Blog.NTU

บันทึก หรือเรื่องราวจาก blog ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ

Kotter’s 8 Step Change Process Your Organization

โดย  อาจารย์วนิดา วินิจจะกูล
รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์

ศาสตราจารย์ ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
จากการได้เข้าอบรมหลักสูตร “คณบดีเพื่อการเปลี่ยนแปลง รุ่นที่ 1” โดยสถาบันคลังสมองของชาติ มูลนิธิทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 23-24 สิงหาคม 2555 ได้ความรู้และแง่คิดของการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจมาก จากหนังสือเรื่อง Leading Change : Why Transformation Efforts Fail ของ John P. Kotter หัวข้อ Eight Step to Transforming Your Organization โดย ศ.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา อดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลศิริราช ปัจจุบันท่านเป็นรองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โดยท่านนำมาถ่ายทอด และเสริมด้วยตำราทั้ง 4 เล่มของ Kotter ทำให้พวกเราที่เข้าร่วมอบรมทุกคน เข้าใจความหมายของการ “Change” ที่เป็นกระบวนการไปสู่สิ่งใหม่ที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

Eight Step to Transforming Your Organization

ขั้นแรก อ.ประสิทธิ์ ย้ำให้เห็นความสำคัญข้อแรกของการสร้างการเปลี่ยนแปลง คือต้องสร้างความรู้สึกให้เห็นความจำเป็นที่ต้องเร่งรีบพัฒนา หรือ Creating a Sense of Urgency คือต้องทำให้ทุกคนตระหนักว่า องค์กรของเราไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้แล้ว เช่น ถ้าศิริราชไม่ผ่านประเมิน HA จะเอาหน้าไปไว้ที่ไหน อาจารย์เล่าว่าก็มีคนตอบว่าก็เอาหน้าที่มีรอยแตกร้าวนั้นไว้ที่เดิม (555) ผู้เขียนก็หันกลับมาถามตัวเองว่า

“ถ้าหาก ม.เนชั่น ศูนย์การศึกษานอกที่ตั้งไม่ผ่านการประเมิน ในอีก 2 ปีข้างหน้า สถานะของศูนย์เนชั่นบางนา จะเป็นอย่างไร ?”

คำถามท้าทายที่ให้เห็น Sense of Urgency โดยเฉพาะใช้ได้ดีกับภาคการเมือง ก็เช่น “ถ้ามีโอกาสเกิด (หายนะ) แล้วไม่ทำ เราจะอธิบายประชาชนอย่างไร?” คำถามแบบนี้ ทำให้ผู้บริหารต้องชั่งใจ เพราะเหมือนมีจิ้งจกทักซะแล้ว

ขั้นที่สอง Building a Guiding Coalition อ.ประสิทธิ์บอกว่า การเปลี่ยนแปลงที่ยากที่สุดคือการเปลี่ยนแปลง “ตัวคน” ดังนั้น จะต้องสร้างทีมแห่งการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเรียกว่า Change Team ที่ต้องมีบุคลิกภาพของการกล้าตัดสินใจ กัดไม่ปล่อย ตัดสินใจบนฐานข้อมูล และสื่อสารเก่ง เพื่อเป็นหัวหอกในการ “เปลี่ยน”

อ.ประสิทธิ์ อธิบายด้วยว่าหัวหน้าจะต้องเชื่อมั่นลูกน้องว่าเขาทำได้ แต่เราจะรู้ศักยภาพลูกน้องได้ก็ต่อเมื่อหัวหน้าได้หมั่นประเมินลูกน้องอยู่ เสมอ ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่จะมอบหมายงาน ก็ไม่ต้องถามเลยว่าลูกน้องจะใช้วิธีการอะไร ในเมื่อเขามีศักยภาพที่จะทำได้สำเร็จอยู่แล้ว

ขั้นที่สาม Developing a Vision for Change ซึ่งจะต้องเป็นวิสัยทัศน์ที่ “แตกต่าง” ทำให้คนได้ยินแล้ว “ซื้อ” จากหนังสือเล่มใหม่ของ Kotter ที่ อ.ประสิทธิ์ เล่าให้ฟังเรื่องการย้ายถิ่นของเหล่าเพนกวิน ที่ไม่เคยมีวัฒนธรรมการย้ายถิ่นฐาน แต่มีความจำเป็นเพราะความเสี่ยงจากน้ำแข็งละลาย เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้นำที่กล้าตัดสินใจก็ต้องทำให้ทุกคนเห็นภาพว่าแหล่งใหม่ที่จะย้ายไปหรือ สิ่งใหม่ที่จะเกิดขึ้นนั้นดีขึ้นกว่าสภาพปัจจุบันอย่างไร เป็นวิสัยทัศน์ที่จะนำพาการเปลี่ยนแปลงมาสู่กลุ่ม

จำไว้เสมอว่าการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาเกิดขึ้นทุกวัน แค่เราอยู่เฉยๆ ก็เท่ากับเราถอยหลังแล้ว ที่ศิริราช    อ.ประสิทธิ์ พยายามให้ “การวิ่งเป็น Norm เพราะว่าแค่คุณเดินก็เท่ากับคุณถอยหลังแล้ว เพราะทุกคนวิ่งไปข้างหน้า”

ขั้นที่สี่ Communicating the Vision อ.ประสิทธิ์ให้หลักว่า เมื่อเรื่องที่จะเปลี่ยนนั้นเป็นเรื่องใหญ่ อย่าชี้แจงด้วยกระดาษ และยิ่งเป็น Big Change เท่าไหร่ ยิ่งต้องให้ผู้บริหารระดับสูงเท่านั้นเป็นผู้สื่อสาร

ขั้นที่ห้า Removing Obstacles ในตัวอย่างที่อาจารย์ยกมา จะมี No No Man คือไม่ยอมรับการเปลี่ยนแปลงใดใดเลย แต่ในที่สุดเมื่อทุกคนเริ่มเห็นผลสำเร็จของการเปลี่ยนแปลง ก็ได้เวลาของผู้นำในการจัดการจัดการกับอุปสรรค (Get Rit of Obstacle) ตามหนังสือเล่มล่าสุดของ Kotter ก็เขียนให้ท่านผู้นำสภาเพนกวิน เซ็นคำสั่งปลด No No Man ที่มือไม่พายแต่เอาเท้าราน้ำ

ขั้นที่หก Creating Short-Term Wins การสร้างความสำเร็จระยะสั้นให้เห็นก่อน เป็นเรื่องสำคัญ เพราะการเปลี่ยนแปลงช่วงแรกจะทำให้ผลประกอบการหรือสถานการณ์ต่างๆ จะดูเหมือนแย่ลง ผู้นำการเปลี่ยนแปลง ต้องสร้างความมั่นใจให้กับทีม โดยควรเริ่มที่การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพที่เห็นง่ายก่อน อย่าเพิ่งไปแตะระบบ เพื่อให้เห็นโอกาสของความสำเร็จ

ถ้าเป็นในระบบมหาวิทยาลัย ความสำเร็จระยะสั้นก็อาจจะเป็นการกำหนดว่าจะได้แต้มจากการมีผลงานวิจัย เป็นต้น โดยเป้าหมายคือ การสร้างแรงบันดาลและความเชื่อมั่นว่าการเปลี่ยนแปลงนี้จะเป็นไปในทางที่ดี

ขั้นที่เจ็ด Building on the Change หรือ Change Culture หรือ Change System ซึ่งตามเนื้อเรื่องในหนังสือของ Potter การ Change Culture คือ การย้ายถิ่นฐานของเหล่าเพนกวินที่ไม่เคยกระทำกันมาก่อน  เป็นขั้นตอนที่ต้องทำแต่ก็ถือว่ายากที่สุด

ขั้นที่แปด Anchoring Changes in the organization’s culture ขั้นนี้ถือเป็นการลงหลักปักฐานให้กับระบบหรือสิ่งที่ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้วนั้นให้อยู่ได้อย่างยั่งยืน…เรื่องนี้ คงต้องอาศัยเวลา

Tip : Timing Potential Point for Change

ระยะเวลาใดที่จะมีการเปลี่ยนแปลง อยู่ที่การ “ระบุปัญหา” ได้เร็ว ไม่ใช่ว่ารอทุกอย่างชัดแล้วค่อยมาเปลี่ยน เพราะจะไม่ทันสถานการณ์

การจะระบุปัญหาได้ ก็ต้องดู “แนวโน้ม” และ “ตัวชี้วัด”

การวิเคราะห์แนวโน้มอาจจะไม่ยากนัก เมื่อเทียบกับคำถามว่า แล้วอะไรล่ะที่จะเป็นตัวชี้วัด ที่จะบอกว่า มันถึงเวลาของการเปลี่ยน !!!

จากภาพ อ.ประสิทธิ์ เล่าว่า Kotter ให้เริ่มมีการ Change เมื่อองค์กรอยู่ในระยะที่กำลังจะถึงจุดสูงสุดของกราฟ เพราะอัตราการเจริญเติบโตจะเริ่มอยู่ในอัตราถดถอย และหากปล่อยให้เลยช่วงนี้ไปแล้ว การปรับเปลี่ยนต่างๆ จะไม่ทันการณ์ แต่ความยากของการเปลี่ยน คือ ผู้นำจะทำให้คนอื่นเห็นได้อย่างไรว่าต้องเปลี่ยน ในเมื่อ การเจริญเติบโตยังมีอยู่ แม้อัตราน้อยกว่าเดิมก็ตาม

คำตอบ ก็อยู่ที่ขั้นตอนที่ 1-8 นั่นเอง

เก็บความโดย อ.วนิดา วินิจจะกูล รองคณบดี คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
หากผิดพลาดสิ่งใดต้องกราบขออภัยท่านอาจารย์ประสิทธิ์ วัฒนาภา มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ แต่หวังว่าผู้ที่ได้อ่าน     จะได้เก็บสาระความสำคัญของคำว่า CHANGE
ไว้ในใจท่าน ซึ่งแค่นี้…ก็ถือว่า “การเปลี่ยนแปลง” ได้ก่อร่างขึ้นแล้ว

โครงการ “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง”

ท่องเที่ยว ลำปาง

อ.ดร.ศรีศุกร์ นิลกรรณ์ อ.แดน กุลรูป และ ทีมงานวิจัย 14 ท่าน ผู้ช่วยวิจัยอีก 6 ท่าน และนักศึกษาช่วยงาน รวมกว่าีอีก 50 ชีวิต จัดสัมมนา เรื่อง “การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเองอย่างยั่งยืนเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดลำปาง” ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัยเนชั่น โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม อธิการบดี เป็นประธานในพิธีเปิด

ผู้ร่วมสัมมนาประกอบด้วย บุคคลจากหน่วยงาน สถานศึกษา ผู้ประกอบการ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนในจังหวัดลำปาง วันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง .. ความสำเร็จในการสัมมนาเกิดจาก เกิดจากความร่วมมือร่วมใจของทีม และภาคีเครือข่าย

การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)
การบริหารจัดการอัตลักษณ์ของตนเอง (Identity)

ผู้ใหญ่เล่าเรื่องคำสอนของขงจื้อ

คำสอนของขงจื้อ .. กับคน 5 ประเภท

คำสอนของขงจื๊อสะท้อนให้เห็นถึง อุดมคติของปัญญาชน เช่นเขาเอง
คือ คำสอนที่ว่าด้วย ความประพฤติของชาว “หยู” (ผู้ที่เชื่อในวิถีของวิญญูชน)
ซึ่งไม่ล้าสมัยเลย แม้มองจากมุมของคนในยุคปัจจุบัน ขงจื๊อกล่าวว่า ชาวหยูที่แท้
จะต้องแสวงหา ความรู้ สร้างเสริม คุณธรรม ความสามารถอย่างไม่เหนื่อยหน่ายท้อแท้
เขาจะต้องพยายามทำสิ่งที่ตนศึกษาเล่าเรียนมาให้ปรากฏเป็นจริง และพร้อมที่จะรับใช้บ้านเมืองเมื่อมีโอกาส

ในเส้นทางการพัฒนาตัวเองตามทัศนะของขงจื๊อนั้น จำแนกคนออกเป็น 5 ระดับ
คือ สามัญชน บัณฑิต ปราชญ์ วิญญูชน และอริยบุคคล โดยเรียงลำดับจากขั้นต่ำไปขั้นสูง
ระดับที่ 1 สามัญชน คือ บุคคลที่ไม่ค่อยเคารพปฏิบัติตามกฎระเบียบ ไม่สามารถกล่าวเขียนวาจาที่สะท้อนความมีสติปัญญา ไม่เคยคิดที่จะคบนักปราชญ์ ชีวิตไม่มีเป้าหมาย รู้แต่เรื่องเฉพาะหน้า ไม่มีอุดมคติที่ลึกซึ้งกว้างไกล ไม่มีความเป็นตัวของตัวเองในเชิงปณิธาน ชอบเปลี่ยนความคิดไปตามกระแส ที่เข้ามากระทบ และไม่ยืนหยัดในหลักการ
ระดับที่ 2 บัณฑิต คือ บุคคลที่แม้ไม่เข้าใจเหตุผลที่ลึกซึ้ง ไม่สามารถบำเพ็ญคุณธรรมอย่างหมดจด แต่ก็มีความรู้และความเชื่อบางอย่าง ทำงานและประพฤติตัวตามหลักการบางอย่าง เพราะฉะนั้น ถึงระดับความรู้ความเข้าใจจะมีข้อจำกัดก็ยึดกุมความรู้ความเข้าใจได้ในระดับ จำกัดนั้นอย่างแม่นยำ ถึงระดับความสามารถในการพูดจะมีข้อจำกัด ก็เข้าใจเหตุผลที่กำลังพูดอย่างแท้จริง ถึงระดับความสามารถในการสื่อด้วยความประพฤติจะมีจำกัด ก็ระมัดระวังความประพฤติของตัวเองเสมอ พวกเขาจึงสามารถเผชิญความจริงภายใต้ข้อจำกัดของตัวเอง
ระดับที่ 3 ปราชญ์ คือ บุคคลที่ประพฤติตัวอยู่ในทำนองคลองธรรมมีวาจาเที่ยงแท้เป็นที่น่าเชื่อถือ มีความรู้และคุณธรรมมากพอที่จะเป็นแบบอย่างแก่ราษฎรทั่วแผ่นดินได้
ระดับที่ 4 วิญญูชน คือ บุคคลที่ศึกษาความรู้บ่มเพาะคุณธรรมอย่างทุ่มเท พูดจริงทำจริง ไม่บ่นโทษ ไม่นินทา ไม่พยาบาท มีคุณธรรมสูงส่ง แต่ไม่เย่อหยิ่งทะนงตน มีสติปัญญาเลิศล้ำ แต่กลับมีท่าทีอบอุ่น นอบน้อม จนดูคล้ายไร้สติปัญญา ทั้งที่แท้ที่จริงแล้วมีความสามารถอันลึกล้ำหาผู้ใดเสมอยาก
ระดับที่ 5 อริยบุคคล คือ บุคคลที่มีจิตใจสูงส่งน่าบูชาดุจฟ้าดิน แต่สามารถปรับตัวให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม มีสติปัญญาแจ่มจ้าดุจแสงแห่งสุริยันจันทรา สามารถหยั่งรู้รากเหง้าของสรรพสิ่ง ยามดำเนินมรรคธรรมจะประหนึ่งฟ้าดินหล่อเลี้ยงสรรพชีวิตโดยไม่ลำเลิก และเหล่าราษฎรทั้งปวงก็หารู้ไม่ว่ารับบุญคุณท่านแล้ว คนทั่วไปจึงไม่ทราบว่า ท่านได้ทำอะไรบ้าง ไม่ทราบว่าท่านมีคุณธรรมสูงส่งเพียงใด ดุจเดียวกับที่ไม่เข้าใจความลับของฟ้าดิน

! http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=13083

! http://blog.nation.ac.th/?p=2209

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

วงจรในการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพภายใน

จากหัวข้อแนวทางการจัดกระบวนการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน หน้า 201

ของ คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษา ปีการศึกษา 2554-2556

(Quality Assurance Manual 2554-2556)

1. สถาบันวางแผนการประเมินคุณภาพประจำปีการศึกษาใหม่ โดยประกาศตัวบ่งชี้ก่อนเริ่มต้นปีการศึกษาใหม่ และแจกคู่มือการจัดทำ SAR (กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงตัวบ่งชี้ วิธีการ และกำหนดการประเมินคุณภาพภายในประจำปี)
2. สถาบันเก็บข้อมูลระยะ 12 เดือนตามตัวบ่งชี้ที่ได้ประกาศใช้บนระบบ CHEQA Online (มีทีมงานให้คำปรึกษากับบุคลากร และหรือหน่วยงานและหรือภาควิชาในการเก็บข้อมูล พร้อมทั้งพิจารณาปรับปรุงการดำเนินงานตามความเหมาะสม)
3. สาขาวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง จัดทำ SAR และเตรียมการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
4. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้ง
5. คณะวิชาและศูนย์นอกที่ตั้ง นำผลการประเมินมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
6. ประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งบนระบบ CHEQA Online
7. สถาบันนำผลการประเมินระดับคณะวิชา และศูนย์นอกที่ตั้งมาจัดทำ SAR บนระบบ CHEQA Online และเตรียมการประเมินระดับสถาบัน และแต่งตั้งกรรมการประเมินระดับสถาบัน
8. ประเมินระดับสถาบันบนระบบ CHEQA Online และนำผลการประเมินเสนอสภาสถาบันเพื่อพิจารณาวางแผนพัฒนาสถาบันในปีการศึกษาถัดไป
9. ผู้บริหารของสถาบันอุดมศึกษานำผลการประเมินและข้อเสนอแนะของคณะกรรมการ ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน (รวมทั้งข้อเสนอแนะของสภาสถาบัน) มาวางแผนปรับปรุงการดำเนิน หรือปรับแผนกลยุทธ์/แผนปฏิบัติการประจำปีและเสนอตั้งงบประมาณปีถัดไป หรือจัดทำโครงการพัฒนาและเสนอใช้งบประมาณกลางปี
10. ส่งรายงานประจำปีที่เป็นรายงานการประเมินคุณภาพภายใน (ประกอบด้วย SAR และผลการประเมินคุณภาพภายในระดับคณะวิชา ศูนย์นอกที่ตั้ง และระดับสถาบัน) ให้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาผ่านระบบ CHEQA Online และหน่วยงานต้นสังกัด (ภายใน 120 วันนับจากสิ้นปีการศึกษา)

! http://blog.nation.ac.th/?p=2377

Jeffrey Blitz ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง spellbound ที่ ม.เนชั่น ลำปาง

spell bound (2002)
spell bound (2002)

มหาวิทยาลัยเนชั่น ลำปาง และสถานทูตอเมริกา
เชิญ Jeffrey Blitz ผู้กำกับภาพยนตร์รางวัล Emmy Award
เข้าร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักศึกษา ในศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2555

Jeffrey Blitz
Jeffrey Blitz

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=467657883284744&set=a.467657723284760.127012.100001216096658

มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ร่วมกับ สถานเอกอัตราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยและกงสุลใหญ่สหรัฐอเมริกาจังหวัดเชียงใหม่ จัดเทศกาลภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกา ( American Showcase ) เพื่อมุ่งเน้นให้ประชาชนทั่วทุกมุมโลกได้มีโอกาสสัมผัสกับสังคมและวัฒนธรรม แบบอเมริกัน ซึ่งในครั้งนี้ได้เชิญ คุณเจฟฟรีย์ บลิตซ์ (Jeffrey Blitz) ผู้กำกับภาพยนตร์และสารคดียอดเยี่ยมนานาชาติ มาเล่าประสบการณ์และตอบข้อซักถามให้กับนักศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ในเวลา 09.00-12.00 ณ ห้อง 4201 คณะนิเทศศาสตร์

เทศกาลภาพยนตร์จากสหรัฐอเมริกาจะจัดขึ้นทุกปี โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกาจะจัดคัดเลือกภาพยนตร์ที่น่าสนใจมาเผย แพร่ให้ประชาชนชาวไทยที่สนใจได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งในปีนี้จะจัดฉายภาพยนตร์เรื่อง Spellbound ซึ่งเป็นผลงานที่ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ปี 2002 ซึ่งภาพยนตร์ดังกล่าวได้บันทึกประสบการณ์อันเข้มข้นของการแข่งขันสะกดคำ National Spelling Bee ผ่านสายตาผู้เข้าแข่งขันรุ่นเยาว์แปดคนและถ่ายทอดให้เห็นพฤติกรรมการหมกมุ่น กับการเรียน รวมถึงความเป็นไปในครอบครัวที่ทั้งบีบคั้นหัวใจสลับกับสร้างแรงบันดาลใจ
! http://www.nation.ac.th/course-news-detail.php?main=7/19/136/151&content=210

Spellbound poster
Spellbound poster

Spellbound (2002)  Director: Jeffrey Blitz

เด็ก ๆ ทั้ง 8 คน
1. Neil Kadakia
2. Emily Stagg
3. Ashley White
4. April DeGideo
5. Harry Altman
6. Angela Arenivar
7. Nupur Lala
8. Ted Brigham

http://en.wikipedia.org/wiki/Spellbound_(2002_film)

เรื่องราว
เรื่องราวของเด็กหนุ่มสาว 8 คนที่ได้รับการหนุนเสริมจากครอบครัว จนนำไปสู่การชนะการแข่งขันในระดับเมือง และเข้ารอบสุดท้ายของการแข่งขัน the Scripps Howard national spelling bee championship ที่ Washington D.C. ซึ่งยากและต้องฝึกฝนอย่างหนัก เรื่องราวของแต่ละคนถ่ายทอดผ่านการสัมภาษณ์ผู้ปกครอง และครูที่ทำงานร่วมกันในการพัฒนาพวกเขา ในการแข่งรอบสุดท้ายจะพบกับผู้เข้าแข่งขันกว่า 250 คนภายใต้ความกดดัน และการสะกดคำที่ยากขึ้นกว่าเดิม

Storyline
This documentary follows 8 teens and pre-teens as they work their way toward the finals of the Scripps Howard national spelling bee championship in Washington D.C. All work quite hard and practice daily, first having to win their regional championship before they can move on. Interviews include the parents and teachers who are working with them. The competitors not only work hard to get to the finals but face tremendous (มหึมา) pressure as the original group of over 250 competitors is whittled (ลดลง) down and the words they must spell get ever more difficult.

http://www.spellingbee.com/

http://blog.nation.ac.th/?p=2380

ปฏิญญาเจ็ดข้อ แทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย”

คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เครือเนชั่น ผนึกภาครัฐ-เอกชน มอบรางวัลคนดี ในโครงการแทนคุณแผ่นดินปีที่ 6 นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ห่วงผู้ใหญ่ห่างเหินลูกหลาน คนขาดศรัทธาครู-วัด-พระ ขาดแหล่งบ่มเพาะความดี สุทธิชัย หยุ่น ประกาศดันโครงการแทนคุณแผ่นดินสู่ประชาคมอาเซียน ชูปฏิญญา 7 ข้อ อนาคตประเทศไทย
15 พฤศจิกายน 2555 14.00น. บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานรัฐและเอกชนจัดโครงการ “แทนคุณแผ่นดิน ปี 2555” “77 ต้นแบบคนดี สู่ 65 ล้านคนดีทั่วไทย” ที่ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีการมอบรางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดินให้แก่บุคคลผู้ทำดีในสาขาอาชีพต่างๆ 77 คน จาก 77 จังหวัด รางวัล “เยาวชนต้นแบบคนรุ่นใหม่” 6 คน รวมถึงรางวัล “องค์กรต้นแบบ” 6 องค์กร
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานว่า คนดีมีความสำคัญอย่างมากสำหรับทุกแผ่นดิน ทำให้ทุกประเทศมีอารยธรรมและวัฒนธรรม ยกย่องคนดีเพื่อให้อารยธรรมและวัฒนธรรมของประเทศยั่งยืน หากประเทศใดยกย่องอารยธรรมและวัฒนธรรมที่ไม่ดี ประเทศนั้นก็ต้องวิบัติสิ้นสุดลง การส่งเสริมให้คนเป็นคนดีจะต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็กๆ โดยปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ปลูกฝัง ให้ลูกหลานทำความดี และได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูและพระสงฆ์ ซึ่งเป็นการสอนโดยบ้าน โรงเรียนและวัด แต่ในยุคสมัยใหม่ น่าห่วงเพราะปู่ ย่า ตา ยายและพ่อ แม่ ห่างเหินจากลูกหลาน ไม่ได้ใกล้ชิดกันเช่นในอดีตจึงไม่มีโอกาสได้อบรมสั่งสอนให้ทำความดี ครูจะสอนความดีให้แก่เด็กก็ต้องระวังจะถูกฟ้องศาลปกครอง ขณะที่วัดและพระสงฆ์ก็มีคำถามว่า เป็นพระแท้หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์ขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์เกือบทุกวัน
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวต่อไปว่า การดำเนินโครงการแทนคุณแผ่นดินช่วง 6 ปีนี้ จึงคัดเลือกพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีเพื่อให้สังคมและประเทศได้รับรู้ว่ายังมีพระ แท้อยู่ และอยากให้ครูสอนความดีให้แก่เด็กอย่าเน้นกวดวิชา หากสอนแต่ความเก่งไม่สอนความดี จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ปัจจุบันสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยอย่างมาก ทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนแก่ หากสื่อตระหนักในบทบาทและมีความรับผิดชอบช่วยกันสร้างคนดีให้สังคม โดยการสร้างความดีใส่สมองคนไทยก็จะช่วยสร้างคนไทยให้เป็นคนดีได้จำนวนมาก
“ผม ขอฝากว่า ขอให้คนไทยศรัทธาในความดี อย่าหลงทางใช้ความไม่ถูกต้องนำมาซึ่งความร่ำรวย จะทำให้บ้านเมืองล่มจม ขอให้ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ ช่วยกันอบรมสั่งสอนเด็กไทยตั้งแต่เล็กๆ ให้รู้จักว่าอะไรดี อะไรชั่ว อย่าคด อย่าโกง หากทุกคนช่วยกันเชื่อว่าในอนาคตเราจะได้เห็นคนรุ่นใหม่เป็นคนดีอย่างที่เรา อยากให้เป็น” องคมนตรี กล่าว

นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น กล่าวว่า โครงการแทนคุณแผ่นดินดำเนินการมาเป็นปีที่ 6 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกย่องผู้ทำความดีและเป็นแบบอย่างการทำความดีให้แก่ สังคมและประเทศ จนถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 332 คน ซึ่งได้มีการต่อยอดโครงการด้วยการจัดเวทีเสวนาดีต่อดีใน 4 ภูมิภาค โดยนำผู้ได้รับรางวัล 100 คนจาก 26 กลุ่มจังหวัดไปแลกเปลี่ยนปัญหาและระดมความคิดเห็นกระทั่งได้ข้อสรุปออกมา เป็นปฏิญญาแทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย” จำนวน 7 ข้อด้วยกัน
“ทุก ภาคส่วนของสังคมไทยต้องช่วยกันส่งเสริมความดีเพราะช่วยให้ประเทศไทยสงบสุข และอยู่ได้อย่างสง่างามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเข้าสู่ประชาคมอา เซียน ซึ่งบริษัทเนชั่นและพันธมิตรภาครัฐและเอกชน จะนำโครงการแทนคุณแผ่นดินเผยแพร่ต่อไปยังประเทศในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียน 9 ประเทศเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยก็มีมาตรฐานความดีไม่ด้อยกว่าประเทศ อื่นๆ และจะส่งเสริมให้ความดีของไทยเป็นความดีของประชาคมอาเซียนด้วย” นายสุทธิชัย กล่าว

นายปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ทรัพยากรบุคคลและศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ปตท.สนับสนุนโครงการแทนคุณแผ่นดินเพราะสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทที่มุ่ง สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งความดีจะเป็นรากฐานของสังคมไทยและก่อให้เกิดความมั่นคงในประเทศไทย จึงอยากให้จำนวนคนทำความดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีหลากหลายอาชีพทั่วประเทศไทย เชื่อว่าโครงการแทนคุณแผ่นดินจะช่วยจุดประกายให้คนไทยทำความดี ซึ่งต้องร่วมกันตอบแทนบุญคุณแผ่นดินด้วยการทำความดีซึ่งแผ่นดินนี้เป็นแผ่น ดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพ่อของคนไทยทุกคน
นางรุ่งฟ้า เกียรติพจน์ ผอ.ด้านการบริหารแบรนด์ และสื่อสารการตลาด บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทร่วมสนับสนุนโครงการแทนคุณแผ่นดินเพราะเป็นโครงการที่สอดคล้องกับ นโยบายของบริษัท ซึ่งมุ่งสร้างคนดีให้แก่แผ่นดิน โดยบริษัททรูฯ ได้จัดโครงการทำดีให้พ่อดู ตั้งแต่ปี 2549 และต่อมาจัดทำโครงการดูที่พ่อทำเผยแพร่ข้อมูลบุคคลที่ทำความดีและเผยแพร่พระ ราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านเว็บไซต์ของโครงการ ซึ่งก่อนหน้านี้จะดำเนินโครงการเหล่านี้ บริษัทตั้งใจจะทำโครงการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อตอบแทนพระองค์ท่านที่ทรงเหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำเพื่อคนไทยมาโดยตลอด และโครงการแทนคุณแผ่นดินก็มีเป้าหมายเดียวกัน จึงมาร่วมกับบริษัทเนชั่น ดำเนินโครงการ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยทำความดี โดยไม่กลัวความเหนื่อยยาก ไม่ให้ความดีหายไปจากแผ่นดินไทย
จากนั้นนายสุทธิชัย ได้นำพันธมิตร หน่วยงานรัฐและเอกชน รวมทั้งผู้รับรางวัลในโครงการแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2555 ประกาศปฏิญญาแทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย” จำนวน 7 ข้อได้แก่
1. จัดสรร อำนาจใหม่ ภาคประชาชนหรือองค์กรชุมชน ต้องเติบโตโดยธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ถ่วงดุลกับภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่นได้อย่างอิสระ
2. กำเนิด คณะกรรมการประชาสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในทุกด้านคือ ที่ดิน แร่ ป่า น้ำ ทะเลและชายฝั่ง
3. รวม กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในทุกรูปแบบ สร้างกระบวนการเรียนรู้ การทำธุรกิจในระบบตลาด และส่งเสริมให้เกิดโรงเรียนเกษตรกร เพื่อการศึกษาทางเลือก
4. ชุมชนเข้มแข็งมีความเอื้ออาทรต่อกันฟื้นฟูพลังทางศีลธรรมในการกำกับพฤติกรรมของผู้คน และพึ่งพึงตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ
5. ประสานพลัง แห่งศาสนา มีจุดร่วมที่ลดความเห็นแก่ตัว มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา ภาษา เชื้อชาติ และอุดมการณ์
6. เสริมสร้างการสาธารณสุขมวลชน มีความมั่นคงด้านสุขภาวะอนามัย สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน
7. ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยกลไกตามประเพณีที่ชุมชนเคยมีแต่โบราณกาล
นายวิชาญ สุขปุนพันธ์ วัย 75 ปี ผู้ได้รับรางวัลตัวแทนคนดีจาก จ.สงขลา ข้าราชการครูบำนาญที่ใช้ที่ดิน 40 ไร่ ปลูกต้นไม่นานาชนิดสร้างปอดให้ชุมชน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ เหมือนการที่ทำอะไรไปแล้วมีคนมองเห็นก็รู้สึกดีใจและภูมิใจ ตนคิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นน้อยไปด้วยซ้ำ หลังจากนี้ก็อยากจะปลูกต้นไม้ไปเรื่อยๆ จนกว่าร่างกายจะไม่ไหว และขยายการเรียนรู้ให้คนที่อยากจะเรียนรู้ และเป้าหมายคืออยากให้เด็กๆ มาสนใจปลูกป่ามากขึ้น เพราะคุณค่าของป่านั้นมีมหาศาล
ร.ต.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ รองสารวัตรป้องกันปราบ ปราม สน.บางซื่อ อายุ 58 ปี ผู้ได้รับรางวัลตัวแทนจากจังหวัดกรุงเทพมหานครในฐานะที่ทำงานเป็นตัวแทนครู ข้างถนนมากว่า 12 ปี บอกว่าเป็นอีกรางวัลที่ภูมิใจ ถือเป็นการเติมพลังในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาเจอกับคนที่ทำความดีมากมายหลายสาขา ก็มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพราะจะได้นำข้อมูลที่ได้จากคนดีไปสอนเด็กๆ ได้ต่อ ตอนนี้ก็หวังว่าจะมีการฝึกอาชีพ เราก็เป็นเหมือนจิ๊กซอว์หนึ่งที่ช่วยเด็กเหล่านั้นให้มีงานทำ และพยายามจะขยายจากเด็กไปในชุมชนที่เป็นต้นตอของปัญหาเด็กเร่ร่อน
โครงการแทนคุณแผ่นดิน ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนโดยมีองค์กรผู้ร่วม สนับสนุนดังนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โรงพยาบาลไทยนครินทร์ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท อิคิวตี้ เรสซิเดนเชียว เจ้าพระยา จำกัด บริษัท เนอวานา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เฟรเกรนท์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คัดเลือกคนดีแทนคุณแผ่นดิน นำโดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นายมีชัย วีระไวทยะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดร.ศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการ บริษัท บูติค นิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) นายสุรพล ดวงแข กรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น นายเสริมสิน สมะลาภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และน.ส.ดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บัณฑิต ม.เนชั่น แสดงความในใจ

สัมภาษณ์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  แสดงความในใจหลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น ในพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่บัณฑิตและมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (วันเดียวกับวันโลกแตก) ซึ่งประเด็นที่ศิษย์สะท้อนก็จะเป็นหลักสูตร อาจารย์ โปรเจค และงานที่ทำ

! http://77.nationchannel.com/home/317512/

1. บัณฑิต นวลถนอม ไร่นากิจ
http://www.youtube.com/watch?v=LQcUL1OddaY
2. บัณฑิต วัลลียา ปุ๊ดสา
http://www.youtube.com/watch?v=oNm7ux1CYNA
3. บัณฑิต ภาวิณี อินติ๊บ
http://www.youtube.com/watch?v=OGeKOJf-wH8
4. บัณฑิต นันทวัฒน์ ธีรวัฒน์วาที
http://www.youtube.com/watch?v=L6eGH9ZMYkE
5. บัณฑิต วณัฐพงศ์  สุวรรณศิลป์
http://www.youtube.com/watch?v=7ahXG0x47Oo
6. บัณฑิต รพีพรรณ ใจเที่ยง
http://www.youtube.com/watch?v=Lo9waDdDR_8
7. บัณฑิต หทัยทิพย์ ขัติยะ
http://www.youtube.com/watch?v=HQYOI8HO9cs
8. บัณฑิต ปทุมพร เมืองเมา
http://www.youtube.com/watch?v=ObvKX_u26Rc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2412

บทความตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม

http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg
http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะการนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002
http://www.scribd.com/doc/118643661/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2427

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้
เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้
การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล
เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้
มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill
http://www.youtube.com/watch?v=2hz15t6Zao0

ศตวรรษที่ 21
http://www.p21.org/

1. สาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี

2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้” สู่ “ทักษะ”
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก
เป็นนักเรียนเป็นหลัก
เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning
โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ

6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
– การตีโจทย์
– ค้นคว้าหาข้อมูล
– ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
– เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้
– ได้ฝึกปฏิบัติจริง
– เพิ่มทักษะในการศึกษา
– การนำเสนออย่างสร้างสรรค์
– ฝึกการทำงานเป็นทีม
– แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
– ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป

7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน

8. การเรียนรู้แบบ PBL
ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ
สนใจกระบวนการหาคำตอบ
โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ
เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้
การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล
แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า
เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ

9. การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้
การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม
เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม

10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู
คือ PLC = Professional Learning Commitee
การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ “เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”
สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น “ชุมชนการเรียนรู้ครู”
– ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
– ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย
เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก
ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร
– วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ
– ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking
ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

! http://blog.nation.ac.th/?p=2435

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ
เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

! http://blog.nation.ac.th/?p=2438