‘พงศ์เทพ’ ลั่นกู้ชื่อเสียงศธ.ทุกฝ่ายร่วมมือ

26 เมษายน 2556

“พงศ์เทพ”ฝากทุกฝ่ายกรณีการสอบครูผู้ช่วย ดูแลให้เกิดความโปร่งใส กู้ชื่อเสียงศธ.กลับคืนขึ้นกับความร่วมมือทุกฝ่าย

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสัมมนาเรื่องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยมีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลจากทั่วประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมว่า การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย การสอบบรรจุครูผู้ช่วยซึ่งกำลังจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ นั้น มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกระบวนการคัดคนมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ที่สำคัญ การสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้ เป็นการจัดสอบครั้งล่าสุดนับจากเกิดกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยซึ่งกำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันทำให้การสอบบรรจุข้าราชการครูกลับมาได้รับการยอมรับเชื่อมั่นจากสังคมอีกครั้ง

“ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) หรือเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องช่วยกับดูแลการสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความโปร่งมใส เป็นธรรม ไม่เกิดการทุจริจสอบขึ้น ให้สังคมเกิดการยอมรับกระทรวงศึกษาธิการ จริง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ในการสร้างคน ถ้าคนที่สร้างออกไปมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ทุจริต สังคมก็จะดีตาม กระบวนการในการคัดเลือกบุคคลมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ทำหน้าที่สร้างคนจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่มีการทุจริต ไม่มีกรโกงข้อสอบ ไม่มีใครรู้ข้อสอบก่อน มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะได้แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ที่บิดเบี้ยว ไม่สามารถสร้างคนอย่างที่เราหวังได้”

นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันสอดส่องดูแลด้วย ถ้าระแคะระคายรู้อะไรมาให้รีบแจ้งมาที่ สพฐ. สำนักรัฐมนตรี หรือแม่ทั่งตน และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษิการ ทั้งนี้ เพราะกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่เกิดขึ้นนั้น จริงแล้ว น่าจะรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเพราะเรื่องเกิดในหลายพื้นที่ มีการเรียนคนไปติว น่าจะได้ระแคะระคายก่อนพอสมควร เพราะฉะนั้น การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จึงอยากให้ช่วยกันสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด

“ขณะเดียวกัน การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกลั่มกันจัดสอบเอง โดยให้ประสานสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยออกข้อสอบให้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสอบ ให้ผู้เข้าสอบเกิดความมั่นใจ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญสุด คือ การเลือกสถานบันการศึกษาที่จะมาทำหน้าที่ออกข้อสอบ เพราะสถาบันการศึกษาก็มีหลากหลาย จึงต้องออกสถาบันการศึกษาที่เชื่อถือได้ สามารถออกข้อสอบได้ดี ตรงไปตรงมา ไม่ทำให้การสอบมีปัญหา ไม่ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนอยู่ในฐานะได้เปรียบ”นายพงศ์เทพ กล่าวและย้ำว่า การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จะแก้ตัวได้สำเร็จ ให้สังคมกลับมาเกิดความเชื่อถือได้หรือไม่ จะกู้ชื่อเสียงกระทรวงศึกษาธิการกลับมาได้หรือไม่ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32525&Key=hotnews

‘พงศ์เทพ’ ลั่นกู้ชื่อเสียงศธ.ทุกฝ่ายร่วมมือ

26 เมษายน 2556

“พงศ์เทพ”ฝากทุกฝ่ายกรณีการสอบครูผู้ช่วย ดูแลให้เกิดความโปร่งใส กู้ชื่อเสียงศธ.กลับคืนขึ้นกับความร่วมมือทุกฝ่าย

นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ศึกษาธิการ มอบนโยบายในการประชุมสัมมนาเรื่องการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย โดยมีผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยชุมชน สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาและมัธยมศึกษา รวมทั้งผู้อำนวยการกลุ่มบริหารงานบุคคลจากทั่วประเทศ กว่า 500 คน เข้าร่วมประชุมว่า การสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับเป็นข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย การสอบบรรจุครูผู้ช่วยซึ่งกำลังจะมีขึ้นในเร็ว ๆ นี้ นั้น มีความสำคัญอย่างมากเพราะเป็นกระบวนการคัดคนมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ของชาติ ที่สำคัญ การสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้ เป็นการจัดสอบครั้งล่าสุดนับจากเกิดกรณีทุจริตสอบครูผู้ช่วยซึ่งกำลังดำเนินการสอบสวนอยู่ เพราะฉะนั้น จะต้องช่วยกันทำให้การสอบบรรจุข้าราชการครูกลับมาได้รับการยอมรับเชื่อมั่นจากสังคมอีกครั้ง

“ทั้งกระทรวงศึกษาธิการ บรรดาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน( สพฐ.) หรือเขตพื้นที่การศึกษา จะต้องช่วยกับดูแลการสอบบรรจุข้าราชการครูครั้งนี้อย่างเต็มที่ เพื่อให้เกิดความโปร่งมใส เป็นธรรม ไม่เกิดการทุจริจสอบขึ้น ให้สังคมเกิดการยอมรับกระทรวงศึกษาธิการ จริง ๆ แล้ว กระทรวงศึกษาธิการ หน้าที่ในการสร้างคน ถ้าคนที่สร้างออกไปมีคุณธรรม จริยธรรม ไม่ทุจริต สังคมก็จะดีตาม กระบวนการในการคัดเลือกบุคคลมาเป็นพ่อพิมพ์แม่พิมพ์ทำหน้าที่สร้างคนจึงมีความสำคัญ เพราะฉะนั้น การสอบบรรจุครูจะต้องทำให้ทุกคนมั่นใจได้ว่า ไม่มีการทุจริต ไม่มีกรโกงข้อสอบ ไม่มีใครรู้ข้อสอบก่อน มิฉะนั้นแล้ว เราก็จะได้แม่พิมพ์พ่อพิมพ์ที่บิดเบี้ยว ไม่สามารถสร้างคนอย่างที่เราหวังได้”

นายพงศ์เทพ กล่าวต่อว่า อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันสอดส่องดูแลด้วย ถ้าระแคะระคายรู้อะไรมาให้รีบแจ้งมาที่ สพฐ. สำนักรัฐมนตรี หรือแม่ทั่งตน และนายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษิการ ทั้งนี้ เพราะกรณีทุจริตการสอบครูผู้ช่วยที่เกิดขึ้นนั้น จริงแล้ว น่าจะรู้ตัวล่วงหน้าก่อนเพราะเรื่องเกิดในหลายพื้นที่ มีการเรียนคนไปติว น่าจะได้ระแคะระคายก่อนพอสมควร เพราะฉะนั้น การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จึงอยากให้ช่วยกันสอดส่องดูแลอย่างใกล้ชิด

“ขณะเดียวกัน การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ ให้เขตพื้นที่การศึกษารวมกลั่มกันจัดสอบเอง โดยให้ประสานสถาบันการศึกษาในพื้นที่ช่วยออกข้อสอบให้เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับการสอบ ให้ผู้เข้าสอบเกิดความมั่นใจ เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญสุด คือ การเลือกสถานบันการศึกษาที่จะมาทำหน้าที่ออกข้อสอบ เพราะสถาบันการศึกษาก็มีหลากหลาย จึงต้องออกสถาบันการศึกษาที่เชื่อถือได้ สามารถออกข้อสอบได้ดี ตรงไปตรงมา ไม่ทำให้การสอบมีปัญหา ไม่ทำให้ผู้เข้าสอบบางคนอยู่ในฐานะได้เปรียบ”นายพงศ์เทพ กล่าวและย้ำว่า การสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้ จะแก้ตัวได้สำเร็จ ให้สังคมกลับมาเกิดความเชื่อถือได้หรือไม่ จะกู้ชื่อเสียงกระทรวงศึกษาธิการกลับมาได้หรือไม่ อยู่ที่ความร่วมมือของทุกฝ่าย

ที่มา: http://www.bangkokbiznews.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32525&Key=hotnews

สสวท.ดันระบบ”สเต็มศึกษา” เพิ่มศักยภาพแข่งขันประเทศ

26 เมษายน 2556

สสวท.ดันระบบ “สเต็มศึกษา” พัฒนาศักยภาพแข่งขันไทย ตั้งเป้าพัฒนาความรู้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี นร.ทุกระดับชั้นปีละ 4% โดยวัดผลจากคะแนนโอเน็ต ชี้หากไม่รีบพัฒนาจะตกกับดักประเทศรายได้ปานกลาง สูญเสียอำนาจแข่งขัน ขณะที่ผลวิจัยการศึกษาไทยชี้ 20 ปีการศึกษาไทยยังไม่กระเตื้อง ขวัญสรวงแนะตีกรอบแก้ปัญหารายพื้นที่ อย่าหวังแก้ทั้งระบบ เพราะเป็นเรื่องยาก

ศ.เกียรติคุณ ดร.มนตรี จุฬาวัฒนทล ประธานกรรมการสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) เปิดเผยว่า สสวท.ได้จัดทำร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี พ.ศ.2555-2559 ตั้งเป้าพัฒนาเด็กไทยให้มีความสามารถระดับนานาชาติภายในปี 2570 หรือผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ของนักเรียนทุกช่วงชั้นจะต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 4 ต่อปี ซึ่งจะวัดผลจากการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) โดยจะใช้ระบบ STEM Education หรือ “สเต็มศึกษา” เป็นกลยุทธ์หลักในการพัฒนา
ด้านการดำเนินการตามยุทธศาสตร์ จะมีการตั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1.การตั้ง “สเต็มอคาเดมี” 10 จังหวัด เพื่อนำร่องโครงการ กระจายอยู่ใน 4 ภาคของประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างเลือกจังหวัดที่เหมาะสมในการจัดตั้ง ซึ่ง สสวท.จะร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา (กอศ.) ในการดำเนินการ ส่วนบทบาทหน้าที่ของสเต็มอคาเดมี จะมีผู้เชี่ยวชาญ และสเต็มแอมบาสเดอร์ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแนะนำกับผู้ที่สนใจ อันได้แก่ ครู นักเรียน ผู้มีความสามารถพิเศษหรือประชาชนทั่วไป

หน่วยงานที่ 2 คือ “iStem” เป็นคลังความรู้ ผู้สนใจสามารถเข้าถึงได้ผ่านทางอินเทอร์เน็ต หรือร้านสะดวกซื้อ ซึ่งใน iStem นี้จะมีคลังความรู้ ตำราหรืออุปกรณ์ที่น่าสนใจ หน่วยงานที่ 3 คือ Hall of fame เป็นหอเกียรติยศที่รวบรวมผู้มีชื่อเสียง ประสบความสำเร็จด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อแสดงให้เห็นถึงศักยภาพของระบบสเต็มและเป็นแรงจูงใจแก่นักเรียนนักศึกษา
ประธานบอร์ด สสวท.กล่าวอีกว่า สาเหตุที่ สสวท.ต้องการผลักดันระบบสเต็มศึกษาให้เกิดขึ้น เนื่องจากมองว่าหากเรายังไม่พัฒนาความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เราก็จะสูญเสียศักยภาพการแข่งขันไปเรื่อยๆ เพราะระบบสเต็มจะตอบคำถามให้กับผู้เรียนวิทยาศาสตร์ได้ว่า เรียนไปแล้วสามารถนำไปทำอะไรได้บ้าง และระบบสเต็มยังทำให้เกิดการบูรณาการในความรู้ เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ

“ตอนนี้เราเป็นประเทศมีรายได้ระดับปานกลาง หรือ Middle income แต่ถ้าเราไม่พัฒนาศักยภาพการแข่งขัน เราจะตกอยู่ในช่วง Middle income trap หรือตกอยู่ในกับดักรายได้ปานกลาง และเอสเอ็มอี เราจะตายหมด เหลือเพียงธุรกิจผู้ประกอบการรายใหญ่เท่านั้น ดังนั้นเราต้องหลุดพ้นจากช่วงนี้ไปให้ได้ด้วยการต้องเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน เราต้องเปลี่ยนความคิดพื้นฐานของเรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ พลิกสถานการณ์ หรือที่เรียกว่า Game changer ยกตัวอย่างเช่น การมีระบบ 3G หรือสมาร์ทโฟน ก็เป็น Game changer”

วันเดียวกัน ที่บริษัท ปิโก (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) เปิดผลงานวิจัยเรื่อง “ระบบการศึกษาไทยขั้นพื้นฐาน (จากอนุบาลถึงมัธยมปลาย) ความก้าวหน้าและความล้มเหลว” โดย ดร.สุธรรม วาณิชเสนี ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเทคนิคเชิงระบบ ในฐานะหัวหน้าคณะวิจัย เปิดเผยวิจัยที่ใช้ระยะเวลาศึกษากว่า 2 ปีว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าการศึกษาไทยไม่ได้ก้าวหน้าไปไหนเลย โดยเฉพาะเรื่องผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน เทียบจากผลสอบโอเน็ต

และผลสอบโครงการวิจัยนานาชาติ (พิซา) ทั้งที่ไทยมีการปฏิรูปการศึกษาและและโครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษามากมาย 2 ทศวรรษ จนเกิดคำถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับการศึกษาไทย จะก้าวต่อไปอย่างไร

ดร.สุธรรมกล่าวอีกว่า การวิจัยได้ลงลึกทั้งระบบการศึกษาไทยเพื่อดูแต่ละปัญหาว่ามีอะไรบ้าง แล้วเกิดได้อย่างไร และส่งผลกระทบต่ออย่างไร ซึ่งทำให้พบว่า ไม่ว่าจะจับที่จุดไหนของระบบก็พบปัญหาการศึกษาทั้งนั้น เพียงว่าจะมีปัญหามากหรือน้อย อาทิ อย่างเรื่องการผลิตครูล้น ได้ส่งผลกระทบต่อการแข่งขันสอบเป็นครูผู้ช่วย เกิดการทุจริตสอบบรรจุ ได้ครูไม่เก่งเข้าไปในระบบ ส่งผลต่อคุณภาพการสอน ผลสัมฤทธิ์นักเรียนตกต่ำ เป็นต้น ขณะที่โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ตั้งแต่ระดับบนสุดลงมาล่างสุด ก็มีการดำเนินงานที่สลับซับซ้อน อาทิ การบริหารโรงเรียน ต้องขึ้นกับเขตพื้นที่การศึกษา และขึ้นกับ ศธ. ส่วนการบริหารงานบุคคล โรงเรียนต้องขึ้นกับคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่ฯ และต้องไปขึ้นกับ ก.ค.ศ. และคุรุสภา โดยจะสังเกตได้ว่ากว่าเด็กคนหนึ่งจะจบการศึกษาขั้นพื้นฐานต้องผ่านระบบมากมาย เพราะมีการกระจายอำนาจที่ยังดึงๆ กันอยู่

“ผลวิจัยชี้ชัดว่าระบบการศึกษาไทยอ่อนแอทุกส่วน แต่ที่ผ่านเราเลือกจะแก้ปัญหาแค่บางส่วน แต่หวังจะให้ระบบการศึกษาดีขึ้น ฉะนั้นผลวิจัยเสนอว่าหากจะแก้ปัญหาทั้งระบบจริงๆ จะต้องเข้าใจปัญหาทั้งหมดก่อน และแก้ปัญหาทั้งระบบไปด้วยกัน ซึ่งเป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าจะทำไม่ได้”
นายขวัญสรวง อติโพธิ วิทยากรด้านการพัฒนาเมืองและพัฒนาสังคม คุณภาพชีวิต และสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า เห็นด้วยกับการแก้ปัญหาการศึกษาทั้งระบบ เพราะการแก้ปัญหาแบบเดิมไม่ช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอะไร ขณะที่การแก้ปัญหาระบบการศึกษาไทย หากมองภาพรวมแล้ว คิดหาทางแก้คงทำได้ยาก เพราะมีมากและหลากหลาย ฉะนั้นอยากให้ตีกรอบแคบ โดยอาจแบ่งเป็นรายพื้นที่จังหวัด แล้วแก้ปัญหาให้ขับเคลื่อนอย่างเป็นรูปธรรมจะดีกว่า อาทิ รร.ในจังหวัดเพชรบุรี มีทั้ง รร.ชั้นนำในเมืองและ รร.ขนาดเล็กในชนบท เราจะทำอย่างไรไม่ให้เกิดความเหลื่อมล้ำการพัฒนา อันนำไปสู่ปัญหา รร.ขนาดเล็ก และการแข่งขันเพื่อเข้าเรียนต่างๆ อย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นต้น.

ที่มา: http://www.thaipost.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32524&Key=hotnews

สอศ.ผุดหลักสูตรดูแลผู้สูงวัย

26 เมษายน 2556

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาแรงงานเข้าร่วมประชุม พร้อมกำชับให้ดูแลกลุ่มสตรี ผู้ด้อยโอกาส และผู้สูงวัย โดยสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) ได้รับนโยบายให้ดูแลกลุ่มผู้ด้อยโอกาสและผู้สูงวัย ส่วนผู้ด้อยโอกาสนั้นที่ประชุมหยิบยกประเด็นเด็กที่เรียนจบ ม.3 และต้องการทำงาน แต่ติดปัญหากฎหมายแรงงานมาหารือ ซึ่ง สอศ.วางแผนไว้ว่าจะประสานกับสถานประกอบการเพื่อดึงเด็กกลุ่มนี้มาทำงานควบคู่กับการเรียนอาชีวะ ส่วนผู้สูงอายุนั้น สอศ.จะจัดโครงการฝึกอบรมอาชีพ โดยใช้ศูนย์อบรมอาชีพในสถานศึกษาของ สอศ. จำนวน 121 ศูนย์ทั่วประเทศเป็นสถานที่อบรม ทั้งนี้ ศูนย์ดังกล่าวเป็นโครงการของรัฐบาลที่ให้วิทยาลัยที่มีศักยภาพโดดเด่นเฉพาะด้านเปิดอบรมอาชีพแก่ประชาชน เช่น วิทยาลัยอาชีวศึกษาเชียงใหม่ เด่นเรื่องอาหารนานาชาติ ก็เปิดอบรมไม่น้อยกว่า 75 ชั่วโมง ให้กับผู้สูงอายุเพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพ

เลขาธิการ กอศ.กล่าวว่า นอกจากหลักสูตรอบรมแล้ว สอศ.ยังเปิดสอนหลักสูตรการดูแลเด็กและผู้สูงอายุ ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) สาขาวิชาการบริหารงานคหกรรมศาสตร์ด้วย แต่ยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก เนื่องจากมองว่าเมื่อเรียนจบไปอาชีพยังไม่มั่นคง ทั้งๆ ที่อาชีพบริการผู้สูงอายุนั้น ในปัจจุบันเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างมาก โดยปีการศึกษา 2555 มีสถานศึกษาเปิดสอนทั้งสิ้น 4 แห่ง คือ วิทยาลัยการอาชีพ (วก.) เชียงราย มีผู้เรียน 17 คน วก.พล 8 คน วิทยาลัยเทคนิค (วท.) เดชอุดม 3 คน และ วท.สุวรรณภูมิ 1 คน ดังนั้น สอศ.เตรียมจับมือกับผู้ประกอบการที่ทำงานด้านนี้ ซึ่งนอกจากจะยกระดับฝีมือของผู้เรียนแล้วยังเพิ่มคุณวุฒิให้กับผู้ประกอบการได้อีกด้วย

–มติชน ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32523&Key=hotnews

เปิดเว็บฝึกอาชีพระยะสั้น

26 เมษายน 2556

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ โครงการเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) จัดทำสื่อพัฒนาอาชีพในรูปแบบคลิปวิดีโอสอนทำอาชีพระยะสั้น 1,365 เรื่อง เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ www.edltv.vec.go.th เพื่อให้ประชาชนที่สนใจได้เรียนรู้และนำไปประกอบอาชีพ โดยจัดแบ่งอาชีพออกเป็นหมวดหมู่

ประกอบด้วย คหกรรม พาณิชยกรรม/บริการธุรกิจ ศิลปกรรม อุตสาหกรรม วิชาสามัญ เทคโนโลยีและการสื่อสาร และอาชีพ อื่นๆ เช่น หากเลือกครัวการอาชีพวังฯ หมวดคหกรรม จะพบหัวข้อให้เลือกเรียนรู้หรือฝึกปฏิบัติตาม อาทิ การสอนทำกุ้งเนื้อทอง ข้าวต้มเบญจรงค์ ขนมแป้งจี่เผือก เป็นต้น หากเลือกวงจรอิเล็กทรอนิกส์ หมวดอุตสาหกรรม จะมีหัวข้อ เช่น ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสารกึ่งนำและหัวต่อพีเอ็นจังก์ชั่น เป็นต้น

“คลิปวิดีโอแต่ละเรื่องจะมีความยาวแล้วแต่ความยากง่ายของแต่ละอาชีพที่สอน ผู้สนใจเข้าไปเลือกเรียนได้ฟรี แต่หากอยากเรียนกับครูจริง สามารถติดต่อไปยังวิทยาลัยของ สอศ.ที่เปิดศูนย์อบรมหลักสูตร 75 ชั่วโมง ขึ้นไป เพื่อนำความรู้ไปประกอบอาชีพได้” เลขาธิการ กอศ. กล่าว

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32522&Key=hotnews

สพฐ.ผุดคู่มือปฏิรูปหลักสูตรคุณภาพ บูรณาการครบวงจรมุ่งพลิกโฉมรูปแบบเรียน-สอน

26 เมษายน 2556

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) กล่าวภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมพิจารณาผลตรวจราชการที่สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา (สป.) ส่งมาให้สพฐ.รับเป็นข้อมูลดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) 16 ด้าน

โดยสพฐ.นำข้อมูลและข้อเสนอแนะมาพิจารณา ในส่วนแรกที่เป็นนโยบายสำคัญของศธ. คือการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาทุกระดับ ซึ่งจากข้อเสนอที่ผู้ตรวจเสนอมานั้น สพฐ.มีข้อเสนอเพิ่มเติมคือ การปฏิรูปหลักสูตรเพื่อให้เกิดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพนั้น

ขณะนี้สพฐ.ดำเนินการ 2 เรื่อง คือ
1. การประชุมปฏิบัติการจัดทำคู่มือบูรณาการจัดการเรียนการสอนครบวงจร โดยเคยเสนอไปว่าควรจะบูรณาการการให้งานกับนักเรียน และบูรณาการวิชาที่สอนต่างๆ ที่จะช่วยให้เกิดการวัดและประเมินผล ที่ใช้ผลร่วมกันได้ระหว่างวิชาต่างๆ

2. สพฐ.จัดทำคู่มือและแนวทางการเรียนการสอน ซึ่งสพฐ.จะเสวนาและจัดทำแผนปฏิบัติการในวันที่ 1 พ.ค. โดยจะเชิญนักวิชาการ ผู้บริหาร ครู ศึกษานิเทศก์ ร่วมประชุมเพื่อนำแนวคิดนี้ไปสู่การปฏิบัติ รวมถึงการนำไปใช้ในพื้นที่พิเศษด้วย เพราะการปรับการเรียนนั้น ต้องจัดโครงสร้างเวลาเรียนแนวใหม่ ที่ต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการศึกษาทางไกลอย่างเข้มข้นมากขึ้น เพื่อลดสัดส่วนเวลาเรียนในห้องเรียนให้น้อยลง

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องปลูกฝังคุณธรรม จิตสำนึกประชาธิปไตย โดยเสนอแนะเชิงนโยบายคือควรจัดสรรโควตา เกณฑ์การพิจารณารับนักเรียน นักศึกษาเข้าศึกษาต่อ โดยสพฐ.มีความเห็นว่า ควรจะส่งเสริมโครงการเด็กดีมีที่เรียนให้ต่อเนื่อง

ในปีการศึกษาที่ผ่านมาสพฐ.ลงนามความร่วมมือกับที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) รับโครงการเหล่านี้ไปขยายผลยังมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งยืนยันว่า นโยบายเรื่องนี้ควรจะดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

–ข่าวสด ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32521&Key=hotnews

‘ผชช.’ ศธ.ยันมีทุจริตสอบครูผู้ช่วย หลังวิเคราะห์กลุ่มแต้มสูงผิดปกติ

26 เมษายน 2556

เมื่อวันที่ 24 เมษายน นายชอบ ลีซอ อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการวัดประเมินผล และอนุกรรมการศูนย์ให้คำปรึกษาและติดตามผลการทุจริตสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมาของ ศธ. เปิดเผยถึงการวิเคราะห์คะแนนสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยครั้งที่ผ่านมา  ว่าได้วิเคราะห์ตามหลักการวัดประเมินผล ข้อมูลทุกอย่างได้มาจากเครื่องอ่านกระดาษคำตอบ หรือ OMR ที่จะมีข้อมูลของผู้เข้าสอบทุกคน จะรู้ว่าแต่ละข้อใครตอบอะไรบ้าง โดยผลการวิเคราะห์ที่ออกมาพบว่า กลุ่มที่ส่อว่าทุจริตการสอบจะมีคะแนนเกือบเต็มจาก 200 คะแนน หรือได้คะแนนร้อยละ 90 ขึ้นไป ซึ่งในจำนวนผู้ที่สอบบรรจุครูผู้ช่วยได้มีอยู่กว่า 300 คนที่ส่อว่าอาจทุจริตการสอบอย่างแน่นอน ซึ่งผลการวิเคราะห์นี้สามารถใช้เป็นหลักฐานนำไปประกอบการพิจารณายกเลิกผลการสอบของคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษาได้ เพราะสามารถชี้ชัดได้ว่าผู้เข้าสอบคนใดทุจริตหรือไม่ได้ทุจริต

ผศ.ดร.อดิศร เนาวนนท์ ประธาน อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 7 กล่าวว่า ข้อมูลผลการวิเคราะห์ของนายชอบนั้น ตนเห็นด้วยว่าเป็นประโยชน์ต่อการประกอบการพิจารณายกเลิกผลการสอบ แต่ก็ต้องนำเหตุปัจจัยอื่นมาพิจารณาด้วย เช่น ผลการสอบสวนของกรมสอบสวนคดีพิเศษ รวมทั้งข้อมูลจากผู้รับสารภาพกับ ศธ.ว่ามีการทุจริตการสอบ หากนำข้อมูลเหล่านี้มาดูแล้วมีน้ำหนักพอ และทาง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯต่างๆ กล้าตัดสินใจประกาศยกเลิก ก็สามารถทำได้ เพียงแต่จะยกเลิกทั้งหมด หรือเฉพาะราย เพื่อไม่ให้กระทบกับผู้สอบได้อย่างสุจริต

ด้านนายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า ได้มอบหมายให้ตั้งคณะกรรมการติดตามการดำเนินการของเขตพื้นที่ฯต่างๆ ในการจัดสอบครูผู้ช่วย กรณีทั่วไปประจำปี 2556 ซึ่งเบื้องต้นมีสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งความประสงค์จะเปิดรับสมัครสอบบรรจุ จำนวน 83 เขต รวม 731 อัตรา ใน 36 กลุ่มวิชาเอก จะเปิดรับสมัครวันที่ 29 เมษายน-5 พฤษภาคม ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบ 17 พฤษภาคม สอบภาค ก 22 มิถุนายน ภาค ข 23 มิถุนายน ภาค ค 24 มิถุนายน และประกาศผลสอบ 8 กรกฎาคม

–มติชน ฉบับวันที่ 26 เม.ย. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32520&Key=hotnews

 

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน

เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน
เมื่อครูกับนักเรียน (ไม่)ได้พบกัน

ครูก็อยากสอน นักเรียนก็อยากเรียน แต่ไม่ได้มาพบกัน
แต่จาก 3 ข่าวข้างล่างนี้

พอสรุปได้ว่า ปีนี้จะเปิดรับครู 731 อัตรา
แต่ปีนี้ครูจะเกษียณ 10,932 คน
แต่ประเด็นที่น่าสนใจ คือ มหาวิทยาลัยผลิตครู 29,000 คนต่อปี

.. รู้สึกว่าตัวเลขดูน่าจับตามนะครับ
.. รู้สึกอีกว่า ถ้าจับหลาย ๆ คนมาคุยกัน คงได้คำตอบ เสียแต่ว่าไม่คุย
http://cinema.theiapolis.com/movie-2SYC/bad-teacher/gallery/bad-teacher-ver2-xl-poster-1059117.html
http://news.mthai.com/world-news/215185.html

ข่าว .. แรก
นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผย
สพฐ.เปิดสอบครูผู้ช่วยปี 2556 จำนวน 731 อัตรา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32513&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สอง
จากสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา
ว่า วิกฤตครูจ่อเกษียณเกือบแสนคน ช่วงปี 56-60 “ก.ค.ศ.” แนะผลิตรองรับ
ปี 2556 – 2560 เกณียณรวม 97,254 คน มีรายละเอียดว่า
ปี 2556 จำนวน 10,932 คน
ปี 2557 จำนวน 15,541 คน
ปี 2558 จำนวน 20,661 คน
ปี 2559 จำนวน 24,689 คน
ปี 2560 จำนวน 25,431 คน
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32487&Key=hotnews

ข่าว .. ที่สาม
นายสุรวาท ทองบุ คณบดีคณะครุศาสตร์ ม.มหาสารคาม
บอกว่า เด็กเกิดน้อยลง แต่ผลิตครูกันตรึม
คณะครุศาสตร์/ศึกษาศาตร์ของสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 17 แห่ง
ผลิตครูรวมทั้งหมดประมาณ 29,000 คนต่อปี
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32211&Key=hotnews

แผนดีต้องมีการปฏิบัติ (Execution)

ในประสบการณ์การเป็นนักบริหาร หรือนักจัดการทุก ๆ ระดับ ทั้งในองค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้กับบทบาทหรือความรับผิดชอบในการพัฒนาแผนงานสำหรับหน่วย งานหรือองค์กรของทุกท่าน

! http://bit.ly/ZFUrY4
โดย ดรรชกร ศรีไพศาล ในหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

ดรรชกร ศรีไพศาล
ดรรชกร ศรีไพศาล

การเขียนแผนงานใด ๆ ทั้งแผนกลยุทธ์ระดับนโยบาย ระดับองค์กร ระดับหน่วยงาน หรือแม้แต่ในแผนงานระดับปฏิบัติการของส่วนงานต่างๆ ในองค์กร หากผู้เขียนแผนนั้น ๆ มีความรู้ ความเข้าใจ ถึง ความเป็นมา บทบาท พันธกิจ (Mission) และเป้าหมาย (Goal) ของหน่วยงานหรือองค์กรอย่างลึกซึ้ง การจะพัฒนาหรือเขียนแผนงานในแต่ละครั้ง ย่อมจะสามารถรังสรรค์ให้มีความน่าเชื่อถือ เป็นไปได้ที่จะปฏิบัติให้สำเร็จ และถือเป็นคัมภีร์ หรือคู่มือประกอบการปฏิบัติงานของส่วนงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในระดับบนหรือบริหาร ถึงระดับปฏิบัติการ

แต่การมีเพียงแผนงานที่ผ่านการศึกษา การค้นคว้า การวิจัย และวิเคราะห์ และพัฒนาหรือเขียนขึ้นอย่างเป็นระบบ มีความน่าจะเป็นในการปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ตามเป้าหมายที่กำหนดในแผนงาน นั้น ๆ ยังไม่อาจจะถือเป็นความสำเร็จของหน่วยงาน ขององค์กร หรือของนักบริหาร และแม้แต่ผู้พัฒนาและเขียนแผนงานนั้นๆ

หากแผนงานนั้นไม่สามารถที่จะ นำไปประยุกต์สู่การปฏิบัติให้เกิดผลสำเร็จได้ตามที่กำหนดในแผนงานที่ดีนั้น สุดท้ายแผนงานนั้นจะมีคุณค่าเป็นเพียงเอกสารกองหนึ่งที่ถูกจัดเก็บในลิ้นชัก หรือวางทิ้งให้เปื้อนฝุ่นบนโต๊ะทำงานของผู้เกี่ยวข้อง

แผนงานที่ดี จึงต้องประกอบด้วยความสามารถ และตั้งใจจริงที่จะปฏิบัติให้เกิดผลงานอย่างเป็นรูปธรรม หรือการ Execution ของนักบริหารและนักจัดการของหน่วยงาน และองค์กร เป็นส่วนประกอบสำคัญ

Execution เป็นคำหนึ่งที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในองค์กรธุรกิจ โดยเฉพาะในธุรกิจการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีถึงความหมายของการนำแผนงานการตลาด การโฆษณา หรือการประชาสัมพันธ์ ไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามที่ระบุในแผนงานที่พัฒนาขึ้นในแต่ละวาระ และการ Execution ได้เริ่มส่งผ่านความสำคัญมาสู่การบริหารในภาคส่วนต่าง ๆ ขององค์กร ทั้งในภาครัฐ และเอกชนเป็นจำนวนมากในระยะเวลาไม่ต่ำกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

ความสำคัญของ Execution มีมาก และมีความหมายต่อหน่วยงานหรือองค์กรอย่างมาก ดังจะพบได้ในบทสัมภาษณ์หนึ่งที่ผู้บริหารสถาบันการเงินแห่งหนึ่งในสหรัฐ อเมริกา ได้เคยกล่าวว่า “เขาสามารถที่จะลืมทิ้งแผนกลยุทธ์ขององค์กรได้ โดยจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อองค์กร เพราะบริษัทหรือคู่แข่ง จะไม่สามารถนำแผนกลยุทธ์ของเขาไปปฏิบัติได้ ด้วยความสำเร็จในแผนกลยุทธ์ของเขา อยู่ที่ความสามารถในการ Execution แผนกลยุทธ์ มากกว่าตัวแผนกลยุทธ์นั้น

เชื่อว่าคำกล่าวข้างต้น คงเป็นความเห็นหนึ่งที่สอดคล้องกับประสบการณ์ตรงของนักบริหาร นักจัดการทุก ๆ ระดับ ที่เป็นทั้งผู้พัฒนาแผนงาน และย่อมหลีกเลี่ยงไม่พ้นในการเป็นผู้นำแผนงาน ทั้งที่พัฒนาขึ้นเอง หรือพัฒนาขึ้นโดยผู้อื่นไปสู่การปฏิบัติให้เกิดผลงานตามเป้าหมายที่กำหนดใน แผนงาน และต้องประสบกับปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินงานได้ตามแผนที่พัฒนาขึ้นมาอย่างสวยหรูนั้น

ทางออกหนึ่งเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหาการ Execution แผนงาน ที่นักบริหาร และนักจัดการนิยมใช้ คือ การกำหนดเป้าหมายในแผนงานให้มีความสะดวกในการปฏิบัติได้จริง หรือไม่ไกลเกินเอื้อมของผู้เกี่ยวข้อง เช่น การกำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือการรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงเท่าเดิม หรือการรักษาศักยภาพการดำเนินงานในระดับเดิม หรือเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เป็นต้น ซึ่งจะทำให้ง่าย และสะดวกต่อการ Execution แผนงานให้ประสบความสำเร็จ แต่อาจจะเป็นแนวทางบ่อนทำลายศักยภาพที่แท้จริงของหน่วยงานหรือองค์กรในเวลา เดียวกัน ดังจะเห็นหรือพิจารณาได้จากองค์กรต่าง ๆ ในประเทศไทย ที่มีผลการดำเนินงานอันน่าเป็นห่วงอยู่ในปัจจุบันนี้

และสังคมปัจจุบันคงปราศจากความก้าวหน้า และความน่าตื่นตา ตื่นใจในเทคโนโลยีใหม่ต่างๆ ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของเราในวันนี้ หากขาดนักบริหาร นักจัดการ ที่กล้าท้าทายความสามารถของตนเอง และ Execution ให้เกิดผลงานอันเป็นรูปธรรมให้ปรากฏแก่โลกในทุกวันนี้

การ Execution จึงอาจจะเป็นสิ่งน่ากังวลสำหรับนักบริหาร นักจัดการบางคน บางกลุ่ม หรือในบางองค์กร แต่สำหรับนักบริหาร นักจัดการที่มีความสามารถ จะเห็นเป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาองค์กรเท่านั้น และยิ่งในแผนงานมีความยากมากเพียงไร ยิ่งเป็นความท้าทายความสามารถของนักบริหาร นักจัดการ มากเสียกว่าจะพิจารณาให้เป็นปัญหา หรืออุปสรรคในการดำเนินงาน

ถึงอย่างไร ความสำเร็จเบื้องต้นขององค์กรต่างๆ ย่อมมีแผนการดำเนินงานที่มีคุณภาพเป็นคัมภีร์การดำเนินงานขององค์กร ซึ่งแผนการดำเนินงานที่ดี มีคุณภาพเพียงไร ย่อมยากที่จะปฏิบัติให้ประสบความสำเร็จได้ตามเป้าหมาย แต่หากนักบริหาร นักจัดการขององค์กร มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถในการ Execution แผนงาน ย่อมสร้างความได้เปรียบแก่องค์กรในการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จได้

และการ Execution ในแต่ละแผนการดำเนินงาน ของสำหรับหน่วยงานหรือองค์กร ย่อมต้องประกอบด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ ผู้บริหาร และผู้ปฏิบัติงาน

ในส่วนของผู้บริหาร ที่จะ Execution แผนงานได้ดี จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ คือ มีประสบการณ์ กล้าตัดสินใจ และสามารถสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้

ประสบการณ์ในการทำงาน หรือการบริหาร จะเป็นเครื่องมือสร้างจินตนาการถึงผลลัพธ์ของแผนงานนั้นๆ และส่งทอดเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ ไปสู่กระบวนการตัดสินใจที่กล้า และถูกต้องของผู้บริหาร ก่อนจะสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานในแต่ละระดับเกิดความเข้าใจ เชื่อมั่น และมุ่งมั่นในแนวทางการดำเนินงานได้ในท้ายที่สุด

ในส่วนของผู้ปฏิบัติงาน แม้จะเป็นเพียงฟันเฟืองชิ้นเล็กขององค์กรหรือหน่วยงาน แต่หากขาดความพยายามในการที่จะปฏิบัติงานตามความรับผิดชอบของตนให้ประสบความ สำเร็จ ย่อมส่งผลกระทบต่อเนื่องไปสู่ส่วนงานอื่นๆ ได้ เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ซื้อวัตถุดิบไร้คุณภาพ ฝ่ายผลิตย่อมผลิตได้แต่สินค้าด้อยคุณภาพ ยากที่ฝ่ายการตลาดจะแข่งขัน เพื่อจำหน่ายหรือขายได้ เป็นต้น

ถึงอย่างไร ในท้ายที่สุด ทั้งการจัดทำแผนงานที่ดี คุณสมบัติของผู้บริหารที่เหมาะสม ความเข้าใจ เชื่อมั่น และมุ่งมั่นของผู้ปฏิบัติงาน ล้วนมีที่มาจากผู้บริหารทั้งสิ้น ดังนั้น ความล้มเหลวของการดำเนินงานตามแผนธุรกิจ หรือแผนการดำเนินงานของหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร จึงเป็นความรับผิดชอบของบุคคลที่ดำรงสถานะผู้บริหารโดยไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

! http://blog.nation.ac.th/?p=2589

อาชีวะชง ครม.เพิ่มเงินอุดหนุนขยับค่าอุปกรณ์วิชาชีพ 2,000 บาท/คน/ปี

25 เมษายน 2556

นายชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) เตรียมเสนอขอเพิ่มเงินอุดหนุนตามโครงการเรียนดีเรียนฟรี15 ปี อย่างมีคุณภาพต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยเป็นการเสนอขอเพิ่มเติมในส่วนของค่าอุปกรณ์ฝึกปฏิบัติการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน นักศึกษาสายอาชีพในแต่ละสาขาวิชา เนื่องจากผู้เรียนสายอาชีวะทุกคนต้องมีเครื่องมือประจำตัวเพื่อใช้ในการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา ซึ่ง สอศ.สำรวจพบว่าเครื่องมือในแต่ละสาขา มีราคาสูงกว่า 2,000 บาท ขณะที่งบฯที่ได้รับอุดหนุนในส่วนของค่าอุปกรณ์การเรียนที่ผ่านมา จะได้รับเพียง 230 บาทต่อคนต่อเทอม หรือแค่ 460 บาทต่อคนต่อปี ส่งผลให้ผู้ปกครอง ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มในส่วนนี้ค่อนข้างมาก โดยหลายคนบ่นว่าบุตรหลาน ไม่ได้เรียนฟรีจริง ขณะที่ผู้เรียนหลายคนที่เข้ามาเรียนก็ออกกลางคันเนื่องจากไม่สามารถจ่ายเงินค่าเครื่องมือการเรียนที่เพิ่มเติมได้

“ค่าอุปกรณ์การเรียนของเด็กอาชีวะจะต่างจากเด็ก สพฐ. เพราะอุปกรณ์การเรียนไม่ได้มีแค่สมุด ปากกา ดินสอ ยางลบ หรือไม้บรรทัดแต่จะต้องมีเครื่องมือพื้นฐานในการประกอบอาชีพของแต่ละสาขาวิชา ซึ่งจะต้องเป็นเครื่องมือประจำตัว โดยนอกจากจะนำไปใช้ในการเรียนการสอนแล้ว เมื่อเรียนจบก็สามารถนำไปเป็นตัวตั้งต้นในการใช้ประกอบอาชีพได้ด้วย อย่างไรก็ตาม แม้เด็กปวช.จะได้รับการอุดหนุน ให้เรียนฟรีจริง แต่จะต้องหาเงินมาใช้จ่ายในส่วนนี้เพิ่มเติมดังนั้น สอศ.จึงต้องหางบฯ มาช่วยสนับสนุนตรงส่วนนี้ ทั้งนี้การเพิ่มเงินอุดหนุนคงจะเริ่มได้ในปีการศึกษา 2557 โดยการเพิ่มเงินจะจัดสรรให้แก่เด็กอาชีวะไม่เท่ากันในทุกสาขาวิชา และทุกชั้นปี ซึ่งชั้นปี 1 อาจจะได้รับมากกว่าปี 2 และ 3 เพราะอุปกรณ์บางชิ้นที่ซื้อตั้งแต่ปี 1 อาจจะใช้ได้ตลอดจนจบการศึกษา”

เลขาธิการ กอศ.กล่าวและว่า ส่วนค่าเครื่องแบบนักเรียนนั้น หากกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) มีการปรับเพิ่มตามต้นทุนที่สูงขึ้น ทางสอศ.ก็คงต้องเสนอขอปรับเพิ่มเช่นกัน ถึงแม้ว่าเด็กอาชีวะจะได้รับเงินค่าเครื่องแบบนักเรียนในอัตราที่สูงกว่าเด็กสพฐ.โดยได้รับ 900 บาทต่อคนต่อปี แต่เมื่อทุกส่วนมีการปรับราคาชุดเพิ่มขึ้น เครื่องแบบเด็กอาชีวะก็น่าจะปรับเพิ่มเช่นกัน

ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามรัฐ

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32515&Key=hotnews