classroom

ตอนที่ 6 ห้องเรียนที่อยู่นอกห้องเรียน นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

ตอนที่ 6 ห้องเรียนที่อยู่นอกห้องเรียน
.
นอกจากการเรียนรู้ในห้องเรียน
เรียนรู้จากในตำรา
เรียนจากอีเลินนิ่ง และ แบบฝึกหัดแล้ว
.
นักเรียน มักชอบฟังเรื่องเล่า
จากวิทยากร ที่ทำงานในสายอาชีพต่าง ๆ
ที่โรงเรียนจัดกิจกรรมเชิญรุ่นพี่ศิษย์เก่า
ให้กลับไปสร้างแรงบันดาลใจให้รุ่นน้อง
.
ครูแจง ครูจอย หรือ ผอ.ฟ้า
มักจัดเวลาในห้องเรียนไว้ช่วงหนึ่ง
เพื่อแบ่งปันประสบการณ์นอกห้องเรียน
ให้นักเรียนได้ฟังอยู่เสมอ
เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียน
ที่จะออกไปประกอบอาชีพในอนาคต
.
ผอ.ฟ้า ส่งเสริมครูให้ทำอาชีพเสริม
และบูรณาการกับการสอนได้
โดยเน้นไปที่อีคอมเมอร์ซ
มีเว็บไซต์ หรือหน้าร้านออนไลน์
ทำคลิปวิดีโอ เขียนบล็อก
เพราะอาชีพออนไลน์
เป็นสายธุรกิจที่เติมโตเร็ว ลงทุนน้อย
และมีแพลตฟอร์มที่สนับสนุนจำนวนมาก
เช่น การสั่งสินค้าจากจีนมาขาย
จาก taobao.ttpcargo.com เป็นต้น
.
ที่โรงเรียนได้เปิดห้องให้คำปรึกษา
และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
ที่นับได้ว่าเป็นห้องเรียนสู่อนาคต
ที่ถูกนักเรียนประเมินว่าน่าสนใจ
.
แต่การเรียนต่อตามระบบการศึกษา
ยังถูกเลือกโดยนักเรียนกลุ่มใหญ่
มีหลายหลักสูตรที่ถูกกำกับดูแล
โดยองค์กรวิชาชีพที่กำกับมาตรฐาน
เช่น สายตำรวจ สายทหาร
หรือ สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ที่มีนักเรียนสนใจเข้าไปฝึกประสบการณ์
เก็บชั่วโมงการฝึกงาน
.
ปัจจุบันนอกห้องเรียน
มีเรื่องราวให้เรียนรู้มากมาย
และเข้าถึงได้ง่ายกว่าในอดีต

https://vt.tiktok.com/ZSF3qv9TM/

ตัดต่อด้วย capcut

หลักสูตรสร้างสรรค์ กับ ห้องเรียนออนไลน์

อ่านโพสต์ของ
TeacherMickey Suphanta ในเพจ eduzones
เมื่อ 4 ม.ค.67
เรื่อง “เรียนแบบ Anytime Anywhere จริง ๆ”
เลือกหลักสูตร แล้วก็สมัครเรียน
ดูวิดีโอ ทำงานส่ง
ทำโปรเจค และสอบให้ผ่าน
แล้วได้ใบรับรองมาเป็นหลักฐาน
จัดเก็บเข้าแฟ้ม สั่งสมความรู้อย่างเป็นระบบ
เพื่อไปสมัครงานได้
สร้างโอกาสให้กับตัวเอง
มีแฟ้มเยอะ มีใบรับรองเยอะ ก็มีโอกาสเยอะ
เช่น เรียนกับ coursera แบบออนไลน์

#การเรียนรู้ไร้พรมแดน
#ห้องเรียนแห่งอนาคต
#ห้องเรียนออนไลน์

มีหลักสูตรมากมายเกี่ยวกับสร้างสรรค์
เช่น
Creative Problem Solving
University of Minnesota (13 hours)

Creative Thinking and Innovation
The University of Sydney (13 hours)

Creativity, Innovation and Transformation 
The Pennsylvania State University (18 hours)

Creative Thinking: Techniques and Tools for Success (19 hours) Imperial College London

ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต

ห้องเรียนจักรวาลนฤมิต

ห้องเรียนจักวาลนฤมิต หรือ ห้องเรียนเมตาเวิร์ส (Classroom Metaverse) คือ ห้องเรียนที่นักเรียนทุกคนจะสวมอุปกรณ์เชื่อมต่อเข้าสู่ระบบจักวาลนฤมิต โดยมีสถานที่หนึ่งในจักวาลนฤมิตที่ผู้เรียนจะเข้ามาอยู่ร่วมกัน มองเห็นกันและกัน มีบรรยากาศห้องเรียนที่เปรียบเสมือนอยู่ในห้องเรียนปกติ เมื่อเริ่มต้นชั้นเรียน คุณครูก็จะขานชื่อ นายเอ นายบี เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้เรียนเสมือนสอนแบบ on site ทุกคนได้แสดงตัวตนว่าเข้าชั้นเรียนห้องเรียนจักวาลนฤมิตแล้ว มีการบรรยาย ดึงสื่อการเรียนการสอนจากไดร์ฟหรือคลาวด์ จัดการเรียนการสอนได้หลายหลาย อาทิ สอนแบบสร้างสรรค์ สอนแบบปัญหาเป็นฐาน สอนแบบแอคทีฟเลินนิ่ง หรือ สอนแบบผสมผสานตามความต้องการของผู้เรียน คุณครูสามารถส่งมอบสื่อหลายหลายรูปแบบ คัดลอก แบ่งปันสื่อ สามารถนำเสนอทั้งแบบสองมิติ สามมิติ หรือสร้างสื่อในจักรวาลนฤมิตขึ้นมาใหม่ได้ ทุกสิ่งที่ทำได้ในสื่อเดิม หรือที่เคยสอนแบบ online สามารถใช้ได้ในห้องเรียนจักรวาลนฤมิต และสิ่งที่สร้างในจักรวาลนฤมิตยังมีคงคุณสมบัติ AR, VR และ MR ที่ใช้ได้เต็มประสิทธิภาพในโลกคู่ขนานเสมือนจริง ที่สื่อสารกันได้ เรียนหนังสือได้ ค้าขายได้ ดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกมส์ มีเงินดิจิทัล มีทรัพย์สินดิจิทัล และสร้างสิ่งประดิษฐ์เสมือนจริงเป็นผลงานส่งคุณครูได้

โรงเรียนลดชั่วโมงเรียนวิชาการ เน้นเสริมการงานอาชีพ เริ่มปีหน้า

เสกโลโซบอกว่า “ได้อย่าง เสียอย่าง”
– โรงเรียนกวดวิชาบอกว่า “ดี ๆ ชอบ ๆ เข้าทางแล้ว”
– ส่วนเด็กต่างอำเภอบอกว่า “เรียนมากปวดหัว ..”
– เด็กในเมืองบอกว่า “สอนน้อยหน่อยก็ดี ที่สอนมาเรียนล่วงหน้าไปหมดแล้ว”
– คุณครูบอกว่า “ดีมาก .. จะได้มีเวลาทำผลงาน”

มีข้อมูลเบื้องต้นว่า .. จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในลำปาง
ประเมินด้วยสายตามีเกือบ 30 แล้ว
ถ้าปรับหลักสูตรลดวิชาการในโรงเรียน คาดจะมีผุดใหม่ทะลุ 50 เป็นแน่
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/528/

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายลดชั่วโมงเรียนวิชาการเกือบครึ่ง
เน้นเสริมการงานอาชีพ โดยเริ่มในปีการศึกษาหน้า

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดงานสมัชชาการศึกษา 2556 การศึกษาไทยแบบไหนที่เด็กต้องการ โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานครจัดขึ้น ว่า หลักสูตรการศึกษาไทยในปัจจุบันใช้มากว่า 12 ปี (2544) ถือว่าล้าสมัย จึงเตรียมปรับหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นโดยเน้นกระบวนการทางวิชาการ ทั้งของไทยและต่างประเทศ นำมาผนวกกันให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด โดยจะเน้นการเรียนนอกห้องเรียน ลดการเรียนวิชการในห้องเรียนให้น้อยลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาการของสมองเด็กในช่วงต่าง ๆ เช่น นักเรียน ป.1 – 2 จะมีการออกแบบหลักสูตรการเรียนเฉพาะ เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องมีทักษะในการเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดรับการศึกษาที่สูงขึ้นที่เน้นการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ สอดแทรกเนื้อหา ดนตรี ศิลปะ กีฬามากขึ้น และที่สำคัญจะเน้นให้รู้เรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย จากเดิมใช้เวลาในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี ให้เหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ระดับมัธยมศึกษา จะปรับให้เสริมเรื่องการงาน การอาชีพ เข้าไปด้วย เพราะมีเด็กจำนวนมากไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งต้นและปลาย จึงต้องเสริมหลักสูตรเหล่านี้เข้าไปให้มีความรู้ใหม่ ๆ สามารถคิดได้เองโดยอิงหลักวิชาการ ซึ่งจะปรับลดให้ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือประมาณร้อยละ 60 ต่อ ร้อยละ 40
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า คาดว่าสิ้นเดือนนี้หลักสูตรดังกล่าวจะมีความชัดเจน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทันปีการศึกษาหน้า ขณะที่สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สถศ.) จะเข้ามาดูแลเรื่องการวัดผลต่อไป ซึ่งจะมีผลกับโรงเรียนทั่วประเทศ

http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5606150020002

“ห้องเรียนกลับด้าน” สพฐ.ให้ “เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่ ร.ร.”

3 พฤษภาคม 2556 เรียบเรียงโดย สุพินดา ณ มหาไชย

 

homework at school
homework at school

“ห้องเรียนกลับด้าน” หรือ “Flipped Classroom” เป็นแนวทางจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ที่ Jonathan และ Aaron ครูวิชาเคมีของโรงเรียน Woodland Park High School สหรัฐอเมริกา ค้นคิดขึ้น นักเรียนบางส่วนของพวกเขาจำเป็นต้องขาดเรียนบ่อยครั้งเพราะถูกกิจกรรมต่างๆ ดึงตัวออกไป ทั้ง 2 คนจึงระดมสมองคิดหาทางแก้ไข จนนำไปสู่ Flipped Classroom ในปี 2007 จนถึงปัจจุบัน กระแส Flipped Classroom แพร่ขยายเป็นวงกว้างในอเมริกา และในปีการศึกษา 2556 นี้ ชั้นเรียนในโรงเรียนประถมศึกษาและมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จะปรับตัวให้เป็นห้องเรียนกลับด้าน เช่นกัน

“เรียนที่บ้าน-ทำการบ้านที่โรงเรียน”
นิยามสั้น ๆ ของ Flipped Classroom นั้น “รุ่งนภา นุตราวงศ์” ผู้เชี่ยวชาญของ สพฐ. ซึ่งจับเรื่องนี้มาตั้งแต่แรก อธิบายให้เข้าใจง่ายๆ ว่า นำสิ่งที่เดิมเคยทำในชั้นเรียนไปทำที่บ้าน และนำสิ่งที่เคยถูกมอบหมายให้ทำที่บ้านมาทำในชั้นเรียนแทน ชั้นเรียนที่เราคุ้นเคยกันมานั้น ครูจะเป็นผู้บรรยายเนื้อหาต่างๆ ในชั้นเรียนแล้วมอบงานให้นักเรียนกลับไปทำเป็นการบ้าน แต่ Jonathan และ Aaron สังเกตว่า เวลาที่นักเรียนต้องการพบครูจริงๆ คือ เวลาที่เขาติดขัดและต้องการความช่วยเหลือ เขาไม่ได้ต้องการครูอยู่ในชั้นเรียนเพื่อบอกเนื้อหา เพราะเขาสามารถค้นหาเนื้อหานั้นด้วยตนเองได้

เพราะฉะนั้น ถ้าครูบันทึกวิดีโอการสอนให้เด็กไปดูเป็นการบ้าน แล้วครูใช้ชั้นเรียนสำหรับชี้แนะนักเรียนให้เข้าใจแก่นความรู้ หรือชี้แนะในการที่เด็กได้รับมอบหมายจะดีกว่า ขณะเดียวกัน เทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบันก้าวหน้าไปมาก เว็บไซต์ต่างๆ อย่างยูทูบอัดแน่นไปด้วยความรู้ต่างๆ เด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หมดยุคที่ต้องคอยมารอรับความรู้ในชั้นเรียนเพียงช่องทางเดียวแล้ว

เพราะฉะนั้นในห้องเรียนกลับด้าน ครูจะแจกสื่อให้เด็กไปเรียนรู้ล่วงหน้าที่บ้าน หรืออาจให้เด็กไปดูสื่ออย่างยูทูบ เมื่อมาเข้าชั้นเรียนในวันรุ่งขึ้น นักเรียนจะซักถามข้อสงสัยต่างๆ จากนั้นก็ลงมือทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มโดยมีครูคอยให้คำแนะนำตอบข้อสงสัย

เพื่อตรวจสอบว่า เด็กได้ดูสื่อที่ครูให้ไปเรียนรู้ล่วงหน้าหรือไม่นั้น จะมีเด็กบันทึกโน้ตมาส่งครู อาจบันทึกมาในสมุด เข้าไปเขียนไว้ใน Blog ของครู หรือเขียนส่งมาทางอีเมล และจะให้เด็กตั้งคำถามมาด้วยอย่างน้อย 1 ข้อ อย่างไรก็ตาม จะต้องมีการฝึกทักษะในการจดบันทึกให้แก่นักเรียนก่อนช่วงต้นปีการศึกษาเพื่อเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่ห้องเรียนกลับด้านให้เด็ก

ดร.ชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวเสริมว่า การให้เด็กเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้าที่บ้านแล้วมาพูดคุยในชั้นเรียนนั้น จะทำให้เด็กเรียนรู้ได้ดีขึ้น เร็วขึ้น เหลือเวลาสำหรับเติมสิ่งอื่นๆ ให้เด็กโดยเฉพาะทักษะคิดวิเคราะห์ รูปแบบเดิมนั้น เวลาในชั้นเรียนจะหมดไปกับการ warm-up (เตรียมพร้อม) จำนวน 5 นาที ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับการบ้านของนักเรียน 20 นาที บรรยายเนื้อหาใหม่ 30-45 นาที เหลือแค่ 20-35 นาทีให้นักเรียนทำงานและกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ แต่ห้องเรียนกลับด้าน ใช้เวลา warm-up จำนวน 5 นาที ถามตอบเกี่ยวกับวิดีโอที่ดู 10 นาที ที่เหลืออีก 75 นาที เต็มๆ นักเรียนจะได้ทำงาน กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ มี่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้ลุ่มลึกกว้างขวางขึ้น

ที่ผ่านมา เด็กไทยอยู่ในกลุ่มเรียนเยอะ เปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงเรียนกับนานาชาติแล้ว ไทยอยู่ในกลุ่มบน ต่อปีเด็กไทยเรียนถึง 1,200 คาบ แต่ผลประเมินระดับนานาชาติ เช่น Pisa กลับอยู่ในกลุ่มล่าง เข้าทำนอง เรียนมากแต่รู้น้อย
ดร.ชินภัทร บอกว่า 70% ของชั้นเรียนเป็นการบรรยายของครู แต่ถ้ากลับด้านห้องเรียนแล้ว แทนที่เด็กจะมาตัวเปล่า นั่งรอรับความรู้จากครู เด็กก็จะมาเรียนด้วยความเข้าใจเพราะเรียนรู้เนื้อหาล่วงหน้ามาแล้ว ในชั้นเรียนจะเป็นการซักถามเพิ่มเติม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เราจะได้เวลาเพิ่มขึ้นอีก 30-40 นาที สำหรับพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ให้เด็ก

“ห้องเรียนกลับด้าน” ยังเป็นการเข้าใกล้การจัดการเรียนการสอนแบบ Child Center มากขึ้น แทนที่การสอนแบบ Teacher Center ซึ่งกำลังจะตกยุคเข้าไปทุกที ที่สำคัญช่วยแก้ปัญหาเรื่องการบ้านได้ด้วย

ดร.ชินภัทร บอกว่า เด็กไม่ต้องไปทุกข์ทนกับการทำการบ้านที่บ้านอีกต่อไป การบ้านบางประเภทโดยเฉพาะ Problem solving นั้น เด็กไม่สามารถทำคนเดียวโดยปราศจากการแนะนำของครูได้ การฝึกให้การบ้านกับเด็กไป รั้งแต่สร้างความเครียดกับเด็ก สุดท้ายเด็กอาจเกลียดกลัวการมาโรงเรียน แต่ถ้ากลับด้านให้เด็กเรียนเนื้อหาล่วงหน้ามาเป็นการบ้านแล้วมาทำงานร่วมกันในชั้นเรียน จะช่วยให้เด็กเรียนด้วยความเข้าใจและมีความสุขขึ้น

สพฐ.จะเดินหน้าปรับโฉมชั้นเรียนเป็น Flipped Classroom ทันทีในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 ดร.ชินภัทร ย้ำว่า และนี่จะเป็นสิ่ง สพฐ.ทำเพื่อเพิ่มคุณภาพการจัดการเรียนการสอนได้โดยไม่ต้องรอการปฏิรูปหลักสูตรซึ่งอาจใช้เวลานาน และสำหรับ ดร.ชินภัทร แล้ว ห้องเรียนกลับด้าน เป็นการคิด “นอกกรอบ” ที่สพฐ.หามานาน สำหรับตอบโจทย์ปฏิรูปการศึกษา

–คมชัดลึก ฉบับวันที่ 3 พ.ค. 2556 (กรอบบ่าย)–

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=32600&Key=hotnews