d-day u-net มามิถุนายน 2558

24 มี.ค.57 ศ.ดร.ชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยถึงการประชุมหารือถึงการนำผลการทดสอบตามมาตรฐานการอุดมศึกษา หรือ U-NET มาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสี่ (ปีงบประมาณ 2559-2563) เมื่อเร็วๆ นี้ ว่า ที่ประชุมเห็นด้วยที่ สมศ.จะใช้ผลสอบ U-NET ซึ่งประเมินคุณภาพบัณฑิตมาเป็นตัวบ่งชี้ในการประเมินมหาวิทยาลัย เพราะที่ผ่านมายังไม่มีหน่วยงานกลางใดทำการประเมิน ส่วนใหญ่ดูจากการมีงานทำของบัณฑิต ความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต ดังนั้น การที่ สมศ.นำผลสอบ U-NET มาใช้จะเป็นเสมือนหน่วยงานกลางในการประเมิน เพื่อให้เกิดมาตรฐานเดียวกัน

ทั้งนี้ เท่าที่ได้หารือร่วมกับทางสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ซึ่งรับผิดชอบจัดสอบ U-NET เบื้องต้นจะจัดสอบฟรี ให้แก่นิสิตนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายของทุกหลักสูตร ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอกทั่วประเทศ โดยจะวัดองค์ความรู้ความสามารถของบัณฑิต ใน 4 วิชา ได้แก่ 1) ความสามารถภาษาไทย 2) ความสามารถภาษาอังกฤษ 3) การคิดวิเคราะห์ และ 4) การใช้สื่อเทคโนโลยี ซึ่งทาง สทศ.ยืนยันว่าจะจัดสอบครั้งแรกได้ก่อนเดือนมิถุนายน ปี 2558 อย่างไรก็ตาม ยังห่วงและกังวลในเรื่องการวัดเรื่องวิชาชีพ เพราะมีอาชีพจำนวนมากอีกทั้งบางสาขา/คณะ ไม่มีสภาวิชาชีพควบคุม เพราะฉะนั้น สมศ.และ วทศ.จะหารือกับสภาวิชาชีพว่าจะดำเนินการใดได้บ้าง

ผอ.สมศ.กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ นอกจาก สทศ.ยังมีในส่วนของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ก็เสนอว่าจะเป็นหน่วยงานกลางในการพัฒนา U-NET เช่นเดียวกัน ขณะเดียวกัน องค์ประกอบการประเมินมหาวิทยาลัยไม่ใช่แค่การวัดความรู้ความสามารถบัณฑิตใน 4 วิชาเท่านั้น สมศ.จะนำกรอบกรอบมาตรฐานคุณวุฒิอุดมศึกษาแห่งชาติ หรือ TQF ที่กำหนด 5 ด้านหลัก คือ 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2) ด้านความรู้ 3) ด้านทักษะทางปัญญา 4) ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5) ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงความพึงพอใจผู้ใช้บัณฑิต มาใช้เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินด้วย

ด้าน รศ.ดร.สัมพันธ์ พันธุ์พฤกษ์ ผอ.สทศ. กล่าวว่า สทศ.ได้มีการกำหนดกรอบงานวิจัยโครงการการวิจัย U-NET มาตั้งแต่ปี 2554 ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการจัดตั้งคณะทำงานพัฒนาข้อสอบ ทั้ง 4 วิชา ซึ่งคาดว่าจะสามารถจัดสอบมหาวิทยาลัยได้ทัน เพื่อให้สมศ.นำคะแนนไปใช้ในการประเมินมหาวิทยาลัยในปี 2558 อย่างไรก็ตาม สทศ.จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุมคณะกรรมการบริหาร สทศ.ในวันที่ 24 มี.ค.2557 นี้ เพื่อแจ้งความคืบหน้าในการจัดสอบยูเน็ต นำไปสู่กระบวนการออกข้อสอบยูเน็ต
http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?newsid=9570000032784

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้

สี่วาทะการศึกษา .. วันนี้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เส้นไม่ได้
การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้” (คนโกงเขาเชื่ออย่างนั้น)
จากเพลงเรียนและงาน
http://www.youtube.com/watch?v=EDw98E7Lh0o

15 มิ.ย.56 นักเรียน ม.4 มีวาทะว่า “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้เลียไม่ได้
ในโครงการสมัชชาการศึกษา ครั้งที่ 2 โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานคร
ที่ได้รับการสนับสนุนจาก
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค)
และกระทรวงศึกษาธิการ ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร
https://www.facebook.com/quotequotequote/posts/552626601494322
https://www.facebook.com/EducationReview/photos/a.519999038069381.1073741828.519774391425179/563846200351331/

24 มี.ค.57 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ขาวไม่ได้
ขำขำนะครับ เพราะผมเห็นโฆษณาของโฮโม
ที่เจ้านายเลือกไม่ได้เลือกจากความรู้ความสามารถแต่เลือกจากความขาว
มีคลิ๊ปหัวหน้าเลือกนักข่าวจากสีเสื้อ สืบค้นยังไม่พบ
http://www.youtube.com/watch?v=8aVjfSnwRvc

6 มี.ค.56 เป็นที่มาของวาทะ “การศึกษาไทย เรียนให้ตาย ก็สู้ทุจริตไม่ได้
จากที่ คุณสรยุทธ พูดคุยกับ นายธานินทร์ เปรมปรีดิ์
รองผู้อำนวยการสำนักคดีอาญาพิเศษ กรมสอบสวนคดีพิเศษ
เรื่องทุจริตครูผู้ช่วย มีประเด็นหลายข้อ
1. ส่งมือปืน คนนั่งหน้าหลัง
2. ใช้เครื่องมือสื่อสารเข้าห้องสอบ
3. ข้อสอบรั่ว เอาโพยเข้าห้องสอบ
ค่าจ้างสำหรับการทุจริต ประมาณ 300,000 – 500,000 บาท
จากกรณีที่พบทุจริตการสอบบรรจุเป็นข้าราชการ ตำแหน่งครูผู้ช่วย
มีคนได้คะแนนเต็มถึง 480 คน
http://education.kapook.com/view58020.html
http://www.youtube.com/watch?v=0mk3P-zfgRo

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน

การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้

28 กุมภาพันธ์ 2557
การบินไทยแจกทุนนักบินฝึกหัดเริ่มรับสมัคร 1 เม.ย.นี้
  
          การบินไทย ประกาศรับสมัครบุคคลทั่วไป สอบคัดเลือกเป็น “นักบินฝึกหัดทุนการบินไทย” เริ่มรับสมัครวันที่ 1 เม.ย.57 เป็นต้นไป ผ่านทางออนไลน์ ซึ่งมี 7 ขั้นตอนการสอบ ได้แก่
1. สอบข้อเขียน ทดสอบความรู้พื้นฐานของการเป็นนักบิน
2.ทดสอบควมพร้อมของร่างกาย
3.สอบสัมภาษณ์กับกัปตันการบินไทย
4. สอบAptitude Test รอบแรกกับ Professor: Written test
5.สอบ Aptiude Test รอบสองกับ Professor: Teamwork Exercise
6.สอบ Aptiude Test รอบสามกับ Professor: Individual
7.สอบจิตวิทยาการบิน
       
รับสมัครระหว่างวันที่ 1-18 เม.ย.57 ผ่านทางระบบออนไลน์เท่านั้น ที่เว็บไซต์ http:// www.tgpilotrecruitment.com/
 
ที่มา: หนังสือพิมพ์สยามกีฬา
http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35958&Key=hotnews

คลอด 6 นโยบายใช้เปิดเทอมใหม่ ยกระดับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

นางอ่องจิต เมธยะประภาส รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า นายจาตุรนต์ ฉายแสง รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้ลงนามในประกาศ ศธ. เรื่องนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ โดยได้กำหนด 6 นโยบาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานมีความรู้ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเป็นเครื่องมือเข้าถึงองค์ความรู้และก้าวทันโลก รวมถึงพัฒนาตนเองเพื่อนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ดังต่อไปนี้

1. ให้ใช้กรอบมาตรการความสามารถทางภาษาอังกฤษที่เป็นสากล ได้แก่ The Common European Framework of Reference for Languages (CEFR) เป็นกรอบความคิดหลักในการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษของประเทศไทย ทั้งในการออกแบบหลักสูตร การพัฒนาการเรียนการสอน การทดสอบ การวัดผล การพัฒนาครู รวมถึงการกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้

2. ปรับจุดเน้นการเรียนการสอนภาษาอังกฤษให้เป็นไปตามธรรมชาติของการเรียนรู้ โดยเน้นการสื่อสารที่เริ่มจากการฟัง ตามด้วยการพูด การอ่าน และการเขียนตามลำดับ

3. ส่งเสริมให้มีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษที่มีมาตรฐานตามกรอบมาตรฐานหลัก ด้วยหลักสูตรแบบเรียน สื่อการเรียนการสอนแต่ด้วยวิธีการที่แตกต่างกันได้ ทั้งตามความพร้อมของแต่ละสถานศึกษา และแสดงถึงความถนัดและความสนใจของผู้เรียน

4. ส่งเสริมการยกระดับความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ อาทิ ขยายโครงการพิเศษด้านการเรียนการสอนในหลักสูตร English Program หรือ EP, Mini EP, International Program แก่ผู้ที่มีความสามารถทางวิชาการสูง, English Bilingual Education โดยจัดการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์ สังคมศึกษา และศิลปการศึกษาแบบสองภาษา พัฒนาห้องเรียนสนทนาภาษาอังกฤษที่เน้นทักษะการฟังและการพูดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง และให้มีการเรียนการสอนวิชา
สนทนาภาษาอังกฤษเป็นการทั่วไป และมีการเรียนการสอนแบบเข้มข้น รวมถึงจัดให้เป็นสาระเพิ่มเติมในลักษณะวิชาเลือกได้ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนตามความสนใจ ความถนัด และศักยภาพ เป็นต้น

5. ยกระดับความสามารถในการจัดการเรียนการสอนของครูให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนที่เน้นการสื่อสารและ 6. ส่งเสริมให้มีการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาความสามารถทางภาษาของครูและผู้เรียน

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ กำหนดให้หน่วยงานที่ต้องจัดการเรียนการสอนนำนโยบายไปปฏิบัติโดยคำนึงถึงศักยภาพของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาแต่ละแห่ง รวมทั้งบริบทและความต้องการของพื้นที่ที่แตกต่างกัน

นางอ่องจิต กล่าวว่า หลังจากออกประกาศ ศธ. แล้ว สพฐ. จะจัดทำแนวปฏิบัติแจ้งไปยังสถานศึกษาทั่วประเทศเพื่อใช้ในภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2557 ซึ่งโรงเรียนสามารถเริ่มจัดการเรียนการสอนได้ตั้งแต่ระดับประถมศึกษาปีที่ 1 เป็นต้นไป ตามศักยภาพและความพร้อม

–ทรานสปอร์ต เจอร์นัล ประจำวันที่ 10 – 16 ก.พ. 2557–

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง :: ชนาพร เคลือบคล้าย

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35696&Key=hotnews

บทเรียนจากหัวหน้า 7 เรื่อง

เล่าสู่กันฟัง .. เป็นบทเรียนจากหัวหน้า
ผมบันทึกไว้อ่าน เป็นเครื่องช่วยจำครับ
4 ก.พ.57 ท่านให้แนวทางในการทำงานไว้ 7 ข้อ

1. เรื่อง เขียนบันทึกต้องละเอียด
ถ้าต้นเรื่องทำบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
ต้องมีรายละเอียดที่ชัดเจนว่าจะใช้งบส่วนไหน มี หรือไม่มีงบ
จะได้ใช้ข้อมูลที่ครบถ้วน ประกอบการพิจารณาอย่างเหมาะสม
2. เรื่อง อย่างนิ่งดูดายต่อคำถาม
เมื่อมีคำถามต่อบันทึกขออนุมัติกิจกรรม/โครงการ
มาทางอีเมลถึงทุกคน แล้วคนที่คิดว่ามีข้อมูลต่อคำถามก็ต้องชี้แจงไป
และก็ต้องช่วยกันสะกิดสะเกาให้ตอบไป เรื่องจะได้เดินต่อ
3. เรื่อง ห้ามเขียนงบอื่น ๆ
หลายองค์กรตั้งงบประมาณว่า อื่น ๆ หรือถัวเฉลี่ย
แต่บริบทของเราทำไม่ได้ ต้องชัดเจน โปร่งใส ตรวจสอบได้
เราผ่านการปฏิรูปมาแล้วนะ ต่อไปอย่าตั้งมาอย่างนั้น
4. เรื่อง ไปดูงาน ไม่ใช่ไปเที่ยว
การดูงานในอดีต มีรายการท่องเที่ยวแฝงอยู่มาก
หลายสถาบันยกเลิกการดูงานว่าเป็นเงื่อนไขของหลักสูตร
ถ้าดูงานก็ต้องดูกันจริง ๆ ดูแล้วน.ศ.ก็ต้องกลับมาทำรายงานผลด้วย
5. เรื่อง ถ้าตั้งใจก็เรียนได้ เรื่องจ่ายผ่อนเอา
ภาครัฐสนับสนุนการศึกษา ออกกฎว่า ขั้นพื้นฐานไม่มีเงินก็เรียนได้
ถ้าจัดการแยกว่า คนที่มีกับคนไม่มี ต้องปฏิบัติต่างกัน จะทำให้จัดการยุ่งยาก
ตอนนี้ระดับอุดมฯ คุมที่ใบรับรอง คือไม่มีเงินก็เรียนได้ แต่ต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่าย
ดังนั้น ไม่มีเงินก็เข้าสอบได้ ถ้าสอบผ่าน แต่ไม่จ่าย ก็ไม่ออกใบรับรองให้
6. เรื่อง ขู่นักศึกษา เขาอาจเก็บกระเป๋านะ
ปัญหาการสื่อสาร การขู่ให้กลัวก็ดีอย่างหนึ่ง จะได้ “ฮึกเหิม”
แต่อาจเกิดผลกระทบทางลบได้ เช่น “ไม่ตั้งใจเรียน ระวังไม่จบนะ”
คนที่ไม่ตั้งใจเรียนก็พาลใจเสีย ต้องดูแลใกล้ชิด เอาน้ำเย็นเข้าลูบ ทำความเข้าใจ
7. เรื่อง ระบบของคนเซ็นรับตัง กับระบบของเรา
หลักฐานทางราชการ ต้องทำความเข้าใจเรื่องใครเซ็น
เพราะเข้าท้องพระคลังไปแล้วออกยากครับ
ต้องเข้าใจตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ
ต้นต้องรู้ว่าการเซ็นรับตัง มีเงื่อนไขอย่างไร
เพราะคนรับเขาก็มีระบบ เราก็มีระบบ ต้นกลางปลายมีระบบหมด
ต้องสรุปให้ได้ว่า หลักฐานแบบใดที่จะให้คนนอกเซ็น
จึงจะ happy ทุกฝ่าย ทั้งหมดขึ้นกับต้นเรื่องที่ต้องเข้าใจ

งบประมาณปี 2556 กระทรวงศึกษาอันดับ 1 ได้ 4.6 แสนล้าน
http://thaipublica.org/2012/08/the-budget-2556/

ปัญหาการศึกษาไทยอยู่ที่ไหนกันแน่ ที่นี่มีคำตอบ
http://www.anantasook.com/thai-education-problem/

หนุนส่งออกเด็กสหกิจศึกษาฝึกงานต่างแดน

27 มกราคม 2557

โพสต์ทูเดย์ สมาคมสหกิจศึกษาโลกดันแผนส่งเด็กไทยฝึกงานต่างแดน ปั้นบุคลากร 70 มหาวิทยาลัยช่วยเดินแผน

นายสัมพันธ์ ศิลปนาฎ ประธานร่วมสมาคมสหกิจศึกษาโลก เปิดเผยว่า ในปี 2557 นี้ สมาคมได้ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสมาคมสหกิจศึกษาไทย ร่วมกันพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษาของไทย ให้มีความรู้ความเข้าใจ สามารถเตรียมความพร้อมในการส่งนิสิต-นักศึกษา

เข้าร่วมฝึกงานระยะยาวโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ในต่างประเทศได้
“โครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์เป็นสิ่งสำคัญมากในการเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเพราะจะทำให้เด็กไทยได้มีโอกาสทำงานร่วมคนต่างชาติจริงๆ ได้เห็นมุมมอง ได้ปรับตัว ได้เตรียมความพร้อม รองรับความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นในยุคโลกาภิวัตน์” นายสัมพันธ์ กล่าว

ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้จัดการอบรมบุคลากรกว่า 100 คน จาก 70 มหาวิทยาลัย ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเป็นระยะเวลา 2 วัน เพื่อให้บุคลากรตระหนักถึงความสำคัญของสหกิจศึกษาอินเตอร์ เข้าใจมาตรฐานใหม่ กระบวนการบริหารจัดการ และจัดการศึกษาใหม่ให้สอดคล้องกับการส่งนิสิต-นักศึกษาไปต่างประเทศ โดยมีนายวิจิตร ศรีสอ้านนายกสมาคมสหกิจศึกษาไทยและอดีตรมว.ศึกษาธิการ ร่วมเป็นวิทยากร

หลังการอบรมครั้งดังกล่าว แต่ละสถาบันการศึกษาจะทดลองนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสถาบันของตัวเอง และวางแผนการดำเนินงานส่งนักศึกษาไปเข้าโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ยังต่างประเทศ จากนั้นจะส่งแผนกลับมายัง สกอ.และสมาคมสหกิจศึกษาโลกอีกครั้ง เพื่อประเมินและวางเป้าภาพรวมการส่งนักศึกษาออกไปต่างประเทศร่วมกัน พร้อมทั้งกำหนดแนวทางการจัดอบรมครั้งต่อๆ ไปในปี 2557 นี้

ที่ผ่านมา ไทยส่งนักศึกษาร่วมโครงการสหกิจศึกษาอินเตอร์ไปต่างประเทศจำนวนน้อยมาก โดยส่วนใหญ่จะเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยทางภาคใต้ ไปร่วมโครงการสหกิจศึกษาในมาเลเซีย เนื่องจากใช้ภาษาใกล้เคียงกัน สามารถสื่อสารกันได้นับจากนี้ต้องมีเป้าหมายไกลขึ้น เช่นประเทศอื่นในอาเซียนญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ยุโรป –

ที่มา: หนังสือพิมพ์โพสต์ทูเดย์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35537&Key=hotnews

หลักสูตรผลิตครู ป.ตรี ย้ำปีการศึกษา 57 ใช้หลักสูตรพื้นฐานใหม่ ข่าวทั้งหมด

20 มกราคม 2557

หลักสูตรผลิตครู ป.ตรี ย้ำปีการศึกษา 57 ใช้หลักสูตรพื้นฐานใหม่

จากกรณีที่สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) เตรียมเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษา ที่ได้วิจัยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต่อ รมว.ศึกษาธิการ โดยสรุปว่า ไม่ควรเร่งนำหลักสูตรใหม่ไปใช้ในปีการศึกษา 2557 และเสนอให้ปรับเปลี่ยนวิธีการสอนครู โดยเน้นให้เด็กคิดวิเคราะห์มากขึ้นนั้น ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ในฐานะประธานคณะกรรมการปฏิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวว่า ตนเห็นด้วยว่าควรปรับเปลี่ยนวิธีการสอนของครู แต่ยอมรับว่าการปรับเปลี่ยนครูถือเป็นเรื่องยากที่สุด และที่สำคัญ คือ เวลานี้หน่วยงานที่ดูแลการพัฒนาครูโดยเฉพาะสถาบันพัฒนาครู คณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา (สคบศ.) ก็มีปัญหาอยู่ ดังนั้นจึงต้องมองไปที่การปรับระบบการผลิตครูใหม่ แทนการปรับเปลี่ยนครูที่สอนอยู่ในเวลานี้

“หลักสูตรผลิตครูในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ ที่ต้องการครูที่สอนได้ทั่วไปเหมือนแพทย์จีพีที่ตรวจรักษาโรคทั่วไปได้ ขณะที่การผลิตครูระดับปริญญาตรีกลับให้เลือกวิชาเอกที่แยกเป็นเอกประถมศึกษา เอกมัธยมศึกษา เอกวัดผล หรือเอกแนะแนว แต่พอส่งลงสนามจริง ๆ กลับสอนหนังสือในวิชาทั่วไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนการสอนด้วยระยะเวลาสั้น ๆ คงทำไม่ได้” ศ.พิเศษ ดร. ภาวิช กล่าวและว่า อย่างไรก็ตามตนได้เสนอต่อสถาบันผลิตครูไปแล้ว ว่า ควรผลิตครูทั่วไปในระดับปริญญาตรี และผลิตครูวิชาเอกในระดับปริญญาโท ซึ่งฝ่ายผลิตครูก็ไม่ได้ท้วงติงอะไร โดยเร็ว ๆ นี้จะหารือในรายละเอียดอีกครั้ง

ศ.พิเศษ ดร.ภาวิช กล่าวต่อว่า ส่วนการนำหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานใหม่ไปใช้นั้น เบื้องต้นมีความเห็นร่วมกันว่าหลักสูตรใหม่ควรนำไปใช้ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 นี้ แต่จะใช้พร้อมกันทั้งประเทศ หรือใช้เฉพาะชั้น ป.1, ป.4, ม.1 และ ม.4 หรือ ใช้ในช่วงชั้นที่ 1 (ป.1-ป.3) และช่วงชั้นที่ 3 (ม.1-ม.3) หรือใช้ เฉพาะโรงเรียนนำร่องก่อน ทั้งนี้ ในวันที่ 31 มกราคมนี้ จะมีการประชุมทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแผนปฏิบัติงานในภาพรวมอีกครั้ง ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน.

–เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 21 ม.ค. 2557 (กรอบบ่าย)-

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=35457&Key=hotnews

ข้อสอบข้อนี้ตอบอะไรดีนะ

มีโอกาสทำข้อสอบ .. ข้อหนึ่ง
ข้อนี้อ่านแล้วก็รู้สึกไม่มั่นใจว่าที่ถูกคือข้อใด
ในโลกแห่งความเป็นจริง
คำว่า true กับ false ห่างกันนิดเดียว
เพราะเกณฑ์ที่ใช้ ไม่ได้เป็นของตาย เป็นสิ่งที่ดิ้นได้
แล้วเกิดจากความรู้สึกของมนุษย์ที่ทำหน้าที่ออกกฎ

หลายคนบอกว่าให้เชื่อตัวเอง
ผมว่าคนที่เขาออกกฎก็คงคิดว่าตนถูกแล้วหละ
อย่างเพลง “ผู้ชนะ” มีท่อนหนึ่งบอกว่า
อย่าฟังคำคน อย่าสนใจใคร อย่าเปลี่ยนแนว คนแน่แน่วเท่านั้น ผู้ชนะ

คลิ๊ปนี้แยกลำโพงซ้ายขวา

ในชีวิตจริง เราทุกคน เป็นคนถูกหมด และเป็นผู้ชนะครับ
ไม่งั้นเราคงไม่เบียดเบียนสัตว์มากมาย
แล้วบอกว่าพบพวกสัตว์เกิดมาเพื่อเรา .. เพื่อให้เราได้อยู่ต่อไป

ทัวร์อาคารเรียน ห้องประชุม และห้องเรียน

15 ม.ค.57 พาชมห้องเรียน และห้องประชุม
บริเวณชั้น 2 ในอาคารบริหารธุรกิจ
รวม 9 ห้อง มีที่นั่งทั้งหมด 643 ที่นั่ง

ประกอบด้วย
1. ห้อง Auditorium = 309 ที่นั่ง
2. ห้อง 1203 = 54 ที่นั่ง
3. ห้อง 1204 = 24 ที่นั่ง
4. ห้อง 1205 = 30 ที่นั่ง
5. ห้อง 1206 = 40 ที่นั่ง
6. ห้อง 1207 = 40 ที่นั่ง
7. ห้อง 1208 = 66 ที่นั่ง
8. ห้อง Lab3 = 50 ที่นั่ง
9. ห้อง 1209 = 30 ที่นั่ง

เป็นข้อมูลสำหรับนักวิชาการ หรือผู้สนใจที่ต้องการ
มาใช้สถานที่ของมหาวิทยาลัยในการจัดประชุม