meeting

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
เรื่องเล่า พี่น้องศิษย์เก่า
ชาวอัสสัมชัญลำปาง

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
.
ศิษย์เก่าอาวุโส เขียนเล่า
เรื่องราวในกลุ่มเกียรติภูมิ อ.ส.ช. อยู่เสมอ
แล้วเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2567
พี่ชัยวัฒน์ สุรวิชัย เล่าเรื่องเป็นฉากเป็นตอน
ส่วนพี่ชัยศักดิ์ เลิศฤทธิ์ ส่งอัลบั้มรวมภาพมาให้ชม
.
สถานที่จัดกิจกรรม คือ ห้องกัลปพฤกษ์
สนามกอล์ฟธูปเตมีย์
.
งาน A.C.L. Alumni
สายสัมพันธ์ สืบสานประเพณีสระเกล้าดำหัว
บูรพาจารย์ และ ศิษย์เก่าอาวุโส
ของศิษย์เก่าอัสสัมชัญ ลำปาง
.
ด้วยบรรยากาศอบอุ่น
ด้วยความรัก ความสามัคคี
ความเคารพของลูกศิษย์
ต่อ ท่านภราดา และครูเก่า
ที่ได้เคยอบรมสั่งสอน
.
ด้วยมิตรไมตรีของรุ่นพี่รุ่นน้อง
เป็นที่ประทับใจ
ของ ผู้มาร่วมงานทุกท่าน
นี่คือ อัสสัมชัญลำปางโมเดล
.
สายสัมพันธ์
สืบสานงานประเพณี น้องพี่ 
A.C.L. Alumni
ร่วมกัน แสดงมุทิตาจิต
รดน้ำดำหัว บราเดอร์
คณะครูอาวุโส และ ศิษย์เก่าอาวุโส 
พร้อมร่วมสังสรรค์ระหว่างพี่น้อง
ชาวศิษย์เก่าอัสสัมชัญลำปาง
.
ปู่จิ๊บ มีความสุขและความภาคภูมิใจ
ในความเป็นชาวอัสสัมชัญลำปาง
และชาวลำปาง
.
ตลอดเวลาที่อยู่ในงาน ได้เห็น
รุ่นน้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
ทั้งชาย หญิง คนแก่ ผู้ใหญ่
และรุ่นหนุ่มสาว
.
มีความสุข สนุกสนาน
ทั้งจากการได้มาพบปะ
สังสรรค์ พูดคุย เล่าเรื่องชีวิต
โดยเฉพาะ ในช่วงเรียนหนังสือร่วมกัน
.
น้อง ๆ ขอให้ ปู่จิ๊บ ขึ้นไป
พูดความในใจ กล่าวปราศรัย
ในฐานะที่เป็นศิษย์เก่าอาวุโส
ที่มีส่วนร่วมในการสนับสนุน
กองทุนครูอาวุโสของโรงเรียนมาตลอด
.
ซึ่งใน คำกล่าวปราศรัย ตอนหนึ่ง
กล่าวว่า
“ขอให้พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
มีความรัก ความกตัญญู
และมีความสุข ตลอดไป”

คำกล่าวปราศรัย  มีดังนี้
.
พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปางที่รักทุกคน
วันนี้ เป็นวันที่ชาวอัสสัมชัญลำปาง
ที่มาร่วมงานมีความสุข และ
มีความภาคภูมิใจ
.
ความภาคภูมิใจ
ในความเป็นนักเรียนอัสสัมชัญลำปาง
อยู่ที่ เราได้ศึกษาเล่าเรียน
ในโรงเรียนที่ดีที่สุด
โรงเรียนหนึ่งของลำปาง
ที่คณะบราเดอร์ มาสเซอร์ ได้สอน
ให้เรามีความรู้ มีระเบียบวินัย
.
วิริยะ อุตสาหะ นำมาซึ่งความสำเร็จ
คือ คำขวัญ ที่นำเรา
และทำให้เราประสบความสำเร็จในชีวิต
และเมื่อเราได้ประสบความสำเร็จ
ในชีวิต ในการทำงาน
เราก็ได้แสดงความรัก ความกตัญญู
ต่อ  โรงเรียน และคณะครูของเรา
ในการช่วยเหลือสนับสนุน
และให้ความร่วมมือ
กับกิจกรรมของโรงเรียน
.
พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปางที่รักทุกคน
วันนี้ เรามีความสุขร่วมกัน ที่ได้มาร่วมงานในวันนี้ ใช่ไหมครับ
(  ใช่ . ใช่ . ใช่  )
ความเป็นชาวอัสสัมชัญลำปางที่ดีของเรา คือ
เรารัก เคารพ กตัญญู ต่อ บราเดอร์ ครู และโรงเรียนของเรา
เรารัก ลำปาง ที่เราเกิด เราได้เรียน และ
เรารัก เมืองไทย ที่ให้เราทุกอย่าง และทำให้เรามีความสำเร็จในวันนี้
.
วันนี้ คืนนี้
เราชาวอัสสัมชัญลำปาง
ได้มาร่วมงานที่ดีงาม
ได้แสดงมุทิตาจิต
รดน้ำดำหัวบราเดอร์มีชัย
ครูอาวุโสมาสเซอร์ และซิสเตอร์
รวมทั้งศิษย์เก่าอาวุโส
ได้แสดงความรัก ในความเป็นเพื่อน
เป็นพี่ เป็นน้อง ของชาวอัสสัมชัญลำปาง
เรามีความสุข สนุกร่าเริง เบิกบานหัวใจ
.
ขอให้พี่น้องชาวอัสสัมชัญลำปาง
มีความรัก ความกตัญญู
และมีความสุข ตลอดไป

พี่ชัยวัฒน์ สุรวิชัย
๒๗๐๔๒๕๖๗

https://www.tiktok.com/@burinrujjanapan/video/7363654542556204306

ACL Alumni

ตอน 1 สระเกล้าดำหัวบูรพาจารย์
เรื่องเล่า พี่น้องศิษย์เก่า
ชาวอัสสัมชัญลำปาง
#alumni
#association
#assumption
#college
#lampang
#friends
#teacher
#school
#writer
#aclalumni

แกะบันทึกดอกเตอร์มาเป็นบทเรียน ในประเด็นการประชุมกรรมการหลักสูตร

7 ตัวบ่งชี้ระบบ
7 ตัวบ่งชี้ระบบ

ดอกเตอร์ที่เป็นข่าวเขียนบันทึกไว้หลายหน้า อ่านแล้วก็ทำให้ตระหนัก
มีหัวข้อหนึ่งเกี่ยวกับเรื่อง การประชุมกรรมการหลักสูตรมีเรื่องต้องพิจารณา
ซึ่งมีประเด็นที่ท่านห่วง พอสรุปได้ดังนี้
– กำหนดแผนการศึกษาที่เข้าใหม่แต่ละเทอม [3+4]
– จัดตารางสอนของนักศึกษาใหม่ในเทอมแรก [3+4]
– การอนุมัติหัวข้อวิทยานิพนธ์/การค้นคว้าอิสระ [3.2]
– ทบทวนการจัดการเรียนการสอนที่ผ่านมา [5.3]

สำหรับเลขที่ต่อท้ายประเด็นข้างต้น มีความหมายดังนี้
เลข 3+4 สอดรับกับ องค์ประกอบนักศึกษา และอาจารย์
เลข 3.2 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การส่งเสริมและพัฒนานักศึกษา
เลข 5.3 สอดรับกับตัวบ่งชี้ การประเมินผู้เรียน รวมถึงกำกับการทำ มคอ.7
แล้วก็ไปอ่านเรื่องที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES)
ท่านได้วิเคราะห์ว่า “ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล”
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596
แล้ว หลักธรรมมาภิบาล มี 10 ข้อ
เป็นตัวบ่งชี้ระดับสถาบัน ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
เป็นตัวบ่งชี้ระดับคณะ ตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4
ซึ่งหลักธรรมาภิบาลอยู่ในคู่มือประกัน หน้า 40 และยากทุกข้อเลย
http://www.thaiall.com/blog/burin/7452/

งานประชุมที่ท่านพูดถึงถ้าไม่ทำก็ไม่ได้คะแนน
การได้คะแนนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย ๆ
การให้คะแนนตามเกณฑ์ระบบมี 5 ระดับคะแนน

คะแนน 1 มีระบบ มีกลไก
คะแนน 2 มีการนำระบบกลไกไปสู่การปฏิบัติ/ดำเนินการ มีการประเมินกระบวนการ
คะแนน 3 มีการปรับปรุง/พัฒนา/กระบวนการจากผลการประเมิน
คะแนน 4 มีผลจากการปรับปรุงเห็นชัดเจนเป็นรูปธรรม
คะแนน 5 มีแนวทางปฏิบัติที่ดี โดยมีหลักฐานเชิงประจักษ์ยืนยัน
และกรรมการผู้ตรวจประเมินสามารถให้เหตุผลอธิบายการเป็นแนวปฏิบัติที่ดีได้ชัดเจน

หากจะทำเป็นระบบกันจริง ๆ ก็มีตัวบ่งชี้ระบบ ซึ่ง สกอ. คิดขึ้นมา
ประเด็นที่ต้องมีระบบ ในทั้งหมด 7 ตัวบ่งชี้จาก 13 ตัวบ่งชี้ของหลักสูตร

3.1 การรับนักศึกษา และการเตรียมก่อนเข้าศึกษา
3.2 การควบคุมดูแลให้คำปรึกษา และพัฒนาศักยภาพศตวรรษที่ 21
4.1 ระบบการรับและแต่งตั้งอาจารย์ประจำหลักสูตร
ระบบการบริหารอาจารย์ และระบบการส่งเสริมและพัฒนาอาจารย์
5.1 ระบบควบคุมการออกแบบ และสาระรายวิชาในหลักสูตรให้ทันสมัย
5.2 ระบบผู้สอน กำกับ ติดตาม การบูรณาการพันธกิจ
การควบคุมหัวข้อ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และการช่วยเหลือตีพิมพ์
5.3 ระบบการประเมินผลการเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ
6.1 ระบบการดำเนินงานของภาควิชา/คณะ/สถาบันโดยมีส่วนร่วมของอาจารย์ประจำหลักสูตรเพื่อให้มีสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

http://www.thaiall.com/iqa/

ทัวร์อาคารเรียน ห้องประชุม และห้องเรียน

15 ม.ค.57 พาชมห้องเรียน และห้องประชุม
บริเวณชั้น 2 ในอาคารบริหารธุรกิจ
รวม 9 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 643 ที่นั่ง

ประกอบด้วย
1. ห้อง Auditorium = 309 ที่นั่ง
2. ห้อง 1203 = 54 ที่นั่ง
3. ห้อง 1204 = 24 ที่นั่ง
4. ห้อง 1205 = 30 ที่นั่ง
5. ห้อง 1206 = 40 ที่นั่ง
6. ห้อง 1207 = 40 ที่นั่ง
7. ห้อง 1208 = 66 ที่นั่ง
8. ห้อง Lab3 = 50 ที่นั่ง
9. ห้อง 1209 = 30 ที่นั่ง

เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ หรือผู้สนใจที่ต้องการ
มาใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

ตามที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดประชุมวิจัย วันที่ 9 ธ.ค.56
เรื่อง การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน
และมีการบันทึกคลิ๊ปการสัมมนาไว้ โดยท่านอธิการมีนโยบาย
ให้บันทึกคลิ๊ปไว้ และเปิดให้บุคลากรที่สนใจเข้ามาเรียนรู้
หรือนำไปใช้ในกิจกรรมวิชาการอื่นใดต่อไป

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม / การสัมมนา
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้สามารถขอสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนได้
2. เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารยย์ นักวิจัย และบุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ อันส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
3. เพื่อสร้างบุคลากรด้านการวิจัยของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และวิสัยทัศน์ในการวิจัย

หากเพื่อนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ต้องการติดตามย้อนหลัง
หรือท่านที่ติดภารกิจ สามารถเข้าไปติดตามการบรรยาย ของวิทยากรทั้ง 6 ท่านได้
1. ศ.นพ.สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ บรรยายเรื่อง แหล่งทุนและทิศทางการวิจัยในประเทศ
Track ทั้ง 4 ของความก้าวหน้าในอาชีพ
1.1 ผลงานตีพิมพ์ วารสาร หนังสือ
1.2 สิทธิบัตร/นวัตกรรม/กระบวนการ/มูลค่าเศรษฐกิจ
1.3 ผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
1.4 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย กติกา
2. ศ.นพ.คม สุคนธสรรพ์ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3. รศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ศ.ดร.มนัส สุวรรณ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5. ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน บรรยายเรื่อง เขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน
6. นพ.วิจารณ์ พานิช บรรยายเรื่อง เทคนิคการจัดการองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัย
Organizational Knowledge Creation : SECI Model
– Socialization
– Externalization
– Combination
– Internalization

แหล่งภาพ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1442035516015857.1073741856.1399580723594670

ข้อมูลโครงการ และกำหนดการ
ที่ http://www.scribd.com/doc/189761687/

ปัญหาแท้จริงคืออะไร ตอบได้ด้วย why-why analysis

why why analysis
why why analysis

http://www.syque.com/improvement/Why-Why%20Diagram.htm

มีโอกาสประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้  เรื่อง “ประสบการณ์ในการทำหน้าที่ประธาน/กรรมการประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน” เมื่อวันที่ 29 เม.ย.56 แล้ว 30 ก็เป็น http://www.cheqa.mhesi.go.th/ ซึ่งผลของการนำเสนอในวันที่ 29 มาจากข้อมูลในระบบ cheqa จึงเห็นภาพในวันที่ 30 ว่านำข้อมูลส่วนใดไปวิเคราะห์ และระบบช่วยป้องกันจุดตรวจสอบ (check point) ในอนาคตอย่างไร

เริ่มจาก ศ.เกียรติคุณ ดร.กิตติชัย วัฒนานิกร ฉายภาพรวมว่ามาทำอะไร จะเห็นอะไรในวันนี้ แล้ว ผศ.ประเสริฐ อัครประถมพงศ์ ให้ความรู้เรื่องการวิเคราะห์ว่ามีเครื่องมือชื่อว่า Root cause analysis, why-why analysis และ 5W1H แล้วก็หนุนให้ทำ KM และมีภาพน้ำแข็งที่ลอยกับที่จม หากไม่รู้ก็อาจชน ถ้าน้ำแข็งที่จมอยู่ก็นำมาใช้ไม่ได้ เป็นต้น ผศ.ดร.จินดา งามสุทธิ แจ้งว่า graph เส้นในเอกสารขอเปลี่ยนเป็นแท่งจะเหมาะสมกว่า  ซึ่งผลการศึกษา “ความสามารถด้านการประเมิน (Evaluation capacity)” จากข้อมูลปี 2553 และ 2554 จำแนกเป็น 6 องค์ประกอบ

! http://www.mua.go.th/users/bhes/bhes2/qa%20exc56/qa%20exc2556.html
! http://photopeach.com/album/xw38dn?ref=more

ความสามารถด้านการประเมิน มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้

1. การรวบรวม ตรวจสอบ บันทึกข้อมูลครบถ้วนในระบบ CHE
1.1 บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
1.2 รายนามคณะผู้ประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน
1.3 สรุปข้อมูลพื้นฐานของสถาบัน
1.4 การวางแผนและการประเมิน (ก่อน ระหว่าง และหลังการตรวจเยี่ยม)
1.5 วิธีการตรวจสอบและความน่าเชื่อถือของข้อมูล

2. การให้ข้อสรุปเชิงประเมิน (Evaluative conclusion) ตามองค์ประกอบ/มาตรฐาน
เป็นการตรวจสอบความครบถ้วนของการลงข้อสรุป การแปลผล ตาม ป.2 – ป.5
2.1 จุดแข็ง/จุดอ่อน แนวทางเสริมจุดแข็ง/จุดที่ควรพัฒนา
2.2 ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงพัฒนา
2.3 ข้อสรุปตามองค์ประกอบคุณภาพ
2.4 ข้อสรุปตามมาตรฐานการอุดมศึกษา
2.5 ข้อสรุปตามมุมมองด้านการบริหารจัดการ

3. การตรวจสอบยืนยันความถูกต้องของข้อมูล CDS
3.1 การยืนยันข้อมูลตัวบ่งชี้ สมศ. และสำนักงาน ก.พ.ร.
3.2 การตรวจสอบการเขียนผลประเมินที่สอดคล้องกับ CDS
3.3 ความสามารถในการตรวจสอบข้อมูลที่ไม่สมเหตุสมผล
3.4 การเขียนสรุปผลประเมินสอดคล้องกับตัวเลข ตาราง ป.2- ป.5

4. การให้ข้อเสนอแนะที่สอดคล้องกับจุดแข็งจุดอ่อน (SWR) ตามบริบทของสถาบัน
ความสมเหตุสมผลของการให้ข้อเสนอแนะ
ถ้าองค์ 7 ตกประเมิน แล้วจะบอกว่า ผู้บริหารมีวิสัยทัศน์ และบุคลากรทุกระดับมีความรู้ความตั้งใจในการทำงานไม่ได้

5. การตรวจสอบร่องรอยหลักฐานประกอบผลประเมิน
มีหลักฐานจริง จึงจะให้คะแนนตามเกณฑ์ได้

6. การจัดทำบทสรุปผู้บริหารตามหลักเกณฑ์ที่ สกอ.กำหนด
6.1 ชื่อหน่วยงาน จุดประสงค์การก่อตั้ง และกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาการปฏิบัติตามพันธกิจพร้อมพัฒนาการ
6.2 ผลการประเมินในภาพรวมตามองค์ประกอบคุณภาพ
6.3 ผลการประเมินในภาพรวมตามมาตรฐานการอุดมศึกษา
6.4 ผลการประเมินในภาพรวมตามมุมมองด้านการบริหารจัดการ
6.5 ผลการประเมินในภาพรวมตามมาตรฐานสถาบันอุดมศึกษา
6.6 จุดเด่น/แนวทางเสริม
6.7 จุดที่ควรพัฒนา/แนวทางแก้ไข
6.8 ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาทั้งระยะสั้นและระยะยาว

กรณีศึกษา 15 กรณีให้ชวนแลกเปลี่ยน
! http://www.eit.or.th/dmdocuments/plan/why_why_analysis_3.pdf

หลักสูตรฝึกอบรม why-why analysis เพื่อค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม ซึ่งเป็นเทคนิคที่สามารถค้นหาต้นตอของปัญหาไปพร้อมๆ กับแนวทางแก้ไขและป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น
! http://www.thaicostreduction.com/DocFile/Seminar/031%20why%20why%20analysis.doc

กระเป๋าโลกร้อน
กระเป๋าโลกร้อน

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=10151542200633895&set=a.450805098894.247019.814248894