news

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

Daily News Flash – iSnap คือ คำตอบ

Daily News Flash – iSnap คือ คำตอบ

โดย : จักร์กฤษ เพิ่มพูล
http://bit.ly/1hyQZ6R

ความพยายามที่จะค้นหา นวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเป็นทางออกให้กับหนังสือพิมพ์ อย่างน้อยเมื่อกลุ่มโพสต์ เปิดพื้นที่ของหนังสือพิมพ์ออนไลน์เป็นเจ้าแรก

เมื่อเกือบสองทศวรรษก่อน ดำเนินมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยอัตราเร่งที่เร็ว และแรงกว่า เมื่อกิจการหนังสือพิมพ์เผชิญกับยุคที่สื่อกระจายเสียงและภาพเข้ามาสู่สังคมไทย และเคลื่อนผ่านไป โดยที่สื่อหนังสือพิมพ์ก็ยังอยู่ได้ ปรากฏการณ์ในห้วงเวลานั้น ทำให้เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หลายแห่งนอนใจ และเชื่อว่าถึงอย่างไรหนังสือพิมพ์ก็ยังไม่ตาย

แต่ความมั่นใจนั้น อยู่ได้ไม่นาน ยอดขายหนังสือพิมพ์ที่ปักหัวลง เป็นอัตราผกผันกับการเติบโตขยายตัวของสื่อออนไลน์ ส่งสัญญาณเตือนให้เจ้าของกิจการพิมพ์ มองหาเครื่องมือที่จะช่วยฟื้นความมั่นใจกลับมาอีกครั้ง ข้อเสนอของนักวิชาการ ที่ให้หนังสือพิมพ์นำเสนอข่าวในรูปแบบของข่าวเชิงสืบสวน สอบสวน หรือ Investigative Reporting เพื่อสร้างความต่าง และแข่งขันกับสื่อออนไลน์ในเชิงลึก ก็ดูเหมือนจะไม่ประสบความสำเร็จมากนัก

ตรงกันข้าม เมื่อนักข่าวพลเมือง ในสื่อสังคมออนไลน์ โพสต์ภาพและเรื่องราวต่างๆ อย่างคึกคัก ทั้งกรณี เสก โลโซ เณรคำ หรือเรื่องของดาราสาว ฮอร์โมน วัยว้าวุ่น หนังสือพิมพ์ก็หยิบฉวยข่าวเหล่านั้น ไปขยายความต่อ หนังสือพิมพ์กระแสหลักกลายเป็นสื่อชั้นสอง ที่ทำมาหากินกับความฉวบฉวย โดยไม่สนใจความถูกผิดอีก

ภาวะกลับตัวไม่ได้ ไปไม่ถึงนี้ อาจยกเว้นกรณี หนังสือพิมพ์แนวการเมืองเข้ม เช่น หนังสือพิมพ์แนวหน้า ไทยโพสต์ ที่มียอดขายเพิ่มขึ้น ในขณะที่อดีตหนังสือพิมพ์คุณภาพการเมืองเข้ม บางฉบับถดถอยลง

แน่นอนว่า สื่อออนไลน์ยังตอบโจทย์ทางธุรกิจไม่ได้ชัดเจน แต่พฤติกรรมผู้บริโภค โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมาในยุค I หนังสือพิมพ์กลายเป็นคนแปลกหน้าสำหรับพวกเขา บรรดาเจ้าของกิจการทั้งหลายที่คนรุ่นใหม่เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ก็มุ่งไปที่สื่อใหม่ๆ พื้นที่โฆษณาของหนังสือพิมพ์ที่อย่างน้อยต้องมี 70 เปอร์เซ็นต์ สั่นคลอน หลายฉบับมุ่งไปที่งบโฆษณาภาครัฐ ที่เป็นเม็ดเงินมหาศาล แต่ก็สุ่มเสี่ยงต่อการละเมิดจริยธรรม และตกอยู่ภายใต้การครอบงำของผู้มีอำนาจไม่ว่าจะโดยจงใจหรือไม่ก็ตาม

การทำให้สื่อหนังสือพิมพ์ที่เงียบงัน นอนนิ่งไม่ไหวติง กลับมามีชีวิต ชีวามากขึ้น ก็ต้องทำให้ตัวหนังสือและภาพนิ่ง แปรรูปเป็นภาพและเสียงได้ และนั่นก็อาจเป็นผลให้กลุ่มคนอ่านหนังสือพิมพ์ รวมทั้งผู้ลงโฆษณา หันกลับมามองและให้ความสำคัญกับสื่อหนังสือพิมพ์ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ด้วยความเชื่อว่า ผู้รับสารจะได้ครบในสิ่งที่เขาต้องการ ทั้งภาพและเสียง ด้วยการอ่านหนังสือพิมพ์เพียงฉบับเดียว และนั่นเป็นที่มาของ iSnap ของกลุ่มเนชั่น และ Daily News Flash เมื่อต้นปีนี้

แต่ หากดูพฤติกรรมของผู้รับสาร โดยไม่ต้องอิงกับทฤษฎีและหลักคิดใด หากผู้รับสารต้องการสื่อที่เป็นภาพและเสียง เหตุใดเขาจะต้องดูผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ที่มีขั้นตอน มีความยุ่งยากมากกว่า และต้องอาศัยสมาร์ทโฟนที่มีราคาแพง และคนโดยทั่วไปยังเข้าไม่ถึง ผลสัมฤทธิ์หรือประสิทธิภาพของการสื่อสาร จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีความสอดคล้องกันระหว่างสารที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อไปยังผู้รับสาร หากการรับรู้ความหมายผิดไป ก็ไม่มีเหตุผลความจำเป็นที่ต้องดูภาพ ฟังเสียง หรือแม้กระทั่งดูโฆษณาผ่านสื่อหนังสือพิมพ์

เมื่อเริ่มเปิดตัว “เดลินิวส์แฟลช” ผู้บริหารอธิบายว่า เป็นอีกหนึ่งของเทคโนโลยี ที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ได้ร่วมมือกับบริษัท เวฟยี (ไทยแลนด์) จำกัด ทำแอพพลิเคชันมัลติมีเดีย เพื่อเชื่อมโยงสื่อหนังสือพิมพ์กับมัลติมีเดียอย่างวีดิโอหรือคลิปเข้าด้วยกัน โทรศัพท์มือถือ “สมาร์ทโฟน” ที่โหลดแอพพลิเคชันฯเวฟอายส์ จากนั้นเพียงแค่นำโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ไปถ่ายภาพที่มีสัญลักษณ์ “เดลินิวส์แฟลช” ปรากฏอยู่ในภาพข่าวหน้าหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ก็สามารถตอบสนองความต้องการในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนและผู้อ่านได้อย่างครบถ้วนเสมือนหนึ่งได้เข้าไปอยู่ร่วมรับรู้ได้สัมผัสความจริงกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นวิธีการที่ง่ายกว่า iSnap ที่อาศัยพฤติกรรมชอบถ่ายรูปของคนไทย

ผ่านมาแล้ว ราวครึ่งปี เดลินิวส์แฟลช หายไป ในขณะที่ iSnap ยังอยู่ ไม่ว่าคำตอบแท้จริงจะเป็นอย่างไร แต่ความพยายามที่จะหาทางออกให้กับสื่อหนังสือพิมพ์ ก็ยังคงเป็นความพยายามอยู่ หลุมดำของโลกดิจิทัล มีเดีย กำลังดูดกลืนทุกสิ่ง

http://bit.ly/1hyQZ6R
Tags : จักร์กฤษ เพิ่มพูล

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร

พีอาร์กับการเปลี่ยนแปลงขององค์กร
Public Relation with Organization changing
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง
! http://bit.ly/14cNz6s

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันนี้ ต่างต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงอย่างมากมายหลายรูปแบบ ทั้งการเปลี่ยนผู้ถือหุ้นใหญ่ เปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนสายธุรกิจ

adisak
adisak

จากองค์กรที่เคยอยู่กันมาอย่างสงบนับสิบปี แต่แล้ววันหนึ่งก็มีซองขาวมาวางอยู่บนโต๊ะ พร้อมกับเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยที่เข้ามาช่วยดูแลเก็บข้าวของและเชิญให้ออกจากองค์กรไปโดยเร็ว ซึ่งเป็นตัวอย่างของการจัดการกับพนักงานที่ลอกเลียนแบบมาจากฝรั่งตะวันตกที่ยังนิยมปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายในเมืองไทยอยู่ทุกวันนี้ จนพนักงานส่วนที่เหลือก็ทนไม่ไหวพากันลาออกไปจนเกือบหมดในที่สุด ความสูญเสียที่ใหญ่หลวงขององค์กรก็คือ พนักงานไม่มีใจเหลือให้องค์กรอีกต่อไปแล้ว ที่ยังอยู่ก็อยู่กันแบบซังกะตาย หมดเรี่ยวแรงจะผลักดันองค์กร

ผู้บริหารคิดว่า จะยังสามารถบริหารองค์กรที่ตกอยู่ในสภาพเช่นนี้ได้ต่อไปอีกหรือ

ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว การสื่อสารดูเหมือนจะเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะถึงแม้จะไม่มีการสื่อสารอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการแลกเปลี่ยนคุยกันปากต่อปากอยู่ดี ยิ่งมีประเด็นที่ลับมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการซุบซิบนินทามากขึ้นเป็นเงาตามตัว ปล่อยข่าวจริงบ้างเท็จบ้าง โดยเฉพาะข่าวที่เป็นลบยิ่งแพร่กระจายออกไปอย่างรวดเร็ว แต่ในทางตรงกันข้าม ข่าวดีๆ มักจะอยู่กับที่ ซึ่งเป็นอันตรายต่อองค์กรอย่างยิ่ง

การสื่อสารในลักษณะเช่นนี้ เราเรียกว่า The Grapevine หรือการสื่อสารแบบไม่เป็นทางการ (Informal Communication) ซึ่งเป็นเรื่องปกติขององค์กรที่พนักงานในบริษัทจะซุบซิบคุยเล่นกันในสถานที่ทำงาน การพูดคุยกันในห้องน้ำหลังอาหารมื้อกลางวันกับเพื่อนร่วมงาน การแวะแต่งหน้าหรือแปรงฟันในห้องน้ำเป็นกลุ่มๆ ในช่วงเวลาพัก หรือแม้แต่การพูดคุยกันบนโต๊ะอาหารกลางวัน ซึ่งเชื่อได้เลยว่า การสนทนาในสถานการณ์ดังกล่าว กว่า 80% ล้วนแล้วแต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับงานแทบทั้งสิ้น

ผู้บริหารที่ฉลาดจึงมักจะใช้เส้นทางของ The Grapevine นี้ เพื่อหาข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจของตนเอง เพราะถ้ารู้ตัวว่า เมื่อขจัดมันออกไปจากองค์กรไม่ได้ ก็ควรใช้มันให้เป็นประโยชน์เสียเลยดีกว่า อย่างนี้เรียกว่า พลิกวิกฤตให้เป็นโอกาส เช่น ผู้บริหารต้องการอยากจะทราบว่าพนักงานคิดอย่างไรกับการตกแต่งโชว์รูมใหม่ ก็อาจจะเปรยกับเลขาฯหรือผู้ช่วยฝ่ายประชาสัมพันธ์ที่มีมนุษยสัมพันธ์ดีมากๆ สักคนหนึ่ง รับรองว่าอีกไม่นานคำตอบต่างๆ ก็จะหลั่งไหลมาหาผู้บริหารท่านนั้นเอง ที่เหลือจึงเป็นเรื่องของเทคนิคการกลั่นกรองข่าวสารเพื่อที่จะนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป

ผู้บริหารที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนการสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลง หากยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาหรือมีประเด็นที่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ เงื่อนไขก็คือว่าประเด็นเหล่านี้จะหลุดรอดออกมาภายนอกไม่ได้ เพราะจะส่งผลเสียหายอย่างร้ายแรง ถ้าต้องให้ผู้มีส่วนร่วมรับรู้ ก็เฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องจริงๆ เท่านั้น หากเป็นความลับ ก็ต้องลับสนิทอย่างแท้จริง เพราะบางเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อคนจำนวนมากๆ เป็นละเอียดอ่อน เช่น เรื่องการโยกย้ายตำแหน่ง หรือเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือน เพราะข่าวนั้นจะไหลเข้าสู่กระแส Grapevine อย่างรวดเร็วและรุนแรง จนบางครั้งเราอาจจะควบคุมมันไว้ไม่อยู่เลยทีเดียว

เมื่อสถานการณ์ชัดเจนแน่นอน ค่อยชิงจังหวะสื่อสารไปยังผู้เกี่ยวข้อง พนักงาน และกลุ่มเป้าหมายก่อนที่ประเด็นดังกล่าวจะถูกปล่อยออกไปเป็นข่าวลือ เพราะหากถึงขั้นเป็นข่าวลือแล้วละก็ การสื่อสารที่ตามมาก็จะกลายเป็นการแก้ข่าว และหากข่าวลือนั้นถูกทำให้เชื่อแล้ว ยิ่งต้องกลายเป็นข้อแก้ตัวหนักเข้าไปอีก จังหวะในการสื่อสารจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาที่สื่อสารออกไปต้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างตรงไปตรงมา แม้ว่าจะเป็นข้อเท็จจริงที่เจ็บปวดก็ตาม เพราะการนำเสนอแต่ข้อเท็จจริง จะทำให้พนักงานยังคงเชื่อมั่นในองค์กร

การเปลี่ยนแปลงขององค์กรย่อมมีที่มาที่ไป คงไม่มีองค์กรไหนต้องการสร้างความวุ่นวาย ดังนั้น ที่มาของการเปลี่ยนแปลงจึงน่าจะเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องถ่ายทอดไปสู่พนักงานและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ ซึ่งวิธีการถ่ายทอดนั้น สามารถทำได้ทั้งรูปแบบที่เป็นทางการ เช่น สารจากผู้บริหาร จดหมายข่าว หรือวารสารภายใน ฯลฯ หรือรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ เช่น การพูดคุยกับพนักงานอาวุโส พนักงานที่มีอิทธิพลทางความคิด หรืออาจเชิญผู้มีชื่อเสียงหรือมีอิทธิพลจากภายนอกมาให้ความรู้ตอกย้ำประเด็นของการเปลี่ยนแปลง

การสื่อสารเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนั้น ต้องไม่ละเลยที่จะดูแลกระแสจากภายนอกองค์กรด้วย ข่าวจากภายนอกองค์กรอาจทำให้พนักงานตีตนไปก่อนไข้ได้ หรือข่าวที่หลุดไปจากพนักงานที่ไม่พึงพอใจต่อการเปลี่ยนแปลง ทั้งๆ ที่อาจเป็นเพียงความคิดเห็นของคนเพียงคนเดียวหรือคนกลุ่มเล็กๆ ก็อาจสร้างความเข้าใจผิดเสียหายต่อองค์กรได้

ปัจจุบันองค์กรคงจะไม่ได้เผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงเป็นเรื่องๆ อย่างที่ผ่านมาในอดีตเสียแล้ว แต่ทุกองค์กรกำลังเผชิญหน้ากับ Continuous Change ที่หมายถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็หมายความว่า ทั้งผู้บริหาร พนักงาน และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องรับมือกับการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องและไม่รู้จบเช่นกัน

โดย อ.อดิศักดิ์ จำปาทอง ในกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2696

ชวนคุยเหตุผลการยุบโรงเรียนกับกระทรวง

ชัยอนันต์ สมุทวณิช ชวนคิดเรื่องยุบกระทรวงศึกษาธิการ

ชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ sife
ชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ sife

มีข่าวว่ากระทรวงศึกษาธิการจะยุบโรงเรียนขนาดเล็กคือ โรงเรียนที่มีนักเรียนประมาณ 60 คน เมื่อข่าวออกมาก็มีผู้ปกครองออกมาคัดค้านมากมาย

เรื่องขนาดของโรงเรียนนี้มีข้อถกเถียงกันอยู่เป็นประจำ บ้างก็ว่าโรงเรียนควรมีนักเรียนประมาณ 850 คน แต่มีโรงเรียนจำนวนหนึ่งที่มีนักเรียน 2,000-5,000 คน โรงเรียนเหล่านี้เป็นที่นิยมของผู้ปกครอง

ในประเทศอังกฤษมีโรงเรียนเด็กประจำ นักเรียนไม่กี่สิบคนเป็นโรงเรียนเตรียมเด็กเข้าโรงเรียนกินนอนที่เรียกว่า Public School ต่อไป เขาคิดว่าโรงเรียนยิ่งมีนักเรียนน้อยก็ยิ่งดี เพราะครูสามารถเอาใจใส่เด็กเป็นรายบุคคลได้

ผมเองเคยอยู่โรงเรียนขนาดเล็กมีเด็กอยู่ 12 คน หนึ่งในนั้นคือ จักรพันธุ์ โปษยกฤต คือโรงเรียนบ้านครูเนี้ยน เวลานั้นยังไม่มีชื่อ ต่อมาเป็นโรงเรียนอักษรเจริญ

กระทรวงศึกษาฯ คิดแต่จะยุบเลิกโรงเรียนขนาดเล็ก แต่ไม่เคยคิดจะลดขนาดตัวเองลงบ้าง กระทรวงศึกษาธิการของไทยเป็นกระทรวงที่ใหญ่ที่สุดในโลก คนในกระทรวงศึกษาฯ ชอบคิดแต่จะหาทางเพิ่มตำแหน่งให้กับตนเอง เดี๋ยวก็รวม เดี๋ยวก็แยก อย่างเช่น สพฐ.ก็อยากแยกประถมกับมัธยม เป็นต้น

เรื่องการศึกษานี้ หากต้องการคุณภาพจริงๆ แล้วก็ต้องไปเน้นที่โรงเรียนเป็นสำคัญ เราเห็นโรงเรียนดีๆ เขามีการเรียนการสอนดีโดยที่กระทรวงศึกษาธิการไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้อง การจัดการที่เน้นโรงเรียนนี้ โรงเรียนต้องมีความพอเพียง มีงบประมาณและมีความอิสระพอที่จะจัดการตัวเอง มีโรงเรียนสังกัดท้องถิ่นหลายแห่งที่มีการจัดการตนเองที่ดี เช่น ที่เชียงราย และอุดรธานี เป็นต้น

แต่ครูส่วนใหญ่ก็ยังติดยึดอยู่กับการเป็นครูของกระทรวงศึกษาธิการอยู่ นัยว่ามีเกียรติภูมิดีกว่าการเป็นครูของท้องถิ่น เพราะคนเรียกว่า “ครูเทศบาล”

มีการวิจัยทางการศึกษาหลายชั้นสรุปว่า โรงเรียนดีเพราะมีครูใหญ่หรือผู้อำนวยการที่ดี หัวก้าวหน้านำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาให้ครูและนักเรียนได้เรียนรู้ตลอดเวลา นอกจากนั้นก็ต้องมีครูที่ดี เรื่องครูที่ดีนี้เป็นเรื่องยากแต่จำเป็นต้องมีการพัฒนาครูอยู่เสมอ

แล้วกระทรวงศึกษาธิการทำอะไรนอกเหนือจากการควบคุม สิ่งแรกก็คือ มีหน้าที่กำหนดหลักสูตร แต่เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องมีกระทรวงก็ได้ เพราะนอกจากหลักสูตรจะทำนานๆ ทีแล้ว ก็ยังสามารถทำในรูปคณะกรรมการก็ได้ เมื่อจบเรื่องแล้วก็สลายตัวไป คณะกรรมการก็สามารถนำผู้มีความรู้ความชำนาญมาทำงานร่วมกันได้

  เรื่องที่สองที่กระทรวงทำก็คือ การดูแลการบริหารงานบุคคล ซึ่งก็สามารถทำในระดับโรงเรียนได้ และเป็นการเหมาะสมกว่าส่วนการโยกย้ายนั้น หากโรงเรียนส่วนใหญ่สังกัดท้องถิ่นแล้ว หากจะมีการย้ายก็เป็นการย้ายภายในจังหวัดเดียวกัน

เรื่องที่ส่วนกลางทำ และอยากทำต่อไปเรื่อยๆ ก็คือ การจัดจ้างจัดซื้อซึ่งเป็นบ่อเกิดของการทุจริต การจัดจ้างจัดซื้อสามารถทำที่โรงเรียน หรือทำเป็นกลุ่มโรงเรียนเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองได้

มีกิจกรรมอีกอย่างหนึ่งที่ส่วนกลางจัดทำอยู่ คือ การควบคุมคุณภาพ การควบคุมคุณภาพนี้ก็สามารถจะกระจายอำนาจมอบหมายให้เอกชนทำได้ โดยมีคณะกรรมการกลางคอยดูแล เวลานี้ภาคเอกชนก็เข้ามามีส่วนร่วมในระดับหนึ่งแล้ว

งานศึกษานิเทศก์ก็มีความสำคัญ แต่สามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มๆ อยู่ตามภูมิภาคได้ ซึ่งจะเป็นการสะดวกกว่า นอกจากนั้นภาคเอกชน เช่น สำนักพิมพ์ก็ยังจัดอบรมสัมมนาครูอยู่บ่อยๆ

สรุปแล้วงานส่วนใหญ่ของกระทรวงศึกษาธิการ สามารถมีการจัดการใหม่ได้ และคนในส่วนกลางก็จะลดลงเหลือไม่กี่ร้อยคน

! http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9560000059840

! http://www.bangchak.co.th/th/news-detail.aspx?nid=412&AspxAutoDetectCookieSupport=1

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค

sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู

Biodata ของ สกว.

biodata of trf
biodata of trf

สกว. จัดทำจดหมายข่าว หรือสาร Biodata ซึ่งเป็นข่าวสารประจำสัปดาห์มาตั้งแต่ปี 2550 ใน http://biodata.trf.or.th/list_all_news.aspx
พบว่า รายการข่าวสารฉบับแรกที่เผยแพร่ คือ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2550 (2007)
ประชาชนสามารถลงทะเบียนรับจดหมายข่าว
ทางอีเมลได้ที่ http://biodata.trf.or.th
เมื่อนับถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2556 มีมาแล้วทั้งหมด 266 ฉบับ
ซึ่งอ่านได้ทั้งผ่านเว็บเพจ และ pdf file

หัวข้อต่าง ๆ ประกอบด้วย
1. บทนำ
2. มุมเอกสาร/สิ่งพิมพ์แนะนำประจำสัปดาห์
3. ปิดท้ายสาร Biodata ด้วยข่าวประชาสัมพันธ์ อาทิ การประชุมทางวิชาการ เป็นต้น
4. ข่าวสารทุนวิจัย สกว.
5. ข่าวสารทั่วไปของ สกว.
6. ข่าวสารทุนวิจัยของหน่วยงานอื่น
7. ข่าวสารทั่วไปของหน่วยงานอื่น