scholarship

ศิษย์เก่ารุ่นพี่ที่มีความเมตตากรุณาต่อรุ่นน้อง

ศิษย์เก่ารุ่นพี่ที่มีความเมตตากรุณาต่อรุ่นน้อง

ระหว่างปรับปรุงเว็บไซต์ให้กับสมาคมศิษย์เก่าสมัยประถมศึกษา เนื่องจากได้รับมอบหมายจากรุ่นพี่และหัวหน้า ให้ทำเว็บไซต์ของสมาคมศิษย์เก่าแบบจดโดเมนเนมเมื่อสิบกว่าปีที่แล้ว ตอนนี้โดเมนยังไม่ได้ย้ายไปไหน และใช้พื้นที่ในเครื่องบริการที่ผมเช่าไว้อยู่ ช่วงนี้มีเวลาติดตามข่าวสารของสมาคมศิษย์เก่า จึงได้นำเนื้อหามาเผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ซึ่งในช่วงต้นฤดูหนาว ประมาณปลายเดือนธันวาคมของทุกปี สมาคมศิษย์เก่าได้รวมตัวกันจัดกิจกรรมคืนสู่เหย้า (Home Coming Day) พบว่า มีกิจกรรมมากมายของสมาคมฯ ศิษย์เก่า และชมรมครูเก่าที่แชร์ทั้งในเพจ และในกลุ่ม จึงรวบรวม และแบ่งปันเรื่องราว ประกอบกับอ่านบทความวิจัยของ อนวัช มีเคลือบและคณะ (2560) และบทความวิชาการในสื่อของ รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษมันต์ วัฒนาณรงค์ ที่เขียนเรื่องสมาคมศิษย์เก่าฯ ในเชิงวิชาการ ทำให้เห็นภาพในหลายมุมมองของบรรดาศิษย์เก่าในประเทศไทย

พบโพสต์ในเฟซบุ๊กเรื่องการแสดงน้ำใจของรุ่นพี่ที่มีให้รุ่นน้องที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ เป็นกรณีของน้องเอื้อง (สุจิตรา มีบ้านเกิ้ง) ที่เขียนและโพสต์ลงสื่อสังคมโดยเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์สมาคมศิษย์เก่า KKU Alumni ได้เล่าถึงการมอบทุนการศึกษาจากศิษย์พี่ให้ศิษย์น้อง ทำให้นึกถึงภาพมากมายลอยเข้ามา โดยเฉพาะข้อความ Quote ของน้องเอื้อง ตอนหนึ่งที่เขียนว่า “เคยได้รับทุนการศึกษาจากสมาคมค่ะ ตอนเรียนอยู่จะเข้าไปรับทุนทุก ๆ เดือน เมื่อจบมาและมีงานทำพอมีเงินบ้าง จึงอยากแบ่งปันโอกาสนี้ให้กับน้อง ๆ

การมีศิษย์เก่าเช่นนี้สะท้อนถึงภาพลักษณ์ของสถาบันการศึกษา บทบาทในการสนับสนุนสถาบันการศึกษาของสมาคมศิษย์เก่า ผ่านการมีส่วนร่วมของศิษย์เก่า การปลูกฝังความเอื้ออาทร ความเสียสละ การแสดงความมีน้ำใจ การช่วยเหลือเกื้อกูลของรุ่นพี่ที่มีต่อรุ่นน้อง เป็นสังคมแห่งมิตรภาพอย่างแท้จริง และเชื่อว่าเป็นที่ต้องการในทุกแวดวงการศึกษา

เมื่อค้นคำว่า “ศิษย์เก่าทรงคุณค่า” จาก google.com
จะพบข้อมูลของน้องเอื้อง ปรากฎเป็นรายการแรก

ศิษย์พี่ ให้ ศิษย์น้อง

https://web.facebook.com/KKUAlumni/

ดร.ยุ้ย ประธานรุ่น ACL32 ร่วมบริจาคเงินสนับสนุนซื้ออุปกรณ์ดนตรีให้กับ ACL Band ในนามรุ่น ACL32 กับโครงการ “สานฝัน…ปันรัก จากพี่ถึงน้อง” จำนวน 100,000 บาท โรงเรียนอัสสัมชัญลำปาง

https://web.facebook.com/photo/

ปี 2559 ให้ทุนผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 3395 ราย มาลุ่นกันว่า ปี 2560 จะได้กี่ราย

คุณครูที่ปรากฎในสื่อ
คุณครูที่ปรากฎในสื่อ

พบข่าวพัฒนาครูท้องถิ่น เป็นโอกาสสำหรับ
นักเรียน นักศึกษา ที่สนใจอยากรับราชการครู ในปีการศึกษา 2560

ตามที่แฟนสาวของผมแนะนำมาว่าให้อ่านเรื่องนี้
อ่านที่ “ครูอัพเดตดอทคอม” แล้ว รู้สึกว่าน่าสนใจดังว่าจริง
http://www.krooupdate.com/news/newid-2450.html

มีเนื้อหาประมาณว่า

เมื่อจันทร์ที่ 9 ม.ค.2560 ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.)
มอบให้ สพฐ. เป็นผู้รับผิดชอบโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น
เพราะ สพฐ. เป็นผู้ใช้ครู จะได้จัดครูได้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่
มีระยะเวลา 2559 – 2572 งบทั้งหมดประมาณ 3800 ล้านบาท สำหรับผลิตครู 9264 คน
– ปี 2559 เป็นรุ่นแรก ที่รับผิดชอบหลักโดย สกอ.
– ปี 2560 เป็นรุ่นที่ 2 เปลี่ยนผู้รับผิดชอบหลักเป็น สพฐ.
โครงการเปิดรับนักเรียน นักศึกษาที่เกรดเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 3.00 และรับประกันการมีงานทำ
มีรายละเอียดใน เดลินิวส์ เรื่องการต่อโครงการโดย สพฐ.
http://www.dailynews.co.th/education/547720

โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559
โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น 2559

อ้างถึง ข้อมูลโครงการนี้ เมื่อปีพ.ศ.2559
พบ ประกาศ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
เรื่อง รายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ปี พ.ศ.2559
มีผู้ผ่านการคัดเลือก 3,395 ราย
พบว่า โครงการนี้ให้โอกาสรวมถึงนิสิตนักศึกษาครูหลักสูตรระดับปริญญาตรี 5 ปี
ที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 5
แต่หากผลการเรียนสะสมที่กำหนดในเกณฑ์ ต่ำกว่า 3.00
ก็จะถูกตัดสิทธิ์การได้รับการบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการครู
http://www.niets.or.th/protbyohec/file/announceprocbyohec.pdf
หรือ
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/751047131712774/

โครงการในปี พ.ศ.2559 พบรายละเอียดในประกาศข้างต้น
ว่ากำหนดวันรายงานตัว 16 ตุลาคม 2559
มีสาขาวิชาที่เข้าร่วมโครงการเกือบทุกสาขา
ดังนั้นนักเรียน นักศึกษาที่สนใจเป็นครู คงต้องรอติดตามข่าวสาร
และโอกาสที่จะมีมาสำหรับปีการศึกษา 2560 ต่อไป

บทความในไทยรัฐเค้าว่า งบการศึกษาระดับอุดมศึกษา 88% อุ้มคนรวยปานกลาง ถึง สูง

16 เมษายน 2559 อ.ธวัชชัย แชร์เรื่องที่อ่านพบจากไทยรัฐมาในกลุ่ม
1. เมื่ออ่านบทความในไทยรัฐ พบข้อมูลเชิงสถิติว่า เด็กที่จนไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย
คำว่าจน หมายถึง ครอบครัวรายได้ต่ำสุด 20%
ตอนแรก พบว่า 50% ในกลุ่มเด็กจน ไม่เรียนต่อ ม.ปลาย แม้เรียนฟรีก็ตาม
ตอนที่สอง พบว่า มีแค่ 7% เท่านั้นที่เด็กจนจะศึกษาต่อจนถึงอุดมศึกษา
2. แล้วงบอุดมศึกษากว่า 78 ล้าน
งบส่วนนี้จะสนับสนุนเด็กจนถึง 12%
แต่เห็นได้ชัดว่ามีถึง 88% ที่ไปสนับสนุนคนที่รายได้ปานกลาง กับรายได้สูง
3. เท่าที่อ่านดู คนที่เรียบเรียงเรื่องนี้ใช้คำว่า “อุ้ม”
ถ้าจะไม่ให้อุ้ม ก็ต้องให้เสมอภาค (Equality) ต้องจัดงบประมาณใหม่
– เด็กจน 34%
– เด็กปานกลาง 33%
– เด็กรวย 33%
4. ข้อมูลโดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
http://www.thairath.co.th/content/606365

ปล. ข่าวนี้สนใจคำว่า “อุ้ม” คำเดียว เพราะผมเห็นคล้อยตามนักข่าวเลยครับ
เรื่องอื่นไม่ได้นำมาคิดเลย คิดแล้วเดี๋ยวหาทางออกไม่ได้
เพราะคำว่าเสมอภาค (Equality) กับความยุติธรรม (Justice) มักไม่อยู่ด้วยกัน

งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา
งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง คิดถึงวิทยา
http://pantip.com/topic/31811064

ระเบียบการให้ทุนการศึกษา

ระเบียบมหาวิทยาลัยเนชั่น
ว่าด้วยการให้ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556

1. ทุนเรียนดี มีจิตอาสา
2. ทุนเรียนดี
3. ทุนการศึกษา 50 เปอร์เซ็นต์ ของค่าธรรมเนียมการศึกษา
4. ทุนการศึกษา 20 เปอร์เซ็นต์ ของค่าธรรมเนียมการศึกษา
5. ทุนส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม
ประกาศ 4 เมษายน 2556

ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556
ทุนการศึกษาแก่นักศึกษา 2556

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=624202364260565&set=a.509861379027998.128306.506818005999002