ethics

ตอนที่ 3 ประชุมจนไม่ได้เข้าห้องเรียน นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

นิทาน ตอนที่ 3
ประชุมจนไม่ได้เข้าห้องเรียน
.
หลังจาก ครูแจง เข้าไปเป็นครูอัตราจ้าง
พบว่า หัวไม่ได้วาง หางไม่ได้เว้น
เนื่องจาก อาชีพครูสมัยนี้
มีหน้าที่พัฒนานักเรียน
ช่วยเด็กทำโครงการส่งประกวด
จะได้ทำงานเป็น
โดยมีครูคอยให้คำปรึกษา
ค้นคว้าหาข้อมูล และอีกมากมาย
.
ผอ. ฟ้า บอกว่า
ครูต้องช่วยกันรับผิดชอบโครงการ
แบ่งโครงการตามความถนัด
แยกย้ายกันไปประชุม ไปทำงาน
ไปสอนหนังสือ และดูแลนักเรียน
ระหว่างทำโครงการใดก็ตาม
ก็ต้องไม่ลืมเข้าห้องเรียน
มีบทบาทเป็นครูประจำชั้น
ต้องสอนออนไซต์ ควบคู่กับออนไลน์
.
ดังนั้น ไม่ว่าจะเป็น
ครูแจง ครูจอย หรือครูมืออาชีพคนไหน
ล้วนต้องมีโครงการที่ต้องรับผิดชอบ
และไปประชุมตามที่ ผอ. มอบหมาย
แล้วบ่อยครั้งที่ต้องฝากนักเรียน
ให้เพื่อนครูช่วยดูแล
ดั่งน้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
ครูแจง และครูจอย จึงต้องพึ่งพากัน
.
สิ่งที่ครูห่วงมาก
คือ การไม่ได้อยู่สอนในห้องเรียน
แต่โชคดี ที่เทคโนโลยีในปัจจุบัน
เข้ามาช่วยลดช่องว่าง
ระหว่างครูและนักเรียน
คือ ระบบสอนออนไลน์
ระบบอีเลินนิ่ง
ระบบมอบหมายงาน
ระบบอีบุ๊ค
ระบบอีด็อคคิวเมนต์
ระบบสอบย่อย
ระบบส่งงานออนไลน์ หรือ
ผ่าน ยูเอสบี เพอร์เฟค
.
ช่วยให้การจัดการเรียนรู้ง่ายขึ้น
ช่วยลดปัญหาครูทิ้งห้องเรียน
ได้ระดับหนึ่ง
.
เมื่อ ครูแจง ได้เห็นปัญหาแล้ว
จึงเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาต่อไป

https://vt.tiktok.com/ZSFcupPgW/

ตอนที่ 3 ประชุมจนไม่ได้เข้าห้องเรียน
นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว
#school
#teacher
#fiction
#lesson
#learning
#เพื่อความบันเทิง
#ซีรี่
#ของพรีเมี่ยม
#creative
#usbperfect
#elearning

ตอนที่ 2 มอบหมายงานสอน โดยไม่ดูวิชาเอก นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

นิทาน ตอนที่ 2
มอบหมายงานสอน โดยไม่ดูวิชาเอก
.
เมื่อ ผอ.ฟ้า เห็น ครูจอย
ขับรถใหม่ป้ายแดง แต่งตัวดี
ก็ด่วนตัดสินว่าเป็น
ว่าที่ รมต. มาเป็น ครูอัตราจ้าง
เพื่อเรียนรู้ปัญหาจากสภาพจริง
.
โดยไม่ดูข้อมูลอื่นประกอบ
เช่น วุฒิการศึกษา ประสบการณ์
หรือ ผลงานตีพิมพ์
.
ได้เห็นเพียงว่า ขับรถใหม่ป้ายแดง
แต่หน้าทาปากแดง
และ ฟังจากเพื่อนครูที่ชื่นชม
ก็ด่วนตัดสินคนจาก ภายนอก
.
แล้วให้ภาระงาน
เพื่อเอาใจ ครูจอย ที่จบเคมีมา
ก็ให้สอนวิชาเคมี และ วิชาชีวะ
ตามที่ครูจอยถนัด
ทำให้ได้สอนในวิชาที่ชอบ
.
ส่วน ครูแจง ที่ขี่รถสามล้อมาทำงานนั้น
ผอ. ฟ้า ก็คิดว่า
เป็นเด็กฝากจากในหมู่บ้าน
.
จึงยัดเยียดงานให้ทำมากมาย
แม้รู้ว่า ครูแจง ที่จบชีวะมา
แต่ก็ให้ไปดูแล
วิชาพละ สอนรำดาบ
วิชาคหกรรม สอนทำข้าวต้มมัด
วิชาศิลปะ สอนวาดภาพระบายสี
วิชาเกษตร สอนปลูกผัก
.
แล้วให้ไปหาเช่าบ้านอยู่เอง
เพราะบ้านพักครูเต็มแล้ว
.
แต่ให้ครูจอย ได้อยู่บ้านพักครู
ร่วมกับกลุ่มครูที่ชื่นชมครูจอย
.
เพราะครูจอย มีของขวัญ
เป็นแบตสำรองของพรีเมี่ยม
มอบให้ ผอ. และเพื่อนครู
แล้วยังพาเพื่อนครูไปกินหมูกะทะ
ในโอกาสฝากเนื้อฝากตัว
แสดงความมีสัมมาคารวะ
ตั้งแต่วันแรกที่เข้าทำงาน
.
แม้ทุกคนจะรู้ว่าไม่สุจริต
แต่ก็ไม่มีใครคัดค้าน
ยกเว้น ครูแจงที่แอบเก็บข้อมูลอยู่

https://vt.tiktok.com/ZSFcYPYxY/

ตอนที่ 2 มอบหมายงานสอน โดยไม่ดูวิชาเอก
นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว
#school
#teacher
#fiction
#lesson
#learning
#เพื่อความบันเทิง
#ซีรี่
#ของพรีเมี่ยม
#creative

ตอนที่ 1 เข้ารายงานตัวที่โรงเรียน
นิทานเรื่อง
ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง
โรงเรียนเทียมดาว

นิทานเรื่องนี้ ต้องการสื่อให้เห็น
ถึงความมี และ ไม่มี
จรรยาบรรณวิชาชีพครู
และ เหตุการณ์ ที่เกิดขึ้นในโรงเรียนสมมติ
.
เน้นเล่าเรื่อง เพื่อความบันเทิง สอดแทรก
บทเรียนด้านคุณธรรม และจริยธรรม
ที่ไม่เกี่ยวข้องกับสถานที่
หรือ บุคคลใดในชีวิตจริง
.
ครูแจง เดินถือกระบอกน้ำ
ทรงสวยพร้อมปากกาพรีเมี่ยมสุดเก๋
ลงจากจักรยานไฟฟ้าสามล้อ
เข้าไปที่โรงเรียนเทียมดาว
.
มาถึงโรงเรียนพร้อมกับครูจอย
ที่ลงจากรถยนต์ไฟฟ้ารุ่นใหม่ป้ายแดง
เข้าไปรายงานตัว เป็นครูอัตราจ้างบรรจุใหม่
พร้อมกันสองคน
.
โดยก่อนหน้านี้
ผอ.ฟ้า ได้รับแจ้งจากวงใน ว่า
ให้เตรียมการต้อนรับ ว่าที่ รมต. ที่ปลอมตัว
มาทำงาน เป็นครูอัตราจ้าง
เพื่อศึกษาปัญหาในระบบการศึกษา
ที่เกิดขึ้นจริง
เพื่อนำข้อมูลไปเขียนรายงานการวิจัย
แล้วใช้ประกอบการ
กำหนดนโยบายในการพัฒนา
และจัดทำแผนระยะยาวต่อไป
.
และต้องการปกปิดตัวตน
เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความจริงที่สุด
.
ที่จริงแล้ว ครูแจง คือ
ว่าที่ รมต. สุดร่ำรวย
ที่ได้รับปริญญา 7 สาขา
ที่อายุน้อยที่สุด
และตัวตนของคุณครูยังเป็นความลับ

https://vt.tiktok.com/ZSFcJk7Dn/

นิทานเรื่อง
ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง
โรงเรียนเทียมดาว
ตอนที่ 1 เข้ารายงานตัวที่โรงเรียน
#school
#teacher
#fiction
#lesson
#learning
#เพื่อความบันเทิง
#ซีรี่
#ของพรีเมี่ยม
#creative

จรรยาบรรณวิชาชีพ

ทุกอาชีพควรมีจรรยาบรรณวิชาชีพ
เพื่อเป็นแนวปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบอาชีพ
ในยุคที่สื่อสังคมเป็นที่นิยม
มักพบข้อมูลข่าวสารถูกแชร์อยู่เสมอ

เคยมีประเด็นวิชาชีพถูกนำมาพูดคุย
เช่น
ครูใส่ชุดว่ายน้ำ
นักข่าวนำเสนอข่าวที่จงใจคลาดเคลื่อน
ผู้บริหารใช้อำนาจเกินขอบเขต
นักวิชาการคัดลอกผลงาน

ผู้คนในสังคมควรคำนึงถึง
#จริยธรรมของมนุษย์ ที่ควรปฏิบัติต่อกัน
เช่น ไอดอลวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง
ที่ใช้วาจา อารมณ์ หรือกริยาไม่เหมาะสม

เรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

และ หลักธรรมาภิบาล นั้นสำคัญ

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_reporter.htm

เมื่อถูกบอกเล่าในสื่อสังคมก็อาจได้รับผล
ที่รุนแรงกลับไปอย่างที่คาดไม่ถึง

The standard
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ

7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู

ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_teacher.htm

ช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่

  • สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
  • ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 โทรสาร 022834525 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
  • เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55 โทรสาร 02-222-6838
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 โทรสาร 02-143-9563 อีเมล info@nhrc.or.th
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ
สายด่วนการศึกษา 1579
ชวนกันออกจาก comfort zone เข้าหลักสูตร GCP online training (ภาพจากแฟนเพจ มหาวิทยาลัยเนชั่น)

ชวนนิสิตเข้า หลักสูตร GCP online training แบบ self-learning

เมื่อวาน (20 ก.พ.2565) ชวนนิสิต M.Ed. เข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร GCP online training (Computer based) ตามความสมัครใจ หลังทุกคนนำเสนอโครงงานประจำวิชาช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงเย็น พบว่า กลุ่มนิสิต M.B.A. แชร์ประกาศนียบัตร ซึ่งนิสิตจะผ่านได้ ต้องเข้าสอบและผ่านการสอบ ตามเกณฑ์อย่างน้อยถูก 24 จาก 30 ข้อ แล้วก่อนหน้านี้ เคยทราบว่ากลุ่มนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ก็ผ่านหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อได้เข้าไปทำข้อสอบ ทำให้ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “แนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี” เพิ่มขึ้น

คู่มือแนะนำหลักสูตร GCP online training

หลักสูตร GCP online training (Computer based) “แนวทางการปฎิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (ICH-GCP:E6(R2))” โดย คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ICH ย่อจาก The International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use และ GCP ย่อจาก Good Clinical Practice


คำชี้แจง ที่น่าสนใจ

  1. ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้จบก่อนทำแบบทดสอบ
  2. แบบทดสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ เกณฑ์ผ่านคือ ตอบถูกอย่างน้อย 24 ข้อ (240 จาก 300 คะแนน)
  3. หลังจากท่านทำข้อสอบทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ pdf ทางอีเมล์
  4. ท่านสามารถหยุดทำข้อสอบชั่วคราว แล้วกลับมาทำต่อคราวหลังได้ โดยระบบจะเริ่มต่อจากข้อล่าสุด

http://www.thaiall.com/ethics/

4 มหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ก็น่าจะจัดกิจกรรมพัฒนาบุคลากรด้านคุณธรรม จริยธรรม

4 universities
4 universities

เนื่องจากหัวหน้าแชร์เรื่อง 4 มหาวิทยาลัย
ที่เค้าจะใช้ ม.44 เข้าไปแก้ปัญหา น่าสนใจ
They are 4 universities in governance crisis.
1. ม.มหาสารคาม ขัดแย้งอธิการกับสภา ปัญหาสอบทุจริต
2. มรภ.สุรินทร์ สรรหาอธิการ สตง.ชี้มูลความผิด ให้สภาฯ ทบทวน
3. ม.บูรพา สรรหาอธิการ เกิดฟ้องร้องกันไปมา ยังแก้ปัญหาไม่ได้
4. ม.กรุงเทพธนบุรี ขอสอน 200 คน แต่รับจริง 2500 คน
อันที่จริงทั้ง 4 มหาวิทยาลัย มีปัญหาจากผู้บริหาร หรือสภาฯ ขาด คุณธรรมและจริยธรรม
ถ้าจัดกิจกรรมโครงการพัฒนาบุคลากรด้านคิดดี ทำดี อะไรอะไรน่าจะดีขึ้น
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435228389
+ http://www.matichon.co.th/news/199342
+ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1464773574
+ http://www.matichon.co.th/news/201277
+ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1435222892

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม

กิ่งไม้ 7 กิ่ง กับภารกิจเรื่องจริยธรรม
โดย : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

7 องค์กรอิสระ .. ผนึกกำลังสร้างปรากฎการณ์ใหม่ในสังคมไทย ประกอบด้วย 1. สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน 2. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ 3. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ4. สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง 5. สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน 6. สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ 7. สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ

องค์กร 7 องค์กร
องค์กร 7 องค์กร

เพราะมีภารกิจมากมายที่เกี่ยวข้องกับเรื่องราวของ “คนดี” และ “ความดี” ที่สังคมไทยในห้วงระยะเวลาที่ผ่านมา เริ่มมีทัศนคติที่เปลี่ยนไป

http://bit.ly/HcB7eL
โดยเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ เป็นเรื่องไม่สำคัญมากไปกว่า “คนเก่ง” และ “คนรวย” ที่ทำให้บ้านเมืองเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ ทำให้มีฐานะร่ำรวย แม้สิ่งเหล่านี้จะได้มาด้วยการสูบเลือด สูบเนื้อ เพื่อนร่วมชาติ หรือฉกฉวยโอกาสในอำนาจ ไปแสวงหาผลประโยชน์เพื่อตัวเองและพวกพ้อง ฉะนั้น ในท่ามกลางสังคมที่บูชาคนเก่ง คนมีฐานะ คนดี และความดี จึงค่อยๆ เลือนหายไปจากสังคม จนเกือบไม่มีที่ยืนให้กับคนเหล่านี้อีก และเป็นจุดเริ่มต้นของแรงบันดาลใจ ที่จะทำอะไรสักสิ่ง

เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน รายการวิทยุสถานีจราจรเพื่อสังคม เอฟเอ็ม 99.5 ช่วงประเทศไทย ไอ เลิฟ ยู และรายการ “รู้ทันสื่อ” เอฟเอ็ม 100.5 อสมท ชวนคุยเรื่อง การผนึกกำลังครั้งสำคัญของ 7 องค์กรอิสระ เพื่อภารกิจปกป้องคุ้มครองคนดี และความดี ที่ผมมีส่วนเล็กๆ ในการผลักดันให้เกิดขึ้น ผมอธิบายว่าจุดบันดาลใจสำคัญของผม นอกจากภาพใหญ่ของสังคม ที่ลดทอนคุณค่าของคนดี และความดีแล้ว เราพบว่า มีคนดีจำนวนไม่น้อยที่ปฏิบัติหน้าที่อย่างสุจริต ตรงไปตรงมา เพื่อประโยชน์ของชาติและส่วนรวม จนแม้กระทั่งนักวิชาการ และสื่อมวลชน ที่ทำงานตามหลักการ ตามหน้าที่ทางวิชาชีพ ก็ยังถูกคุกคาม ใช้อำนาจโดยไม่ชอบธรรม ข่มขู่ให้หวาดกลัวโดยไม่สามารถไปสู้รบปรบมือ หรือมีพลังใดจะไปต้านทานได้

เรามีข้าราชการ ผู้ที่ทำหน้าที่ด้วยความสุจริตจำนวนมาก ที่ทำงานอย่างตรงไปตรงมา และถูกกลั่นแกล้ง ถูกฟ้อง ถูกโยกย้ายอย่างไม่เป็นธรรม เช่น กรณีของคุณถวิล เปลี่ยนศรี เลขาฯ สมช. คุณสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ประธานอนุกรรมการปิดบัญชีสินค้าเกษตรโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตร หรือโครงการจำนำข้าว ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผอ.วิจัย ทีดีอาร์ไอ คุณณัฎฐา โกมลวาทิน พิธีกรรายการ ไทยพีบีเอส ที่ถูก กสทช.ฟ้อง คนเหล่านี้จะต้องไม่โดดเดี่ยว และคนอื่นๆ ก็ต้องมีความมั่นใจในการทำหน้าที่ ในการทำหน้าที่เพื่อสร้างสังคมที่มีธรรมาภิบาล โดยไม่ต้องหวั่นเกรงภัยคุกคามใด ๆ

ผมอธิบายความคิดในการชักชวน 7 องค์กรอิสระ มาร่วมกันปกป้องคุ้มครอง คนดี และความดี และว่าภารกิจสำคัญนี้ ไม่ได้มุ่งเฉพาะคนที่มีชื่อเสียง มีบทบาทสำคัญ ที่สังคมรู้จักเท่านั้น หากแต่คนเล็กคนน้อยในสังคมนี้ เช่น แท็กซี่เก็บเงินผู้โดยสารได้และไปส่งคืน หรือพลเมืองดีที่มีจิตอาสา ช่วยเหลือคนอื่น ก็เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจดูแลด้วย

แน่นอนว่า สังคมไทยไม่ได้สูญเสียคุณงามความดี และความดีไปจนหมดสิ้น แต่จิตสำนึกเรื่องจริยธรรมเริ่มสั่นคลอน และอาจหวังไม่ได้จากผู้ใหญ่ที่มีบทบาทเป็นแบบฉบับในสังคมมากนัก โดยเฉพาะกลุ่มนักการเมือง โครงการดีๆ เช่น “โตไปไม่โกง” ซึ่งเริ่มจากหน่ออ่อนของสังคม รวมทั้งความพยายามของผมและกลุ่มคนที่มีความเห็นตรงกัน ในการปลูกฝังอบรมบ่มเพาะจิตสำนึกในเรื่องจริยธรรม ตั้งแต่เด็กๆ จนกระทั่งในระดับมหาวิทยาลัย ที่จะจบไปเป็นกำลังหลักของสังคมไทยในอนาคต จึงเป็นแสงสว่างวาบหนึ่งที่ถูกจุดขึ้นในท่ามกลางความมืดมิด แม้จะหวังผลไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่การที่ได้เริ่มต้น และมุ่งมั่นตั้งใจที่จะทำต่อไปอย่างต่อเนื่อง ก็พอจะเป็นหลักประกันความมั่นใจได้ว่า สักวันหนึ่งเราจะได้สังคมที่เห็นคุณค่าของความดี และคนดีกลับคืนมา

เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ สถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ พัฒนาจริยธรรม ส่งเสริมความรู้ด้านกฎหมาย และเพิ่มศักยภาพกลไกการทำงานสื่อ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีอาจารย์จาก 11 สถาบัน เจ้าของและบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ 12 ฉบับในภาคเหนือเข้าร่วม เป้าหมายหลักคือสานต่อภารกิจในการปฏิรูปการเรียนการสอนวิชากฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชน ที่ผมได้เริ่มต้นไว้เมื่อสองปีก่อน โดยออกดอกออกผล เป็นคู่มือการเรียนการสอนวิชานี้ ซึ่งเขียนโดยกลุ่มคณาจารย์จากหลายมหาวิทยาลัย จำนวน 2 เล่มแล้ว ครั้งนี้เป็นการต่อยอด จัดทำ Course Sylabus เพื่อความชัดเจนในแนวทางการเรียนการสอน โดยมี ร.ศ.ดร.ดรุณี หิรัญรักษ์ ประธานคณะอนุกรรมการวิชาการ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ และอดีตคณบดีคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เป็นแม่ทัพใหญ่

จากจุดเล็ก ๆ หลายจุดจุดนี้ ในวันนี้ 7 องค์กรอิสระ ประกอบด้วย ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ และสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ จะรวมตัวกันประกาศเปิดตัว “ภาคีเครือข่ายเสริมสร้างพลังคุณธรรมจริยธรรมของแผ่นดิน” ที่โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพ เพื่อกอบกู้ภาวะวิกฤติคุณธรรม จริยธรรม ที่เป็นเมฆหมอกปกคลุมสังคมไทยมานาน

กิ่งไม้เล็กๆ อาจไร้พลัง แต่เมื่อมามัดรวมกันก็สามารถงัดขุนเขาสูงใหญ่ได้
http://bit.ly/HcB7eL
Tags : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

http://www.thairath.co.th/content/pol/378132

สามัคคีคือพลัง
สามัคคีคือพลัง

คลายปม ผ้าเหลืองร้อน พระมิตซูโอะ ลือหนีพุทธพาณิชย์

คลายปม ผ้าเหลืองร้อน พระมิตซูโอะ ลือหนีพุทธพาณิชย์
โดย ASTVผู้จัดการรายวัน     11 มิถุนายน 2556 21:21 น.
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000070503

พระมิตซูโอะ
พระมิตซูโอะ

บทความนี้อ่านแล้ว
ทำให้รู้สึกว่า คุณธรรม กับจริยธรรม แยกกันชัดเจน
ถ้าผู้เกี่ยวข้องรอบท่านมีปัญหา ละม้ายคล้ายคดี [ใบอนุ .. 25ปี]
แสดงว่าเหล่าผู้เกี่ยวข้องมีจริยธรรม แต่ขาดคุณธรรม
ถ้าพระท่านแก้ไขคนอื่นไม่ได้ .. การแก้ไขตนเองอาจเป็นทางออก
เพื่อน ๆ ที่รู้จักก็มีหลายคนเลือก [แก้ไขตนเอง]

ปรากฏการณ์สร้างความตะลึง สะเทือนวงการศาสนา หลังข่าวลาสิกขาบทของพระชื่อดัง “มิตซูโอะ คเวสโก” พระชาวญี่ปุ่น เจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ลูกศิษย์รุ่นแรกของหลวงพ่อชา สุภทฺโท ผู้ซึ่งมีคำกล่าวเปรียบเปรยว่า “ซากุระผลิบานเป็นดอกบัว” แพร่กระจายออกไป ท่ามกลางความสับสน แปลกใจ มีการแถลงข่าว เกิดการตั้งคำถาม เป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากมาย เหตุใดพระอาจารย์จึงเลือกเดินทางสู่โลกแห่งความวุ่นวายอีกครั้ง

ปมปริศนา ผ้าเหลืองร้อน

อยู่ใต้ร่มกาสาวพักตร์มานานกว่า 37 พรรษา สำหรับพระชาวญี่ปุ่นชื่อดัง “มิตซูโอะ คเวสโก” พระนักคิด นักเขียน นักพูด เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของพุทธศาสนิกชนหลายๆ คน แต่จู่ๆ กลับมีข่าวว่าพระมิตซูโอะลาสิกขาแบบกะทันหัน โดยไม่มีใครทราบเรื่องมาก่อน สร้างความตกใจและแปลกใจไม่น้อยให้กับลูกศิษย์ ลูกหาที่เคารพในตัวท่าน และเมื่อวันที่ 10 มิถุนายนก็ยืนยันแล้วว่า พระอาจารย์มิตซูโอะได้ลาสิกขาบทจริง ณ วัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร กทม. เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน 2556 แล้วเดินทางกลับไปยังประเทศบ้านเกิดคือประเทศญี่ปุ่นโดยไม่มีกำหนดการกลับ

คลื่นคำถามซัดเข้ามามากมาย เหตุใดพระอาจารย์มิตซูโอะจึงต้องสึก?? ถึงแม้มีการยืนยันสาเหตุแล้วว่า เนื่องด้วยปัญหาสุขภาพจากโรคเบาหวานที่รุมเร้า แต่ด้วยการไม่รู้กำหนดการลาสิกขาล่วงหน้า คำตอบและท่าทีอึกอักของทางมูลนิธิมายาโคตมี รวมถึงคำให้สัมภาษณ์จากพระอาจารย์หนูพรม สุชาโต รองเจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม ที่กล่าวว่า “การลาสิกขาของท่าน ทางวัดไม่ทราบว่าไปสึกที่ไหนและอาการป่วยของท่านก็เป็นองค์ประกอบหนึ่ง แต่ขอยืนยันว่า ไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องเงินของมูลนิธิแต่อย่างใด และการที่ท่านจะกลับมาหรือไม่ก็ไม่มีใครจะทราบได้” เลยทำให้เราต้องสืบค้นข้อมูลเพื่อตอบคำถามค้างใจนี้ให้กระจ่าง

แหล่งข้อมูลหนึ่งที่เชิญพระอาจารย์คนดังมาร่วมงานและกำลังจะถึงวันงานอีกไม่นานนี้ ได้กล่าวกับทีมงาน ASTV ผู้จัดการ Live ว่าตอนนี้คิวงานถูกยกเลิกทั้งหมด และกล่าวเพิ่มเติมอีกด้วยว่า สาเหตุหนึ่งที่ทำให้พระมิตซูโอะลาสิกขาแบบเงียบๆ นั้น เพราะมีปัญหากับกรรมการชุดปัจจุบัน ที่มีแนวทางการดำเนินงานแบบพุทธพาณิชย์

“คณะกรรมการใหม่เนี่ย เค้าเพิ่งทำงานมาได้ปี สองปีนะ ไม่ใช่คณะกรรมการที่เคยรู้ใจกันมาตลอด จนท่านเป็นท่านทุกวันนี้ พอเปลี่ยนคณะกรรมการใหม่เค้าก็เปลี่ยนมุมมอง วิธีการ เลยอาจทำให้ขาดความเข้าใจบางอย่าง เพราะท่านเป็นคนจำรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ แต่ท่านไม่พูด คือท่านไม่อยากแตะเงินหรอก แต่คนรอบตัวท่านเป็นฝ่ายจัดการ ด้วยวิธีใดบ้างล่ะ มันมากเกินไปจนท่านไม่มีลมหายใจเป็นของตนเอง ท่านเลยสละ และไม่พูดถึงใครตรงนั้นเลยไง ท่านเต็มที่แล้วก็ไปเลย ท่านก็วิเวกของท่านเอง แล้วท่านอาจจะคิดได้ด้วยซ้ำไปนะว่า ในสิ่งที่มันมากเกินไปเนี่ยนะ มันก็เป็นธุรกิจทั้งนั้น

ท่านถูกนิมนต์ไปไหนต่อไหน โดยมีคนจัดการให้ตลอด ตัวท่านเองไม่ได้ใส่ใจเรื่องเงินหรอก แต่วิธีคิด การดำเนินงาน กลายเป็นว่าท่านเลยมานึกว่า ตัวท่านกำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งคิดว่าท่านเก็บความรู้สึกนี้มานานแล้ว ท่านรู้มานานแล้วว่ากลุ่มคนพวกนี้วางกำหนดการให้ท่านไปนู่น ไปนี่ แต่ท่านไม่ว่าใคร เป็นนิสัยของท่านอยู่แล้ว คือท่านไม่อยากว่าใคร แล้วคำที่แถลงๆ กัน ที่ออกมาพูด คือไม่อยากให้มีเรื่องราว เพราะจะกระทบกับคนที่อยู่ตามมูลนิธิ ทั้งงานเขียนของท่านต่างๆ สิ่งต่างๆ มันยังต้องดำเนินอยู่ ทีนี้ก็รู้แล้วว่าไอ้สิ่งต่างๆ ดำเนินอยู่ อย่างน้อยสะท้อนไปถึงพระชื่อดังรูปอื่นๆ ที่ทำธุรกิจในเชิงจัดกิจกรรมต่างๆ มันเป็นสิ่งที่ควรระวัง เพราะอาจทำให้เสียบุคลากรคือพระดีๆ ได้ ซึ่งครั้งนี้ท่านสอนให้ทุกคนอยู่ให้ได้ด้วยตัวเอง จะได้รู้ว่า ที่เอาท่านมาบังหน้าเนี่ย คนไม่ปฏิบัติตามคำสอนท่านเลย คนที่ทำงานอยู่ใกล้ชิดไม่ปฏิบัติแบบท่าน คนใกล้ชิดไม่นึกถึงหัวใจท่าน”

ชี้ให้เห็น ความไม่เที่ยง

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์การลาสิกขาของพระขวัญใจคนไทยครั้งนี้ ก็เป็นเหตุการณ์ที่เตือนสติชาวพุทธได้เป็นอย่างดี ถึงความไม่เที่ยง พระอาจารย์ที่ศึกษาและเผยแพร่ธรรมะมาอย่างยาวนาน มีผลงานเขียนที่ประทับใจคนอ่าน มีมูลนิธิเพื่อช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ในหลายๆ ด้าน แน่นอนว่าสร้างความตะลึงให้ประชชาชนที่เลื่อมใสในตัวท่านไม่น้อย นพรัตน์ เบญจวัฒนานันท์ ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ เปิดเผยว่า ตนเองรู้สึกตกใจเช่นกันกับการลาสิกขาแบบกะทันหันของพระมิตซูโอะเช่นนี้

“ตอนแรกที่ทราบข่าวก็ไม่อยากเชื่อ ช็อกไปเลย เพราะไม่คิดว่าท่านมิตซูโอะจะสึก แต่คนจะคลอดลูก พระจะสึก ห้ามกันไม่ได้ ถือเป็นเรื่องของความพอใจของท่าน ท่านน่าจะคิดทำดีที่สุดแล้ว ส่วนเหตุผลของการสึกครั้งนี้น่าจะเป็นเหตุผลส่วนตัว ที่เรามิอาจจะทราบได้ เพราะที่ผ่านมาท่านไม่เคยมีเรื่องเสื่อมเสีย หรือมีปัญหา มีความขัดแย้งเรื่องใดๆ ท่านทำดีมาโดยตลอด เมื่อท่านสึกออกไปก็น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง หวังเป็นอย่างยิ่งว่าสิ่งที่ท่านได้สร้างแนวทางปฏิบัติไว้จะมีลูกศิษย์สืบทอดต่อไป อย่างไรก็ตาม กรณีมีกระแสข่าวว่าพระมิตซูโอะสึกที่วัดชนะสงครามฯ นั้น บอกตรงๆ ผมไม่ทราบว่าท่านสึกที่ไหนจริงๆ เพราะการสึกอยู่ที่ผู้บวชพอใจว่าจะสึกที่ไหน กับใคร”

อีกด้านหนึ่ง ในพระธรรมวินัย การลาสิกขา ถือเป็นเรื่องปกติธรรมดาทั่วไป ที่พึงกระทำได้ หากกายไม่พร้อม ใจไม่พร้อม อย่างที่ตัวท่านเองมีปัญหาด้านสุขภาพ อาจทำให้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ไม่สะดวก การลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสเพื่อได้รักษาสุขภาพ และทำงานเผยแพร่ศาสนาก็ไม่ได้เป็นปัญหาแต่อย่างใด เช่นที่ ดร.บุญรอด บุญเกิด คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กล่าวอธิบาย

“โดยหลักการทางพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยไม่ค่อยยึดติดกับการลาสิกขาอยู่แล้ว การบวชแล้วสึกเป็นเรื่องปกติ ถ้าคุณพร้อมทั้งร่างกายและด้านจิตใจเนี่ย ก็คงอยู่ในสมณเพศต่อไป แต่ถ้าเกิดว่าร่างกายไม่พร้อม จิตใจไม่พร้อม มีปัญหาอะไรต่างๆ เหล่านี้ก็สามารถที่จะลาสิกขาได้ปกติ แต่ว่าพอดีท่านเป็นชาวต่างชาติส่วนนึง อีกส่วนนึงคือท่านเป็นคนมีชื่อเสียง เป็นที่ยอมรับ คนไทยก็เลยจะคิดว่าท่านจะอยู่ตลอดไป อย่างหลวงพ่อปัญญาฯ ท่านพุทธทาสฯ

พอท่านลาสิกขา อาจทำให้คนมองว่าท่านมีปัญหาหรือเปล่า แต่ตามความเป็นจริง ท่านจะมีปัญหาหรือไม่มีปัญหา ท่านก็สามารถที่จะลาสิกขาหรือจำพรรษาต่อไปได้ โดยไม่ผิดระเบียบตรงไหนของพระวินัย แล้ววันนี้ท่านสึกไปแล้ว วันหน้าถ้าท่านพร้อม ท่านจะกลับมาบวชอีกก็ถือเป็นสิทธิพื้นฐานที่ท่านสามารถทำได้ เพราะสาเหตุที่ท่านสึก ท่านไม่ได้มีข้อผิดพลาด แต่ถ้าสึกโดยมีข้อผิดพลาดก็จะไม่สามารถกลับมาบวชได้อีก ซึ่งข้อผิดพลาดเนี่ย หมายถึงต้องอาบัติขั้นหนักของวินัยสงฆ์”

ขอชาวพุทธ “อย่า ยึด ติด”

กล่าวได้ว่าพระอาจารย์มิตซูโอะ เป็นดั่งร่มไม้ใหญ่ของพุทธศาสนาในประเทศไทย ชาวพุทธหลายคนที่ชื่นชอบในคำสั่งสอนของท่าน แนวคิดที่เอามาประยุกต์ได้จริง จากจุดนี้เอง โลกออนไลน์จึงมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากมาย ส่วนมากยินดีกับเส้นทางที่ท่านเลือก บางส่วนอาจคิดร้ายไม่น่าฟัง ไปจนถึงบางส่วนที่ว่า เสียใจที่ไม่ได้ปฏิบัติธรรมกับพระมิตซูโอะอีก บางส่วนเลยคิดออกมาเสียงดังว่า คงไม่ไปปฏิบัติธรมแล้ว ประโยคนี้สามารถบอกอะไรหลายอย่างกับเราว่าตอนนี้ผู้คน “ยึดมั่นในตัวพระ” หรือ “ยึดมั่นในคำสอน” กันแน่

“จริงๆ แล้ว ถ้าเป็นอย่างนั้น สมมติว่ามีคนพูด “ฉันไม่เป็นคนไทยแล้ว” เอ้า ทำไมล่ะ “คนไทยไม่ดี คนไทยมีคดีข่มขืน ขอลาออกจากความเป็นคนไทย อย่างนั้นหรือเปล่า ตรงนี้นะ พระพุทธเจ้าเองก็ตรัสว่า ไม่ให้เรายึดติดกับตัวบุคคล เพราะตัวบุคคลมันไม่แน่ อาจจะดีหรือชั่ว อาจจะเปลี่ยนแปลงได้เพราะเหตุปัจจัยต่างๆ แต่ให้ยึดในหลักการหรือองค์กรหลัก

สมมติอย่างในมหาวิทยาลัย เราชอบผู้ชายคนนึง แล้วเค้าลาออก ต่อไปเราจะไม่เรียนที่มหาวิทยาลัยนั้นแล้วหรอ ซึ่งความจริงถึงจะเปลี่ยนอธิการบดี คณบดี เปลี่ยนอาจารย์สอน มหาวิทยาลัยก็ยังอยู่ได้ เพียงแต่ว่าคนที่เข้ามาก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ตรงนี้ก็เช่นเดียวกัน คือพระอาจารย์ตอนที่เป็นสมณเพศอยู่ ก็สอน คนก็เลยยึดติดในตัวท่าน แล้วพอคิดว่าท่านสึกไปแล้ว ก็คงจะไม่มีคนดีๆ คนเก่งๆ อย่างนี้อีกแล้ว ก็เลยไม่มาปฏิบัติธรรม ซึ่งนั่นแสดงว่าเรายึดติดอยู่กับบุคคล ดังนั้นถ้าบุคคลเปลี่ยน แต่องค์กรยังอยู่ เราก็ต้องปฏิบัติตามหลักธรรมที่ท่านอาจารย์มิตซูโอะ หรือที่ตามหลักพุทธศาสนาสอนไว้ ถ้าหลักการมันถูกต้อง จะใครสอนก็เหมือนกัน ท่านสึกไปแล้ว ถึงแม้จะเป็นฆราวาสจะมาสอนก็ได้ ไม่เห็นเป็นเรื่องแปลก เพราะปัจจุบันสำนักธรรมที่เป็นฆราวาสก็เยอะแยะไป” ดร.บุญรอด กล่าว

ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดก็ตามแต่ ที่ทำให้ (อดีต) พระอาจารย์มิตซูโอะ เลือกกลับมาครองฆราวาสอีกครั้ง แต่สิ่งหนึ่งที่ยังทำให้ผู้คนยังเคารพและศรัทธาในตัวท่านคือการยืนยันที่จะเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาต่อไป เพราะการลาสิกขาไม่ใช่อุปสรรคในการปฏิบัติธรรม ถ้าใจนั้นยังคงเป็นพระ

เปิดประวัติพระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก เป็นพระภิกษุชาวญี่ปุ่น บวชในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท คณะมหานิกาย ท่านเป็นศิษย์รุ่นแรกของพระโพธิญาณเถร (ชา สุภทฺโท)
พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก มีชื่อเดิมว่า “มิตซูโอะ ชิบาฮาชิ” เป็นชาวจังหวัดอิวะเตะ ประเทศญี่ปุ่น เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2494 สำเร็จการศึกษาในระดับไฮสคูล (เทียบเท่าระดับ ปวช. หรือ มศ.5 ตามระบบการศึกษาไทย) สาขาเคมี ณ เมืองโมะริโอะกะ จังหวัดอิวะเตะ เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้วจึงทำงานจนสามารถเก็บเงินได้จำนวนหนึ่ง และออกเดินทางไปยังที่ต่างๆ ทั่วโลกเพื่อแสวงหาความหมายของชีวิตตั้งแต่ พ.ศ. 2514

พระอาจารย์มิตซูโอะ ได้เดินทางมาสู่ประเทศไทย หลังจากได้เดินทางแสวงหาธรรมะที่แท้จริงมาแล้วจากหลายประเทศทั่วโลกทั้งอินเดีย, เนปาล, อิหร่าน, ยุโรป แล้วเปลี่ยนความตั้งใจที่เดิมจะไปยังแอฟริกา ไปเป็นที่อินเดียอีกครั้งในปี พ.ศ. 2517 แต่ได้เปลี่ยนใจเมื่อระลึกได้ถึงพุทธคยา เห็นพระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ก็ระลึกถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าและประจักษ์ต่อใจตนเองว่า แท้จริงแล้วความสุขที่แท้จริงอยู่ที่จิตใจภายในตนเอง จึงหยุดการแสวงหาจากภายนอก มาสู่การแสวงหาจากภายใน

ในชั้นแรกท่านไปฝึกโยคะอยู่ที่สำนักโยคีแห่งหนึ่งในประเทศอินเดีย และเกิดความพอใจที่จะเป็นโยคีอยู่ที่อินเดียตลอดชีวิต แต่ต่อมาเกิดปัญหาว่าวีซ่าของท่านหมดอายุ ท่านจึงเดินทางมาประเทศไทยอีกครั้งเพราะมีผู้แนะนำให้ท่านไปศึกษาพุทธศาสนาที่ประเทศไทย เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วท่านจึงได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ ณ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพฯ หลังจากนั้นเมื่อท่านบรรพชาได้ 3 เดือน ท่านได้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม มีผู้แนะนำท่านให้ไปกราบหลวงพ่อชา สุภทฺโท ที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งท่านก็ได้เป็นลูกศิษย์ของหลวงพ่อตั้งแต่บัดนั้น และได้รับการอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2518 ได้รับฉายา “คเวสโก” หมายถึง “ผู้แสวงหาซึ่งฝั่ง

หลังพระมิตซูโอะ อุปสมบทได้ 7 ปี จึงขออนุญาตหลวงพ่อชาออกธุดงค์ ปฏิบัติธรรมที่ประเทศอินเดีย เป็นเวลา 1 ปี และกลับมาที่วัดหนองป่าพง เมื่อทราบว่าหลวงพ่อชาอาพาธ จนเข้าสู่ พ.ศ. 2529 ท่านก็เดินทางกลับประเทศญี่ปุ่นเป็นครั้งแรกในรอบ 14 ปี ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 พระมิตซูโอะ และพระญาณรโต ได้ออกธุดงค์ในประเทศญี่ปุ่นด้วยการเดินเท้า จากสนามบินนาริตะสู่อนุสรณ์สถานแห่งสันติภาพ เมืองฮิโรชิมา ระยะทางกว่า 1,000 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 72 วัน สร้างความสนใจแก่คนไทยและคนญี่ปุ่นเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นถึงชีวิตที่เรียบง่ายแบบพระธุดงค์

หลังจากที่ท่านกลับมาประเทศไทย ก็ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้บุกเบิกสร้างวัดป่าสุนันทวนาราม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดป่านานาชาติ พร้อมกับฟื้นฟูป่าเสื่อมโทรมในพื้นที่ ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะทรงโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม แต่งตั้ง พระมิตซูโอะ คเวสโก เป็นเจ้าอาวาสวัดสุนันทวนาราม อย่างเป็นทางการ ในวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2544 นับว่าเป็นสาขาที่ 117 ของวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี

ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live

ตำนานคดีเครื่องราชฯ 25 ปี เจ้าคุณวัดเทพศิรินทราวาส

ติดคุกเพราะไว้ใจ
ติดคุกเพราะไว้ใจ

ประเด็นน่าสนใจจากบทเรียน เรื่องนี้มีมาก
อาทิ
– การไม่รู้หนังสือแล้วลงนาม หรือไม่ศึกษารายละเอียด
– การไว้วางใจ เพราะเขา หรือพวกเขาน่าไว้ใจ
– คุณธรรม จริยธรรม กับความจริงในสังคม
– แล้วนึกถึงการคลายปม ผ้าเหลืองร้อน “พระมิตซูโอะ” ลือหนีพุทธพาณิชย์
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000070503

 

13 มิ.ย.2556 มีคดีใหญ่ที่ขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ และเป็นคดีร้อนที่ผู้คนกำลังติดตามอย่างใกล้ชิด คือคดีอุ้มฆ่านักธุรกิจชื่อดัง “เอกยุทธ อัญชันบุตร” เจ้าของเว็บไซต์ไทยอินไซเดอร์ ที่ยังคงมีปมค้างคาใจหลายฝ่าย ทั้งญาติผู้เสียชีวิต หรือประชาชนทั่วไป ขณะเดียวกัน ยังเป็นวันปิดตำนานคดีสำคัญที่ถือเป็น “ประวัติศาสตร์” ส่งผลฉาวโฉ่ ในวงการผ้าเหลือง ข้าราชการ นักการเมือง หรือแม้แต่เจ้าหน้าที่ธนาคาร เพราะเป็นวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา คดีทุจริตเครื่องราชฯ หลังจากต่อสู้กันมายาวนานกว่า 25 ปีด้วย!!

สิ่งที่เกิดขึ้น เป็นสิ่งที่ไม่มีใครเคยคิดว่าจะมีกลุ่มบุคคลที่มีความคิดสามานย์นำ “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” ที่ในหลวงจะทรงมอบให้กับผู้ที่ทำคุณประโยชน์ให้ประเทศชาติ มาแสวงหาประโยชน์ใส่ตัวได้ ซึ่งเรื่องราวทั้งหมดถูกเปิดเผยขึ้นครั้งแรก โดย นสพ.มติชน ฉบับวันที่ 30 ธันวาคม 2529 พร้อมพาดหัวว่า “ปลอมอนุโมทนาบัตร อ้างบริจาค 1,400 ล้าน

พร้อมกับเนื้อข่าววันนั้น สรุปใจความได้ว่า สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีตรวจสอบพบว่า มีข้าราชการขอรับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ สำหรับปี 2529 ในส่วนผู้ทำคุณประโยชน์ในทางราชการ จำนวนกว่า 750 ราย ที่ได้บริจาคเงิน สิ่งของ ให้วัดและโรงเรียนต่างๆ โดยมีใบอนุโมนาบัตร ระบุเงินกว่า 1,400 ล้านบาทส่อเค้าว่าไม่ถูกต้อง เพราะจากการสุ่มตรวจทราบว่าไม่ได้รับของบริจาคตามที่ระบุไว้

เมื่อกลายเป็นเรื่อง พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ นายกรัฐมนตรี ในขณะนั้น จึงสั่งการให้ตามติดกรณีนี้ให้ถึงที่สุด จนกระทั่ง มีการจับกุมในหลายระลอก แต่ผู้ที่เกี่ยวข้องที่กระทบความรู้สึกของประชาชนมากที่สุด คือ “พระราชปัญญาโกศล” หรือ “เจ้าคุณอุดม รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส ในขณะนั้น เนื่องจากเป็นเพศบรรพชิต ถูกควบคุมตัว ในขณะห่มผ้าเหลือง จึงกลายเป็นที่สนใจและวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง

หลังจับกุม ได้มีการฝากขังที่ สน.นางเลิ้ง และในเช้าวันที่ 11 ธ.ค. 2530 สื่อทุกสำนักได้ส่งนักข่าวไปติดตามคดี รวมถึง นสพ.สยามรัฐ ซึ่งระบุในหน้า 1 ฉบับวันที่ 12 ธ.ค. 2530 ที่พาดหัวว่า “เจ้าคุณอุดมน้ำตานองลาสึก ไม่อยากติดคุกทั้งผ้าเหลือง” โดยมีใจความตอนหนึ่งว่า

เจ้าหน้าที่กองอำนวยการสอบสวนคดีทุจริตปลอมแปลงเอกสารเพื่อขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้นำตัวพระราชปัญญาโกศล หรือ เจ้าคุณอุดม ผู้ต้องหาคนสำคัญมาสอบปากคำ โดยพระราชปัญญาโกศล ให้สัมภาษณ์ด้วยสีหน้าซึมเศร้าว่า ตนได้ตัดสินใจที่จะลาสึกจากพระแน่นอนแล้ว โดยตัดสินใจเมื่อเวลา 09.30 น. วันนี้ (11 ธ.ค.30) เพื่อรักษาสถาบันสงฆ์ซึ่งเป็นส่วนใหญ่เอาไว้ แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะทำให้ตนขายหน้าชาวบ้านอย่างมากอยู่แล้ว

อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ตนจะสึกได้ขอร้องตำรวจ 3 ข้อ
1. ขอลาพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่วันเทพศิรินทร์ฯ เสียก่อน
2. ขอกราบไหว้พระประธาน
3. ให้จัดเสื้อผ้าให้ด้วย

พระราชปัญญาโกศล กล่าวขณะใบหน้านองน้ำตา ว่า ความจริงสิ่งที่ทำลงไปด้วยความบริสุทธิ์ใจมาโดยตลอด แต่กลับได้รับสิ่งที่ตรงกันข้าม เรื่องราวทั้งหมดเกิดจากคนใกล้ชิดทำให้เสียหาย “อาตมาเป็นคนไม่รู้หนังสือ ใครเอาอะไรมาให้เซ็นก็เซ็น โดยที่บางครั้งไม่มีการตรวจสอบรายละเอียดก่อน ซึ่งก็นึกไม่ถึงว่าคนใกล้ชิดจะทำได้อย่างนั้น

ทั้งนี้ ตำรวจได้นำใบอนุโมนาบัตร ซึ่งมีลายเซ็นแล้ว พบว่ามีการแก้ไขตัวเลข 500 บาท เป็น 50,000 หรือ 500,000 บ้าง นอกจากนี้ยังตรวจพบว่ามีการซื้อบ้านให้กับผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งทางพระราชปัญญาโกศล ระบุว่า มีการร้องขอให้ช่วยเหลือ อย่างไรก็ตาม ในช่วง 11.00 น. วันเดียวกัน ทางตำรวจได้พาเจ้าคุณอุดม ไปที่วัดเทพศิรินทร์ฯ เพื่อทำการสึก พร้อมกับกล่าวตอนหนึ่งว่า “บางครั้งก็ต้องพูดความจริง หากพูดไม่จริงก็จะเป็นบาป และพูดอะไรก็จะไม่เป็นบาป

หลังการสอบสวน จับกุม และเปิดโปงสิ่งผิดปกติ ที่มีเรื่องเงินมาเกี่ยวข้องนับหมื่นล้านบาท และสืบพยานกว่าร้อยปาก มาราธอน 17 ปี วันที่ 27 เม.ย.2548 ศาลชั้นต้นได้พิพากษา จำเลย 5 คน จาก 16 คน มีความผิดรวม 152 กระทง จำคุกคนละพันกว่าปี หนักสุดเกือบ 3,000 ปี แต่ให้จำคุก 50 ปี โดยมีการยกฟ้อง 3 คน

ต่อมาในปี 2553 ศาลอุทธรณ์ มีคำพิพากษาแก้โทษให้จำคุก นายอรุณ เพชรรัตน์ จำเลยที่ 4 อดีตลูกศิษย์ที่ใกล้ชิด เป็นเวลา 2,234 ปี จากเดิมที่ศาลชั้นต้นพิพากาษาจำคุก 1,130 ปี นายมนตรี จำนง จำเลยที่ 5 อดีตครู จำคุก 2,180 ปี จากเดิม 1,170 ปี จำคุก นายอารี ศาสตรสาระ อดีตข้าราชการพลเรือนช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 9 เป็น เวลา 1,470 ปี จากเดิม 2,660 ปี นอกจากนี้ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้จำคุก น.ส.พัทยา พิมพ์สอาด จำเลยที่ 8 อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพ 1,920 ปี และจำเลยที่ 11 นายเมธี บริสุทธิ์ อดีตข้าราชการพลเรือนประจำสำนักงานเลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี จำคุก 1,148 ปี ปัจจุบันได้เสียชีวิต แล้ว ตามกระทงลงโทษ นอกจากนี้ ศาลอุทธรณ์ยืนให้ยกฟ้อง นายพิภพ บุญดิเรก อดีตข้าราชการพลเรือนช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 10 , นางชมัยภร แสงกระจ่าง อดีตข้าราชการพลเรือนประจำสำนักงาน เลขาธิการสำนักนายกรัฐมนตรี จำที่ 14 และนายวิโรจน์ ชาทอง อดีตศึกษานิเทศฯ 6 กรมสามัญศึกษา

ต่อมาโจทก์และจำเลยที่ 8-9 ฎีกา วันที่ 13 มิ.ย.2556 ศาลอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา 2  จำเลยดังกล่าว คือ น.ส.พัทยา พิมพ์สอาด  อดีตพนักงานธนาคารกรุงเทพฯ จำเลยที่ 8  นายอารี ศาสตรสาระ อดีตข้าราชการพลเรือน ช่วยงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยที่ 9

โดยจำเลยที่ 8 น.ส.พัทยา มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยคือ ร่วมสนับสนุนจำเลย ที่ 1 (เจ้าคุณอุดม) ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานกระทำผิด ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้ หรือหามาให้ ซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์แก่ตนเอง ซึ่งที่ชั้นพิจารณาได้ความจากพระเถระชั้นผู้ใหญ่ว่า เจ้าคุณอุดม เป็นรองเจ้าอาวาสได้มอบหมายหน้าที่ให้ดูแลในส่วนของเมรุและสุสานหลวงไม่ได้ดูแลในส่วนของการยื่นคำขอเครื่องราชฯ จึงยังฟังไม่ได้ว่าไปร่วมสนับสนุนไปร่วมกระทำผิดดังกล่าว

ส่วน นายอารี จำเลยที่ 9 คดีนี้โจทก์ระบุพยานบุคคลไว้ 508 ปาก แต่สามารถนำพยานเข้าสืบได้ เพียงบางส่วน ซึ่งกลุ่มพยานในนั้น 17 คน แม้จะให้การถึง แต่ก็ไม่ยืนยันได้ว่าเห็นเรียกรับเงิน ส่วนพยานที่อ้างว่ารู้เห็นส่งมอบเช็คเงินสด ก็เป็นผู้ร่วมกระทำผิดที่เจ้าพนักงานได้ร่วมกันไว้เป็นพยานซึ่งมีน้ำหนักรับฟังได้น้อย พยานหลักฐานโจทก์นำสืบยังมีความสงสัยตามสมควร จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกทั้งสอง สูงสุดตามกฎหมายเป็นเวลา 50  ปี ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย พิพากษายกฟ้อง

คำตัดสินดังกล่าว ถือเป็นการสิ้นสุดคดีสุดอื้อฉาว ที่มีการสืบพยาน และใช้เวลาในชั้นศาลมาราธอนกว่า 25 ปี มีการเปลี่ยนพนักงานอัยการหลายคน จำเลยในคดีนี้เสียชีวิตไปแล้ว 9  คน ผู้พิพากษาเสียชีวิต 1 คน และทนายความเสียชีวิต 4 คน.

จาก ไทยรัฐออนไลน์ โดย พลิกแฟ้มอาชญากรรม  15 มิถุนายน 2556, 05:30 น.
tags:
พลิกแฟ้มอาชญากรรม คดีเครื่องราชอิสริยาภรณ์ พระราชปัญญาโกศล เจ้าคุณอุดม ปลอมแปลง รองเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส อนุโมธนาบัตร เงินบริจาค หมื่นล้าน พันสี่ร้อยล้าน
ขยายตัวอักษร

http://www.thairath.co.th/content/region/351246