certification

ทำไม คนชอบถามว่า การอบรม มีประกาศหรือเกียรติบัตร หรือไม่

ในบางสังคม ที่ไม่สนใจในบางเรื่อง เช่น หนังสือรับรอง (certificate) เพราะมีคำถามถึง ที่มาที่ไป ความเป็นมา ความน่าเชื่อถือของหนังสือรับรอง ระบบ ความสุจริต งานเอกสาร ประโยชน์ และการนำไปใช้ จึงมีประเด็นคำถามเรื่องความรู้จากการอบรม กับ หนังสือรับรองความรู้

มักมีคำถามต่อผู้จัดการอบรมในบางลักษณะว่า “การอบรมมีประกาศนียบัตรหรือเกียรติบัตรหรือไม่” ด้วยเหตุผลหลัก ๆ ดังนี้
1. ใช้เป็นหลักฐานรับรอง (Evidence)
หลายคนต้องการเอกสารยืนยันว่าพวกเขาได้เข้าร่วมการอบรมจริงกับผู้ทรงคุณวุฒิ หรือองค์กรที่น่าเชื่อถือ เพื่อนำไปใช้สมัครงาน เลื่อนตำแหน่ง หรือเป็นเงื่อนไขของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ผลสอบภาษาอังกฤษ
2. เพิ่มความน่าเชื่อถือ (Credibility)
การมีเกียรติบัตรช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้เข้าอบรม โดยเฉพาะหากออกโดยองค์กรที่มีชื่อเสียง เช่น กระทรวง ทบวง กรม
3. ข้อกำหนดขององค์กร/หน่วยงาน (Rule)
บางหน่วยงานกำหนดให้พนักงานต้องเข้ารับการอบรมพร้อมใบรับรองเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานหรือข้อกำหนดต่าง ๆ เช่น ใบรับรองคุณวุฒิ
4. ใช้สะสมชั่วโมงการอบรม (Working hours)
ในบางอาชีพ เช่น ครู วิศวกร หรือแพทย์ อาจต้องสะสมชั่วโมงการอบรมเพื่อใช้ต่ออายุใบอนุญาต
5. แรงจูงใจในการเข้าร่วม (Motivation)
บางคนมองว่า การได้รับเกียรติบัตร (certificate) เป็นรางวัล (reward) ที่จับต้องได้หลังจากลงทุนเวลาและความพยายามในการอบรม

คำถาม มีเหตุผลใด ที่จัดการอบรมทางวิชาการแล้ว ไม่มีใบรับรองให้ผู้เข้ารับการอบรม
1. การอบรมแบบไม่เป็นทางการ (Informal)
บางหลักสูตรจัดขึ้นเพื่อให้ความรู้ทั่วไปโดยไม่มีข้อกำหนดทางวิชาการที่ต้องรับรอง
2. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ (Budget)
การออกใบรับรองต้องใช้ทรัพยากร เช่น การพิมพ์ การลงนาม และระบบการออกเอกสาร ซึ่งอาจทำให้ต้นทุนสูงขึ้น
3. ไม่มีเกณฑ์การประเมินผล (Criteria)
หากไม่มีการวัดผล เช่น การสอบหรือการทดสอบความเข้าใจ อาจทำให้ไม่สามารถออกใบรับรองที่มีความน่าเชื่อถือได้
4. เน้นการเรียนรู้มากกว่าการรับเอกสาร (Document)
บางหน่วยงานให้ความสำคัญกับความรู้ที่ได้รับมากกว่าใบรับรอง จึงไม่ได้ออกเอกสารให้
5. ไม่ต้องการให้ใบรับรองถูกใช้ในทางที่ผิด (Risk)
บางกรณีกลัวว่าผู้เข้าร่วมอาจนำใบรับรองไปแสดงเป็นคุณสมบัติทางวิชาชีพ ทั้งที่หลักสูตรอาจไม่ครอบคลุมในระดับนั้น
6. เงื่อนไขของผู้จัดการอบรม (Policy)
บางองค์กรอาจมีนโยบายว่า จะออกใบรับรองให้เฉพาะหลักสูตรที่มีความยาวหรือความเข้มข้นเพียงพอเท่านั้น
7. ต้องการให้ผู้เข้าร่วมจดจ่อกับเนื้อหา (Learning)
หากการอบรมมีเป้าหมายเพื่อเสริมความรู้ระยะสั้น ผู้จัดอาจไม่ต้องการให้ผู้เข้าร่วมโฟกัสไปที่ใบรับรองมากกว่าการเรียนรู้จริง

ตัวอย่างเกียรติบัตร

https://www.kruachieve.com/%e0%b8%81%e0%b8%b4%e0%b8%88%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a3%e0%b8%a1/%e0%b8%ad%e0%b8%9a%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%ad%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b9%84%e0%b8%a5%e0%b8%99%e0%b9%8c-%e0%b8%a3%e0%b8%b0%e0%b8%9a%e0%b8%9a%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%aa%e0%b8%99%e0%b9%80%e0%b8%97/

หลักสูตรสร้างสรรค์ กับ ห้องเรียนออนไลน์

อ่านโพสต์ของ
TeacherMickey Suphanta ในเพจ eduzones
เมื่อ 4 ม.ค.67
เรื่อง “เรียนแบบ Anytime Anywhere จริง ๆ”
เลือกหลักสูตร แล้วก็สมัครเรียน
ดูวิดีโอ ทำงานส่ง
ทำโปรเจค และสอบให้ผ่าน
แล้วได้ใบรับรองมาเป็นหลักฐาน
จัดเก็บเข้าแฟ้ม สั่งสมความรู้อย่างเป็นระบบ
เพื่อไปสมัครงานได้
สร้างโอกาสให้กับตัวเอง
มีแฟ้มเยอะ มีใบรับรองเยอะ ก็มีโอกาสเยอะ
เช่น เรียนกับ coursera แบบออนไลน์

#การเรียนรู้ไร้พรมแดน
#ห้องเรียนแห่งอนาคต
#ห้องเรียนออนไลน์

มีหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับสร้างสรรค์
เช่น
Creative Problem Solving
University of Minnesota (13 hours)

Creative Thinking and Innovation
The University of Sydney (13 hours)

Creativity, Innovation and Transformation 
The Pennsylvania State University (18 hours)

Creative Thinking: Techniques and Tools for Success (19 hours) Imperial College London

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

IT Examination : Computer for working

it certification
it certification น.ส.ศัลณ์ษิกา ไชยกุล ในพิธีไหว้ครู

ปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2 จากคะแนนเต็ม 50
มีนักศึกษาสอบ IT Examination ได้คะแนน 48 และ 49 หลายคน ดังนี้
– ดวงพร เบ้าสมศรี 49 คะแนน
– นรากร อินทรวิจิตร 49 คะแนน
– ทรงพล พรรัตนพิทักษ์ 49 คะแนน
– จิรนันท์ แก้วใส 48 คะแนน
– นิตยา จอมคำ 48 คะแนน
– พิมพกานต์ ปะละวงค์ 48 คะแนน
– ชนิกานต์ สิงหะ 48 คะแนน
สำหรับผู้ผ่านตามเกณฑ์ คือไม่น้อยกว่า 40 คะแนนในการสอบครั้งแรก
จะได้รับเกียรติบัตรจากมหาวิทยาลัย และได้รับผลการเรียน S ในวิชา COMP 300
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10150990934333895.443727.814248894

tutor it 59 1
tutor it 59

ทุกภาคการศึกษา มหาวิทยาลัยเนชั่นจะมีกลไกจัดติว และจัดสอบ
IT Examination : Computer for Working
โดยจะจัดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ทุกคณะวิชา และผู้ที่ยังไม่ผ่านการสอบ
การติวนั้นก็เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมในการเข้าสอบ
เงื่อนไขการผ่านเกณฑ์คือ
คะแนนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ตามประกาศ
ถ้าสอบผ่านเกณฑ์ก็จะไม่ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
แต่ได้รับผลการเรียนเป็น S พร้อมรับเกียรติบัตรในฐานะที่สอบผ่านเกณฑ์ในครั้งแรก
ถ้าสอบไม่ผ่านเกณฑ์ ก็ต้องลงทะเบียนวิชา COMP 300
และเข้าเรียนรู้ด้วยตนเองในระบบ แล้วเข้าติวก่อนสอบรอบต่อไป
หากยังสอบอีกครั้งแล้วไม่ผ่านก็จะได้รับผลการเรียนเป็น U
และต้องลงทะเบียนในภาคเรียนต่อไปอีก

tutor
tutor

โดยปีการศึกษา 2558 ภาคเรียนที่ 2
จัดติวในวันที่ 27 เมษายน 2559 ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 1 มีนักศึกษาสนใจเข้าติวจำนวนมาก
https://www.facebook.com/ajburin/media_set?set=a.10152198257413895.1073741841.814248894

หลักเกณฑ์การสอบ IT Examination :Computer for working
ประกาศ 20 พฤศจิกายน 2556
http://it.nation.ac.th/std/news/file_load/STD0029.docx
http://it.nation.ac.th/std/?pages=3

ประกาศ
ประกาศ

IT Examination

ป.ตรี อาชีวศึกษาต้องให้ สกอ.รับทราบ

ป.ตรี อาชีวศึกษาต้องให้ สกอ.รับทราบ ป้องกันบัณฑิตรับราชการไม่ได้
เพราะก.ค.ศ.-ก.พ. ไม่รับรองและตีค่าเงินเดือน

ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

โดย ทีมข่าวการศึกษา ไทยรัฐออนไลน์
20 มิถุนายน 2556, 05:00 น.

นายอภิชาติ จีระวุฒิ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) ได้อนุมัติหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยี/สายปฏิบัติการ ของสถาบันการอาชีวศึกษา ทำให้มีข้อสงสัยว่าจะต้องส่งหลักสูตรให้ สกอ.รับทราบก่อนหรือไม่นั้น โดยหลักการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) และคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) จะตีค่าเงินเดือนของใบปริญญาบัตร ก็ต่อเมื่อหลักสูตรนั้นได้รับการรับทราบจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สกอ.) หาก สกอ.ไม่รับทราบ ก.ค.ศ.และ ก.พ. ก็จะไม่รับรองและตีค่าเงินเดือนให้ ซึ่งบัณฑิตที่จบหลักสูตรนั้นๆ ก็จะเข้ารับราชการไม่ได้ และยิ่งถ้าเป็นวิชาชีพเฉพาะหลักสูตรนั้นก็จะต้องผ่านสภาวิชาชีพด้วย เช่น หลักสูตรแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยใดก็ตามเมื่อสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรแล้วจะต้องส่งให้แพทยสภาก่อน เมื่อผ่านแพทยสภาแล้วจึงจะส่งมาให้ สกอ.รับทราบ จากนั้นจึงจะส่งให้ ก.พ.และ ก.ค.ศ.ตีค่าเงินเดือน เป็นต้น

เลขาธิการ กกอ.กล่าวต่อว่า หากไม่มีขั้นตอนให้ สกอ.รับทราบ บัณฑิตก็จะรับราชการไม่ได้ แต่หากคิดว่าผู้ที่จบหลักสูตรใดก็ตามจะไม่เข้ารับราชการแน่นอนก็ไม่จำเป็นต้องให้ สกอ.รับทราบก็ได้ อย่างไร ก็ตาม ที่ผ่านมามีปัญหาว่า บางมหาวิทยาลัยส่งหลักสูตรให้ สกอ.รับทราบ ขณะที่หลักสูตรเดียวกันบางมหาวิทยาลัยก็ไม่ส่ง จึงเกิดกรณีสมัครสอบบรรจุเข้ารับราชการครูไม่ได้ เนื่องจาก ก.ค.ศ.ไม่รับรอง ทั้งที่เรื่องนี้ไม่ใช่ความผิดของผู้เรียนเลย แต่เป็นความบกพร่องของสถาบันหรือมหาวิทยาลัย ดังนั้น เพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ก็น่าจะส่งมาให้ สกอ.รับทราบ.

http://www.thairath.co.th/content/edu/352317