เมื่อวันนี้ 18 พฤษภาคม 2559 9.00 – 16.00 นักศึกษาทุกชั้นปี ทุกคณะ ไปรวมตัวกันที่ห้อง Auditorium แต่งตัวเรียบร้อย เตรียมการนำเสนอเต็มรูปแบบ พร้อมสำหรับวิชากิจกรรม ของ อ.ธวัชชัย แสนชมภู วิชาบริหารของ อ.วีระพันธ์ แก้วรัตน์ มีการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากข้างนอกมาเป็น Commentator อาทิ อ.สันติ เขียวอุไร ร่วมกับ Commentator ที่เป็นตัวแทนคณะวิชาต่าง ๆ รุ่นพี่แบ่งเป็นสองทีม นำเสนอได้เข้มข้น เหมือน Thailand Got Talent ซีซั่นเนชั่น ผู้นำแต่ละทีม คือ นายนิกร ชมชื่น และน.ส.รมิดา เลิศธนกร สาขาวิชาการบัญชี ช่วงบ่าย ๆ จะเป็นการนำเสนอของนักศึกษาปี 1 ในวิชาการเรียนรู้ผ่านกิจกรรม (LEAC 200) ที่มีกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดภาคการศึกษา อาทิ สืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามให้อยู่คู่สังคมไทย เรารักม่อนพระยาแช่
http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/478782
การเรียนการสอนแบบ Active Learning คือ กระบวนการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ที่เน้นให้ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับกิจกรรมการเรียนรู้ ผ่านการลงมือทำที่ต้องปฏิบัติด้วยตนเอง เพื่อให้ได้ผลการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ดังนี้ แบบที่ 1) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน (Activity-Based Learning) เช่น สำรวจ เสาะหา ค้นคว้า สร้างสรรค์ เกมการแข่งขัน แลกเปลี่ยน แสดงออก นำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนได้ใช้ความรู้ และทักษะเดิม มาทำให้กิจกรรมเพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ แบบที่ 2) รูปแบบการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ (Experiential Learning) เช่น ลงมือปฎิบัติ ทดลอง ทดสอบ การพูด การอ่าน การเขียน บทบาทสมมติ วิเคราะห์ สังเคราะห์ และอภิปรายผล โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องลงมือปฏิบัติ ให้ได้ทักษะ ประสบการณ์ ความรู้ใหม่ หรือการเรียนรู้เรื่องใหม่ แบบที่ 3) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem-Based Learning) เช่น การใช้ปัญหาเป็นตัวกระตุ้นให้ผู้เรียนตั้งสมมติฐาน หาสาเหตุ เชื่อมโยงเรื่องราว หาแนวทางการแก้ปัญหา ดำเนินการแก้ปัญหา และหาคำตอบ โดย เน้นให้ผู้เรียนกำหนดปัญหาขึ้น หาวิธีแก้ไข ดำเนินการ และสรุปผลได้ แบบที่ 4) รูปแบบการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐาน (Project-Based Learning) เช่น กำหนดประเด็นงานตามความสนใจแล้วนำเสนอ ฝึกทำงานร่วมกันเชิงบูรณาการและวางแผน รู้จักใช้แหล่งข้อมูลแล้วจึงปฏิบัติ สร้างผลผลิตแล้วประเมินผล และนำเสนอ โดย เน้นให้ผู้เรียนต้องกำหนดประเด็น แผนงาน และดำเนินงานตามแผนอย่างเป็นระบบ แบบที่ 5) รูปแบบการเรียนรู้ผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีวิจัยหรือใช้วิจัยเป็นฐาน (RBL = Research-Based Learning) เช่น (1) การเรียนรู้ผลการวิจัย/ใช้ผลการวิจัยประกอบการสอน (2) การเรียนรู้จากการศึกษางานวิจัย/การสังเคราะห์งานวิจัย (3) การเรียนรู้ที่ใช้กระบวนการวิจัยเป็นกระบวนการเรียนการสอน ประกอบด้วย (ก) การเรียนรู้วิชาวิจัย/วิธีทำวิจัย (ข) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/รายงานเชิงวิจัย (ค) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/ร่วมทำโครงการวิจัย (ง) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิจัยขนาดเล็ก และ (จ) การเรียนรู้จากการทำวิจัย/วิทยานิพนธ์
ขั้นตอนการสอนเชิงรุก (Active Learning) มีดังนี้ 1) ขั้นกระตุ้นความสนใจ 2) ขั้นสำรวจและค้นหา 3) ขั้นอภิปรายและลงข้อสรุป 4) ขั้นสร้างผลผลิตของความเข้าใจ 5) ขั้นสะท้อนผลผ่านชุมชนแหล่งการเรียนรู้ ซึ่งคำว่า ชุมชน (Community) นั้นจำแนกได้หลายระดับ ได้แก่ ในห้องเรียน ในระดับชั้น ในโรงเรียน ในจังหวัด ในภาค ในประเทศ ในต่างประเทศ ในการประชุมวิชาการ ในวารสาร หรือในสื่อสังคม ที่เปิดให้มีการนำเสนอผลผลิต รับข้อซักถาม การโต้แย้ง ชี้ประเด็นที่น่าสนใจ หรือมีข้อเสนอเพื่อการพัฒนาต่อยอดจากชุมชน
https://www.thaiall.com/education/indexo.html