co-operation

ความร่วมมือในการพัฒนาสหกิจศึกษา

coop with payap
coop with payap

ประเทศไทยมีการพัฒนาการศึกษาอีกกระบวนการหนึ่ง ผ่านระบบสหกิจศึกษา เพื่อให้มีกลไกในการพัฒนากระบวนการนี้ให้เข้มแข็ง จึงเกิดเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมี เครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมเป็นสมาชิก และการพัฒนาระบบก็มีอยู่หลายมิติ ซึ่งมหาวิทยาลัยพายัพเห็นว่าระบบสหกิจศึกษาออนไลน์มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนในฐานะระบบฐานข้อมูล ที่มีบทบาทช่วยในการตัดสินใจ และการเข้าถึงข้อมูลได้ทันเวลาตามความต้องการ ดังนั้นมหาวิทยาลัยพายัพได้รับทุนจากเครือข่ายฯ ซึ่งกิจกรรมหนึ่งในโครงการคือการทดสอบระบบฯ  จึงมีการแบ่งกลุ่มย่อยที่รวมสถาบันการศึกษาตามกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในบริเวณใกล้กันมาทำกิจกรรม ในที่นี้ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง วิทยาลัยชุมชนแพร่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ลำปาง) และมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งการทดสอบจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงประสานใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 เป็นความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศในอีกมิติหนึ่ง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่จะตอบความต้องการของสังคมอย่างเป็นรูปธรรม

บทความตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม

http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg
http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะการนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002
http://www.scribd.com/doc/118643661/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2427