168 เขตคะแนนสูงยื้อเลิกผล ‘ครู ผช.’

1 พฤษภาคม 2556

เลขาฯ ก.ค.ศ.ยัน อ.ก.ค.ศ.ทุกเขตต้องพิจารณายกเลิกผลสอบครู ผู้ช่วยใหม่อีกรอบ ตามข้อมูลหลักฐานที่ส่วนกลางส่งไปให้เพิ่มเติม หลัง 168 เขตพื้นที่ฯรายงานยังไม่โละผลสอบ (อ่านต่อหน้า 5)

เมื่อวันที่ 30 เมษายน นางรัตนา ศรีเหรัญ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เปิดเผยความคืบหน้าการรายงานผลการพิจารณายกเลิกผลการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็น หรือเหตุพิเศษ ว12 ครั้งที่ผ่านมาว่า ขณะนี้มีคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) เขตพื้นที่การศึกษา 168 เขต ได้ทยอยส่งผลการพิจารณามายังสำนักงาน ก.ค.ศ.แล้ว จากทั้งหมด 200 กว่าเขตพื้นที่ฯทั่วประเทศที่เปิดสอบบรรจุครูผู้ช่วยครั้งที่แล้ว โดยในจำนวน 168 เขตดังกล่าว มีผู้ที่สอบได้คะแนนสูงผิดปกติรวมอยู่ด้วย 129 เขต โดยผลพิจารณาที่แจ้งมายังไม่มี อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯใดสั่งยกเลิกผลการสอบ ซึ่งมีบางเขตพื้นที่ฯเสนอขอยืดเวลาการดำเนินการ และบางเขตพื้นที่ฯรายงานว่าไม่พบการทุจริต อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเขตพื้นที่ฯเหล่านี้จะมีการพิจารณาไปแล้ว แต่ยังต้องนำข้อมูลที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ส่งสำเนากระดาษคำตอบ และผลคะแนนสอบ รวมถึงผลการชี้แจงของกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในวันที่ 2 พฤษภาคม กลับไปประกอบการพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะในเขตพื้นที่ฯที่มีผู้สอบได้คะแนนสูงผิดปกติ

นางรัตนากล่าวต่อว่า กรณีมีผู้วิจารณ์ว่า ก.ค.ศ.มีอำนาจสั่งยกเลิกผลการสอบคัดเลือกครูผู้ช่วยในรายที่มีคะแนนสูงผิดปกติ และมีความชัดเจนว่าเข้าข่ายทุจริตนั้น เรื่องนี้ยกเลิกไม่ได้ อำนาจของ ก.ค.ศ.คือการยับยั้งชั่วคราวตาม อำนาจของ ก.ค.ศ.คือการยับยั้งชั่วคราวตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยที่ผ่านมา ก.ค.ศ.ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 49 และ 30 ในการยับยั้งการแต่งตั้งบรรจุครูผู้ช่วยครั้งนี้ไปแล้วในกรณีการสอบที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) ศรีสะเกษ เขต 3 และ สพป.นครปฐม เขต 1 เนื่องจากพบการเข้าสอบแทนกัน

“ดังนั้น ขณะนี้ต้องรอให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯได้ดำเนินการพิจารณาตามข้อมูลหลักฐานที่ สพฐ.และ ศธ.ได้จัดส่งไปให้เพิ่มเติม หากเห็นว่าอะไรไม่ถูกต้อง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯก็ต้องจัดการ แต่ถ้ากรณีใดที่ไม่ใช่อำนาจของ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ เช่น กรณีการขาดคุณสมบัติของผู้ได้รับการบรรจุแต่งตั้ง ก็เป็นอำนาจของ ก.ค.ศ.ที่จะดำเนินการ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าสุดท้ายแล้วน่าจะมีการยกเลิกผลการสอบในเขตพื้นที่ฯที่ชัดเจนว่า มีข้อมูลหลักฐานการทุจริต ซึ่งทาง อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯจะต้องดำเนินการสั่งยกเลิก แต่ถ้าไม่ดำเนินการ ทางออกสุดท้ายยังมีมาตรการหนึ่งที่ให้อำนาจ ก.ค.ศ.ออกมติสั่งให้ยกเลิกได้ แต่ยังไม่อยากเปิดเผยตอนนี้ ต้องรอให้ อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่ฯ ดำเนินการเองก่อน” นางรัตนากล่าว

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า วันเดียวกันนี้จะประชุมเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2556 ในส่วนกลาง และแต่งตั้งคณะกรรมการป้องกันการทุจริตในเขตพื้นที่ฯที่เปิดสอบ ส่วนขั้นตอนการออกข้อสอบของเขตพื้นที่ฯที่ให้รวมตัวกันดำเนินการตามเขตตรวจราชการ 12 เขต เพื่อว่าจ้างสถาบันอุดมศึกษานั้น ทาง สพฐ.จะเข้าไปช่วยเป็นพี่เลี้ยงในกรณีที่เกิดปัญหาในการปฏิบัติ เช่น หา สถาบันอุดมศึกษามาออกและตรวจข้อสอบไม่ได้ ซึ่งได้มีการพูดถึงในการประชุม ก.ค.ศ.ครั้งที่ผ่านมาว่า อาจมีบางพื้นที่ที่สถาบันอุดมศึกษาไม่พร้อมที่จะรับงาน ให้แจ้งมายังสำนักงาน ก.ค.ศ.รับทราบ เพื่อหารือและแก้ไขต่อไป

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงบรรยากาศการรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการครู ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีทั่วไป ประจำปี 2556 ระหว่างวันที่ 29 เมษายน-5 พฤษภาคมนี้ ในวันที่สองของการรับสมัครยังเป็นไปด้วยความคึกคัก โดยที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 (สพป.นม.3) ซึ่งใช้สถานที่โรงเรียนครบุรีวิทยา อ.ครบุรี เป็นที่รับสมัคร และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31 (สพม.31) ใช้ห้องประชุมของ สพม.31 ต.โคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา เป็นที่รับสมัคร มีผู้สนใจจาก(สพม.31) ใช้ห้องประชุมของ สพม.31 ต.โคกกรวด อ.เมืองนครราชสีมา เป็นที่รับสมัคร มีผู้สนใจจากหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเดินทางไปสมัครอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เวลา 08.30 น.
นายชูเกียรติ วิเศษเสนา ผู้อำนวยการ สพม.31 กล่าวว่า การรับสมัครวันแรกที่ผ่านมามีผู้มาสมัครทั้งสิ้น 235 คน ใน 9 สาขาวิชาเอก โดยสาขาวิชาที่มีผู้สมัครมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ วิชาเอกสังคมศึกษา 95 คน, ชีววิทยา 45 คน และภาษาอังกฤษ 36 คน ส่วนการรับสมัครวันที่สองเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี คาดว่าถึงวันสุดท้ายจะมีผู้สมัครไม่ต่ำกว่า 1,000 คน

นายพิสิษฐ์ ชดกิ่ง ผู้อำนวยการ สพป.นม.3 กล่าวว่า บรรยากาศการรับสมัครวันที่สองค่อนข้างเบาบางกว่าวันแรก ที่มีผู้มาสมัครกว่า 1,000 คน โดยสาขาวิชาเอก 3 อันดับแรกที่มีผู้สมัครมากที่สุด ได้แก่ วิชาเอกคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และสังคมศึกษา ทั้งนี้ จากกระแสข่าวว่ามีขบวนการทุจริตสอบครูผู้ช่วยเริ่มออกหาลูกค้าแล้วนั้น ตนไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้จัดเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการหาข่าวทางลับกระจายทั่วพื้นที่รับสมัครและนอกพื้นที่ แต่ยังไม่พบเบาะแสกลุ่มผู้ต้องสงสัย อย่างไรก็ตาม หากใครพบเห็นสิ่งผิดปกติใดๆ ขอให้แจ้งมาที่ตนโดยตรง เพื่อป้องกันผู้แสวงหาผลประโยชน์จากการทุจริตสอบครูผู้ช่วยครั้งนี้

ส่วนที่ สพป.ตาก เขต 2 อ.แม่สอด มีผู้สมัครในวันที่สองจำนวน 350 คน รวมมีผู้สมัคร 2 วัน จำนวน 1,386 คน

–มติชน ฉบับวันที่ 2 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32575&Key=hotnews

ศธ.ขายชุดนักเรียนราคาถูกลดราคาลงจากป้าย 30-70%

1 พฤษภาคม 2556

นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิชย์ รมช.ศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายให้ ศธ.จัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการจัดการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งค่าใช้จ่ายในการจัดการเรียนการสอน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน ค่าหนังสือเรียน และ ค่าจัดกิจกรรมพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อกระจายโอกาสทางการศึกษาอย่างเท่าเทียมกันนั้น ปีนี้เพื่อแบ่งเบาภาระผู้ปกครองเนื่องจากการปรับตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น จึงได้มอบหมายให้สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)จัดมหกรรมชุดนักเรียนราคาถูกในระหว่างวันที่ 2-12 พ.ค.นี้ที่หน้ากระทรวงศึกษาธิการ โดยจะลดราคาจากป้าย 30-70%

“ผมได้รายงานเรื่องนี้ให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศธ. ทราบแล้ว ซึ่งนายพงศ์เทพก็เห็นด้วย และยังแนะนำให้ไปจำหน่ายตามจังหวัดต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ปกครองได้แบ่งเบาภาระกันอย่างทั่วถึงด้วย” นายเสริมศักดิ์กล่าว

ด้าน นายประเสริฐ บุญเรือง เลขาธิการ กศน.กล่าวว่า กศน.ก็ได้ประสานห้างร้านและบริษัทขายชุดนักเรียนหลายยี่ห้อ อาทิ ตราสมอ สมใจนึก แมมมอธ น้อมจิตร องค์การค้าฯ เป็นต้น นอกจากนี้จะมีชุดนักเรียนที่ตัดเย็บโดยนักศึกษาของศูนย์ฝึกอาชีพตัดเย็บเสื้อผ้า กศน.มาจำหน่ายด้วย โดยจะนำมาลดราคาถึง 70% ส่วนกรณีที่จะให้ไปขายต่างจังหวัดด้วยนั้น เรื่องนี้ขึ้นอยู่กับนโยบาย.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 2 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32574&Key=hotnews

ติง สอศ. ตั้งอาชีวศึกษาอำเภอต้องมองให้ไกลถึงความคุ้มค่า

1 พฤษภาคม 2556

สะกิดอาชีวะดูโรงเรียนขนาดเล็ก สพฐ.เป็นตัวอย่าง ต้องมองให้ไกลตั้งอาชีวะอำเภออนาคตอาจไม่มีเด็กเรียน แนะใช้งบฯไปพัฒนายกระดับความรู้ครูและสถานศึกษาที่มีอยู่แล้วจะดีกว่า

เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 56 ดร.วีรวัฒน์ วรรณศิริ อุปนายกสภาการศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย กล่าวถึงโครงการจัดตั้งวิทยาลัยอาชีวศึกษาอำเภอ ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) ที่มีเป้าหมายจะจัดตั้งให้ครอบคลุมทุกอำเภอว่า ในฐานะที่คลุกคลีอยู่กับวงการการอาชีวศึกษามาหลายสิบปีมองว่า การจัดตั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาระดับอำเภอเพิ่มขึ้นเพื่อหวังดึงเด็กให้มาเรียนมากขึ้นนั้น เป็นการลงทุนที่ไม่คุ้มค่า เพราะปัจจุบันสถานศึกษาอาชีวศึกษาทั้งรัฐและเอกชนที่มีอยู่กว่า 800 แห่ง ก็เพียงพอที่จะรองรับเด็กได้อยู่แล้ว และต่อไปจำนวนเด็กก็จะลดลงตามโครงสร้างประชากรอยู่แล้ว อีกทั้งทุกวันนี้และแนวโน้มในอนาคตการเคลื่อนตัวเข้ามาเรียนในเมืองของเด็กจะมีมากขึ้นเพราะการคมนาคมสะดวกสบายขึ้น และทุกคนก็ต้องการความเจริญก้าวหน้ามากกว่า

“ผมอยากให้มองไปในอนาคตและมองโรงเรียนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)เป็นตัวอย่าง เพราะการเปิดสถานศึกษาอาชีวศึกษาระดับอำเภอตอนนี้ จะไม่แตกต่างกับการตั้งโรงเรียนขนาดเล็กของ สพฐ.ในอดีต ที่หวังจะอำนวยความสะดวกให้เด็ก แต่สุดท้ายโรงเรียนก็ต้องทยอยปิดตัวลงเพราะไม่มีเด็กเรียน ซึ่งกรณีของ สอศ.หากยังจะจัดตั้งให้ครบทุกอำเภอตามที่ประกาศไว้ต่อไปก็คงไม่พ้นสภาพเดียวกับโรงเรียนสพฐ.ในปัจจุบัน ทางที่ดีผมคิดว่าน่าจะนำงบประมาณที่จะใช้ในการก่อตั้งสถานศึกษาใหม่ไปยกระดับการอาชีวศึกษาที่มีอยู่แล้วให้มีคุณภาพ โดยพัฒนาครูหรืออบรมเพื่อยกระดับครูอาชีวศึกษา สนับสนุนระบบวิภาคีให้เต็มที่ยิ่งขึ้น และที่สำคัญต้องยกระดับคุณภาพอุปกรณ์การเรียนการสอน จัดหาเครื่องมือประจำตัวเด็กที่มีคุณภาพ และพัฒนาระบบสื่อการเรียนการสอนให้มีความทันสมัย ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าในระยะยาวมากกว่า”ดร.วีรวัฒน์กล่าว
อุปนายกสภาการศึกษาเอกชนฯ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้เรื่องการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาจนถึงวันนี้ก็ยังไม่เรียบร้อย ทั้งที่น่าจะเสร็จมานานและรับนักศึกษาไปแล้ว แต่ตอนนี้ก็ยังไม่ได้รับนักศึกษา ซึ่งผลของความล่าช้าที่เกิดขึ้นทำให้เด็กอาชีวศึกษาที่รอคอยเพื่อเรียนปริญญาตรีสายปฏิบัติการมานาน รวมถึงประเทศชาติต้องเสียโอกาสไปอีกอย่างน้อยหนึ่งปี ตนคิดว่า สอศ.น่าจะเร่งสนับสนุนการขับเคลื่อนการจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาให้เรียบร้อยอย่างมีคุณภาพ เพื่อเปิดรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีให้ได้โดยเร็วน่าจะดีกว่า

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32573&Key=hotnews

รอ “พงศ์เทพ” ตัดสินใจเลือกกรรมการอุดมศึกษาชุดใหม่

1 พฤษภาคม 2556

สกอ.เสนอรายชื่อกรรมการอุดมศึกษาชุดใหม่ให้ “พงศ์เทพ”ตัดสินใจเลือกจาก 30 คน เหลือ 15 คน ย้ำได้ตัวบุคคลล่าช้าไม่กระทบการทำงาน เพราะบอร์ดเก่ายังทำหน้าที่ต่อไปได้

วานนี้(30เม.ย.) รศ.นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) เปิดเผยว่า จากการที่คณะกรรมการการอุดมศึกษา(กกอ.) ชุดเดิมได้หมดวาระไปตั้งแต่วันที่ 2 ธ.ค. 2555 นั้น ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.)ได้ดำเนินการสรรหาบุคคลผู้ที่เหมาะสมเพื่อมาดำรงตำแหน่ง กกอ. แทนชุดเดิม โดยได้สรรหาผู้มีความรู้ ความสามารถและมีความเชี่ยวชาญในสาขาต่าง ๆ จำนวน 30 คน เสร็จเรียบร้อยแล้ว และได้เสนอรายชื่อให้รมว.ศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาให้เหลือ 15 คน โดยเลือกเป็นประธานกรรมการ 1 คน และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอีก14 คน จากนี้จึงต้องรอการพิจารณาของรมว.ศึกษาธิการ อย่างไรก็ตามถึงแม้จะยังไม่ได้รายชื่อกกอ.ชุดใหม่ แต่ก็ไม่ได้กระทบการทำงาน เพราะบอร์ดชุดเดิมยังปฎิบัติหน้าที่ต่อได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อที่เสนอให้พิจารณา ประกอบด้วย รศ.โกวิท วงศ์สุรวัฒน์ รศ.ช่วงโชติ พันธุเวช นายชวลิต หมื่นนุช พลตำรวจเอกชาญวุฒิ วัชรพุกก์ พลตำรวจตรีชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์ ผศ.ณรงค์ พุทธิชีวิน นายธนู กุลชล ศ.ธรรมศักดิ์ พงศ์พิชญามาตย์ ศ.นักสิทธ์ คูวัฒนาชัย รศ.นินนาท โอฬารวรวุฒิ นายบุญทอง ภู่เจริญ ศ.ปรีชา เถาทอง รศ.เปรื่อง กิจรัตน์ภร นายภราเดช พยัฆวิเชียร ศ.(พิเศษ)ภาวิช ทองโรจน์ รศ.ลลิตา ฤกษ์สำราญ ศ.ลิขิต ธีรเวคิน ศ.วิชัย ริ้วตระกูล ศ.วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ศ.ศักดา ธนิตกุล รศ.ศิโรจน์ ผลพันธิน รศ.สมชาติ จิริวิภากร นายสมบุญ เจริญเศรษฐมห ศ.กิตติคุณสมหวัง พิธิยานุวัฒน์ นายสว่าง ภู่พัฒน์วิบูลย์ นายสายหยุด จำปาทอง ศ.สุนทร บุญญาธิการ รศ.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ ศ.สุรพล นิติไกรพจน์ และ รศ.อานนท์ เที่ยงตรง

ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32572&Key=hotnews

สพฐ.เล็งขยายโครงส่งเสริมคุณธรรมฯไปร.ร.ในฝันกว่า 2 พันแห่ง

1 พฤษภาคม 2556

สพฐ. เตรียมแผนพัฒนาการศึกษาในปี 2556 พร้อมขยายผลโครงส่งเสริมคุณธรรมฯ ไปยัง ร.ร.ในฝันกว่า 2 พันโรง

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีการกำหนดแผนและเป้าหมายที่จะดำเนินการในปีการศึกษา 2556 โดยจะกำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ดังนี้

1.จัดทำคู่มือในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแบบครบวงจร ซึ่งจะจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ในช่วงเดือน พ.ค.นี้ เพื่อนำไปขยายผลให้กับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป สำหรับคู่มือเล่มนี้จะมีการแนะนำเกี่ยวกับการให้การบ้าน และมอบงานที่เกี่ยวกับโครงงานต่างๆ แก่เด็ก เพื่อให้งานเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และไม่เป็นภาระแก่เด็ก

2.จะมีการนำทฤษฎีห้องเรียนกลับด้านมาใช้ โดยจะเป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และจะมีการปรับโครงสร้างการใช้เวลาอย่างชัดเจน รวมทั้งจะมีการนำสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เป็นตัวช่วยในการเรียนการสอน

3.จัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน โดยนำผลการวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET และคะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ National Test (NT) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงจุดอ่อนของนักเรียนในทุกช่วงชั้น มาจัดทำเป็นแผนการพัฒนาที่มีเป้าหมาย เพื่อให้ครูได้เน้นย้ำลงไปในจุดที่เด็กมีปัญหาโดยตรง และ

4.กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการพัฒนาทั้งด้านคุณธรรม และวิชาการควบคู่กันไป

อย่างไรก็ตาม ในปีการศึกษา 2556 นั้น สพฐ.จะพัฒนาโรงเรียนในเรื่องการส่งเสริมคุณธรรมนำวิชาการ ซึ่งในปีการศึกษา 2555 ได้เริ่มนำร่องในโรงเรียนดีประจำตำบลไปแล้ว 6,500 แห่ง โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนดีศรีตำบล ดังนั้นในปีนี้จะขยายผลเพิ่มเติมไปยังโรงเรียนในฝันอีก 2,628 แห่ง โดยผู้บริหาร ครู และนักเรียน จะต้องผ่านการอบรมในเชิงคุณธรรม และจริยธรรมผ่านภาคปฏิบัติด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งด้านวิชาการ และจิตใจ

–ASTVผู้จัดการออนไลน์–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32571&Key=hotnews

ครม.ไฟเขียวให้ ศธ.แลกเปลี่ยนครูกับฟิลิปปินส์สอนพื้นฐาน – อาชีวศึกษา

1 พฤษภาคม 2556

ครม.อนุมัติ ศธ.ทำบันทึกข้อตกลงแลกเปลี่ยนครูกับฟิลิปปินส์ สอนในระดับพื้นฐาน-อาชีวศึกษา เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา ตั้งเป้าหลังลงนามเตรียมจะสรุปจำนวนครูและวิชาที่สอนเพื่อให้ทันเปิดเทอมปีการศึกษา 2556

วานนี้ (30 เม.ย.) นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบตามที่ ศธ.เสนอขออนุมัติจัดทำและลงนามบันทึกความตกลงระหว่างกระทรววงศึกษาธิการไทยและฟิลิปปินส์ว่าด้วยการแลกเปลี่ยนครู โดยมี รมว.ศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนามในบันทึกข้อตกลง ซึ่งสาระสำคัญของการบันทึกความตกลงดังกล่าว จะเกี่ยวกับการส่งเสริมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการศึกษา และการพัฒนาครูของประเทศไทยและประเทศฟิลิปปินส์ โดยครูของทั้ง 2 ประเทศจะแลกเปลี่ยนเพื่อทำการเรียนการสอนในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอาชีวศึกษา เป็นเวลา 1 ปีการศึกษา ในสาขาวิชาที่มีความตกลงร่วมกัน

“ได้เคยหารือทวิภาคีกับทางฟิลิปปินส์ ในการประชุมสภารัฐมนตรีศึกษาแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา ครั้งนั้นทั้งไทยและฟิลิปปินส์เห็นร่วมกันที่จะจัดให้มีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนครู โดยได้กำหนดช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2556 ในประเทศไทย ซึ่งภายหลังลงนามร่วมกันแล้วจึงจะหารือในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่งถึงจำนวนครูผู้สอน และวิชาที่จะสอนซึ่งตั้งเป้าว่าจะต้องดำเนินการให้ทันเปิดภาคเรียนปีการศึกษา 2556”นายพงศ์เทพ กล่าวและว่า ทั้งนี้ การแลกเปลี่ยนดังกล่าวจะทำให้ครูได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้กับเพื่อนครู ทั้งในด้านเทคนิคการสอนในชั้นเรียน เนื้อหาวิชาเพื่อให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ครูจะยังทำหน้าที่เสมือนทูตทางการศึกษาช่วยสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างประเทศ และสร้างความรู้สึกเป็นอันหนึ่งอันของประชาคมอาเซียนด้วย

–ASTVผู้จัดการออนไลน์–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32570&Key=hotnews

เด็กวิ่งรอกสอบน้อยลง แห่เข้า ม.เอกชนมากขึ้น

 1 พฤษภาคม 2556

                “พงษ์อินทร์” ฟุ้งปีนี้เด็กวิ่งรอกสอบตรงน้อยลง ระบุเพราะข้อมูลเคลียริงเฮาส์ชี้เด็กเลือกเรียนที่เดียว สะท้อนเด็กรู้ตัวเองมากขึ้น พร้อมพบสัญญาณแอดมิชชั่นปี 56 เด็กเริ่มสละสิทธิ์ไปเรียนเข้า ม.เอกชนจำนวนมาก

          นายพงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ประธานคณะทำงานแอดมิชชั่นฟอรั่ม ของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) กล่าวว่า จากข้อมูลการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาระบบรับตรง หรือเคลียริงเฮาส์ ประจำปีการศึกษา 2556 พบว่า มีจำนวนที่นั่งที่สามารถยืนยันสิทธิ์สูงสุด 4 คณะ จำนวน 30 คน 3 คณะ จำนวน 260 คน 2 คณะ จำนวน 2,985 คน และ 1 คณะ จำนวน 36,575 คน ซึ่งตัวเลขที่นักเรียนสามารถยืนยันสิทธิ์สูงสุด 4 คณะ ถือว่าไม่มาก และมีเพียง 30 คนเท่านั้น ทั้งที่นักเรียนสามารถสมัครกี่แห่งก็ได้ แต่เมื่อชื่อเข้าสู่ระบบระบบเคลียริงเฮาส์แล้ว นักเรียนสามารถยืนยันสิทธิ์ได้เพียงแห่งเดียวเท่านั้น เพื่อไม่ให้ไปกันที่คนอื่น ซึ่งจากข้อมูลดังกล่าวทำให้เห็นว่า เดิมที่สังคมเข้าใจว่านักเรียนวิ่งสอบหลายที่ และเสียเงินค่าสมัครจำนวนมากนั้น จริงๆ ไม่ได้มีมากอย่างที่เข้าใจ เพราะข้อมูลแสดงให้เห็นชัดเจนว่านักเรียนส่วนใหญ่เลือกสมัครเพียงคณะเดียว สะท้อนให้เห็นว่านักเรียนรู้ตัวเองมากขึ้น ว่าต้องการเรียนอะไร

          นอกจากนี้ ที่ผ่านมายังพบว่ามีตัวเลขนักเรียนสละสิทธิ์แอดมิชชั่น แล้วไปสอบรับตรงของมหาวิทยาลัยเอกชนอีกจำนวนมาก ซึ่งอาจเป็นเพราะไม่ได้ในคณะที่อยากเรียน หรืออาจจะมีปัจจัยอื่นๆ แทรกเข้ามา ตรงนี้จะต้องไปวิเคราะห์หาสาเหตุว่าเกิดจากอะไรกันแน่ อย่างไรก็ดี ในอนาคตคณะทำงานแอดมิชชั่นฟอรั่มมีความหวังว่าจะทำให้การสอบเหลือเพียงระบบเดียว เพื่อให้นักเรียนไม่ต้องสอบเยอะ แต่เท่าที่ดูคงเป็นไปได้ยาก เพราะนักเรียนยังมีพฤติกรรมเลือกสมัครหลายระบบอยู่

          ที่มา: http://www.thaipost.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32569&Key=hotnews

ครม.เห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด

1 พฤษภาคม 2556
      

          ร.ท.หญิง สุณิสา เลิศภควัต รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ระเบียบการใช้ตัวสะกด โดยกำหนดให้ใช้พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 เป็นแบบมาตรฐานสำหรับหน่วยราชการ สถานศึกษาและประชาชนทั่วไป เพื่อใช้เป็นหนังสืออ้างอิงในการเขียนหนังสือไทยให้เป็นระเบียบเดียวกัน

       โดยพจนานุกรมฉบับนี้ ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการชำระพจนานุกรม โดยมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามคำศัพท์ทั่วไป ซึ่งเป็นคำที่มีใช้ในภาษาไทย และเป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย แต่ยังไม่ได้เก็บไว้ในพจนานุกรม รวมทั้ง แก้ไขเพิ่มเติมบทนิยามของคำศัพท์เฉพาะสาขาวิชา ได้แก่ ศัพท์กฎหมายไทย ศัพท์ประวัติศาสตร์ไทย ศัพท์พรรณพืชและพรรณสัตว์ ศัพท์ดนตรีไทย

          ศัพท์ดนตรีสากล และราชาศัพท์ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะสาขานั้น ๆ และที่สำคัญ ได้มีการเก็บคำศัพท์ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการพัฒนาเรื่องดิน น้ำ และป่าไม้ ประกอบด้วยคำว่า กังหันน้ำชัยพัฒนา แกล้งดิน แก้มลิง ทฤษฎีใหม่ เศรษฐกิจพอเพียง โครงการตามพระราชดำริ โครงการตามพระราชประสงค์
          โครงการในพระบรมราชานุเคราะห์ โครงการพระดาบส โครงการพัฒนาส่วนพระองค์ โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา โครงการหลวง และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ทั้งนี้เพื่อเผยแพร่พระเกียรติคุณและเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นพระมหากษัตริย์นักพัฒนา
          รวมทั้งเพื่อตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่ทรงห่วงใยการใช้ภาษาไทยของคนไทยในปัจจุบัน สำหรับความเป็นมาของพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 นั้น ได้รับการตีพิมพ์ขึ้นในปี 2554 เนื่องจากเป็นปีมหามงคล ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษา ซึ่งโครงการจัดพิมพ์พจนานุกรมเพื่อเฉลิมพระเกียรติดังกล่าว
          ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ได้ลงนามในคำสั่งนายกรัฐมนตรี ลงวันที่ 23 พ.ย.2554 เพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการจัดพิมพ์พจนานุกรมฯ และอนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดพิมพ์พจนานุกรมฉบับดังกล่าว เพื่อแจกจ่ายไปยังสถาบันการศึกษา ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา และอุดมศึกษา
          ทั้งยังแจกจ่ายให้ สถาบันศาสนา หน่วยงานราชการ ตลอดจนคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และสื่อมวลชน ให้ใช้อ้างอิงเป็นมาตรฐานของการเขียนหนังสือไทย เพื่อให้เกิดเอกภาพในด้านภาษาอันเป็นวัฒนธรรมและเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาติ
          เพื่อให้หน่วยราชการและสถาบันการศึกษารวมทั้งประชาชนทั่วไปมีแบบมาตรฐานเดียวกันสำหรับใช้ในการเขียนหนังสือไทย สำหรับพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 นั้น เป็นฉบับที่ปรับปรุงแก้ไขมาจาก พจนานุกรมฯ ฉบับปี 2542 และผ่านการพิจารณาของกรรมการชำระพจนานุกรม ที่ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านภาษาและผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับคำศัพท์ประเภทต่าง ๆ จำนวนมาก เช่น นาย ประเสริฐ ณ นคร นาย จำนงค์ ทองประเสริฐ และ นางกาญจนา นาคสกุล เป็นต้น

          ที่มา: http://www.prachachat.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32568&Key=hotnews

สพฐ.จัดทำแผนพัฒนาเด็กปี 56

30 เมษายน 2556
  

         สพฐ.จัดทำแผนพัฒนาเด็กปี 56 จัดให้เป็นปีปฏิรูปการเรียนการสอน มี 4 กิจกรรม
          เมื่อวันที่ 30 เม.ย. ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ว่า ที่ประชุมได้มีการกำหนดแผนและเป้าหมายที่จะดำเนินการในปีการศึกษา 2556 โดยจะกำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการปฏิรูปการเรียนการสอน และพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ซึ่งประกอบด้วย 4 กิจกรรม ได้แก่

          1.จัดทำคู่มือในการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนแบบครบวงจร โดยจะมีการจัดอบรมให้แก่ศึกษานิเทศก์ในช่วงเดือน พ.ค.นี้ เพื่อนำไปขยายผลให้กับเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป อย่างไรก็ตามสำหรับคู่มือเล่มนี้จะมีการสอนเกี่ยวกับการให้การบ้าน และมอบงานที่เกี่ยวกับโครงงานต่างๆ แก่เด็ก เพื่อให้งานเหล่านี้ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้ และไม่เป็นภาระแก่เด็ก

          2.จะนำทฤษฎีห้องเรียนกลับด้านมาใช้ โดยจะเป็นการปรับเปลี่ยนการเรียนการสอนในห้องเรียนอย่างเป็นรูปธรรม และจะมีการปรับโครงสร้างการใช้เวลาอย่างชัดเจน รวมทั้งจะมีการนำสื่อและเทคโนโลยีต่างๆ มาใช้เป็นตัวช่วยในการเรียนการสอน

         3.จัดทำแผนการพัฒนาคุณภาพของนักเรียน โดยนำผลการวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน หรือ O-NET และคะแนนการประเมินคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน หรือ National Test (NT) ซึ่งเป็นข้อมูลที่แสดงถึงจุดอ่อนของนักเรียนในทุกช่วงชั้น มาจัดทำเป็นแผนการพัฒนาที่มีเป้าหมาย เพื่อให้ครูได้เน้นย้ำลงไปในจุดที่เด็กมีปัญหาโดยตรง และ

        4.กำหนดให้ปีนี้เป็นปีแห่งการพัฒนาทั้งด้านคุณธรรม และวิชาการควบคู่กันไป

          “ในปีการศึกษา 2556 สพฐ.จะพัฒนาโรงเรียนในเรื่องการส่งเสริมคุณธรรมนำวิชาการ ซึ่งในปีการศึกษา 2555 ได้เริ่มนำร่องในโรงเรียนดีประจำตำบลไปแล้ว 6,500 แห่ง โดยใช้ชื่อว่าโรงเรียนดีศรีตำบล ดังนั้นในปีนี้จะขยายผลเพิ่มเติมไปยังโรงเรียนในฝันอีก 2,628 แห่ง โดยผู้บริหาร ครู และนักเรียน จะต้องผ่านการอบรมในเชิงคุณธรรม และจริยธรรมผ่านภาคปฏิบัติด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีความสมดุลทั้งด้านวิชาการ และจิตใจ” นายชินภัทร กล่าว..

          ที่มา: http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32564&Key=hotnews

สรอ. ตั้ง มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ

30 เมษายน 2556
      

          เพื่อขับเคลื่อน Smart Government ภายใต้นโยบาย Smart Thailand ของกระทรวงไอซีที ที่จะยกระดับการให้บริการประชาชน ผ่านบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ สานักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จึงได้จัดทา “มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐ (Government Website Standard)” เพื่อช่วยให้การพัฒนาเว็บไซต์ของหน่วยงานภาครัฐเป็นไปในทิศทางเดียวกัน  โดยจะเริ่มจากจดทะเบียนชื่อและเป็นผู้ถือครองโดเมนเนม ภายใต้ชื่อ “data.go.th” และ “apps.go.th” ในการให้บริการเว็บไซต์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางข้อมูลภาครัฐ และเป็นศูนย์กลางของแอพพลิเคชั่นภาครัฐ

          มาตรฐานเว็บไซต์ภาครัฐจะมีการปรับปรุงตั้งแต่ องค์ประกอบเนื้อหาเว็บไซต์ คุณลักษณะของเว็บไซต์ภาครัฐที่ควรมี รวมถึงแนวทางการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ ซึ่งได้รวบรวมและประมวลจาก กฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับในประเทศที่เกี่ยวข้อง การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และข้อกาหนดองค์การสหประชาชาติ ในการจัดอันดับการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มประเทศสมาชิก ตลอดจนแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในระดับนานาชาติ

          จากนี้ไป เว็บไซต์ของ 7 กระทรวง และอีก 1 หน่วยงาน อันประกอบด้วย กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสานักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ซึ่งอยู่ในรายการที่องค์การสหประชาชาติจะทาการตรวจประเมิน ดาเนินการพัฒนาเว็บไซต์ให้เป็นไปตามมาตรฐานเว็บไซต์ และเตรียมความพร้อมการเข้าสู่ AEC

Source – เทเลคอม เจอร์นัล (Th)

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32563&Key=hotnews