model

อำเภอต้นแบบ หรือ โมเดลอำเภอ

อำเภอต้นแบบ (Amphoe model)
คือ ผลการพัฒนาอำเภอ
จนได้รูปแบบที่มีอัตลักษณ์เฉพาะ
เป็นชุดผลงานที่สะท้อนผ่าน
เรื่องราวเชิงรูปธรรม สินค้า บริการ
รูปภาพ คลิปวิดีโอ และเรื่องเล่า

การได้โมเดลหมู่บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด ประเทศ จำเป็นต้องมีผู้เกี่ยวข้องมาพูดคุย แลกเปลี่ยนเป็นสังคมที่ถ้อยทีถ้อยอาศัย ช่วยเหลือเกื้อกูล ส่งเสริมสนับสนุน กดไลก์ กดแชร์ แสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ ให้กำลังใจกันและกัน ส่งผลให้ได้โมเดลต้นแบบที่เข้มแข็ง และเป็นนวัตกรรม ที่ผู้สนใจสามารถเรียนรู้ และนำไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มได้

ขั้นตอนสร้างต้นแบบ

1. เลือกพื้นที่

2. เลือกผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

3. วางแผนกิจกรรม

4. ปฏิบัติการ

5. นำเสนอผลงาน

6. ประชุมสรุป

7. ติดตามผล และพัฒนา

ในกลุ่มสังคมคนรักอ่าน มีสมาชิกที่เข้าไปเล่าเรื่องราว ให้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ต่อการพัฒนาท้องถิ่นเชิงสร้างสรรค์ และทำให้สามารถเรียนรู้ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โมเดลตำบลที่เป็นผลงานนวัตกรรมนั้นมีมากมาย แต่หนึ่งในโมเดลที่น่าสนใจปรากฎตามรายการด้านล่าง ซึ่งผมเข้าไปกดไลก์อยู่เสมอตามโพสต์ในเพจของโมเดล

เช่น โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ U2T ของ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง
ที่พบชุดผลงานในเพจ #เมืองปายโมเดล

แผนที่ท่องเที่ยว
ตุ๊กตาสาน
ยาหม่องสี่แม่ยาย
น้ำพริกตาแดงปานคำ
น้ำพริกลูกพ่อขุน
กล้วยฉาบบ้านแพะ
ตะกร้าจักรสาน
จักสานบ้านสบปาน
ลูกประคบสองตายาย
กล้วยฉาบ
เตาอั้งโล่จิ๋ว
หน่อไม้หนีบ

วิดีโอ เมืองปานโมเดล

https://eduvator.lpru.ac.th/%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9B%E0%B8%B2%E0%B8%99-%E0%B9%82%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%A5/

https://www.facebook.com/profile.php?id=100064032283756&mibextid=ZbWKwL

แผนที่ท่องเที่ยว
เพจ เมืองปานโมเดล

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th