ได้ก่อน”

ขณะเดียวกันเมื่อย้อนมาดูแผนปฏิรูปการศึกษารอบ 2 ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า แต่ละแท่งไม่มีศาสตร์ที่จะมาบูรณาการงานกันอยู่ดี แถมยังมีการแย่งค่าใช้จ่ายรายหัว หรือ per head ที่หนักขึ้น แต่ละแท่งแข่งกันเอง ไม่เหมือนการบริหารงานในพื้นที่ ที่จะมีการช่วยเหลือกัน และบูรณาการกันที่ดีกว่า

 

 

ผลสอบ
ผลสอบ

ผู้บริหาร รร.ต้องรับผิดชอบ A net-O net

นอกจากนี้จากการศึกษาในระดับผู้บริหารโรงเรียน จะพบว่าปัญหาการบริหารงานระดับโรงเรียนก็มีไม่น้อย โดยดูได้จากผลการทดสอบ A-net O-net ของเด็กในแต่ละโรงเรียนเป็นอย่างไร ควรจะมีการเก็บเป็นสถิติ เพื่อดูว่าผู้บริหารโรงเรียนนั้นทำให้เด็กมีอัตราของคะแนนเพิ่มขึ้นได้หรือไม่ ถ้าอัตราไม่เพิ่มขึ้นเลย ผู้บริหารก็ควรจะต้องมีการรับผิดชอบ ไม่เหมือนปัจจุบันนี้ที่ไม่มีการเก็บข้อมูลสถิติตรงนี้เลย แล้วผู้บริหารก็ไม่คิดว่าจะต้องรับผิดชอบอะไร ซึ่งไม่ถูกต้อง

“ต้องยอมรับนะว่า จะให้ทุกโรงเรียนมีอัตราหรือค่าเฉลี่ยของคะแนนที่สอบสูงเท่ากันคงไม่ได้ แต่ว่าอย่างน้อยแต่ละโรงเรียนต้องมีการพัฒนาขึ้นมา อย่างน้อยต้องให้อยู่ในระดับค่าเฉลี่ยของประเทศ ค่อยๆ พัฒนาให้ค่าเฉลี่ยของคะแนนขึ้นไป”

โดยผู้บริหารจะต้องรับผิดชอบคุณภาพของเด็ก, การจัดการการศึกษาจะต้องเน้นที่ประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นด้วยอย่าเดิมพันแต่ตำแหน่ง แต่ขาดการวิจัยทางวิชาการ หรือขาดการพัฒนาวิชาการ และให้มีการโยกย้ายผู้บริหารโรงเรียนให้น้อยลง เพราะคนเก่ากำลังทำงานได้ดี แต่พอคนใหม่มาก็ต้องเริ่มทำโครงการใหม่ วัสดุครุภัณฑ์ที่จัดมาแล้วก็สูญเปล่า

โครงสร้างเงินเดือนครู-ไม่จูงใจ

นอกจากนี้กระบวนการจัดการเรื่องเงินเดือนครูก็เป็นอีกหนึ่งปัญหา

ดร.ยงยุทธกล่าวว่า เรื่องเงินเดือนครูเป็นเรื่องใหญ่เกี่ยวกับแรงบันดาลใจการเป็นครู ทุกวันนี้คนที่ไม่ควรได้เงินเดือนมาก แต่ได้มาก มีจำนวนไม่น้อย เพราะขั้นวิ่งมีมาก ดังนั้นมองว่าหลักการควรจะเปลี่ยนโครงสร้างเงินเดือน เป็นให้เงินเดือนครูสูง และขั้นวิ่งไม่มาก

“เงินเดือนแรกเข้า สมมติ 10,000 บาท ทำงานไป 30 ปีเกษียณ เงินเดือนอยู่ที่ 45,000-50,000 บาท ตรงนี้เสนอว่าควรย่นให้ขั้นวิ่งไม่ต้องสูง ให้เงินเดือนสูงตั้งแต่แรก จะทำให้เกิดแรงจูงใจให้ครูที่มีคุณภาพเข้ามาประกอบอาชีพครูมากขึ้นได้”

ภารกิจของครู-กันครูออกจากนักเรียน

เมื่อมาดูที่ภารกิจครู ก็พบว่า ครู 1 คนมีภาระมากกว่าที่คิด โดยเฉพาะครูในต่างจังหวัด จะพบว่างานราชการจากส่วนกลางที่กระจายลงในพื้นที่นั้น ไม่ว่าจะเป็นงานของกระทรวงศึกษาธิการ หรืองานจากกระทรวงอื่นๆ ล้วนแต่กำหนดให้ครูในพื้นที่เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการชุดต่างๆ มากมาย ซึ่งเป็นระบบที่ทำให้ครูห่างจากการสอนอย่างมาก

ซ้ำร้าย กระทรวงศึกษาธิการยังออกระเบียบเกี่ยวกับการสร้างผลงานวิชาการเพื่อให้ได้ค่า “วิทยฐานะ” ยกระดับตัวครูเอง ทำให้ครูหลายคนมุ่งเน้นที่จะได้วิทยฐานะที่เพิ่มขึ้น แต่ปัญหาคือประสิทธิผลไม่ได้เกิดขึ้นจริง เพราะหลายคนจ้างคนอื่นทำงานให้ แล้วครูคนอื่นที่ทำงานให้ก็ไม่มีเวลาสอนหนังสือเด็กนักเรียน

ส่วนครูคนไหนทำงานวิชาการเองก็มักจะมีการบังคับเด็กให้มาทำตามงานวิจัยของครูคนนั้นๆ ซึ่งไม่ได้พุ่งเป้าไปที่การให้เด็กเป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนตามวัตถุประสงค์ของการปฏิรูปการศึกษาแต่อย่างใด

“วิทยฐานะทุกวันนี้ก็เหมือนกับการซื้อใบปริญญา ตรงนี้เป็นจุดอ่อนของนโยบายที่มองว่าต้องแก้ในส่วนของวิชาการ แต่ลืมในเรื่องของจรรยาบรรณ และความรับผิดชอบในเนื้องานของครูผู้สอน”

นอกจากนี้คนประเมินให้วิทยฐานะก็ยังเป็นคนกันเอง เกิดคำถามเรื่องความโปร่งใสขึ้นมากมายอีก

“ตรงนี้ต้องแก้โดยการเข้าไปดู work process 1. ขั้นตอนการได้มา การเลื่อนขั้นแต่ละขั้นเป็นอย่างไร 2. ใครเป็นคนพิจารณา แต่งตั้งโดยใคร คณะกรรมการคือใคร ควรเป็นกลาง โปร่งใส และ 3. มีการทำวิจัยเรื่องอะไรบ้าง มีคุณค่าต่อระบบการศึกษาหรือไม่”

สำหรับปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะนี้ ดร.สมยงค์ แก้วสุพรรณ อดีตประธาน อ.ค.ก.ศ. (อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) เขตพื้นที่การศึกษา และรองประธานเครือข่ายองค์กรวิชาชีพครูแห่งประเทศไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจจับการทุจริตในกระบวนการเลื่อนวิทยฐานะในเขตขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหาการเลื่อนวิทยฐานะของครูเป็นปัญหาใหญ่มาก และพบว่ามีขบวนการหากินกับทั้งรับจ้าง และการให้ผ่านงานวิจัยของครูด้วย โดยเฉพาะในภาคอีสาน

“ครูประถม ครูมัธยม เขาเรียกว่าให้มาเป็นครู เน้นทำการสอนมาตลอด พอกระทรวงศึกษาธิการ และ ก.ค.ศ. (คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา) ให้มีการเลื่อนวิทยฐานะขึ้นมา ด้วยการที่ครูต้องทำการวิจัยแบบพิจารณาจากเอกสาร บอกได้เลยว่าเมื่อครูทำไม่เป็นก็ต้องจ้าง”

ฉะนั้นพูดได้เลยว่า กว่า 90% ของเอกสารเหล่านั้นไม่ใช่ผลงานของครูที่แท้จริง!

แล้วขบวนการหากินในการรับจ้างทำงานเพื่อให้ครูเลื่อนวิทยฐานะก็ทำกันเป็นอาชีพเสริมหากินกันเป็นล่ำเป็นสัน

ตั้งแต่ขั้นตอนของการเลือกคณะกรรมการเพื่อมาอ่านผลงาน ซึ่งจะมีหน้าที่ในการชี้งานชิ้นนั้นๆ ว่าผ่านหรือไม่ผ่าน ขั้นตอนนี้จะมีคณะ อ.ค.ก.ศ. หรือ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่จะทำการประสานอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้มาเป็นกรรมการอ่านผลงาน ซึ่งจะมีคนหนึ่งที่ทำหน้าที่เป็นนายหน้าในการติดต่ออาจารย์จากมหาวิทยาลัยมา ซึ่งอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเหล่านี้ เรียกได้ว่าส่วนใหญ่มักจะมีการเรียกเงินค่าอ่านผลงาน หรือนายหน้าจะเป็นคนเสนอค่าอ่านผลงานให้ ตกราคาต่อราย รายละ 3 หมื่นบาท ซึ่งจะมีการเรียกครูเจ้าของผลงานนั้นๆ มาคุยก่อนวันที่จะอ่านผลงานเพียงไม่กี่วัน สุดท้ายผลงานของครูในกระบวนการนี้ก็จะได้ประเมิน “ผ่าน”

ส่วนในขั้นตอนการทำผลงานของครู ขั้นตอนนี้จะมีขบวนการรับจ้างทำผลงานเลื่อนวิทยฐานะ โดยเมื่อมาเป็นครูครั้งแรก มักจะได้เป็นครูผู้ช่วย ก็ยังไม่มีสิทธิเลื่อนวิทยฐานะ แต่เมื่อทำงานไป 2 ปี และเป็นครูได้ 6 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาตรีมา 4 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาโทมา และ 2 ปีสำหรับคนที่จบปริญญาเอกมา ก็จะสามารถทำผลงานเพื่อขอเลื่อนขั้นได้ การเลื่อนขั้นตรงนี้จะได้วิทยฐานะชำนาญการ ซึ่งจะมีรายได้เพิ่มจากเงินเดือนอีกเดือนละ 3,500 บาท หลังจากนั้นจะมีการขอเลื่อนขั้นเป็นผู้ชำนาญการพิเศษ ซึ่งจะต้องมีการทำวิจัย

“ปัญหามันเกิดตรงนี้ ในขั้นการทำวิจัย ครูที่จบปริญญาตรีมามักจะทำไม่เป็น จะต้องจ้างครูด้วยกันที่จบปริญญาโท หรือปริญญาเอก หรือจ้างอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่างๆ มาทำให้”

สนนราคาค่าจ้างทำวิจัยเพื่อเลื่อนขั้นในการเป็นผู้ชำนาญการพิเศษนี้จะอยู่ที่ 60,000-100,000 บาททีเดียว!
คนที่ได้วิทยฐานะเป็นผู้ชำนาญการพิเศษนี้จะได้เงินเพิ่มเติมจากเงินเดือนอีกเดือนละ 12,000 บาท ตรงนี้ทำให้ครูพยายามทำทุกทางที่จะเลื่อนขั้นมาอยู่จุดนี้ ซึ่งตอนนี้ก็มีครูที่อยู่ระดับชำนาญการพิเศษมากที่สุด
ถ้าจ้างทำวิจัยปริญญาเอก ที่ http://thainame.net/edu/?p=1044

 

ส่วนวิทยฐานะในลำดับต่อไป คือ เชี่ยวชาญ และเชี่ยวชาญพิเศษ นั้น มีครูที่ได้วิทยฐานะขั้นนี้น้อย เพราะว่างานวิจัยที่ทำจะต้องมีฐานะเทียบเท่าวิทยานิพนธ์ ซึ่งยาก แต่ถ้าใครทำได้ก็เท่ากับมีฐานะเท่าข้าราชการซี 9

ปัญหาครูเงินเดือนน้อย พอมีค่าวิทยฐานะให้ ก็กลายเป็นการทำอย่างไรก็ได้ให้ตนเองมีผลงาน แม้จะไม่ได้ทำเอง และแม้จะต้องเสียเงินเสียทองซื้อมาก็ตาม!

ที่ผ่านมาครูจำนวนมากจึงดิ้นรนหาเงินมาจ่ายเพื่อการเลื่อนวิทยฐานะทั้ง 2 ขั้นตอน คือขั้นตอนของการจ้างทำผลงานวิชาการ และขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการเพื่อประเมินให้ “สอบผ่าน” ได้ จึงนับว่าคุ้มค่ากับสิ่งที่ได้มาอย่างยิ่ง!

ดังนั้น นโยบายในการเลื่อนวิทยฐานะของกระทรวงศึกษาธิการครั้งนี้จึงกลายเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง นำมาสู่อีกปัญหาหนึ่งที่รุนแรงกว่าเดิม เพราะก่อให้เกิดการทุจริตในการนำเสนอผลงานของครูทั้งประเทศ

ที่สำคัญสุด ครูเหล่านี้เมื่อได้เลื่อนวิทยฐานะสูงขึ้น จะช่วยในการพัฒนาคุณภาพของการศึกษาได้หรือไม่

ถึงเวลาหรือยังที่กระทรวงศึกษาธิการควรจะต้องรื้อทั้งระบบและจัดระบบใหม่ครั้งใหญ่

ถ้าไม่ผ่าตัดและปล่อยให้ปัญหาต่อเนื่องไปเรื่อยๆ แล้ว จะเขียนนโยบายและแผนการปฏิรูปการศึกษาอีกกี่ฉบับ ก็แก้ไขได้ยาก เพราะต้นตอของคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยจะพัฒนาไปได้หรือไม่อยู่ที่ “ครู” และผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการเป็นหลัก!!

ที่มา http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000050418

คดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.453918268018597.1073741862.228245437252549

พบข่าว และภาพใน page ของมหาวิทยาลัย เป็นการประชาสัมพันธ์ว่า
นายมาโนช รัตนนาคะ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้คู่พิพาทได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาไกล่เกลี่ย และตัดสินใจระงับข้อพิพาทด้วยตนเองก่อนนำคดีเข้าศาล เพื่อลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่พิพาททุกฝ่าย อันเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,490 ราย วงเงินกว่าสามร้อยล้านบาท ณ ศาลแขวงลำปาง ในระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2556
http://www.thairath.co.th/content/edu/339784
http://th.a2-news.com/News/id/123914.0

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2556

กยศ.แจ้งผู้กู้ค้างชำระเกิน5งวด ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีปี56

ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แจ้งผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รุ่นปี 2542-2551 ที่ค้างชำระเกิน 5 งวด ไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก่อนฟ้องคดีประจำปี 2556…

นักศึกษา
นักศึกษา

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2556 น.ส.มุจลินท์ กำชัย รองผู้จัดการรักษาการแทน ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า ด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับสำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมที่ถึงกำหนดชำระหนี้ รุ่นปี 2542-2551 ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 5 งวดขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่จะถูกบอก เลิกสัญญามาติดต่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ หรือมาติดต่อขอผ่อนชำระหนี้ในโครงการฯ โดยมีกำหนดจัดขึ้นที่ศาลจังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556

ส่วนผู้ที่อยู่จังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ศาลจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยยังมีเวลาให้ผู้กู้ยืมที่ต้องชำระ 5 งวดขึ้นไป ไปเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยได้ ดังนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 23–25 เม.ย. 2556 ศาลแขวงลำปาง ระหว่างวันที่ 25–27 เม.ย. 2556 ศาลแขวงขอนแก่น ระหว่างวันที่ 27 เม.ย.–1 พ.ค. 2556 และศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 7–12 พ.ค. 2556

ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย จะต้องไปเข้าร่วมด้วยตนเอง พร้อมนำเอกสารที่สำคัญไปด้วย อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) สำเนาใบทะเบียนสมรส ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) และเอกสารอื่นๆ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร.02-61004888 หรือทาง http://www.studentloan.or.th/index.php

เครือข่ายการศึกษาเตรียมยื่น 4 ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาไทย

26 เมษายน 2556

เครือข่ายการศึกษา เตรียมยื่น 4 ข้อเสนอปฏิรูปการศึกษาไทย “ศ.ระพี” ชี้การปฏิรูปการศึกษาคือการปฏิรูปจิตใต้สำนึกของมนุษย์

วานนี้ (25 เม.ย.) ศ.ระพี สาคริก นายกสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย เปิดเผยว่า จากการที่ตนได้เข้าร่วมประชุมระดมความคิดเห็น การขับเคลื่อนข้อเสนอการปฏิรูปการศึกษา จากเครือข่ายด้านการศึกษากว่า 400 แห่งทั่วประเทศ เพื่อนำเสนอในงานสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 3 ของสำนักงานปฏิรูปร่วมกับสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทยที่โรงเรียนรุ่งอรุณ เมื่อเร็วๆ นี้ ตนได้ให้ความเห็นว่าการปฏิรูปการศึกษาไทย คือ การปฏิรูปจิตใต้สำนึกของมนุษย์ เช่น การเป็นคนดี การรู้จักช่วยเหลือสังคม เป็นต้น ที่สำคัญเราต้องปฏิรูปให้เด็กของเรา สามารถรับผิดชอบตนเอง และเป็นผู้ที่คอยศึกษาหาความรู้ได้ด้วยตนเอง เพราะครูจริงๆแล้วอยู่ที่ตัวเรา หากเราเน้นปฏิรูปใจเราเองให้ได้ จะทำให้การศึกษาทุกเรื่องทำได้สำเร็จ

นายชัชวาล ทองดีเลิศ เลขาธิการสมาคมสภาการศึกษาทางเลือกไทย กล่าวว่า ข้อเสนอจากเวทีปฏิรูปประเทศไทยด้านการศึกษาได้ข้อสรุปร่วมกัน 4 ข้อ ประกอบด้วย

1.การจัดการศึกษาให้มีคุณภาพอย่างแท้จริงนั้น ต้องมีหน่วยงานที่รองรับการจัดการศึกษาที่หลากหลาย สอดคล้องกับศักยภาพของเด็กแต่ละคนและสภาพจริงของพื้นที่ เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนรู้ มาตรฐานและการวัดผลที่หลากหลาย สอดคล้องกับศักยภาพของเด็กและสภาพจริงของพื้นที่

2.ต้องมีระบบสนับสนุนที่ชัดเจน ทั้งทางด้านวิชาการ งบประมาณและการลดหย่อนภาษี

3.ต้องมี พ.ร.บ. การศึกษาทางเลือกตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญปี 2550 มาตร 12 และ

4.การฟ้องศาลปกครองการละเมิดสิทธิกรณีการยุบควบรวมโรงเรียนขนาดเล็กและการละเลยการปฏิบัติหน้าที่กรณีการไม่จ่ายงบประมาณรายหัวกับเด็กเรียนที่บ้าน ต้องสามารถทำได้และเกิดผลได้จริง ซึ่งข้อสรุปดังกล่าว ทางสมาคมการศึกษาทางเลือกไทย จะนำเสนอสู่เวทีสมัชาปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-2 มิ.ย. 2556 ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32528&Key=hotnews

สอบครูผู้ช่วยส่อทุจริตชัด ก.ค.ศ.ให้สอบใหม่ 509 คน

26 เมษายน 2556

ก.ค.ศ. มั่นใจสอบครูผู้ช่วยมีทุจริตแน่ ตัดสินใจให้ 509 คนที่ทำคะแนนสูงเว่อร์เข้าสอบใหม่ ก่อนส่งข้อมูลให้อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯสอยออกจากราชการ

วานนี้(25เม.ย.)นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ(ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วย โดยเชิญคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงที่มี นายพิษณุ ตุลสุข ผู้ตรวจราชการศธ. เป็นประธาน , ตัวแทนจากกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) และ ดร.ชอบ ลีซอ อดีตนักวิชาการเชี่ยวชาญด้านการสอบวัดผลของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น พื้นฐาน (สพฐ.) มาร่วมพิจารณาคะแนนสอบของผู้ที่ทำคะแนนสอบได้เกิน 90 % หรือ 180 คะแนน จำนวน 509 คน ซึ่งพบข้อมูลบ่งชี้ชัดว่าเฉลยข้อสอบรั่วออกไปจริง

“ ข้อสอบวิชาหลักข้อหนึ่ง มีคำตอบถูก 3 ข้อ แต่กรรมการจัดพิมพ์ข้อสอบเห็นความผิดพลาดนี้ก่อน จึงจัดการเปลี่ยนโจทย์ข้อสอบข้อดังกล่าวเพื่อให้มีคำตอบข้อเดียว จึงส่งผลให้คำตอบที่ถูกต้องเปลี่ยนไปจากข้อเดิม แต่ปรากฎว่าในจำนวนกลุ่ม 509 คนนั้น ทำข้อสอบข้อนี้ผิดถึง 344 คน ทั้งๆที่ข้อสอบข้อนี้ไม่ได้ยาก ตรงนี้เป็นตัวบ่งชี้ว่า มีการนำเฉลยข้อสอบออกไปเปิดเผยก่อนหน้านี้อย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังพบพิรุธอื่นๆที่บ่งชี้ในทิศทางเดียวกัน เช่น ผู้เข้าสอบบางรายใช้เวลาทำข้อสอบเพียง 10 นาทีและหลับในห้องสอบแต่กลับได้คะแนนเต็มในวิชานั้น รวมถึงมีการยึดยางลบเฉลยข้อสอบได้ด้วย “นายพงศ์เทพ กล่าว

รมว.ศธ.กล่าวต่อไปว่า จากผลการสอบสวนดังกล่าว ที่ประชุม ก.ค.ศ. จึงมีมติให้ส่งข้อมูลไปให้คณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(อ.ก.ค.ศ.)เขตพื้นที่การศึกษา ใช้ประกอบการสอบสวน โดยให้ อ.ก.ค.ศ.ไปดึงข้อมูลผลการเรียน และผลการสอบประเภทอื่นๆของบุคคลเหล่านั้นมาเปรียบเทียบด้วย และที่สำคัญจะมีการนำผู้ที่ได้คะแนนสูงเป็นพิเศษทั้ง 509 คนมาเข้ารับการทดสอบอีกครั้ง เพื่อดูว่ายังทำข้อสอบได้ดีอย่างเหลือเชื่อเหมือนเดิมอีกหรือไม่ ซึ่งผลการทดสอบใหม่จะเป็นหลักฐานบ่งชี้ที่มีน้ำหนักมากขึ้นว่าใครทำข้อสอบได้ด้วยความสามารถของตนเอง และใครไม่ได้ทำเอง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างวางระบบทดสอบให้มั่นใจได้ว่าจะไม่มีใครมีโอกาสรู้ข้อสอบได้ก่อนอีก

นายพงศ์เทพ กล่าวอีกว่า เมื่อผลการทดสอบดังกล่าว พร้อมผลการสอบสวนอื่น ๆ ออกมาแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา ต้องหาทางดำเนินการเอาผู้ที่โกงการสอบและได้บรรจุเป็นครูไปแล้วออกจากราชการ ส่วนการจัดการกับผู้นำข้อสอบออกมานั้น เป็นหน้าที่ของดีเอสไอซึ่งรับคดีนี้เป็นคดีพิเศษแล้ว

ด้านนายพิษณุ กล่าวว่า ข้อสอบที่มีปัญหาคือข้อที่ 34 ซึ่งเฉลยข้อสอบเดิมเป็นข้อ ก แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงโจทย์แล้วข้อที่ถูกต้องเปลี่ยนเป็นข้อ ข ขณะเดียวกันดร.ชอบ ได้วิเคราะห์แล้วว่ามีความยากง่ายอยู่ที่ 71 % เท่ากับว่าผู้เข้าสอบ 100 คนมีโอกาสตอบถูก 71 คน แต่ในกลุม 509 คนกลับตอบผิดถึง 344 คน ดังนั้นจึงมั่นใจได้เลยว่ามีการลักเฉลยข้อสอบออกไปก่อนการจัดพิมพ์ข้อสอบ

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32527&Key=hotnews

มหา’ลัยไม่รับออกข้อสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย

26 เมษายน 2556

ก.ค.ศ.เป็นห่วงเขตพื้นที่การศึกษาเจอปัญหาไม่มีสถาบันอุดมศึกษารับออกข้อสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยรอบใหม่ให้ กำชับเขตที่มีปัญหาปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การจัดสอบไม่ได้ ต้องแจ้งก.ค.ศ.ภายใน 3 พ.ค.นี้

วานนี้ (25 เม.ย.)  นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางศึกษา (ก.ค.ศ.) กล่าวถึงการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการ เป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย ประจำปี 2556 ที่กำหนดให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกันจัดสอบตามกลุ่มเขตตรวจราชการ 12 เขต และให้สถาบันอุดมศึกษาเป็นผู้ออกข้อสอบแข่งขันให้แทนการใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทั้งประเทศว่า ขณะนี้เท่าที่ทราบจะมีเพียงเรื่องของการออกข้อสอบที่บางพื้นที่ได้ไปติดต่อสถาบันอุดมศึกษาแล้วแต่ไม่รับทำให้ เพราะอาจจะไม่สะดวกในการดำเนินการ ดังนั้นอาจจะพิจารณาให้เขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการออกข้อสอบเองได้ แต่ทั้งหมดนี้ต้องมีเหตุและผลขึ้นอยู่กับการอนุมัติของที่ประชุม ก.ค.ศ.

“หากคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาใดที่เปิดสอบครูผู้ช่วยรอบใหม่ไม่สามารถดำเนินการตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ได้จะต้องแจ้งเหตุผลและความจำเป็นมาที่สำนักงานก.ค.ศ.ภายในวันที่ 3 พฤษภาคม เพื่อจะได้รวบรวมเข้าพิจารณาในที่ประชุม ก.ค.ศ. ครั้งต่อไป” เลขาธิการ ก.ค.ศ. กล่าว

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32526&Key=hotnews