studentloan

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ไล่จับเด็กกู้เงิน กยศ.แล้วเบี้ยวหนี้ หลังพบพฤติกรรมของผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว มีงานทำแต่นำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องลงโทษสถานหนักถึงขั้นแบล็กลิสต์ พร้อมสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ ในปีการศึกษา 57 ผู้กู้ทุกคนต้องยินยอมให้ถูกขึ้นแบล็กลิสต์ หลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 ปี ยังเบี้ยวหนี้

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ในฐานะที่กำกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า นักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.ในปีการศึกษาหน้า หรือปีการศึกษา 2557 ต้องทำสัญญายอมรับการถูกขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิสต์กับศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อป้องกันการไม่ชำระหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ หลังจากพบว่า อัตราการเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและครบกำหนดชำระหนี้ เบี้ยวหนี้ถึง 50%

คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ
คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้คือ การเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วครบ 2 ปี และในปีที่ 3 ที่ต้องทยอยชำระหนี้คืน กยศ.พร้อมจ่ายดอกเบี้ย 1% ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก แต่ปรากฏว่า อัตราการเบี้ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อหลายปีก่อน เคยลดลงเหลือ 28% ปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 40% และ 50% ในที่สุด

นายทนุศักดิ์ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 57 จะเริ่มใช้ในเดือน ต.ค.นี้ สำนักงบประมาณได้ตัดงบสนับสนุน กยศ. 5,500 ล้านบาท เหลือ 23,000 ล้านบาท ทำให้มีเงินเหลือเพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 57 ได้เพียง 35,000 คนเท่านั้น เพราะ กยศ.จะไม่ตัดสิทธิ์การเล่าเรียนของผู้กู้เดิมเป็นอันขาด เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเลิกเรียนกลางคันได้

ทั้งนี้ในปัจจุบัน กยศ.มีนักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินประมาณ 800,000-900,000 คน โดยมีอัตราการเข้าใหม่และสำเร็จการศึกษาประมาณปีละ 200,000 คน โดยมีรายได้หลักจากการสนับสนุนเงินงบประมาณของรัฐบาล และรายได้จากการชำระหนี้ของรุ่นพี่เพื่อนำเงินที่ชำระนั้น ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้แก่น้องๆ รุ่นต่อๆ ไป โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (กรณีชำระเป็นรายปี) พบว่ามีมาชำระหนี้เพียง 25,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินที่ครบชำระทั้งหมด 50,000 ล้านบาท หรือเบี้ยวหนี้ถึง 50% จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กยศ.อย่างหนัก

ลูกหนี้ของ กยศ.ที่ไม่มาชำระหนี้ จะถูกเบี้ยปรับในอัตรา 15% แต่เด็กๆคิดว่าเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ จึงนำเงินไปใช้อย่างอื่นหมด เช่น ซื้อโทรศัพท์มือถือ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น โดยไม่ยอมจ่ายหนี้คืน กยศ.จึงจำเป็นต้องลงโทษอย่างหนัก โดยจะเสนอ รมว.คลัง ขึ้นบัญชีดำ 2 กรณีคือ 1.ผู้กู้ก่อนปีการศึกษา 2557 หากสำเร็จการศึกษาครบแล้ว 5 ปีไม่มาชำระจะขึ้นแบล็กลิสต์ทันที และ 2.ผู้กู้ตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไปหากครบ 3 ปีไม่ชำระหนี้ก็จะขึ้นแบล็กลิสต์เช่นเดียวกัน ซึ่งการขึ้นแบล็กลิสต์จะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงแหล่งการเงินและโอกาสในการหางานทำในอนาคตด้วย

นายทนุศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.มีผู้ที่มีงานทำประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% ไม่มีงานทำ ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงการคลังจะร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สมาคมผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือให้มีงานทำและจะร่วมกับกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่มีงานมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการของตนเองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน กยศ.ปล่อยกู้ค่าครองชีพแก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการเรียนฟรีไปจนถึง ม.6 โดยจะปล่อยกู้เป็นค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพในระดับอาชีวะจนถึงปริญญาตรี.

http://www.thairath.co.th/content/eco/357172

กยศ. ให้โอกาส

มี 32 สถานศึกษาทุจริต กยศ.

กยศ. ให้ชีวิต

ศาลแขวงลำปางกำหนดไกล่เกลี่ยเงินกยศ.ปี 2556

ศาลชวนไปไกล่เกลี่ย
ศาลชวนไปไกล่เกลี่ย

http://www.newsplus.co.th/5913

8 ก.ค.56 นายมาโนช  รัตนนาคะ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงลำปาง เปิดแถลงข่าว ว่าด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาได้ยื่นฟ้องนักเรียน นักศึกษา ของสถาบันการศึกษา ในจังหวัดลำปาง และจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดลำปาง ที่ได้กู้ยืมเงินจากกองทุนเงินให้กู้ยืมเงินเพื่อการศึกษา และผิดนัดไม่ชำระหนี้เกิน 5 ปี โดยฟ้องต่อศาลแขวงลำปาง รวมทั้งสิ้นกว่า 1,200 คดีรวมเป็นผู้กู้และผู้ค้ำประกันทั้งสิ้นประมาณ 2,000–3,000 คน

ศาลแขวงลำปางจึงกำหนดให้มีการไกล่เกลี่ยคดีกองทุนฯ ดังกล่าว เพื่อให้จำเลยได้มีโอกาสเจรจาไกล่เกลี่ยกับกองทุนฯ ในการผ่อนชำระหนี้เป็นรายเดือน ซึ่งหากตกลงกันได้ทางกองทุนฯ จะดำเนินการตามสัญญาขึ้นใหม่ เพื่อให้จำเลยชำระหนี้เป็นรายเดือน คดีจึงยุติข้อพิพาทจากศาลได้โดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และในการทำสัญญานี้จำเลยจะได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมและค่าทนายความ อันเป็นการช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและเป็นการแบ่งเบาภาระของจำเลยในภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน โดยการไกล่เกลี่ยจะจัดขึ้นในวันที่ 13-16, 22–23 สิงหาคม 2556 เวลา 09.00–16.00น. ณ อาคารศาลแขวงลำปาง ถนนรอบเวียง ตำบลหัวเวียง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง

สำหรับข้อแนะนำในการมาศาลเพื่อไกล่เกลี่ยคดีกองทุนฯ
1. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องมาศาล ตามกำหนดวันที่ปรากฏในหมายเรียก
2. หากมาศาลไม่ได้ ต้องทำหนังสือมอบอำนาจ เพื่อมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทน
3. หากไม่มาศาล และไม่มีหนังสือมอบอำนาจ ไม่สามารถไกล่เกลี่ยและไม่สามารถทำสัญญาได้และเสียประโยชน์ดังนี้
3.1 ศาลอาจมีคำพิพากษาให้จำเลยต้องชำระหนี้ทั้งหมดตามจำนวนทุนทรัพย์ที่โจทก์ฟ้องไม่มีโอกาสผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม และค่าทนายความ
3.2 กองทุนฯ อาจแจ้งชื่อจำเลยไปยังบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ(เครดิตบูโร)
ทำให้เสียเครดิตในการทำนิติกรรมกับสถาบันการเงินอื่นๆ ในอนาคต

ผลการจัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องคดี ปี 2549 – 2552
ผลการจัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องคดี ปี 2549 – 2552

http://www.thailandchonburi.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538775518&Ntype=10

เอกสารประกอบหนังสือมอบอำนาจ
1.หนังสือมอบอำนาจ
2.แนบสำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์ไกล่เกลี่ยระงับข้อพิพาทศาลแขวงลำปาง
โทร. 0-5432-2889, 0-5422-5152 ต่อ 211, 212 หรือ 082-6224211

http://www.newsplus.co.th/5913

กยศ.จ่อฟ้องนักเรียน 9 หมื่นราย (ข่าว ธ.ค.2550)

studentloan
studentloan

นายธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า กยศ.ได้หารือร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อขอให้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเด็กนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมเงินกยศ.ก่อนถูกดำเนินคดี เพราะในปี 2551 นี้ กยศ. อาจต้องดำเนินคดีตามกฎหมายกับเด็กนักเรียนนักศึกษาประมาณ 90,000 ราย เนื่องจากมีหนี้ค้างชำระ กยศ.เกิน 4 งวดขึ้นไป โดยเป็นหนี้ที่กำหนดชำระหนี้ในรุ่นปี 42-46

http://news.sanook.com/economic/economic_228616.php
http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=1374
http://www.studentloan.or.th/audit/forum/viewthread.php?forum_id=1&thread_id=4353

ทั้งนี้ กยศ.ได้ขอให้ศาลยุติธรรมทำการไกล่เกลี่ยกับผู้ถูกฟ้อง โดยนัดเจรจากับผู้กู้ยืมที่ยังค้างชำระหนี้ เพื่อให้มาผ่อนชำระหนี้คืน กยศ.ใน 2 กรณี คือทำคำรับรองขอชำระหนี้ที่ค้างชำระและทำสัญญาประนีประนอมยอมความนอกศาล หากไม่ดำเนินการก็จะดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ซึ่งกยศ.ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยฯ ขึ้น ใน 9 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ, เชียงใหม่, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, ร้อย เอ็ด, ขอนแก่น, สุราษฎร์ธานี, นครศรีธรรมราช และสงขลา ขึ้นในวันที่ 8 ม.ค.-8 มี.ค.51 นี้

นายธาดา กล่าวว่า การฟ้องร้องเด็กนักเรียนนักศึกษาครั้งนี้ไม่ได้หมายความว่า กยศ.จะเอาผิดกับผู้กู้ยืมเงินแต่อย่างใด แต่เป็นสัญญาที่กยศ.ต้องดำเนินการ เพราะถือว่าเด็กนักเรียนผิดนัดชำระหนี้เช่นเดียวกับผู้กู้เงินจากสถาบันการเงินทั่วไป เพราะหากไม่กู้ยืม กยศ.ก็จะมีความผิดตามระเบียบเช่นกัน และการเปิดโครงการไกล่เกลี่ยครั้งนี้จะทำให้เด็กนักเรียนนักศึกษามีโอกาสมาติดต่อเพื่อชำระหนี้ที่ค้างอยู่ รวมทั้งช่วยลดปริมาณคดีที่จะฟ้องคดีในศาลและลดภาระค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกัน ที่สำคัญยังช่วยเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ กยศ. และสร้างจิตสำนึกในการชำระหนี้ ตลอดจนขั้นตอนการดำเนินการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทฯ

กยศ.ต้องการให้เด็กนักเรียนนักศึกษาที่กู้ยืมเงินมาร่วมโครงการทุกรายเพราะจะได้ไม่ถูกดำเนินคดี ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ทั้งค่าไกล่เกลี่ยก่อนฟ้อง ค่าธรรมเนียมศาลหรือค่าทนายความ ที่สำคัญผู้กู้ยืมเงินจะได้รับโอกาสมากขึ้นในการผ่อนผันการชำระหนี้ และเมื่อไกล่ เกลี่ยข้อพิพาทเสร็จแล้วยังทราบผลทันที โดยไม่ต้องเสียเวลามาศาลเพื่อฟังการพิจารณาคดี รวมทั้งยังมีส่วนร่วมในการตัดสินใจหาวิธีชำระหนี้ที่เหมาะสมกับตัวเองอีกด้วย

นอกจากนี้ กยศ.ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการและการอบรมเกี่ยวกับการนำระบบอี-สติวเด้นท์โลน หรือการกู้ยืมเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต มาใช้ในการกู้ยืมเงินตั้งแต่ปีการศึกษา 2551 เป็นต้นไป โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-31 ม.ค.2551 นี้ เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับสถานศึกษา นักเรียนนักศึกษาที่จะขอกู้ยืมเงินจาก กยศ.ให้มีความเข้าใจที่ตรงกันและทำให้ได้รับเงินที่กู้ยืมรวดเร็วยิ่งขึ้นด้วย

นายธาดา กล่าวว่า ในปีการศึกษา 50 ต้องยอมรับว่าผู้กู้ยืมเงินจาก กยศ.อาจได้รับเงินล่าช้า เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย แต่กยศ.ได้พยายามหาแนวทางเพื่อให้เด็กนักเรียนนักศึกษาได้รับเงินโดยเร็วที่สุดแล้ว จนล่าสุดธนาคารกรุงไทยได้โอนเงินให้สถานศึกษากว่า 90% แล้ว โดยยืนยันว่าในปีการศึกษาหน้าเป็นต้นไป เมื่อนำระบบอี-สติวเด้นท์โลนเข้ามาใช้แล้วปัญหาทุกอย่างจะหมดไปแน่นอน

ก่อนหน้านีนายธาดา ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับเด็กนักเรียนนักศึกษาที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จากสถานศึกษา โดยขอให้สำรวจรายชื่อจากสถานศึกษาให้ชัดเจนก่อนว่าได้รับคัดเลือกให้เป็นบุคคลที่ได้รับเงินกู้หรือไม่จากนั้นจึงตรวจสอบไปที่ธนาคารกรุงไทยว่ามีการโอนเงินแล้วหรือไม่ หากมีปัญหาจริง ๆ ก็ขอให้ติดต่อมาที่สำนักงานของ กยศ.ได้

ทั้งนี้ที่ผ่านมาธนาคารกรุงไทย ได้โอนเงินให้จนเกือบครบตามสัญญาที่สถานศึกษาส่งมาให้แล้ว แต่ก็พบว่ายังมีบางส่วนที่ยังไม่ได้รับเงินกู้จาก กยศ.เพราะมีปัญหาเรื่องการขอโควตาเกินงบประมาณที่ กยศ.จัดให้ ซึ่งเรื่องนี้ต้องตรวจสอบรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้งหนึ่งก่อน.

กยศ.อึ้งจำนวนผู้ขอกู้เรียนเกินเป้า 1 แสนราย

8 กรกฎาคม 2551
หลังจากที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ขยายเวลาในการชำระเงินกู้คืน กยศ. จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชำระเงินกู้ กยศ. ปรากฏว่าที่ธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ได้มีผู้กู้จำนวนมากที่ครบกำหนดต้องชำระเงินคืนได้ไปติดต่อขอชำระเงินกู้ แต่กลับไม่สามารถชำระได้ เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตของธนาคารเกิดขัดข้อง

ซึ่ง นายบุญชัย ศศิวงศ์   ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าระบบของธนาคารกรุงไทยมีปัญหาขัดข้องจริง แต่หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถรับชำระได้ตามปกติ และหลังจากนี้ผู้ที่มาชำระล่าช้ากว่าที่กำหนดจะต้องจ่ายเบี้ยปรับด้วย โดยกรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือนจะมีเบี้ยปรับ 12% ถ้าค้างเกิน 12 เดือน เบี้ยปรับ 18% ของยอดที่ค้างชำระ ทั้งนี้คงไม่สามารถยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปได้อีกแล้ว  เนื่องจากเป็นระเบียบของ กยศ. ที่กำหนดให้ชำระได้ถึงแค่วันที่ 7 กรกฎาคม 2551

รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน
รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน

ด้าน รศ.นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้ที่ยื่นขอกู้ยืมประจำปีการศึกษา 2551 ซึ่งหมดเขตยื่นขอกู้ไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้มายื่นขอกู้กยศ.ผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต รวมประมาณ 9 แสนราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายที่ กยศ. คาดการณ์ไว้มาก เพราะ กยศ. ตั้งเป้าไว้แค่ 8 แสนรายเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้ยื่นขอกู้เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้ที่มีสิทธิกู้ กยศ. จากเดิมรายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี ได้ขยายเป็นไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ผู้มีสิทธิขอกู้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ขณะนี้ กยศ.กำลังเร่งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอกู้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบข้อเท็จจริง ความจำเป็นของผู้กู้ และงบประมาณที่จะต้องใช้ เนื่องจากเกินกว่าวงเงินที่ กยศ. ได้รับจากสำนักงบประมาณ ดังนั้นขณะนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าจะให้กู้ได้ตามวงเงินที่กำหนดหรือไม่ หรือจะต้องเสนอของบประมาณเพิ่มเติม แต่ กยศ.จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด” ผจก.กยศ.กล่าว.

 

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2438&Key=hotnews