admin

ปฏิญญาเจ็ดข้อ แทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย”

คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
เครือเนชั่น ผนึกภาครัฐ-เอกชน มอบรางวัลคนดี ในโครงการแทนคุณแผ่นดินปีที่ 6 นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ห่วงผู้ใหญ่ห่างเหินลูกหลาน คนขาดศรัทธาครู-วัด-พระ ขาดแหล่งบ่มเพาะความดี สุทธิชัย หยุ่น ประกาศดันโครงการแทนคุณแผ่นดินสู่ประชาคมอาเซียน ชูปฏิญญา 7 ข้อ อนาคตประเทศไทย
15 พฤศจิกายน 2555 14.00น. บริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ร่วมกับพันธมิตรหน่วยงานรัฐและเอกชนจัดโครงการ “แทนคุณแผ่นดิน ปี 2555” “77 ต้นแบบคนดี สู่ 65 ล้านคนดีทั่วไทย” ที่ห้องเลอ คองคอร์ด บอลรูม ชั้น 2 โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพฯ โดยมีการมอบรางวัลคนดีแทนคุณแผ่นดินให้แก่บุคคลผู้ทำดีในสาขาอาชีพต่างๆ 77 คน จาก 77 จังหวัด รางวัล “เยาวชนต้นแบบคนรุ่นใหม่” 6 คน รวมถึงรางวัล “องค์กรต้นแบบ” 6 องค์กร
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม วัฒนชัย องคมนตรี ประธานในพิธี กล่าวเปิดงานว่า คนดีมีความสำคัญอย่างมากสำหรับทุกแผ่นดิน ทำให้ทุกประเทศมีอารยธรรมและวัฒนธรรม ยกย่องคนดีเพื่อให้อารยธรรมและวัฒนธรรมของประเทศยั่งยืน หากประเทศใดยกย่องอารยธรรมและวัฒนธรรมที่ไม่ดี ประเทศนั้นก็ต้องวิบัติสิ้นสุดลง การส่งเสริมให้คนเป็นคนดีจะต้องเริ่มตั้งแต่เด็กเล็กๆ โดยปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ ปลูกฝัง ให้ลูกหลานทำความดี และได้รับการอบรมสั่งสอนจากครูและพระสงฆ์ ซึ่งเป็นการสอนโดยบ้าน โรงเรียนและวัด แต่ในยุคสมัยใหม่ น่าห่วงเพราะปู่ ย่า ตา ยายและพ่อ แม่ ห่างเหินจากลูกหลาน ไม่ได้ใกล้ชิดกันเช่นในอดีตจึงไม่มีโอกาสได้อบรมสั่งสอนให้ทำความดี ครูจะสอนความดีให้แก่เด็กก็ต้องระวังจะถูกฟ้องศาลปกครอง ขณะที่วัดและพระสงฆ์ก็มีคำถามว่า เป็นพระแท้หรือไม่ เพราะปัจจุบันมีข่าวเกี่ยวกับพระสงฆ์ขึ้นหน้า 1 หนังสือพิมพ์เกือบทุกวัน
ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม กล่าวต่อไปว่า การดำเนินโครงการแทนคุณแผ่นดินช่วง 6 ปีนี้ จึงคัดเลือกพระสงฆ์ที่ปฏิบัติดีเพื่อให้สังคมและประเทศได้รับรู้ว่ายังมีพระ แท้อยู่ และอยากให้ครูสอนความดีให้แก่เด็กอย่าเน้นกวดวิชา หากสอนแต่ความเก่งไม่สอนความดี จะก่อให้เกิดความเสียหายได้ นอกจากนี้ปัจจุบันสื่อมวลชนมีอิทธิพลต่อความคิดของคนไทยอย่างมาก ทั้งเด็กผู้ใหญ่และคนแก่ หากสื่อตระหนักในบทบาทและมีความรับผิดชอบช่วยกันสร้างคนดีให้สังคม โดยการสร้างความดีใส่สมองคนไทยก็จะช่วยสร้างคนไทยให้เป็นคนดีได้จำนวนมาก
“ผม ขอฝากว่า ขอให้คนไทยศรัทธาในความดี อย่าหลงทางใช้ความไม่ถูกต้องนำมาซึ่งความร่ำรวย จะทำให้บ้านเมืองล่มจม ขอให้ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อแม่ ช่วยกันอบรมสั่งสอนเด็กไทยตั้งแต่เล็กๆ ให้รู้จักว่าอะไรดี อะไรชั่ว อย่าคด อย่าโกง หากทุกคนช่วยกันเชื่อว่าในอนาคตเราจะได้เห็นคนรุ่นใหม่เป็นคนดีอย่างที่เรา อยากให้เป็น” องคมนตรี กล่าว

นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น กล่าวว่า โครงการแทนคุณแผ่นดินดำเนินการมาเป็นปีที่ 6 ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อยกย่องผู้ทำความดีและเป็นแบบอย่างการทำความดีให้แก่ สังคมและประเทศ จนถึงปัจจุบันมีผู้ได้รับรางวัลทั้งหมด 332 คน ซึ่งได้มีการต่อยอดโครงการด้วยการจัดเวทีเสวนาดีต่อดีใน 4 ภูมิภาค โดยนำผู้ได้รับรางวัล 100 คนจาก 26 กลุ่มจังหวัดไปแลกเปลี่ยนปัญหาและระดมความคิดเห็นกระทั่งได้ข้อสรุปออกมา เป็นปฏิญญาแทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย” จำนวน 7 ข้อด้วยกัน
“ทุก ภาคส่วนของสังคมไทยต้องช่วยกันส่งเสริมความดีเพราะช่วยให้ประเทศไทยสงบสุข และอยู่ได้อย่างสง่างามท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของโลกและการเข้าสู่ประชาคมอา เซียน ซึ่งบริษัทเนชั่นและพันธมิตรภาครัฐและเอกชน จะนำโครงการแทนคุณแผ่นดินเผยแพร่ต่อไปยังประเทศในกลุ่มสมาชิกประชาคมอาเซียน 9 ประเทศเพื่อแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยก็มีมาตรฐานความดีไม่ด้อยกว่าประเทศ อื่นๆ และจะส่งเสริมให้ความดีของไทยเป็นความดีของประชาคมอาเซียนด้วย” นายสุทธิชัย กล่าว

นายปิติพันธ์ เทพปฏิมากรณ์ รองกรรมการผู้จัดการ ใหญ่ ทรัพยากรบุคคลและศักยภาพองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท ปตท.สนับสนุนโครงการแทนคุณแผ่นดินเพราะสอดคล้องกับนโยบายของบริษัทที่มุ่ง สร้างสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ดี ซึ่งความดีจะเป็นรากฐานของสังคมไทยและก่อให้เกิดความมั่นคงในประเทศไทย จึงอยากให้จำนวนคนทำความดีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และมีหลากหลายอาชีพทั่วประเทศไทย เชื่อว่าโครงการแทนคุณแผ่นดินจะช่วยจุดประกายให้คนไทยทำความดี ซึ่งต้องร่วมกันตอบแทนบุญคุณแผ่นดินด้วยการทำความดีซึ่งแผ่นดินนี้เป็นแผ่น ดินของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นพ่อของคนไทยทุกคน
นางรุ่งฟ้า เกียรติพจน์ ผอ.ด้านการบริหารแบรนด์ และสื่อสารการตลาด บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทร่วมสนับสนุนโครงการแทนคุณแผ่นดินเพราะเป็นโครงการที่สอดคล้องกับ นโยบายของบริษัท ซึ่งมุ่งสร้างคนดีให้แก่แผ่นดิน โดยบริษัททรูฯ ได้จัดโครงการทำดีให้พ่อดู ตั้งแต่ปี 2549 และต่อมาจัดทำโครงการดูที่พ่อทำเผยแพร่ข้อมูลบุคคลที่ทำความดีและเผยแพร่พระ ราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านเว็บไซต์ของโครงการ ซึ่งก่อนหน้านี้จะดำเนินโครงการเหล่านี้ บริษัทตั้งใจจะทำโครงการถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อตอบแทนพระองค์ท่านที่ทรงเหน็ดเหนื่อย ลำบากตรากตรำเพื่อคนไทยมาโดยตลอด และโครงการแทนคุณแผ่นดินก็มีเป้าหมายเดียวกัน จึงมาร่วมกับบริษัทเนชั่น ดำเนินโครงการ เพื่อส่งเสริมให้คนไทยทำความดี โดยไม่กลัวความเหนื่อยยาก ไม่ให้ความดีหายไปจากแผ่นดินไทย
จากนั้นนายสุทธิชัย ได้นำพันธมิตร หน่วยงานรัฐและเอกชน รวมทั้งผู้รับรางวัลในโครงการแทนคุณแผ่นดิน ประจำปี 2555 ประกาศปฏิญญาแทนคุณแผ่นดินว่าด้วย “อนาคตประเทศไทย” จำนวน 7 ข้อได้แก่
1. จัดสรร อำนาจใหม่ ภาคประชาชนหรือองค์กรชุมชน ต้องเติบโตโดยธรรมชาติ เพื่อทำหน้าที่ถ่วงดุลกับภาครัฐ และองค์กรปกครองท้องถิ่นได้อย่างอิสระ
2. กำเนิด คณะกรรมการประชาสังคม เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และส่งเสริมสิทธิชุมชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในทุกด้านคือ ที่ดิน แร่ ป่า น้ำ ทะเลและชายฝั่ง
3. รวม กลุ่มเกษตรกรรายย่อยในทุกรูปแบบ สร้างกระบวนการเรียนรู้ การทำธุรกิจในระบบตลาด และส่งเสริมให้เกิดโรงเรียนเกษตรกร เพื่อการศึกษาทางเลือก
4. ชุมชนเข้มแข็งมีความเอื้ออาทรต่อกันฟื้นฟูพลังทางศีลธรรมในการกำกับพฤติกรรมของผู้คน และพึ่งพึงตนเองได้ในทางเศรษฐกิจ
5. ประสานพลัง แห่งศาสนา มีจุดร่วมที่ลดความเห็นแก่ตัว มีเมตตากรุณาต่อเพื่อนมนุษย์ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างทางศาสนา ภาษา เชื้อชาติ และอุดมการณ์
6. เสริมสร้างการสาธารณสุขมวลชน มีความมั่นคงด้านสุขภาวะอนามัย สร้างความเข้มแข็งให้ครอบครัวและชุมชน
7. ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการดูแลความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยกลไกตามประเพณีที่ชุมชนเคยมีแต่โบราณกาล
นายวิชาญ สุขปุนพันธ์ วัย 75 ปี ผู้ได้รับรางวัลตัวแทนคนดีจาก จ.สงขลา ข้าราชการครูบำนาญที่ใช้ที่ดิน 40 ไร่ ปลูกต้นไม่นานาชนิดสร้างปอดให้ชุมชน กล่าวว่า รู้สึกดีใจที่ได้รับรางวัลนี้ เหมือนการที่ทำอะไรไปแล้วมีคนมองเห็นก็รู้สึกดีใจและภูมิใจ ตนคิดว่าสิ่งที่ตนทำนั้นน้อยไปด้วยซ้ำ หลังจากนี้ก็อยากจะปลูกต้นไม้ไปเรื่อยๆ จนกว่าร่างกายจะไม่ไหว และขยายการเรียนรู้ให้คนที่อยากจะเรียนรู้ และเป้าหมายคืออยากให้เด็กๆ มาสนใจปลูกป่ามากขึ้น เพราะคุณค่าของป่านั้นมีมหาศาล
ร.ต.ต.สมศักดิ์ บุญรัตน์ รองสารวัตรป้องกันปราบ ปราม สน.บางซื่อ อายุ 58 ปี ผู้ได้รับรางวัลตัวแทนจากจังหวัดกรุงเทพมหานครในฐานะที่ทำงานเป็นตัวแทนครู ข้างถนนมากว่า 12 ปี บอกว่าเป็นอีกรางวัลที่ภูมิใจ ถือเป็นการเติมพลังในการช่วยเหลือเด็กเร่ร่อน วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ได้มาเจอกับคนที่ทำความดีมากมายหลายสาขา ก็มีการแลกเปลี่ยนความรู้กัน เพราะจะได้นำข้อมูลที่ได้จากคนดีไปสอนเด็กๆ ได้ต่อ ตอนนี้ก็หวังว่าจะมีการฝึกอาชีพ เราก็เป็นเหมือนจิ๊กซอว์หนึ่งที่ช่วยเด็กเหล่านั้นให้มีงานทำ และพยายามจะขยายจากเด็กไปในชุมชนที่เป็นต้นตอของปัญหาเด็กเร่ร่อน
โครงการแทนคุณแผ่นดิน ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทั้งจากภาครัฐและเอกชนโดยมีองค์กรผู้ร่วม สนับสนุนดังนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด โรงพยาบาลไทยนครินทร์ บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) บริษัท อิคิวตี้ เรสซิเดนเชียว เจ้าพระยา จำกัด บริษัท เนอวานา ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด บริษัท เฟรเกรนท์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด และบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)
พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิร่วมเป็นคณะกรรมการกิตติมศักดิ์ คัดเลือกคนดีแทนคุณแผ่นดิน นำโดย ศ.เกียรติคุณ นพ.เกษม ท่านผู้หญิงจรุงจิตต์ ทีขะระ รองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ นายมีชัย วีระไวทยะ อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสมชาย เสียงหลาย ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นพ.มงคล ณ สงขลา อดีตปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายเฉลิมเกียรติ แสนวิเศษ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพิเศษ เพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นพ.อำพล จินดาวัฒนะ เลขาธิการคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ ดร.ศิรินา โชควัฒนา ปวโรฬารวิทยา ประธานกรรมการ บริษัท บูติค นิวซิตี้ จำกัด (มหาชน) นายสุรพล ดวงแข กรรมการองค์การอิสระด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานเครือเนชั่น นายเสริมสิน สมะลาภา รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และน.ส.ดวงกมล โชตะนา กรรมการผู้อำนวยการ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

บัณฑิต ม.เนชั่น แสดงความในใจ

สัมภาษณ์บัณฑิต สาขาวิชาระบบสารสนเทศ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ  แสดงความในใจหลังจากสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเนชั่น ในพิธีประสาทปริญญาบัตร แก่บัณฑิตและมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเนชั่นลำปาง ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (วันเดียวกับวันโลกแตก) ซึ่งประเด็นที่ศิษย์สะท้อนก็จะเป็นหลักสูตร อาจารย์ โปรเจค และงานที่ทำ

! http://77.nationchannel.com/home/317512/

1. บัณฑิต นวลถนอม ไร่นากิจ
http://www.youtube.com/watch?v=LQcUL1OddaY
2. บัณฑิต วัลลียา ปุ๊ดสา
http://www.youtube.com/watch?v=oNm7ux1CYNA
3. บัณฑิต ภาวิณี อินติ๊บ
http://www.youtube.com/watch?v=OGeKOJf-wH8
4. บัณฑิต นันทวัฒน์ ธีรวัฒน์วาที
http://www.youtube.com/watch?v=L6eGH9ZMYkE
5. บัณฑิต วณัฐพงศ์  สุวรรณศิลป์
http://www.youtube.com/watch?v=7ahXG0x47Oo
6. บัณฑิต รพีพรรณ ใจเที่ยง
http://www.youtube.com/watch?v=Lo9waDdDR_8
7. บัณฑิต หทัยทิพย์ ขัติยะ
http://www.youtube.com/watch?v=HQYOI8HO9cs
8. บัณฑิต ปทุมพร เมืองเมา
http://www.youtube.com/watch?v=ObvKX_u26Rc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2412

บทความตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม

http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg
http://www.thaiall.com/e-book/coop.jpg

จากบทความ เรื่อง การพัฒนาตัวแบบปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม (Key Success Factors Participative Co-op Education Development Model) โดย วันชาติ นภาศรี ธวัชชัย แสนชมภู สิริรัตน์ เลิศมีมงคลชัย
เสนอว่า ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม มีดังนี้
1. การสนับสนุนของผู้บริหารระดับสูง (Top Management Support)
2. การมีความรู้ ความเข้าใจในพันธกิจสหกิจศึกษา (Co-op Mission)
3. การจัดโครงสร้างงาน ระบบ & กลไก (Organization Management)
4. การจัดการความรู้สหกิจศึกษา (Co–op Knowledge Management)
5. การจัดทำแผนกลยุทธ์/คู่มือการปฏิบัติงาน (Co-op Schedule/Strategy Plan)
6. การสร้างการยอมรับ เห็นคุณค่า และประโยชน์ร่วมกัน (Stakeholder Acceptance)
7. การปรึกษาหารือ การให้คำแนะนำ การนิเทศ  (Consultation)
8. การติดต่อสื่อสาร การประสานงาน (Communication)
9. การจัดการทรัพยากร  (Resource Management)
10. เครือข่ายความร่วมมือ (Net Working)
11. การแก้ไขปัญหา และอุปสรรคที่เหนือความคาดหมาย (Troubleshooting)
12. การติดตามประเมินผล และการรับรู้ข้อมูลป้อนกลับ  (Monitoring Evaluation & Feedback)

แล้วมีข้อเสนอแนะการนำไปประยุกต์ใช้กับสถาบันอุดมศึกษา ว่าควรพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ดำเนินการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันของตนเอง วิเคราะห์สภาพแวดล้อม (SWOT Analysis) เพื่อประเมินศักยภาพ ความพร้อมตามองค์ประกอบ เงื่อนไข คุณลักษณะของตัวชี้วัดความสำเร็จสหกิจศึกษาที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วม ขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และนักศึกษา
2. ดำเนินการจัดการความรู้สหกิจศึกษา ปรัชญา แนวคิดพื้นฐาน หลักเกณฑ์ ขั้นตอน วิธีการดำเนินงาน ระบบและกลไกการประสานงาน จัดทำเป็น “คู่มือการจัดการศึกษาระบบสหกิจศึกษา” และการจัดการความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์ออนไลน์ (Internet) ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามบริบทของสถาบันอุดมศึกษานั้นๆ
3. จัดอบรม สัมมนาความรู้ ความเข้าใจ เตรียมความพร้อม ประชาสัมพันธ์เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสหกิจศึกษาให้บุคลากร อาจารย์/เจ้าหน้าที่ นักศึกษา องค์กรผู้ใช้บัณฑิต และประชาชนทั่วไปได้รับทราบ
4. ขยายเครือข่ายองค์กรผู้ใช้บัณฑิต การรับรู้เห็นคุณค่า คุณประโยชน์ของคณาจารย์ในทุกหลักสูตร การขยายหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนสหกิจศึกษา เพื่อรองรับนักศึกษาสหกิจศึกษา อย่างต่อเนื่อง
5. การบริหารจัดการตาม “ตัวแบบ 12 ปัจจัยความสำเร็จสหกิจศึกษาแบบมีส่วนร่วม”

http://www.facebook.com/media/set/?set=a.564684180212384.139685.506818005999002
http://www.scribd.com/doc/118643661/

! http://blog.nation.ac.th/?p=2427

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21
1. ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช
ประธานกรรมการมูลนิธิสถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม
http://www.kmi.or.th/
ให้เด็กเป็นผู้เลือกทั้งหมดก็ไม่ได้
เพราะเด็กยังไม่โต ยังคิดกว้างขวางไม่ได้
การศึกษาต้องเข้าไปช่วยเข้าไปจัดการอะไรต่าง ๆ
2. นพ.ประเสริฐ  ผลิตผลการพิมพ์
เลขาธิการมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
http://www.thaissf.org/
จำนวนความรู้เพิ่มขึ้นมหาศาล
เราไม่ต้องการเด็กที่รู้เยอะ ท่องเก่ง เรียนเก่งแต่เพียงอย่างเดียว
อยากได้เด็กที่ใฝ่รู้ อยากเรียนรู้ของใหม่เรื่อย ๆ รู้วิธีที่จะเรียนรู้
มีทักษะการเรียนรู้ที่เรียกว่า learning skill
แล้วก็มีทักษะการใช้ชีวิต life skill
http://www.youtube.com/watch?v=2hz15t6Zao0

ศตวรรษที่ 21
http://www.p21.org/

1. สาระวิชาหลัก ได้แก่
ภาษาแม่และภาษาสำคัญของโลก
ศิลปะ คณิตศาสตร์ เศรษฐศาสตร์
ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์
รัฐ และความเป็นพลเมืองที่ดี

2. แนวคิดสำคัญที่ควรรู้
– ความรู้เกี่ยวกับโลก
– ความรู้ด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ ธุรกิจ และการเป็นผู้ประกอบการ
– ความรู้ด้านการเป็นพลเมืองที่ดี
– ความรู้ด้านสุขภาพ
– ความรู้ด้านสิ่งแวดล้อม

3. ทักษะสำคัญ 3 เรื่อง
3.1 ทักษะชีวิต และการทำงาน
– ความยืดหยุ่นและการปรับตัว
– การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง
– ทักษะด้านสังคมและทักษะข้ามวัฒนธรรม
– การเป็นผู้สร้างหรือผลิตและความรับผิดชอบเชื่อถือได้
– ภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ
3.2 ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม
– ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และนวัตกรรม
– การคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา
– การสื่อสารและความร่วมมือ
3.3 ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
– ใช้และประเมินสารสนเทศได้อย่างเท่าทัน
– วิเคราะห์และเลือกใช้สื่อได้อย่างเหมาะสม
– ใช้เทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. โครงสร้างพื้นฐาน 4 ด้านเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้
– มาตรฐานและการประเมินในศตวรรษที่ 21
– หลักสูตรและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21
– การพัฒนาครูในศตวรรษที่ 21
– สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้

5. เปลี่ยนเป้าหมายจาก “ความรู้” สู่ “ทักษะ”
เปลี่ยนจากครูเป็นหลัก
เป็นนักเรียนเป็นหลัก
เรียนโดยการปฏิบัติที่เรียกว่า PBL : Problem Based Learning
โดยครูเป็นเพียงโค้ช (Coach) หรือครูฝึก ที่คอยช่วยเหลือ

6. เด็กจะได้ฝึกทักษะต่าง ๆ
– การตีโจทย์
– ค้นคว้าหาข้อมูล
– ตรวจสอบและประเมินข้อมูล
– เลือกสิ่งที่เหมาะสมมาใช้
– ได้ฝึกปฏิบัติจริง
– เพิ่มทักษะในการศึกษา
– การนำเสนออย่างสร้างสรรค์
– ฝึกการทำงานเป็นทีม
– แลกเปลี่ยนความรู้ร่วมกัน
– ต่อยอดไปสร้างเป็นองค์ความรู้ของตนเองต่อไป

7. ครูต้องมีทักษะที่สำคัญ คือ สร้างแรงบันดาลใจ
ทำให้เด็กมีพลัง มีไฟ ก็จะมีชีวิตชีวาในการเรียน

8. การเรียนรู้แบบ PBL
ไม่มีกรอบ มีเสรีภาพทางปัญญา เพราะเราไม่สนใจคำตอบ
สนใจกระบวนการหาคำตอบ
โจทย์ข้อหนึ่งมีวิธีตอบเยอะแยะ
เราสนใจการทำงานของกลุ่มและการเรียนรู้จากการทำกระบวนการเรียนรู้
การวัดมิใช่เพื่อประเมินได้ผล
แต่เป็นการวัดเพื่อประเมินความก้าวหน้า
เด็กทุกคนมีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองไปเรื่อย ๆ

9. การบ้านมีเพื่อให้เด็กมีความรู้
การบ้านสมัยใหม่ เช่น ปลายปีแสดงละครเช็คสเปียร์
แก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น เพราะมุ่งมั่นกับสิ่งที่เป็นระยะยาว และทำงานร่วมกันเป็นทีม
เป็นการเรียนรู้ที่ครูไม่ได้สอนด้วยวิธีการบอกให้ท่องจำแบบเดิม

10. สมัยใหม่ความรู้มหาศาลจนไม่รู้จะสอนอะไรให้เด็ก
จึงไม่แปลกที่ครูสักคนหนึ่งจะไม่รู้ จึงต้องมีเครื่องมือช่วยครู
คือ PLC = Professional Learning Commitee
การรวมตัวของครูที่จะเรียนรู้ “เรียนรู้การทำหน้าที่ครูยุคใหม่”
สิ่งที่สำคัญ คือ ร่วมกันทำ ดีกว่าทำคนเดียว เป็น “ชุมชนการเรียนรู้ครู”
– ช่วยกันออกแบบการเรียนรู้ของเด็ก
– ช่วยพัฒนาเพื่อให้เด็กมีทักษะที่จำเป็นสำหรับศตวรรษที่ 21

11. แนวคิดการศึกษาต้องเปลี่ยนจากที่เราคุ้นเคย
เปลี่ยนแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เยอะมาก
ถ้าเรียนแบบปัจจุบันส่งผลต่อสังคมอย่างไร
– วัยรุ่นจะเสียคน ไม่สนุก น่าเบื่อ
– ทั้งชาติยุ่ง เพราะเรียนเพื่อได้ความรู้อย่างเดียว ไม่ได้ทักษะ
ไม่มีวิจารณญาณ ไม่ได้ critical thinking
ถ้าทำได้สังคมเราก็จะยกระดับขึ้น

! http://blog.nation.ac.th/?p=2435

หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น

โครงการการจัดการความรู้ (Knowledge Management)
เรื่อง หลักการเขียนโครงการวิจัยเพื่อชุมชนท้องถิ่น
เพื่อการรับทุนสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก
ณ ห้อง 1203 อาคารบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเนชั่น
วันที่ 25 มกราคม 2556 เวลา 9.00-11.00น

ดร.สุจิรา หาผล
กล่าวเปิดงาน ชี้แจงที่มาที่ไป กระบวนการ และวิธีการในการจัดการความรู้ครั้งนี้

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ตาม Powerpoint
ในหัวข้อ “หลักการเขียนโครงร่างงานวิจัย”
ซึ่งส่วนประกอบของโครงร่างงานวิจัย ประกอบด้วย
1. ชื่อเรื่อง
2. บทคัดย่อ
3. ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย
4. วัตถุประสงค์
5. แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
6. กรอบแนวคิดการวิจัย
7. คำนิยามศัพท์เฉพาะ
8. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
9. สมมติฐาน
10. ขอบเขตการวิจัย
11. ระเบียบวิธีวิจัย
12. ข้อตกลงเบื้องต้น
13. เอกสารอ้างอิง

เปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรื่อง “ชื่อเรื่อง”
อ.วราภรณ์ เล่าว่า มีประกาศทุนวิจัย 2 เรื่องมานำเสนอ
– ศูนย์ประสานการศึกษานโยบายที่ดิน ปี 2556
– การแก้ไขปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิของชุมชนตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๖๗ วรรคสอง

อ.วราภรณ์ เรืองยศ
– เปรียบเทียบเรื่องทุนสร้างบ้าน กับทุนวิจัย ที่ต้องสมเหตุ สมผล
– เล่าเรื่องทุนวิจัยเกี่ยวกับการท่องเที่ยว ที่ขอไป 10 กว่าล้าน แต่ถูกตัดเหลือ 3 ล้านเศษ

อ.วิเชพ ใจบุญ
เล่าว่าชื่อที่เคยตั้งมามีกระบวนการอย่างไร
การใช้ต้นไม้ชุมชนในการเก็บข้อมูล
ต้องลงไปคลุกคลีกับชาวบ้าน ทั้งแจ้ห่ม แม่ทะ และนิคมพัฒนา

อ.ดร.สุจิรา หาผล
บอกว่ากว่าจะได้หัวข้อมา ต้องใช้เวลามาก
หัวข้อต้องตรงกับผู้ให้ทุน และความต้องการของชุมชน

อ.ดร.อติชาต หาญชาญชัย
การเขียนบทนำ และวรรณกรรม
ต้องให้ความสำคัญกับที่มาที่ไป
แนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้งานวิจัยมีความน่าเชื่อถือ และตั้งอยู่บนหลักการที่เกี่ยวข้อง
ต้องค้นมาก ต้องอ่านมาก และอ้างอิงให้ตรง

อ.ปวินท์รัตน์ แซ่ตั้ง
http://www.prawinrat.com/
ได้ทุนจากเครือข่ายภาคเหนือตอนบน
เกี่ยวกับผ้าทอน้ำแร่ เมืองปาน
แลกเปลี่ยนว่างานวิจัยต้องใช้เวลา ทำให้ครบทุกเรื่องที่สามารถทำได้
ต้องลงมือจริง ทุ่มเท และทำให้ครบวงจร
มีทั้งภาพ คลิ๊ป เว็บไซต์ ที่เกิดในพื้นที่จริง ได้ผลงาน และนำไปขายได้จริง

อ.ดร.สุจิรา  หาผล
เล่าว่าการศึกษาตำนาน เรื่องเล่าของอำเภอต่าง ๆ มีกระบวนการมากมาย
ทั้งเชิงคุณภาพ วิพากษ์โดยนักวิชาการ ใช้แบบสำรวจ และวิพากษ์ผลโดยชุมชน
การเลือกคน เลือกปราชญ์ชาวบ้านเป็นเรื่องสำคัญ และต้องเขียนเรื่องของแต่ละอำเภอถึง 13 เล่ม
หลังได้รับทุนก็จะมีการติดตามจากผู้ให้ทุน และมีข้อเสนอแนะที่ทำให้แผนอาจต้องถูกปรับเปลี่ยน

อ.โอปอล์ รังสิมันตุชาติ
เล่าว่าการขอทุนวิจัยสำหรับงานวิจัยระดับปริญญาโท
มีแหล่งทุนสนับสนุนจาก สกว.อย่างต่อเนื่อง ซึ่งตนได้รับจากเชียงใหม่
และมีกระบวนการคล้ายกับทุนวิจัยทั่วไป

! http://blog.nation.ac.th/?p=2438

ประกาศ ก.พ.อ. เรื่องหลักเกณฑ์ตำแหน่งทางวิชาการ

น้องบดี จากภาคอีสาน ผู้คร่ำหวอดในแวดวงวิชาการ ได้ส่งประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2555 และประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการพิจารณาแต่งตั้งบุคคลให้ดำรงตำแหน่ง  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์  (ฉบับที่ 7) พ.ศ.2555 มาให้อ่าน พอสรุปได้ว่าฉบับที่ 6 ให้นิยมของผลงานทางวิชาการใหม่ ลักษณะคุณภาพ และทิศทางที่กำหนด ส่วนฉบับที่ 7 แก้ไขประเด็นเรื่องที่สภาฯ รับไว้แล้ว และอยู่ในระหว่างดำเนินการให้ใช้เกณฑ์ปี 2550 [เป็น] ใช้ของปี 2555 แทน

+ http://www.mua.go.th/law.html

+ http://www.personnel.psu.ac.th/per10.html
ประกาศฉบับที่ 6 มี 3 ประเด็นสำคัญ ดังนี้
1. นิยามของความหมายของ ผลงานวิชาการใหม่ ทดแทนปี 2550
(1) ผลงานแต่ง หรือเรียบเรียง ตำรา หนังสือ หรือบทความทางวิชาการซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ. กำหนด  หรือ
(2) ผลงานวิจัย ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด ทั้งนี้ไม่นับงานวิจัยที่ทำเป็นส่วนของการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือประกาศนีย บัตรใด ๆ หรือ
(3) ผลงานทางวิชาการในลักษณะอื่น ซึ่งมีคุณภาพดี และได้รับการเผยแพร่ตามเกณฑ์ที่ ก.พ.อ.กำหนด
2. ผลงานในข้อ 1 ต้องมีลักษณะคุณภาพ 3 องค์ประกอบ
(1) ก่อให้เกิดความรู้ใหม่
(2) มีการวิเคราะห์หรือสังเคราะห์
(3) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือมีผลกระทบต่อการพัฒนาชุมชน สังคม หรือประเทศ
3. ผลงานที่ขอตำแหน่งทางวิชาการต้องมีลักษณะหรือทิศทางต่อไปนี้อย่างน้อยหนึ่งข้อ
(1) สอดคล้องกับศักยภาพหรือทรัพยากรของแต่ละพื้นที่ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์และพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ
(2) เพื่อให้รู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทโลก
(3) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
(4) พัฒนาและส่งเสริมชุมชนหรือสังคมให้มีความเข้มแข็ง
(5) ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อวงวิชาการ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2445

ทีวีดิจิตอลกับการเปลี่ยนแปลงสังคมไทย

เสียงคุณตาคนหนึ่งดังแว่วมาจากร้านรถเข็นริมฟุตบาธ
ว่า “ทีวีดิจิตอล 48 ช่อง จะทำให้ชีวิตเราดีขึ้นจริงหรือ…
เป็นคำถามที่ดูเหมือนง่ายแต่ตอบยาก

 

อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา
อัญญาวีร์ อุนสวัสดิ์อาภา

เพราะหลายสิ่งหลายอย่างที่เกิดขึ้นในสังคมไทยคำว่า “ปริมาณ” กับ “คุณภาพ” อาจไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกัน และบ่อยครั้งคำว่าคุณภาพก็มักไม่เคยเกิดขึ้นกับชีวิตของคนด้อยโอกาสในสังคม

หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 50 ปี ที่แล้ว การเข้ามาของโทรทัศน์ระบบอนาล็อกภาคพื้นดินในประเทศไทยนับว่าเป็นสิ่งแปลก ใหม่ที่สร้างความตื่นเต้นให้กับคนในสังคมไทยไม่น้อย และถ้ากลับไปถามคนรุ่นปู่ย่าตายายในครอบครัวของเราว่าเริ่มดูโทรทัศน์ครั้ง แรกเมื่อใด หลายท่านอาจจะตอบว่า “ไม่รู้” เพราะไม่ได้จดจำหรืออาจหลงลืมไปแล้ว แต่บางท่านที่ความจำยังดีก็อาจจะตอบด้วยแววตาเป็นประกายและบอกเล่าเรื่องราว ได้อย่างละเอียดว่า ประเทศไทยเริ่มออกอากาศรายการโทรทัศน์ในระบบขาวดำเป็นครั้งแรกในสมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เมื่อปี พ.ศ. 2498 โดยใช้ชื่อว่า “สถานีวิทยุโทรทัศน์ไทยทีวีช่อง 4 บางขุนพรหม” แต่ถ้าหากถามท่านต่อไปอีกนิดว่า แล้วโทรทัศน์ในยุคแรกนั้นมีขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ใด ผู้สูงอายุหลายท่านก็อาจตอบคำถามนี้ด้วยสีหน้ายิ้มแย้มและตอบอย่างมั่นใจ มากกว่าเดิมว่า “ก็เพื่อความบันเทิงนะซิ
คำถามดังกล่าว หลายคนอาจตอบได้ไม่ยากนักเนื่องจากบทบาทหน้าที่ ดังกล่าวของโทรทัศน์ได้ถูกตอกย้ำและรับรู้กันอย่างแพร่หลายนับตั้งแต่ยุคแรก เริ่มของการเปิดสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งแรกเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2498 จวบจนกระทั่งถึงปัจจุบันสถานีโทรทัศน์ก็ยังคงทำหน้าที่ในการสร้างความ บันเทิงมาโดยตลอดแต่อาจมีรูปแบบ เนื้อหา และวิธีการนำเสนอแตกต่างกันไปตามยุคสมัยและเทคโนโลยีการสื่อสาร เช่น รายการโทรทัศน์ที่ออกอากาศในยุคแรกส่วนใหญ่เป็นการออกอากาศหรือแสดงสดในห้อง ส่ง (สตูดิโอ) ที่มีขนาดเล็กและมีฉากจำกัด แต่เมื่อมีการพัฒนาด้านเทคโนโลยีสื่อสารในระยะต่อมา รายการโทรทัศน์จึงมีทั้งการออกอากาศสด การบันทึกเทป และผลิตรายการได้ทั้งในและนอกสตูดิโอ
อย่างไรก็ดี บทบาทหน้าที่ของโทรทัศน์ในยุคแรกไม่เพียงแต่ให้ ความบันเทิงเท่านั้นแต่ยังมีบทบาทหน้าที่แอบแฝงหรือซ่อนเร้นทางการเมือง เช่น ในยุคของจอมพล ป. พิบูลสงคราม รายการโทรทัศน์นอกจากจะให้ความบันเทิงแล้วยังทำหน้าที่ในการปลูกฝังแนวคิด ชาตินิยมและในยุคสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้ใช้สถานีโทรทัศน์เป็นเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อและสร้างความชอบธรรม จากการยึดอำนาจจากจอมพลป. พิบูลสงครามภายหลังจากการปฏิวัติสำเร็จ จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้นำงบประมาณจากหน่วยงานทหารมาดำเนินการจัดตั้งสถานีโทรทัศน์เป็นแห่งที่ 2 ขึ้นในประเทศไทยและใช้ชื่อว่า “สถานีกองทัพบกช่อง 7” ระบบขาวดำในปี พ.ศ. 2500
ท่ามกลางกระแสการพัฒนา ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของ จอมพล พลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2504 เป็นต้นมา สถานีโทรทัศน์ก็ได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาจากโทรทัศน์ระบบขาวดำมาสู่โทรทัศน์ระบบสีในปี พ.ศ. 2510 การพัฒนาช่องฟรีทีวีในประเทศไทยทั้ง 6 ช่อง ซึ่งประกอบด้วย ช่อง 3 ช่อง 5 ช่อง 7 ช่อง 9 ช่อง NBT และช่อง Thai PBS รวมทั้งการพัฒนาระบบเคเบิลทีวีและทีวีดาวเทียมแต่เป็นที่น่าสังเกตว่า การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ในสังคมไทยที่ผ่านมา (ก่อนการปฏิรูปสื่อปี พ.ศ. 2540) รัฐมีอำนาจแบบเบ็ดเสร็จในการจัดสรรคลื่นความถี่วิทยุโทรทัศน์และคลื่นโทร คมนาคม รวมทั้งการให้สัมปทานช่องสถานีโทรทัศน์กับผู้ประกอบการทั้งภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชนส่งผลให้สถานีโทรทัศน์โดยส่วนใหญ่ถูกครอบงำโดยกลุ่มองค์กรธุรกิจการ เมืองซึ่งมุ่งเน้นผลประกอบการทางธุรกิจและอำนาจทางการเมืองมากกว่าผล ประโยชน์ของประชาชน
จากการครอบงำสื่อ ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ปี พ.ศ. 2535 และการครอบงำสื่อของกลุ่มธุรกิจทางสถานีโทรทัศน์ช่องไอทีวี ปี พ.ศ. 2538 (ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอสในยุคปัจจุบัน) ได้ปิดกั้นการทำหน้าที่ของสื่อที่ถูกต้องและเที่ยงตรง ส่งผลให้เกิดการปฏิรูปสื่อในระยะต่อมา ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน ปี พ.ศ. 2540 กำหนดให้คลื่นความถี่เป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประเทศทั้งในระดับชาติ ระดับท้องถิ่น และการแข่งขันเสรีและเป็นธรรมตามรัฐธรรมนูญมาตรา 40 รวมทั้งการเกิดขึ้นของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 47 ปี พ.ศ. 2550 เพื่อทำหน้าที่จัดสรรโครงข่ายและแผนแม่บทกำหนดให้ผู้ประกอบกิจการดำเนิน ธุรกิจให้ถูกต้องตามกฎหมาย
อาจกล่าวได้ว่า การเกิดขึ้นของทีวีดิจิตอล 48 ช่องปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตามองเพราะเป็นอีกหนึ่งบทพิสูจน์ของ กสทช.ว่า จะนำพาสังคมไทยให้หลุดพ้นจากการครอบงำสื่อของรัฐและกลุ่มธุรกิจที่ ยาวนานกว่า 50 ปี หรือไม่ เนื่องจากหลักเกณฑ์ในการจัดสรรคลื่นให้กับบริการชุมชนบริการสาธารณะ และบริการธุรกิจยังอยู่ในช่วงโค้งสำคัญ รวมทั้งประเด็นการเข้าถึงพื้นที่สื่อสาธารณะของคนทุกกลุ่มโดยเฉพาะผู้ด้อย โอกาสก็ยังเป็นด่านสำคัญที่ กสทช.จะต้องฝ่าฟันไปให้ได้
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

Google Apps for Education

ตารางงาน Google Apps for Education Conference#1 at KMUTT

9:00 น. – 9:30 น.
ลงทะเบียน
9:30 น. – 10:30 น.
แนะนำโครงการ Google Apps for Education Supporting Program
โดย คุณ Janet Yoon, หัวหน้าโครงการ GASP จาก Google Singapore and Philippine
และ จากผู้บริหารซีอาร์เอ็ม ชาริตี้
10.30 น. -11.30 น.
สัมมนาหัวข้อ “ทำไม มจธ. จึงตัดสินใจใช้เครื่องมือการเรียนการสอนของ Google Apps for Education”
โดยผู้บริหารระดับสูง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
11:30 น. – 12:00 น.
ช่วงถามตอบคำถามโดย Google และ มจธ.
13:00 น. – 14:00 น.
สัมมนาหัวข้อ “การประยุกต์ใช้ Google Apps ในการเรียนการสอน และการบริหาร ”
โดย รองศาสตราจารย์ ดร. พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
14.00 น. – 15.00 น.
สัมมนาหัวข้อ “หนึ่งปีกับ Google Apps for Education ของม.ขอนแก่น”
โดย ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี, รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ม.ขอนแก่น

มีหลายลิงค์น่าสนใจนะครับ

http://www.google.com/enterprise/apps/education/

http://gapps.kku.ac.th/

http://www.google.com/a/nation.ac.th

google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th
google apps of nation.ac.th และ std.nation.ac.th

Space have 25 GB  for nation.ac.th account
เริ่มใช้บริการ มกราคม 2012

ตัวอย่าง Feature ของ google apps for education ใน ม.ขอนแก่น

tools for student
tools for student

Introduction to Google Apps Vault (Add-on = purchased)

Google Apps Vault is an add-on for Google Apps that lets you retain, archive, search, and export your organization’s email for your eDiscovery and compliance needs. Vault is entirely web-based, so there’s no need to install or maintain any software.

With Google Apps Vault, you can:

—-
มข. จับมือ Google ร่วมพัฒนาส่งเสริมศักยภาพด้านไอที ให้นักศึกษาและบุคลากร
เติมเต็มความต้องการผู้ใช้งานอีเมล์ พร้อมกระตุ้นการติดต่อสื่อสารผ่านโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างมีคุณค่า
สืบเนื่องจากปัญหาระบบ e-mail โดเมน kku.ac.th ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ไม่ สามารถเชื่อมต่อกับระบบอื่นของมหาวิทยาลัย และไม่สามารถรองรับความต้องการของผู้ใช้ได้เต็มที่ ทางคณะผู้บริหาร และรองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ร่วมหารือกับทีมงานจาก Google ในการพัฒนาระบบ Google Apps for Education ซึ่งทาง Google ให้ความช่วยเหลือโดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยไม่สามารถติดต่อกับศิษย์เก่าผ่านช่องทางอีเมล์ kku.ac.th ได้ เพราะไม่ถูกใช้อย่างต่อเนื่อง มข.จึงต้องการพัฒนาระบบเพื่อตอบสนองความต้องการให้กับนักศึกษาใหม่ ศิษย์ปัจจุบัน และบุคลากร จากเหตุผลที่กล่าวมาจึงเป็นจุดประสงค์ของการพัฒนาและทำให้ มี Google Apps for Education ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น

Google Apps for Education นอกจากจะเป็นอีเมล์ที่ใช้งานได้ทั่วไปแล้ว จากเดิม Gmail จะให้พื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูล 7 GB แต่เมื่อนักศึกษาและบุคลากร มข. เข้าใช้อีเมล์ที่เป็นของ มข.ภายใต้การพัฒนาร่วมกันกับ Google จะได้พื้นที่เก็บข้อมูลเพิ่มถึง 25 GB ฟรีและไม่มีโฆษณา พร้อมทั้งหน้าจอของเว็บเมล์จะมีลักษณะเฉพาะที่แสดงถึงความเป็น มข. อีกทั้งยังสามารถใช้ได้ตลอดชีวิตถึงแม้จะจบการศึกษาไปแล้วก็ตาม โดยนักศึกษาจะชื่ออีเมล์เป็น user@kkumail.com ส่วนบุคลากรจะใช้ชื่ออีเมล์เดิม คือ user@kku.ac.th

นอกจากนี้จุดเด่นของ Google Apps for Education ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องมือที่จะช่วยอำนวยความสะดวกในด้านการศึกษา เครื่องมือทำงานร่วมกัน All Corporation Tool แล้ว ในการพัฒนาในครั้งนี้ เครื่องมือต่างๆในระบบของ Google ยังจะมีการเชื่อมโยงกันกับระบบสารสนเทศของ มข. เช่น การสร้างปฏิทิน การแจ้งเตือน หรือแม้แต่ตารางเรียน เมื่อนักศึกษาลงทะเบียนเรียนกับทางมหาวิทยาลัย ตารางเรียนก็จะเข้าไปอยู่ในอีเมล์ของนักศึกษาทันที พร้อมทั้งสามารถทราบปฏิทินการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ เป็นต้น

ด้าน Mr.Samuel Cheung ตัว แทนจาก Google ที่ดูแลในส่วนของภูมิภาคเอเชีย กล่าวถึง Google Apps for Education ว่า แอพพลิเคชั่นนี้เป็นแอพฯ ที่เกี่ยวกับการศึกษา ที่ได้จัดทำขึ้นมาเพื่อให้นักเรียนนักศึกษาสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากขึ้น และยังสามารถเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยเราเริ่มโปรโมทการใช้ในมหาวิทยาลัยเป็นอันดับแรก และในอนาคตจะเข้าให้ถึงนักเรียนทุกระดับชั้น ตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6

“Google App for Education คือ แอพฯที่มีการใช้งานอยู่ทั่วโลก ในปัจจุบันมีผู้ใช้งานแอพฯนี้มากกว่า 17 ล้านคนทั่วโลกในหลากหลายประเทศ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่โดดเด่นในประเทศไทย เราจึงอยากสนับสนุนงานที่น่าสนใจของทางมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกัน และพร้อมจะช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียนและมหาวิทยาลัยในทุกภาคของเมืองไทย ไม่ใช่แค่ในกรุงเทพมหานครเท่านั้น และที่เราเลือกมหาวิทยาลัยขอนแก่นเพราะเราคิดว่ามหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็น ตัวอย่างที่ดีเยี่ยมที่เราสามารถทำงานร่วมกันได้”

หลังนี้ Google จะเข้ามาเพิ่มศักยภาพระบบ อีเมล์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้สะดวกมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งนักศึกษาและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะสามารถใช้แอพฯ ต่างๆ ของ Google ได้ โดยไม่ต้อง เข้าสู่ระบบไปในหลายเว็บ หรือไม่ต้องสมัคร Gmail แถมยังไม่มีโฆษณา ซึ่งระบบนี้นักศึกษาทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันสามารถทดลองใช้งานได้จริง แล้วที่ https://sites.google.com/site/kkuggappsedu และในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม จะมีการใช้งานอย่างเป็นทางการพร้อมการแนะแนวการใช้งานจากทีมงาน Google สำหรับนักศึกษาใหม่ ประจำปีการศึกษา 2555

โค้ชสู่ผู้เล่น…. นิเทศฯบนสนามดิจิทัลทีวี

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน
! http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสาร มวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบ การบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2472

ทำไมไทยต้องเปิดเทอมรับอาเซียน

สถาบันศึกษาของไทย ทั้งส่วนพื้นฐานและอุดมศึกษา ได้เริ่มมีความเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอมเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วอย่างชัดเจนในขณะนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศให้โรงเรียนในระดับการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศปรับเปลี่ยนการเปิดเทอมแรกจากเดิมช่วงเดือนพฤษภาคมไปเป็นต้นเดือนมิถุนายน เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ในระดับอุดมศึกษานั้น มหาวิทยาลัยในกลุ่มเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีการปรับการเปิดภาคการศึกษาแรกจากเดือนมิถุนายนไปเป็นช่วงสองสัปดาห์แรก ของเดือนสิงหาคม

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มีผลให้ช่วงเวลาการรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยกระจายไปตลอดทั้งปีการศึกษา

! bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/nation_u/news-list-1.php

ในความเห็นของผม การปรับเปลี่ยนเปิดเทอมของสถาบันการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้นจะมีผลดี ทำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ในภูมิภาคนี้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังจะมีผลทำให้การพัฒนามาตรฐานสูงขึ้น และการเทียบโอนรายวิชาก็สามารถจะทำได้อย่างสะดวกขึ้นอีกเช่นกัน

บางท่านอาจจะมองว่าการปรับเวลาเปิดเทอมเช่นนี้เป็นการเพิ่มความวุ่นวาย ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายในช่วงเวลาการเปิดเทอมเป็นเรื่องปกติในหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนามาตรฐานการศึกษาเข้าระดับสากล

เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ความคิดที่จะควบคุมหรือกำกับระบบการศึกษาให้ต้องเป็นแบบเดียวกันหมดนั้นเป็น เรื่องฝืนธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งยุคสมัย

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ จึงเป็นการตอกย้ำว่าการศึกษาของไทยเรา จะต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่มาตรฐานใหม่แห่งภูมิภาคในโลกยุคใหม่ที่การศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

นั่นย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องปรับคุณภาพมาตรฐานของการ จัดสอบในระบบกลางของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานการวัด, การประเมินผล, การเทียบแทนหรือเทียบเท่า เกณฑ์การวัดทั้งในส่วนความรู้ความสามารถหรือทักษะในการคิดวิเคราะห์ให้ได้ มาตรฐานที่ประเทศอาเซียนทั้งหลายยอมรับโดยทั่วกัน เพื่อจะได้ พิจารณารับนักศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน

เท่าที่พอจะประเมินได้ ณ ขณะนี้ความพร้อมของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยที่พร้อม จะเข้าสู่ระบบอาเซียนเช่นว่านี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่งจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน 200 กว่าแห่งที่อยู่ในกลุ่ม ทปอ.หรือประมาณ 5% ซึ่งคงจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ปีแรกที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอม และเชื่อว่าน่าจะมีการทยอยปรับตัวได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป

เมื่อทุกภาคส่วนในประเทศมีความตื่นตัวในการปรับตัวให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอีกสองปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในทุก ๆ ด้านแล้ว สถาบันการศึกษาซึ่งควรจะเป็นแถวหน้าแห่งการผลักดันให้เกิดการปรับตัวให้ทัน กับการเพิ่มพลวัตของภูมิภาคก็ย่อมจะต้องเร่งรัดการยกระดับของตนเองอย่าง คึกคักเช่นกัน

Tags : พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
! http://bit.ly/XmrvGc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2484