programming

โครงสร้างข้อมูลในภาษาอาร์

ในเอกสารการวิเคราะห์ข้อมูลสุขภาพ
ในระบบสาธารณสุขไทย
โดยใช้โปรแกรมอาร์
พบว่า หน้า 32
อธิบายโครงสร้างข้อมูล ไว้ 4 แบบ
คือ เวกเตอร์ เมทริกซ์
อาร์เรย์ และ กรอบข้อมูล
.
เอกสารนี้จัดพิมพ์โดย
สถาบันวิจัยและพัฒนาสุขภาพภาคใต้
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
.
เพื่อทดสอบภาษาอาร์
ตามรายละเอียดในเอกสาร
จึงทดสอบบนเว็บไซต์
ของผู้ให้บริการตัวแปลภาษา
แบบออนไลน์ ซึ่งมีหลายแหล่ง
เช่น โปรแกรมอีซี่ เป็นต้น
.
โครงสร้างข้อมูล 4 แบบ ประกอบด้วย
ข้อมูลแบบ เวกเตอร์
คือ โครงสร้างข้อมูลพื้นฐานในภาษาอาร์
เพื่อใช้ประกาศเซตข้อมูล ใช้ในโปรแกรม
.
ข้อมูลแบบ เมทริกซ์
คือ การนำข้อมูลแบบเวกเตอร์หลายเซต
มาประกอบกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์
ระหว่างข้อมูลหลายเซตขึ้นมา
.
ข้อมูลแบบ อาร์เรย์
คือ ข้อมูลที่จัดเก็บแบบแถวลำดับ
เป็นข้อมูลที่เรียงต่อกัน และมีเลขกำกับไว้
.
ข้อมูลแบบ กรอบข้อมูล
คือ ข้อมูลที่จัดเป็นแถวและคอลัมภ์
เป็นอีกรูปแบบหนึ่งในการจัดการข้อมูล
.
ซึ่งหัวข้อโครงสร้างข้อมูลนี้
น้องที่ TTP Cargo
และ USB. Perfect
เค้าสนใจเรื่องสื่อเก็บข้อมูล
วันนี้ จึงได้นำเรื่องโครงสร้างข้อมูล
ที่ใช้ในภาษาอาร์  มาเล่าสู่กันฟัง

https://www.thaiall.com/r/

https://vt.tiktok.com/ZSFUFF7ps/

โครงสร้างข้อมูลในภาษาอาร์
#datastructure
#computing
#statistics
#data
#psu
#language
#research

โค้ดสร้างแผนที่ไซต์ส่งให้ผู้บริการ

ปกติแล้ว เรามีแหล่งสืบค้น
ที่ใครก็รู้อยู่แหล่งหนึ่ง
หากเราสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
แล้วต้องการให้แหล่งสืบค้นรู้
ก็มี 2 วิธี
คือ รอให้แหล่งสืบค้นรู้เอง
กับ เข้าไปบอกให้แหล่งสืบค้นรู้เลย
.
รอให้เค้ารู้เอง
ก็คงนานหน่อย อาจไม่ทันใจวัยรุ่น
ดังนั้น ผู้สร้างเนื้อหา
มักเดินเข้าไปบอกแหล่งสืบค้นเอง
และวิธีการบอก ก็มีแนวปฏิบัติมาตรฐาน
ไม่ต้องเสียเวลาไปโยนหินถามทาง
.
หากมีเนื้อหาหน้าเดียว
ก็เอาลิงก์ หน้านั้น ส่งให้เข้ารู้ได้เลย
หากมีเนื้อหาหลายหน้า
ก็ทำไซต์แม็พ รวบรวมลิงก์
แล้วส่งให้แหล่งสืบค้นได้ทราบเป็นเซต
.
การสร้างไซต์แมพ
สำหรับเนื้อหาจำนวนมาก
ในระบบบล็อก ด้วย wordpress
มีหลายวิธี
แต่นักพัฒนาที่ต้องการสร้างไซต์แมพ
หรือ แผนที่ไซต์ด้วยตนเอง
สามารถเขียนโค้ดด้วยภาษาพีเอชพี
ที่ไม่ยาวนัก
เพราะ wordpress มีฟังก์ชันให้บริการ
.
ตามตัวอย่างนี้
หากประมวลผลแล้วผ่าน
ก็จะได้แฟ้มไซต์แมพ ดอท เอ็กซ์เอ็มแอล
เพื่อนำไปอัพโหลดขึ้นแหล่งบริการได้
.
ก่อนส่งขึ้นแหล่งบริการ
อาจส่งไป ตรวจสอบก่อน
ว่ารูปแบบไซต์แมพของเราถูกต้องหรือไม่
ถ้าโค้ดสะดุดก็จะได้กลับไปแก้โค้ดก่อน
สรุปว่าขอให้เขียนโค้ดไม่ติดขัด
และประมวลผลผ่านได้อย่างราบรื่นครับ

Sitemap.xml

#wordpress
#sitemap
#coding
#php