เกณฑ์ประเมินนอกที่ตั้ง ที่น่าจะเป็นส่วนสำคัญให้ผลคือ “ไม่ผ่าน”
โดยเกณฑ์การตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ปีงบประมาณ 2555
มี 7 ประเด็น
1. ประเด็นการเปิดดำเนินการหลักสูตร
2. ประเด็นด้านอาจารย์
3. ประเด็นด้านสถานที่
4. ประเด็นด้านสิ่งสนับสนุนทางการศึกษาและการจัดบริการนักศึกษา
5. ประเด็นด้านนักศึกษา
6. ประเด็นด้านการบริหาร การประสานงานระหว่างศูนย์กับสถานที่ตั้งหลัก
7. ประเด็นอื่นที่มีผลต่อคุณภาพการศึกษาและผลประโยชน์ของนักศึกษา
นอกเหนือจากที่กำหนดไว้ที่ได้พบในการตรวจประเมิน
http://www.scribd.com/doc/133785663/
—
ที่มา : .1009news.in.th
2 เม.ย.2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ลงเผยแพร่เอกสารการประกาศยุติการรับนักศึกษาเข้าเรียนต่อในหลักสูตรนิเทศศาสตร์ประจำปี 2556 โดยชี้แจงว่า สกอ.มีมติพิจารณาการประเมินให้ไม่ผ่านมาตรฐาน โดยมีรายละเอียดชี้แจงดังต่อไปนี้
แถลงการณ์จากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก.
เรื่องการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2556
http://www.ict.su.ac.th
ด้วยวันที่ 28 มีนาคม 2556 มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้รับเอกสารแจ้งเรื่อง ผลการพิจารณากรณีทักท้วงผลการประเมิน ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ตามหนังสือเลขที่ ศธ. 0506(5) / ว 354 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2556 กรณีมหาวอทยาลัยศิลปากร ได้ทำหนังสือทักท้วงผลการตรวจประเมินการจัดการศึกษานอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. บางรัก ของหลักสูตรนิเทศศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร “ไม่ผ่าน” ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการด้านมาตรฐานอุดมศึกษาในการประชุมครั้งที่ 2/2556 เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2556 ได้พิจารณาวินิจฉัยผลการทักท้วงของมหาวิทยาลัยศิลปากรแล้ว มีมติยืนยันผลการประเมิน “ไม่ผ่าน” นั้น
จากมติของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาดังกล่าว มีผลให้คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ต้องยุติการรับนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 2556 หากยังคงเปิดรับนักศึกษาใหม่อยู่ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาจะไม่รับทราบหลักสูตรทั้งในและนอกที่ตั้ง นับตั้งแต่วันที่แจ้งให้ทราบและประกาศต่อสาธารณะ รวมทั้งแจ้งสำนักงาน ก.พ. ต่อไป
ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ในการประชุมวาระด่วนที่สุด เมื่อวันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ได้มีการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว และที่ประชุมมีมติให้คณะฯ ดำเนินการเกี่ยวกับการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ประจำปี 2556 ดังต่อไปนี้
1. ในปีการศึกษา 2556 คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยศิลปากร จะยุติการรับนักศึกษาหลักสูตรนิเทศศาสตร์ ในระบบกลาง (Admission) นอกสถานที่ตั้ง ณ ศูนย์การศึกษา อาคาร กสท. โทรคมนาคม บางรัก กรุงเทพ ตามมติ สกอ.
2. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จะเปิดรับนักศึกษาใหม่ ประจำปี 2556 ในสถานที่ตั้งหลักที่วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี โดยวิธีรับตรง จำนวน 100 คน ใน 2 สายวิชา ได้แก่ สายวิชาการลูกค้าสัมพันธ์ จำนวน 40 คน และสายวิชาวารสารและหนังสือพิมพ์ จำนวน 60 คน
ทั้งนี้ การคัดเลือกนักศึกษาเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าว คณะฯ จะใช้รูปแบบและเกณฑ์ในหการรับเข้าศึกษา เช่นเดียวกับการคัดเลือกนักศึกษา ในระบบกลาง (Admission) หากนักเรียนสนใจที่จะสมัครเข้าเรียนในสายวิชาดังกล่าวของคณะฯ ขอให้ติดตามข้อมูลต่างๆ จาก เว็บไซต์ www.ict.su.ac.th ต่อไป
ด้าน อาจารย์ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นและสรุปมติดังกล่าวของสกอ.ว่า
1. หลักสูตรนิเทศ คณะไอซีที โดนประเมินจาก สกอ. ว่าไม่ผ่านเกณฑ์การตั้งนอกที่ตั้ง (สกอ. ทำเพื่อป้องกันผู้บริโภค มาเรียนแล้วโดนหลอก) สกอ. ได้ทำการปิดเพียบ พูดง่าย ๆ คือให้กลับเรียนเพชรบุรี (หรือวิทยาเขตอื่น ๆ)
2. สกอ.สั่งห้ามรับนักศึกษาในปีการศึกษาใหม่ หากยังรับให้ปีหนึ่งเรียนที่บางรัก จะทำการปิดหลักสูตร (ย้ำว่า หลักสูตร ไม่ใช่คณะ) และจะส่งเรื่องให้ กพ. ให้รับรองวุฒิ
3. ปี 2-4 นิเทศยังเรียนเหมือนเดิม ส่วนธุรกิจและออกแบบ ถือว่าการที่ปีสี่มาเรียนที่บางรักไม่มีปัญหา เพราะเรียนในวิทยาเขตที่ตั้งมาแล้วเกิน 50% ของหน่วยกิต
4. ทางอธิการฯและคณะได้หารือด่วน มีหลายทางเลือกมาก สุดท้ายอธิการเสนอให้ปีหนึ่งนิเทศ ปี 56 กลับไปเรียนเพชรบุรี (กลับยังที่ตั้ง) เมื่อได้สำรวจอาคารสถานที่ พบว่าหอในรับเพิ่มได้อีกราว 150 คน โดยเปิดเฉพาะสาขาลูกค้าสัมพันธ์และวารสารฯ เพราะการสร้างสตูดิโอสำหรับเอกที่เหลือยังไม่พร้อม การเรียนการสอนยังเหมือนธุกิจและออกแบบคือ ปีสี่กลับมาเรียนบางรัก
5. ทางสภามหาวิทยาลัยมีนโยบายตั้งแต่เลือกอธิการฯ ว่าใครคนใดได้เป็นต้องทำ city campus แห่งใหม่ให้ลุล่วง โดยท่านอธิการจะเปิดทำ TOR แล้วมีแผนคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณ 4 ปี เมื่อนั้น นิเทศไอซีที ก็สามารถกลับมาเต็มตัวได้ในแคมปัสแห่งใหม่
6. เหตุผลที่ไม่ผ่าน ขอบอกคร่าว ๆ คือ สกอ. ไม่นับตลิ่งชันเป็นอีกหนึ่งวิทยาเขต นอกจากนั้นยังชี้ว่าอัตราส่วนอาจารย์ต่อนักศึกษามีน้อยเกินไป บวกกับไม่มีตำแหน่งทางวิชาการและจบปริญญาเอก (ในส่วนวุฒิการศึกษาและตำแหน่งวิชาการเป็นเรื่องจริง แต่ประเด็นอาจารย์พิเศษนั้น ท่านคณบดีท่านเก่าได้วางระบบไว้เพื่อเน้นอาจารย์พิเศษ สายนิเทศจำเป็นต้องเรียนกับมืออาชีพโดยมีอาจารย์ประจำสนับสนุนทางวิชาการ ส่งผลให้เด็กได้รับความรู้จากทั้งสองด้าน) รวมไปถึงมาตรฐานการเรียนที่ยังไม่ถึงเกณฑ์ ยิ่งเทียบกับหลักสูตรแบบเดียวกันของมหาลัยอื่น (แต่บัณฑิตจบแล้วมีงานทำประมาณ 90% และได้เสียงตอบรับจากนายจ้างในระดับดี อันนี้ไม่รู้ว่าเชื่อเกณฑ์ที่วัดหรือความพึงพอใจจากนายจ้างที่ทำงานในสายวิชาชีพจริงดี)
http://issuu.com/ictsilpakorn/docs/20130402
http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1364925371&grpid=01&catid=&subcatid=
http://men.postjung.com/668575.html
http://www.thairath.co.th/content/edu/336594
http://www.1009news.in.th/2013/04/%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A/1270
———————————————
ศิษย์เก่าสาขานิเทศศาสตร์รายหนึ่ง
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มศก. ให้ข้อมูลกับ “สำนักข่าวอิศรา” ว่า เดิม หลักสูตรนิเทศศาสตร์ มีทั้งหมด 5 เอก ได้แก่ภาพยนตร์ วิทยุโทรทัศน์ โฆษณา วารสารศาสตร์ และลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งเดิมทุกเอก ทุกชั้นปี จะให้เรียนที่ตึก กสท.บางรัก แต่ล่าสุด ให้ยุบ 3 เอกแรก เหลือแค่เอกวารสารศาสตร์กับลูกค้าสัมพันธ์ และให้ย้ายไปเรียนที่วิทยาเขต จ.เพชรบุรี โดยให้เหตุผลว่า ตึก กสท.บางรักเล็กเกินไปในการจัดการเรียนการสอน ทั้งๆ ที่วาแตล (หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการโรงแรม) กับมัลติมีเดีย (หลักสูตรศิลปบัณฑิต สาขาการออกแบบมัลติมีเดีย) ของวิทยาลัยนานาชาติ มศก. ก็เรียนที่ กสท.บางรักเช่นกัน
ที่มา http://www.isranews.org/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7/item/20386-ict-silpakorn-1.html
————————————————————-
หลังจากเกิดกระแสดังกล่าวขึ้น”มติชนออนไลน์” ได้ติดต่อขอข้อมูลเบื้องต้น
จาก ผ.ศ.ชัยชาญ ซึ่งเป็นการ ถาม-ตอบ ใน 3 ประเด็น ดังนี้
@ คำสั่งดังกล่าว ถือว่า “มีผลสิ้นสุด” หรือไม่ หรือมีแนวทางดำเนินการต่อไปได้อีก
คำสั่งดังกล่าว “ถือเป็นการสิ้นสุด” ครับ ไม่สามารถขอทบทวนได้ ด้วยประการทั้งปวง
เพราะว่าได้มีการตรวจเยี่ยมมาแล้วสองครั้ง ในแต่ละครั้งก็มีคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเข้ามาตรวจ โดยในหนึ่งวันทำการ มีการสัมภาษณ์ผู้บริหาร อาจารย์ นักศึกษา และเข้าชมสถานที่ ตลอดจนตรวจเอกสารตามระเบียบปฏิบัติของเรื่องนี้
ส่วนรายละเอียดไม่ได้อยู่ในมือผมขณะนี้จึงไม่สามารถอธิบายได้แนะนำให้ สอบถามจากสกอ.ซึ่งจะได้รายละเอียดที่เป็นจริงมากกว่าในส่วนของผมไม่สามารถ พูดอะไรได้มากกว่านี้อย่างไรก็ตามเท่าที่อ่านจากเฟซบุ๊คนักศึกษาส่วนใหญ่ไม่ ค่อยจะเห็นด้วยกับความเห็นของคณะกรรมการจากสกอ.มากนัก
@ จากกรณีนี้ ส่งผลกระทบกับ เด็กนักเรียนที่เลือกคณะนี้ ในระบบรับตรงแล้ว ทางคณะหรือมหาวิทยาลัย จะดำเนินการอย่างไร
เท่าที่ทราบจากเฟซบุ๊คของหลายๆคนว่าทางมหาวิทยาลัยก็สอบถามไปแล้วเพื่อ หาทางเยียวยาแก้ไขในเรื่องนี้นะครับซึ่งก็เป็นขั้นตอนที่มหาวิทยาลัยจะต้อง รีบดำเนินการให้เร็วที่สุดภายหลังที่หาข้อมูลประกอบการพิจารณาทางเลือกและ แก้ไขและเมื่อได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วจากคณะวิชาและมหาวิทยาลัยเท่าที่ทราบ ปีนี้ก็มีเด็กโควตาน้อยกว่าปกติและส่วนใหญ่ก็วางแผนสมัครแอดมิชชั่นกลางอยู่ แล้ว
@ มีผลกระทบต่อ นักศึกษารุ่นปัจจุบันที่กำลังศึกษาอยู่ที่ในบางรัก หรือไม่
ไม่มีผลกระทบกับนักศึกษาปัจจุบันตั้งแต่ปีที่สองขึ้นไป จบแล้วก็ยังได้รับการรับรองว่าผ่านหลักสูตรที่ทั้ง สกอ.และ กพ. รับรองครับ