academic

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ตำแหน่งทางวิชาการ

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย บัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2445

การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น

 การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย

การสัมมนาในหัวข้อ การเขียนบทความวิชาการขั้นต้น
– ความสำคัญของงานวิจัยและผลงานทางวิชาการ
– บทความวิชาการและบทความวิจัย
– ประสบการณ์วิทยากร
– กุญแจสู่ความสำเร็จ

โดย อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 21 มีนาคม 2556 เวลา 13.30 – 15.30น.
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ ม.เนชั่น

ส่วนประกอบของชื่อเรื่อง (Subject) ควรประกอบด้วย
คำว่า MIS (Acronym)
1. วิธีการ (Method)
2. จุดประสงค์ (Intention/Purpose)
3. ตัวอย่าง (Sample)

การเขียนบทคัดย่อ (Abstract) ควรประกอบด้วย
1. เกริ่นนำ (Introduction)
2. สิ่งที่ทำ (Method)
3. สรุปผล (Conclusion)

การเขียนบทนำ (Introduction) ควรประกอบด้วย
1. หลักการและเหตุผล (Rationale) หรือความเป็นมา (Background)
2. วัตถุประสงค์ (Objective)
3. ขอบเขตของเรื่อง (Scope)
4. คำจำกัดความหรือนิยามต่าง ๆ (Definition)

คาถาที่ฝากไว้ : Just do it
http://www.scribd.com/doc/131768793/

reviewer comment
reviewer comment

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=616479848366150&set=a.616476891699779.1073741832.506818005999002