ranking

7 อันดับคณะวิชา ที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด

ตามข้อมูลของ #มหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามคณะวิชาต่าง ๆ แล้ว ได้มีการจัดทำรายงานสรุปผล เพื่อให้ข้อมูลเป็นสาธารณะ สำหรับนักศึกษา ผู้ปกครอง หรืออาจารย์ที่ดูแลหลักสูตรได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ หรือวางแผนต่อไป สำหรับนักศึกษาแล้วจะทำให้รู้ว่าเรียนคณะวิชาใดที่มีเพื่อนเรียนด้วยมากที่สุด ส่วนผู้ดูแลหลักสูตรแล้ว ทำให้ใช้วิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อนโอกาสและอุปสรรค เพื่อพัฒนาต่อไป

โดยข้อมูลเมื่อปีการศึกษา 2566 พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละคณะวิชาจำนวนเท่าใดแล้ว จึงได้นำข้อมูลจำนวนนักศึกษาที่เข้าเรียนมาจัด #เรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าคณะวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. คณะครุศาสตร์ 547 คน
  2. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 359 คน
  3. คณะวิทยาการจัดการ 239 คน
  4. คณะวิทยาศาสตร์ 167 คน
  5. คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 115 คน
  6. คณะพยาบาลศาสตร์ 48 คน
  7. คณะเทคโนโลยีการเกษตร 20 คน

รวมประมาณ 1495 คน

จำนวนนักศึกษาคงอยู่ ณ ปัจจุบัน แยกตามคณะ
ข้อมูลล่าสุด ในปี 2566

7 อันดับสาขาวิชา ในคณะวิทยาศาสตร์ ที่มีเพื่อนเรียนด้วยเยอะที่สุด

ตามข้อมูลของมหาวิทยาลัยใกล้บ้าน หลังรับนักศึกษาเข้าเรียน ตามสาขาวิชาในคณะวิทยาศาสตร์ เมื่อปีการศึกษา 2566 แล้ว พบว่า มีจำนวนนักศึกษาในแต่ละสาขาวิชาเป็นจำนวนเท่าใด จึงได้นำข้อมูลจำนวนที่เข้าเรียนมาจัดเรียงจากมากไปน้อย ทำให้รู้ว่าสาขาวิชาใดมีเพื่อนเรียนเยอะที่สุด โดยผลการจัดเรียงเป็นดังนี้

  1. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(คณิตศาสตร์)
  2. สาธารณสุขชุมชน
  3. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(วิทยาศาสตร์ทั่วไป)
  4. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ชีววิทยา)
  5. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(ฟิสิกส์)
  6. ครุศาสตรบัณฑิต (การศึกษา)(เคมี)
  7. เคมีประยุกต์

รวม 7 สาขาวิชามีเพื่อนรวมประมาณ 180 คน

ภาษาอังกฤษที่ 100 จาก 112 ประเทศ

ใบรับรองภาษาอังกฤษ

ประเด็นภาษาอังกฤษ ที่เป็นภาษาสากล มีการสอบวัดในระดับโลก
พบว่า บางประเทศเน้นสอน Grammar
แต่ผลสอบของเด็กเราชัดว่าไม่แม่นใน Grammar
พบว่า คะแนนสอบต่ำในหลายด้าน
ทั้ง Reading, Listening, Writing, Speaking และ Grammar
ถ้าเน้นสอน Grammar และแม่นใน Grammar จริง
ผลสอบ Reading, Writing และ Grammar ย่อม OK
กลับมามอง
ข้อสอบภาษาอังกฤษเพื่อสอบครู อาจารย์ หรือบุคลากรทางการศึกษา
พบว่า ไม่ยากอย่างที่ควร แต่ยังสอบตกจำนวนมาก
ทั้งที่ไม่มี Listening และ Speaking ในข้อสอบ
ปัญหาหลัก คือ ครูไม่เก่งภาษาอังกฤษ
พอที่จะสร้างระบบนิเวศการใช้ภาษาอังกฤษในโรงเรียน

ข้อเสนอสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา
1) หลักสูตรการเรียนการสอนควรเริ่มจากการเน้น Listening และ Speaking ในขั้นพื้นฐาน แล้วเพิ่มทักษะอื่นในระดับชั้นที่สูงขึ้น
2) สร้างแรงจูงใจให้ครูพัฒนาตัวเอง เช่น ครูที่ได้คะแนน TOEIC ระดับ 600 คะแนนจะได้เงินเพิ่มสัก 2,500 บาทต่อเดือน และยื่นทุกสองปี
3) สอบบรรจุครูต้องยื่นในรับรองการสอบภาษาอังกฤษ พร้อมใบสมัคร

Cr: เรียบเรียงจาก Chaturong ใน Wiriyah Eduzones

ภาษาอังกฤษ 100 จาก 112 ประเทศ


https://thethaiger.com/th/news/500946/

https://web.facebook.com/ajWiriya/

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

การปรับระดับในผลจัดอันดับมหาวิทยาลัย

อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับการพัฒนาให้มหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการแข่งขัน เป็นผลให้อันดับของมหาวิทยาลัยปรับขึ้น ได้ให้นโยบาย ในการประชุมกบม. เมื่อวันที่ 18 พ.ค.2555 ว่า การเข้าไปมีกิจกรรมของอาจารย์ และนักศึกษา หรือระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันทั้งใน blog, webboard, e-learning ล้วนมีอิทธิพลต่อผลการจัดอันดับทั้งสิ้น เพราะบริการข้างต้นเป็นระบบเปิด ที่ผู้จัดอันดับสามารถมาติดตามความเคลื่อนไหว และใช้เป็นข้อมูลได้
http://blog.nation.ac.th
http://it.nation.ac.th/webboard
http://class.nation.ac.th
http://www.nation.ac.th

! http://blog.nation.ac.th/?p=2046