research

ชวนกันออกจาก comfort zone เข้าหลักสูตร GCP online training (ภาพจากแฟนเพจ มหาวิทยาลัยเนชั่น)

ชวนนิสิตเข้า หลักสูตร GCP online training แบบ self-learning

เมื่อวาน (20 ก.พ.2565) ชวนนิสิต M.Ed. เข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร GCP online training (Computer based) ตามความสมัครใจ หลังทุกคนนำเสนอโครงงานประจำวิชาช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงเย็น พบว่า กลุ่มนิสิต M.B.A. แชร์ประกาศนียบัตร ซึ่งนิสิตจะผ่านได้ ต้องเข้าสอบและผ่านการสอบ ตามเกณฑ์อย่างน้อยถูก 24 จาก 30 ข้อ แล้วก่อนหน้านี้ เคยทราบว่ากลุ่มนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ก็ผ่านหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อได้เข้าไปทำข้อสอบ ทำให้ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “แนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี” เพิ่มขึ้น

คู่มือแนะนำหลักสูตร GCP online training

หลักสูตร GCP online training (Computer based) “แนวทางการปฎิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (ICH-GCP:E6(R2))” โดย คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ICH ย่อจาก The International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use และ GCP ย่อจาก Good Clinical Practice


คำชี้แจง ที่น่าสนใจ

  1. ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้จบก่อนทำแบบทดสอบ
  2. แบบทดสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ เกณฑ์ผ่านคือ ตอบถูกอย่างน้อย 24 ข้อ (240 จาก 300 คะแนน)
  3. หลังจากท่านทำข้อสอบทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ pdf ทางอีเมล์
  4. ท่านสามารถหยุดทำข้อสอบชั่วคราว แล้วกลับมาทำต่อคราวหลังได้ โดยระบบจะเริ่มต่อจากข้อล่าสุด

http://www.thaiall.com/ethics/

การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ

การสร้างนิสัยแห่งความสุข 20 ประการ จากผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ระบุว่ามี 2o นิสัยนี้ที่จะทำให้เรามีความสุข (Happiness) ซึ่งเพื่อนรักและใจดีแชร์มา บอกว่าให้แชร์คนที่รักต่อไป .. จัดปายยย

Harvard Research Reveals 20 Habits
That Will Make You Happy, Guaranteed!

1. Be Grateful .. สำนึกบุญคุณคนที่ดีต่อเรา
2. Choose Your Friends Wisely .. เลือกเพื่อนอย่างชาญฉลาด
3. Cultivate Compassion .. ให้ความเห็นอกเห็นใจแก่คนอื่น
4. Keep Learning .. หมั่นเรียนรู้
5. Become a Problem Solver .. เป็นผู้แก้ปัญหาได้
6. Do What You Love .. ทำในสิ่งที่คุณรัก
7. Live in the Present .. อยู่กับปัจจุบัน
8. Laugh often .. หัวเราะบ่อย ๆ
9. Practice Forgiveness .. ฝึกการให้อภัย
10. Say Thanks often .. กล่าวขอบคุณเสมอ
11. Create Deeper Connections .. สร้างความสัมพันธ์ลึกล้ำ
12. Keep Your Agreement .. รักษาสัญญา คำพูด
13. Meditate .. ทำสมาธิ
14. Focus on What You’re Doing .. ตั้งมั่นในสิ่งที่กำลังทำ
15. Be Optimistic .. มองโลกในแง่ดี
16. Love Unconditionally .. รักอย่างไม่มีเงื่อนไข
17. Don’t Give up .. อย่ายอมแพ้
18. Do Your Best and then Let it Go .. ทำดีที่สุดแล้วอย่ายึดติด
19. Take Care of Yourself .. ดูแลตัวเอง
20. Give back to society .. ตอบแทนสังคม

http://www.cycleharmony.com/healthy-living/emotional-wellbeing/harvard-research-reveals-20-habits-that-will-make-you-happy-guaranteed
http://www.huffingtonpost.com/andrew-merle/top-20-habits-for-happine_b_9835174.html

การเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

จากการเข้ารับการอบรมที่จังหวัดเชียงใหม่
เรื่อง เขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ
โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่
มีเรื่องราวจากเอกสารของท่านวิทยากร มาแบ่งปันดังนี้
http://www.thaiall.com/blog/burin/7703/

นิยามศัพท์

บทความ หมายถึง งานเขียนประเภทร้อยแก้ว ซึ่งผู้เขียนต้องการถ่ายทอดความคิด
และ/หรือ ข้อมูลข่าวสารไปยังผู้อ่านโดยใช้ตัวอักษรเป็นสื่อกลาง
ประเภทของบทความ
– บทความทั่วไป
– บทความกึ่งวิชาการ
– บทความทางวิชาการ
บทความทั่วไป หมายถึง งานเขียนที่มิได้มุ่งเน้นการให้ความรู้
หรือข้อเท็จจริงเชิงวิชาการ แต่มุ่งเน้นที่จะให้ความรู้ทั่วไป ให้ความสนุกสนานเพลิดเพลิน
หรือให้ข้อคิดแก่ผู้อ่าน เช่น บทความแสดงความคิดเห็น บทความเล่าอัตชีวประวัติ
บทความเล่าประสบการณ์การเดินทาง และบทความที่ให้ข้อคิดหรือปรัชญาชีวิต เป็นต้น
บทความกึ่งวิชาการ หมายถึง งานเขียนที่ผู้เขียนประสงค์จะให้ความรู้เชิงวิชาการ
แต่ไม่ลึกซึ้งถึงระดับองค์ความรู้หรือทฤษฎี เช่น บทความที่เป็นบทวิเคราะห์/วิพากษ์
และบทความสนับสนุนหลักการหรือแนวคิด เป็นต้น
บทความทางวิชาการ หมายถึง งานเขียนหรือความเรียงที่ผู้เขียนประสงค์จะสื่อองค์ความรู้
หรือข้อค้นพบใหม่ ๆ ทางวิชาการในสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งเป็นการเฉพาะ เช่น บทความวิจัย
บทความเสนอแนวคิด หลักการ และ/หรือแบบจำลอง เป็นต้น

ธรรมชาติของบทความทางวิชาการ
1. นำเสนอความรู้ที่ตั้งอยู่บนฐานวิชาการของสาขาวิชาใดวิชาหนึ่ง
2. ความรู้ที่นำเสนอต้องมีความถูกต้องและเชื่อถือได้ หรืออย่างน้อยที่สุดต้องมีแนวคิดหรือทฤษฎีสนับสนุน
3. เนื้อหาสาระที่นำเสนอต้องผ่านการประมวล หรือการสังเคราะห์ก่อนเรียบเรียงเชิงพรรณนาตามลำดับอย่างเหมาะสม
4. มีการวิเคราะห์ วิจารณ์ (ทั้งในเชิงบวกและเชิงลบ) บนพื้นฐานทักษะความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
5. มีการสรุปและอภิปรายผล รวมตลอดจนให้ข้อเสนอแนะที่จะนำไปสู่การแสวงหาความรู้เพิ่มเติม

การเลือกประเด็นเพื่อเขียนบทความทางวิชาการ
1. เป็นประเด็นที่อยู่ในกรอบความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้เขียน
2. เป็นประเด็นที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย และอยู่ในความสนใจของคนทั่วไป หรือเป็นประเด็นเก่าที่ควรรู้แต่ถูกทิ้งลืม
3. เป็นประเด็นที่สามารถยืนยันความน่าเชื่อถือได้ด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ (Empirical data) หรือมีแนวคิด ทฤษฎีสนับสนุน
4. เป็นประเด็นที่สามารถสร้างเสริมความรู้ และความแตกฉานทางวิชาการให้กับทั้งผู้เขียน และผู้อ่าน
5. เป็นประเด็นที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม/ประเทศชาติ

องค์ประกอบของบทความทางวิชาการ
1. ชื่อบทความ
2. ชื่อผู้เขียน
3. บทคัดย่อ และคำสำคัญ (Abstract และ Keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. เนื้อเรื่อง (สาระสำคัญ/ความรู้ที่ต้องการนำเสนอ)
6. บทสรุปและอภิปรายผล
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

บทความวิจัย
บทความวิจัย หมายถึง เอกสารความเรียงที่ได้มาจากการประมวลสรุป (Condensation & Digestion)
รายงานการวิจัย หรือวิทยานิพนธ์ของนักศึกษา ระดับบัณฑิตศึกษา
ทั้งนี้บทความวิจัยมีลักษณะเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้
– มีความยาวจำกัด จัดทำขึ้นเพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมวิชาการหรือลงพิมพ์ในวารสารวิชาการ
– เป็นเอกสารที่มีความทันสมัย และทันต่อเหตุการณ์มากกว่ารายงานการวิจัย
ทั้งนี้เพราะผู้วิจัยสามารถเพิ่มเติมหรือตัดทอนบางส่วนของรายงานการวิจัยเพื่อการเผยแพร่ได้
– มีคุณภาพที่เป็นมาตรฐานมากกว่ารายงานการวิจัยเพราะต้องทำให้อยู่ใน format ที่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล

องค์ประกอบของบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่อง
2. ชื่อผู้วิจัย
3. บทคัดย่อ/คำสำคัญ (Abstract/keywords)
4. บทนำ/ความนำ
5. วิธีดำเนินการวิจัย
6. ผลการวิจัย
7. อภิปรายผล
8. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม

ข้อแนะนำในการเขียนบทความวิจัย
1. ชื่อเรื่องสั้น กระทัดรัดได้ความหมาย (อาจระบุมิติและ/หรือลักษณะการวิจัยด้วยก็ได้)
2. บทคัดย่อเขียนให้กระชับแต่ครอบคลุมกระบวนการวิจัย
โดยปกติมีความยาวไม่เกิน 300 คำ(15 บรรทัด) มีการแบ่งย่อหน้าตามความเหมาะสม
3. บทนำ/ความนำ บ่งบอกถึงที่มาและความสำคัญของการวิจัย
(ทำไมจึงเลือกทำวิจัยเรื่องนี้ / ทำแล้วได้ประโยชน์อะไร)
4. วิธีดำเนินการวิจัยประกอบด้วย
– ขอบเขตของการวิจัย (พื้นที่/ประชากร/เนื้อหา/เวลา)
– ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
– ข้อมูล และแหล่งของข้อมูล
– เครื่องมือ และวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
– วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
5. ผลการวิจัย เขียนสรุปเรียงตามวัตถุประสงค์
6. อภิปรายผล
– อภิปรายเปรียบเทียบกับวรรณกรรมที่ทบทวน
– อภิปรายข้อค้นพบที่มีความพิเศษเฉพาะ
7. เอกสารอ้างอิง หรือบรรณานุกรม
แจงให้ครบตามที่อ้างอิง และเขียนให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ

ข้อสังเกตสำหรับการเขียนบทความวิชาการ/บทความวิจัยที่ไม่ผ่านการคัดกรองเพื่อการเผยแพร่
1. ไม่ดำเนินการตามระเบียบหรือข้อกำหนดของวารสาร หรือที่ประชุม/สัมมนาวิชาการ
2. เนื้อหาสาระของบทความไม่สอดคล้องกับสาขาวิชาเฉพาะของวารสารหรือไม่ตรงกับ Theme
ของการประชุม/สัมมนาวิชาการ
3. บทความขาดความเป็นเอกภาพ (แต่ละองค์ประกอบไม่สัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน)
4. ขาดความชัดเจนในการนำเสนอ/ไม่ครบกระบวนการของการทำวิจัย
5. ไม่ได้ทำการประมวลสรุปเพื่อเขียนเป็นบทความ แต่นำเอาบทสุดท้ายมาปรับเขียน
6. โครงสร้างการเขียนไม่ดี ไม่เป็นไปตามลำดับ ขาดความเป็นเหตุเป็นผล
7. ขาดลีลาการเขียน (Writing style) ที่เป็นวิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำนวนภาษา
การแบ่งประโยค และการแบ่งวรรคตอน
8. สาระที่นำเสนอไม่ลึกซึ้ง และไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
9. ไม่ประณีต พิถีพิถันในการใช้ภาษา (ไม่คำนึงถึงหลักไวยากรณ์ พิมพ์ผิด สะกดผิด)
10. เป็นเพียงรายงานการศึกษา ขาดการวิเคราะห์ วิจารณ์ และ/หรือการแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการ

ข้อเสนอแนะเพื่อการเผยแพร่บทความ
1. สำรวจวารสารวิชาการ การประชุมสัมมนาวิชาการ ที่บทความที่เขียนสามารถนำไปเผยแพร่ได้
2. ศึกษาและทบทวนระเบียบและข้อกำหนดของวารสาร
ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาสาระ และรูปแบบของบทความ
3. วางแผนการเขียนบทความอย่างเป็นระบบ กำหนดโครงร่างและองค์ประกอบของบทความ
กรอบเวลาที่จะเขียน และเวลาที่จะเผยแพร่
4. การเขียนเป็นเรื่องของทักษะ ควรศึกษาหาความรู้ และเพิ่มพูนทักษะด้วยการฝึกเขียนบ่อย ๆ
และด้วยการอ่านบทความดี ๆ จากวารสารดี ๆ
5. ใช้ภาษาเขียนที่เป็นมาตรฐานทางวิชาการ ถูกต้องตามหลักภาษาศาสตร์
6. ตรวจสอบและตรวจทานสิ่งที่ได้เขียนแล้วในบทความหลาย ๆ ครั้ง
เพื่อตัดทอน และ/หรือเพิ่มเติมสาระให้มีความถูกต้องและเหมาะสม
7. กรณีของบทความวิชาการ ต้องไม่ลืมส่วนที่เป็นบทวิเคราะห์ วิจารณ์ และการแสดงความคิดเห็น
บนพื้นฐานของหลักวิชาการ
8. กรณีของบทความวิจัย ต้อเป็นการเรียบเรียงในลักษณะของการประมวลสรุปจากรายงานการวิจัย
มิใช่การนำเอาบทสุดท้ายมานำเสนอ
9. หลักการเขียนบทความวิจัย ต้องพยายามยึดวัตถุประสงค์เป็นตัวตั้งเสมอ
10. นำเสนอเนื้อหาสาระโดยปราศจากอคติ ตรงไปตรงมา

เอกสารประกอบการค้นคว้า
– นงลักษณ์ วิรัชชัย และสุวิมล ว่องวานิช, “การจัดทำรายงานวิชาการ บทความวิจัย และการอ้างอิง”, [ออนไลน์]
– นงลักษณ์ วิรัชชัย, “รูปแบบ และลักษณะของบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารตามมาตรฐานสากล”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : https://www.tci-thaijo.org/index.php/suedureasearchjournal/article/viewFile/6938/5981
– รสริน พิมลบรรยวก์, “การเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://technology.kku.ac.th/wp-content/ITFilesD/IT009D.pdf
– รัตนะ บัวสนธ์, “การเขียนบทความวิชาการและบทความวิจัย”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://rdi.nsru.ac.th/tip/tip-09.pdf
– วรางคณา จันทร์คง, “เทคนิคและวัตถุประสงค์ในการเขียนบทความวิชาการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book574/rsearch574.pdf
– บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์
,”แนวปฏิบัติที่ดีเกี่ยวกับการเขียนบทความตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อสำเร็จการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา”,[ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://grad.vru.ac.th/pdf_SAR/Good_Practice_article_writ.pdf
– สุวิมล ว่องวาณิช, “เทคนิคการเขียนโครงการวิจัยให้โดนใจกรรมการ”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา : http://www.human.cmu.ac.th/home/research/research/data/technic.pdf

29 ก.ค.59 มีการอบรมโครงการ “อบรมและพัฒนานักวิจัย” ประจำปี 2559
หลักสูตร “การเขียนบทความวิจัยทางวิชาการ
จัดโดย เครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบน
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.)
ร่วมกับ งานบริหารงานวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ณ โรงแรมอิมพีเรียล แม่ปิง เชียงใหม่
https://www.facebook.com/groups/thaiebook/658232967660858/
http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ประเทศไทย 4.0 ก็คาดหวังกับการวิจัยไว้เช่นกัน คลิ๊ปโดย MOC


– บุษบา กนกศิลปธรรม, “การอบรมเชิงเทคนิคในการเขียนบทความวิชาการ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์”, [ออนไลน์]
แหล่งที่มา :

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

สิ่งที่ต้องแลกระหว่างผลได้ทางเศรษฐกิจกับผลเสียทางสังคมและวัฒนธรรม

จาก หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับ 8 กรกฎาคม 2558
บ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทย เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์แสดงความคิดเห็น
กันอย่างกว้างขวางในช่วงที่ผ่านมา

http://bit.ly/1Uv2ZN2

สถาบันวิจัยมหาวิทยาลัยเนชั่น ได้ทำการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ในกรุงเทพมหานคร จำนวน 980 คน พบว่ากลุ่มตัวอย่าง 56.18 % ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนถูกกฎหมายในประเทศไทย โดยให้เหตุผลมากที่สุดคือ การเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทยนั้นจะเป็นการมอมเมาให้ประชาชน ซึ่งรวมถึงเยาวชนติดการพนัน ไม่ใส่ใจทำงาน เป็นการสร้างหนี้สินเพิ่มขึ้น และย่อมมีผลให้ครอบครัวแตกแยก และอีกเหตุผลหนึ่งที่ให้ความเห็นในจำนวนที่ใกล้เคียงกันคือ แม้การเปิดบ่อนกาสิโนจะทำให้ถูกกฎหมาย แต่การพนันก็ยังเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายอยู่ดี

การส่งเสริมเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวของไทย สามารถทำได้ในทางอื่น แทนที่จะส่งเสริมบ่อนกาสิโน  ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่เห็นด้วย 43.82 % นั้น ให้เหตุผลว่า การเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายจะเป็นการสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในประเทศ ช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว รัฐจะสามารถจัดเก็บภาษีได้มากขึ้น และในเมื่อมีการลักลอบเล่นกันอยู่แล้ว หากทำให้มีการเปิดอย่างถูกกฎหมายก็จะทำให้สามารถควบคุมและจัดระเบียบได้

ถ้าดูสัดส่วนระหว่างผู้ที่เห็นด้วยกับผู้ที่ไม่เห็นด้วยนี้ คงจะไม่สามารถบ่งชี้ได้อย่างชัดเจนว่า ผู้คนคัดค้านการเปิดบ่อนถูกกฎหมายอย่างชัดเจน เพราะจริงๆ แล้ว ผู้ที่ไม่เห็นด้วยก็มีสัดส่วนเกิดครึ่งเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คงจะพูดยากว่า การที่ผู้คนไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายนั้น เพราะคัดค้านกับการเล่นการพนัน เพราะในความเป็นจริงแล้ว กลุ่มคนเหล่านี้เองก็เคยมีประสบการณ์เล่นการพนันมาก่อน คงจะเป็นที่รู้กันว่า ในสังคมไทยก็ยังมีผู้นิยมการเสี่ยงโชคและการพนัน และยังมีการลักลอบเล่นกันอยู่ ไม่ว่าจะเป็นบ่อนใต้ดิน หวยใต้ดิน หรือ การเล่นพนันบอล ก็ในเมื่อเป็นที่ทราบกันอยู่โดยทั่วไป และยังไม่สามารถจัดการหรือควบคุมได้ ก็น่าจะตัดสินใจทำให้สิ่งเหล่านี้มาเป็นสิ่งที่ถูกกฎหมาย และให้มีการจัดระเบียบกันอย่างจริงจัง

ข้อค้นพบอย่างหนึ่งจากการสำรวจครั้งนี้พบว่า ประเด็นเรื่องบ่อนกาสิโนในสังคมไทยนั้น เป็นเรื่องของศีลธรรม เมื่อขอให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความเห็นว่า “การพนันเป็นสิ่งที่ผิดศีลธรรม” ผลการทดสอบทางสถิติพบว่า ผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมาย มีความตระหนักในศีลธรรมในระดับที่สูง กว่าผู้ที่เห็นด้วยอย่างมีนัยยะสำคัญ และผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศ คัดค้านอย่างชัดเจนว่า การเปิดบ่อนนี้ไม่ได้ทำให้เกิดผลได้ทางเศรษฐกิจดังที่กล่าวอ้างกัน ผลการวิเคราะห์นี้อาจจะตีความได้ว่า หากจะมีการเล่นการพนัน ก็ปล่อยให้เป็นเรื่องของการลักลอบเล่นไป ไม่ควรมีนโยบายที่จะส่งเสริมให้สิ่งที่ผิดศีลธรรมนี้ ขึ้นมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามกฎหมาย ผลจากการสำรวจของสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น มิได้ต้องการเพียงสะท้อนถึงความเห็นของคนกรุงเทพฯ ที่มีต่อการเปิดบ่อนกาสิโนถูกกฎหมายในประเทศไทยเท่านั้น แต่ต้องการนำเสนอให้ผู้ที่มีอำนาจตัดสินใจในเชิงนโยบายว่า สิ่งที่คนกรุงมีทัศนคติจากประเด็นนี้ก็คือ การเปิดบ่อนกาสิโนนั้น แม้จะมีผลได้ทางเศรษฐกิจ แต่ก็คงจะไม่คุ้มค่ากับต้นทุนทางศีลธรรมของสังคมที่จะเสียไป ทั้งยังจะเกิดผลกระทบอันเป็นการบ่อนทำลายสังคมไปอีกทางหนึ่ง

ผลจากการสำรวจนี้จึงชี้ให้เห็นว่า การเปิดบ่อนกาสิโนอย่างถูกกฎหมาย เป็นสิ่งที่ผู้บริหารประเทศต้องเลือกหรือแลกกัน ระหว่าง ผลได้ทางเศรษฐกิจ กับ ผลเสียทางสังคมและวัฒนธรรม ในฐานะที่มหาวิทยาลัยเนชั่นเป็นสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งมีหน้าที่ชี้นำสังคม คงต้องอ้างอิงตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่นำเสนอว่าการกำหนดนโยบายใดๆ ต้องคำนึงถึงผลได้ทั้ง 4 ด้านประกอบกัน คือ ผลได้ทางเศรษฐกิจ ผลได้ทางสังคม ผลได้ทางสิ่งแวดล้อม และผลได้ทางวัฒนธรรม ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องแลกระหว่างอย่างใดอย่างหนึ่ง ในเมื่อประเทศไทยกำลังมุ่งแสวงหาแนวทางที่จะพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน เราก็ควรที่จะกำหนดนโยบายอย่างอื่นที่สร้างจุดเด่นให้กับประเทศไทยให้มีความก้าวหน้าในทางเศรษฐกิจ และยังเป็นการส่งเสริมให้สังคมน่าอยู่ มีสิ่งแวดล้อมที่ดี และวัฒนธรรมที่งดงามมิใช่หรือ?

เขียนโดย อ.ดร.ทันกวินท์ รัฐวัฒก์อังกูร
ผู้อำนวยการสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยเนชั่น
http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/634978

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน

ตามที่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ มหาวิทยาลัยเนชั่น จัดประชุมวิจัย วันที่ 9 ธ.ค.56
เรื่อง การพัฒนางานวิจัย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน
และมีการบันทึกคลิ๊ปการสัมมนาไว้ โดยท่านอธิการมีนโยบาย
ให้บันทึกคลิ๊ปไว้ และเปิดให้บุคลากรที่สนใจเข้ามาเรียนรู้
หรือนำไปใช้ในกิจกรรมวิชาการอื่นใดต่อไป

วัตถุประสงค์ของการฝึกอบรม / การสัมมนา
1. เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในกระบวนการวิจัยให้แก่คณาจารย์ นักวิจัย บุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้สามารถขอสนับสนุนการวิจัยจากแหล่งทุนได้
2. เพื่อเปิดโอกาสให้คณาจารยย์ นักวิจัย และบุคลากรของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้และประสบการณ์ อันส่งผลให้เกิดความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างสถาบันอุดมศึกษา
3. เพื่อสร้างบุคลากรด้านการวิจัยของเครือข่ายอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ให้มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ และวิสัยทัศน์ในการวิจัย

หากเพื่อนบุคลากรที่เข้าร่วมกิจกรรมแล้ว ต้องการติดตามย้อนหลัง
หรือท่านที่ติดภารกิจ สามารถเข้าไปติดตามการบรรยาย ของวิทยากรทั้ง 6 ท่านได้
1. ศ.นพ.สุทธิพร  จิตต์มิตรภาพ บรรยายเรื่อง แหล่งทุนและทิศทางการวิจัยในประเทศ
Track ทั้ง 4 ของความก้าวหน้าในอาชีพ
1.1 ผลงานตีพิมพ์ วารสาร หนังสือ
1.2 สิทธิบัตร/นวัตกรรม/กระบวนการ/มูลค่าเศรษฐกิจ
1.3 ผลกระทบที่เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต
1.4 การเปลี่ยนแปลงนโยบาย กติกา
2. ศ.นพ.คม สุคนธสรรพ์ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
3. รศ.ดร.อรรถชัย จินตะเวช บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
4. ศ.ดร.มนัส สุวรรณ บรรยายเรื่อง กระบวนการวิจัยและพัฒนางานวิจัย
ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
5. ผศ.วุฒิพงศ์ เตชะดำรงสิน บรรยายเรื่อง เขียนโครงการวิจัยอย่างไรให้ได้รับทุน
6. นพ.วิจารณ์ พานิช บรรยายเรื่อง เทคนิคการจัดการองค์ความรู้เพื่อประยุกต์ใช้ในงานวิจัย
Organizational Knowledge Creation : SECI Model
– Socialization
– Externalization
– Combination
– Internalization

แหล่งภาพ
https://www.facebook.com/media/set/?set=a.1442035516015857.1073741856.1399580723594670

ข้อมูลโครงการ และกำหนดการ
ที่ http://www.scribd.com/doc/189761687/

ฟอร์มการเขียนรายงานการวิจัย

ฟอร์มการเขียนรายงานการวิจัย

Research Lifecycle
Research Lifecycle

http://www.jisc.ac.uk/whatwedo/campaigns/res3/jischelp.aspx
คู่มือการรายงานความก้าวหน้าและผลงานของโครงการวิจัย ประกอบด้วยตัวอย่างการเขียนรายงานความก้าวหน้า ข้อมูลที่ควรนำไปใช้ในการจัดทำรายงานการวิจัย การสรุปผลการดำเนินกิจกรรมและการสรุปบทเรียนต่าง ๆ จากกิจกรรม และการเขียนรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์

โดย โกมล สนั่นก้อง มิถุนายน 2543

 

การทำวิจัยระดับปริญญาเอก

research thailand
research thailand

มีเพื่อน share มาให้
ผมเก็บภาพนี้ไว้เป็น case study
ในวิชาที่สอนเกี่ยวกับการทำ project
ส่วนเนื้อหาในภาพก็ใช้คุยได้หลายวิชา
อาทิ การตลาด จริยธรรมคุณธรรม และกฎหมาย
ผมว่าการออกแบบเว็บเพจก็ยังเล่าให้นักศึกษาฟัง
เรื่อง การพัฒนาเว็บไซต์ได้อีกด้วย
แล้วก็ยังพูดถึงเรื่องการประกันคุณภาพของ สกอ.ได้

ชื่อโดเมนสวยมากครับ researchthailand.com

คนที่เกี่ยวกับเรื่องนี้
– ตัวนักศึกษาปริญญาเอก
– อาจารย์ที่ปรึกษา
– ผู้รับจ้าง
– สถาบันการศึกษา
– สกอ. ???

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค

sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู

Biodata ของ สกว.

biodata of trf
biodata of trf

สกว. จัดทำจดหมายข่าว หรือสาร Biodata ซึ่งเป็นข่าวสารประจำสัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2550 ใน http://biodata.trf.or.th/list_all_news.aspx
พบว่า รายการข่าวสารฉบับแรกที่เผยแพร่ คือ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 (2007)
ประชาชนสามารถลงทะเบียนรับจดหมายข่าว
ทางอีเมลได้ที่ http://biodata.trf.or.th
เมื่อนับถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 มีมาแล้วทั้งหมด 266 ฉบับ
ซึ่งอ่านได้ทั้งผ่านเว็บเพจ และ pdf file

หัวข้อต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. บทนำ
2. มุมเอกสาร/สิ่งพิมพ์แนะนำประจำสัปดาห์
3. ปิดท้ายสาร Biodata ด้วยข่าวประชาสัมพันธ์ อาทิ การประชุมทางวิชาการ เป็นต้น
4. ข่าวสารทุนวิจัย สกว.
5. ข่าวสารทั่วไปของ สกว.
6. ข่าวสารทุนวิจัยของหน่วยงานอื่น
7. ข่าวสารทั่วไปของหน่วยงานอื่น