Technology

ข้อมูลบุคคล ตัวเรา ผู้สมัครเป็นผู้แทน หรือผู้ที่เราสนใจ

ข้อมูลบุคคล ตัวเรา ผู้สมัครเป็นผู้แทน หรือผู้ที่เราสนใจ

ช่วงนี้ (เม.ย.66) สนใจเรื่อง #ข้อมูลบุคคล
จึงได้ปรับเนื้อหาของผู้ที่ผมนับถือในหลายเว็บเพจ
เป็นผู้ที่ผมชื่นชม ชื่นชอบ ที่เคยบันทึก และแบ่งปัน
เรื่องราว กิจกรรม ภาพถ่าย และผลงาน
ของเพื่อน ผู้ใหญ่ หรือผู้มีอุปการะคุณไปหลายท่าน
ประกอบกับช่วงนี้ มี #เลือกตั้ง66
จึงนำชื่อของผู้สมัครมาเข้าระบบสืบค้น
ให้ประชาชนที่สนใจข้อมูลของผู้สมัคร
ได้อ่านข้อมูล มาประกอบการพิจารณา
ตามเกณฑ์การเลือกกาของแต่ละบุคคล

https://www.thaiall.com/article/senate.htm

ยิ่งอ่าน ยิ่งค้น ยิ่งได้ข้อมูล
ที่มีรายละเอียด profile
ที่ทำให้เราได้เห็นคนดีหลาย ๆ ท่าน (46 ท่าน)
ผู้มีความดี ความสามารถ ความคิดเห็น ความเชื่อ
และการแสดงออกสู่สังคมที่น่าชื่นชม
จะรักใคร ชอบใคร ไปกาในคูหากันนะครับ
เข้าคูหากาเบอร์ที่ชอบ

https://www.thaiall.com/java/candidate_lp66.htm

ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ

7 ประเด็นร้อนในชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครู

ชุมชนผู้ประกอบวิชาชีพครูที่ท้าทายจรรยาบรรณครู มีประเด็นที่น่าสนใจใน 7 กลุ่มประเด็น ประกอบด้วย 1) สุข 2) สาร 3) สั่ง 4) สอบ 5) สมรรถนะ 6) สุจริต และ 7) เกษียณ เสนอให้ใช้คำค้นต่อไปนี้ในกูเกิลจะพบเรื่องราวที่เกี่ยวข้องมากมาย ได้แก่ ครูไม่มีความสุข ครูทำงานเอกสาร สั่งครูมิชอบ สอบไม่ตรงที่สอน ฐานสมรรถนะเชิงรุก ครูสุจริต ผอสุจริต และ บังคับครูงานเกษียณ พบว่า ประเด็นข้างต้นมีหลายชุมชนได้หยิบยก หรือจุดประเด็นในสื่อสังคม และมีหลายช่องทางที่แจ้งข้อมูลร้องเรียนได้ สำหรับช่องทางที่ไม่เป็นทางการ คือ สื่อสังคม หรือสื่อสิ่งพิมพ์ทุกสำนักที่เปิดช่องทางสื่อสารทั้งเฟซบุ๊ก อินสตาแกรม ไลน์ โทรศัพท์ อีเมล หรือไปรษณีย์

https://www.thaiall.com/ethics/ethics_teacher.htm

ช่องทางที่เป็นทางการ ได้แก่

  • สายด่วนการศึกษา 1579 หรือ http://1579.moe.go.th/
  • สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินรัฐสภาสายด่วน 1676
  • ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน GCC สายด่วน 1111 หรืออีเมล contact_1111@gcc.go.th
  • ศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดกระทรวงสำนักนายกรัฐมนตรี โทรศัพท์ 022831270-84 โทรสาร 022834525 หรืออีเมล ccc@opm.go.th
  • สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสายด่วน 1166
  • เว็บไซต์ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภคออนไลน์ https://complaint.ocpb.go.th
  • ศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทยสายด่วน 1567 โทรศัพท์ 02-222-1141-55 โทรสาร 02-222-6838
  • สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติสายด่วน 1166 โทรศัพท์ 02-141-3800 โทรสาร 02-143-9563 อีเมล info@nhrc.or.th
  • สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ ที่ตั้งเลขที่ 19 อาคารราชวัลลภ ชั้น 2 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กรุงเทพฯ 10300
ระบบร้องทุกข์ผู้บริโภค
ศูนย์บริการประชาชน กระทรวงศึกษาธิการ
สายด่วนการศึกษา 1579
php code

การใช้ฟังก์ชัน imagettftext

เริ่มจากมีความต้องการสร้าง image แสดงตัวอักษร
กรณีนี้เป็นแบบทดสอบออนไลน์ แบบปรนัย
เมื่อใช้ฟังก์ชัน imagestring พบว่าไม่สามารถกำหนดฟอนต์
จึงไม่สามารถแสดงภาษาไทยได้ตามปกติ
จึงต้องใช้ imagettftext เพื่อโหลดฟอนต์ไปใช้เขียนข้อความ
ดังนั้นโค้ดนี้ต้องเตรียมฟอนต์แบบ ttf
เช่น Kanit ของ Google หรือ ฟอนต์ไทยอื่น ๆ
โดยแบบทดสอบนี้แบ่งเป็น 3 ส่วนสำคัญ

  1. ส่วนหัว แสดงคำว่า QUIZ เลือกใช้ tlwgtypewriter
  2. ส่วนคำถาม 1 บรรทัด
  3. ส่วนตัวเลือกอีก 5 ตัวเลือก

https://www.thaiall.com/php/indexo.html

สรุปว่า
โค้ดชุดนี้แชร์ได้แชร์ใน ต.ย.2 ของ /php
และจะพัฒนาใช้ใน /quiz ต่อไป

แบบทดสอบ

แบบทดสอบออนไลน์
http://www.thainame.net/quiz/test3.php

บทความใน scribd.com

รวมบทความด้านการบริหารจัดการ 64 เรื่อง

ด้วยทักษะการบริหารหลายสิบปีที่ผ่านมา สะท้อนออกมาเป็นมุมมองในด้านการบริหารจัดการ หรือ Management Skill บนเฟซบุ๊ก จำนวน 64 เรื่อง ของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ อธิการบดีของมหาวิทยาลัยเนชั่น แล้วยังเป็นกรรมการผู้จัดการ บริษัท ริช เรสเตอรองต์ จำกัด ซึ่งจัดตั้งขึ้นเพื่อบริหารจัดการธุรกิจอย่างน้อย 2 ธุรกิจ คือ โชคดีติ่มซำ และ โคขุนโพนยางคำ โดยอีบุ๊กเล่มนี้มีจำนวน 94 หน้า เผยแพร่ใน scribd dot com

https://www.scribd.com/document/613092154/

เฟซบุ๊กของ ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์

ขั้นตอนสร้างเอกสาร “จากเฟซบุ๊ก สู่ อีบุ๊ก 64 เรื่อง” มีดังนี้

  1. ติดตามบัญชีนักเขียน คือ Kritsada Pop Tunpow
  2. คัดลอกบทความไปวางใน เอกสารประกอบการสอน ในส่วนภาคผนวก
  3. บันทึกเป็นแฟ้มแบบ Plain text และมีรูปแบบตามที่กำหนด เป็น Data file
  4. เช่า Web Hosting และสร้าง Folder สำหรับรองรับ Script และ Data file
  5. เขียน PHP Script อ่าน Data file เพื่อแสดงบทความบน Website
  6. ติดตั้ง GoFullPage – Full Page Screen Capture บน Chrome
  7. ใช้ GoFullPage บันทึก Homepage เป็น PDF ได้ 200 MB
  8. ใช้บริการ compress_pdf ของ ilovepdf dot com ลดเหลือ 20 MB
  9. อัพโหลด ebook แบบ pdf เพื่อเผยแพร่ใน scribd dot com

นอกจาก 64 บทความข้างต้น ผศ.ดร.กฤษฎา ตันเปาว์ ยังได้เผยแพร่คลิป หลักสูตรการบริหารจัดการ ผ่านช่อง StepPlus Training บน youtube ในหลักสูตรนี้มีทั้งหมด 9 ตอน เช่น จุดตายในการบริหารองค์กร ของผู้บริหาร หรือ งานไม่ยุ่ง แต่ยุ่งคน ศึกษาพฤติกรรมคนในองค์กร เป็นต้น

Opera browser
Microsoft Word
Youtube.com
the conversation prism

ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์

จากบทความวิชาการ เรื่อง สื่อสังคมออนไลน์กับการศึกษา โดย ธนะวัฒน์ วรรณประภา (2017) ตีพิมพ์ใน วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 หน้า 7 – 20 พบว่า ในหน้า 10 ได้สรุป ประเภทของสื่อสังคมออนไลน์ ไว้ 25 กลุ่ม ที่อ้างอิงจากแผนภาพ The conversation prism ของ Solis B. (2016) ดังนี้ 1) เครือข่ายสังคม – Social networks 2) บล็อก – Blog/Microblogs 3) กลุ่มคนที่มีความรู้ – Crowd wisdom 4) ถามตอบ – Question & Answer 5) ข้อเสนอแนะ – Comments 6) สังคมการค้า – Social commerce 7) สังคมตลาดออนไลน์ – Social marketplace 8) บริการตามกระแสสังคม – Social streams 9) ตำแหน่งที่ตั้ง – Location 10) งานเฉพาะ – Niche working 11) องค์กร – Enterprise 12) วิกิ – Wiki 13) อภิปราย ประชุม – Discussion & Forums 14) ธุรกิจ – Business 15) รีวิว จัดอันดับ – Review & Ratings 16) ผู้จัดการทางสังคม – Social Curation 17) วิดีโอ – Video 18) เนื้อหา/เอกสาร – Content/Documents 19) เหตุการณ์ – Events 20) ดนตรี – Music 21) ถ่ายทอดสด – Live casting 22) รูปภาพ – Pictures 23) บุ๊กมาร์ค – Social Bookmarks 24) วัดระดับอิทธิพล – Influence 25) ดูแลสุขภาพ – Quantified self

http://edu.msu.ac.th/journal/home/journal_file/316.pdf

Social media

https://www.thaiall.com/socialmedia/

7 เครื่องมือนำเสนอและแชร์แฟ้ม PDF ออนไลน์
โดย EMMA GAROFALO – OCT 18, 2021
การนำเสนอแฟ้มได้เร็วและง่าย เป็นทางเลือกที่น่าสนใจ มี 7 แหล่ง

  1. scribd.com
  2. google drive
  3. box.com
  4. beamium.com
  5. publitas.com
  6. flipsnack.com
  7. slides.com

https://www.makeuseof.com/tag/7-best-tools-present-share-pdf-files-online/

reddit thai

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน เรดดิต

เว็บบอร์ดสัญชาติอเมริกัน กลุ่มไทย subreddit ในเรดดิต

อ่านจาก wiki
พบว่า ผลสำรวจอเล็กซา ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 เรดดิตถูกรับชมมากที่สุดเป็นอันดับที่ 5 ของสหรัฐอเมริกา และอันดับที่ 13 ของโลก โดยผู้ใช้ร้อยละ 55 มาจากสหรัฐฯ ร้อยละ 7.4 มาจากสหราชอาณาจักร และร้อยละ 5.8 มาจากแคนาดา

อ่านจากผู้จัดการออนไลน์
พบว่า Rathschmidt 27 ม.ค. 2565 ให้ข้อมูลว่า กำลังทดสอบและพัฒนาระบบ ให้สามารถใช้ NFT เป็นรูปโปรไฟล์ หรืออวาตาร์ และยืนยันความเป็นเจ้าของ ซึ่งเป็นการทดสอบเท่านั้น ยังไม่มีผลบวกหรือลบต่อการใช้งาน ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาระบบเกี่ยวกับ Crypto และ NFT ที่มี subreddit ให้สมาชิกได้พูดคุย และมีการใช้งานสูง

เข้าโพสต์ใน reddit
พบว่า กฎเกณฑ์ในแต่ละกลุ่ม subreddit มีกฎที่เข้มงวด โดยเฉพาะกลุ่มที่มีจำนวนสมาชิกมาก จะมี moderator พิจารณาด้วยเกณฑ์ที่ allow หรือ remove เพื่อความสงบเรียบร้อยของกลุ่ม เช่น กลุ่ม r/GetStudying มี rules ทั้งหมด 6 ข้อ คือ 1) Be nice 2) Stay positive 3) Promotion of courses 4) Assign link flair if you can 5) No Music Posts Allowed 6) Don’t spam your Blog/Youtube content

Reddit : thai

สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media)
หมายถึง สังคมออนไลน์ที่มีผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่าเรื่องราว เนื้อหา ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวีดิโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่น ๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตนผ่านทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) ที่ให้บริการบนโลกออนไลน์ ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้จะทำผ่านทาง Internet และนิยมใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่
https://www.thaiall.com/socialmedia/

ชวนนักเรียนเขียนบล็อก

wordpress สำหรับสร้าง blog และ site
ระบบนี้เค้ามี application ที่ช่วยให้การเขียนการอ่าน และการควบคุมในฐานะ admin ทำได้ง่าย
วันหนึ่ง พบว่า บัญชีหนึ่งมีปัญหา อัพเดทไม่ได้ ไม่โหลดรายการใหม่ ก็ต้องทำใจ clear ข้อมูลทั้งหมดในโทรศัพท์ อัพเดทแอปพลิเคชัน แล้วขอเชื่อมต่อกันใหม่ ปัญหาต่าง ๆ เช่น การแจ้งผลการอัพโหลดก็ดีขึ้น เป็นต้น

ที่มาของเรื่อง คือ
กำลังเตรียม #เรื่องเล่า ให้ เด็ก ๆ ฟังว่า เว็บไซต์ทั่วไปเค้าใช้ระบบนี้ จะชวนนักเรียนเข้าไปสมัครฟรีกับ wordpress.com ไปเขียน post แล้วก็ให้ launch site กันเอง คุยแก้ปัญหาที่พบกับเพื่อน เป็นงานในสัปดาห์ที่หนึ่ง เรื่องก็จะตรงกับ #ลักษณะบุคคล ใน มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565 ข้อที่ 4 ที่เชื่อว่าทุกคนย่อมแตกต่างกัน

คือ เล่าเรื่องที่ประทับใจ เช่น เข้าค่ายลูกเสือ ประกอบภาพของตน ที่นับได้ว่าเป็น #activitybasedlearning เป็นรูปแบบหนึ่งใน #activelearning

ปล. โพสต์นี้เขียนบนแอป

สั่งเคลียร์หน่วยความจำ เพื่อแก้ปัญหา
ภาพจากกล้องใหญ่เกิน แจ้งบน browser ใน mobile
ผ้าป่าลอยฟ้า วัดพระธาตุลำปางหลวง
โป้ยเซียน

นิสิตทั้ง 8 เล่าเรื่องขายสินค้าออนไลน์

เมื่อปลายเดือนเมษายน 2565 มีนิสิตเล่าเรื่องการขายสินค้าออนไลน์ ฟังเพลินเลยครับ เพราะแต่ละท่านมีภูมิหลัง ที่มาที่ไป กระบวนการ และความสุขจากการขาย แตกต่างกันไป เรียกว่า หลากหลายรสชาติ ไม่ซ้ำกันเลย เราได้พูดคุยแลกเปลี่ยนกัน มีบางท่านที่ผมขอเป็นลูกค้าเค้าด้วยนะ สั่งสินค้ามาส่งที่ทำงานของผม ซึ่งเค้าก็โอเค (ทำให้นึกถึงเพื่อน 603 ที่เล่าเรื่องการเย็บกระเป๋าหนังทำมือ hand-made ที่แชร์ผลงานที่ได้ทำจากการเรียนเย็บกระเป๋าหนัง เสมือนผลงานส่งคุณครูก่อนจบรายวิชาที่เรียนออนไลน์ ผลงานกระเป๋าของเพื่อนดูดีมาก เห็นบอกว่าต้นทุนวัตถุดิบมีราคาสูง เช่น โซ่ทองเหลือง หรือเหรียญที่ใช้แต่งกระเป๋า)

กลับมาเรื่องลูกศิษย์ทั้ง 8 ที่ทำให้นึกถึงความเทพของแต่ละคน ก็ชวนให้นึกถึง 8 เซียนข้ามทะเล (eight immortals) ที่แต่ละผลงาน และความเป็นมาล้วนมีเสน่ห์แตกต่างกันไป น่าบันทึกไว้เพื่อเป็นบทเรียน นำไปบอกเล่าถึงประสบการณ์ที่นิสิตแต่ละคนได้เลือกสินค้า พบว่า บางคนผลิตสินค้าภายในเครือญาติ บางคนมีอาชีพเสริมขายออนไลน์ บางคนฝันอยากเป็นเกษตรกร บางคนเป็นผู้นำเข้าสินค้าจากจีน บางคนขายรถยนต์มือสอง บางคนเป็นนักสะสมหนังสือการ์ตูน บางคนชอบต่อเลโก้ บางคนมีสินค้าแบรนเนมที่ขายต่อแล้วได้ราคา

หากลงลึกไปที่ตัวสินค้า เพื่อชี้ให้เห็นว่ามีสินค้าอะไรบ้าง ที่นิสิตเค้าเลือกมาขายออนไลน์ เป็นธุรกิจที่เริ่มต้นได้ทันที ไม่จำกัดงบประมาณ เพศ วัย หรือวุฒิการศึกษา ซึ่งมีตัวอย่างที่ถูกหยิบมาเล่าอยู่เสมอ คือ น้องมิลค์ รัญชิดา ยายแอ๋วไลฟ์ขายเสื้อผ้า หรือ ฮาซันอาหารทะเล อยู่บ่อยครั้ง ซึ่งนิสิต ทั้ง 8 นำเสนอสินค้า ดังนี้ 1) แคบหมู แหนมหมู ไส้อั่ว 2) ชุดชั้นใน 3) ปลูกผักไฮโดโปรนิกส์ 4) สินค้าแฟชั่นนำเข้าจากจีน 5) ขายรถยนต์มือสอง 6) ขายหนังสือการ์ตูนบล็อกเซ็ต 7) ตัวต่อเลโก้ 8) กางเกงยีนส์ยี่ห้อมือสอง

https://web.facebook.com/363415133996355/posts/754420488229149/

https://www.thaiall.com/e-commerce/indexo.html

https://web.facebook.com/sukhamai.sukrit

ต้นแบบ Sticker line แบบที่ 3 มาแล้ว

เริ่มต้นด้วยความรู้สึกอยากวาด Sticker line ไว้ใช้งาน จึงลงมือวาดการ์ตูนอย่างง่าย จำนวน 8 ตัว แล้วส่งขึ้นไปขาย ตั้งชื่อว่า burin1 พบว่าไม่ค่อยสวย ตัวหนังสือเล็กมาก อ่านยาก ตัวการ์ตูนอยู่ในพื้นสี่เหลี่ยมสีขาวที่ไม่เป็น transparent ได้เก็บข้อเสนอแนะของเพื่อน ๆ ไว้ในใจ เพื่อนำมาปรับปรุงรุ่นใหม่

เมื่อรวบรวมปัญหาได้ระยะหนึ่ง จึงได้พัฒนาเป็น Sticker แบบที่สอง ในชื่อ A man talks with his friends ในเซตนี้มี 40 ตัว จำหน่ายราคาเท่าเดิมคือ 35 บาท ปัญหาที่มองเห็นในแบบที่สอง คือ รายละเอียดที่ขอบของตัวการ์ตูนและตัวหนังสือ ไม่เป็นแบบ anti-aliased จะเห็นรอยขอบยึกยักไม่สวย เนื่องจาก sticker มีขนาดเล็กบนโปรแกรม line จึงแสดงปัญหาให้เห็นได้ไม่ชัดเจน
งานวาดเริ่มต้นด้วย MS Powerpoint แล้วใช้เครื่องมือวาด คือ Shape, Curve เป็นส่วนใหญ่ในการวาดตัวการ์ตูน โดยกำหนด Page setup เป็น 9.798.47cm จากนั้นบันทึกเป็นแบบ .emf ซึ่งมีรายละเอียดของเส้นที่ชัดเจนมาก บน resolution ขนาด 23132001px [emf]

วิธีแรก เมื่อได้แฟ้ม .emf แล้ว ใช้ Ms office 2010 (Win8) สำหรับเปิดภาพ แล้ว export เป็นแฟ้ม .png พร้อมกับลดขนาดเหลือ 370320px [png] จากนั้นใช้ Irfanview เปิดแฟ้ม .png แล้วสั่งบันทึกเป็น .png โดยเลือก Check : Save Transparent Color จากนั้นโปรแกรมจะถามให้คลิ๊กสีที่ต้องการทำ Transparent ก็จะได้ภาพ .png ที่เป็นแบบ Transparent ตามที่ต้องการ [png]

วิธีที่สอง เปิด .emf ด้วย irfanview เลือก Image, Resize/Resample เปลี่ยนขนาดเป็น 370320px แล้วกำหนด Size method เป็น Resample เป็น Lanczos (slowest) แล้วสั่งบันทึกเป็น .png แบบ transparent แบบขั้นตอนแรก พบว่า มีผลลัพธ์ไม่ได้คุณภาพที่ต้องการ รอยของภาพเป็นฟันปลา [png]

วิธีที่สาม ทำแบบวิธีที่สอง แต่เปลี่ยนการกำหนด Size method เป็น Resample เป็น B-Spline พบว่า คุณภาพของภาพตามรอยขอบ ให้ผลดีไม่ต่างจากวิธีแรก ซึ่งต่อไปก็คาดว่าจะทำ sticker ด้วยการเตรียมตัวการ์ตูนด้วยวิธีนี้

https://store.line.me/search/sticker/th?q=burin%20rujjanapan

https://www.thaiall.com/linesticker/

ภาพปก โดย สุกฤษฎิ์ สุคำอ้าย นิสิต มหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่วาดภาพสกรีนลงเสื้อเพื่อจำหน่าย
https://web.facebook.com/sukhamai.sukrit

ภาพนี้ทำ Transparent ด้วย Irfanview

pdf2doc และ pdfcandy

การแปลงจาก pdf ภาษาไทยเป็น word (1/2)

การทดสอบแปลงแฟ้ม pdf ภาษาไทยเป็น word โดยใช้แฟ้มต้นฉบับที่สร้างจากทั้ง Word 2010 และ 2019 ให้ผลไม่ต่างกันมาก พบว่า pdf2doc.com , pdfcandy.com , google docs ให้ผลลัพธ์ดี มีความสมบูรณ์ประมาณ 80% ซึ่งใกล้เคียงกันกับแฟ้มที่สร้างด้วยโปรแกรม pdfcreator หรือ save as หรือ microsoft print โดยผลลัพธ์จาก 3 บริการข้างต้น ให้ผลดีกว่า adobe online, ilovepdf, pdftoword และ smallpdf สำหรับผลงานที่สร้างจาก Word ประเด็นที่น่าสนใจ คือ 1) การใช้ google docs มีปัญหา error convertion กับการแปลงแฟ้ม pdf ที่สร้างมาจาก pdfcreator 2) ฟอนต์จุฬาภรณ์ลิขิตนั้น มีเพียง pdf2doc.com ที่อ่านแฟ้มที่ีได้จาก pdfcreator มาเป็นตัวอักษร ส่วนต้นฉบับที่ได้จาก save as จะเห็นฟอนต์นี้เป็นวัตถุที่ไม่สามารถแปลงเป็นตัวอักษรได้ตามปกติ

พบว่าบางบริการจำกัดจำนวนการใช้งานฟรี 1 ครั้ง สามารถเปิด browser โปรแกรมตัวใหม่ หรือ Clear history ก่อนใช้รอบต่อไป หรือใช้โหมดไม่ระบุตัวตน (incognito) ปิดแล้วเปิดใหม่ จะใช้งานฟรีรอบใหม่ได้ แต่การปิดเปิด browser ใหม่นั้นเว็บไซต์ยังตรวจพบอยู่และถูกจำกัดการใช้งาน จนกว่าจะสมัครสมาชิก จึงต้องเลือกแบบที่จำไม่ได้ ล้างสิ่งที่จำ หรือเลือกใช้แบบไม่จำสถานะเดิม

  • adobe.com (1 ฟรี)
  • drive.google.com (ฟรี)
  • ilovepdf.com (ฟรี)
  • pdf2doc.com (ฟรี)
  • pdfcandy.com (1 ฟรี)
  • pdftoword.com (ฟรีในอีเมล)
  • smallpdf.com (1 ฟรี)

เปรียบเทียบผลของ smallpdf.com และ google docs

Smallpdf.com : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ส่วน Chulabhorn Likit Lite เป็นแบบ 3) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 80% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK ทั้ง 1) Normal และ 2) Bold ที่ยอมรับได้มากกว่า 70% ในส่วนย่อหน้า คือ TH Niramit AS 16 แบบ 1) Normal และ 2) Bold แต่ในตารางจะแปลงได้ไม่ดี สุดท้าย คือ pdfcreator ที่เกือบทุกแบบยอมรับได้ไม่ถึง 50%

Google docs : ทดสอบส่ง pdf 3 ประเภทเพื่อแปลงเป็น word คือ save as, microsoft print และ pdfcreator โดยมีรูปแบบตัวอักษรทั้งหมด 12 รูปแบบ พบว่า อันดับหนึ่ง คือ save as นั้นจะได้ผลการ convert ที่ดีที่สุด ที่ยอมรับได้ 90-100% ทั้งตารางและย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-90% สำหรับรูปแบบที่เหลือ รองลงมา คือ microsoft print ที่ยอมรับได้มากกว่า 90% แบบย่อหน้า คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 70-80% แบบตาราง คือ TH Sarabun PSK และ TH Niramit AS ที่ยอมรับได้ 50-60% สำหรับรูปแบบที่เหลือ สุดท้าย คือ pdfcreator ระดับการแปลงเท่ากับ 0 %

https://www.thaiall.com/fonts/

https://drive.google.com/drive/folders/1o-DlDLGJDLqNpFzJKvuSi_cBDGaTbwRT?usp=sharing