science

ตีแสกหน้าอาจารย์คอม กับความเสี่ยงของโปรแกรมเมอร์

ในความเห็นของผม

ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สะท้อนภาพความเสี่ยงของมหาวิทยาลัย และอาจารย์ และหลักสูตรการเรียนการสอน เพื่อสร้างความตระหนัก และจัดทำแผนการจัดการความเสี่ยง เพื่อลดโอกาสที่ความเสี่ยงเหล่านั้นจะเกิดขึ้น เห็นการสะท้อนแรง ๆ ที่ของใช้คำว่า ตีแสกหน้า เพราะหวังจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นโดยเร็ว

ซึ่งเรื่องนี้หัวหน้าแชร์มา แล้วผมก็นำไปเล่าต่อ แล้วก็ repost ส่วนของ quote และ บทความ อีกหลายที่ครับ เพราะเป็นสิ่งที่ควรตะหนักกัน

เคยอ่านบทความ 2 เรื่อง เขียนโดย ดร.อานนท์ ศักดิ์วรวิชญ์ สาขาวิชา Business Analytics and Intelligence สาขาวิชาวิทยาการประกันภัยและการบริหารความเสี่ยง คณะสถิติประยุกต์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ท่านเขียนบทความลง manager online มีความสนใจในหลายเรื่อง โดยเฉพาะความเสี่ยง (Risk Management) และความเสี่ยงที่ใกล้ตัว คือ สถาบันการศึกษา และ อาชีพอาจารย์

ใครที่สนใจเรื่องความเสี่ยง คาดไว้ก่อนว่าต้องทำงานประกันคุณภาพ เคยเป็นตัวบ่งชี้หนึ่งในเรื่องการบริหารจัดการ แต่นั่นก็ไม่ใช่ประเด็นที่ทำให้ ดร.อานนท์ มาอยู่ในเว็บเพจหน้านี้ บทความ 2 เรื่องที่ท่านเขียน กระแทกเข้ามาที่อาชีพ โปรแกรมเมอร์ และวิทยากรคอมพิวเตอร์ สำหรับผมแล้ว จิ้งจกทักยังต้องเหลียวไปมอง ดังนั้นสิ่งที่ท่านกระแทกมา นักเรียน นักศึกษา หรือผู้สนใจด้าน Developer จะวางเฉยได้ไง ถ้า ดร.อานนท์ กระแทกเข้ามาซึ่งหน้าแบบนี้แล้ว แล้วอาจารย์หรือนักศึกษาที่เกี่ยวข้องยังวางเฉยได้ ก็อ่ะนะ เรียก สงบ สยบ เคลื่อนไหว ก็แล้วกัน แล้วบทความของท่านเขียนมายาว ผมคัดลอกฉบับเต็มให้นักศึกษาผมได้อ่านที่ /webmaster/responsive

จากบทความเมื่อ 25 พฤษภาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงมหาวิทยาลัย

ด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเปิดสอนกันแทบทุกสถาบันในประเทศไทย แต่บริษัทเอกชนกลับหาคนมาทำงานด้าน Computer ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและต้องการคนเก่งคนมีความรู้ความสามารถอีกมากได้ยากมาก บัณฑิตด้าน computer sciences จำนวนมากจากหลายสถาบันไม่สามารถเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้จริงได้เลย หรือในอีกด้านเราผลิตคนที่ไม่ตรงกับความต้องการของตลาดและมีคุณภาพไม่เพียงพอ
http://www.manager.co.th

จากบทความเมื่อ 28 ธันวาคม 2559
ที่ท่านเขียนถึงอาจารย์ในมหาวิทยาลัย

ทุกวันนี้ประเทศไทยขาดแคลนโปรแกรมเมอร์อย่างรุนแรง มีคนสมัครมาก แต่คุณภาพนั้นมีปัญหา ทำงานไม่ได้จริง ไม่ตรงตามสิ่งที่ภาคเอกชนและภาคธุรกิจใช้กันในปัจจุบัน ประกอบกับนักศึกษาก็ไม่อยากเรียนอะไรที่ยาก ชอบเรียนอะไรง่ายๆ สบายๆ ซึ่งเป็นการทำลายตนเองในระยะยาวอยู่ดี น่าเห็นใจอาจารย์ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วมาก โลกของดิจิทัลและวิทยาการข้อมูลกำลังรุกล้ำเข้ามาอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจที่ใช้ความรู้และนวัตกรรมเป็นฐานทำให้อาจารย์มหาวิทยาลัยจำนวนมากตกยุค อาจารย์มหาวิทยาลัยคงไม่สามารถสอนเรื่องเดิมๆ ที่ตนเองเคยเรียนมาเมื่อ 20-30 ปีก่อนได้อีกต่อไป
http://www.manager.co.th

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค

sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู