homepage

ปัจจุบัน แนวโน้มจำนวน personal homepage ลดลง จริงหรือไม่

เคยสงสัยว่าโฮมเพจส่วนตัว เริ่มสืบค้นไม่ค่อยพบ ที่มีอยู่ก็หายไป ที่มีใหม่ก็น้อยเหลือเกิน น่าจะมีคนบอกเล่าเรื่องแนวโน้มนี้เป็นข้อมูลไว้บ้าง เมื่อถามน้องเอ พบเหตุผลสนับสนุนหลายรายการ ดังนี้

แนวโน้มจำนวน Personal Homepage ลดลงจริงหรือไม่?
1. การเกิดขึ้นของโซเชียลมีเดีย (social media)
แพลตฟอร์มอย่าง Facebook, Instagram, Twitter, TikTok, Medium, และ LinkedIn ทำให้การสร้างตัวตนออนไลน์ง่ายขึ้นกว่าการทำเว็บไซต์เอง ผู้ใช้สามารถแชร์ข้อมูล รูปภาพ และเนื้อหาได้โดยไม่ต้องดูแลโฮสต์หรือเขียนโค้ด
2. บล็อกและแพลตฟอร์มสำเร็จรูป (cms)
ระบบอย่าง WordPress, Blogger, Wix, Squarespace, และ Notion ช่วยให้การสร้างเว็บไซต์หรือบล็อกเป็นเรื่องง่ายโดยไม่ต้องเขียนโค้ดเอง ซึ่งดึงดูดผู้ใช้ที่ต้องการเผยแพร่เนื้อหาโดยไม่ต้องสร้างเว็บส่วนตัว
3. ค่าใช้จ่ายและความซับซ้อน (budget)
การสร้าง Personal Homepage ต้องมีค่าใช้จ่าย เช่น โดเมน, โฮสติ้ง, และต้องมีทักษะด้านเว็บดีไซน์หรือการพัฒนาเว็บ ในขณะที่โซเชียลมีเดียและแพลตฟอร์มสำเร็จรูปสามารถใช้ได้ฟรีหรือมีต้นทุนต่ำกว่า
4. การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้ใช้ (behavior)
ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตให้ความสำคัญกับ ความสะดวกและความเร็ว มากขึ้น พวกเขามักเลือกใช้แพลตฟอร์มที่สามารถเข้าถึงข้อมูลและแชร์เนื้อหาได้รวดเร็ว แทนที่จะเข้าชมเว็บไซต์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล

ยังมี Personal Homepage อยู่ไหม
ถึงแม้แนวโน้มจะลดลง แต่ก็ยังมีบางกลุ่มที่นิยมสร้าง เว็บไซต์ส่วนตัว เช่น
– นักพัฒนาและนักออกแบบที่ต้องการ Portfolio
– นักเขียนที่ต้องการพื้นที่ เผยแพร่บทความ
– ศิลปินและนักดนตรีที่ต้องการ แสดงผลงาน
– นักวิจัยหรืออาจารย์ที่ต้องการ เผยแพร่งานวิชาการ

สรุป
แม้ว่า Personal Homepage จะไม่ได้รับความนิยมเหมือนในอดีต แต่ก็ยังคงมีอยู่ในกลุ่มเฉพาะ อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ส่วนใหญ่หันไปใช้แพลตฟอร์มที่เข้าถึงง่ายและมีผู้ใช้จำนวนมากแทน

Homepage

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน

เพราะทุกการกระทำมีเป้าหมาย
ดังนั้น เมื่อมีการเชื่อมโยงเนื้อหา
ที่ปรากฎในรูปของเว็บเพจ
และสร้างจุดเชื่อมโยง
เว็บเพจจำนวนมากเข้าด้วยกัน
ก็ต้องกำหนดว่า
เมื่อคลิกแล้วจะไปไหนต่อ

https://thaiall.com/html/mytarget.htm
.
เช่น สร้างเว็บไซต์ ของ สมาคมศิษย์เก่า
โรงเรียน สำนักงาน ร้านกาแฟ
หรือ โรงงานของพรีเมี่ยม
.
ก็ต้องสร้างภาพขึ้นมา
เป็นตัวแทน เพื่อเชิญชวน
ให้ผู้สนใจได้คลิก
เปิดรายละเอียด
เช่น เว็บไซต์รับผลิต
กระบอกน้ำ แบตสำรอง
ร่มเพอร์เฟค
ยูเอสบีเพอร์เฟค
ปากกาเพอร์เฟค
นำเข้าสินค้าจากจีน
หรือ ttpcargo.com
.
หากคลิกภาพข้างต้น
ก็จะเปิดข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
ที่แสดงรายละเอียด
เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
เลือกสินค้าหรือบริการนั้น
.
เป้าหมาย หรือ ทาร์เก็ต
ในโค้ดดิ้งด้วยภาษาเอชทีเอ็มแอล
คือ การกำหนดเฟรมปลายทาง
หรือ เปิดเนื้อหาขึ้นมาในหน้าต่างใหม่
ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ต้องระบุ
ในขณะเขียนโค้ดเพื่อสร้างลิงก์
.
ส่วนเป้าหมายการรวมกลุ่ม
ของสมาชิกในสังคม
ก็ย่อมมี Target
เช่น สมาคมศิษย์เก่า มารวมกลุ่มกัน
ก็เพื่อแสดงความรัก
ความเป็นเพื่อน
ความเป็นพี่
ความเป็นน้อง
ความรัก และ ความสุขของสมาชิก

https://vt.tiktok.com/ZSFKjps15/

ตอนที่ 1 คลิกแล้วไปไหน
เรื่องเล่า โค้ดดิ้งสร้างโฮมเพจ
#homepage
#webpage
#html
#howto
#school
#coding
#target
#frame
#browser

เล่าเรื่องลีนุกซ์ไว้ใน isinthai กำลังปรับปรุง ยังไม่เรียบร้อย

isinthai in editplus
isinthai in editplus

มีโอกาสเรียนรู้เรื่อง ลีนุกซ์ (Linux) มาหลายปี
จึงเขียนสิ่งที่เรียนรู้มา เป็นการจัดการความรู้ (KM)
แบบ story telling และฝากไว้กับโดเมน isinthai.com
ต่อมาปล่อยให้โดเมนนี้หลุดไป
เนื่องจากถือครองโดเมนไว้มากแล้ว (มากเกิน)
พอโดเมนหลุด ก็เปลี่ยนบทบาทเป็นเพียงโฮมเพจ
ฝากไว้ที่ http://www.thaiall.com/isinthai
และมีเว็บเพจลูกอีกหลายหน้าที่เพิ่มมาในภายหลัง
แต่ตัวหลัก คือ โฮมเพจหน้าเดียว
ช่วงแรกทำเป็น html อย่างเดียว
ต่อมาก็เปลี่ยนเป็น php และเริ่มมีการประมวลผล
เลือกแสดงข้อมูลผ่าน query string
เนื้อหาก็แทบไม่ได้ปรับให้สมบูรณ์เท่าที่ควร
ครั้งใดที่คิดจะปรับก็จะเพิ่มเนื้อหาใหม่
แต่ก็ไม่ได้ปรับให้สมบูรณ์ หมดไฟซะก่อน
จนกระทั่ง
มกราคม 2560 มีโอกาสนำโฮมเพจลีนุกซ์มาทบทวน
จึงปรับย้ายเนื้อหาไปวางในตัวแปรแบบ array แทน
ส่วนรูปแบบการแสดงผล เขียนเป็น function box
ก็จะมีกล่องแสดงผลไม่กี่รูปแบบในโฮมเพจหน้านี้
เพราะต้องการปรับให้เป็น Responsive Web Design
ที่เปลี่ยนการแสดงผลต่างกันไปตามอุปกรณ์แต่ละแบบ
เครื่องมือที่ใช้เขียนเป็น editor คือ editplus
สิ่งหนึ่งที่สำคัญในการปรับ คือ เรียงคำสั่งที่น่าสนใจ 20 คำสั่ง
จะเอาไปคุยกับนักศึกษา

linux
linux

คำสั่งที่น่าสนใจ มีดังนี้
คำสั่ง id (finger, who, w)
คำสั่ง pwd
คำสั่ง ls
คำสั่ง man
คำสั่ง netstat
คำสั่ง ping
คำสั่ง traceroute, tracert
คำสั่ง df
คำสั่ง du
คำสั่ง ps
คำสั่ง top
คำสั่ง mount, umount
คำสั่ง env set
คำสั่ง cd, mkdir, rmdir
คำสั่ง cp, rm, mv
คำสั่ง vi
คำสั่ง cat
คำสั่ง tail
คำสั่ง grep
คำสั่ง reboot, shutdown