Book and Learning

If you can't explain it simple, you don't understand it well enough.

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ

ชวนผู้เรียนฝึกซ้อมการอธิบายบ่อย ๆ .. ดังคำกล่าวที่ว่า “ถ้าคุณไม่สามารถอธิบายสิ่งใด ให้ผู้อื่นเข้าใจได้โดยง่าย นั่นหมายความว่าตัวคุณเอง ยังไม่เข้าใจมันดีพอ (If you can’t explain it simple, you don’t understand it well enough.)” โดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ทำให้นึกถึงความพยายามของคนกลุ่มหนึ่งในสื่อสังคม มักเรียกคนกลุ่มนี้ว่า ชาวโซเชียล พบว่า #ชาวโซเชียล จุดประกาย ปลุกกระแส ตาม “ข่าวในแต่ละช่วงเวลา” ให้ชาวโซเชียลช่วยกันอธิบาย สืบค้น อย่างมีความสุขตามสายอาชีพ หมอก็อธิบายแบบหนึ่ง ทนายก็อธิบายแบบหนึ่ง นักข่าวก็อธิบายแบบหนึ่ง อินฟูเอ็นเซอร์ก็อธิบายอีกแบบ ผู้อ่านก็เข้ามาช่วยอธิบายในแบบของตน เป็นกรณีศึกษาในห้องเรียน ให้เข้าไปดูพฤติกรรมชาวโซเชียล ที่ช่วยอธิบายเหตุการณ์ตามประสบการณ์ หรือฐานสมรรถนะเฉพาะตน ที่ได้อ่าน ได้ดู ได้ฟังมา แล้วก็อธิบายตามความเชื่อ ซึ่งเป้าหมายของการสื่อสาร เลือกนำเสนอผ่านการเขียน/พูดแสดงออก คือ เพื่อให้ข้อมูล ทั้งเชิงบวก เชิงลบ หรือสร้างสรรค์ มีที่มาของการแสดงความเห็นได้หลายสาเหตุ

http://www.thaiall.com/futureclassroom/

Albert Einstein Quotes. (n.d.). Quotes.net. Retrieved March 14, 2022, from https://www.quotes.net/quote/9276.

หนังสือ เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18

เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง

ใน #สังคมคนรักอ่าน พบเพื่อน ๆ เล่าเรื่องการอ่านหนังสือ แบ่งปันประสบการณ์ เรื่องราวชวนคิด และชวนอ่านหนังสืออยู่เสมอ ทำให้นึกถึงหนังสือเล่มหนึ่ง เป็น limited edition แต่ผมมีโชคได้รับมา 3 เล่ม ด้วยความเมตตา จาก พระครูสิริธรรมบัณฑิต และ พระครูสุตชยาภรณ์ แล้วได้สนทนาธรรมเรื่องงานกฐิน และหนังสือชื่อ “ปักหมุดเมืองไทย บันทึกเรื่องราววัดในจังหวัดลำปาง” หรือ “เส้นทางธรรม วัดจังหวัดลำปาง vol.18” จากการพูดคุยกับพระครูทำให้ผมเข้าใจ และคลายข้อสงสัยเกี่ยวกับความเป็นมาของหนังสือเล่มนี้ได้ชัดเจนขึ้น สำหรับรายละเอียดเนื้อหาในหนังสือจะมีข้อมูลที่เป็นเอกลักษณ์แตกต่างกันไปในแต่ละวัด แต่ภาพในหนังสือสวยสดงดงามกดไลค์ได้ทุกภาพ แต่ใน e-book จะถูกลดความละเอียดลง เพื่อลดเวลาดาวน์โหลดสำหรับการอ่านออนไลน์ ตัวอย่างข้อมูลที่ปรากฎในหนังสือของ วัดมิ่งเมืองมูล ตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง ที่เผยแพร่ข้อมูลรวมพบ 4 หน้า คือ หน้า 74 – 77 มีข้อมูลที่น่าสนใจของวัดในหัวข้อ ความเป็นมา อาคารเสนาสนะ ปูชนียวัตถุ อาณาเขต การบริหารและการปกครอง

หนังสือเล่มนี้พิมพ์จำนวนจำกัด ผมได้มา 3 เล่ม ท่านใดที่อ่าน e-book จาก เว็บไซต์ปักหมุดประเทศไทย หรือตาม qr code ของวัดมิ่งเมืองมูล หรือวัดศรีชุม ไปอ่านความเป็นมา และดูภาพสวยภายในวัด แล้วยังมีความต้องการหนังสือเล่มนี้ฉบับตีพิมพ์ ไว้ในครอบครอง โดยมีเหตุผลอันควรที่ชัดเจน ติดต่อไปที่พระครูที่ดูแลวัดภายในเล่มได้ครับ หรือถามมาที่ผมก็ได้
เพราะผมมีเครือข่ายของพระครูที่ครอบครองหนังสือเล่มนี้อยู่ หากมีเพื่อนมาขอส่วนของผมไปจนหมดแล้ว ก็ยังสามารถประสานจากพระครูส่งหนังสือไปให้ผู้ที่สนใจได้ ถ้าขอหนังสือมาและนำไปใช้ด้วยเหตุผลอันควร ก็เชื่อว่าพระครูท่านจะพิจารณามอบให้เป็นกรณีไป แล้วส่งไปให้ใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ต่อไป

https://pukmudmuangthai.com/detail/20071

http://www.thaiall.com/e-book/

หนังสือ วิทยาการคำนวณ ม.3

มีโอกาสอ่านหนังสือเรียน รายวิชาพื้นฐานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา เทคโนโลยี (วิทยาการคำนวณ) ตามมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 สำหรับ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ผู้เรียบเรียงคือ อาจารย์วรวิทย์ อิศรางกูร ณ อยุทธยา ของ สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ (พว.) มี 191 หน้า มีเนื้อหาน่าสนใจ ซึ่งแบ่งหน่วยการเรียนรู้เป็น 4 หน่วย ดังนี้ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชัน” หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 “การรวบรวม ประมวลผล และนำเสนอข้อมูล” หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 “การประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลอ้างอิง และผลกระทบ” หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 “การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างปลอดภัย และถูกต้องตามสิทธิในการนำมาใช้”

พบเนื้อหา ขั้นตอนการพัฒนาแอปพลิเคชัน หน้า 14 พบเครื่องมือที่ใช้ คือ MIT App inventor และ Thunkable ซึ่งอธิบายขั้นตอนการพัฒนามี 2 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ 1 “การพัฒนาแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลข” ตัวอย่างที่ 2 “การพัฒนาแอปพลิเคชันตอบคำถาม” แล้วต่อยอดการใช้ blockly ในการพัฒนาโปรแกรมสำหรับอุปกรณ์ iot เช่น บอร์ด KidBright ร่วมกับหลอดไฟ USB หน้า 51 โดยใช้โปรแกรม KidBright IDE บนเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือเขียน python ควบคุมบอร์ด Raspberry Pi 3 สั่งควบคุมการเปิดปิดไฟ หน้า 63 ซึ่งล้วนแต่เป็นเรื่องที่น่าสนใจสำหรับการใช้ซอฟต์แวร์ทั้งแบบ no code และ code ที่เป็นชุดคำสั่งสำหรับควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ iot ในปัจจุบัน

http://www.thaiall.com/programming/thunkable.htm

7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ว่า เตรียมตัวตกงาน ชอบครับ จึงสรุปใหม่เพื่อนำไปแชร์ต่อ

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์
ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์

อ.อดิศักดิ์ แชร์บทความมาในกลุ่มบุคลากร
เรื่อง “7 ข้อคิดสำหรับอาจารย์มหาวิทยาลัย ที่ต้องเตรียมตัว-เตรียมใจตกงาน
ใน manager online 2 มกราคม 2560
ผมตามบทความของ ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ ที่เพื่อน ๆ แชร์มาให้อ่านเสมอ
ครั้งนี้ท่านเล่าว่ามีเพื่อนอาจารย์ “ลาออก”
แล้วฝากคำแนะนำไว้ 7 ข้อสำหรับ “อาจารย์รุ่นน้อง” ที่อายุน้อยกว่า 40 ปี

http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9600000000252https://www.facebook.com/Life101.Co.Ltd/photos/a.163584947075166.25005.163576530409341/986938344739818/

เมื่อผมได้อ่านที่ ดร.อานนท์ เขียนแล้ว
.. ก็สรุปเป็นคำพูดที่จะนำไปพูดคุยกับนักศึกษาต่อไป
หากต้องการรายละเอียดฉบับเต็ม คลิ๊กลิงค์ของ manager ด้านบนได้ครับ

1. ลดอัตตา
อย่าคิดว่าเราเป็นที่สุด ในความจริง ไม่มีใครเหนือใคร
ความรู้ของคนเราเป็นแบบ intersection
คนไม่จบ ดร. ไม่มีตำแหน่ง ผศ. ที่เก่งทั้งทฤษฎี และปฏิบัติก็เยอะ
ควรผูกมิตร และยกย่องเขา ปรับตัวเรา และ make friend และ adapt

2. เปลี่ยนจากศูนย์กลางแห่งความรู้เป็นศูนย์กระจายความรู้
ต้องเปลี่ยนจาก Knowledge Guru เป็น Knowledge Facilitator
หาของใหม่จากภายนอก มาสอนนิสิตนักศึกษา และแชร์ความรู้บ่อย ๆ
พาลูกศิษย์ และตัวเองไปเจอเวทีหรือคนข้างนอกบ้าง
สมัยนี้เวที หรือ idol หรือ group หรือ conference หรือสื่อสังคม มีเยอะ

3. อย่าขาดการติดต่อกับโลกภายนอกมหาวิทยาลัย
มีอะไรอยู่ภายนอกมากมาย โลกพัฒนาไปเร็ว
เราติดตาม ปรับตัว และเปลี่ยนแปลงเท่าทันการเพิ่มขึ้นของความรู้หรือไม่
ได้พยายามรับรู้ และมีส่วนบ้างรึเปล่า
ที่สำคัญอย่าทำตัวเป็นผู้ตามความรู้อย่างเดียว
ถ้าให้ดีต้องเขียนความรู้ เป็น primary มากกว่า secondary อย่างเดียว

4. หมั่นเช็ค Rating ของตัวเอง
สังคมนอกมหาวิทยาลัยยอมรับเราไหม เรารับงานข้างนอกบ้างไหม
ตัวเราสะท้อนถึงลูกศิษย์ ก็เหมือน แม่ปูกับลูกปู
ถ้าเราเองยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม แล้วลูกปูจะเดินตรงได้อย่างไร

5. อย่าเจ้ายศเจ้าอย่าง
หัวข้อนี้น่าจะเตือนเรื่องความรู้สึกเหนือคนอื่น และการเอาใจเขามาใส่ใจเรา
ความไม่มีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน ไม่แบ่งปันรายได้ที่ได้รับจากสังคม
แต่ไปเบียดบังเพื่อนร่วมงานที่ไม่มีรายได้เหมือนตน
ถ้ามีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน แบ่งปัน ความเจ้ายศเจ้าอย่างก็จะลดลง

6. ทำกิจกรรมเพื่อสังคม
ออกบริการสังคมโดยใช้องค์ความรู้ ดังคำว่า “การให้มีความสุขมากกว่าการรับ”
หรือการทำ CSR นั่นเอง ถ้าทำ 5 ข้อแรกได้ ข้อนี้ก็น่าจะหมุนไปเอง
หากเป็นอาจารย์ก็นำงานวิจัยไปช่วยเหลือสังคม

7. ให้ทุนนิสิต
หากทำ 6 ข้อได้ ก็จะมีโอกาสทำข้อ 7 คือ การแสวงหาแหล่งทุน
มาสนับสนุนนิสิต นักศึกษา หรือเพื่อนอาจารย์ และหมุนวนไปทำ 6 ข้อแรกต่อไป

อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค มาครับ ขอแชร์

karnaugh in digital technique
karnaugh in digital technique

ตื่นเช้าครับ ก็อ่านหนังสือดิจิตอลเทคนิค
ของ น.อ.ธวัชชัย เลื่อนฉวี พ.ต.อนุรักษ์ เถื่อนศิริ
เล่มที่ผมมีพิมพ์ครั้งที่ 15 เมื่อ พฤษภาคม 2543

หนังสือมี 6 บท
1. ระบบตัวเลข
2. รหัส
3. พีชคณิตบูลีน และการออกแบบวงจรลอจิก
4. แผนผังคาร์โนท์
5. การเข้ารหัสและการถอดรหัส
6. ฟลิป ฟลอป

http://www.thaiall.com/digitallogic/

บทที่ 1 พูดเรื่องเลขฐาน แล้วก็พูดถึงเทคโนโลยี
ว่าเราใช้ฐาน 2 (Binary number) ฐาน 16 (Hexadecimal number)
มีแบบฝึกหัด และตัวอย่างละเอียดมากในบทนี้
ผมว่าต้องมีนักวิชาการนอกสายไอที
ตั้งคำถามว่า “ในชีวิตจริงต้องใช้เลขฐานด้วยหราาาา”
อยากชวนไปดูหนังเรื่อง “inferno”
ชอบคำพูดตอนท้าย ๆ ที่บอกว่า “เธอคิดว่า เธอกู้โลก”
ก็จริงนะ
แต่ละคนมีวิธีช่วยกู้โลกแตกต่างกันไป พระเอกกู้อีกแบบหนึ่ง

บทที่ 2 แปลงอักษรเป็นตัวเลข
ถ้าดูหนังเรื่อง Matrix หรือ Source code Movie
จะรู้ว่า ข้อมูล (Data) ที่เราเห็น เข้าใจ และตีความอยู่
ในทางไอที เค้าเก็บ 0 กับ 1 คือด้วยหลักสภาวะทางไฟฟ้า
แล้วก็มีการ encode และ decode ตลอดเวลา
ซึ่ง BCD (Binary-Coded Decimal) ก็ใช้แทน 0-9
ก็เป็นหัวข้อให้เรียนรู้การเข้ารหัสและถอดรหัสอย่างง่าย
ชีวิตจริงใช้ ASCII กับ Unicode ในปัจจุบัน

บทที่ 3 Boolean Algebra
สรุปว่าเป็นเรื่องของ และ (and) กับ หรือ (or)
แล้วแทนด้วยสัญลักษณ์ที่ชื่อ Gate และ Truth Table
อ่านแล้วนึกถึงอดีตของคนเขียนกฎด้านหนึ่ง
ในคู่มือสมัยนั้น เค้าเขียนว่า “และ” แต่เจตนารมณ์คือ “หรือ”
ซึ่งภาษาไทยก็ยืดหยุ่นครับ
เหมือนเขียนว่าวงจรจะส่งสัญญาณ “ออกเป็น 0 และ 1
ซึ่งบางคนจะค้านว่า “ออกเป็น 0 หรือ 1

บทที่ 4 แผนผังคาร์โนห์ ซึ่งผมชอบบทเรียนนี้
อ่านแล้วสนุก ตีความตามภาพ ออกมาเป็น 0 กับ 1
หรือฟังก์ชันคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อนได้เลย
เอาเรื่องนี้คุยกับนักศึกษาทีไรก็สนุกครับ
เหมือนตาราง XO นั่นหละ ถ้าเป็นตาราง 9 ช่อง
มีหลักที่เล่นแล้วไม่มีวันแพ้ มีแต่ชนะ กับเสมอนั่นหละครับ
แต่ Karnaugh ไม่ได้มี 9 ช่องนะครับ
เค้ามี 4 หรือ 8 หรือ 16 หรือมากกว่านั้น
จากที่มาของเลขฐาน 2 ที่กระทำต่อกัน

บทที่ 5 เข้ารหัส (Encode) และถอดรหัส (Decode)
คือการแปลงจากรหัสหนึ่งเป็นอีกรหัสหนึ่ง
เป็นเรื่องเกี่ยวกับดิจิตอลเทคนิคอย่างชัดเจน
ตัวอย่างที่ชัดเลย คือ ส่ง BCD Code แล้วแปลงเป็นเลขฐาน 10
เอาวงจรนี้ไปควบคุมหลอด LED ให้แสดงเลขดิจิตอล
ตัวอย่าง ให้นึกถึงเลขดิจิตอลตามสัญญาณไฟจราจรในอดีต
ว่าเลข 1 ตัว ใช้หลอดไฟคุม 7 ดวง ถ้าเลข 8 ก็สว่างทุกดวง
หัวข้อนี้เหมาะกับคนที่จะต่อยอดทางอิเล็กทรอนิกส์
ผมล่ะนึกถึง อ.ทรงเกียรติ ขึ้นมาเลย เห็นท่านแชร์เรื่อง IoT ตลอด

บทที่ 6 ฟลิป ฟลอป คือวงจรที่มี output เป็น 0 หรือ 1 อีกนั่นหละ
เค้าออกแบบ ไว้ 4 แบบที่เล่าในหนังสือเล่มนี้
คือ RS Flip Flop, D Flip Flop, T Flip Flop, JK Flip Flop
เพื่อแนะนำว่าแต่ละ Flip Flop มีเงื่อนไขการทำงานอย่างไร
อาจนำไปประยุกต์ทำงานกับวงจรที่ใหญ่ขึ้นในอนาคต

electronic logic
electronic logic

FIN magazine “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย”

fin magazine
fin magazine

พบนิตยสารอีกเล่า คือ FIN Magazine ฉบับ “ส่งเสด็จสู่สวรรคาลัย
เป็นนิตยสารแจกฟรี Special issue

contents
– ๙ พระบรมราโชวาท
– ภาพวาดฝีพระหัตถ์
– ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์
– รูปที่มีทุกบ้าน

https://app.box.com/s/p4zivvscwjmp7njtuky152zrp7tt8ugz
http://www.4shared.com/office/SmEadZU5ce/finmagazine.html
https://1drv.ms/b/s!Ao3SSLS4TV2thQyEUvHFfSAERuwU
https://www.dropbox.com/s/53h0gh0zvx18neu/finmagazine.pdf?dl=0
https://drive.google.com/open?id=0B57tftxwECsiQnNYN2dMZ1JGaXM

๙ พระบรมราโชวาท
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
1. การทำงาน
2. ความรู้ตน
3. ความพอเพียง
4. ความดี
5. ความซื่อสัตย์
6. ความคิด
7. การให้
8. หน้าที่
9. ความสงบหนักแน่น

พูดคุยกับนักศึกษา ด้วย 4 คำถาม คือ ชวนฝัน ชีวิตจริง เป้าหมาย การไปถึงเป้าหมาย

วิกฤตหนังสือ
วิกฤตหนังสือ

หลังปิดภาคเรียนเป็นเวลาหลายเดือน
และเปิดภาคเรียนมาแล้ว 1 เดือน ก็ยิงคำถามไป 4 คำถาม
ที่ต่อเนื่องกัน ดังนี้
คำถามที่ 1 – ทำไมต้องอ่านหนังสือ
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาคิดว่าการอ่านหนังสือดีอย่างไร
สิ่งที่ทราบจากนักศึกษา คือ ข้อดีสารพัดจากการอ่านหนังสือ

คำถามที่ 2 – หนึ่งเดือนที่ผ่านมาอ่านหนังสืออะไรบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนนักศึกษาสำรวจตนเองว่าหนังสือดีนั้น อ่านไปกี่เล่ม
ประสบการณ์ของนักศึกษาแต่ละคนก็จะแตกต่างกันไป
ในการอ่านหนังสือก็จะแตกต่างกันไป

คำถามที่ 3 – ถ้าสำเร็จการศึกษาแล้ว อยากทำงานเกี่ยวกับอะไร
คำตอบ …
เพื่อชวนมองหาเป้าหมายของชีวิตหลังสำเร็จการศึกษา
ในสายไอทีเรามีทางเลือกที่ค่อยข้างหลากหลาย
ถ้าใครที่วางแผนชีวิตไว้ ก็จะมีเป้าหมายชัดเจน
ถ้ายังไม่ชัดเจน ก็ต้องรอให้เค้าค่อย ๆ คิดกันต่อไป

คำถามที่ 4 – การไปถึงเป้าหมาย ต้องอ่านหนังสืออะไรกันบ้าง
คำตอบ …
เพื่อชวนมองลงไปว่าหนังสือที่จำเป็นต้องอ่าน อ่านกันบ้างรึยัง
นักศึกษาบางกลุ่มคงตอบได้เป็นฉาก ๆ ว่าวางแผนชีวิตอย่างไร
บางกลุ่มอาจทำได้แค่ชวนคิด กระตุ้นให้ไปหาหนังสือมาอ่านเท่านั้น
บางกลุ่มเป้าหมายยังไม่ชัดเจน ก็คงไม่รู้จะอ่านหนังสืออะไรไปอีกระยะหนึ่ง

http://www.thaiall.com/readbookt

อ.ธรรมรัตน์ คําสิงห์นอก แจกข้อสอบเอกคอมพิวเตอร์

computer examination
computer examination

วันนี้ได้รับ link PDF ข้อสอบ 3 ชุด ๆ ละ 100 ข้อ
จาก อ.ธรรมรัตน์ คําสิงห์นอก ตามที่ท่านเคยแจ้งไว้ว่า
“เมื่อแชร์แล้ว แจ้งอีเมลไว้ในช่อง comment ด้านล่าง”
แล้วผมก็ post e-mail ไว้ใน comment
วันนี้ 31 มกราคม 2559 ท่านก็ส่งลิงค์ให้ download PDF
มาให้ download โดยง่าย ขอบคุณครับ
+ https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1231494380200801&set=a.602048833145362.151862.100000207524617
+ http://118.174.137.36/krurin/New%20directory/%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%84%E0%B8%B4%E0%B8%A1/
+ http://loadfree.mobi/movie-download/59Qxf12JkLM/1150
+ https://www.youtube.com/watch?v=59Qxf12JkLM

สรุปว่าท่านใดสนใจข้อสอบ
ติดต่อท่านได้ทาง fan page ข้างล่างนี้
+ https://www.facebook.com/ClipTueCom/

ขั้นตอนการใช้ Storage ของ Google
– แฟ้ม PDF ท่านแชร์ผ่าน Google Drive
– แล้วแชร์ลิงค์มาให้ทางอีเมล
– เปิดตามลิงค์ด้วยอีกอีเมลหนึ่ง ติด permission
– ถ้าเปิดโดยอีเมลที่อาจารย์ส่งให้ถึงจะ download ได้

ชวนคิดเปลี่ยนห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่สาม

อ่านหนังสือที่บ้าน
อ่านหนังสือที่บ้าน

ภาพประกอบจาก http://www.thaiall.com/readbookt
ติดตามข้อมูลข่าวสารเชิงพัฒนาในต่างประเทศ
ประทับใจแนวคิดเชิงนวัตกรรมมากมายที่ปรากฏในสื่อ
บางแนวคิดก็ได้แต่มอง บ้างก็ไม่เห็นด้วย

บุรินทร์ รุจจนพันธุ์
บุรินทร์ รุจจนพันธุ์

บ้าง ก็อยากนำมาใช้ เช่น การทำให้ห้องสมุดเป็นบ้านหลังที่สาม หากตีความว่าการใช้เวลาในชีวิตอยู่ที่ใดมาก ก็จะเรียกว่าบ้าน ดังนั้น นอกจากบ้านที่ใช้หลับนอนจะเป็นบ้านหลังแรก คงปฏิเสธไม่ได้ว่าบ้านหลังที่สองคือโรงเรียน เพราะตั้งแต่ประถมถึงมหาวิทยาลัย เราใช้ชีวิตไปมากกว่า 16 ปีตั้งแต่เริ่มจำความได้

ตามที่ปรากฏในสื่อของสิงคโปร์ และมีการนำมาแบ่งปันในไทย มีพาดหัวว่า The library : Your third home พบว่า สถิติการเข้าห้องสมุดจำนวน 21 ห้องสมุดในปี 2544 มีผู้เข้าไปใช้ถึง 28 ล้านครั้ง ในปี 2546 มีผู้เข้าใช้ 31.2 ล้านครั้ง ปี 2554 มีผู้เข้าใช้ 37.5 ล้านครั้งในเครือข่าย 25 ห้องสมุด ซึ่งพบว่ามีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จำนวนประชากรจะมีเพียง 5 ล้านคน และกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรเป็นสมาชิกห้องสมุดโดยการดูแลของคณะกรรมการห้องสมุดแห่งชาติ (NLB = National Library Board) ที่สนับสนุนโดยภาครัฐอย่างจริงจัง

แม้จำนวนการเข้าใช้บริการ และยืมหนังสือจะเพิ่มขึ้น แต่ด้วยเทคโนโลยี RFID (Radio Frequency Identification) และเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้ห้องสมุดไม่จำเป็นต้องเพิ่มเจ้าหน้าที่ห้องสมุดตามจำนวนการใช้งาน ด้วยการให้บริการที่มีประสิทธิภาพ ทำให้ปัจจุบันจะพบการเข้าแถวรอรับบริการมีน้อยมากด้วยระบบการจัดการห้องสมุด (EliMS = Electronic Library Management System) ที่ จะช่วยตอบคำถามตามความต้องการของผู้ใช้บริการ ทำให้จำนวนผู้เข้าแถวรอรับบริการที่เคาน์เตอร์ลดลง เวลาส่วนใหญ่ก็จะใช้ไปกับการจัดหนังสือเข้าชั้น ห้องสมุดมีจุดคืนหนังสืออัตโนมัติ 24 ชั่วโมง และไม่ต้องกลับไปคืนหนังสือที่ห้องสมุดเดิม แต่สามารถคืนที่ใดก็ได้ที่เป็นจุดรับคืนหนังสือ และที่ตั้งห้องสมุดก็จะไปอยู่ในสถานที่ต่างๆ ที่สะดวกในการใช้บริการทั่วประเทศ การปรับปรุง และออกแบบให้ห้องสมุดเป็นสถานที่น่าเข้าไปใช้บริการก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำ ให้ห้องสมุดมีผู้เข้าไปใช้บริการเป็นจำนวนมาก

มองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย พบว่า สถิติการอ่านของคนไทยอยู่ในระดับต่ำ สืบเนื่องจากการไม่รักการอ่านหนังสือ หรือหนังสือที่มีอยู่ไม่น่าอ่าน หรือสถานที่อ่านหนังสือไม่น่าเข้าไปใช้บริการ ก็ล้วนรวมกันแล้วส่งผลให้ร้านหนังสือจำนวนไม่น้อยพบวิกฤติทางเศรษฐกิจ และปิดตัวเองไป สำนักพิมพ์ที่จัดทำหนังสือหรือนิตยสารก็ต้องแข่งขันกันสูง เป็นผลให้ปัจจุบันแผงจำหน่ายนิตยสารจะมีแต่ภาพหญิงสาวที่แต่งกายด้วยเสื้อ ผ้าน้อยชิ้นเป็นที่ชินตาเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ผ่านไปมาให้เลือกซื้อ หนังสือโดยพิจารณาจากหน้าปก

ส่วนนโยบายการยุบโรงเรียนขนาดเล็กของรัฐบาลก็มีการให้เหตุผลว่า งบประมาณของภาครัฐมีจำกัดการจะให้งบประมาณสนับสนุนโรงเรียนที่มีนักเรียนไม่ ถึง 60 คน เท่ากับโรงเรียนที่มีนักเรียนหลายพันคน แต่มีคุณภาพของหนังสือและห้องสมุดเท่ากันคงไม่เหมาะสม หากยุบโรงเรียนเล็กหลายโรงเรียนเป็นโรงเรียนเดียว แล้วทุ่มงบประมาณลงไปก็จะทำให้ได้ห้องสมุดที่มีคุณภาพและเป็นแหล่งเรียนรู้ หลักของโรงเรียน แต่นโยบายการยุบโรงเรียนมีประเด็นละเอียดอ่อนอยู่ไม่น้อย ก็เชื่อว่าจะมีการพิจารณาในประเด็นต่างๆ รอบด้านก่อนตัดสินใจ

แต่นโยบายของภาครัฐที่จะพัฒนาห้องสมุดประชาชนในประเทศไทยยังต้องรอดูกันต่อไป เพราะยังเห็นรูปธรรมไม่ชัด เมื่อเดินเข้าไปในห้องสมุดประจำอำเภอ หรือประจำจังหวัดก็ต้องเข้าใจว่างบประมาณน้อย และกลายเป็นสถานที่ที่ไม่น่าเข้าไปใช้บริการด้วยข้อจำกัดเรื่องจำนวน และคุณภาพของหนังสือในห้องสมุด รวมถึงความสะดวกในการใช้บริการ หากจะให้คนไทยมองว่าห้องสมุดคือบ้านหลังที่สามคงต้องพัฒนาอย่างจริงจัง และใช้เวลาอีกนาน

ค่านิยมเรื่องการอ่านของคนไทยที่หวังว่าจะเพิ่มสถิติการอ่านให้สูงขึ้น เริ่มมีอุปสรรคชัดเจนตั้งแต่เริ่มมีความเชื่อว่าทุกอย่างค้นหาได้จาก google.com ทำให้ความสนใจที่จะซื้อหนังสือจากร้านหนังสือลดลง เนื่องจากทุกอย่างหาอ่านได้ในอินเทอร์เน็ต ประกอบกับค่านิยมที่มีต่อเครือข่ายสังคมจนหลายคนอาจมองว่าบ้านหลังที่สามคือ โซเชียลเน็ตเวิร์ค (Social network) ที่มี facebook.com เป็นที่มั่นสำคัญหลังการเชื่อมต่อออนไลน์ทุกครั้ง ค่าสถิติ เมื่อต้นปี 2556 พบว่า เมืองหลวงของประเทศไทยเป็นอันดับหนึ่งของโลกที่มีสมาชิกเฟซบุ๊คสูงที่สุด มีบัญชีผู้ใช้สูงถึง 12.8 ล้าน ในภาพรวมของประเทศมี 18.3 ล้านบัญชี คิดเป็นร้อยละ 27 ของจำนวนประชากรที่ใช้เฟซบุ๊ค และค่าสถิติการใช้เฟซบุ๊คย่อมหมายถึงการดึงความสนใจของคนไทยออกจากการอ่าน หนังสือ เนื่องจากต้องให้เวลากับเฟซบุ๊คมาก ทำให้มีเวลากับการอ่านหนังสือลดลง

แล้วอนาคตของห้องสมุดไทยจะเดินไปทางใดก็ต้องฝากไว้กับรัฐบาลไทยที่จะผลัก ดันให้ห้องสมุดไทยอยู่ในใจคนไทย ด้วยการพัฒนาระบบการศึกษาให้คนไทยรู้ว่าการเรียนรู้ตลอดชีวิตมีความสำคัญกับ การดำรงชีวิตเพียงใด ถ้าจำนวนผู้เห็นความสำคัญของการเรียนรู้ตลอด ชีวิตมีเพิ่มขึ้น สถิติการอ่านหนังสือก็จะเพิ่มขึ้น จำนวนห้องสมุดที่ดี และมีชีวิตชีวาก็จะเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว ก็หวังว่าวันนั้นจะมาถึงในเร็ววัน

แหล่งอ้างอิง
! http://news.voicetv.co.th/global/75568.html
! http://newspapers.nl.sg/Digitised/Page/today20030306-1.1.3.aspx
! http://fbguide.kapook.com/view55860.html

โดย : ผศ.บุรินทร์ รุจจนพันธุ์ กรุงเทพธุรกิจ

! http://bit.ly/17e934p
! http://blog.nation.ac.th/?p=2808

ปรุงจากใจ ให้นักอ่านทุกคน (Book Baristas 2012)

book baristas
book baristas

ท่านที่รักการอ่านและใฝ่หาหนังสือคู่ใจ เมื่อแวะบูทของ NMG จะได้พบเล่า Book Baristas ซึ่งเป็นนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น มาแนะนำหนังสือที่น่าสนใจ นักศึกษาทั้ง 6 คนที่เสพติดการอ่าน จะคอยบริการให้คำแนะนำที่บูท M15 โซน C ชั้น 1 ตั้งแต่ 10 โมงถึง 3 ทุ่ม ระหว่าง 18 – 28 ตุลาคม 2555 ในมหกรรมหนังสือระดับชาติครั้งที่ 17

Book lovers who visit NMG booths at the BookExpo Thailand will meet the ‘Book Baristas’ – Nation University students who can recommend interesting books to them. The six Book Baristas, who have a passion for reading, are waiting to serve book lovers at the NMG booths in M15 Zone C on the first floor of the Queen Sirikit National Convention Centre. The event opened Thursday and runs until October 28,2012. It is open from 10am to 9pm.

http://www.nationmultimedia.com/specials/nationphoto/show-new.php?pid=14532

http://www.facebook.com/KhonMorning/posts/439115882802934

book barista
book barista

http://news.voicetv.co.th/thailand/54192.html

http://www.youtube.com/watch?v=VP9xzGxD6CU

http://www.youtube.com/watch?v=WOfHX_8M96k