application

สพฐ.ตัด Google Play ใน TOR แท็บเล็ตนร. ป.1

google play
google play

 

ประเทศไทยมีประชากร 70 ล้านคน ถ้าซื้อ tabletpc 1.6 ล้านเครื่อง + 9.3 แสนเครื่อง รวมเป็น 2.53 ล้านเครื่อง หรือเท่ากับร้อยละ 3.6 ของประชากร ที่จะมี TabletPC ของรัฐบาลใช้

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.)เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบาย 1 คอมพิวเตอร์พกพา (แท็บเล็ต)ต่อ 1 นักเรียน ได้อนุมัติร่างข้อกำหนดเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) ในการจัดซื้อเครื่องแท็บเล็ตปีการศึกษา 2556 แจกนักเรียนชั้น ป.1 และ ม.1 จำนวน 1.6 ล้านเครื่อง เสร็จเรียบร้อยแล้ว และกำลังอยู่ในขั้นตอนนำออกประชาพิจารณ์ทางเว็บไซต์ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อเตรียมเปิดจำหน่ายซองประกวดราคา และประกวดราคาด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-ออกชั่น (E-Auction) ต่อไปนั้น ขณะนี้ต้องถือว่า TOR น่าจะนิ่งแล้ว เพราะได้มีการปรับร่างรายละเอียดที่มีข้อท้วงติงออกแล้ว โดยเฉพาะกรณีแอพพลิเคชัน(application) จะเน้นเฉพาะแอพพลิเคชันที่ส่วนราชการกำหนดเป็นตัวอย่างให้ไปลองโหลดกับเครื่องตัวอย่างแล้วมาเสนอวันที่ยื่นซองเทคนิค เพราะเชื่อว่าแอพพลิเคชันตัวอย่างที่ทำขึ้นมาเพื่อไปใช้กับเครื่องตัวอย่างน่าจะเพียงพอ เนื่องจากเราเน้นว่าอย่างน้อยต้องใช้งานกับแอพพลิเคชันที่บรรจุไว้ในเครื่องได้ ส่วนเรื่องการดาวน์โหลดจะเป็นเรื่องรอง
เมื่อตัดแอพพลิเคชันที่ทำให้เป็นกังวลไปแล้ว โดยเฉพาะ Google Play บริษัทผู้ผลิตก็ไม่ต้องมีค่าใช้จ่ายค่า license ให้กับทาง Google Play เครื่องละราคา 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ก็น่าจะทำให้ต้นทุนตัวเครื่องลดลง แต่ราคาจะลดลงหรือไม่คงต้องรอวันที่มาเคาะราคาแข่งกัน ซึ่งโดยหลักการ เวลายกเลิกเงื่อนไขอะไรไปทุกบริษัทก็ได้ประโยชน์เหมือนกัน เพราะทุกอย่างคือค่าใช้จ่าย เพราะฉะนั้น เมื่อลดส่วนนี้ลง การแข่งขันก็น่าจะลดลง แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูวันจริง ไม่อยากคาดคะเนอะไรมาก“เลขาธิการ กพฐ. กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ก่อนหน้าที่จะมีการปรับร่าง TOR สพฐ. ได้ทำประชาพิจารณ์ เพื่อให้มีการแสดงความคิดเห็นการจัดทำคุณลักษณะเฉพาะของเครื่องแท็บเล็ต ซึ่งมีผู้แสดงความไม่เห็นด้วยกับการเปิดให้ผลิตภัณฑ์ต้องผ่านการตรวจสอบจากผู้ผลิตระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งในเครื่องแท็บเล็ต ซึ่งบริษัทผู้ผลิตจะต้องมีค่าใช้จ่ายเป็นค่า license ให้กับผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการที่จะใช้งานบนแท็บเล็ตบนระบบปฏิบัติการ Android อย่าง Google play เครื่องละ 2 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้ต้องเสียเงินเป็นค่าใช้จ่ายแฝงรวมแล้วเกือบ 100 ล้านบาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32743&Key=hotnews

 

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยังมีที่ว่าง

ดร. บัญชา  เกิดมณี
ดร. บัญชา เกิดมณี

14 พฤษภาคม 2556 ดร.บัญชา เกิดมณี นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัด สสอท. จำนวน 61 แห่ง ยังมีที่นั่งเหลือ 92,100 คน เพื่อรองรับนักเรียนในปีการศึกษา 2556 ดังนั้นนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง และยังไม่มีที่เรียน สามารถตัดสินใจเลือกเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ เนื่องจากการเรียนการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความพร้อม และมีคุณภาพไม่ต่างจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วย

 

 

รวมข่าว admission
http://www.tlcthai.com/education/category/admission/admission-news

สำหรับที่นั่งที่เหลือในแต่ละสถาบันมีดังนี้

1 ม.รังสิต 7,156 คน
2 ม.กรุงเทพ 7,005 คน
3 ม.ศรีปทุม 5,159 คน
4 ม.หอการค้าไทย 5,092 คน
5 ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 4,964 คน
6 ม.เกษมบัณฑิต 4,159 คน
7 ม.รัตนบัณฑิต 3,816 คน
8 ม.เซาธ์อีสบางกอก 3,672 คน
9 ม.เอเชียอาคเนย์ 3,635 คน
10 ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,373 คน
11 ม.สยาม 3,101 คน
12 ม.อัสสัมชัญ 2,789 คน
13 ว.ราชพฤกษ์ 2,025 คน
14 ม.เทคโนโลยีมหานคร 1,925 คน
15 ส.การจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,869 คน
16 ม.หาดใหญ่ 1,776 คน
17 ม.ปทุมธานี 1,683 คน
18 ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,626 คน
19 ว.เฉลิมกาญจนา 1,611 คน
20 ม.นอร์ทกรุงเทพ 1,549 คน
21 ม.พายัพ 1,485 คน
22 ว.สันตพล 1,400 คน
23 ม.ธนบุรี 1,297 คน
24 ม.อิสลามยะลา 1,269 คน
25 ม.การจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 1,177 คน
26 ม.อีสเทิร์นเอเชีย 1,109 คน
27 ว.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 1,109 คน
28 ม.วงษ์ชวลิตกุล 1,008 คน
29 ส.เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 980 คน
30 ว.เทคโนโลยีสยาม 945 คน
31 ว.ดุสิตธานี 765 คน
32 ว.บัณฑิตเอเชีย 753 คน
33 ส.รัชต์ภาคย์ 745 คน
34 ม.กรุงเทพธนบุรี 734 คน
35 ม.เวสเทิร์น 719 คน
36 ว.เฉลิมกาญจนาระยอง 671 คน
37 ม.คริสเตียน 662 คน
38 ม.ราชธานี 657 คน
39 ม.ฟาร์อีสเทอร์น 570 คน
40 ม.นอร์ท-เชียงใหม่ 542 คน
41 ม.เจ้าพระยา 504 คน
42 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด 495 คน
43 ว.เทคโนโลยีภาคใต้ 464 คน
44 ม.เกริก 423 คน
45 ม.ตาปี 414 คน
46 ว.อินเตอร์เทค ลำปาง 410 คน
47 ว.นครราชสีมา 382 คน
48 ว.นานาชาติเซนต์เทเรซา 298 คน
49 ม.เนชั่น 276 คน
50 ว.ทองสุข 267 คน
51 ม.พิษณุโลก 260 คน
52 ว.เชียงราย 249 คน
53 ม.นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 217 คน
54 ว.เซนต์หลุยส์ 212 คน
55 ม.ชินวัตร 150 คน
56 ม.เซนต์จอห์น 116 คน
57 ม.ภาคกลาง 100 คน
58 ว.ลุ่มน้ำปิง 90 คน
59 ว.แสงธรรม 82 คน
60 ม.เว็บสเตอร์ 75 คน
61 ว.พุทธศาสนานานาชาติ 34 คน
รวม 92,100 คน

 

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057831

http://www.facebook.com/download/379363635513471/request_student_of_university.xlsx

ข้อมูลจาก  http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32688&Key=hotnews

 

จำนวนผู้สมัคร
จำนวนผู้สมัคร

ตารางแสดงจำนวนผู้สมัครและผ่านการคัดเลือก
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555
จาก 90 สถาบันแยกคณะเกือบ 4000 คณะ รายงานหนา 188 หน้า
http://www.cuas.or.th/document/55C_stat_sumapply.pdf

max min score and count
max min score and count

ตารางแสดงสถิติจำนวนผู้สมัคร จำนวนรับ จำนวนผู้ผ่าน และคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555 รายงานหนา 133 หน้า

http://www.cuas.or.th/document/55D_stat_rpass_web.pdf

 

grouping
grouping

8 พ.ค.56 ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เปิดเผยว่า เปิดรับจำนวน 140,828 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 122,169 คน แล้วผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 82,102 คน พลาดหวัง 40,067 คน

จำแนกเป็นมหาวิทยาลัย
1. สถาบันของรัฐ รับได้ 76,778 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 64,248 คน รับได้ร้อยละ 83.68
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏ/ราชมงคล รับได้ 25,321 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 13,913 คน รับได้ร้อยละ 54.95
3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รับได้ 38,573 ที่นั่ง แต่มีผู้ผ่าน 3,785 คน รับได้ร้อยละ 9.81

สาขาวิชายอดนิยม
1. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ผู้สมัคร 2,850 คน รับได้ 56 ที่นั่ง (1:51)
2. คณะวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้สมัคร 1,906 คน รับได้ 160 ที่นั่ง (1:12)
3. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สมัคร 1,813 คน รับได้ 150 ที่นั่ง (1:12)

http://news.mthai.com/general-news/164682.html