database

ตอนที่ 9 ของต้องมี ก่อนมีระบบฐาน นิทานเรื่อง โรงเรียนเทียมดาว

ตอนที่ 9 ของต้องมี ก่อนมีระบบฐาน

วันหนึ่ง ในฤดูฝน
ครูที่โรงเรียน ถามในกลุ่มว่า
อยากมีระบบฐานข้อมูลใหม่
เพื่อใช้งานในโรงเรียน ต้องทำอย่างไร
แล้วมีใครต้องทำอะไรบ้าง
.
ปัจจุบันที่โรงเรียนเทียมดาว
ยังไม่มีระบบฐานข้อมูล
ระบบแรกที่อยากได้ คือ ระบบการโหวต
เลือกกรรมการสภานักเรียน
ที่นักเรียนเลือกกันเองในโรงเรียน
.
การที่โรงเรียนจะมีระบบฐานข้อมูลใหม่
หรือ พัฒนาระบบแรกขึ้นมา
เพื่อให้มีความต่อเนื่อง และยั่งยืน
ก็ควรเริ่มต้นจากผู้เกี่ยวข้อง 5 คน ดังนี้
1. มีนโยบายให้การสนับสนุน
จาก ผู้อำนวยการ  อย่างเป็นรูปธรรม
2. มีผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล
3. มีผู้วางแผนปฏิบัติการ
4. มีผู้ดูแลเครื่องบริการ
5. มีผู้ดูแลระบบเครือข่าย
.
ซึ่งระบบเว็บไซต์
ก็อาจเลือกระบบโอเพนท์ซอร์ท
ที่เค้าพัฒนาไว้สมบูรณ์แล้ว
เช่น ระบบเวิร์ดเพรส
ก็มีปลั๊กอิน ที่เราเลือกติดตั้งระบบต่าง ๆ
ได้เอง และใช้งานได้ฟรี
.
มีเพื่อนที่เชียงใหม่ทำ บริษัทเอเชียเสิร์ช
https://www.asiasearch.co.th
ที่ให้บริการแบบครบวงจร
เน้นทำการตลาดออนไลน์ หรือ เอสอีโอ
รวมถึงพัฒนาระบบเว็บไซต์ให้ดูดี
.
หากคุณครู ผู้ปกครอง หรือ นักเรียน
พัฒนาระบบให้กับโรงเรียนขึ้นมาแล้ว
แต่พบปัญหา ติดขัดประการใด
ก็ลองสอบถามไปได้ครับ

https://vt.tiktok.com/ZSYNjbueV/

ตอนที่ 9 ของต้องมี ก่อนมีระบบฐาน
นิทานเรื่อง โรงเรียนเทียมดาว
#database
#school
#asiasearch
#wordpress
#howto
#system
#admin
#development

อ่านตารางในฐานข้อมูลด้วยวีบี บนเอเอสพีดอทเน็ต

กาลครั้งหนึ่ง
มีฐานข้อมูลหนึ่ง สร้างด้วยแอคเซส
ตารางหนึ่งในนั้นมีข้อมูลหลายรายการ
สร้างไว้นานจนใครต่อใครเลิกใช้หมดแล้ว
แต่มีโอกาสนำโค้ดมาปัดฝุ่นและเล่าต่อ
.
โค้ดมีหน้าที่อ่านตารางในฐานข้อมูล
เขียนด้วยภาษา เอเอสพีดอทเน็ต
และฝังสคริปต์ visual basic
ออกแบบโค้ดให้อยู่ในแฟ้มเดียวกัน
ไม่ได้เขียนโค้ดแยกแฟ้มไว้ภายนอก
.
ข้อมูลเก็บไว้เป็นภาษาไทย
การใช้งานจึงต้องระบุ codepage ให้ตรง
แล้วกำหนด charset ให้ตรงเช่นกัน
เพื่อให้แสดงผลบน browser ได้ถูกต้อง
.
ส่วน page load ใน visual basic
ได้กำหนดการเชื่อมต่อ
แบบโอแอลอีดีบี
ที่ระบุตำแหน่งแฟ้มสกุลเอ็มดีบี
จากนั้นใช้คำสั่งเอสคิวแอล
เลือกข้อมูลทั้งตาราง
ส่งเข้า dataset
จบการทำงานของ backend
.
ส่วน ASP dot net
ที่เขียนโค้ดไว้ส่วนสุดท้าย
ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงผล
ออกแบบส่วนของ frontend
ใช้แท็ก datagrid รับข้อมูล
แบบ dataset ไปแสดงในรูปตาราง
แยกเป็นคอลัมน์และโรล
.
สรุปว่า ช่วงนี้รื้อโค้ดเก่า
และบทเรียนออนไลน์เก่าที่เคยทำไว้
แม้เก่าแต่ยังค้นพบผ่านบริการสืบค้น
ปรับปรุงเพื่อให้มีเนื้อหาที่อัพเดทยิ่งขึ้น
และหวังว่าเพื่อนที่สนใจแนวนี้
จะประยุกต์ใช้กับงานของตนได้

dthai9701.aspx

https://vt.tiktok.com/ZSFNXrHx8/


#coding
#programming
#database
#sqlcommand
#aspdotnet
#visualbasic

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา
ข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา

ประเทศไทยได้จัดทำข้อมูลให้เป็นมาตรฐานมาหลายปีแล้ว แบ่งเป็น 3 ส่วนคือ ข้อมูลด้านนักศึกษา ข้อมูลด้านบุคลากร และข้อมูลด้านหลักสูตร ซึ่งสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาทุกแห่งต้องส่ง .. ในเวลาต่อมาก็เพิ่มข้อมูลการมีงานทำของบัณฑิต และการเงินอุดมศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา  และปีนี้จะนำไปใช้ร่วมกับข้อมูลกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.)

 

 

 

สกอ. จึงจัดประชุมชี้แจง
เรื่อง “การจัดทำข้อมูลตามมาตรฐานข้อมูลอุดมศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๕๖
วันพฤหัสบดีที่ 30 พฤษภาคม 2556 เวลา 9.30 – 15.00น. ณ ห้องคอนแวนชั่น A-B ชั้น 1
โรงแรมแอมบาสเดอร์ กรุงเทพฯ

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

เมื่อสกอ. ได้ข้อมูล ก็จะนำไปเผยแพร่สู่สาธารณะ
โดยข้อมูลต้องมีการแปลงให้อยู่ในรูปแบบที่เขากำหนดก่อน
ที่เผยแพร่คือ http://www.info.mua.go.th/information/

ตารางมาตรฐานต่าง ๆ ที่
http://interapp.mua.go.th/NewreferenceTable/

ความร่วมมือในการพัฒนาสหกิจศึกษา

coop with payap
coop with payap

ประเทศไทยมีการพัฒนาการศึกษาอีกกระบวนการหนึ่ง ผ่านระบบสหกิจศึกษา เพื่อให้มีกลไกในการพัฒนากระบวนการนี้ให้เข้มแข็ง จึงเกิดเครือข่ายในแต่ละภูมิภาค ปัจจุบันมี เครือข่ายส่งเสริมการพัฒนาสหกิจศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา ภาคเหนือตอนบน ซึ่งมีสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาในภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมเป็นสมาชิก และการพัฒนาระบบก็มีอยู่หลายมิติ ซึ่งมหาวิทยาลัยพายัพเห็นว่าระบบสหกิจศึกษาออนไลน์มีความจำเป็นต่อการขับเคลื่อนในฐานะระบบฐานข้อมูล ที่มีบทบาทช่วยในการตัดสินใจ และการเข้าถึงข้อมูลได้ทันเวลาตามความต้องการ ดังนั้นมหาวิทยาลัยพายัพได้รับทุนจากเครือข่ายฯ ซึ่งกิจกรรมหนึ่งในโครงการคือการทดสอบระบบฯ  จึงมีการแบ่งกลุ่มย่อยที่รวมสถาบันการศึกษาตามกลุ่มจังหวัดที่อยู่ในบริเวณใกล้กันมาทำกิจกรรม ในที่นี้ประกอบด้วย มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง วิทยาลัยอินเตอร์เทคลำปาง วิทยาลัยชุมชนแพร่  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา (ลำปาง) และมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งการทดสอบจำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ และเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จึงประสานใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ในวันที่ 21 พฤษภาคม 2556 เป็นความร่วมมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศในอีกมิติหนึ่ง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ที่จะตอบความต้องการของสังคมอย่างเป็นรูปธรรม