Blog.NTU

บันทึก หรือเรื่องราวจาก blog ของมหาวิทยาลัยเนชั่น ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาที่น่าสนใจ

คณะสังคมศาสตร์ฯ ม.เนชั่น ใน สยามสาระพา

sujira in tv
sujira in tv

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา
ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
ออกอากาศวันที่ 24 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel
ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ในรายการได้พบกับ อ.ดร.สุจิรา หาผล คณบดี
เล่าถึงบรรยากาศการเรียนการสอน
นำเสนอบรรยากาศในห้องเรียนของ อ.อาภาพร ยกโต
ภาพกิจกรรมบวชป่า บรรยากาศในห้องเรียน และในมหาวิทยาลัย

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ .. ! http://bit.ly/12KoMUr

รับน้อง รักน้อง .. ต้องจัดเต็ม
นึกถึงบรรยากาศรับน้องเข้าฐาน .. 18 ด่านมนุษย์ทองคำ
แต่ละฐานก็ช่างคิดกันจริง .. โชคดีมีรุ่นพี่ช่วยหาม
ยาลม ยาดม ยาหม่องพร้อม เป็นอีกภาพสะท้อน
จากงานเขียน อ.อัญ พบในกรุงเทพธุรกิจ

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

คุมเข้ม! อาชีวะรับน้อง“ พงศ์เทพ ” สั่ง สอศ.กำชับวิทยาลัยทุกแห่งจัดกิจกรรมตามมาตรการ ส่วนตามสถาบันอุดมศึกษาสั่งห้ามรับน้องนอกสถานที่ ห้ามมีของมึนเมา ห้ามละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและทางเพศ เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์ ย้ำผู้บริหารและครูดูแลใกล้ชิด พร้อมเปิดสายด่วน 1156 ให้แจ้งเหตุตลอด 24 ชม.
ข้อความที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในช่วงเดือนพฤษภาคมได้สะท้อนถึงนโยบายและการเตรียมความพร้อมในเทศกาลรับน้องที่กำลังจะมาถึง โดยกระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีคำสั่งยังสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดทั่วประเทศโดยมีใจความสำคัญว่า ห้ามรุ่นพี่และสถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมรับน้องนอกสถานศึกษาโดยเด็ดขาด หากมีการจัดกิจกรรมรับน้องจะต้องอยู่ในการดูแลรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและครู นอกจากนี้การรับน้องควรมีลักษณะสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมและไม่ขัดต่อระเบียบของสถาบันการศึกษาและประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม รวมทั้งเคารพเสรีภาพส่วนบุคคลและห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจ

รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย
รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย

เป็นที่น่าสังเกตว่า มาตรการการคุมเข้มเกี่ยวกับการรับน้องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่มีความพยายามที่จะควบคุมและกำกับดูแลการรับน้องให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก “รุ่นพี่” ในหลายสถาบันการศึกษายังคงจัดกิจกรรมการรับน้องทั้งในและนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง และเมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ “น้องใหม่” ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมการรับน้องรุ่นพี่ก็จะกลายสภาพเป็น “ผู้ร้าย” หรือ “พี่ว๊ากจอมโหด” ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง บ่อยครั้งที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ได้ขยายวงกว้างจนกลายเป็น “ความขัดแย้ง” หรือ “ความรุนแรง” เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะประเด็นการรับน้องด้วยระบบโซตัส (SOTUS) ที่มักพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงเทศกาลการรับน้อง
จากการศึกษาที่มาของระบบโซตัส (SOTUS) หรือ ระบบว๊าก ในประเทศไทยพบว่า การรับน้องด้วยระบบโซตัสเริ่มเผยแผ่เข้ามาในสังคมไทยครั้งแรกที่โรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ หรือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ในช่วงปี 2486 ระบบโซตัสถูกนำไปใช้ในการรับน้องมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งกลุ่มคนที่นำเข้าแนวคิดการรับน้องระบบโซตัสมาใช้ในประเทศไทยยุคแรก คือ อาจารย์ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Banos) แห่งฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) แห่งสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อละลายพฤติกรรมและลดทอนความต่างของฐานะ รวมทั้งให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียมและมีความรักสามัคคี ผ่านการกดดันกลั่นแกล้ง เช่น การปีนเสา การคลุกโคลน เป็นต้น ซึ่งระบบโซตัสดังกล่าวได้ถูกผลิตซ้ำและสืบทอดในสังคมไทยเป็นระยะยาวนานกว่า 60 ปี

  • Seniority – การเคารพผู้อาวุโส
  • Order – การปฏิบัติตามระเบียบวินัย
  • Tradition – การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี
  • Unity – การเป็นหนึ่งเดียว
  • Spirit – การมีน้ำใจ

อย่างไรก็ดี ระบบโซตัสที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการรับน้องที่มีลักษณะที่ใช้ความรุนแรงและแปลกพิสดาร เช่น การตะโกนด่าทอรุ่นน้องด้วยถ้อยคำหยาบคาย การบังคับให้กลั้นหายใจใต้น้ำตามเวลาที่กำหนด การให้รุ่นน้องนอนกลิ้งไปบนพื้นหินกรวดกลางแดด การสั่งให้โชว์หรือจับอวัยวะเพศของกันและกัน การบังคับให้กินของแปลก หรือดื่มสุราจนขาดสติ เป็นต้น หากรุ่นน้องคนใดไม่ปฏิบัติตามรุ่นพี่ก็จะใช้อำนาจในการ “ควบคุม” “ข่มขู่” หรือ “ลงโทษ” เพื่อให้รุ่นน้องเกิดความเกรงกลัว หรืออับอายขายหน้า ซึ่งการกระทำของรุ่นพี่ดังกล่าว หากพิจารณาจากมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน อาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้าน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” (Right to Human Dignity) และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550 มาตรา 4 ได้บัญญัติไว้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การรับน้องในปีนี้ แม้ว่ารุ่นพี่หลายคนยังศรัทธาระบบโซตัสก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากกิจกรรมดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีเป้าหมายที่จะทำให้น้องใหม่เกิดความ “ประทับใจ” มากกว่า “ความสะใจ” ของรุ่นพี่ เพราะปัญหาที่ผ่านมาของการรับน้องในระบบโซตัสโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการสืบทอดและผลิตซ้ำ “อำนาจและความรุนแรง” ในสังคม มากกว่าเป้าหมายในเชิงคุณค่าทางจิตใจ เช่น การสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ในการรับน้องเช่น พี่ว๊ากที่ทำหน้ารักษากฎระเบียบโดยไม่ใช้ความรุนแรง หรือ รุ่นพี่ที่ทำโทษรุ่นน้องด้วยวิธีการที่สนุก สร้างสรรค์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี หากเป็นเช่นนี้มาตรการคุมเข้มของกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

โดย : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2682

MAM (CLOUD)…สื่อดิจิทัลบนการจัดการ

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

การทำงานในยุคดิจิทัลทุกวันนี้ผูกอยู่กับเรื่องของแอพพลิเคชั่น แพลตฟอร์ม และเครือข่ายสารสนเทศความเร็วสูง แม้กระทั่งระบบออกอากาศวิทยุโทรทัศน์

ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/Z7sPgA

การเปลี่ยนผ่านระบบออกอากาศบ้านเรา ก็ให้สาระความสำคัญอยู่ที่แพลตฟอร์ม อนาล็อกสู่ดิจิทัล ทั้งระบบความคมชัดปรกติ (Standard Definition) และความคมชัดสูง (High Definition) สาระสำคัญอย่างเนื้อหารายการ “Content is the King” กลับกลายเป็นเหมือนคลื่นกระทบฝั่ง มีการจุดประกาย สร้างประเด็น ก่อให้เกิดความตระหนักแล้วก็เงียบหายไป แล้วหวนกลับมาใหม่เหมือนระลอกคลื่นเนื้อหา คุณภาพรายการจึงเสมือนสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญในลำดับรอง

ทว่ายังมีสิ่งที่ซ่อนอยู่เบื้องหลังดิจิทัลคอนเทนต์ (Content) อย่างการจัดการสารสนเทศสื่อดิจิทัลยิ่งไม่ต้องกล่าวถึง ถูกให้ความสำคัญในมุมมองที่เงียบงันของโลกดิจิทัลมีเดียสำหรับสังคมไทย ทั้งๆ ที่ สังคมยุคข้อมูลข่าวสาร ข้อมูลถูกสร้างขึ้นทุกเวลาทุกวินาที ผ่านอุปกรณ์สื่อสาร อุปกรณ์พกพาที่ทำหน้าที่มากกว่าหนึ่งภารกิจงาน โทรศัพท์สมาร์ทโฟน ที่ทำหน้าที่มากกว่าการใช้เป็นโทรศัพท์ ยังใช้เพื่อการถ่ายภาพ สื่อสารข้อความบนสื่อสังคมออนไลน์ การไหลบ่าของข้อมูลอันมหาศาล การจัดการกลับเป็นสิ่งที่ต้องบริหารจัดการอย่างยิ่งยวดข้อมูล (Data) เป็นภาษาละติน หมายถึง สิ่งที่ให้ (Given) เมื่อสู่ยุคของโลกดิจิทัล ข้อมูล (Data) คือสิ่งที่บันทึก การจัดการ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตาม ข้อมูลที่เกิดขึ้นอาจจะอยู่ในรูปแบบของ คำพูด ความคิดเห็น การพูดคุยบนเว็บสื่อสังคมออนไลน์ การเช็คอินผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือ การถ่ายภาพผ่านแอพพลิเคชั่นมือถือแล้วอัพโหลด ก็ถือเป็นข้อมูล ดังนั้น จะเห็นว่ากิจกรรมทุกสิ่งอย่างในโลกดิจิทัลล้วนสร้างให้เกิดข้อมูลขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีมากเท่าไหร่ ยิ่งก่อให้เกิดข้อมูลดิจิทัลมากเท่านั้น

ข้อมูลดิจิทัล นับวันจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ การจัดการข้อมูลปริมาณมาก โดยใช้โครงสร้างการจัดเก็บไฟล์ในรูปแบบของแฟ้ม โฟลเดอร์ ตามโครงสร้างระบบจัดเก็บไฟล์ของคอมพิวเตอร์อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม หากเป็นข้อมูลเฉพาะบุคคล แต่คงไม่ใช่ตัวเลือกที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เมื่อเป็นข้อมูลระบบองค์กร อาทิเช่น การค้นหาข้อมูลที่มีความเฉพาะเจาะจง จะมีความยากลำบาก และใช้เวลามากขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณข้อมูลที่มากขึ้น จึงเป็นที่มาของการที่จะต้องมีระบบการบริหารจัดการข้อมูลที่ดี ระบบที่เรียกว่า “Digital Asset Management” (DAM) ในช่วงปีที่ผ่านมาประเด็นดังกล่าวเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวถึง การเพิ่มขึ้นของ DAM ประการหนึ่งก็มาจากการขับเคลื่อนก้าวข้ามไปสู่ยุคสื่อดิจิทัล (File-Based Media) อันเป็นสิ่งที่ทำให้การร่วมมือ หรือการค้นหาเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ตัวแปรอื่นๆ ก็น่าจะเป็นเรื่องการผลิตสื่อ และแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจที่ต้องการพัฒนาประสิทธิภาพ และต้องการลดค่าใช้จ่าย

DAM (Digital Asset Management) เป็นความหมายกว้างๆ ครอบคลุมถึงการจัดการระดับองค์กร รูปแบบสื่อดิจิทัล ทั้งในแบบของรูปภาพดิจิทัล เอกสาร มีความแตกต่างกับ MAM (Media Asset Management) ซึ่งเน้นไปทางด้านวีดิโอ และเสียง และเป็นระบบที่สำคัญยิ่งสำหรับองค์กรสื่อที่จะนำมาใช้ ตัวอย่างในการนำเอาระบบเหล่านี้มาใช้ในการทำงาน เช่น สถานีโทรทัศน์ ฝ่ายผลิตรายการ ถ่ายฟุตเทจรายการมา โหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเซิร์ฟเวอร์ แชร์ไฟล์ทุกคนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิต ช่างตัดต่อ คนเขียนบท โปรดิวเซอร์ สามารถเข้าถึงไฟล์ เลือกรูปแบบไฟล์ที่ตนต้องการมาใช้งาน การค้นหาวีดิโอคลิปทำได้อย่างรวดเร็ว ย่นระยะเวลาในการทำงาน เมื่อทำงานเสร็จ จัดเก็บไฟล์รายการเข้าระบบ จัดตารางออกอากาศจากไฟล์รายการที่ทำเสร็จเรียบร้อยพร้อมออกอากาศ เหล่านี้เป็นการสร้างกระบวนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ ลดค่าใช้จ่าย เสริมความคล่องตัวในการทำงาน ลดความซ้ำซ้อนของงาน

แต่การก้าวกระโดดของเทคโนโลยีไม่หยุดอยู่เพียงเท่านี้ เส้นเขตแดนโลกจริงและโลกเสมือนได้สลายหายไป การทำงานอยู่กับที่นั่งอยู่กับโต๊ะได้ถูกตัดออกจากโลกความเป็นจริง สู่โลกการทำงานเสมือนจริง ที่เราสามารถทำงานที่ไหนก็ได้ เมื่อไหร่ก็ได้ คลาวด์ (Cloud) คือนิยามใหม่ที่ก้าวเข้ามา กิจกรรมบนคลาวด์เกิดขึ้นหลากลักษณะตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน สิ่งที่เราๆ ท่านๆ คุ้นเคย อย่างพื้นฐานที่สุดน่าจะเป็นการใช้เพื่อเป็นที่เก็บข้อมูล รูปภาพ คลิปวีดิโอ อย่าง Dropbox Youtube Sound Cloud หรือ Google Drive เป็นต้น กิจกรรมทางด้านสื่อ อย่างการผลิตรายการโทรทัศน์ การตัดต่อวีดิโอก็ก้าวเข้าไปสู่อาณาจักรของระบบคลาวด์ บุคลากรในทีมสามารถทำงานพร้อมกันจากสถานที่ต่างกัน ซอฟต์แวร์ที่ถูกปรับปรุงใหม่อยู่เสมอ คอมพิวเตอร์ที่ไม่ต้องการสมถนะสูงนักในการเข้าสู่ระบบ สร้างความรวดเร็วคล่องตัวในการทำงาน ปริมณฑลสาธารณะของการทำงานยิ่งเปิดกว้าง ปริมาณข้อมูล คอนเทนต์ยิ่งเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ ระบบสารสนเทศการจัดการสื่อ (MAM) ยิ่งทวีบทบาทมากขึ้น จากระบบ MAM บนคอมพิวเตอร์เวิร์คสเตชั่น ก้าวกระโดดไปจัดการข้อมูลบน คลาวด์ การจัดการสื่อ คอนเทนต์มหึมาให้เป็นระบบ

สิ่งเหล่านี้น่าจะเป็นสิ่งที่ฉุกคิด สำหรับองค์กรสื่อที่ยังไม่ได้วางแผนการรองรับไว้ หรือมองว่าไม่ใช่ประเด็นสำคัญไปกว่าการลงทุนด้านการผลิต บุคลากร เพราะท้ายที่สุด คอนเทนต์ดี “การจัดการ” คอนเทนต์เยี่ยม คือมูลค่าที่สำคัญยิ่งสำหรับองค์กรสื่อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2668

ระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (TDC)

ระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์  (TDC)
ระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (TDC)

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้รับการสนับสนุนจาก สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ.) ให้จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการใช้ระบบจัดเก็บเอกสารฉบับเต็มในรูปอิเล็กทรอนิกส์ (Thai Digital Collection) : TDC  และสืบค้นบริการเอกสารวิชาการ ในวันที่ 26 มิถุนายน 2556 ณ ห้องช้องนาง สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยแม่โจ้ รับจำกัดเพียง 30 คน

thai digital collection
thai digital collection

สมัครได้ที่ ! http://www.uni.net.th/tdc/train/zmc_trainlist.php?sel=view&c=4
หากจะสืบค้นก็เข้าไปที่ http://www.thailis.or.th/

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกอากาศวันที่ 17 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ได้พบกับ อ.ชินพันธ์ โรจนไพบูลย์   รองคณบดี อ.นงลักษณ์ สุวรรณวิชิตกุล   หัวหน้าสาขาการตลาด อ.จักรกฤษณ์ ตันติพงศ์ สาขาการบัญชี   บริเวณริมอ่างตระพังดาว โดยเล่ากิจกรรมการเรียนการสอน การเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

! http://blog.nation.ac.th/?p=2636

 http://www.facebook.com/SiamSarapa

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกอากาศวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ได้พบกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง รองคณบดี จัดรายการวิทยุในห้องสถานีวิทยุเสียงลำปาง 104.25 MHz โดยเล่าถึงกิจกรรมที่นักศึกษาจะได้ทำระหว่างเรียนทั้งเป็นผู้จัดรายการ เขียนข่าว ทำรายการทีวีในห้องสตูดิโอของมหาวิทยาลัย

! http://blog.nation.ac.th/?p=2638

 http://www.facebook.com/SiamSarapa

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกอากาศวันที่ 3 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ได้พบกับ อ.เบญจวรรณ นันทชัย คณบดี ที่วิ่งออกกำลังกายเป็นประจำเพื่อสุขภาพ  และอาจารย์ประจำ 3 ท่านได้แก่ อ.สกุลศักดิ์ อินหล้า    อ.พฤกษ์ศราวุธ จักสวย   และ อ.ฉัตรชัย หมื่นก้อนแก้ว  โดยนำชมห้องสุขภาพ และการทำกิจกรรม การเรียนที่ฝึกปฏิบัติจริงของนักศึกษา

! http://blog.nation.ac.th/?p=2641

 http://www.facebook.com/SiamSarapa

เกณฑ์คัดเลือกช่องทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล

วนิดา วินิจจะกูล
วนิดา วินิจจะกูล

เป็นข่าวกันไปพอสมควรแล้ว สำหรับ ทีวีสาธารณะในระบบดิจิทัล ที่คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการวิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม หรือ กสทช.

เปิดเผยว่าจะมีทั้งหมด 12 ช่อง โดยกำหนดค่อนข้างแน่นอนแล้ว 6 ช่อง โดย 4 ช่องแรกเป็นช่องที่เราคุ้นเคยกันอยู่ คือ 5, 7,11 และ ไทยพีบีเอส (ภายใต้เงื่อนไขต้องคืนคลื่นอนาล็อกก่อน) ส่วนอีก 2 สำหรับช่องเพื่อความปลอดภัย และช่องเพื่อความมั่นคง ว่ากันว่าเป็นไปตาม พ.ร.บ.กลาโหม

! http://bit.ly/10DG6aJ
ทั้ง 6 ช่องนี้ สมควรได้รับจัดสรรคลื่นโดยอัตโนมัติหรือไม่ เป็นประเด็นที่ยังต้องถามหาความชอบธรรม

ส่วนที่เหลืออีก 6 ช่อง ที่ กสทช. จะพิจารณาให้องค์กรหรือหน่วยงานใดนั้น ก็ยังไม่มีหลักเกณฑ์กติกาการคัดเลือกแต่อย่างใด แต่สุภิญญา กลางณรงค์ เสียงข้างน้อยอีกเช่นเคย เห็นว่า กสทช. ควรมีหลักเกณฑ์ที่แน่นอน เพื่อความโปร่งใส กรรมการตัดสินจะได้มีหลักยึด ดังนั้น การจัดเวทีระดมสมองเรื่อง “เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์สำหรับการประกอบกิจการบริการสาธารณะ” หรือรู้จักกันในชื่อ “บิวตี้คอนเทสต์” ที่ กสทช. สุภิญญา ในฐานะกรรมการคนหนึ่ง พยายามทำให้การตัดสินใจของ กสทช. ต่อเรื่องการจัดสรรคลื่นความถี่ซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติที่สามารถนำไปหามูลค่าได้มหาศาล มีความโปร่งใส สังคมตรวจสอบได้

เกณฑ์การคัดเลือกผู้เหมาะสมให้ใช้คลื่นความถี่ฯ ในกิจการสาธารณะ ที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา จัดทำเป็นร่างมาให้เวทีระดมความคิดเห็นนั้น ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ 1. ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญ 2. การผลิตรายการและที่มาของเนื้อหารายการ 3. ความทั่วถึง 4. แหล่งเงินทุนและการใช้เงินทุน 5.กลไกการติดตามตรวจสอบภายในองค์กร และ 6.การมีส่วนร่วมและการคุ้มครองผู้บริโภค

ในเวทีได้อภิปรายและเสนอข้อคิดเห็นมากมาย แต่โดยส่วนตัวนั้น สนใจมากๆ ใน 2 ประเด็น

ประเด็นแรก คือ เรื่องเกี่ยวกับศักยภาพหน่วยงานที่จะเสนอตัว ซึ่งเวทีเสนอในประเด็นนี้ค่อนข้างเยอะ

ประเด็นที่สอง คือ เรื่อง “ความคิดสร้างสรรค์” ที่ดูเหมือนจะไม่มีตัวอักษรใดในร่างที่สื่อถึงเรื่องนี้เลย ในตอนท้าย ตัวเองจึงได้เสนอความเห็นไปว่า…

คิดว่าการกำหนดเกณฑ์เหล่านี้ไม่ควรเป็นไปเพื่อการหาทีวีสาธารณะที่ดีที่สุด แต่ต้องหาทีวีสาธารณะที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ฉะนั้นการเข้าถึงก็ดี เกณฑ์คุณภาพต่างๆ ที่พูดถึงก็ดี รู้สึกว่ากำลังจะได้ช่องที่ลงทุนไปแล้วจะไม่มีคนดูมากนัก อยากให้ช่วยกันคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะถ่วงดุลให้ได้ระหว่าง 3 มุมนี้ คือ

หนึ่ง ทำอย่างไรให้ผู้เสนอตัว มีทุนที่จะยืนระยะได้ หมายความว่า ทำอย่างไรให้ประชาชนอยากเข้ามาชมรายการคุณภาพ คุ้มค่ากับการเผาเวลาไปนาทีละ 2 แสน หรือวันละ 5 ล้าน (ข้อมูลจากเวที) มันมหาศาลนะ ฉะนั้นถ้าให้เขามาลงทุนแล้วบอกไม่ให้หากำไร ไม่ให้หารายได้ หรือหาได้เท่าที่จำเป็น แล้วใครจะเข้ามาเพราะว่ามันไม่น่าจูงใจเลย ฉะนั้น ทำอย่างไรให้ผู้เสนอมีรายได้พอที่จะยืนระยะในการพัฒนารายการและสถานีให้ดีขึ้นในอนาคต ซึ่ง กสทช.อาจจะดูเรื่องการให้ทุนอุดหนุนบางส่วน หรือให้มีโฆษณาที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้ผลิตรายการที่ด้อยคุณภาพหรือเรียกแต่เรตติ้ง

สอง ที่ต้องให้น้ำหนักด้วย คือ “คุณค่าต่อสังคม” ทั้งการเป็น “พลเมือง” หรือการให้ทุกภาคส่วนได้มีโอกาสเข้ามาใช้หรือเกิดประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ประเด็นนี้พูดกันค่อนข้างเยอะแล้ว

สาม ที่ไม่ค่อยมีคนพูดกัน แต่คิดว่าต้องให้ความสำคัญมากที่สุดอีกมุมหนึ่งด้วย คือ เรื่อง ความคิดสร้างสรรค์ ที่รายการออกมาแล้วดูสนุก หรือทำออกมาแล้วมีคนอยากดู จะเรียกว่าเรตติ้งก็ได้ พูดถึงเรตติ้งอาจจะดูเป็นเชิงลบ แต่ความคิดสร้างสรรค์อยู่ในเกณฑ์ข้อไหน เพราะร่างที่ทีมงาน กสทช.สุภิญญา นำเสนอมา ยังไม่เห็นประเด็นนี้

ตอนนี้ประชาชนเลือกดูทีละรายการแล้ว เขาดูยูทูป เขาไม่ดูทั้งสถานี ไม่ดูทั้ง 24 ชั่วโมง ไม่ดูตามเวลาที่ออกอากาศ แต่เข้ามาเลือกดูภายหลังได้ ในรายการที่เขาชอบ ฉะนั้น การที่เขาจะเข้ามาดูช่องทีวีสาธารณะ นั่นแปลว่ารายการต้องโดนเขาจริงๆ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องให้น้ำหนักให้ได้ระหว่าง 3 มุมที่ว่านี้ คือ 1.ให้มีเงินทุนที่จะยืนระยะได้จริงและมีแผนเลี้ยงตัวเองได้จากแหล่งไหนก็ตาม 2.คุณค่าที่จะเป็นประโยชน์ต่อสังคมจริงๆ ไม่ใช่แค่เกิดช่องละครหรือรายการที่มีอยู่แล้วในกระแสหลัก และ 3.เรื่องความคิดสร้างสรรค์ ที่จะทำให้คนเข้ามาชมรายการมีคุณภาพอย่างที่ตั้งใจกัน ทั้งหมดนี้ก็เพื่อจะทำให้เกิดประสิทธิภาพจริง ๆ ของการลงทุนและการใช้ทรัพยากรสาธารณะ

สุดท้ายที่ประชุมสรุปเกณฑ์ออกมาได้ 5 ด้าน คือ ด้านที่เกี่ยวกับองค์กร ด้านเทคนิค ด้านเนื้อหา ด้านการเงิน และด้านธรรมาภิบาล ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากผลการประชุมของบอร์ด กสทช.เร็ว ๆ นี้

เขียนโดย วนิดา วินิจจะกูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2633

ไล่ล่า มืออาชีพ

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

โฆษณาทั้งชวนเชื่อ และชวนด้วยความเชื่อจริงๆ ในเรื่องการ “เรียนกับมืออาชีพ” นับเป็นปรากฏการณ์ร่วม ที่เกิดขึ้นมายาวนานแล้ว ในสถาบันการศึกษาต่างๆ เพราะความคิดเรียนเพียงเพื่อกระดาษหนึ่งแผ่น จบแล้วไม่มีงานทำ โดยเฉพาะในสาขาทางด้านสังคมศาสตร์ที่ว่ากันว่าเรียนง่าย จบง่ายนั้น บั่นทอนขวัญและกำลังใจของผู้เรียนไม่น้อย

! http://bit.ly/165e7cO

ภาพประกอบจาก http://mediainsideout.net/local/2013/04/121

เนื่องเพราะเมื่อจบแล้ว ไม่สามารถเข้าสู่ระบบงานได้ทันที เพราะเรียนมาอย่างหนึ่ง แต่ในงานเป็นอีกอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในสาขานิเทศศาสตร์ ที่หมุนไปไม่ทันโลกแห่งเทคโนโลยีการสื่อสาร

ฉะนั้น การเรียนรู้กับมืออาชีพ จึงเป็น “ข้อเสนอ” และทางเลือกของผู้บริหารสถาบันการศึกษา เพื่อสร้างแรงจูงใจว่า นักศึกษาจะได้เรียนรู้จากผู้มีประสบการณ์โดยตรง จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นจริง หรือในสภาพบรรยากาศสถานที่ทำงานจริง และเมื่อจบแล้ว มีหลักประกันว่าจะได้ทำงานแน่นอน แต่ประเด็น ก็คือ สิ่งเหล่านี้มีอยู่จริงหรือไม่ สถาบันการศึกษาใด จะมีมืออาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการผลิตบัณฑิตได้มากน้อย จริงจังเพียงใด

คำว่า “มืออาชีพProfessional หรือ Professionalism คืออะไรแน่ มีคนนิยามคำนี้ไว้หลากหลาย ถ้านิยามอย่างรวบรัด ก็อาจจะพูดได้ว่า เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญ มีประสบการณ์ในเรื่องนั้น และที่อาจไม่ค่อยได้พูดถึงนัก ก็คือต้องมีคุณธรรม จริยธรรม ด้วย แต่เพียงเท่านี้คงยังไม่เพียงพอที่จะบอก คุณลักษณะของมืออาชีพ เพราะดูเหมือนว่า ความเป็นมืออาชีพยังปะปนกับคำว่า อาชีพ หรือกระทั่งคำว่า “วิชาชีพ” เมื่อกล่าวถึงในบริบทของสื่อสารมวลชน

นอกจากคำว่า “อาชีพ” “วิชาชีพ” แล้ว เมื่อพูดถึงงานด้านสื่อสารมวลชน ยังมีคำว่า “อาชีวปฏิญาณ” อีกคำหนึ่ง คำสามคำนี้ ต่างกันอย่างไร

คำว่า อาชีพ หมายถึง การทำกิจกรรม การทำงานที่ไม่เป็นโทษกับสังคมและมีรายได้ตอบแทนโดยอาศัย แรงงาน ความรู้ ทักษะ อุปกรณ์ เครื่องมือ วิธีการแตกต่างกันไป ส่วนวิชาชีพนั้น หมายถึง งานที่อุทิศจิตวิญญาณให้กับงาน ต้องอาศัยการอบรมสั่งสอนมานาน เป็นงานที่มีแบบแผนและจรรยาของหมู่คณะ จุดเน้นวิชาชีพคืออาชีพที่ต้องมีจรรยาบรรณ หากประกอบวิชาชีพขัดต่อจรรยาบรรณแล้ว จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อสังคม เช่น ครู หมอ นักกฎหมาย ตำรวจ ทหาร รวมทั้งสื่อมวลชน

สำหรับอาชีวปฏิญาณ เป็นศัพท์บัญญัติ ซึ่งยังอ้างอิงไม่ได้ชัดว่าใครคือต้นกระแสธาร แต่ครูหนังสือพิมพ์รุ่นใหญ่พงษ์ศักดิ์ พยัฆวิเชียร กล่าวถึงบ่อยครั้ง คือ “…การปฏิญาณตนต่อสรรพสิ่งศักดิ์สิทธิ์ว่า จะประกอบอาชีพตามธรรมเนียมที่วางไว้เป็นบรรทัดฐาน หาใช่เป็นการทำมาหากิน หรือทำมาหาเลี้ยงชีพ แต่เพียงอย่างเดียว

กล่าวอย่างรวบรัด การเรียนกับมืออาชีพ หมายถึงการเรียนกับผู้ที่มีประสบการณ์ตรงในอาชีพนั้น ซึ่งในที่นี้จะพูดถึงในเรื่องอาชีพสื่อสารมวลชน ในคณะที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่านิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือยังคงมีฐานะเป็นโปรแกรมในคณะวิทยาการจัดการ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบางแห่งก็ตาม แต่ในโลกความเป็นจริง สถาบันการศึกษาจำนวนไม่น้อย ยังขาดแคลนมืออาชีพที่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์จริงไปพร้อมๆ กับการสอนทฤษฎีหรือหลักการในห้องเรียน

แต่ในทางตรงกันข้าม นักวิชาชีพส่วนใหญ่ก็ไม่ได้มีทักษะในการสอน หรือสามารถอธิบายถ่ายทอดประสบการณ์ได้อย่างเห็นภาพ เหมือนอาจารย์อาชีพที่มีความเชี่ยวชาญในการเรียนการสอน นับเป็นเหรียญสองด้านที่ยังถกเถียงกันอยู่

คำว่า “เรียนกับมืออาชีพ” จึงยังเป็นคำที่ต้องค้นหาความหมายที่แท้จริงกันต่อไป แต่ในทางทฤษฎีการเรียนจากของจริง ฝึกปฏิบัติจริงและทำจริง นั่นคือสุดยอดของการเรียนแน่นอน

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2631

ครม.ขึ้นเงินเดือน พนง.มหาวิทยาในกำกับ

9 พฤษภาคม 2556

ครม.ไฟเขียวงบ 1.1 หมื่นล้านบาท ขึ้นเงินเดือน พนง.มหา’ลัยทั่วประเทศ มีผลย้อนหลังตั้งแต่เดือน ม.ค.55 หลังอั้นมานาน แม้จะมีหลายมหาวิทยาลัยออกนอกระบบแล้ว

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.ศึกษาธิการ เปิดเผยผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่าด้วยเรื่องกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ว่า ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติตามที่ ศธ.เสนอขอรับการจัดสรรงบประมาณเพื่อเบิกจ่ายเงินปรับเพิ่มคุณวุฒิให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ให้แก่พนักงานมหาวิทยาลัยจำนวน 54,801 คน จากมหาวิทยาลัย 79 แห่ง โดยให้มีผลย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2555 รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 11,792,432,440 บาท ทั้งนี้ สำหรับในปีงบประมาณ 2556 ขอให้มหาวิทยาลัยใช้เงินงบประมาณเหลือจ่ายของมหาวิทยาลัยเบิกจ่ายไปก่อน ขณะที่สำนักงบประมาณจะตั้งงบให้ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2557 เป็นต้นไป

รมว.ศธ.กล่าวอีกว่า สำหรับงบประมาณที่ใช้เบิกจ่าย ดังนี้ พ.ศ.2555 จำนวน 3,014,836,290 บาท, พ.ศ.2556 จำนวน 4,260,969,010 บาท และ พ.ศ.2557 จำนวน 4,516,627,140 บาท แบ่งเป็นจัดสรรให้กับมหาวิทยาลัยพนักงานมหาวิทยาลัยในกลุ่มมหาวิทยาลัยราชภัฏ (มรภ.) ทั้งหมด 10,688 คน ใช้งบประมาณ 2,648,751,120 บาท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) จำนวน 4,263 คน ใช้งบประมาณ 1,062,998,880 บาท, มหาวิทยาลัยส่วนราชการ จำนวน 19,410 คน ใช้งบประมาณ 5,013,891,610 บาท และมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ จำนวน 20,440 คน ใช้งบประมาณ 3,102,790,830 บาท

“การปรับงบประมาณเพิ่มเติมให้กับพนักงานมหาวิทยาลัยที่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งก่อนวันที่ 1 มกราคม 2555 ครั้งนี้ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม เหมือนเช่นที่ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับการปรับเงินเดือนแรกบรรจุและเงินปรับเพิ่มตามคุณวุฒิ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำระหว่างข้าราชการและพนักงานมหาวิทยาลัย” นายพงศ์เทพกล่าว.

ที่มา: http://www.thaipost.net

! http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32650&Key=hotnews