change

หัวข้อวิจัย การเปลี่ยนหลักสูตร

การวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตรเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีความสำคัญมากในการพัฒนาการศึกษา นี่คือแนวทางและหัวข้อที่คุณอาจพิจารณา มีดังนี้
1. การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คือ ศึกษาการพัฒนาหลักสูตรในโรงเรียนเฉพาะ เช่น การพัฒนาหลักสูตรของโรงเรียนหนึ่ง
2. การประเมินผลการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ วิเคราะห์ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อผลการเรียนรู้ของนักเรียน
3. การมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาหลักสูตร คือ ศึกษาบทบาทของชุมชนและผู้ปกครองในการพัฒนาหลักสูตร
4. การฝึกอบรมครูเพื่อการเปลี่ยนแปลงหลักสูตร คือ วิเคราะห์ความต้องการและผลของการฝึกอบรมครูในการปรับปรุงหลักสูตร
5. การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาหลักสูตร คือ ศึกษาการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน
[.cp.]

การวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตรเป็นหัวข้อที่น่าสนใจและมีประโยชน์ในหลายแง่มุม ทั้งในด้านการพัฒนาการศึกษา การเพิ่มคุณภาพของหลักสูตร และการตอบสนองต่อความต้องการของสังคมและตลาดแรงงาน มีประเด็นให้พิจารณาดังนี้
1. ความสำคัญของหัวข้อ
– สาเหตุของการเปลี่ยนหลักสูตร เพื่อปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอนหรือสอดคล้องกับความต้องการของโลกยุคใหม่ 
– ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงต่อผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และองค์กรต่าง ๆ 
– ความเหมาะสมกับบริบท คือ หลักสูตรที่เปลี่ยนแปลงต้องสอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ 
2. แนวทางการวิจัย
– การวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) เพื่อสำรวจความคิดเห็นของครู นักเรียน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลง 
– การวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) คือ ทดสอบผลกระทบของหลักสูตรใหม่ต่อผลการเรียน 
– การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) คือ  ศึกษาความคิดเห็นเชิงลึกเกี่ยวกับประสบการณ์และปัญหา 
3. ตัวอย่างหัวข้อการวิจัย
– การประเมินผลกระทบของการเปลี่ยนหลักสูตรระดับมัธยมศึกษาตอนปลายในประเทศไทย
– ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับหลักสูตรใหม่ในโรงเรียนประถมศึกษา
– การปรับหลักสูตรการศึกษาตามแนวทางการเรียนรู้ตลอดชีวิต
– การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างหลักสูตรเดิมและหลักสูตรใหม่ในรายวิชาคณิตศาสตร์
4. แหล่งข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูล
– การสัมภาษณ์กับ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง 
– แบบสอบถาม คือ การสำรวจความคิดเห็น 
– เอกสารและรายงานเป็น ข้อมูลจากกระทรวงศึกษา โรงเรียน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 
5. ข้อควรระวัง
– การเปลี่ยนหลักสูตรอาจต้องคำนึงถึงงบประมาณ การอบรมครู และความเข้าใจของผู้ปฏิบัติ 
– ต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงที่เร็วเกินไปหรือไม่ผ่านการประเมินผลที่เหมาะสม 
[.cg.]

การเปลี่ยนหลักสูตรการศึกษาเป็นกระบวนการที่สำคัญในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยมุ่งเน้นการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและสังคม ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมครูตามทฤษฎีการเรียนรู้เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการนำหลักสูตรไปใช้ในโรงเรียนเอกชน พบว่า การประเมินและทดลองใช้หลักสูตรมีผลต่อความสามารถของครูในการนำหลักสูตรไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับหัวข้อวิจัยเกี่ยวกับการเปลี่ยนหลักสูตร สามารถพิจารณาหัวข้อเพิ่มเติมดังนี้
1) การประเมินความต้องการในการปรับปรุงหลักสูตร (Requirement) คือ วิเคราะห์ความต้องการของผู้เรียนและสังคมเพื่อพัฒนาหลักสูตรที่ตอบสนองได้ดียิ่งขึ้น
2) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรต่อผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน (Effect) คือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับเปลี่ยนหลักสูตรและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของนักเรียน
3) การใช้เทคโนโลยีในการพัฒนาหลักสูตร (Technology) คือ การสำรวจวิธีการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการเรียนรู้และการสอนในหลักสูตรใหม่
[.pp.]

หัวข้อวิจัย การเปลี่ยนแปลงหลักสูตร มีประเด็นที่ควรเจาะลึกลงไปในหัวข้อย่อยได้อีกมากมาย

ตัวอย่างหัวข้อวิจัย เช่น
1) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อรองรับทักษะแห่งศตวรรษที่ 21
    * การนำเทคโนโลยีเข้ามาบูรณาการในหลักสูตร
    * การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา และการทำงานร่วมกัน
    * การเตรียมความพร้อมนักเรียนให้เข้าสู่โลกการทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป
2) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
    * การวิเคราะห์ความต้องการของตลาดแรงงานในปัจจุบันและอนาคต
    * การปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
3) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ที่เป็นศูนย์กลางนักเรียน
    * การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายและน่าสนใจ
    * การใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนรู้
    * การส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการสร้างองค์ความรู้
4) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อพัฒนาทักษะด้านภาษาต่างประเทศ
    * การนำภาษาต่างประเทศมาใช้ในการเรียนรู้วิชาอื่นๆ
    * การส่งเสริมให้นักเรียนได้ฝึกใช้ภาษาต่างประเทศในสถานการณ์จริง
5) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยม
    * การบูรณาการค่านิยมเข้าสู่ทุกวิชาเรียน
    * การจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมการพัฒนาทักษะชีวิต
6) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อรองรับความหลากหลายทางวัฒนธรรม
    * การจัดการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
    * การสร้างสภาพแวดล้อมที่เปิดกว้างและยอมรับความแตกต่าง
7) การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้เรียนตลอดชีวิต
    * การส่งเสริมให้นักเรียนมีความอยากรู้อยากเห็นและใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต
    * การเตรียมความพร้อมให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้

สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกหัวข้อวิจัย มีดังนี้
1) ความสนใจ (Interested)
2) ความสำคัญ (Importance)
3) ความเป็นไปได้ (Possibility)
4) ความใหม่ (New idea)

ขั้นตอนในการทำวิจัย
1. กำหนดขอบเขตของการวิจัย
2. รวบรวมข้อมูล
3. วิเคราะห์ข้อมูล
4. นำเสนอผลการวิจัย

[.gm.]

/schooldirector/

https://www.thaiall.com/schooldirector/

ตอนที่ 5 เปลี่ยนครูเป็นอินฟลูเอนเซอร์ นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว

ตอนที่ 5 เปลี่ยนครูเป็นอินฟลูเอนเซอร์
.
ผู้อำนวยการโรงเรียนเทียมดาว
มีวิสัยทัศน์ที่ก้าวไกลอย่างไม่ธรรมดา
มีระบบ และกลไกสนับสนุนให้
ครูในโรงเรียนใช้สื่อสังคมทุกแพลตฟอร์ม
มุ่งสู่การเป็นครูอินฟลูเอนเซอร์
.
จากการสำรวจข้อมูลในสื่อสังคม
พบว่า โรงเรียนนี้มีแนวปฏิบัติที่ดี
ดังนั้น ครูแจง จึงเลือกปลอมตัว
มาเป็นครูอัตราจ้าง ที่โรงเรียนแห่งนี้
.
แม้ว่า ผอ.ฟ้า จะเคยเลือกปฏิบัติ
เอาอกเอาใจ ครูจอย มากกว่า ครูแจง
เพราะเข้าใจผิดว่า ครูจอย
คือ ว่าที่. รมต.
ที่ปลอมตัวมาเก็บข้อมูลในโรงเรียน
.
แต่สำหรับครูอินฟลูเอนเซอร์
แล้ว ผอ.ฟ้า ให้การสนับสนุนทุกด้าน
อย่างเต็มกำลังโดยเท่าเทียมกัน
นอกจากแจก ยูเอสบี เพอร์เฟค
ไว้สำรองข้อมูล ป้องกันข้อมูลหายแล้ว
ยังมีงบประมาณสนับสนุน
มีอุปกรณ์ มีทีมพี่เลี้ยง
มีกลุ่มนักเรียนที่คอยให้กำลังใจ
มีระบบฐานข้อมูลจัดเก็บสื่อ
มีเวทีจัดการความรู้
มีประเมินและติดตาม
.
ผลงานของครูอินฟลูเอนเซอร์
ที่จำแนกตามรายวิชา เช่น
ครูภาษาอังกฤษ ร้องเพลงแร็ปสอนคำศัพท์
ครูพละศึกษา โชว์สเต็ปเต้น
ครูนาฏศิลป์ โชว์รำไทย
ครูภาษาไทย พาลูกอ่านพยัญชนะให้ฟัง
ครูวิทยาศาสตร์ สอนพิสูจน์ทฤษฎี
ครูคณิต แก้สมการให้ดู
ครูเกษตร สอนขายผักปลอดสาร
ครูลูกเสือ สอนการเอาตัวรอดในป่า
.
แล้วท่านว่า
ครูแจง ที่จบชีวะวิทยา
จะเป็นอินฟลูเอนเซอร์ทางด้านใดได้บ้าง

https://vt.tiktok.com/ZSF39wG4U/

ตอนที่ 5 เปลี่ยนครูเป็นอินฟลูเอนเซอร์
นิทานเรื่อง ว่าที่ รมต. ปลอมตัว เป็น ครูอัตราจ้าง โรงเรียนเทียมดาว
#school
#teacher
#fiction
#influencer
#learning
#change
#education
#เพื่อความบันเทิง
#ของพรีเมี่ยม
#usbperfect

growth #successpictures

successpictures กับความมุ่งมั่น

successpictures กับความมุ่งมั่น
มีภาพมากมายที่ให้ชวนคิด เช่น growth
เป็นภาพที่ชายหนุ่มกำลังปีนขึ้นที่สูง
แต่ถูกฉุดรั้งไว้ด้วย pay it safe!
หรือ you ‘ve changed!
หรือ you should be happy with what you have!
เป็นคำถามที่น่าสนใจว่า “ในระหว่างที่กำลังเดินอยู่”
ห้องเรียนควรสอนไปในทิศทางใด ระหว่าง

1. ปลอดภัยไว้ก่อน เสี่ยงไปจะได้ไม่คุ้มเสีย

2. ต้องเปลี่ยนแปลง ทำแบบเดิมย่อมได้ผลแบบเดิม

3. จงมีความสุขกับสิ่งที่เรามี

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th

ทุจริต หรือเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน . เกิดได้ทุกวัย ทุกวุฒิการศึกษา

ครอบครัว การงาน และสังคม กับคุณธรรมจริยธรรม กฎหมาย
สิ่งใดสำคัญที่สุด บางทีอธิการท่านก็คิดว่า “ครอบครัวสำคัญที่สุด”
ตกงานยังหางานใหม่ได้ แต่ครอบครัวหาใหม่ไม่ได้
แล้ววันหนึ่ง อธิการท่านก็แก้ไขเกรดให้กับลูกชาย
เห็นคนในบ้านสำคัญกว่ากฎเกณฑ์ข้อบังคับทั้งปวง
แม้รู้ว่าเป็นความเสื่อมเสียทางวิชาการก็ตาม
ผลคือ การถอดถอนตำแหน่ง “ศาสตราจารย์”
ซึ่งเป็นตำแหน่งทางวิชาการที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ

เรื่องนี้เกิดที่ สจล. เห็นข่าวเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2556
ซึ่ง ศ.ดร.ถวิล พึ่งมา ได้ดำเนินการทำผิด และมีมูลความจริง
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1385643276&grpid=00&catid&subcatid

โรงเรียนลดชั่วโมงเรียนวิชาการ เน้นเสริมการงานอาชีพ เริ่มปีหน้า

เสกโลโซบอกว่า “ได้อย่าง เสียอย่าง”
– โรงเรียนกวดวิชาบอกว่า “ดี ๆ ชอบ ๆ เข้าทางแล้ว”
– ส่วนเด็กต่างอำเภอบอกว่า “เรียนมากปวดหัว ..”
– เด็กในเมืองบอกว่า “สอนน้อยหน่อยก็ดี ที่สอนมาเรียนล่วงหน้าไปหมดแล้ว”
– คุณครูบอกว่า “ดีมาก .. จะได้มีเวลาทำผลงาน”

มีข้อมูลเบื้องต้นว่า .. จำนวนโรงเรียนกวดวิชาในลำปาง
ประเมินด้วยสายตามีเกือบ 30 แล้ว
ถ้าปรับหลักสูตรลดวิชาการในโรงเรียน คาดจะมีผุดใหม่ทะลุ 50 เป็นแน่
http://thaiabc.com/lampangnet/admin/528/

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายลดชั่วโมงเรียนวิชาการเกือบครึ่ง
เน้นเสริมการงานอาชีพ โดยเริ่มในปีการศึกษาหน้า

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์

ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.ภานิช ทองโรจน์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวในการเปิดงานสมัชชาการศึกษา 2556 การศึกษาไทยแบบไหนที่เด็กต้องการ โดยเครือข่ายยุวทัศน์ กรุงเทพมหานครจัดขึ้น ว่า หลักสูตรการศึกษาไทยในปัจจุบันใช้มากว่า 12 ปี (2544) ถือว่าล้าสมัย จึงเตรียมปรับหลักสูตรให้เป็นปัจจุบันมากขึ้นโดยเน้นกระบวนการทางวิชาการ ทั้งของไทยและต่างประเทศ นำมาผนวกกันให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด โดยจะเน้นการเรียนนอกห้องเรียน ลดการเรียนวิชการในห้องเรียนให้น้อยลง เพื่อให้เกิดการพัฒนาการของสมองเด็กในช่วงต่าง ๆ เช่น นักเรียน ป.1 – 2 จะมีการออกแบบหลักสูตรการเรียนเฉพาะ เพราะเป็นช่วงที่เด็กต้องมีทักษะในการเตรียมความพร้อม เพื่อเปิดรับการศึกษาที่สูงขึ้นที่เน้นการพัฒนาการทางด้านร่างกายและจิตใจ สอดแทรกเนื้อหา ดนตรี ศิลปะ กีฬามากขึ้น และที่สำคัญจะเน้นให้รู้เรื่องสิ่งแวดล้อมด้วย จากเดิมใช้เวลาในห้องเรียน 700 ชั่วโมงต่อปี ให้เหลือ 600 ชั่วโมงต่อปี ขณะที่ระดับมัธยมศึกษา จะปรับให้เสริมเรื่องการงาน การอาชีพ เข้าไปด้วย เพราะมีเด็กจำนวนมากไม่เข้าสู่ระบบการศึกษาทั้งต้นและปลาย จึงต้องเสริมหลักสูตรเหล่านี้เข้าไปให้มีความรู้ใหม่ ๆ สามารถคิดได้เองโดยอิงหลักวิชาการ ซึ่งจะปรับลดให้ต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี หรือประมาณร้อยละ 60 ต่อ ร้อยละ 40
ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า คาดว่าสิ้นเดือนนี้หลักสูตรดังกล่าวจะมีความชัดเจน เพื่อให้สามารถนำไปใช้ทันปีการศึกษาหน้า ขณะที่สถาบันการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ(สถศ.) จะเข้ามาดูแลเรื่องการวัดผลต่อไป ซึ่งจะมีผลกับโรงเรียนทั่วประเทศ

http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5606150020002