coding

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน

เพราะทุกการกระทำมีเป้าหมาย
ดังนั้น เมื่อมีการเชื่อมโยงเนื้อหา
ที่ปรากฎในรูปของเว็บเพจ
และสร้างจุดเชื่อมโยง
เว็บเพจจำนวนมากเข้าด้วยกัน
ก็ต้องกำหนดว่า
เมื่อคลิกแล้วจะไปไหนต่อ

https://thaiall.com/html/mytarget.htm
.
เช่น สร้างเว็บไซต์ ของ สมาคมศิษย์เก่า
โรงเรียน สำนักงาน ร้านกาแฟ
หรือ โรงงานของพรีเมี่ยม
.
ก็ต้องสร้างภาพขึ้นมา
เป็นตัวแทน เพื่อเชิญชวน
ให้ผู้สนใจได้คลิก
เปิดรายละเอียด
เช่น เว็บไซต์รับผลิต
กระบอกน้ำ แบตสำรอง
ร่มเพอร์เฟค
ยูเอสบีเพอร์เฟค
ปากกาเพอร์เฟค
นำเข้าสินค้าจากจีน
หรือ ttpcargo.com
.
หากคลิกภาพข้างต้น
ก็จะเปิดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ที่แสดงรายละเอียด
เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
เลือกสินค้าหรือบริการนั้น
.
เป้าหมาย หรือ ทาร์เก็ต
ในโค้ดดิ้งด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล
คือ การกำหนดเฟรมปลายทาง
หรือ เปิดเนื้อหาขึ้นมาในหน้าต่างใหม่
ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ต้องระบุ
ในขณะเขียนโค้ดเพื่อสร้างลิงก์
.
ส่วนเป้าหมายการรวมกลุ่ม
ของสมาชิกในสังคม
ก็ย่อมมี Target
เช่น สมาคมศิษย์เก่า มารวมกลุ่มกัน
ก็เพื่อแสดงความรัก
ความเป็นเพื่อน
ความเป็นพี่
ความเป็นน้อง
ความรัก และ ความสุขของสมาชิก

https://vt.tiktok.com/ZSFKjps15/

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ
#homepage
#webpage
#html
#howto
#school
#coding
#target
#frame
#browser

โค้ดจาวาสคริปต์ค้นข้อมูลในโปรไฟร์

สมัยก่อน เขียนเว็บเพจสักหน้า
ก็เริ่มต้นด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล
ปรับให้มีรูปแบบสวย อย่างมีสไตล์
ด้วยซีเอสเอส ก็จะหรูหราขึ้นมาก
วันนี้ ปรับบทเรียนเรื่องจาวาสคริปต์
จึงปรับโค้ด และเรียบเรียงมาเล่าสู่กันฟัง
.
ถ้าเขียนเว็บเพจ
แล้วอยากให้มีชีวิตชีวา
สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้
มีการสื่อสารกันด้วยข้อมูล
ก็ต้องเขียนจาวาสคริปต์
เข้าควบคุมปุ่มต่าง ๆ
.
ตัวอย่างโค้ดนี้
ต้องการค้นข้อมูลจากโปรไฟร์
เราก็สร้างฟอร์ม แล้วส่งค่าของผู้ใช้
ให้จาวาสคริปต์นำไปประมวลผล
แล้วเปิดเว็บตามตำแหน่งยูอาร์แอล
ปรากฏผลการสืบค้นในหน้าต่างใหม่
.
โค้ดนี้ ยกตัวอย่าง
ใช้คำว่า สุนัข เป็นคำค้น
เป็นค่าปริยาย ที่ระบุเข้าไปในเว็บเพจ
แต่เราแก้ได้บนกล่องข้อความ
เช่น ผมแก้เป็นคำว่า programming
ก็จะปรากฏใน browser ตามภาพ
.
สรุปว่า น้อง ๆ ที่กำลังเริ่มเขียนเว็บเพจ
ลองนำโค้ดไปทดลองดูได้
หากเปลี่ยนที่อยู่เว็บ
ก็จะประยุกต์ใช้ได้อีกมากมาย
เช่น ชี้ไปที่ติ๊กต๊อก ก็จะช่วยค้นข้อมูล
ในติ๊กต๊อกได้ นี่ผมก็ค้นหาหนังดูยามว่าง
พบเรื่องน่าดู มีให้ได้ชมเพียบเลยครับ
ขอให้สนุกกับการค้นข้อมูลนะทุกคน

https://www.tiktok.com/search?q=%E0%B8%94%E0%B8%B9%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87

https://www thaiall.com/java/

โค้ดสร้างแผนที่ไซต์ส่งให้ผู้บริการ

ปกติแล้ว เรามีแหล่งสืบค้น
ที่ใครก็รู้อยู่แหล่งหนึ่ง
หากเราสร้างเนื้อหาขึ้นมาใหม่
แล้วต้องการให้แหล่งสืบค้นรู้
ก็มี 2 วิธี
คือ รอให้แหล่งสืบค้นรู้เอง
กับ เข้าไปบอกให้แหล่งสืบค้นรู้เลย
.
รอให้เค้ารู้เอง
ก็คงนานหน่อย อาจไม่ทันใจวัยรุ่น
ดังนั้น ผู้สร้างเนื้อหา
มักเดินเข้าไปบอกแหล่งสืบค้นเอง
และวิธีการบอก ก็มีแนวปฏิบัติมาตรฐาน
ไม่ต้องเสียเวลาไปโยนหินถามทาง
.
หากมีเนื้อหาหน้าเดียว
ก็เอาลิงก์ หน้านั้น ส่งให้เข้ารู้ได้เลย
หากมีเนื้อหาหลายหน้า
ก็ทำไซต์แม็พ รวบรวมลิงก์
แล้วส่งให้แหล่งสืบค้นได้ทราบเป็นเซต
.
การสร้างไซต์แมพ
สำหรับเนื้อหาจำนวนมาก
ในระบบบล็อก ด้วย wordpress
มีหลายวิธี
แต่นักพัฒนาที่ต้องการสร้างไซต์แมพ
หรือ แผนที่ไซต์ด้วยตนเอง
สามารถเขียนโค้ดด้วยภาษาพีเอชพี
ที่ไม่ยาวนัก
เพราะ wordpress มีฟังก์ชันให้บริการ
.
ตามตัวอย่างนี้
หากประมวลผลแล้วผ่าน
ก็จะได้แฟ้มไซต์แมพ ดอท เอ็กซ์เอ็มแอล
เพื่อนำไปอัพโหลดขึ้นแหล่งบริการได้
.
ก่อนส่งขึ้นแหล่งบริการ
อาจส่งไป ตรวจสอบก่อน
ว่ารูปแบบไซต์แมพของเราถูกต้องหรือไม่
ถ้าโค้ดสะดุดก็จะได้กลับไปแก้โค้ดก่อน
สรุปว่าขอให้เขียนโค้ดไม่ติดขัด
และประมวลผลผ่านได้อย่างราบรื่นครับ

Sitemap.xml

#wordpress
#sitemap
#coding
#php