book

อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ชาวจังหวัดลำปาง

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

https://www.thaiall.com/article/sakrattanachai.htm

โดยหนังสือที่นำมาทำอีบุ๊ก ได้รับความอนุเคราะห์ให้ยืมเล่มจาก อ.ป้อม หรือ อ.อาภาพร ซึ่ง อ.ศักดิ์ เคยขึ้นภาพ อ.ป้อม เป็นภาพปกคนแรกของข่าวออนไลน์ชื่อ #สกุลเมือง และผมไม่ได้ตัดปกเพื่อนำเข้าเครื่องสแกนแบบฟีดอัตโนมัติ แต่แกะแม็คแล้วใช้โทรศัพท์บันทึกภาพทีละหน้า แล้วนำเอกสารมาประกอบกลับให้เหมือนเดิม เพื่อนำไปคืน อ.ป้อม ประกอบกับร่างกายที่ไม่แข็งแรงเหมือนตอนหนุ่ม จึงทำให้งานอีบุ๊กมีแสงและเงาที่ไม่คมเหมือนเล่มเอกสาร

ได้ปรับอีบุ๊กโดยเพิ่มเติมเนื้อหาจากเล่มเอกสารอยู่ก่อนปกหลัง เป็นคำนิยมของหลายท่าน เช่น ท่านพุทธทาสที่ได้เขียนให้กับหนังสือแก้วตาแม่ ของ อ.ศักดิ์ ซึ่ง อ.เจี๊ยบ ได้ส่งภาพเพิ่มเติม แล้วโทรมาเล่าเรื่องราวของหนังสือที่นำไปทำละครเวที และพูดถึงผลงานเพลงที่ท่านได้แต่งไว้ ทำให้รู้ว่าหนังสือเล่มนี้ยังมีเนื้อหาประวัติและผลงานที่น่าเติมเต็มได้อีกมาก

นอกจากนี้มีผู้เกี่ยวข้อง สื่อทุกสำนัก สมาคม องค์กร มหาวิทยาลัย อาจารย์ นักศึกษา และชาวลำปาง ที่ร่วมกันไว้อาลัยการจากไปของ อ.ศักดิ์ มีการพูดถึงผลงานของท่านในสื่อสังคมอย่างแพร่หลาย เช่น เพลงร่ำเปิงลำปาง หนังสือการ์ตูนเมตตาธรรมค้ำจุนโลกา เรื่องแก้วตาแม่ และด้วยผลงานมากมายตลอด 95 ปีของท่าน ซึ่งการรวบรวมผลงานในเวลาอันสั้นแล้วนำไปถ่ายเอกสารออกมาเป็นรูปเล่มเอสีเกือบร้อยหน้า ที่มีคณะผู้จัดทำ คือ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง และลูกหลาน ดูจะเล่มเล็กเกินไปที่จะบอกเล่าผลงานของท่านได้ทั้งหมด

หากผู้สนใจต้องการตามรอยวิถีปราชญ์ของท่าน ต้องลองอ่านหนังสือดูครับ แล้วมาแลกเปลี่ยนพูดคุยกันได้ ซึ่งเชื่อว่า ถ้าผู้อ่านได้อ่าน ค้น และติดตามผลงานของท่านต้องมีอึ้งกันบ้างหละ เพราะผลงานแน่นทั้งปริมาณและคุณภาพจริงครับ

สารบัญใน หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ อ.ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ในแบบอีบุ๊กที่ อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด หรือ อ.เจี๊ยบ ที่เคารพของศิษย์เก่ารุ่นแรก ของ วิทยาลัยโยนก เมื่อ 30 กว่าปีก่อน ได้อนุญาตให้ผมได้ทำเป็นอีบุ๊ก เผยแพร่เป็นสาธารณะให้เยาวชนได้เรียนรู้ผลงาน และวิถีแห่งปราชญ์ด้านศิลปวัฒนธรรม ที่โดดเด่นเป็นที่ยอมรับระดับชาติ และมีผลงานมากมายหลายรูปแบบ ให้ได้อ่าน ได้ฟัง ได้ดู และปรับใช้สำหรับตน

อีบุ๊ก (e-book)
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 1 : scribd.com
 อีบุ๊ก แหล่งเผยแพร่ที่ 2 : pubhtml5.com

thai dance

สารบัญ (ใช้เลขหน้าตาม e-book ตั้งแต่ 1 – 93)

  1. หน้าปก 1
  2. ปกใน 2
  3. สำนักพระราชวัง 3 – 4
  4. สำนักในพระมหากรุณาธิคุณ 5
  5. กำหนดการ 6
  6. รัตนชยาลัยกถา (คำไว้อาลัย) : เจ้าอาวาสวัดพระเจดีย์ซาวหลัง พระอารามหลวง 7
  7. คำไว้อาลัย : เจ้าอาวาสวัดพระแก้วดอนเต้าสุดชาดาราม พระอารามหลวง 8
  8. ระลึกถึง อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย : ดร.อุดมศักดิ์ ศักดิ์มั่นวงศ์ 9
  9. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรม : วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 10
  10. คำไว้อาลัย อาจารย์ศักดิ์ รัตนชัย : ผู้อำนวยการมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง 11 – 12
  11. อัจฉริยบุรุษ สุดประเสริฐยิ่งนัก “อาจารย์ ศักดิ์ รัตนชัย” : ประดิษฐ สรรพช่าง 13
  12. ข่าวสาร กลุ่มพิธีการฯ : สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำปาง 14
  13. ค่าใช้จ่าย 15
  14. มูลนิธิส่งเสริมงานวัฒนธรรมลำปาง สนับสนุนน้ำดื่ม และน่ำแข็ง 15
  15. ท่าฟ้อนเผียไหม 16 – 17
  16. เอกสารหลักฐานผลงานเพื่อเสนอขอประกาศเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง 18 – 19
  17. สารบัญ (ตามเล่มเอกสาร) 20
  18. ประวัติและผลงาน อาจารย์ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 21 – 40
  19. ความหลัง ความทรงจำ ชุดภาพงานแสดงแห่งชีวิต ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย 41 – 59
  20. ศักดิ์ สักเสริญ รัตนชัย ผู้บุกบั่น ฟันฝ่า ตามหาอาจารย์ สุดขอบฟ้า ร่ำเปิงถึงความหลัง : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 60 – 63
  21. แด่ปูชนียะ อาจาริยะ ศักดิ์ ส.รัตนชัย : อาจารย์ประดิษฐ สรรพช่าง 64 – 67
  22. ซอสะหรีสักเสิน เชิดชูเกียรติ อาจารย์ศักดิ์ สักเสริฐ รัตนชัย ปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ถ่ายทอดและสืบทอดตำนานแผ่นดิน : ผศ.ณรงค์ สมิทธิธรรม 68 -70
  23. การ์ตูนในพระพุทธศาสนา เรื่อง แก้วตาแม่ เอกสารชุดที่ 12 71 – 88
  24. เอกสารเพิ่มเติม เรื่อง แก้วตาแม่ : อ.ตาลทิพย์ แก้วกำเนิด 89 – 92
  25. ปกหลัง 93
สารบัญ ตาม e-book

หนังสือ ประวัติและผลงาน ของ… by บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค มาครับ ขอแชร์

karnaugh in digital technique
karnaugh in digital technique

ตื่นเช้าครับ ก็อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค
ของ น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี พ.ต.อนุรักษ์ เถื่อนศิริ
เล่มที่ผมมีพิมพ์ครั้งที่ 15 เมื่อ พฤษภาคม 2543

หนังสือมี 6 บท
1. ระบบตัวเลข
2. รหัส
3. พีชคณิตบูลีน และการออกแบบวงจรลอจิก
4. แผนผังคาร์โนท์
5. การเข้ารหัสและการถอดรหัส
6. ฟลิป ฟลอป

http://www.thaiall.com/digitallogic/

บทที่ 1 พูดเรื่องเลขฐาน แล้วก็พูดถึงเทคโนโลยี
ว่าเราใช้ฐาน 2 (Binary number) ฐาน 16 (Hexadecimal number)
มีแบบฝึกหัด และตัวอย่างละเอียดมากในบทนี้
ผมว่าต้องมีนักวิชาการนอกสายไอที
ตั้งคำถามว่า “ในชีวิตจริงต้องใช้เลขฐานด้วยหราาาา”
อยากชวนไปดูหนังเรื่อง “inferno”
ชอบคำพูดตอนท้าย ๆ ที่บอกว่า “เธอคิดว่า เธอกู้โลก”
ก็จริงนะ
แต่ละคนมีวิธีช่วยกู้โลกแตกต่างกันไป พระเอกกู้อีกแบบหนึ่ง

บทที่ 2 แปลงอักษรเป็นตัวเลข
ถ้าดูหนังเรื่อง Matrix หรือ Source code Movie
จะรู้ว่า ข้อมูล (Data) ที่เราเห็น เข้าใจ และตีความอยู่
ในทางไอที เค้าเก็บ 0 กับ 1 คือด้วยหลักสภาวะทางไฟฟ้า
แล้วก็มีการ encode และ decode ตลอดเวลา
ซึ่ง BCD (Binary-Coded Decimal) ก็ใช้แทน 0-9
ก็เป็นหัวข้อให้เรียนรู้การเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างง่าย
ชีวิตจริงใช้ ASCII กับ Unicode ในปัจจุบัน

บทที่ 3 Boolean Algebra
สรุปว่าเป็นเรื่องของ และ (and) กับ หรือ (or)
แล้วแทนด้วยสัญลักษณ์ที่ชื่อ Gate และ Truth Table
อ่านแล้วนึกถึงอดีตของคนเขียนกฎด้านหนึ่ง
ในคู่มือสมัยนั้น เค้าเขียนว่า “และ” แต่เจตนารมณ์คือ “หรือ”
ซึ่งภาษาไทยก็ยืดหยุ่นครับ
เหมือนเขียนว่าวงจรจะส่งสัญญาณ “ออกเป็น 0 และ 1
ซึ่งบางคนจะค้านว่า “ออกเป็น 0 หรือ 1

บทที่ 4 แผนผังคาร์โนห์ ซึ่งผมชอบบทเรียนนี้
อ่านแล้วสนุก ตีความตามภาพ ออกมาเป็น 0 กับ 1
หรือฟังก์ชันคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้เลย
เอาเรื่องนี้คุยกับนักศึกษาทีไรก็สนุกครับ
เหมือนตาราง XO นั่นหละ ถ้าเป็นตาราง 9 ช่อง
มีหลักที่เล่นแล้วไม่มีวันแพ้ มีแต่ชนะ กับเสมอนั่นหละครับ
แต่ Karnaugh ไม่ได้มี 9 ช่องนะครับ
เค้ามี 4 หรือ 8 หรือ 16 หรือมากกว่านั้น
จากที่มาของเลขฐาน 2 ที่กระทำต่อกัน

บทที่ 5 เข้ารหัส (Encode) และถอดรหัส (Decode)
คือการแปลงจากรหัสหนึ่งเป็นอีกรหัสหนึ่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับดิจิตอลเทคนิคอย่างชัดเจน
ตัวอย่างที่ชัดเลย คือ ส่ง BCD Code แล้วแปลงเป็นเลขฐาน 10
เอาวงจรนี้ไปควบคุมหลอด LED ให้แสดงเลขดิจิตอล
ตัวอย่าง ให้นึกถึงเลขดิจิตอลตามสัญญาณไฟจราจรในอดีต
ว่าเลข 1 ตัว ใช้หลอดไฟคุม 7 ดวง ถ้าเลข 8 ก็สว่างทุกดวง
หัวข้อนี้เหมาะกับคนที่จะต่อยอดทางอิเล็กทรอนิกส์
ผมล่ะนึกถึง อ.ทรงเกียรติ ขึ้นมาเลย เห็นท่านแชร์เรื่อง IoT ตลอด

บทที่ 6 ฟลิป ฟลอป คือวงจรที่มี output เป็น 0 หรือ 1 อีกนั่นหละ
เค้าออกแบบ ไว้ 4 แบบที่เล่าในหนังสือเล่มนี้
คือ RS Flip Flop, D Flip Flop, T Flip Flop, JK Flip Flop
เพื่อแนะนำว่าแต่ละ Flip Flop มีเงื่อนไขการทำงานอย่างไร
อาจนำไปประยุกต์ทำงานกับวงจรที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

electronic logic
electronic logic

พูดคุยกับนักศึกษา ด้วย 4 คำถาม คือ ชวนฝัน ชีวิตจริง เป้าหมาย การไปถึงเป้าหมาย

วิกฤตหนังสือ
วิกฤตหนังสือ

หลังปิดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน
และเปิดภาคเรียนมาแล้ว 1 เดือน ก็ยิงคำถามไป 4 คำถาม
ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
คำถามที่ 1 – ทำไมต้องอ่านหนังสือ
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาคิดว่าการอ่านหนังสือดีอย่างไร
สิ่งที่ทราบจากนักศึกษา คือ ข้อดีสารพัดจากการอ่านหนังสือ

คำถามที่ 2 – หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอ่านหนังสืออะไรบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาสำรวจตนเองว่าหนังสือดีนั้น อ่านไปกี่เล่ม
ประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ในการอ่านหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

คำถามที่ 3 – ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร
คำตอบ …
เพื่อชวนมองหาเป้าหมายของชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา
ในสายไอทีเรามีทางเลือกที่ค่อยข้างหลากหลาย
ถ้าใครที่วางแผนชีวิตไว้ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ต้องรอให้เค้าค่อย ๆ คิดกันต่อไป

คำถามที่ 4 – การไปถึงเป้าหมาย ต้องอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนมองลงไปว่าหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน อ่านกันบ้างรึยัง
นักศึกษาบางกลุ่มคงตอบได้เป็นฉาก ๆ ว่าวางแผนชีวิตอย่างไร
บางกลุ่มอาจทำได้แค่ชวนคิด กระตุ้นให้ไปหาหนังสือมาอ่านเท่านั้น
บางกลุ่มเป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรไปอีกระยะหนึ่ง

http://www.thaiall.com/readbookt

ปรุงจากใจ ให้นักอ่านทุกคน (Book Baristas 2012)

book baristas
book baristas

ท่านที่รักการอ่านและใฝ่หาหนังสือคู่ใจ เมื่อแวะบูทของ NMG จะได้พบเล่า Book Baristas ซึ่งเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น มาแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ นักศึกษาทั้ง 6 คนที่เสพติดการอ่าน จะคอยบริการให้คำแนะนำที่บูท M15 โซน C ชั้น 1 ตั้งแต่ 10 โมงถึง 3 ทุ่ม ระหว่าง 18 – 28 ตุลาคม 2555 ในมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 17

Book lovers who visit NMG booths at the BookExpo Thailand will meet the ‘Book Baristas’ – Nation University students who can recommend interesting books to them. The six Book Baristas, who have a passion for reading, are waiting to serve book lovers at the NMG booths in M15 Zone C on the first floor of the Queen Sirikit National Convention Centre. The event opened Thursday and runs until October 28,2012. It is open from 10am to 9pm.

http://www.nationmultimedia.com/specials/nationphoto/show-new.php?pid=14532

http://www.facebook.com/KhonMorning/posts/439115882802934

book barista
book barista

http://news.voicetv.co.th/thailand/54192.html

http://www.youtube.com/watch?v=VP9xzGxD6CU

http://www.youtube.com/watch?v=WOfHX_8M96k