university

เกณฑ์ที่สกอ.เขียนให้ทุกมหาวิทยาลัยไม่เหมาะกับบริบทของมหาวิทยาลัย ถ้าเขียนเกณฑ์เองจะเหมาะกว่า

13 universities
13 universities

อ่านข่าวจากเดลินิวส์ว่า
10 พ.ค.59 ผศ.ดร.ประเสริญ คันธมานนท์ เปิดเผยว่าสมาชิก ทปอ. จำนวน 13 จาก 27 แห่ง
ได้ทำหนังสือถึง สกอ. เพื่อแจ้งให้ทราบว่า จะดำเนินการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน
ที่เหมาะสมบริบทของมหาวิทยาลัยแทน
การใช้ระบบประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษาของ สกอ.
http://www.dailynews.co.th/education/396662
http://www.cheqa.mua.go.th/

ข้อคิดดี ๆ เกี่ยวกับ smartphone
ข้อคิดดี ๆ เกี่ยวกับ smartphone

แล้วก็ไปอ่านข้อคิดดี ๆ จาก FB Wiriyah Eduzones
ว่าเรื่องราวต่าง ๆ มากมาย
“สามารถใช้โทรศัพท์เครื่องเดียว ตอบได้ทั้งหมด”
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/pb.109357035752956.-2207520000.1463187905./1111516935536956/

hair style
hair style

การเรียนหนังสือ
เค้าก็บอกว่าไม่ได้ใช้ทรงผม แต่ใช้สมองในการเรียนหนังสือ
โดยเปรียบเทียบให้เห็นว่ามีคน 2 คนคุยกัน
ครูไทย กับ นักเรียนญี่ปุ่น โดยครูไทยถามว่า
ที่ญี่ปุ่นเค้าไม่มีกฎเรื่องทรงผมหรอ
นักเรียนที่ญี่ปุ่นคนหนึ่งตอบว่า”พวกเราใช้สมองเรียนค่ะ ไม่ได้ใช้ทรงผม
นี่ถ้าถามได้อีกข้อ คงถามว่า
ที่ญี่ปุ่น/เกาหลี เค้ามีแบบฟอร์มนักเรียนสวย ๆ ด้วยหรอ
คำตอบคงไม่สำคัญครับ .. เพราะผมว่าชุดนักเรียนญี่ปุ่นสวยดี
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/pb.109357035752956.-2207520000.1463188423./1108208335867816/

ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง

thai consultant
thai consultant

8 เม.ย.59 ได้รับแจ้งจาก อ.ดร.ทันกวินท์   รัฐวัฒก์อังกูร
ว่า มหาวิทยาลัยเนชั่นได้หนังสือเรื่อง “แจ้งผลการจดทะเบียนที่ปรึกษาไทย
ที่ กค 0910/1050 จาก นายวิสุทธิ์ จันมณี ที่ปรึกษาด้านตลาดตราสารหนี้ ปฏิบัติราชการแทน
ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ว่า
ศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลังได้จดทะเบียนให้มหาวิทยาลัยเนชั่น
เป็นที่ปรึกษาระดับ B หมายเลข 4304 เรียบร้อยแล้ว
เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2559 .. และมีอายุ 2 ปีนับจากวันจดทะเบียน
โดยค้นข้อมูลได้ที่ http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ค้นคำว่า “มหาวิทยาลัย” เมื่อ 8 เมษายน 2559 พบผลการสืบค้นทั้งสิ้น 128 รายการ

http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search#sthash.bFczslJe.dpuf
มหาวิทยาลัยเนชั่น มีเลขทะเบียนที่ปรึกษา คือ 4304

15 ต.ค.57 มีโอกาสพูดคุยกับ อ.นงลักษณ์ สุวรรณวิชิตกุล เรื่องการเป็นที่ปรึกษา
แล้วติดต่อกับส่วนราชการ มีรายละเอียดพอสมควร ผมก็จำได้ไม่ได้บ้าง
เพราะเคยสนใจ เมื่อกว่า 10 ปีมาแล้ว
มาค้นดูอีกครั้ง เห็นได้ชัดว่าประเทศไทยเราพัฒนาไปเรื่อย ๆ ในทางที่ดีขึ้น

ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ
ที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง พบ มหาวิทยาลัยอยู่ 134 รายการ

ความหมายของที่ปรึกษา
ที่ปรึกษาคือ ผู้ประกอบวิชาชีพซึ่งอาจเป็นรายบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็น ห้างหุ้นส่วน หรือบริษัทที่ต้องมีจรรยาบรรณวิชาชีพอย่างสูง และมีความรู้ทางวิชาการ ประสบการณ์ และความสามารถให้บริการที่ปรึกษา และเสนอแนะ ความรู้ทางวิชาการในสาขาต่างๆ อาทิ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม เศรษฐศาสตร์ สังคม และการเมือง ทั้งนี้ รูปแบบการให้บริการประกอบด้วย การศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการลงทุนโดยพิจารณาด้านเทคนิค เศรษฐกิจ การเงิน สังคม และสิ่งแวดล้อม การศึกษาสำรวจและออกแบบในรายละเอียดทางด้านวิศวกรมและสถาปัตยกรรม และการวางแผนและควบคุมการก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่และซับซ้อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับงานหลายๆ ด้าน โดยจำเป็นต้องใช้วิศวกรที่ปรึกษาและผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีความรู้ความสามารถและ ประสบการณ์ในงานที่เกี่ยวข้องทั้งทางเทคนิค วิศวกรรม เศรษฐศาสตร์ การเงิน และการบริหาร เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ เพื่อหาวิธีการที่จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ว่าจ้าง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/12

ขั้นตอนการยื่นขอจดทะเบียนที่ปรึกษา
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/21

registration flow
registration flow

หลักฐานที่ใช้ประกอบการยื่นจด/ต่อ/เพิ่มเติม/ปรับสถานะทะเบียนที่ปรึกษาไทย
สำหรับที่ปรึกษานิติบุคคล
1.หนังสือแสดงความประสงค์ขอจดทะเบียนเป็นที่ปรึกษานิติบุคคลถึงผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะจำนวน 1 ฉบับ ดาวน์โหลด ที่นี่
2. เอกสารประกอบกรณีห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือบริษัท
– สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน, ทุนจด    ทะเบียน 1 ล้านบาทขึ้นไป)
– สำเนาหนังสือบริคณห์สนธิ
– สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (นายทะเบียนรับรองไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัท
– สำเนาใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภพ.20)
– สำเนาใบประกอบวิชาชีพ สำเนาใบสมาชิกสมาคมวิศวกรที่ปรึกษา หรือสมาคมต่างๆที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี)
– อื่นๆ
3. เอกสารประกอบกรณีองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิ สมาคม หรือสถาบันการศึกษา (ในกรณีที่เป็นมูลนิธิ จะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นมูลนิธิประเภทใด เช่น มูลนิธิเพื่อการกุศล มูลนิธิเชิงพาณิชย์ หรือ อื่นๆ)
– พระราชบัญญัติจัดตั้งองค์กร/ระเบียบ ข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
– สำเนารายชื่อกรรมการ/คณะผู้ดำเนินการขององค์กร
– งบการเงิน
– รายงานประจำปี (Annual Report)
– สำเนาประจำตัวผู้เสียภาษีขององค์กร
– อื่นๆ
4. เอกสารประกอบโครงการ
– สำเนาหนังสือสัญญาว่าจ้างเป็นที่ปรึกษาที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดของลักษณะงานที่ทำ บุคลากรที่ดำเนินโครงการ จำนวนคน-เดือน (man-month) และอัตราค่าจ้าง ระยะเวลาดำเนินโครงการ และมูลค่าตามสัญญาจ้าง
– ถ้าโครงการยังไม่แล้วเสร็จ ทางศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาจะไม่พิจารณาโครงการนั้น
หมายเหตุ กรณีจดทะเบียนเพิ่มเติม หรือต่อทะเบียนการเป็นที่ปรึกษา ที่ปรึกษายื่นเอกสารโครงการเฉพาะที่เพิ่มเติมเท่านั้น
5. เอกสารบุคลากร
– รูปถ่าย 1 นิ้ว หน้าตรง จำนวน 1 รูป (ถ่ายไม่เกิน 6 เดือน)
– สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้แทน
– สำเนาทะเบียนบ้าน
– ประวัติการทำงานโดยละเอียด (อย่างน้อยต้องระบุปี พ.ศ.)
– หลักฐานการศึกษา (ใบปริญญาบัตร หรือ Transcript)
6. การรับรองความถูกต้องของเอกสาร
– เอกสารทุกชนิด ทุกหน้า ต้องประทับตราบริษัท และรับรองความถูกต้องโดยผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลฯ จะไม่รับจดทะเบียน และจะดำเนินการลบรายชื่อที่ปรึกษาออกจากฐานข้อมูลที่ปรึกษา หากตรวจพบว่าที่ปรึกษาเสนอข้อมูลจดทะเบียนมาไม่ถูกต้องกับข้อเท็จจริง
7. เอกสารต้องเจาะใส่แฟ้ม 2 ห่วง
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/22

บริการค้นที่ปรึกษาในศูนย์ข้อมูลที่ปรึกษาไทย กระทรวงการคลัง
พบว่ามีประเภทนิติบุคคล : มหาวิทยาลัย พบทั้งหมด 134 รายการ
http://www.thaiconsult.pdmo.go.th/ThaiConsult/mainframe/search
ที่ปรึกษามี 4 สถานะ
1. สถานะ Active แสดงสถานะ สมาชิก
2. สถานะหมดอายุและไม่ได้ทำการต่อทะเบียนที่ปรึกษา หรือ Not Acitve
3. ต่ออายุที่ปรึกษา หรือ เพิ่มเติมโครงการ/ปรับสถานะ และยังอยู่ในขั้นตอนตรวจสอบของเจ้าหน้าที่
4. สถานะถูกเพิกถอน

สิทธิในการฟ้องคดี กับเสรีภาพวิชาการ

มีประเด็นข้อสังเกตเกี่ยวกับกรณี คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ฟ้องคดีนักวิชาการ และสื่อมวลชนว่า เป็นสิทธิอันชอบธรรมของ กทค.

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล จาก กรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/13FdELP
! http://blog.nation.ac.th/?p=2832

ทั้งในฐานะส่วนตัว และองค์กรที่จะฟ้องคดีคนที่ทำให้พวกเขาเสียหาย เสื่อมเสียชื่อเสียง ความน่าเชื่อถือ ในขณะเดียวกันก็มีประเด็นโต้แย้งว่า ถึงแม้จะเป็นการใช้สิทธิ แต่เป็นการใช้ในลักษณะลิดรอนในการแสดงความคิดเห็นของนักวิชาการ และสื่อมวลชน ซึ่งได้รับรองโดยบทบัญญัติรัฐธรรมนูญหรือไม่

ความเป็นธรรมเรื่องที่ กทค. ใช้เป็นฐานความผิด ในการฟ้องคดีนี้ คือ การวิพากษ์เรื่องสัมปทานโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 1800 ซึ่งเป็นประเด็นสาธารณะ แม้จะกระทบพาดพิงไปถึงบุคคลที่ประกอบขึ้นเป็น กทค.บ้าง ก็ถือว่า กทค. เป็น public figure หรือบุคคลสาธารณะด้วย บุคคลสาธารณะย่อมได้รับการยกเว้น ในการที่สื่อหรือสาธารณชนจะติดตาม ตรวจสอบ หรือนำเสนอเรื่องราวของเขาเหล่านั้น และหากพิจารณาประกอบกับข้อยกเว้นความผิดฐานหมิ่นประมาท เรื่องประเด็นสาธารณะ การแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมต่อสาธารณะ ในประมวลกฎหมายอาญา ก็มีคำพิพากษาศาลฎีกาหลายคดีเป็นบรรทัดฐาน

คำว่า ใช้สิทธิในการลิดรอนเสรีภาพ หรือการแสดงออกในลักษณะข่มขู่ คุกคาม นอกเหนือจากการใช้สิทธิตามกฎหมาย เช่น ขู่จะฟ้องทั่วราชอาณาจักร ซึ่งทำไม่ได้โดยข้อกฎหมาย หรือข้อหา คำขอท้ายฟ้องที่มุ่งหมายจะแก้แค้นตอบแทนในแบบตาต่อตา ฟันต่อฟัน มุ่งหมายจะให้จำเลยรับโทษหนักกว่าที่ควร อาจตีความได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต ซึ่งในทางคดีแพ่งเขียนไว้ชัด แต่ในคดีอาญา ประมวลกฎหมาย มาตรา 175 บอกว่า ผู้ใดเอาความอันเป็นเท็จฟ้องผู้อื่นต่อศาลว่ากระทำความผิดอาญา หรือว่ากระทำความผิดอาญาแรงกว่าที่เป็นความจริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี และปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท

หากพิเคราะห์ในแง่เสรีภาพ นักวิชาการ และสื่อมวลชน
ใช้เสรีภาพจนเกินขอบเขต หรือไม่มีความรับผิดชอบหรือไม่

การใช้เสรีภาพจนเกินเลยไปจากหน้าที่นักวิชาการ ที่มุ่งจะเสนอแง่มุมทางวิชาการด้วยเหตุ และผลเพื่อให้สังคมตื่นรู้และเท่าทันบางเรื่องราวที่ยากเข้าถึงและเข้าใจ หรือการใช้เสรีภาพของสื่อในการรายงานและอธิบายปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ทางสังคมที่เกิดขึ้น ในกรณีนี้ ไม่มีประเด็นที่จะชี้ให้เห็นเลยว่า สื่อและนักวิชาการได้ใช้เสรีภาพในทางที่จะไปกระทบต่อเกียรติยศ ชื่อเสียงของบุคคลใดในฐานะส่วนตัวเลย ตรงกันข้าม กลับแสดงให้เห็นว่า กทค. ใน กสทช. กำลังใช้สิทธิโดยไม่เข้าใจบริบท หรือบทบาทของนักวิชาการ และสื่อ ซึ่งจะส่งผลเสียหายต่อ กสทช. มากกว่า

การฟ้องร้องครั้งนี้กลับยิ่งทำให้องค์กรได้รับความเสียหายมากกว่า เพราะการที่ กสทช. ถูกวิพากษ์วิจารณ์และอาจไม่พอใจกับข้อมูลที่ได้รับการตรวจสอบนั้น ก็สามารถใช้สิทธิในการโต้แย้งเพื่อชี้แจงข้อมูลผ่านการแถลงข่าว ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงการใช้งบประมาณซื้อพื้นที่สื่อเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์งานของ กสทช. ซึ่งเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์มาโดยตลอด รวมทั้งพบว่าสถานีโทรทัศน์บางช่องได้เชิญกรรมการบางท่านไปออกรายการเพื่อชี้แจง แต่กลับได้รับการปฏิเสธไม่ร่วม การกระทำเช่นนี้ย่อมอาจถูกมองได้ว่าเป็นการปฏิเสธการตรวจสอบจากภายนอก ซึ่งขัดเจตนารมณ์การเป็นองค์กรอิสระที่ต้องมีหลักธรรมาภิบาลเรื่องความโปร่งใสตรวจสอบได้” สุภิญญา กลางณรงค์ กสทช. กล่าว

กสทช. และคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทค.) ร่วมกันเป็นโจทก์ ฟ้อง ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ ผู้อำนวยการวิจัย มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) และณัฎฐา โกมลวาทิน ผู้สื่อข่าวและผู้ดำเนินรายการ “ที่นี่ไทยพีบีเอส” จากกรณีนำเสนอข่าวการสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทานการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1800 ในข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ณ ศาลอาญา

กรณีเช่นนี้ เคยปรากฏมาก่อน จากการที่บริษัทโรงไฟฟ้าแห่งหนึ่งฟ้องผู้ร่วมรายการ และจอมขวัญ หลาวเพ็ชร พิธีกรรายการ คม ชัด ลึก ทางเนชั่นแชนแนล ศาลยกฟ้องชั้นไต่สวน โดยให้เหตุผลว่า

…การตั้งประเด็นคำถาม เกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดกับประชาชนในพื้นที่ ความไม่โปร่งใสในการประมูล เป็นการทำหน้าที่ในฐานะสื่อมวลชน

ซึ่งศาลได้ยกฟ้องผู้ร่วมรายการในเวลาต่อมา ด้วยเหตุว่าเป็นการทำหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ

ไม่ว่า กสทช. โดย กทค. จะเดินหน้าใช้อำนาจศาลข่มขู่ คุกคาม นักวิชาการและสื่อมวลชนที่ทำหน้าที่ตรงไปตรงมา ตามวิชาชีพครั้งนี้อย่างไร ก็ไม่สามารถหยุดยั้งการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของ กทค. และกสทช. ทั้งคณะอย่างเข้มข้นต่อไปได้

กสทช. ตัดสินใจเดินหน้า ไม่ถอนฟ้อง ไม่เจรจา ไม่อ่อนข้อกับคู่กรณีอย่างใดทั้งสิ้น นี่นับว่าเป็นเรื่องน่ายินดี เพราะเท่ากับ กสทช. กำลังยื่นดาบให้ศาลเชือดคอตัวเอง

โดย จักร์กฤษ เพิ่มพูล จาก กรุงเทพธุรกิจ
! http://bit.ly/13FdELP
! http://blog.nation.ac.th/?p=2832

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

ชักดาบเงินกู้ กยศ. ทนุศักดิ์ งัดไม้ตายจับขึ้นบัญชีแบล็กลิสต์

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ไล่จับเด็กกู้เงิน กยศ.แล้วเบี้ยวหนี้ หลังพบพฤติกรรมของผู้สำเร็จการศึกษาไปแล้ว มีงานทำแต่นำไปใช้จ่ายฟุ่มเฟือย จึงจำเป็นต้องลงโทษสถานหนักถึงขั้นแบล็กลิสต์ พร้อมสร้างหลักเกณฑ์ใหม่ ในปีการศึกษา 57 ผู้กู้ทุกคนต้องยินยอมให้ถูกขึ้นแบล็กลิสต์ หลังสำเร็จการศึกษาไปแล้ว 3 ปี ยังเบี้ยวหนี้

นายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ในฐานะที่กำกับกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยว่า นักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.ในปีการศึกษาหน้า หรือปีการศึกษา 2557 ต้องทำสัญญายอมรับการถูกขึ้นบัญชีดำ หรือแบล็กลิสต์กับศูนย์ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ หรือเครดิตบูโร เพื่อป้องกันการไม่ชำระหนี้ หรือเบี้ยวหนี้ หลังจากพบว่า อัตราการเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วและครบกำหนดชำระหนี้ เบี้ยวหนี้ถึง 50%

คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ
คลิ๊ปนักศึกษา กยศ. เข้าหัวข้อแรงบันดาลใจ

สิ่งที่น่าเป็นห่วงตอนนี้คือ การเบี้ยวหนี้ของนักเรียนและนักศึกษา เมื่อสำเร็จการศึกษาไปแล้วครบ 2 ปี และในปีที่ 3 ที่ต้องทยอยชำระหนี้คืน กยศ.พร้อมจ่ายดอกเบี้ย 1% ต่อปี ซึ่งถือเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำมาก แต่ปรากฏว่า อัตราการเบี้ยวเพิ่มขึ้นจากเดิมเมื่อหลายปีก่อน เคยลดลงเหลือ 28% ปัจจุบันเพิ่มขึ้นจาก 40% และ 50% ในที่สุด

นายทนุศักดิ์ กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 57 จะเริ่มใช้ในเดือน ต.ค.นี้ สำนักงบประมาณได้ตัดงบสนับสนุน กยศ. 5,500 ล้านบาท เหลือ 23,000 ล้านบาท ทำให้มีเงินเหลือเพียงพอที่จะปล่อยกู้ให้แก่นักเรียนและนักศึกษาใหม่ในปีการศึกษา 57 ได้เพียง 35,000 คนเท่านั้น เพราะ กยศ.จะไม่ตัดสิทธิ์การเล่าเรียนของผู้กู้เดิมเป็นอันขาด เนื่องจากเกรงว่าจะส่งผลกระทบต่อนักเรียนและนักศึกษาที่ต้องเลิกเรียนกลางคันได้

ทั้งนี้ในปัจจุบัน กยศ.มีนักเรียนและนักศึกษาที่กู้เงินประมาณ 800,000-900,000 คน โดยมีอัตราการเข้าใหม่และสำเร็จการศึกษาประมาณปีละ 200,000 คน โดยมีรายได้หลักจากการสนับสนุนเงินงบประมาณของรัฐบาล และรายได้จากการชำระหนี้ของรุ่นพี่เพื่อนำเงินที่ชำระนั้น ไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนให้แก่น้องๆ รุ่นต่อๆ ไป โดยเมื่อวันที่ 5 ก.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งถือเป็นวันที่ครบกำหนดชำระหนี้ (กรณีชำระเป็นรายปี) พบว่ามีมาชำระหนี้เพียง 25,000 ล้านบาท จากจำนวนเงินที่ครบชำระทั้งหมด 50,000 ล้านบาท หรือเบี้ยวหนี้ถึง 50% จึงมีผลกระทบต่อสภาพคล่องของ กยศ.อย่างหนัก

ลูกหนี้ของ กยศ.ที่ไม่มาชำระหนี้ จะถูกเบี้ยปรับในอัตรา 15% แต่เด็กๆคิดว่าเป็นความผิดเล็กๆน้อยๆ จึงนำเงินไปใช้อย่างอื่นหมด เช่น ซื้อโทรศัพท์มือถือ และรถจักรยานยนต์ เป็นต้น โดยไม่ยอมจ่ายหนี้คืน กยศ.จึงจำเป็นต้องลงโทษอย่างหนัก โดยจะเสนอ รมว.คลัง ขึ้นบัญชีดำ 2 กรณีคือ 1.ผู้กู้ก่อนปีการศึกษา 2557 หากสำเร็จการศึกษาครบแล้ว 5 ปีไม่มาชำระจะขึ้นแบล็กลิสต์ทันที และ 2.ผู้กู้ตั้งแต่ปี 57 เป็นต้นไปหากครบ 3 ปีไม่ชำระหนี้ก็จะขึ้นแบล็กลิสต์เช่นเดียวกัน ซึ่งการขึ้นแบล็กลิสต์จะมีผลกระทบต่อการเข้าถึงแหล่งการเงินและโอกาสในการหางานทำในอนาคตด้วย

นายทนุศักดิ์ กล่าวอีกว่า จากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาที่กู้เงินจาก กยศ.มีผู้ที่มีงานทำประมาณ 70% ที่เหลืออีก 30% ไม่มีงานทำ ซึ่งในส่วนนี้กระทรวงการคลังจะร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สมาคมผู้ประกอบการต่างๆ เพื่อช่วยเหลือให้มีงานทำและจะร่วมกับกองทุนตั้งตัวได้ เพื่อให้ผู้ที่สำเร็จการศึกษาแล้ว แต่ยังไม่มีงานมีโอกาสเป็นเจ้าของกิจการของตนเองได้ด้วย ซึ่งปัจจุบัน กยศ.ปล่อยกู้ค่าครองชีพแก่นักเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 4 (ม.4) เนื่องจากรัฐบาลมีโครงการเรียนฟรีไปจนถึง ม.6 โดยจะปล่อยกู้เป็นค่าเล่าเรียน และค่าครองชีพในระดับอาชีวะจนถึงปริญญาตรี.

http://www.thairath.co.th/content/eco/357172

กยศ. ให้โอกาส

มี 32 สถานศึกษาทุจริต กยศ.

กยศ. ให้ชีวิต

Nation University Update #7 ตอนคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

นั่งดูคลิ๊ปเพลินครับวันนี้ .. เห็นนักศึกษาหน้าตาดี
อาจารย์ก็หล่อมาดเข้ม จึงนำมาฝากครับ

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย

คลิ๊ปรายการ Nation University Update #7
อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย เล่าเรื่อง คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
และ อ.อุดม ไพรเกษตร ผู้ดำเนินรายการ
บริเวณริมอ่างตระพังดาว มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง
ตอนเซเว่น” เห็นนักศึกษาเล่น ninja fruit ด้วยครับ

– iClassroom
– Lab Mac
– e-Learning
– Wi-Fi
– Tablet PC : Samsung Tab 10.1
– Network : Training & Co-op

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์

รับน้องใหม่…ด้วยหัวใจความเป็นมนุษย์ .. ! http://bit.ly/12KoMUr

รับน้อง รักน้อง .. ต้องจัดเต็ม
นึกถึงบรรยากาศรับน้องเข้าฐาน .. 18 ด่านมนุษย์ทองคำ
แต่ละฐานก็ช่างคิดกันจริง .. โชคดีมีรุ่นพี่ช่วยหาม
ยาลม ยาดม ยาหม่องพร้อม เป็นอีกภาพสะท้อน
จากงานเขียน อ.อัญ พบในกรุงเทพธุรกิจ

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

คุมเข้ม! อาชีวะรับน้อง“ พงศ์เทพ ” สั่ง สอศ.กำชับวิทยาลัยทุกแห่งจัดกิจกรรมตามมาตรการ ส่วนตามสถาบันอุดมศึกษาสั่งห้ามรับน้องนอกสถานที่ ห้ามมีของมึนเมา ห้ามละเมิดสิทธิส่วนบุคคลและทางเพศ เน้นกิจกรรมสร้างสรรค์ ย้ำผู้บริหารและครูดูแลใกล้ชิด พร้อมเปิดสายด่วน 1156 ให้แจ้งเหตุตลอด 24 ชม.
ข้อความที่ปรากฏบนหน้าหนังสือพิมพ์ออนไลน์ในช่วงเดือนพฤษภาคมได้สะท้อนถึงนโยบายและการเตรียมความพร้อมในเทศกาลรับน้องที่กำลังจะมาถึง โดยกระทรวงศึกษาธิการ (สธ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีคำสั่งยังสถานศึกษาทุกระดับ ทุกสังกัดทั่วประเทศโดยมีใจความสำคัญว่า ห้ามรุ่นพี่และสถาบันการศึกษาจัดกิจกรรมรับน้องนอกสถานศึกษาโดยเด็ดขาด หากมีการจัดกิจกรรมรับน้องจะต้องอยู่ในการดูแลรับผิดชอบร่วมกันของผู้บริหารและครู นอกจากนี้การรับน้องควรมีลักษณะสร้างสรรค์ส่งเสริมคุณธรรมและจริยธรรมและไม่ขัดต่อระเบียบของสถาบันการศึกษาและประเพณีวัฒนธรรมที่ดีงามของสังคม รวมทั้งเคารพเสรีภาพส่วนบุคคลและห้ามล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคลทั้งทางร่างกายและจิตใจ

รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย
รับน้อง รักน้อง ต้องเต็มที่กันหน่อย

เป็นที่น่าสังเกตว่า มาตรการการคุมเข้มเกี่ยวกับการรับน้องดังกล่าวมิได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก แต่มีความพยายามที่จะควบคุมและกำกับดูแลการรับน้องให้อยู่ภายใต้กฎระเบียบมาเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจาก “รุ่นพี่” ในหลายสถาบันการศึกษายังคงจัดกิจกรรมการรับน้องทั้งในและนอกสถานที่อย่างต่อเนื่อง และเมื่อใดก็ตามที่เกิดเหตุการณ์ “น้องใหม่” ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตระหว่างเข้าร่วมกิจกรรมการรับน้องรุ่นพี่ก็จะกลายสภาพเป็น “ผู้ร้าย” หรือ “พี่ว๊ากจอมโหด” ผ่านสื่อมวลชนทุกแขนง บ่อยครั้งที่กระแสวิพากษ์วิจารณ์ได้ขยายวงกว้างจนกลายเป็น “ความขัดแย้ง” หรือ “ความรุนแรง” เนื่องจากความคิดเห็นที่แตกต่าง โดยเฉพาะประเด็นการรับน้องด้วยระบบโซตัส (SOTUS) ที่มักพูดถึงบ่อยครั้งในช่วงเทศกาลการรับน้อง
จากการศึกษาที่มาของระบบโซตัส (SOTUS) หรือ ระบบว๊าก ในประเทศไทยพบว่า การรับน้องด้วยระบบโซตัสเริ่มเผยแผ่เข้ามาในสังคมไทยครั้งแรกที่โรงเรียนป่าไม้ภาคเหนือ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นวิทยาลัยเกษตรกรรมแม่โจ้ หรือ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในปัจจุบัน ในช่วงปี 2486 ระบบโซตัสถูกนำไปใช้ในการรับน้องมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งกลุ่มคนที่นำเข้าแนวคิดการรับน้องระบบโซตัสมาใช้ในประเทศไทยยุคแรก คือ อาจารย์ที่จบจากวิทยาลัยเกษตรกรรมลอสบานยอส (Los Banos) แห่งฟิลิปปินส์ มหาวิทยาลัยออริกอนสเตต (Oregon State University) และมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) แห่งสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายเพื่อละลายพฤติกรรมและลดทอนความต่างของฐานะ รวมทั้งให้นิสิตใหม่รู้สึกเท่าเทียมและมีความรักสามัคคี ผ่านการกดดันกลั่นแกล้ง เช่น การปีนเสา การคลุกโคลน เป็นต้น ซึ่งระบบโซตัสดังกล่าวได้ถูกผลิตซ้ำและสืบทอดในสังคมไทยเป็นระยะยาวนานกว่า 60 ปี

  • Seniority – การเคารพผู้อาวุโส
  • Order – การปฏิบัติตามระเบียบวินัย
  • Tradition – การปฏิบัติตามธรรมเนียมประเพณี
  • Unity – การเป็นหนึ่งเดียว
  • Spirit – การมีน้ำใจ

อย่างไรก็ดี ระบบโซตัสที่ถูกสังคมวิพากษ์วิจารณ์ในปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นการรับน้องที่มีลักษณะที่ใช้ความรุนแรงและแปลกพิสดาร เช่น การตะโกนด่าทอรุ่นน้องด้วยถ้อยคำหยาบคาย การบังคับให้กลั้นหายใจใต้น้ำตามเวลาที่กำหนด การให้รุ่นน้องนอนกลิ้งไปบนพื้นหินกรวดกลางแดด การสั่งให้โชว์หรือจับอวัยวะเพศของกันและกัน การบังคับให้กินของแปลก หรือดื่มสุราจนขาดสติ เป็นต้น หากรุ่นน้องคนใดไม่ปฏิบัติตามรุ่นพี่ก็จะใช้อำนาจในการ “ควบคุม” “ข่มขู่” หรือ “ลงโทษ” เพื่อให้รุ่นน้องเกิดความเกรงกลัว หรืออับอายขายหน้า ซึ่งการกระทำของรุ่นพี่ดังกล่าว หากพิจารณาจากมุมมองด้านสิทธิมนุษยชน อาจถือได้ว่าเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้าน “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” (Right to Human Dignity) และกฎหมายรัฐธรรมนูญ ปี 2540 และ ปี 2550 มาตรา 4 ได้บัญญัติไว้ว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รับความคุ้มครอง
การรับน้องในปีนี้ แม้ว่ารุ่นพี่หลายคนยังศรัทธาระบบโซตัสก็ไม่ใช่เป็นเรื่องที่ยอมรับไม่ได้ หากกิจกรรมดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานการเคารพสิทธิและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมีเป้าหมายที่จะทำให้น้องใหม่เกิดความ “ประทับใจ” มากกว่า “ความสะใจ” ของรุ่นพี่ เพราะปัญหาที่ผ่านมาของการรับน้องในระบบโซตัสโดยส่วนใหญ่มักเกิดจากการสืบทอดและผลิตซ้ำ “อำนาจและความรุนแรง” ในสังคม มากกว่าเป้าหมายในเชิงคุณค่าทางจิตใจ เช่น การสร้างความรักและความสามัคคีระหว่างรุ่นพี่รุ่นน้อง

จะเป็นไปได้หรือไม่ที่ “รุ่นพี่ยุคใหม่” จะพัฒนาระบบโซตัสใหม่ที่มีหัวใจความเป็นมนุษย์และดูแลรุ่นน้องเสมือนครอบครัวภายใต้รั้วสถาบันเดียวกัน ไม่แน่ว่าในอนาคตเราอาจจะได้เห็นนวัตกรรมใหม่ในการรับน้องเช่น พี่ว๊ากที่ทำหน้ารักษากฎระเบียบโดยไม่ใช้ความรุนแรง หรือ รุ่นพี่ที่ทำโทษรุ่นน้องด้วยวิธีการที่สนุก สร้างสรรค์ และสร้างความสัมพันธ์อันดี หากเป็นเช่นนี้มาตรการคุมเข้มของกระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็คงไม่มีความจำเป็นอีกต่อไป

โดย : อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2682

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น
คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น

คลิ๊ปรายการสยามสาระพา ตอน เปิดโลกการศึกษากับ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเนชั่น ออกอากาศวันที่ 10 พฤษภาคม 2556 ทาง Nation Channel ดำเนินรายการโดยคุณวรรณศิริ ศิริวรรณ

ได้พบกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง รองคณบดี จัดรายการวิทยุในห้องสถานีวิทยุเสียงลำปาง 104.25 MHz โดยเล่าถึงกิจกรรมที่นักศึกษาจะได้ทำระหว่างเรียนทั้งเป็นผู้จัดรายการ เขียนข่าว ทำรายการทีวีในห้องสตูดิโอของมหาวิทยาลัย

! http://blog.nation.ac.th/?p=2638

 http://www.facebook.com/SiamSarapa

มหาลัย มหาหลอก เมื่อป.ตรีเตะฝุ่นทะลุแสน

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์
ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์

ทะลุแสน! คนไทยจบปริญญาตรีเตะฝุ่นมากที่สุด…เป็นหัวข้อข่าวที่กลายเป็นประเด็นทางสังคม และถูกตั้งคำถามต่อระบบการศึกษา และทวงถามการเรียนรู้ที่แท้จริงของมนุษย์ เพราะที่ผ่านมา การศึกษาไทยมีแนวโน้มจะดําเนินงานในเชิงธุรกิจที่มุ่งแสวงหากําไรมากขึ้น ทำให้มหาวิทยาลัยหลาย ๆ แห่งได้รับกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงคุณภาพการเรียนการสอน และถูกมองว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่มุ่งเน้นเรื่องเงินตรามากกว่าจะเป็นมหาวิทยาลัยแห่งปัญญาอย่างที่ควรจะเป็น

ประเด็นแรก ที่น่าสนใจ
ร่ำเรียนแทบตาย สุดท้ายตกงาน!

       
        “มหาลัย มหาหลอก เด็กชายบ้านนอก เด็กหญิงบ้านนารํ่าเรียนรู้ในวิชา แต่จบออกมายังไม่มีงานทํา ไม่มีงานก็ไม่มีเงิน ออกเดินเดินเดินยํ่าสมัครงานสอบเท่าใดยังสอบไม่ผ่าน มันหัวปานกลาง เขาเอาแต่หัวดีๆ มีความรู้สู้เขาไม่ได้ เส้นเล็กเส้นใหญ่ เส้นก๋วยจั๊บไม่มี นามสกุลไม่สง่าราศี เป็นลูกตามี เป็นแค่หลานยายมา อนาคตคงหมดความหมาย

       
        บทเพลง “มหาลัย” ของคาราบาว ที่สะท้อนถึงหัวอกบัณฑิตหลาย ๆ คนในยุคนี้ได้เป็นอย่างดี
       
        ล่าสุด มีข้อมูลที่น่าตกใจจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) โดยมีมติรับทราบสรุปผลการสำรวจภาวะการทำงานของประชากร เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2556 ที่ผ่านมา พบว่า ผู้มีการศึกษาระดับอุดมศึกษา ตกงานมากที่สุดถึง 1.13 แสนคนเลยทีเดียว
       
        ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น อาจบอกเป็นนัยๆ ว่า ใบปริญญาไม่สามารถเอาไปเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สมัครงานซึ่งทำได้ง่ายๆ เหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว
       
        นอกจากนี้ยังมีเรื่องของกระแสวิจารณ์ของผู้จ้างบัณฑิตถึงการไม่มีความรู้ความสามารถตามมาตรฐานที่ควรจะเป็นเมื่อเข้าไปทํางานจริง ทําให้วันนี้สังคมไทยเริ่มตั้งคําถามเรื่องคุณภาพบัณฑิตของมหาวิทยาลัยว่าสูงขึ้นหรือตกต่ำลงท่ามกลางปริมาณที่เพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมากของผู้จบการศึกษา ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ได้กลายเป็นประเด็นปัญหาของระบบการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันไปแล้ว
       
        ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ กรรมการปฏิรูปหลักสูตรการศึกษาแห่งชาติ ในฐานะนักวิชาการด้านการศึกษา ให้ข้อมูลว่า ทุกวันนี้มีคนจบปริญญาตรีประมาณปีละ 5 แสนกว่าคน (ปี 2554 เป็นยุคปริญญาล้นประเทศ ซึ่งมีมากถึง 6 แสนคนเลยทีเดียว) ปัจจุบันมีบัณฑิตจบใหม่มากมายที่หางานทำไม่ได้ หรือบางคนที่รองานไม่ไหวก็ต้องไปทำงานไม่ตรงวุฒิ หรือต่ำกว่าวุฒิแทน
       
        สำหรับสายที่ผลิตบัณฑิตล้นตลาดมากที่สุด คือ สายศิลป์ เช่น สังคมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ รัฐศาสตร์ เป็นต้น รองลงมาเป็นสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งคนที่เก่งจริง ๆ ถึงจะหางานได้ ส่วนสายวิทยาศาสตร์สุขภาพ เป็นสาขาที่จะมีตลาดงานรองรับแน่นอน เช่น แพทย์ เภสัชกร ทันตแพทย์ เทคนิคการแพทย์ พยาบาล เป็นต้น
       
ประเด็นที่สอง ที่น่าสนใจ
แย่ที่มหา’ลัย หรือห่วยที่ตัวบัณฑิต
       
        ปัญหาที่เกิดขึ้น มีหลายความเห็นแตกต่างกันออกไป บ้างก็โทษไปที่มหาวิทยาลัยว่าไม่มีคุณภาพเพียงพอที่จะผลิตบัณฑิตให้จบออกมาอย่างสอดคล้องกับตําแหน่งงานที่มีอยู่ในระบบเศรษฐกิจ หรือตัวเลขว่างงานจำนวนมาก ๆ ในแต่ละปี เป็นเพราะบัณฑิตเองที่ไม่ขวนขวาย และพัฒนาคุณค่าให้ตัวเอง
       
        มาดูกันที่มหาวิทยาลัย หากมองในภาพความเป็นจริง หลาย ๆ แห่งมีการปรับเปลี่ยนตัวเองไปสู่รูปแบบธุรกิจการศึกษามากขึ้น ซึ่งบางแห่งเราคงต้องยอมรับว่า มีการฉวยโอกาสที่จะแสวงหากําไรจนบางครั้งอาจส่งผลต่อคุณภาพทั้งระบบการเรียนการสอน ผู้เรียนและตัวบัณฑิตที่จบการศึกษา
       
        ดร.วิริยะ ชี้ให้เห็นว่า มหาวิทยาลัยจำนวนไม่น้อย แย่ง และแข่งกันรับนักเรียนให้เข้ามาเรียน แต่ไม่ได้พิจารณา และให้ความสำคัญกับรากฐานปรัชญาของความเป็นสถาบันแห่งสติปัญญาของสังคมที่จะผลิตบัณฑิตออกสู่ตลาดงานอย่างมีทักษะ
       
        “บางแห่งผลิตบัณฑิต 2 ล้อ เน้นแค่จำ และวิเคราะห์เป็น แต่ไม่ได้ออกแบบการเรียนการสอนให้เด็กรู้จักวิธีสื่อสาร คิดสร้างสรรค์ ไม่แปลกที่บัณฑิตยุคใหม่หลายคนจะมีคุณสมบัติเป็นบัณฑิตที่เชื่อฟังอย่างยิ่งยวด เป็นหุ่นยนต์ที่ต้องคอยป้อนคำสั่งอย่างเดียว จบออกมาก็แบบซิกแซ็ก หวังว่าใบปริญญาจะช่วยการันตีได้ แต่เข้าไปทำงานแล้วกลับทำไม่ได้ตามคุณค่าที่การันตีในใบปริญญา เมื่อทำไม่ได้ ก็อยู่ไม่ได้ ตรงนี้อันตรายมากๆ” นักวิชาการด้านการศึกษาขยายความ
       
       

ประเด็นที่สาม ที่น่าสนใจ
คุณภาพไม่ถึง ใครเขาจะเอา!

       
        กระนั้น ใช่ว่าจะโทษมหาวิทยาลัยเพียงฝ่ายเดียว เพราะผู้ชี้ชะตาว่าจะตกงานหรือไม่ คือ ตัวผู้เรียนเอง โดยปัญหาใหญ่ ที่นักวิชาการด้านการศึกษาท่านนี้เป็นห่วง ก็คือ บัณฑิตหลายคนยังไม่รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร นี่คือตัวการสำคัญว่าทำไมบัณฑิตหลาย ๆ คนตกงาน และไม่มีงานทำ
       
        “เข้าปี 1 ก็หางานทำได้แล้ว แต่ปัญหาคือ หลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีดีอะไร ประมาณว่า รู้ทุกเรื่อง แต่ไม่รู้เรื่องตัวเอง ทางที่ดี ไม่ใช่มัวแต่ เรียน สอบ และ เที่ยวไปวันๆ แต่ต้องรู้จักพัฒนาคุณค่าในตัวเองด้วย” นักวิชาการด้านการศึกษาคนเดียวกันเผย
       
        แต่เหนือสิ่งอื่นใด คนจะตกงานหรือไม่นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่ที่การเลือกสาขาไม่ตรง แต่อยู่ที่ตัวบัณฑิตเองว่า มีคุณสมบัติที่พึงประสงค์ต่อความต้องการในโลกการทำงานเพียงพอแล้วหรือไม่ เช่น ความขยัน ความอดทน ความซื่อสัตย์ ความรับผิดชอบ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นต้น
       
       

ประเด็นที่สี่ ที่น่าสนใจ
ทางออก ลดบัณฑิตเตะฝุ่น

       
        สำหรับทางออกของเรื่องนี้ ดร.วิริยะ พยายามพูด และนำเสนอมาตลอดว่า อุดมศึกษาไทยต้องมองตลาดงานในประเทศในภูมิภาค และในโลก แล้วร่วมมือกันพัฒนาหลักสูตรสาขาใหม่ ๆ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และสอดคล้องกับตลาดงาน ไม่ใช่เดินผิดที่ผิดทาง มุ่งแต่จะแย่งรับนักศึกษา หรือแย่งกันแข่งขัน โดยขาดการมองไปข้างหน้า
       
        “เปิดรับกันมากมายในสาขาที่เหมือนๆ กันทุกมหาวิทยาลัย พอจบมาแล้วบัณฑิตจะไปทำอะไรกัน แต่ก็ใช่ว่าจะไม่กระเตื้องกันนะ อย่างสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ก็เริ่มตระหนักแล้ว แต่มหาวิทยาลัยหลายแห่งยังมีอิสระกันอยู่มาก ต่างคนต่างสบาย ไม่เห็นต้องเปลี่ยนแปลงอะไร นี่แหละปัญหา เรียนแบบเดิม ๆ จดกันเข้าไป เน้นแต่การแข่งขัน แข่งกันไปตาย (ในโลกการทำงาน) จบออกมาก็ไม่มีทักษะอื่น ๆ ไว้นำไปใช้ในการทำงาน” นักวิชาการด้านการศึกษาให้ทัศนะ พร้อมกับฝากไปถึงมหาวิทยาลัยไทยหลาย ๆ แห่งว่า
       
        “ส่วนตัวคิดว่า เงินเพื่อการอยู่รอด มันเป็นอดีตไปแล้ว ยุคนี้ มีคุณค่าถึงจะอยู่รอด โดยสร้างคุณค่าให้แก่มหาวิทยาลัย และตัวนักศึกษา เน้นให้ปัญญา ไม่ใช่รับเงินแล้วจบ เมื่อเป็นแบบนี้ ไม่มีใครทิ้งคุณหรอก แต่ถ้ามัวแต่มุ่งปั้มใบปริญญาแจก แจก สักวันสังคมทิ้งคุณแน่ เมื่อเป็นเช่นนี้ อีก 30 ปี คนไทยจะไปใช้แรงงานในพม่าก็อย่ามาว่าก็แล้วกัน”
       
        คล้ายกันกับแนวทางของ รศ.ดร.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัยการพัฒนาแรงงาน สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ที่เคยออกมาเผยถึงแนวทางแก้ปัญหาบัณฑิตปริญญาตรีตกงานกว่า 1 แสนคนต่อปีว่า ระบบอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันใช้เวลาเรียน 4 ปี ทั้งนี้ ช่วงที่เรียนชั้นปีที่ 1-2 มหาวิทยาลัยต่างๆ จะต้องจัดการศึกษาโดยเน้นพัฒนาความรู้ความสามารถของนักศึกษาเพื่อเตรียมตัวเข้าสู่ตลาดแรงงาน เช่น ความรู้และทักษะอาชีพในสาขาวิชาที่เรียน ทักษะภาษาอังกฤษและภาษาอาเซียน หลังจากนั้นเมื่อเรียนชั้นปีที่ 3 จะต้องสำรวจว่าถึงความต้องการของนักศึกษาแต่ละคนแต่ละสาขาภายในมหาวิทยาลัยว่า เมื่อเรียนจบแล้วต้องการจะไปประกอบอาชีพอะไรบ้าง
       
        เมื่อได้ข้อมูลข้างต้นแล้วทางมหาวิทยาลัยก็ประสานไปยังสถานประกอบการด้านต่างๆเพื่อหาข้อมูลว่าสถานประกอบการต้องการบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะอาชีพอย่างไรบ้างแล้วเติมเต็มความรู้ในการประกอบอาชีพดังกล่าวให้แก่นักศึกษาเมื่อเข้าสู่ชั้นปีที่ 4 เพื่อจะได้มีความรู้ความสามารถรอบด้านและสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ เพื่อที่เมื่อเรียนจบแล้ว จะสามารถทำงานได้ทันที สถานประกอบการไม่ต้องเสียเวลาไปฝึกงานให้เพิ่มเติม
       
        “การแก้ปัญหาระยะยาว รัฐบาล ศธ.และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ควรร่วมมือกับภาคธุรกิจ สถานประกอบการต่างๆปรับแผนการผลิตบัณฑิตจากปัจจุบันสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสายศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์อยู่ที่ 70% และสายวิทยาศาสตร์อยู่ที่ 30% เปลี่ยนเป็น ผลิตบัณฑิตสายศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ สายวิทยาศาสตร์ให้อยู่ที่สายละ 50% โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตบัณฑิตสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการวิจัยให้มากขึ้น รวมทั้งเร่งพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพและภาษาต่างประเทศและภาษาอาเซียนให้แก่บัณฑิตปริญญาตรีและแรงงานไทยในทุกสาขาด้วย”
       
        ถึงตอนนี้ ไม่เพียงแต่มหาวิทยาลัยไทยที่จะต้องกลับมาตระหนักเพื่อทบทวนการทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตอย่างจริงจังมากกว่าจะไปมุ่งแสวงหากําไรอย่างเดียวเหมือนที่บางแห่งคิดผลิตหลักสูตร “เรียนง่ายจบเร็ว” ตัวผู้เรียนที่กำลังจะออกไปสู่โลกของการทำงานเองก็ต้องปรับตัวด้วยเหมือนกัน
       
        …เพราะถ้าคิดเพียงอยากได้ใบปริญญาแต่จบออกไปอย่างคนที่ไม่มี “ปัญญา” เตรียมสะกดคำว่า “ตกงาน” รอไว้ได้เลย
       
ข่าวโดย ASTV ผู้จัดการ Live

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000058957

สถาบันอุดมศึกษาเอกชนยังมีที่ว่าง

ดร. บัญชา  เกิดมณี
ดร. บัญชา เกิดมณี

14 พฤษภาคม 2556 ดร.บัญชา เกิดมณี นายกสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย (สสอท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถาบันอุดมศึกษาเอกชน สังกัด สสอท. จำนวน 61 แห่ง ยังมีที่นั่งเหลือ 92,100 คน เพื่อรองรับนักเรียนในปีการศึกษา 2556 ดังนั้นนักเรียนที่พลาดหวังจากการคัดเลือกในระบบกลางการรับนิสิตนักศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลาง และยังไม่มีที่เรียน สามารถตัดสินใจเลือกเข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนได้ เนื่องจากการเรียนการสอน เครื่องมือและอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความพร้อม และมีคุณภาพไม่ต่างจากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐด้วย

 

 

รวมข่าว admission
http://www.tlcthai.com/education/category/admission/admission-news

สำหรับที่นั่งที่เหลือในแต่ละสถาบันมีดังนี้

1 ม.รังสิต 7,156 คน
2 ม.กรุงเทพ 7,005 คน
3 ม.ศรีปทุม 5,159 คน
4 ม.หอการค้าไทย 5,092 คน
5 ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ 4,964 คน
6 ม.เกษมบัณฑิต 4,159 คน
7 ม.รัตนบัณฑิต 3,816 คน
8 ม.เซาธ์อีสบางกอก 3,672 คน
9 ม.เอเชียอาคเนย์ 3,635 คน
10 ม.หัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 3,373 คน
11 ม.สยาม 3,101 คน
12 ม.อัสสัมชัญ 2,789 คน
13 ว.ราชพฤกษ์ 2,025 คน
14 ม.เทคโนโลยีมหานคร 1,925 คน
15 ส.การจัดการปัญญาภิวัฒน์ 1,869 คน
16 ม.หาดใหญ่ 1,776 คน
17 ม.ปทุมธานี 1,683 คน
18 ม.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,626 คน
19 ว.เฉลิมกาญจนา 1,611 คน
20 ม.นอร์ทกรุงเทพ 1,549 คน
21 ม.พายัพ 1,485 คน
22 ว.สันตพล 1,400 คน
23 ม.ธนบุรี 1,297 คน
24 ม.อิสลามยะลา 1,269 คน
25 ม.การจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น 1,177 คน
26 ม.อีสเทิร์นเอเชีย 1,109 คน
27 ว.กรุงเทพสุวรรณภูมิ 1,109 คน
28 ม.วงษ์ชวลิตกุล 1,008 คน
29 ส.เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น 980 คน
30 ว.เทคโนโลยีสยาม 945 คน
31 ว.ดุสิตธานี 765 คน
32 ว.บัณฑิตเอเชีย 753 คน
33 ส.รัชต์ภาคย์ 745 คน
34 ม.กรุงเทพธนบุรี 734 คน
35 ม.เวสเทิร์น 719 คน
36 ว.เฉลิมกาญจนาระยอง 671 คน
37 ม.คริสเตียน 662 คน
38 ม.ราชธานี 657 คน
39 ม.ฟาร์อีสเทอร์น 570 คน
40 ม.นอร์ท-เชียงใหม่ 542 คน
41 ม.เจ้าพระยา 504 คน
42 ม.นานาชาติแสตมฟอร์ด 495 คน
43 ว.เทคโนโลยีภาคใต้ 464 คน
44 ม.เกริก 423 คน
45 ม.ตาปี 414 คน
46 ว.อินเตอร์เทค ลำปาง 410 คน
47 ว.นครราชสีมา 382 คน
48 ว.นานาชาติเซนต์เทเรซา 298 คน
49 ม.เนชั่น 276 คน
50 ว.ทองสุข 267 คน
51 ม.พิษณุโลก 260 คน
52 ว.เชียงราย 249 คน
53 ม.นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิก 217 คน
54 ว.เซนต์หลุยส์ 212 คน
55 ม.ชินวัตร 150 คน
56 ม.เซนต์จอห์น 116 คน
57 ม.ภาคกลาง 100 คน
58 ว.ลุ่มน้ำปิง 90 คน
59 ว.แสงธรรม 82 คน
60 ม.เว็บสเตอร์ 75 คน
61 ว.พุทธศาสนานานาชาติ 34 คน
รวม 92,100 คน

 

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 15 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://manager.co.th/Qol/ViewNews.aspx?NewsID=9560000057831

http://www.facebook.com/download/379363635513471/request_student_of_university.xlsx

ข้อมูลจาก  http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32688&Key=hotnews

 

จำนวนผู้สมัคร
จำนวนผู้สมัคร

ตารางแสดงจำนวนผู้สมัครและผ่านการคัดเลือก
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555
จาก 90 สถาบันแยกคณะเกือบ 4000 คณะ รายงานหนา 188 หน้า
http://www.cuas.or.th/document/55C_stat_sumapply.pdf

max min score and count
max min score and count

ตารางแสดงสถิติจำนวนผู้สมัคร จำนวนรับ จำนวนผู้ผ่าน และคะแนนสูงสุด-ต่ำสุด
ในระบบ Admissions กลาง ประจำปีการศึกษา 2555 รายงานหนา 133 หน้า

http://www.cuas.or.th/document/55D_stat_rpass_web.pdf

 

grouping
grouping

8 พ.ค.56 ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ เปิดเผยว่า เปิดรับจำนวน 140,828 ที่นั่ง มีผู้สมัคร 122,169 คน แล้วผ่านการคัดเลือกมีสิทธิ์เข้าสอบสัมภาษณ์และตรวจร่างกาย 82,102 คน พลาดหวัง 40,067 คน

จำแนกเป็นมหาวิทยาลัย
1. สถาบันของรัฐ รับได้ 76,778 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 64,248 คน รับได้ร้อยละ 83.68
2. มหาวิทยาลัยราชภัฏ/ราชมงคล รับได้ 25,321 ที่นั่ง มีผู้ผ่าน 13,913 คน รับได้ร้อยละ 54.95
3. สถาบันอุดมศึกษาเอกชน รับได้ 38,573 ที่นั่ง แต่มีผู้ผ่าน 3,785 คน รับได้ร้อยละ 9.81

สาขาวิชายอดนิยม
1. คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ ผู้สมัคร 2,850 คน รับได้ 56 ที่นั่ง (1:51)
2. คณะวิทยาศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หาดใหญ่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผู้สมัคร 1,906 คน รับได้ 160 ที่นั่ง (1:12)
3. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สมัคร 1,813 คน รับได้ 150 ที่นั่ง (1:12)

http://news.mthai.com/general-news/164682.html

 

คดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา
กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.453918268018597.1073741862.228245437252549

พบข่าว และภาพใน page ของมหาวิทยาลัย เป็นการประชาสัมพันธ์ว่า
นายมาโนช รัตนนาคะ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดลำปาง เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนฟ้องคดีกองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับ กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ประจำปีงบประมาณ 2556 เพื่อให้คู่พิพาทได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาไกล่เกลี่ย และตัดสินใจระงับข้อพิพาทด้วยตนเองก่อนนำคดีเข้าศาล เพื่อลดปริมาณคดีที่จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาล และลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีของคู่พิพาททุกฝ่าย อันเป็นการสร้างความพึงพอใจแก่ลูกหนี้กองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาและสร้างความสมานฉันท์ให้เกิดขึ้นในสังคม ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ระบบการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่ประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยในปีนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 2,490 ราย วงเงินกว่าสามร้อยล้านบาท ณ ศาลแขวงลำปาง ในระหว่างวันที่ 25-27 เมษายน 2556
http://www.thairath.co.th/content/edu/339784
http://th.a2-news.com/News/id/123914.0

วันเสาร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ.2556

กยศ.แจ้งผู้กู้ค้างชำระเกิน5งวด ไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีปี56

ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) แจ้งผู้กู้ยืมเพื่อการศึกษา รุ่นปี 2542-2551 ที่ค้างชำระเกิน 5 งวด ไปไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษา ก่อนฟ้องคดีประจำปี 2556…

นักศึกษา
นักศึกษา

เมื่อวันที่ 19 เม.ย. 2556 น.ส.มุจลินท์ กำชัย รองผู้จัดการรักษาการแทน ผจก.กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ได้เปิดเผยว่า ด้วยกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา ร่วมกับสำนักระงับข้อพิพาทสำนักงานศาลยุติธรรม ได้จัดโครงการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาก่อนฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้กู้ยืมที่ถึงกำหนดชำระหนี้ รุ่นปี 2542-2551 ที่มีหนี้ค้างชำระเกิน 5 งวดขึ้นไป โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้กู้ยืมและผู้ค้ำประกันที่จะถูกบอก เลิกสัญญามาติดต่อชำระหนี้ที่ค้างชำระ หรือมาติดต่อขอผ่อนชำระหนี้ในโครงการฯ โดยมีกำหนดจัดขึ้นที่ศาลจังหวัดนครราชสีมา ในระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556

ส่วนผู้ที่อยู่จังหวัดอื่นๆ สามารถติดต่อได้ที่ศาลจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยยังมีเวลาให้ผู้กู้ยืมที่ต้องชำระ 5 งวดขึ้นไป ไปเข้าร่วมโครงการไกล่เกลี่ยได้ ดังนี้ ศาลจังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 18–21 เม.ย. 2556 มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ระหว่างวันที่ 23–25 เม.ย. 2556 ศาลแขวงลำปาง ระหว่างวันที่ 25–27 เม.ย. 2556 ศาลแขวงขอนแก่น ระหว่างวันที่ 27 เม.ย.–1 พ.ค. 2556 และศาลแพ่ง ถนนรัชดาภิเษก ระหว่างวันที่ 7–12 พ.ค. 2556

ทั้งนี้ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย จะต้องไปเข้าร่วมด้วยตนเอง พร้อมนำเอกสารที่สำคัญไปด้วย อาทิ สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน สำเนาเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) สำเนาใบทะเบียนสมรส ของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน (ถ้ามี) และเอกสารอื่นๆ ผู้ที่จะเข้าโครงการไกล่เกลี่ย สามารถดูรายละเอียดได้ที่ ศูนย์สายใจ กยศ. โทร.02-61004888 หรือทาง http://www.studentloan.or.th/index.php