training

ชวนกันออกจาก comfort zone เข้าหลักสูตร GCP online training (ภาพจากแฟนเพจ มหาวิทยาลัยเนชั่น)

ชวนนิสิตเข้า หลักสูตร GCP online training แบบ self-learning

เมื่อวาน (20 ก.พ.2565) ชวนนิสิต M.Ed. เข้าสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรหลักสูตร GCP online training (Computer based) ตามความสมัครใจ หลังทุกคนนำเสนอโครงงานประจำวิชาช่วงกลางวันแล้ว ในช่วงเย็น พบว่า กลุ่มนิสิต M.B.A. แชร์ประกาศนียบัตร ซึ่งนิสิตจะผ่านได้ ต้องเข้าสอบและผ่านการสอบ ตามเกณฑ์อย่างน้อยถูก 24 จาก 30 ข้อ แล้วก่อนหน้านี้ เคยทราบว่ากลุ่มนิสิตสาธารณสุขศาสตร์ก็ผ่านหลักสูตรนี้แล้ว เมื่อได้เข้าไปทำข้อสอบ ทำให้ได้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับ “แนวทางการปฏิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี” เพิ่มขึ้น

คู่มือแนะนำหลักสูตร GCP online training

หลักสูตร GCP online training (Computer based) “แนวทางการปฎิบัติการวิจัยทางคลินิกที่ดี (ICH-GCP:E6(R2))” โดย คณะอนุกรรมการจริยธรรมการวิจัยในคน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดย ICH ย่อจาก The International Conference on Harmonization of Technical Requirements for Registration of Pharmaceuticals for Human Use และ GCP ย่อจาก Good Clinical Practice


คำชี้แจง ที่น่าสนใจ

  1. ควรอ่านเนื้อหาทั้งหมดให้จบก่อนทำแบบทดสอบ
  2. แบบทดสอบมีทั้งหมด 30 ข้อ เกณฑ์ผ่านคือ ตอบถูกอย่างน้อย 24 ข้อ (240 จาก 300 คะแนน)
  3. หลังจากท่านทำข้อสอบทั้งหมดแล้ว ท่านจะได้รับประกาศนียบัตรอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบไฟล์ pdf ทางอีเมล์
  4. ท่านสามารถหยุดทำข้อสอบชั่วคราว แล้วกลับมาทำต่อคราวหลังได้ โดยระบบจะเริ่มต่อจากข้อล่าสุด

http://www.thaiall.com/ethics/

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

นิเทศอาจารย์/เจ้าหน้าที่ 55 : มคอ. ประกัน ภาระงาน

21 ก.ค.55
21 ก.ค.55

21 – 22 ก.ค.55 มหาวิทยาลัยจัดกิจกรรมนิเทศอาจารย์และเจ้าหน้าที่ ให้ความรู้ และปรับความเข้าใจ สำหรับการจัดการเรียนการสอน และการดำเนินการตามกรอบ มคอ. ในปีการศึกษา 2555 โดย ผศ.ดร.พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม ท่านอธิการบดีเป็นผู้นำบรรยาย ในหัวข้อเกี่ยวกับอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย ความสำคัญของการประกันคุณภาพการศึกษา การจัดทำข้อตกลงภาระงาน การทำหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิการศึกษาแห่งชาติ การตัดเกรดที่กำลังจะเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ที่มีผลต่อการจัดการเรียนการสอนให้มีคุณภาพมาตรฐาน โดยมีผู้ช่วยบรรยายได้แก่ ดร.วันชาติ นภาศรี และอ.ศศิวิมล แรงสิงห์ มีการทำ workshop เรื่องของการกำหนดกระบวนการการประกันคุณภาพ และการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มข้อตกลงภาระงาน

การรวมประชุมครั้งนี้ ฝึกบันทึกประเด็นที่ใช้ mindjet บน samsung galaxy tab 10.1 แล้วส่งภาพไปเก็บใน dropbox แล้ว export กลับมาเข้า samsung แล้วใช้ fb apps อัพโหลดเข้า group ของเพื่อนบุคลากร เพื่อชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภาพที่ได้ไม่ละเอียดเท่าที่ควร หลายคำอ่านยาก แต่พอเดาได้