บทเรียนจากหัวหน้า 7 เรื่อง

เล่าสู่กันฟัง .. เป็นบทเรียนจากหัวหน้า
ผมบันทึกไว้อ่าน เป็นเครื่องช่วยจำครับ
4 ก.พ.57 ท่านให้แนวทางในการทำงานไว้ 7 ข้อ

1. เรื่อง เขียนบันทึกต้องละเอียด
ถ้าต้นเรื่องทำบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบส่วนไหน มี หรือไม่มีงบ
จะได้ใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ประกอบการพิจารณาอย่างเหมาะสม
2. เรื่อง อย่างนิ่งดูดายต่อคำถาม
เมื่อมีคำถามต่อบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
มาทางอีเมลถึงทุกคน แล้วคนที่คิดว่ามีข้อมูลต่อคำถามก็ต้องชี้แจงไป
และก็ต้องช่วยกันสะกิดสะเกาให้ตอบไป เรื่องจะได้เดินต่อ
3. เรื่อง ห้ามเขียนงบอื่น ๆ
หลายองค์กรตั้งงบประมาณว่า อื่น ๆ หรือถัวเฉลี่ย
แต่บริบทของเราทำไม่ได้ ต้องชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
เราผ่านการปฏิรูปมาแล้วนะ ต่อไปอย่าตั้งมาอย่างนั้น
4. เรื่อง ไปดูงาน ไม่ใช่ไปเที่ยว
การดูงานในอดีต มีรายการท่องเที่ยวแฝงอยู่มาก
หลายสถาบันยกเลิกการดูงานว่าเป็นเงื่อนไขของหลักสูตร
ถ้าดูงานก็ต้องดูกันจริง ๆ ดูแล้วน.ศ.ก็ต้องกลับมาทำรายงานผลด้วย
5. เรื่อง ถ้าตั้งใจก็เรียนได้ เรื่องจ่ายผ่อนเอา
ภาครัฐสนับสนุนการศึกษา ออกกฎว่า ขั้นพื้นฐานไม่มีเงินก็เรียนได้
ถ้าจัดการแยกว่า คนที่มีกับคนไม่มี ต้องปฏิบัติต่างกัน จะทำให้จัดการยุ่งยาก
ตอนนี้ระดับอุดมฯ คุมที่ใบรับรอง คือไม่มีเงินก็เรียนได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ไม่มีเงินก็เข้าสอบได้ ถ้าสอบผ่าน แต่ไม่จ่าย ก็ไม่ออกใบรับรองให้
6. เรื่อง ขู่นักศึกษา เขาอาจเก็บกระเป๋านะ
ปัญหาการสื่อสาร การขู่ให้กลัวก็ดีอย่างหนึ่ง จะได้ “ฮึกเหิม”
แต่อาจเกิดผลกระทบทางลบได้ เช่น “ไม่ตั้งใจเรียน ระวังไม่จบนะ”
คนที่ไม่ตั้งใจเรียนก็พาลใจเสีย ต้องดูแลใกล้ชิด เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ทำความเข้าใจ
7. เรื่อง ระบบของคนเซ็นรับตัง กับระบบของเรา
หลักฐานทางราชการ ต้องทำความเข้าใจเรื่องใครเซ็น
เพราะเข้าท้องพระคลังไปแล้วออกยากครับ
ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นต้องรู้ว่าการเซ็นรับตัง มีเงื่อนไขอย่างไร
เพราะคนรับเขาก็มีระบบ เราก็มีระบบ ต้นกลางปลายมีระบบหมด
ต้องสรุปให้ได้ว่า หลักฐานแบบใดที่จะให้คนนอกเซ็น
จึงจะ happy ทุกฝ่าย ทั้งหมดขึ้นกับต้นเรื่องที่ต้องเข้าใจ

งบประมาณปี 2556 กระทรวงศึกษาอันดับ 1 ได้ 4.6 แสนล้าน
http://thaipublica.org/2012/08/the-budget-2556/

ปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหนกันแน่ ที่นี่มีคำตอบ
http://www.anantasook.com/thai-education-problem/

หนุนส่งออกเด็กสหกิจศึกษาฝึกงานต่างแดน

27 มกราคม 2557

โพสต์ทูเดย์ สมาคมสหกิจศึกษาโลกดันแผนส่งเด็กไทยฝึกงานต่างแดน ปั้นบุคลากร 70 มหาวิทยาลัยช่วยเดินแผน

นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานร่วมสมาคมสหกิจศึกษาโลก เปิดเผยว่า ในปี 2557 นี้ สมาคมได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสมาคมสหกิจศึกษาไทย ร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถเตรียมความพร้อมในการส่งนิสิต-นักศึกษา

เข้าร่วมฝึกงานระยะยาวโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ในต่างประเทศได้
“โครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์เป็นสิ่งสำคัญมากในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเพราะจะทำให้เด็กไทยได้มีโอกาสทำงานร่วมคนต่างชาติจริงๆ ได้เห็นมุมมอง ได้ปรับตัว ได้เตรียมความพร้อม รองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์” นายสัมพันธ์ กล่าว

ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการอบรมบุคลากรกว่า 100 คน จาก 70 มหาวิทยาลัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของสหกิจศึกษาอินเตอร์ เข้าใจมาตรฐานใหม่ กระบวนการบริหารจัดการ และจัดการศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับการส่งนิสิต-นักศึกษาไปต่างประเทศ โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้านนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทยและอดีตรมว.ศึกษาธิการ ร่วมเป็นวิทยากร

หลังการอบรมครั้งดังกล่าว แต่ละสถาบันการศึกษาจะทดลองนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถาบันของตัวเอง และวางแผนการดำเนินงานส่งนักศึกษาไปเข้าโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ยังต่างประเทศ จากนั้นจะส่งแผนกลับมายัง สกอ.และสมาคมสหกิจศึกษาโลกอีกครั้ง เพื่อประเมินและวางเป้าภาพรวมการส่งนักศึกษาออกไปต่างประเทศร่วมกัน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการจัดอบรมครั้งต่อๆ ไปในปี 2557 นี้

ที่ผ่านมา ไทยส่งนักศึกษาร่วมโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ไปต่างประเทศจำนวนน้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทางภาคใต้ ไปร่วมโครงการสหกิจศึกษาในมาเลเซีย เนื่องจากใช้ภาษาใกล้เคียงกัน สามารถสื่อสารกันได้นับจากนี้ต้องมีเป้าหมายไกลขึ้น เช่นประเทศอื่นในอาเซียนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป –

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35537&Key=hotnews

หลักสูตรผลิตครู ป.ตรี ย้ำปีการศึกษา 57 ใช้หลักสูตรพื้นฐานใหม่ ข่าวทั้งหมด

20 มกราคม 2557

หลักสูตรผลิตครู ป.ตรี ย้ำปีการศึกษา 57 ใช้หลักสูตรพื้นฐานใหม่

จากกรณีที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) เตรียมเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่ได้วิจัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยสรุปว่า ไม่ควรเร่งนำหลักสูตรใหม่ไปใช้ในปีการศึกษา 2557 และเสนอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนครู โดยเน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นนั้น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตนเห็นด้วยว่าควรปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครู แต่ยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนครูถือเป็นเรื่องยากที่สุด และที่สำคัญ คือ เวลานี้หน่วยงานที่ดูแลการพัฒนาครูโดยเฉพาะสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ก็มีปัญหาอยู่ ดังนั้นจึงต้องมองไปที่การปรับระบบการผลิตครูใหม่ แทนการปรับเปลี่ยนครูที่สอนอยู่ในเวลานี้

“หลักสูตรผลิตครูในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ที่ต้องการครูที่สอนได้ทั่วไปเหมือนแพทย์จีพีที่ตรวจรักษาโรคทั่วไปได้ ขณะที่การผลิตครูระดับปริญญาตรีกลับให้เลือกวิชาเอกที่แยกเป็นเอกประถมศึกษา เอกมัธยมศึกษา เอกวัดผล หรือเอกแนะแนว แต่พอส่งลงสนามจริง ๆ กลับสอนหนังสือในวิชาทั่วไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนการสอนด้วยระยะเวลาสั้น ๆ คงทำไม่ได้” ศ.พิเศษ ดร. ภาวิช กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามตนได้เสนอต่อสถาบันผลิตครูไปแล้ว ว่า ควรผลิตครูทั่วไปในระดับปริญญาตรี และผลิตครูวิชาเอกในระดับปริญญาโท ซึ่งฝ่ายผลิตครูก็ไม่ได้ท้วงติงอะไร โดยเร็ว ๆ นี้จะหารือในรายละเอียดอีกครั้ง

ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า ส่วนการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ไปใช้นั้น เบื้องต้นมีความเห็นร่วมกันว่าหลักสูตรใหม่ควรนำไปใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 นี้ แต่จะใช้พร้อมกันทั้งประเทศ หรือใช้เฉพาะชั้น ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 หรือ ใช้ในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) และช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) หรือใช้ เฉพาะโรงเรียนนำร่องก่อน ทั้งนี้ ในวันที่ 31 มกราคมนี้ จะมีการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานในภาพรวมอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 ม.ค. 2557 (กรอบบ่าย)-

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35457&Key=hotnews

ข้อสอบข้อนี้ตอบอะไรดีนะ

มีโอกาสทำข้อสอบ .. ข้อหนึ่ง
ข้อนี้อ่านแล้วก็รู้สึกไม่มั่นใจว่าที่ถูกคือข้อใด
ในโลกแห่งความเป็นจริง
คำว่า true กับ false ห่างกันนิดเดียว
เพราะเกณฑ์ที่ใช้ ไม่ได้เป็นของตาย เป็นสิ่งที่ดิ้นได้
แล้วเกิดจากความรู้สึกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ออกกฎ

หลายคนบอกว่าให้เชื่อตัวเอง
ผมว่าคนที่เขาออกกฎก็คงคิดว่าตนถูกแล้วหละ
อย่างเพลง “ผู้ชนะ” มีท่อนหนึ่งบอกว่า
อย่าฟังคำคน อย่าสนใจใคร อย่าเปลี่ยนแนว คนแน่แน่วเท่านั้น ผู้ชนะ

คลิ๊ปนี้แยกลำโพงซ้ายขวา

ในชีวิตจริง เราทุกคน เป็นคนถูกหมด และเป็นผู้ชนะครับ
ไม่งั้นเราคงไม่เบียดเบียนสัตว์มากมาย
แล้วบอกว่าพบพวกสัตว์เกิดมาเพื่อเรา .. เพื่อให้เราได้อยู่ต่อไป

ทัวร์อาคารเรียน ห้องประชุม และห้องเรียน

15 ม.ค.57 พาชมห้องเรียน และห้องประชุม
บริเวณชั้น 2 ในอาคารบริหารธุรกิจ
รวม 9 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 643 ที่นั่ง

ประกอบด้วย
1. ห้อง Auditorium = 309 ที่นั่ง
2. ห้อง 1203 = 54 ที่นั่ง
3. ห้อง 1204 = 24 ที่นั่ง
4. ห้อง 1205 = 30 ที่นั่ง
5. ห้อง 1206 = 40 ที่นั่ง
6. ห้อง 1207 = 40 ที่นั่ง
7. ห้อง 1208 = 66 ที่นั่ง
8. ห้อง Lab3 = 50 ที่นั่ง
9. ห้อง 1209 = 30 ที่นั่ง

เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ หรือผู้สนใจที่ต้องการ
มาใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม

เผยร่างแผนแม่บทไอซีที ศธ. ดันเด็กไทยเข้าถึงเน็ตใน 5 ปี

10 มกราคม 2557

นายจาตุรนต์ ฉายแสง ปฏิบัติหน้าที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยผลการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการจัดทำร่างแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ศธ. พ.ศ.2557-2559 ซึ่งเป็นแผนที่จะใช้ในการขับเคลื่อนงานไอซีทีเพื่อการศึกษาทั้งระบบ โดยขณะนี้มีความคืบหน้ากว่า 70% แล้ว ซึ่งขั้นตอนต่อไปต้องทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่ายและนำผลที่ได้มาสรุปเพื่อปรับปรุง ทั้งนี้แผนแม่บทฯ ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ ได้แก่

1.เพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถของผู้สอน และบุคลากรทางการศึกษาในด้านไอซีที

2.พัฒนามาตรฐานสาระความรู้สื่อการเรียนรู้แบบอิเล็กทรอนิกส์

3.พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านไอซีที

4.พัฒนาระบบไอซีทีเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการ และ

5.ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการศึกษา

นางสุทธศรี วงษ์สมาน ปลัด ศธ. กล่าวว่า ที่ประชุมเน้นย้ำว่าแผนแม่บทฯ จะต้องครอบคลุมและกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน ว่าควรจะให้ไอซีทีเข้าถึงสถานศึกษาทุกแห่งได้ภายในปีใด และดำเนินการอย่างไร ส่วนเป้าหมายที่จะทำให้ไอซีทีเข้าถึงกลุ่มเด็กและเยาวชน ภายใน 5 ปี ก็จะต้องมาดูว่าจะพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานอะไรมารองรับ และต้องใช้งบประมาณเท่าใด เพื่อให้เด็กไทยทุกคนได้เข้าถึงอินเตอร์เน็ตภายใน 5 ปี ส่วนเรื่องเนื้อหาก็จะต้องมีระบบคัดกรองเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์ อีกทั้งการพัฒนาครูและบุคลากรก็ต้องกำหนดให้ชัดเจนว่าจะต้องมีนักเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในแต่ละสถานศึกษาภายในปีใด จำนวนเท่าใด

ที่มา: http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35358&Key=hotnews

กพฐ.ให้โรงเรียนเลื่อนปิดเทอมได้ พิจารณาตามความเหมาะสม

10 มกราคม 2557

กพฐ.ให้แต่ละโรงเรียนพิจารณาถึงความเหมาะสม หากต้องเลื่อนกำหนดปิดภาคเรียนออกไป หลังการชุมนุมกระทบตารางเรียน เชื่อไม่กระทบ ม.3, ม.6 ที่ต้องไปศึกษาต่อ

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การชุมนุมของกลุ่ม กปปส. ส่งผลให้หลายโรงเรียนต้องปิดการเรียนการสอน ในวันจันทร์ที่ 13 มกราคม รวมถึงโรงเรียนต่างๆ ในพื้นที่ชุมนุมต้องหยุดการเรียนการสอนเป็นระยะ กพฐ. ได้มีหนังสือแจ้งไปยังแต่ละโรงเรียนแล้วว่า หากการชุมนุมกระทบกับตารางเรียนตามปกติ ก็ให้มีการจัดเรียนชดเชยให้ครบตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 20 สัปดาห์ โดยอาจเลื่อนกำหนดการปิดภาคเรียนออกไปได้ตามความเหมาะสม

ส่วนปัญหาการเรียนไม่ทันที่จะนำไปใช้สอบปลายภาคนั้น ได้กำชับให้สถานศึกษาดำเนินการตามสมควร ซึ่งหลายโรงเรียนได้มีการแก้ปัญหาด้วยการจัดการเรียนการสอนแบบออนไลน์บ้างแล้ว ส่วนนักเรียน ม.3 และ ม.6 ที่จะต้องเตรียมตัวไปศึกษาต่อ เชื่อว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด

ที่มา: http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35354&Key=hotnews

คำต่อคำ เจษฎา-อนันต์ วิวาทะการเมือง นักวิชาการจุฬาฯ ตอน 1 และ 2

เจษฎา เผยจะล้มรัฐบาลด้วยการไปกากบาท ชี้การเมืองถ้ายังเป็นแบบนี้ไม่พ้นเมษาสงครามกลางเมืองแน่ เครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรม ระบุเมื่อได้ข้อมูลไม่รอบด้าน การเลือกตั้งแม้จะ 1 คนกา 1 เสียง มันก็ไม่เท่าเทียม
6 ม.ค.2557 เมื่อเวลา 17.26 น.  รายการสรยุทธเจาะข่าวเด่น ทางช่อง 3 ได้เผยแพร่ใน ประเด็น “2 มุมมองการเมืองจากนักวิชาการจุฬาฯ” โดยมีผู้ร่วมรายการคือ อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล  อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในนามเครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรม ซึ่งขึ้นเวที กปปส. ที่ราชดำเนินมาเป็นครั้งคราวแล้ว กับ รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวะวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งล่าสุดโพสต์ข้อความชาวจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำไปสู่ความรุนแรง โดยตลอดรายการประมาณ 20 นาที เป็นการสนทนาการในประเด็นสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน การเลือกตั้ง  ก.พ.นี้ การปิดกรุงเทพของ กปปส. สงครามการเมือง เป็นต้น
http://prachatai.com/journal/2014/01/50974

‘อนันต์’ ชี้ ปัญหาการเลือกตั้ง นักการเมืองขาดจริยธรรม ผู้เลือกตั้งไม่ทันเล่ห์นักการเมือง ‘เจษฎา’ แย้งโลกมันเปลี่ยนไปแล้ว คนรู้มากขึ้น ระบุคน ตจว.อาจรู้เรื่องการเมืองมากกว่ากทม. ลงท้ายด้วยต่างปราถนา “ภราดรภาพ”
7 ม.ค.2557 เมื่อเวลา 17.20 น. รายการสรยุทธเจาะข่าวเด่น ทางช่อง 3 ได้เผยแพร่ใน ประเด็น “2 มุมมองการเมืองจากนักวิชาการจุฬาฯ” ตอนที่ 2 โดยมีผู้ร่วมรายการคือ อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล  อาจารย์ประจำคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในนามเครือข่ายจุฬาเชิดชูคุณธรรม ซึ่งขึ้นเวที กปปส. ที่ราชดำเนินมาเป็นครั้งคราวแล้ว กับ รศ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีวะวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ซึ่งล่าสุดโพสต์ข้อความชาวจุฬาฯ เสียงส่วนน้อย ที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมที่จะนำไปสู่ความรุนแรง โดยตลอดรายการประมาณ 20 นาที เป็นการสนทนาการในประเด็นสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน การเลือกตั้ง  ก.พ.นี้ การปิดกรุงเทพของ กปปส. สงครามการเมือง เป็นต้น ต่อจากตอนที่ 1 เมื่อวานนี้
http://prachatai.com/journal/2014/01/50994

น่าสะเทือนใจกับการปิดกิจการของโรงเรียน

น่าสะเทือนใจกับการปิดกิจการของโรงเรียน
1. โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่
แจ้งการยกเลิกกิจการโรงเรียน 2 ธ.ค.2556
– โรงเรียนมีปัญหาด้านการค้างชำระเงินค่าธรรมเนียมการเรียนของนักเรียน เป็นเงินกว่า 5.3 ล้าน
– กิจการของโรงเรียนขาดทุน เนื่องจากรัฐบาลกำหนดให้มีการปรับอัตราเงินเดือนครูระดับปริญญาตรีเป็น 150,000 บาท
– การเปิดรับนักเรียนของโรงเรียนสังกัดอปท. ทำให้จำนวนนักเรียนลดลง
– ผศ.ดร.บุญณ์รัตน์ ไม่สามารถรับกับบริบทในการจัดการศึกษาของไทยในปัจจุบัน
– เจ้าของกิจการไม่ประสงค์จะสืบทอดกิจการ

2. 23 พ.ย.2553 โรงเรียนปัฐวิกรณ์วิทยา จะปิดกิจการแล้ว
น้องเขียนความรู้สึกต่อโรงเรียนได้สะเทือนใจครับ “ฉันอยู่โรงเรียนนี้มา 7 ปี ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 8 ฉันไม่เคยคิดว่าโรงเรียนแห่งนี้จะปิดกิจการลง เพื่อนและคุณครูทุกคนของฉันที่เคยอยู่ด้วยกันมาโดยตลอด ก็ต้องแยกจากกัน ความรู้สึกเก่าๆ มันก็ค่อยๆ จางหายไปเรื่อยๆ และในอนาคตโรงเรียนปัฐวิกรณ์แห่งนี้ก็คงกลายเป็นอดีตซึ่งทุกคนคิดถึงมัน และอยากให้มันกลับคืนมา ไม่มีใครรู้ว่าวันข้างหน้าโรงเรียนปัฐวิการณ์จะมีสภาพเป็นอย่างไร สุดท้ายฉันจะยังคงคิดถึงสถานที่แห่งนี้มาก และฉันจะจดจำไว้ว่าฉันเคยได้เรียนที่โรงเรียนปัฐวิกรณ์แห่งนี้…ลาก่อนปัฐวิกรณ์วิทยา…”
http://www.oknation.net/blog/Thailandneverdie2/2010/11/23/entry-1

3. 21 พ.ย.2551 ครูเอกชน เรียกร้องสภาช่วยดัน พ.ร.บ.ร.ร.เอกชน
เข้าสู่การพิจารณาเป็นวาระเร่งด่วน ระบุ หากช้าจะกระทบครู บุคลากร 40,000 คน
ได้รับความเดือดร้อน เผย มีโรงเรียนปิดกิจการไปแล้ว 13 แห่ง คาดปีหน้าปิดอีก 100 แห่ง
http://blog.eduzones.com/jipatar/13160

4. โรงเรียนเรวดี ปิดกิจการกลางปีพ.ศ.2553
http://www.komchadluek.net/detail/20090910/27888.html

5. โรงเรียนศึกษาสมบูรณ์อนุสรณ์ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี๒๔๐๔
ขอเลิกกิจการโรงเรียน ปีพ.ศ.2554
http://www.dek-d.com/board/view/2057937/

* โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่ ใน facebook
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=416236941813378&set=o.109357035752956

* โรงเรียนสิริมังคลานุสรณ์เชียงใหม่ ในมติชน
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1388838647&grpid=03&catid=&subcatid=

การพัฒนากำลังคนจากสถาบันสู่โรงงานมีความจำเป็นสูง

3 มกราคม 2557

นายจาตุรนต์ ฉายแสง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เปิดเผยถึง การเตรียมการพัฒนากำลังคนจากสถาบันการศึกษาสู่สถาบันอาชีพ ในงานเปิด “ชุมแพโมเดล:แนะแนวการเรียนรู้สู่อาชีพ” ว่า ได้มีการวิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็ง เพื่อใช้เป็นจุดเน้น ส่งเสริมและสร้างศักยภาพในการยกระดับพัฒนากำลังคนของประเทศ โดยเฉพาะการที่จะต้องใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ หรือเทคโนโลยีชั้นสูงในการผลิตและพัฒนา เพื่อให้ประเทศไทยมีคุณภาพของกำลังคน และมีฝีมือ-ทักษะที่สอดคล้องกับกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรมซึ่งถือเป็นสถาบันอาชีพในวิถีชีวิตของคนทุกคน เนื่องจากประเทศไทยกำลังแข่งขันกับประเทศต่างๆ ไปพร้อมกับการจะต้องมีความร่วมมือระหว่างกัน ซึ่งแต่ละประเทศกำลังปรับตัวและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันที่คนไทยจะด้อยกว่าเขาไม่ได้ เพราะหากมีการพัฒนากำลังคนดีจะส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจดีไปด้วย ยิ่งพัฒนากำลังคนได้ดีมากเท่าใด ก็จะช่วยผลักให้เศรษฐกิจดีขึ้นเท่านั้น และเมื่อเศรษฐกิจดีก็จะมีงบประมาณมาพัฒนากำลังคนต่อไป ทำให้ประเทศประสบความสำเร็จจากการศึกษาและการพัฒนากำลังคนที่ดี

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า เมื่อ 20-30 ปีก่อน ประเทศไทยถูกมองว่า อาจจะไม่สามารถพัฒนาประเทศได้ทันประเทศอื่นๆ ที่อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน เนื่องจากกำลังคนภาคการผลิตมีการศึกษาต่ำมาก ซึ่งก็เกิดขึ้นจริงๆ ในเวลาต่อมา เพราะแม้ว่าเศรษฐกิจของไทยจะเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับบางประเทศที่มีระดับการพัฒนาที่ใกล้เคียงกัน ประเทศเหล่านั้นก้าวหน้าไปไกลมาก เนื่องจากมีการพัฒนากำลังคนให้มีการศึกษาโดยเฉลี่ยสูงกว่าประเทศไทย และข้อมูลในปี 2008 ยังพบว่าแรงงานของไทยมีระดับการศึกษาที่ต่ำมากในขั้นน่าเป็นห่วง จึงเป็นหน้าที่ของ ศธ.ที่จะต้องศึกษาเพื่อหาคำตอบว่า เราจัดให้มีการศึกษาภาคบังคับ มีการเรียนฟรี 12 ปี แต่เหตุใดกำลังแรงงานไทยจึงมีการศึกษาต่ำ แล้วแรงงานเหล่านั้นเข้าสู่ระบบแรงงานเมื่อใด มีสัดส่วนเท่าใด จะต้องหาตัวเลขที่ชัดเจนต่อไป นอกจากนี้ แรงงานที่จบแค่ชั้น ม.3 กว่าแสนคนที่เข้าสู่ตลาดแรงงาน ซึ่งก็ไม่ได้เรียนต่อสายอาชีวะเพิ่มเติม จึงเป็นเรื่องที่สวนทางกับความต้องการของฝ่ายผลิตและภาคเอกชน ที่กำลังต้องการกำลังคนที่มีศักยภาพในการแข่งขันในระบบเศรษฐกิจที่กำลังเจริญเติบโต มีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ซึ่งหากการจัดการศึกษายังเป็นอยู่เช่นนี้ โอกาสที่จะไปแข่งขันกับประเทศใดก็เป็นเรื่องยาก

ที่มา: http://www.naewna.com

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35280&Key=hotnews