โค้ชสู่ผู้เล่น…. นิเทศฯบนสนามดิจิทัลทีวี

ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
ชินกฤต อุดมลาภไพศาล

ห้วงเวลาของการประมูลคลื่นความถี่ 3G เพิ่งผ่านไปไม่นาน คณะกรรมการ กสทช. ขยับเร็ว เร่งแก้ปัญหาที่คาราคาซัง ฝันที่รอวันเป็นจริงของใครหลายคน
! http://bit.ly/XXT4iy

ในแวดวงทีวี “ดิจิทัลทีวี” ต่างประเทศออกอากาศไปนานแล้ว เมืองไทยเพิ่งจะเริ่มเข้าสู่ช่วงการประมูลและขอใบอนุญาตการออกใบอนุญาตให้ ออกอากาศในระบบดิจิทัลครั้งนี้มีทั้งหมด 48 ช่อง นอกเหนือจากการออกอากาศในรูปแบบอื่นที่มีอยู่แล้ว อย่าง ฟรีทีวี ในระบบอะนาล็อกแบบเดิม ทีวีดาวเทียม และเคเบิ้ลท้องถิ่นโดยเปิดให้ขอใบอนุญาตตามคุณสมบัติ (Beauty Contest) สำหรับประเภทช่องบริการสาธารณะ 12 ช่อง และบริการชุมชน 12 ช่องส่วนอีกกลุ่มจะเป็นช่องบริการธุรกิจ 24 ช่อง ใช้ลักษณะรูปแบบการประมูล ประกอบด้วย ช่องทั่วไป 20 ช่องและช่องเอชดี 4 ช่อง

สำหรับนักนิเทศฯแล้ว ครั้งนี้น่าจะเป็นมากกว่าการเป็นผู้ติดตามความเคลื่อนไหว วิจารณ์ แสดงความคิดเห็น ด้วยผมได้มีโอกาสเข้าร่วมการประชุมหารือร่างสถานีโทรทัศน์สาธารณะ (Campus TV) ที่กลุ่มสถาบันอุดมศึกษาเอกชนชั้นนำ 7 แห่ง จัดขึ้นอันได้แก่ ม.หอการค้า ม.กรุงเทพ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์ ม.ศรีปทุม ม.อัสสัมชัญ ม.เนชั่น และ ม.หัวเฉียวฯ ถึงแนวทางการยื่นขอจัดตั้งสถานีโทรทัศน์สาธารณะเพื่อการศึกษา ฟังแนวความคิดที่แต่ละสถาบันร่วมถกประเด็นต่างๆ มีความน่าสนใจมาก แนวคิด “ร่วมทุน ร่วมสร้าง ร่วมเผยแพร่สู่สังคม” การร่วมกันผลิตรายการครอบคลุมเนื้อหารายการตั้งแต่ ข่าว เศรษฐกิจ สารคดี บันเทิง และกีฬา เรียกว่าครบทุกอรรถรสของเนื้อหารายการทีวีทีเดียว และสอดคล้องกับลักษณะสถานีโทรทัศน์สาธารณะ ที่กำหนด ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นคลังปัญญา นำความรู้สู่สังคมวงกว้าง เป็นเวทีสร้างคนสู่สนามมืออาชีพ ทำให้รู้สึกอยากกระตุ้นต่อให้หลายภาคส่วนการศึกษา โดยเฉพาะสถาบันอุดมศึกษารัฐ เอกชน น้อยใหญ่ช่วยกันให้เกิดขึ้นจริง

65 ปีที่สังคมไทยมีรายการโทรทัศน์ดูและมากกว่า 40 ปีที่มีการเรียนการสอนนิเทศศาสตร์นิเทศฯ แต่ละมหาวิทยาลัยมีภารกิจที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น บทบาทด้านงานวิจัยวิเคราะห์ปรากฏสื่อในสังคมไทยศิลปวัฒนธรรม และอื่นๆ แต่ภาพที่ฉายออกมาอย่างเด่นชัด คือ ตักศิลาทางนิเทศฯ ผู้ทำหน้าที่ผลิตบัณฑิตสร้างนักสื่อสารมวลชนรุ่นใหม่เข้าสู่แวดวงงานสื่อสาร มวลชน บ่อยครั้งที่นักนิเทศศาสตร์ แสดงบทบาทของการเป็นผู้ทำหน้าที่ ตรวจสอบ วิพากษ์วิจารณ์สื่อในหลากมิติ โครงสร้าง บทบาทหน้าที่ เนื้อหาของสื่อจนคนในแวดวงสื่อเอง คงเกิดคำถามในใจ อยากถามกลับเหมือนกันว่า “ลองมาทำดูไหม อยากเห็นเหมือนกัน ว่ารายการที่ดีควรเป็นเช่นไรเมื่อคนสอนสื่อ ลงมากำกับเอง ทำเอง” อันนี้เป็นคำพูด มุมมองเล็กๆ ที่เพื่อนๆ ในแวดวงสื่อเคยพูดกับผมไว้

พื้นที่…โอกาส…การลงทุน” ครั้งนี้จึงเป็นอีกครั้งที่สถาบันอุดมศึกษาน่าจะลองนำเสนอร่วมกัน ร่วมมือกันในการทำรายการ ให้พื้นที่นักศึกษาในการแสดงความสามารถจากการเรียนการสอนเดิมๆ ที่สอนให้เรียนรู้ในห้องเรียน สตูดิโอ นักศึกษาสร้างผลงาน เผยแพร่ทางสื่อใหม่ หรือส่งเข้าประกวดตามแต่โอกาส งานที่ชนะเลิศที่ถึงจะมีโอกาสออกสื่อกระแสหลักอย่างทีวี หนังสือพิมพ์ มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ที่มีทุนทรัพย์ก็มีโอกาสดีหน่อย ที่จะมีช่องรายการของตัวเอง อย่าง RSU Wisdom แชนเนล ม.รังสิตหรือ ABAC Channel ม.อัสสัมชัญ ยังไม่นับรวมมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งที่จัดการสอนทางไกลผ่านทางโทรทัศน์ หรือภาคเอกชนที่ทำช่องรายการเพื่อการศึกษา แม้จะมีงบประมาณในการดำเนินการ แต่เนื้อหารายการดึงดูด น่าสนใจต่างหากที่จะตรึงกลุ่มผู้ชมให้เป็นแฟนช่องรายการ นับว่าเป็นเรื่องที่หนักหนาเอาการ หลายแห่งเลือกที่จะผลิตรายการเองบางส่วน และมีบริษัทเอกชนร่วมผลิต ยังไม่นับรวมค่าเช่าโครงข่าย ค่าเช่าช่องสัญญาณดาวเทียม โอกาสสำหรับสถาบันการศึกษาขนาดเล็กจึงเกิดขึ้นได้ยาก ขณะเดียวกันหากเป็นช่องดิจิทัลทีวีเหมือนที่กล่าวมา ไม่ว่าจะเป็นสถาบันการศึกษานิเทศฯ เล็กหรือใหญ่ ก็มีโอกาสร่วมกันในการใช้พื้นที่ร่วมกัน กระจายความเสี่ยงในแง่การลงทุน

สร้างสรรค์…มืออาชีพ” นิเทศฯแต่ละมหาวิทยาลัย มีจุดเด่นที่ต่างกันออกไป การสร้างสรรค์ นำเสนอรูปแบบรายการตามความถนัด สร้างบรรทัดฐานใหม่ของการทำรายการทีวี ในฐานะที่นักนิเทศศาสตร์ผู้ทำการศึกษาผู้ที่เข้าใจปรากฏการณ์สื่อ เข้าใจเทคโนโลยี ดังนั้น ก็ควรที่จะเป็นแบบอย่างในการผลิตรายการที่ดี นักศึกษาแต่ละมหาวิทยาลัยก็จะโอกาสใช้เวทีตรงนี้ประชันความสามารถผ่านรูปแบบ การบริหารงานจริงที่นักศึกษาทุกสถาบัน จะต้องคิดรูปแบบ เนื้อหารายการ จัดทำงบประมาณการผลิต นำเสนอรายการไปยังสถานีหากรายการได้รับการอนุมัติ จึงจะได้ผลิตออกอากาศ เกิดการแข่งขันกันสร้างประสบการณ์ทำงานควบคู่กันไปกับประสบการณ์เรียนรู้

ยุคสมัยหนึ่ง
นักวิชาการนิเทศฯ เรียกร้องให้เกิดการปฏิรูปสื่อ เรียกร้องเสรีภาพในการแสดงออก เวลาเหล่านั้นเดินทางมาถึงแล้ว พร้อมหรือยัง ? เหล่าโค้ช ผู้ที่ทำหน้าที่พี่เลี้ยง ผู้ปลุกปั้นนักสื่อสารมวลชน คนรุ่นใหม่ ที่จะลงสนามในฐานะผู้เล่นและโค้ชไปพร้อมกัน แวดวงกีฬามีปรากฏให้เห็น แล้วแวดวงวิชาการหล่ะ ?

เรียบเรียงโดย ชินกฤต อุดมลาภไพศาล
บทความจากกรุงเทพธุรกิจ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2472

ทำไมไทยต้องเปิดเทอมรับอาเซียน

สถาบันศึกษาของไทย ทั้งส่วนพื้นฐานและอุดมศึกษา ได้เริ่มมีความเคลื่อนไหว ปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอมเพื่อให้สอดคล้องกับประเทศอื่น ๆ ในอาเซียนแล้วอย่างชัดเจนในขณะนี้

กระทรวงศึกษาธิการได้มีประกาศให้โรงเรียนในระดับการศึกษาพื้นฐานทั่วประเทศปรับเปลี่ยนการเปิดเทอมแรกจากเดิมช่วงเดือนพฤษภาคมไปเป็นต้นเดือนมิถุนายน เริ่มปีการศึกษา 2557 เป็นต้นไป

ในระดับอุดมศึกษานั้น มหาวิทยาลัยในกลุ่มเครือข่ายที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ได้มีการปรับการเปิดภาคการศึกษาแรกจากเดือนมิถุนายนไปเป็นช่วงสองสัปดาห์แรก ของเดือนสิงหาคม

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้มีผลให้ช่วงเวลาการรับสมัครนักเรียนและนักศึกษาเข้ามหาวิทยาลัยกระจายไปตลอดทั้งปีการศึกษา

! bangkokbiznews.com/home/news/politics/opinion/nation_u/news-list-1.php

ในความเห็นของผม การปรับเปลี่ยนเปิดเทอมของสถาบันการศึกษาของไทยให้สอดคล้องกับประเทศอาเซียนอื่น ๆ นั้นจะมีผลดี ทำ ให้เกิดการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ในภูมิภาคนี้กว้างขวางขึ้น อีกทั้งยังจะมีผลทำให้การพัฒนามาตรฐานสูงขึ้น และการเทียบโอนรายวิชาก็สามารถจะทำได้อย่างสะดวกขึ้นอีกเช่นกัน

บางท่านอาจจะมองว่าการปรับเวลาเปิดเทอมเช่นนี้เป็นการเพิ่มความวุ่นวาย ให้กับนักเรียนและผู้ปกครอง แต่ในความเป็นจริงนั้น ความหลากหลายในช่วงเวลาการเปิดเทอมเป็นเรื่องปกติในหลายๆ ประเทศที่มีการพัฒนามาตรฐานการศึกษาเข้าระดับสากล

เพราะในท้ายที่สุดแล้ว ความคิดที่จะควบคุมหรือกำกับระบบการศึกษาให้ต้องเป็นแบบเดียวกันหมดนั้นเป็น เรื่องฝืนธรรมชาติ ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริงแห่งยุคสมัย

การปรับเปลี่ยนเช่นนี้ จึงเป็นการตอกย้ำว่าการศึกษาของไทยเรา จะต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวสู่มาตรฐานใหม่แห่งภูมิภาคในโลกยุคใหม่ที่การศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดความเจริญก้าวหน้าอย่างมีนัยสำคัญยิ่ง

นั่นย่อมหมายถึง ความจำเป็นที่เราจะต้องปรับคุณภาพมาตรฐานของการ จัดสอบในระบบกลางของประเทศให้เป็นที่ยอมรับและนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ รวมถึงการเป็นที่ยอมรับในมาตรฐานการวัด, การประเมินผล, การเทียบแทนหรือเทียบเท่า เกณฑ์การวัดทั้งในส่วนความรู้ความสามารถหรือทักษะในการคิดวิเคราะห์ให้ได้ มาตรฐานที่ประเทศอาเซียนทั้งหลายยอมรับโดยทั่วกัน เพื่อจะได้ พิจารณารับนักศึกษานานาชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทของการเคลื่อนย้ายแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสถาบัน อุดมศึกษาในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน

เท่าที่พอจะประเมินได้ ณ ขณะนี้ความพร้อมของสถาบันการศึกษาชั้นสูงของไทยที่พร้อม จะเข้าสู่ระบบอาเซียนเช่นว่านี้มีอยู่ประมาณ 10 แห่งจากจำนวนมหาวิทยาลัยทั้งรัฐและเอกชน 200 กว่าแห่งที่อยู่ในกลุ่ม ทปอ.หรือประมาณ 5% ซึ่งคงจะเป็นเพียงปรากฏการณ์ปีแรกที่มีการปรับเปลี่ยนช่วงเวลาการเปิดเทอม และเชื่อว่าน่าจะมีการทยอยปรับตัวได้มากขึ้นในปีต่อๆ ไป

เมื่อทุกภาคส่วนในประเทศมีความตื่นตัวในการปรับตัวให้ได้ประโยชน์สูงสุดจากการรวมตัวเป็น “ประชาคมอาเซียน” ในอีกสองปีข้างหน้าโดยเฉพาะภาครัฐบาลและธุรกิจเอกชนในทุก ๆ ด้านแล้ว สถาบันการศึกษาซึ่งควรจะเป็นแถวหน้าแห่งการผลักดันให้เกิดการปรับตัวให้ทัน กับการเพิ่มพลวัตของภูมิภาคก็ย่อมจะต้องเร่งรัดการยกระดับของตนเองอย่าง คึกคักเช่นกัน

Tags : พงษ์อินทร์ รักอริยะธรรม
! http://bit.ly/XmrvGc

! http://blog.nation.ac.th/?p=2484

Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล

Digital Sphere โลกยุคใหม่ของสื่อดิจิทัล
โดย : อดิศักดิ์ จำปาทอง

เป็นที่เชื่อกันว่า ภายในหนึ่งหรือสองทศวรรษนี้ สื่อดิจิทัลจะครอบคลุมถึง 80% ของสื่อทั้งหมดที่เราบริโภคกันอยู่ ซึ่งในปัจจุบัน เราก็เริ่มที่จะเห็นร่องรอยของการเปลี่ยนแปลงกันบ้างแล้ว

! http://bit.ly/11es1mI

การเกิดของสื่อใหม่ๆ ทุกวันนี้ ล้วนแล้วแต่เป็นสื่อในรูปแบบดิจิทัลทั้งสิ้น ไม่ ว่าจะเป็นโทรทัศน์ดิจิทัล วิทยุออนไลน์ สื่อกลางแจ้งที่มีการควบคุมเนื้อหาสาระจากศูนย์บังคับการ อินเทอร์เน็ต เกมอิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่สื่อที่ใกล้ตัวเรามากที่สุดอย่างโทรศัพท์มือถือที่มีใช้กันอยู่ แทบจะทุกคน โดยเฉพาะเด็กรุ่นใหม่ในเมืองที่เรียกกันอย่างสุดเก๋ว่า สกรีนเอจ (Screen age) เพราะชีวิตของพวกเขาเหล่านี้ เกิดมาไม่ทันไร ฟันยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนมเสียด้วยซ้ำ ก็ไม่พ้นต่อการสื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น ลองสำรวจดูสิครับว่า เกมต่างๆ ที่สอนให้เด็กรู้จักสี รู้จักสัตว์ เกมเรียนภาษาอังกฤษ เกมมือถือ เกมคอมพิวเตอร์ และอะไรต่อมิอะไร ล้วนแล้วแต่สื่อสารผ่านจอกันทั้งสิ้น

ตัวอย่างผู้ใหญ่วัยเกษียณท่านหนึ่ง นึกอยากจะพบปะหน้าตาลูกหลาน จึงอาสาเป็นเจ้ามือเลี้ยงอาหารเย็นในวันคล้ายวันเกิดของหลานชาย พออาหารลงโต๊ะเท่านั้น 8 ใน 10 คนก็ควัก iPad iPhone ขึ้นมา แล้วกดๆๆๆๆๆๆๆๆ โดยไม่สนใจอาหารบนโต๊ะเลย สถานการณ์อย่างนี้ เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะพบเห็นแล้วโดยทั่วไป

นักการสื่อสารเห็นว่า โลกของเราก้าวเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างแท้จริงแล้ว ถึงแม้ว่าอัตราความรู้ความสามารถในทางคอมพิวเตอร์ (Computer literacy) ของบางพื้นที่ยังคงต่ำอยู่ นักการ สื่อสารมองว่า การเข้าสู่ยุคดิจิทัลนี้ จะเป็นการเพิ่มโอกาสและขีดความสามารถของสื่อในการเข้าถึงผู้บริโภค โดยเฉพาะการเข้าถึงด้วยความรวดเร็ว (เกือบจะทันที) และการเข้าถึงผู้รับได้อย่างเป็นส่วนตัวมากขึ้น

ซึ่งนั่นหมายความว่า นักการสื่อสารจะต้องจัดกลุ่ม จัดระดับ และจัดประเภทของกลุ่มเป้าหมายอย่างแยบยล เพื่อสร้างสรรค์เนื้อหาและวิธีการของสื่อให้ชัดเจนและเหมาะสม สอดคล้องกับพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมาย ว่ากันว่า สื่อต่างๆ จะมีความพยายามเรียนรู้พฤติกรรมของผู้บริโภคให้มากขึ้น เพื่อพัฒนาเนื้อหาและรูปแบบของสื่อให้มีความเฉพาะเจาะจง ส่งตรงถึงผู้บริโภครายบุคคลกันเลยทีเดียว

ยิ่งเราเพลิดเพลินกับความสะดวกสบายมากขึ้นเท่าใด สื่อดิจิทัลก็จะเข้าถึงเราได้มากขึ้นเท่านั้น จนกลืนสื่ออื่นๆ ไปเรื่อยๆ และอาจจะหมดไปในที่สุดก็ได้ โดยดูตัวอย่างได้จากสื่อวีดิโอที่หมดโอกาสจะฟื้นคืนชีพขึ้นมาใหม่ไปแล้ว

นอกจากนี้ เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Networking) ก็เป็นเทรนด์ที่กำลังร้อนแรงอย่างมากในช่วงเวลาที่ผ่านมา จนกลายเป็นเรื่องที่นักการตลาดอดไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงและนำมาพิจารณาว่าจะ ใช้งานอย่างไรให้เหมาะกับสินค้าและบริการของตนเองได้บ้าง รวมทั้งมีการคาดการณ์ต่อไปว่า เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์จะเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) เติบโตขึ้นตามไปด้วย

ในปัจจุบันนี้ มีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ทั่วโลกกว่า 500 ล้านราย และคาดกันว่าในประเทศไทยจะมีจำนวนสมาชิกของเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ มากถึง 10 ล้านราย

โฆษณาออนไลน์ (Online Advertising) จึงได้รับการตอบรับมากขึ้นไปพร้อมๆ กับการเติบโตของการสื่อสารผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งจากรายงาน The Wave 3 Report ของ Universal McCann พบว่า ผู้บริโภค 7 ใน 10 ราย จะเข้าไปหาข้อมูลในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ต่างๆ อาทิเช่น เว็บ บอร์ดกลุ่มชุมชนออนไลน์ หรือบล็อกต่างๆ เพื่อหาข้อมูล นอกจากนี้เกือบครึ่งหนึ่ง (ร้อยละ 49) ของผู้บริโภคจะตัดสินใจซื้อจากข้อมูลที่ได้จากเครือข่ายสังคมออนไลน์เหล่า นี้

ประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดของสังคมออนไลน์จะอยู่ในช่วงอายุ 18-24 ปี คิด เป็นสัดส่วนถึง 42% การโฆษณาส่วนใหญ่จึงเน้นรูปแบบการสร้างกระแสนิยมในตราสินค้า (Brand) ที่มีกลุ่มวัยรุ่นและวัยเริ่มทำงานเป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก กลุ่มสินค้าที่นิยมโฆษณาในเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์มากที่สุด ได้แก่ กลุ่ม สินค้าประเภทอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มบริการด้านบันเทิงและท่องเที่ยว และกลุ่มบริการบัตรเครดิต โดยผู้ประกอบการส่วนใหญ่เลือกใช้วิธีการซื้อสื่อผ่านเอเยนซีโฆษณามากกว่าซื้อสื่อโดยตรงผ่านเว็บไซต์ที่ให้บริการโฆษณาออนไลน์

เหตุผลสำคัญที่ทำให้โฆษณาออนไลน์เติบโตขึ้นเพราะสามารถเข้าถึงกลุ่มเป้า หมายได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้แก่ผลิตภัณฑ์ผ่านการบอกเล่าแบบปาก ต่อปาก (Words of mouth) ของสมาชิกในเครือข่าย ทำให้ลูกค้ารู้สึกไม่ถูกบังคับให้ต้องรับฟัง อีกทั้งผู้ประกอบการสามารถใช้เว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์เป็นเครื่องมือ ในการทำ CRM (Customer Relationship Management) เช่น การแสดงความคิดเห็นผ่านเว็บไซต์ ทำให้ผู้ประกอบการรับรู้ Feedback ของกลุ่มเป้าหมายได้อย่างชัดเจนอีกด้วย

ตราบใดที่ธุรกิจยังดำเนินอยู่ โลกของการโฆษณาก็จะพัฒนาต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง

! http://blog.nation.ac.th/?p=2493

ดัน ดิเรก นั่งประธานคุรุสภา

8 กรกฎาคม 2551

นายบุญลือ ประเสริฐโสภา รมช.ศึกษา ธิการ เปิดเผยความคืบหน้าการแต่งตั้งประธานและคณะกรรมการคุรุสภา ว่า หลังจากที่คณะกรรมการสรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการคุรุสภา ได้เสนอรายชื่อผู้ที่ได้รับการสรรหาในตำแหน่งประธาน และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ 7 ด้าน ประกอบด้วย ด้านกฎหมาย ด้านวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การศึกษาพิเศษ อาชีวศึกษา และบริหารการศึกษา โดยเสนอมาตำแหน่งละ 4 รายชื่อเพื่อให้คัดเลือกเหลือเพียงตำแหน่งละ 1 รายชื่อนั้น ขณะนี้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว. ศึกษาธิการและตน ได้ร่วมกันพิจารณาคัดเลือก รายชื่อประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 7 ด้าน และได้นำรายชื่อบอร์ดคุรุสภาดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเรียบร้อยแล้ว ทราบว่าขณะนี้เลขาธิการ ครม.กำลังตรวจสอบรายชื่อและคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อทั้งหมด

รมช.ศึกษาธิการ กล่าวต่อไปว่า ส่วนที่มองว่าการเสนอรายชื่อเพื่อแต่งตั้งเป็นไปด้วยความล่าช้า เนื่องจากมีเด็กฝากนั้น ขอยืนยันว่าไม่มีเรื่องของเด็กฝากแน่นอน แต่สาเหตุที่ทำให้การเสนอชื่อล่าช้าเป็นเพราะต้องมีการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อมาทั้งหมด ซึ่งมีถึง 32 คน แต่ต้องเลือกเหลือเพียง 8 คนเท่านั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ตำแหน่งประธานคณะกรรมการคุรุสภาคนใหม่ ที่ได้รับการสรรหามา 4 รายชื่อ ได้แก่ ดร.ดิเรก พรสีมา อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นายปริญญา กุลกรวยทอง อดีตผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ นายสงขลา วิชัยขัทคะ รองเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา และ ศ.ดร.เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์ ประธานคณะกรรมการคุรุสภาซึ่งรายชื่อที่ รมว. ศึกษาธิการและ รมช.ศึกษาธิการคัดเลือก และ  นำเสนอ ครม. คือ ดร.ดิเรก พรสีมา อดีตรองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง เดลินิวส์

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2439&Key=hotnews

กยศ.อึ้งจำนวนผู้ขอกู้เรียนเกินเป้า 1 แสนราย

8 กรกฎาคม 2551
หลังจากที่กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) ได้ขยายเวลาในการชำระเงินกู้คืน กยศ. จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2551 เป็นวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเช้าวันที่ 7 กรกฎาคม 2551 ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของการชำระเงินกู้ กยศ. ปรากฏว่าที่ธนาคารกรุงไทยสาขาต่าง ๆ ได้มีผู้กู้จำนวนมากที่ครบกำหนดต้องชำระเงินคืนได้ไปติดต่อขอชำระเงินกู้ แต่กลับไม่สามารถชำระได้ เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตของธนาคารเกิดขัดข้อง

ซึ่ง นายบุญชัย ศศิวงศ์   ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารโครงการภาครัฐ บมจ. ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ในช่วงเช้าระบบของธนาคารกรุงไทยมีปัญหาขัดข้องจริง แต่หลังจากนั้นก็ได้ดำเนินการแก้ไขเรียบร้อยแล้ว จึงสามารถรับชำระได้ตามปกติ และหลังจากนี้ผู้ที่มาชำระล่าช้ากว่าที่กำหนดจะต้องจ่ายเบี้ยปรับด้วย โดยกรณีค้างชำระไม่เกิน 12 เดือนจะมีเบี้ยปรับ 12% ถ้าค้างเกิน 12 เดือน เบี้ยปรับ 18% ของยอดที่ค้างชำระ ทั้งนี้คงไม่สามารถยืดเวลาการชำระหนี้ออกไปได้อีกแล้ว  เนื่องจากเป็นระเบียบของ กยศ. ที่กำหนดให้ชำระได้ถึงแค่วันที่ 7 กรกฎาคม 2551

รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน
รศ. นพ. ธาดา มาร์ติน

ด้าน รศ.นพ.ธาดา มาร์ติน ผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) เปิดเผยถึงจำนวนผู้ที่ยื่นขอกู้ยืมประจำปีการศึกษา 2551 ซึ่งหมดเขตยื่นขอกู้ไปเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2551 ที่ผ่านมาว่า จากข้อมูลพบว่ามีผู้มายื่นขอกู้กยศ.ผ่านระบบออนไลน์ทางอินเทอร์เน็ต รวมประมาณ 9 แสนราย ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขที่สูงกว่าเป้าหมายที่ กยศ. คาดการณ์ไว้มาก เพราะ กยศ. ตั้งเป้าไว้แค่ 8 แสนรายเท่านั้น ซึ่งการที่มีผู้ยื่นขอกู้เพิ่มขึ้นจำนวนมากนั้น เนื่องจากรัฐบาลมีการขยายเพดานรายได้ครอบครัวของผู้ที่มีสิทธิกู้ กยศ. จากเดิมรายได้ครอบครัวต้องไม่เกิน 1.5 แสนบาทต่อปี ได้ขยายเป็นไม่เกิน 2 แสนบาทต่อปี จึงทำให้ผู้มีสิทธิขอกู้มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น

 

ขณะนี้ กยศ.กำลังเร่งตรวจสอบคุณสมบัติของผู้ขอกู้ว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ ตลอดจนตรวจสอบข้อเท็จจริง ความจำเป็นของผู้กู้ และงบประมาณที่จะต้องใช้ เนื่องจากเกินกว่าวงเงินที่ กยศ. ได้รับจากสำนักงบประมาณ ดังนั้นขณะนี้จึงยังสรุปไม่ได้ว่าจะให้กู้ได้ตามวงเงินที่กำหนดหรือไม่ หรือจะต้องเสนอของบประมาณเพิ่มเติม แต่ กยศ.จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็วที่สุด” ผจก.กยศ.กล่าว.

 

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.dailynews.co.th

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2438&Key=hotnews

เยี่ยมร.ร.”สามเสนวิทยาลัย”ปั้นนักเรียน เติมความรู้คู่ประสบการณ์ชีวิต

8 กรกฎาคม 2551

“สิ่งที่นักเรียนโรงเรียนสามเสนวิทยาลัยได้รับ ไม่ใช่ความรู้ด้านวิชาการอย่างเดียว แต่ทุกคนได้รับความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งการเรียน กิจกรรมเสริมประสบการณ์ชีวิต คุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย การมีน้ำใจ และความสุข

เพราะโรงเรียนแห่งนี้เปรียบเสมือนบ้านหลังที่ 2 มอบความอบอุ่นความรัก ความรู้ และประสบการณ์ชีวิตมากมายแก่นักเรียน” น้องโบว์น.ส.ทรรทิราทรสุนทรินทร์ นักเรียนชั้นม.6 และกรรมการนักเรียนฝ่ายประชาสัมพันธ์ ร.ร.สามเสนวิทยาลัยเล่าด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม

          โรงเรียนแห่งนี้ตั้งขึ้นเมื่อปี2498 นับถึงปัจจุบันย่างเข้า53 ปีบนพื้นที่กว่า 22 ไร่จัดการเรียนการสอน 2 รูปแบบคือ ภาคปกติกับภาคอินเตอร์ มีนักเรียนทั้งหมด 3,000-4,000 คนภายใต้การดูแลของ “นายวิศรุต สนธิชัย” ผอ.ร.ร.สามเสนวิทยาลัยคนปัจจุบันได้เน้นการเรียนการสอนด้านวิชาการ ควบคู่ไปกับการให้นักเรียนทำกิจกรรม ทั้งกีฬา ดนตรี ปลูกผัก ฯลฯ เพื่อให้นำความรู้ไปปรับใช้ในชีวิตและอยู่ในสังคม

อาคารทั้ง10 อาคารทุกๆ ห้องล้วนอัดแน่นไปด้วยความรู้ ประสบการณ์ชีวิตมากมายให้นักเรียนเลือกเรียนรู้ได้ตามความชอบ ความถนัด เช่น ห้องไอซีที หรือห้องแล็บภาษาอังกฤษ ห้องสมุด ห้องคอมพิวเตอร์ ห้องดนตรี ฯลฯ เว้นแต่ห้องคุณธรรมจริยธรรม แปลงเกษตรที่โรงเรียนให้ทุกคนเข้าร่วม เพื่อให้รู้ถึงอาชีพหลักของคนไทย ไม่ลืมอาชีพบรรพบุรุษ รู้จักปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และสัมผัสธรรมชาติ พร้อมปลูกฝังให้เป็นคนดี มีคุณธรรม น้องโบว์บอกถึงกิจกรรมของโรงเรียน

          น้องโบว์บอกด้วยว่าโรงเรียนยังมีโครงการให้รุ่นพี่รุ่นน้องได้เรียนรู้ เสริมสร้างความรัก สามัคคี และแบ่งปันความรู้ เช่น โครงการพี่ม.6 สอนการบ้านน้องม.1 ทุกเช้าก่อนเข้าเรียน, Chat วิชาการ ปรึกษาตอบปัญหาการเรียน, สามเสนคัพสามเสนสตรีทบาส แข่งกีฬากระชับมิตร โดยเฉพาะโครงการพี่ ม.6 สอนการบ้านน้อง ม.1 นอกจากช่วยเชื่อมสัมพันธ์น้องพี่แล้ว ทำให้น้อง ม.1 ได้ความรู้และพี่ๆ ม.6 ก็ได้ทบทวนความรู้รวมถึงโรงเรียนได้เสริมทักษะการเรียนรู้ทางวิชาการเพิ่มเติม ล่าสุดห้องไอซีทีได้นำโปรแกรม English Discoveries มาใช้ในการเรียนรู้เพิ่มทักษะการฟังพูด อ่าน เขียน ภาษาอังกฤษ ด้วยตนเองควบคู่กับการเรียนในห้องเรียน

“English Discoveries เป็นการเรียนรู้ที่ชอบมากทำให้ได้ฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษจากเจ้าของภาษา การทดสอบสำเนียงการพูดของตัวเรากับเจ้าของภาษา การฟังบทสนทนา ทุกเรื่องสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เป็นการพัฒนาตัวเอง ทำให้อยากเรียนรู้มากกว่าการบังคับเรียน” น้องโบว์บอกเล่าประสบการณ์

อ.สมสุขไวยพุฒ หัวหน้ากลุ่มสาระภาษาต่างประเทศร.ร.สามเสนวิทยาลัย เล่าเสริมว่า โรงเรียนมีห้องไอซีที 1 ห้อง มีคอมพิวเตอร์ 58 เครื่องให้เด็กได้เข้ามาเรียนรู้เพิ่มเติมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ โดยมีโปรแกรมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษมากมายให้เด็กเลือก เช่น โปรแกรม English Discoveries ซึ่งเด็กเรียนรู้ได้ด้วยตนเองพร้อมกับการฝึกฝนพัฒนาเพราะจะมีคะแนนให้เด็กได้รู้ว่าตอนนี้พัฒนาไปถึงไหนแล้ว

ห้องไอซีทีจะเปิดให้บริการนักเรียนตั้งแต่07.30-17.00 น. เข้ามาใช้ได้ในช่วงพักเที่ยง และหลังเลิกเรียนส่วนเวลาเรียนได้จัดแบ่งเวลาให้แต่ละห้อง เพื่อให้เด็กทุกคนได้เข้ามาเรียนรู้ เพราะภาษาอังกฤษมีความสำคัญในการดำเนินชีวิตของเด็กในอนาคต อ.สมสุขแจกแจง

เชื่อว่าการเติมความรู้และประสบการณ์ชีวิตของร.ร.สามเสนวิทยาลัยจะช่วยให้นักเรียนมีความพร้อมก้าวสู่โลกภายนอกได้เป็นอย่างดี สนใจเยี่ยมชมโรงเรียนติดต่อโทร.0-2279-1992, 0-2279-2429, 0-2278-2997, www.samsenwit.ac.th

0 ชุลีพร อร่ามเนตร /เรื่อง-ภาพ

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.komchadluek.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2437&Key=hotnews

ศธ.สั่ง5องค์กรหลักคัด10หนังสือดีเด่น

8 กรกฎาคม 2551

นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยถึงการดำเนินงานของคณะกรรมการคัดสื่อสิ่งพิมพ์ที่ดี มีประโยชน์และสร้างสรรค์สังคม ของ ศธ.ว่า เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับงานของกระทรวงวัฒนธรรม (วธ.) ที่จัดระดับความเหมาะสมของสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยการศึกษาวิจัยสื่อสิ่งพิมพ์ทุกประเภท จัดระดับความเหมาะสม การคัดเลือกสื่อที่ดี การตีความข้อความหรือภาพที่นำเสนอของสื่อสิ่งพิมพ์ การหามาตรการลดภาษี เป็นต้น ศธ.จึงปรับรูปแบบการทำงานโดยให้หน่วยงานใน ศธ. ซึ่งประกอบด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) สำนักงานส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) คัดเลือกหนังสือดีเด่นและสร้างสรรค์สำหรับเด็ก เยาวชน ครอบครัว และหนังสือที่เหมาะสมกับสังคม อาทิ หนังสือระดับอนุบาล หนังสือระดับประถมศึกษา หนังสือระดับมัธยมศึกษาตอนต้น หนังสือระดับมัธยมตอนปลาย เป็นต้น หน่วยงานละ 10 เรื่อง เพื่อจะนำหนังสือดังกล่าวมาประกาศให้ผู้ปกครองและบุคคลทั่วไปได้ทราบว่าเป็นหนังสือที่ผ่านการตรวจสอบจาก ศธ.แล้ว

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.matichon.co.th/khaosod

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2436&Key=hotnews

สพฐ.เล็งช่วยเด็กจนเพิ่ม

8 กรกฎาคม 2551

นายสมเกียรติ ชอบผล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวถึงกรณีที่นายไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.) เรียกร้องให้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ดูแลโรงเรียนที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินค่าใช้จ่ายอื่นเพิ่มได้ รวมถึงดูแลผู้ปกครองที่ไม่ใช่ข้าราชการซึ่งจะไม่สามารถเบิกค่าใช้จ่ายเหมือนกับข้าราชการนั้นว่า ปกติ ศธ.และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ก็ดูแลเด็กยากจนอยู่แล้ว ด้วยการจัดงบฯปัจจัยพื้นฐานให้แก่เด็กที่ยากจน โดยปีนี้จัดให้เด็กระดับประถมศึกษาคนละ 1,000 บาทต่อปี จำนวนร้อยละ 30 ของนักเรียนทั้งหมด ขณะที่ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นให้คนละ 3,000 บาทต่อปี จำนวนร้อยละ 20 ของนักเรียนทั้งหมด อีกทั้งยังมีทุนการศึกษาและทุนช่วยเหลือต่างๆ อาทิ ทุนภูมิทายาทที่ให้แก่เด็กยากจนในจังหวัดทางภาคใต้ จำนวนกว่า 900 ทุน เป็นต้น

“เงินที่เด็กยากจนได้รับนี้ ถ้าเด็กใช้อย่างประหยัดก็สามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ ซึ่งคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการ กพฐ. ได้ให้แนวทางไว้ว่าจะต้องขยายการช่วยเหลือปัจจัยพื้นฐานแก่เด็กยากจนเพิ่มขึ้นเป็นเฟสๆ โดยปีหน้าจะขอขยายการช่วยเหลือระดับประถมศึกษา จากร้อยละ 30 เป็นร้อยละ 40 และในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 30 เพื่อที่ต่อไปจะสามารถเรียนฟรีได้ทั้ง 100% ซึ่งจะเห็นว่า สพฐ.ไม่ได้ทอดทิ้งเด็กยากจน ยังให้การดูแลเหมือนเดิม” รองเลขาธิการ กพฐ.กล่าว

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.matichon.co.th/matichon

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2435&Key=hotnews

สช.ดิ้นอุ้ม ร.ร.เอกชนงัดมาตรา 6 สู้-ต่ออายุประกันสังคม (

8 กรกฎาคม 2551

สช.ดิ้นช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ ร.ร.เอกชน ส่งเรื่องให้กฤษฎีกาวินิจฉัยหาทางรับมือมาตรา 86 ของ พ.ร.บ.การศึกษาเอกชน ชง 2 ทางเลือก ระหว่างให้ รมต.ศธ.ใช้มาตรา 6 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ยกเว้นเจ้าหน้าที่ ร.ร.เอกชนไม่ต้องออกจากประกันสังคม หรืออาศัยมติ ครม.ต่ออายุประกันสังคม

นายสำรวม พฤกษเสถียร เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) ได้ส่งเรื่องไปให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาวินิจฉัยว่า สช.สามารถแก้ปัญหาความเดือดร้อนของเจ้าหน้าที่โรงเรียนเอกชนที่ถูกมาตรา 86 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 บังคับให้ออกจากกฎหมายประกันสังคม ด้วยวิธีให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการใช้อำนาจตามมาตรา 6 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ยกเว้นให้เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเอกชนไม่ต้องออกจากกฎหมายประกันสังคม หรือสามารถใช้มติคณะรัฐมนตรีคุ้มครองชั่วคราวให้เจ้าหน้าที่โรงเรียนเอกชนไม่ต้องออกจากกฎหมายประกันสังคมได้หรือไม่

“คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ทราบปัญหาตามที่ผมเป็นตัวแทนของ สช.และรับทราบข้อมูลจากตัวแทนโรงเรียนเอกชน เป็นผู้ชี้แจ้งไปว่าเจ้าหน้าที่โรงเรียนเอกชนได้รับความเดือดร้อนจาก พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนจริงๆ เวลานี้ สช.รอคำตอบจากคณะกรรมการกฤษฎีกาอยู่ หลังจากกฤษฎีกาตอบกลับมาแล้ว สช.จะทำเรื่องเสนอให้ รมว.ศึกษาธิการพิจารณา หากได้รับความเห็นชอบ สช.จะดำเนินการตามนั้น เพื่อเร่งแก้ปัญหา” นายสำรวมกล่าว

น.ส.จินตนา ธรรมวานิช นายกสมาคมโรงเรียนอนุบาลแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ที่ผ่านมานั้น ได้ข้อสรุปว่าจะมีการช่วยเหลือลูกจ้าง เจ้าหน้าที่ของโรงเรียนเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากมาตรา 86 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนแน่นอน กฤษฎีการายหนึ่งซึ่งเคยร่วมในการพิจารณา พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน ระบุด้วยว่า ไม่เคยคิดว่า พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชนที่กฤษฎีกาผ่านร่างกฎหมายไปนั้นจะทำร้าย ทำให้ลูกจ้างโรงเรียนเอกชนต้องเสียสิทธิ์ แต่ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อยุติว่าวิธีช่วยเหลือลูกจ้างโรงเรียนเอกชนจะเป็นอย่างไร

อนึ่ง มาตรา 6 ของ พ.ร.บ.โรงเรียนเอกชน พ.ศ.2550 ระบุว่า กรณีมีเหตุจำเป็นรัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการจะประกาศให้โรงเรียนใดได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.นี้ในเรื่องใดก็ได้ ส่วนมาตรา 86 กำหนดให้ผู้อำนวยการ ครู เจ้าหน้าที่โรงเรียนเอกชนออกจากกฎหมายคุ้มครองแรงงานกฎหมายแรงงานสัมพันธ์และกฎหมายประกันสังคม–
จบ–แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.komchadluek.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2432&Key=hotnews

ร้องเว็บสกอ.ถูกละเมิดทางเพศขณะฝึกงานกว่า20ราย

8 กรกฎาคม 2551

“สุเมธ” เผย นศ.ร้องถูกล่วงละเมิดทางเพศขณะฝึกงาน เตรียมสอบสวนข้อเท็จจริง วอนมหาวิทยาลัยช่วยสอดส่องคุ้มครองนศ. ชี้มีกว่า 20 ราย ร้องอาจารย์ประพฤติผิดทั้งในและนอกมหาวิทยาลัย เดินหน้าเก็บข้อมูลผ่านเว็บ หวังจัดทำนโยบายคุมเข้ม

จากกรณีที่ ผศ.จักรฤทธิ์ อุทโธ อาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (มอบ.) ถูกนักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกัน แจ้งความกรณีกระทำอนาจารเพื่อแลกเกรด ซึ่งล่าสุดถูกตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยร้ายแรง สั่งพักราชการและถูกแจ้งดำเนินคดีอาญาแล้วนั้น

เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ดร.สุเมธ แย้มนุ่น เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวถึงความคืบหน้ากรณีที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) เปิดเว็บ www.mua.go.th./clean  หรือ www.mua.go.th  “นิสิตนักศึกษาร่วมใจ สร้างความสดใสให้สถาบัน” รับเรื่องร้องเรียนกรณีการกระทำที่ไม่พึงประสงค์ของอาจารย์ ที่ปฏิบัติต่อนักศึกษา หรือพฤติกรรมของอาจารย์ที่ไม่เหมาะสม ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม จนถึงวันที่ 7 กรกฎาคม ว่าขณะนี้มีนักศึกษา อาจารย์ หรือบุคคลที่พบเห็นเหตุการณ์ พฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ของอาจารย์ ร้องเรียนมากว่า 20 คน ซึ่งส่วนมากเป็นการบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้น อาทิ ถูกลวนลามทางสายตา ถูกล่วงละเมิดทางเพศนอกมหาวิทยาลัย หรือถูกล่วงละเมิดทางเพศระหว่างออกไปฝึกงาน เป็นต้น แต่ทั้งหมดไม่ได้มีการรายงานชื่ออาจารย์ ตำแหน่ง หรือมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน มีอาจารย์เพียง 4 คนเท่านั้น ที่ถูกร้องเรียน มีชื่อ นามสกุล ตำแหน่ง และมหาวิทยาลัยที่ชัดเจน

ดร.สุเมธกล่าวต่อว่า หลังจากได้ข้อมูลจากผู้ที่เข้ามาร้องเรียนแล้ว ทำให้เห็นได้ว่า มีกรณีที่ไม่เหมาะสมเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัย แต่ในขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นเรื่องจริงหรือไม่จริง เพราะสกอ.ยังสอบสวนข้อเท็จจริงไม่เสร็จสิ้น ซึ่งหลังจากทราบข้อเท็จจริง ก็จะประสานไปยังมหาวิทยาลัยให้เป็นผู้รับผิดชอบลงโทษต่อไป เนื่องจากข้อมูลทุกอย่าง สกอ.เก็บเป็นความลับ และดำเนินการสอบสวนอย่างลับๆ ไม่เปิดเผย จนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจน ทั้งนี้ ดูจากจำนวนนักศึกษาที่เข้ามาร้องเห็นได้ว่าเป็นเพียงอาจารย์ส่วนน้อยเท่านั้น ไม่ใช่อาจารย์ทั้งหมด

เลขาธิการ กกอ.กล่าวอีกว่า จากข้อมูลที่มีผู้เข้ามาร้องเรียนผ่านเว็บไซต์ มีหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับนักศึกษา โดยเฉพาะกรณีการล่วงละเมิดทางเพศนักศึกษาระหว่างไปฝึกปฏิบัติงาน ทั้งในสถานประกอบการ และสถานที่ราชการ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน จึงขอให้นักศึกษาที่ถูกกระทำ แจ้งข้อมูลแก่ สกอ. เพื่อนำมาวิเคราะห์ และกำหนดเป็นนโยบาย กฎ ระเบียบเรื่องนี้อย่างชัดเจนมากขึ้น และฝากมหาวิทยาลัยให้ความสำคัญ ดูแลตรวจสอบเรื่องนี้ รวมไปถึงคุ้มครองนักศึกษาขณะไปฝึกปฏิบัติงานอีกด้วย ส่วนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวคาดว่า ต้องใช้เวลาประมาณเดือนกว่าๆ จึงจะสามารถตรวจสอบได้ว่าข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และมีอาจารย์ล่วงละเมิดทางเพศนักศึกษาหรือไม่

“ผมได้เสนอเรื่องดังกล่าวต่อ กกอ. ซึ่งคณะกรรมการเห็นด้วยว่าการแก้ไขปัญหาไม่ใช่หน้าที่ของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่ทุกมหาวิทยาลัยต้องรับผิดชอบร่วมกัน เช่น ขั้นตอนกระบวนการคัดเลือกคนมาเป็นอาจารย์ มหาวิทยาลัยต้องมีกลไกในการคัดกรองคนอย่างไร และเมื่อรับมาแล้วต้องดูแลให้ครูอาจารย์มีความรู้เรื่องคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณของวิชาชีพครู เป็นต้น” ดร.สุเมธกล่าว

เลขาธิการ กกอ. กล่าวต่ออีกว่า กรณีที่มีผู้ปกครองเตรียมยื่นฟ้องร้อง ศ.ดร.ประกอบ วิโรจนกูฏ อธิการบดี มอบ. กรณีเพิกเฉย ไม่ลงโทษวินัย ผศ.จักรฤทธิ์ เมื่อครั้งมีผู้ปกครองร้องเรียนว่าลูกสาวถูก ผศ.จักรฤทธิ์ทำอนาจารเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2550 นั้น เท่าที่ได้พูดคุยกับ ศ.ดร.ประกอบแล้ว ถ้าเป็นกรณีเด็กคนเดียวกัน ทางมหาวิทยาลัยได้ลงโทษภาคทัณฑ์อาจารย์คนดังกล่าวแล้ว และไม่ให้อยู่กับนักศึกษาสองต่อสองในห้องพัก อีกทั้งขณะนั้นไม่มีหลักฐานที่ชัดเจน ไม่สามารถทำอะไรได้

แหล่งที่มา/ผู้ส่ง http://www.komchadluek.net

http://www.moe.go.th/moe/th/news/detail.php?NewsID=2431&Key=hotnews