journal

พิธีประสาทปริญญาบัตร มหาวิทยาลัยเนชั่น

พิธีประสาทปริญญาบัตร
พิธีประสาทปริญญาบัตร

ยินดีกับบัณฑิต และมหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยเนชั่น
ที่จะเข้าพิธีประสาทปริญญาบัตร ครั้งที่ 22 วันอาทิตย์ที่ 22 ม.ค.2560
และซ้อมใหญ่ 21 ม.ค.2560
และลงทะเบียน และรายงานตัว 20 ม.ค.2560
#congratulation #graduation #nationuniversity

พิธีประสาทปริญญาบัตร
พิธีประสาทปริญญาบัตร

กำหนดการพิธีประสาทปริญญาบัตร
ณ อัฒจันทร์กลางแจ้ง มหาวิทยาลัยเนชั่น จังหวัดลำปาง

8.00 น. บัณฑิตและมหาบัณฑิตถ่ายภาพตามอัธยาศัย
12.30 น. จัดแถวบัณฑิต และมหาบัณฑิตเพื่อเตรียมถ่ายรูปหมู่
13.00 น. บัณฑิตและมหาบัณฑิตถ่ายรูปหมู่ร่วมกับคณะกรรมการสภา ผู้บริหารและคณาจารย์
15.30 น. บัณฑิตและมหาบัณฑิตจัดแถวเตรียมความพร้อม
แขกผู้มีเกียรติและผู้ปกครองเข้านั่งประจำที่
16.00 น. บัณฑิตและมหาบัณฑิตเดินแถวเข้าสู่บริเวณพิธีฯ
16.20 น. พิธีประสาทปริญญาบัตร
– ประธานจุดธูปบูชาพระรัตนตรัย
– ประธานฝ่ายพิธีการ กล่าวรายงาน
– พิธีมอบปริญญามหาบัณฑิต และปริญญาบัณฑิต
– พิธีมอบเกียรติบัตรบัณฑิตดีเด่น
– ผู้ได้รับปริญญากล่าวคำปฏิญาณตน
17.45 น. ประธานในพิธีกล่าวแสดงความยินดีและให้โอวาท

พิธีประสาทปริญญาบัตร
พิธีประสาทปริญญาบัตร
view2
view1

[วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น]
มีภาพสวย ๆ ของบัณฑิต และมหาบัณฑิต
ในวารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น
ฉบับปีการศึกษา 2557 จำแนกตามสาขาวิชาเพียบเลย
http://it.nation.ac.th/std/journal57/
http://issuu.com/55560/docs/ntu_journal_2557_b67df48f32480f

วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น
วารสารมหาวิทยาลัยเนชั่น

เหนือฟ้าคือฟ้า

ฟ้าสดใส โลกสวยงาม
ฝันยังทอประกายฉายส่อง
ด้วยพลังเปี่ยมหวังเรืองรอง
เราถักทอสัมพันธ์ร่วมใจ

แม้เขตฟ้า จะสูงชัน
เราผู้กล้าฝ่าฟันไม่หวั่นไหว
ที่เหนือฟ้าเราคือฟ้า มีสัญญายิ่งใหญ่
คือร้อยดวงใจแล้วไปด้วยกัน

ด้วยศรัทธา สร้างปัญญาก้าวไกล มหาวิทยาลัยเนชั่น
กายต่างกายแต่ดวงใจเดียวกัน รักในการสร้างสรรค์สุดใจ
ฟ้ากว้างไกลสุดสายตา โอบล้อมให้เราชาวฟ้าขาวมั่นใจ
ก้าวสู่ฝัน สู่คืนวัน ชีวิตอันสดใส
มหาวิทยาลัยเนชั่น

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์เกษม วัฒนชัย องคมนตรี

ประชุมอบรมแบบสัญชัยโมเดล (itinlife563)

สัญชัยโมเดล
สัญชัยโมเดล

ในการประชุมอบรมและพัฒนานักวิจัยที่จังหวัดเชียงใหม่ เกิดคำว่า สัญชัยโมเดล ซึ่งเป็นรูปแบบการจัดประชุมที่ได้รับทุนสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในสถาบันเครือข่ายบริหารการวิจัยภาคเหนือตอนบนที่มีความต่อเนื่อง ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา เล่าที่มาของโมเดลนี้ว่า เคยจัดประชุมอบรมและเปิดให้จองเข้าอบรมล่วงหน้าและผู้รับการอบรมไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการอบรม จึงมีการจองเข้าอบรมหลายร้อยคน ได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการอบรมต่อหัวคนละประมาณห้าร้อยบาทที่ต้องจ่ายให้กับทางโรงแรม เมื่อถึงกำหนดประชุมพบว่ามีการยกเลิกไม่เข้าร่วมนับร้อยคน ทำให้ต้องเป็นผู้รับผิดชอบหาเงินไปจ่ายให้กับโรงแรมในส่วนนี้

ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา
ศาสตราจารย์ ดร.สัญชัย จตุรสิทธา

รูปแบบการจัดอบรมที่ได้รับทุนสนับสนุนจากภาครัฐ แบบสัญชัยโมเดล มีขั้นตอนดังนี้ ประกาศข่าวสารการอบรมให้ตัวแทนเครือข่ายแล้วไปประชาสัมพันธ์ ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนผ่านเว็บไซต์เพื่อจองที่นั่งเข้าอบรม แล้วชำระเงินมัดจำผ่านธนาคารในเวลาที่กำหนด ส่งสำเนาการโอนเงิน เมื่อหมดเวลาจองที่นั่งก็ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้ารับการอบรมให้ได้ตรวจสอบอีกครั้ง ในวันอบรมจะต้องลงชื่อทั้งภาคเช้า และบ่ายตามเวลาที่กำหนด อยู่ร่วมจนเสร็จสิ้นการอบรมเพื่อรอรับเงินมัดจำคืน หากผิดเงื่อนไขก็จะริบเงินมัดจำเข้าเป็นงบประมาณสำหรับจัดอบรมในครั้งต่อไป ทำให้ผู้ที่คิดจะเข้าเฉพาะช่วงเช้า เฉพาะช่วงบ่าย หรือเข้าไปเซ็นชื่อช่วงเช้าแล้วกลับเข้าไปตอนปิดอบรม หรือส่งตัวแทนเข้ารับการอบรมจะถูกริบเงินมัดจำ โมเดลนี้ต้องการให้การจัดประชุมเกิดประโยชน์ต่อผู้เข้ารับการอบรมสูงสุด ผู้ไม่จริงจังกับการอบรมก็ไม่ควรได้สิทธิ์อบรมฟรีที่จะต้องใช้งบประมาณของแผ่นดินในการจ่ายค่าหัวให้กับทางโรงแรม ที่อาจถือว่าเป็นการทุจริตรูปแบบหนึ่งในการใช้งบประมาณ

ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ

ในการอบรมและพัฒนานักวิจัยครั้งนี้มีการบรรยาย 2 เรื่อง คือ เรื่องเขียนบทความวิจัยอย่างไร จึงจะโดนใจบรรณาธิการ โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ และ เรื่องเทคนิคการเขียนบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ ภายหลังการอบรมผู้เขียนได้แลกเปลี่ยนกับ อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง พบว่าเนื้อหามีประโยชน์กับผู้สนใจจะมีอาชีพเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัย หากนำเนื้อหาที่ได้จากการอบรมไปพูดคุยกับเพื่อนอาจารย์ให้เข้าใจการเขียนบทความที่ดี และการตีพิมพ์ในวารสารภาษาอังกฤษ ก็แนวทางที่น่าสนใจในการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา แล้วยังได้โมเดลที่น่าจะนำไปปรับใช้ได้จริง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรอร ภู่เจริญ

http://unrn.rac.oop.cmu.ac.th

ขยะวารสาร (journal spam or scam)

ไปอ่านพบเรื่อง Journal spam or scam (วารสารหลอกลวง)
ที่ http://econjeff.blogspot.com/2010/07/journal-spam.html
มีการโพสต์เรื่องนี้ตั้งแต่ปี 2010 จนถึง  August 28, 2014 at 2:14 PM ก็มีการ comment
พอเข้าไปตรวจในเว็บไซต์ http://academicstar.us
ก็พบฉบับล่าสุด ISSN:2155-7950 ที่ http://academicstar.us/journalsshow.asp?ArtID=371
Journal of Business and Economics ลงวันที่ 16 september 2014
พบ บทความแรก ชื่อ Problem Solving in the Workplace through Application of Business Knowledge and Quantitative Methods
โดย Robert T. Barrett, Samuel H. Tolbert
http://academicstar.us/UploadFile/Picture/2014-9/2014916114047933.pdf
แต่ตรวจแล้วพบว่าเคยตีพิมพ์ใน SEDSI Conference ปี 2013
ใน http://www.sedsi.org/2013_Conference/proc/proc/P121011004.pdf
เป็นไปได้ว่า เขาคัดลอกของ Robert T. Barrett, Samuel H. Tolbert
มาปรับปรุงนิดนึง ลงไว้ให้ดูน่าเชื่อถือ ถ้าไม่ตรวจจริงก็คงเชื่อกันไปแล้วครับ
และมี http://www.astarstore.us/ ขาย journal เล่ม $380 – $780

อีเมลที่เพื่อนผมได้รับ 14 ต.ค.2557 แล้วส่งมาให้ตรวจสอบมีเนื้อความดังนี้

Dear  your name ,

This is Journal of Business and Economics (ISSN 2155-7950), a professional journal published by Academic Star Publishing Company, USA. We have learned your paper “Body of Knowledge on Folktales to Build Up Identity of Tourist attractions in Lampang Province” in The 3rd ICADA 2014—SSIS . If you have the idea of making our journal a vehicle for your research interests, please send the electronic version of your latest paper to us through email attachment in MS word format. All of your original papers and books which have not been published are welcome. All your original and unpublished papers and books are welcome.

Hope to keep in touch by email and publish some papers or books from you and your friends in USA. As an American academic publishing group, we wish to become your friends if necessary. We also want to invite some people to be our reviewers or become our editorial board members. If you are interested in our journal, you can send your updated CV to us.

Expect to get your reply soon.
You can find our sample journal in the attachemnt.

Best regards,

Amy

วารสารศาสตร์ กับคอนเวอร์เจ้นท์ และความเสี่ยงสูง

จักร์กฤษ เพิ่มพูล
จักร์กฤษ เพิ่มพูล

หากเราไม่พิจารณาปรากฏการณ์ วารสารศาสตร์คอนเวอร์เจนท์ (Convergence Journalism) หรือรูปแบบการรายงานข่าวแบบหลากหลายสื่อ

ในมิติการปรับตัวของผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ทั้งในแง่ทัศนคติของคนทำงาน ความรู้ความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยี รวมทั้งการออกแบบหลักสูตร การจัดการเรียน การสอน นักศึกษาด้านนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ เพื่อให้มีทักษะในการทำงานในแบบ multi-tasking skills แล้ว ประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามไป ก็คือ ระดับจิตสำนึกความรับผิดชอบในเชิงจริยธรรมก็เป็นความท้าทายของนักข่าวในยุคมีเดีย คอนเวอร์เจ้นท์ด้วย

การร่วมกันในการวางแผน เลือกช่องทางในการส่งสาร ไม่ว่าจะผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุและโทรทัศน์ สื่อดิจิตอลในรูปแบบต่างๆ สื่อสังคมออนไลน์ที่มีความไวสูง แน่นอนที่สุดว่า ผู้บริโภคข่าวสารจะได้ประโยชน์ โดยสามารถเข้าถึงข่าว หรือข้อมูลในช่องทางที่ง่าย และสะดวกสบายขึ้น ในขณะที่ผู้ประกอบการก็อาจได้ประโยชน์ในการลดต้นทุนการผลิต และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรักษากลุ่มลูกค้าในสื่อดั้งเดิม แต่ในขณะเดียวกันภาระรับผิดชอบของบรรณาธิการ และนักข่าวก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว โดยเฉพาะเมื่อมีประเด็นการฟ้องคดี ในช่องทางสื่อดิจิตอลหรือสื่อใหม่

เริ่มจากสื่อดั้งเดิม ความรับผิดชอบของบรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา ตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ยังเป็นประเด็นที่ถกเถียงกันอยู่ว่า ขอบเขตความรับผิดตามหลักสันนิษฐานของกฎหมายเดิมนั้น ได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างไร หรือไม่ เพราะในทางคดี บรรณาธิการหลายคนที่ถูกฟ้องคดีก็ยังต้องรับผิดในฐานะตัวการร่วมในการหมิ่นประมาท ถึงแม้ว่าฝ่ายโจทก์หรือผู้เสียหาย จะไม่สามารถนำสืบได้ว่า บรรณาธิการมีส่วนร่วมในการกระทำความผิดอย่างไร

ยิ่งไปกว่านั้น ก็คือ แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ขึ้นใช้บังคับแล้ว ในหลายคดีโจทก์ก็ยังอ้าง พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้ว ในคำขอท้ายฟ้องเพื่อให้ลงโทษจำเลยอีก เช่น คดีที่นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ และนายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ฟ้องบรรณาธิการ กรุงเทพธุรกิจ และเมื่อไม่นานมานี้ ข้อสอบวิชากฎหมาย ของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ก็ยังอ้างพระราชบัญญัติการพิมพ์ เป็นคำถามในการสอบ

แต่หลังจากมีคำพิพากษาฎีกาฉบับนี้ หลักในการพิจารณาอาจเปลี่ยนไป

พิพากษาศาลฎีกา ที่ 4948/2554 คดีหมิ่นประมาท ระหว่าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โจทก์ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ ที่ 1 บริษัทหนังสือพิมพ์แนวหน้า จำกัด ที่ 2 นายวารินทร์ พูนศิริวงศ์ ที่ 3 และนายจิระพงศ์ เต็มเปี่ยม ที่ 4 ยืนยันหลักการบรรณาธิการไม่ต้องรับผิด เป็นบรรทัดฐาน ซึ่งจะเป็นประเด็นข้อต่อสู้สำคัญของจำเลย ที่เป็นบรรณาธิการต่อไป

คดีนี้ โจทก์ ระบุว่าจำเลยร่วมกันหมิ่นประมาท โดยตีพิมพ์จดหมายจากผู้อ่าน ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” พาดหัวคอลัมน์ว่า “พลังเงียบ” มีข้อความบางตอนว่า มีการสร้างกระแสอย่างเป็นขบวนการ และอย่างเป็นระบบเพื่อกดดันศาลรัฐธรรมนูญ เรื่องแจ้งความเท็จแสดงทรัพย์สินของนายกรัฐมนตรีผู้นำของประเทศ จนทำให้ผู้คนทั่วไปคิดว่า ผู้นำของประเทศในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่เหนือกฎหมาย และอยู่เหนือสามัญชน

จำเลยที่ 1 ตอบจดหมายผู้ใช้ชื่อว่า “พลังเงียบ” ว่า เห็นด้วยทุกอย่างครับที่เขียนมา

ศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุกจำเลยที่ 1 และที่ 4 ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ก่อนที่ศาลฎีกา จะพิพากษากลับให้ยกฟ้อง

ศาลฎีกา วินิจฉัยว่า ข้อความที่ลงตีพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” เป็นการแสดงความคิดเห็น ความเป็นห่วงเป็นใยในกฎระเบียบกติกา และความถูกต้องของบ้านเมือง เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ ติชมด้วยเจตนาสุจริต ด้วยความเป็นธรรมอันเป็นวิสัยของประชาชน ย่อมกระทำได้โดยชอบตามสิทธิเสรีภาพของประชาชน สื่อมวลชนภายใต้รัฐธรรมนูญ มิใช่เป็นการใส่ความโจทก์ ขณะที่จำเลยที่ 1 นำข้อความในจดหมายของผู้ที่ใช้นามแฝงว่า “พลังเงียบ” เขียนถึงจำเลยที่ 1 มาลงพิมพ์ในคอลัมน์ “น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ พูด” ซึ่งเป็นคอลัมน์ประจำของจำเลยที่ 1 ในหนังสือพิมพ์รายวันแนวหน้านั้น อยู่ในช่วงที่โจทก์ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

..ตำแหน่งหัวหน้าพรรคไทยรักไทย และตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งทางการเมือง โดยเฉพาะตำแหน่งนายกรัฐมนตรีถือเป็นตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายบริหาร ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และถือว่าเป็นตำแหน่งที่ได้ผ่านกระบวนการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งประเทศ โดยสถานะของโจทก์จึงต้องมีความรับผิดชอบต่อประชาชน ในฐานะนายกรัฐมนตรีที่ต้องรับผิดชอบต่อประชาชนดังกล่าว จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โจทก์ต้องประพฤติปฏิบัติอยู่ในกรอบของจริยธรรม

ศาลฎีกา ตัดสินว่า การกระทำของจำเลยที่ 1 ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา ส่วนจำเลยที่ 4 ในส่วนที่โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษในฐานะบรรณาธิการหนังสือพิมพ์ซึ่งลงข้อความหมิ่นประมาทโจทก์โดยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326, 328 พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 มาตรา 48 ในขณะที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ได้มีพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 มาตรา 3 ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 ธันวาคม 2550 เป็นต้นไป พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ไม่ได้บัญญัติให้บรรณาธิการหนังสือพิมพ์เป็นผู้รับผิดชอบในข้อความที่ลงพิมพ์ในหนังสือที่ตนเป็นบรรณาธิการ จำเลยที่ 4 ย่อมพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิดในส่วนนี้

นี่เป็นการยืนยันหลักการตามพระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ.2550 ว่าไม่ได้บัญญัติให้ บรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการร่วมกับผู้ประพันธ์ บรรณาธิการจึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้ประพันธ์ หากอัยการ โจทก์ หรือผู้เสียหาย นำสืบไม่ได้ว่าบรรณาธิการมีส่วนร่วมในการประพันธ์บทประพันธ์หรือมีส่วนร่วมรู้ เห็นกับการโฆษณาบทประพันธ์ในหนังสือพิมพ์ที่ตนเป็นบรรณาธิการ อย่างไร ถือว่าบรรณาธิการไม่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำความผิดด้วย ดังที่ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 บัญญัติ ว่า

บุคคลจักต้องรับโทษทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และ โทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้น ต้องเป็นโทษที่ บัญญัติไว้ในกฎหมาย

ศาลไม่อาจนำหลักสันนิษฐาน ตามพระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.2484 ที่ได้ยกเลิกไปแล้วมาพิจารณาลงโทษบรรณาธิการได้

สำหรับการเสนอข่าวในรูปแบบของ วารสารศาสตร์ คอนเวอร์เจ้นท์ ยังไม่มีคำพิพากษาเป็นบรรทัดฐาน แต่มีการฟ้องคดีแล้วจำนวนมาก ประเด็นที่เป็นปัญหาอยู่ขณะนี้ คือ บรรณาธิการ หรือ นักข่าวยังต้องรับผิดชอบในทุกสื่อที่เป็นช่องทางในการนำเสนอข่าวหรือไม่ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการอ้างอิงไปยังเว็บไซต์อื่น ๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของผู้ส่งสาร เช่น กรณีการที่ผู้เสียหายไปพบข้อความหมิ่นประมาทใน google.com บรรณาธิการยังต้องรับผิดชอบอยู่ในระยะเวลายาวนาน เพียงใด นับจากวันที่นำเสนอข่าวในครั้งแรก

โอกาสในการส่งข่าวที่ฉับไว ผ่านสื่อที่หลากหลาย จึงอาจหมายถึงความเสี่ยงสูงที่ต้องรับผิดชอบในทางคดีด้วย

http://blog.nation.ac.th/?p=2555

“ยุทธศาสตร์เพื่ออนาคตวารสารศาสตร์” ครั้งที่ 1

โดย อาจารย์จตุพร รอดแย้ม
อาจารย์ประจำคณะนิเทศศาสตร์

ทิศทางสื่อ ทิศทางวารสารศาสตร์ : คุณสุทธิชัย หยุ่น

ปัจจุบันบทบาท ความเป็น GateKeeper /Watch Dog เปลี่ยนไป เพราะทุกคนสามารถหาข้อมูล รายงานข่าวได้จาก Social Media ทำให้ต่อไปห้องเรียนจะหายไป บทบาทของครูจะเปลี่ยนเป็น Co-Learners เรียนรู้ไปด้วยกัน ซึ่งครูควรรอบรู้มากกว่าเพื่อมาถกเถียงหาข้อสรุป จะเกิดคำถามที่ต้องตอบให้ได้ว่า สอนใคร /สอนอะไร / สอนทำไม และสังคมส่วนรวมคาดหวังอะไรจากเทคโนโลยี

  • เราสามารถเป็น Tableters = ผู้เสนอผ่าน Tablet สามารถสร้างช่องทางจาก Youtube สร้าง Channel ลง Clip วิเคราะห์ข่าว เล่าข่าว
  • การเสนอข่าวผ่าน iPhone ทำให้ไม่ต้องใช้รถ OB ทีมช่างเทคนิคมากมาย ซึ่งการรายงานข่าวภาคสนามก้าวไปหลายก้าวแล้ว แต่ในห้องเรียนยังไม่มีการพัฒนา
  • Public Interest เป็นนักข่าวที่คิดนอกกรอบ หาข้อมูลล้วงความลับมาเปิดเผยโดยใช้ Social Media
  • Gentrapreneur Journalist สอนให้เป็นนายตัวเอง ทำกิจการเอง จะได้มีเสรีภาพสู้กับกลุ่มนายทุน ซึ่ง Social Media ช่วยได้ เช่น การมี Channel ของตัวเอง Mass Media อาจเจ๊งหาก Youtube ลงทุนให้คนมี Content

สิ่งที่ควรสอนให้นักศึกษาด้านวารสารศาสตร์รุ่นใหม่

  1. ความมุ่งมั่น (Passion) เพื่อความยุติธรรมและความเป็นธรรมในสังคม
  2. คิดให้เป็น (Critical Thinking)อะไรคือเหตุผล, อารมณ์, โฆษณาชวนเชื่อ
  3. เขียนหนังสือให้เป็น (Clear Focused Writing) Social Media อาจทำให้เขียนหนังสือกันไม่ค่อยเป็น
  4. จริยธรรม (Ethics) ให้มีคุณภาพของความคิด
  5. ทักษะการใช้ New Media
  6. Short-Form, Long-Form Journalism เช่น ใน Social Media : Blog (=Long Form), Facebook (=Short-Form)
  7. Social Media for Investigative Reporting การใช้Social Media รายงานผลสืบเสาะหาข้อมูลในการเขียนวิเคราะห์ข่าว
  8. การสร้างหนังโดยใช้ Smartphone ตอนนี้มีคนเริ่มสร้างหนังสั้นโดยใช้ iPhone ซึ่งทุกคนสามารถทำได้เพียงคนเดียวโดยที่ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้กำกับ

วารสารศาสตร์ การเผชิญความจริงกับสิ่งที่เปลี่ยนไป: คุณประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์, คุณชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี, คุณบัณฑิต จันทศรีคำ, ดร.สุดารัตน์ ดิษยวรรธนะ จันทราวัฒนากุล

  • ตอนนี้คนทำสื่อเองได้ง่ายขึ้น เช่น ทีวีดาวเทียมที่ป้าเช็งและลีน่า จัง ผลิตรายการ(=ผลิต Content),เป็นเจ้าของช่องเอง แต่กรณีป้าเช็งสะท้อนให้เห็นความอ่อนแอของสังคมไทยในเรื่องการรับรู้ข้อมูล ข่าวสาร
  • นักข่าวภาคสนามกำลังพยายามปรับตัว แต่ยังไม่เท่าทันสื่อออนไลน์ Social Media เช่น ยังวิ่งตามนักการเมืองว่าจะพูดอะไร แต่ไม่ได้คิดสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญที่ควรถาม ซึ่งถ้ายังวิ่งตามข่าวอยู่เช่นนี้ หรือเอาข่าวจากที่อื่นมา ก็จะไม่มีความแปลกใหม่
  • เด็กรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันไม่ค่อยอ่านนสพ.หรือข่าวออนไลน์ แต่มักรับข่าวสารจาก Facebook / Twitter ที่ส่งต่อกัน
  • การที่นักข่าวจะใช้iPhone หรือ social media ในการรายงานข่าวหรือไม่ขึ้นอยู่กับนโยบายองค์กร เช่น ที่Nation ที่ให้นักข่าวใช้ Social Media ในการรายงานข่าว แต่มีนักข่าวบางคนไม่ชอบใช้
  • การใช้เทคโนโลยีในการนำเสนอข่าว จะมีต้นทุนในการสอนสูง และควรต้องหา Partner Ship และต้องคำนึงถึงจริยธรรมด้วย
  • ตอนนี้มีการสื่อสารแบบโฆษณาชวนเชื่อเยอะมาก ทั้งในสื่อเก่าและสื่อใหม่ โดยเฉพาะเชิงธุรกิจ เพราะฉะนั้นคนทำงานสื่อต้องปรับตัวครั้งใหญ่ในเชิงองค์ความรู้ เช่นหัดใช้ Twitter ทั้งเป็นผู้ดูและผู้สื่อสาร

สรุปประเด็นจากการสัมมนากลุ่มย่อย

กลุ่มที่ 1: นโยบายสื่อ นโยบายวิชาชีพ แนวคิดวารสารศาสตร์และการศึกษา

  • การใช้กลไกเดิมเป็นองค์กรกลาง
  • ประสาน ส่งเสริม สร้างกลไก อบรมพัฒนาโดยรับประกันด้วยใบรับรอง
  • เปิดกว้างสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพสื่อและผู้สนใจ
  • ผลิต ส่งเสริมตำราวิชาการ การสอนที่เน้นองค์ความรู้ใหม่
  • หลักสูตรยึดถือหลักจริยธรรม
  • การลงโทษจะไม่ถอน ไม่ยึดใบอนุญาตแต่เน้นการประณามทางสังคม
  • Gatekeeper เปลี่ยนไปเมื่อสื่อกับผู้รับสาร ต่างคนก็ต่างสร้างสารซึ่งกันและกัน

กลุ่มที่ 2: องค์กรข่าว นโยบายองค์กรและกระบวนการทำงานข่าว

กลุ่มที่ 3: ผู้สื่อข่าว เทคนิค และเทคโนโลยีในงานข่าว

1. นักข่าวรุ่นใหม่ – ใช้เครื่องมือเป็น แต่Content ไม่ได้ เขียนบรรยายเชิงลึกไม่ค่อยเป็น
2. นักข่าวรุ่นเก่า ระดับหัวหน้างาน – ใช้เครื่องมือไม่ค่อยเป็น แต่ Contentได้ สามารถเขียนข่าวยาวๆ เชิงบรรยาย ได้ดีกว่าเขียนข่าวสั้นๆ

ความคิดเห็นเพิ่มเติม

  • Style การเขียนข่าวบนFacebook ของนักข่าวเนชั่นจะให้เกิดประเด็นความคิดเห็นเพื่อเอา มานำเสนอข่าว โดยต้องเขียนให้น่าสนใจเพื่อให้คนมาตอบ Multimedia ต่างๆไม่ต้องใช้การเขียนแต่ ขึ้นอยู่กับ การนำ เสนอเพราะถ้า massage ไม่โดนใจ เขียนลักษณะข่าวมากเกินไป จะไม่เกิดการบอกต่อ
  • Infographic จำเป็นมากต่องานวารสารศาสตร์ ควรผลิตให้เข้ากับคนไทย โดยใช้การวิจัยเป็นเครื่องมือ
  • กองบรรณาธิการข่าว ควรเปลี่ยนเป็น News Room
  • ธุรกิจต้องเดินหน้า การผลิตคนต้องให้ทันกัน นักข่าวควรเป็น Convergent Journalist สามารถทำได้ทุกอย่าง เช่น รายงานข่าว, ตัดต่อ,ถ่ายภาพทั้งภาพนิ่งและโทรทัศน์ ส่วน News Room ต้องเปลี่ยนด้วยเพื่อสนับสนุนการทำงานของ Convergent Journalist
  • ในการสอนเทคนิคไม่สำคัญเท่าการสอนให้คิดเป็น (Critical Thinking) ให้สามารถเล่าข่าวได้ทุกสื่อ อาจารย์ควรเน้นด้านเทคนิค และรู้เท่าทันเด็ก

กลุ่มที่ 4 : ผู้บริโภคข่าว เนื้อหา ความอยู่รอดทางธุรกิจ ช่องทางการเข้าถึงผู้บริโภค

วิจัยผู้รับสารทั่วประเทศ เกี่ยวกับ

  1. พฤติกรรม >> ตำราของผู้รับสารในปัจจุบัน
  2. รูปแบบเนื้อหาในปัจจุบัน >> ตำรา
  3. ผู้รับสารกับการมีส่วนร่วม
  4. หามาตรวัดผู้รับสารที่มีคุณภาพ (Media Monitor) >> วิจัย = วิจัย >>  ตำรา >>  Workshop

………………………………………………………………………………………………………
อ้างอิงข้อมูล: งานสัมมนาวารสารศาสตร์ ครั้งที่ 1, วันที่ 30 มีนาคม, สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์

http://blog.nation.ac.th/?p=2127