IT in Daily Life

บทความเกี่ยวกับไอทีในชีวิตประจำวัน (Information Technology in Life) ถูกเขียนลงในหนังสือพิมพ์ฅนเมืองเหนือ เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ เริ่มเขียนปลายปีพ.ศ. 2548 จนถึงมิถุนายน พ.ศ. 2560 รวมได้ 611 บทความมีโฮมเพจอยู่ที่ http://www.thaiall.com/itinlife และ http://www.thaiall.com/opinion เพื่อเป็นแหล่งแบ่งปันเรื่องราวที่ได้พบ ได้อ่าน ได้ปฏิบัติ แล้วนำมาเรียบเรียงแบ่งปันแก่เพื่อนชาวไทย และส่งให้กองบรรณาธิการนำไปตีพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นของจังหวัดลำปาง

แรงขับการแบ่งปันในเครือข่ายสังคม (itinlife392)

 

note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
note อุดม แต้พาณิช ตอน อินเทอร์เน็ต เฟซบุ๊ค
sharing and clickback
sharing and clickback

คำถาม .. อะไรเป็นเหตุปัจจัยให้เราแบ่งปันข้อมูลจากเว็บไซต์

ได้อ่านผลงานเกี่ยวกับการวิเคราะห์พฤติกรรมการแบ่งปันเนื้อหาและคลิ๊กกลับในเว็บไซต์เครือข่ายสังคม ของ 33across.com และ tynt.com ที่เขียนใน zdnet.com โดย Eileen Brown พบว่าการแบ่งปันเนื้อหาจำแนกได้หลายกลุ่ม ในกลุ่มที่เพื่อนในเครือข่ายสังคมให้ความสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด คือ ข่าว กีฬา การเมือง การสรรเสริญ การเลี้ยงดู และบันเทิง ส่วนที่สนใจคลิ๊กกลับกันน้อยและแบ่งปันน้อยคือ รถยนต์ ช็อบปิ้ง และท่องเที่ยว ส่วนกลุ่มคลิ๊กน้อยแต่แบ่งปันมากคือ ธุรกิจ เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์

มี 2 คำที่น่าสนใจคือ แบ่งปัน (Share) และคลิ๊กกลับ (Clickback) พฤติกรรมของสมาชิกเครือข่ายสังคมเมื่อไปพบเห็นเรื่องราวต่าง ๆ ในเว็บไซต์ก็ต้องการแบ่งปันให้เพื่อนของตนรู้ หรือมีส่วนร่วมก็จะทำใน 2 ลักษณะคือ คัดลอกแล้ววาง หรือ ใช้ปุ่มแชร์ ดังนั้นการแบ่งปัน คือ เราส่งข้อมูลเข้าเว็บไซต์เครือข่ายสังคม เพื่อให้เพื่อนรับรู้เรื่องของเรา เป็นข้อมูลสั้นและลิงค์ (Link) สำหรับคลิ๊กไปอ่านรายละเอียด ส่วนคลิ๊กกลับ คือ เพื่อนของเราอ่านข้อมูลสั้น แล้วรู้สึกสนใจจึงคลิ๊กลิงค์เปิดดูรายละเอียดจากเว็บไซต์

ประเด็นคำถาม คือ เหตุผลที่เราแบ่งปันเนื้อหาไปนั้นมีอะไรเป็นเหตุปัจจัย แล้วพบว่า เราแบ่งปันเพราะถือมั่นต้องการแสดงตัวตน (ego) นั่นคือเราไม่ได้แบ่งปันเพราะคิดว่าเพื่อนสนใจ หัวข้อที่พบว่ามีการแบ่งปันจากเว็บไซต์มากที่สุดคือวิทยาศาสตร์ (Science) ซึ่งได้อธิบายว่าเป็นเรื่องที่ยากต่อความเข้าใจ และต้องการแสดงองค์ความรู้ของเรา ในประเด็นคลิ๊กกลับก็พบว่าเพื่อนของเราคลิ๊กดูวิทยาศาสตร์น้อยมาก แสดงว่าเราไม่สนใจว่าเพื่อนจะสนใจเรื่องของเราหรือไม่ ขอเพียงเราชอบ และอยากแบ่งปันก็พอ ส่วนข่าว (News) คือเรื่องที่เพื่อนสนใจคลิ๊กกลับมากที่สุด แต่เราจะแบ่งปันน้อย เพราะข่าวไม่ใช่เรื่องที่แสดงตัวตนของเรา ถึงตรงนี้หลายท่านอาจไม่เห็นด้วย แต่ทั้งหมดนี้เป็นผลการศึกษาในต่างประเทศ ถ้าศึกษาพฤติกรรมคนไทยอาจมีผลการศึกษาต่างไป เท่าที่สังเกตเราสนใจแบ่งปันเนื้อหาจากเว็บไซต์กันน้อย คนที่จะแบ่งปันก็จะเป็นตามอาชีพนั้น อาทิ นักข่าวก็จะแบ่งปันข่าวของสำนักของตน ส่วนราชการก็แบ่งปันกิจกรรมหรือผลงาน นักธุรกิจก็จะแบ่งปันข้อมูลสินค้าของตน แล้วท่านมีพฤติกรรมอย่างไรในเครือข่ายสังคม

 

 

http://www.thaiall.com/blog/burin/5087/

http://www.zdnet.com/new-research-highlights-that-social-sharing-is-driven-by-ego-7000013932/

นี่คือโลกของกู

การศึกษาไทยถ้าไม่เปลี่ยนอาจบ๊วย .. แน่นอน

ตอนนี้หากถามว่าภูมิใจกับอันดับด้านการศึกษาของประเทศไทยในเวทีโลกหรือไม่
ก็คงไม่มีใครไปตอบว่า “ดีกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว” ! http://bit.ly/17oaJI9

วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)
วัฒนธรรมการศึกษา (education culture)

เพราะระบบการศึกษาของไทยอยู่อันดับที่ 37 จากทั้งหมด 40 ประเทศในปี 2555 จากผลการจัดอันดับโดยบริษัทด้านการศึกษา คือ เพียร์สัน (Pearson) และ อีไอยู (EIU = The Economist Intelligence Unit) ในทางกลับกันพบว่ากรุงเทพฯ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศไทยมีสถิติการเข้าถึงเครือข่ายสังคมอย่างเฟซบุ๊คเป็นอันดับหนึ่งในโลก เท่ากับ 12.7 ล้านคนจากทั้งหมด 7.8 ล้านคน มีบัญชีผู้ใช้เข้าถึงเกือบ 2 เท่าของจำนวนประชากร ก่อนถามคนไทยว่าภูมิใจหรือไม่กับการเป็นอันดับหนึ่ง ก็ต้องกลับไปทบทวนวรรณกรรมว่าสถิติแต่ละค่าเป็นตัวบ่งชี้ต่อการแผนพัฒนาประเทศในด้านใด แล้วการเข้าเฟซบุ๊คมากผิดปกติเช่นนี้จะทำให้การศึกษาของไทยพัฒนาไปกว่าเดิมหรือไม่ ถ้ามีผลเป็นปฏิกิริยาต่อกันจะเป็นแนวแปรผันหรือแนวผกผัน

เมื่อเข้าอยู่ในสนามประลองย่อมต้องเหลียวซ้ายแลขวา และย้อนดูตนเองไปพร้อมกับการชำเรืองดูคู่แข่งขัน เพราะระบบการศึกษาของเราอยู่ในอันดับเกือบบ๊วย แล้ว 5 อันดับแรกคือใคร พบว่าเบอร์หนึ่งคือ ฟินแลนด์ ตามด้วย เกาหลีใต้ ฮ่องกง ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ หลังผลการจัดอันดับออกมาแล้วพบว่ากระทรวงศึกษาธิการขยับในหลายเรื่อง อาทิเช่น ส่งหนังสือเวียนไปยังโรงเรียนให้ยกเลิกการบังคับนักเรียนชายตัดผมเกรียน นักเรียนหญิงตัดผมบ๊อบ รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสั่งลดการบ้าน และหวังลดภาระนักเรียน เพื่อจะเน้นบูรณาการ ทั้งเนื้อหา เวลาเรียน การวัดผลประเมินผล และบูรณาการกลุ่มสาระการเรียนรู้ไม่ให้ซ้ำซ้อน ซึ่งเป็นการปฏิรูปการศึกษาที่ทำให้เกิดข้อถกเถียงในช่วงเวลาที่ผ่านมาว่าถูกที่ ถูกทางแล้วใช่ไหม

รายงานของเพียร์สันในส่วนสรุปผู้บริหาร (Executive Summary) ได้เขียนคำแนะนำสำหรับผู้จัดทำนโยบายด้านการศึกษาทั้งหมด 5 ข้อ ซึ่งขอสรุปเป็นวลีสำคัญดังนี้ ต้องลงทุนอย่างต่อเนื่อง สอนเด็กให้เลิศต้องสอนโดยครูที่เป็นเลิศ มีวัฒนธรรมที่ดีที่สนับสนุนการศึกษา พ่อแม่ต้องส่งเสริม สอนเรื่องที่นำไปใช้ในอนาคตได้ ซึ่ง 5 วลีนี้เป็นข้อเสนอในภาพรวมของการปฏิรูปการศึกษา หลังจากอ่านแล้วอ่านอีกหลายรอบ ก็รู้สึกอื้ออึงในสมองซีกซ้ายเป็นคำถามว่ามีเรื่องใดแก้ไขได้เร็วที่สุดบ้าง เพราะทุกเรื่องล้วนเป็นปัญหาที่พบเห็นเป็นประจักษ์ แต่ก็ฉุกคิดขึ้นมาได้ว่าถ้าประเทศของเราไม่มีปัญหาดัง 5 ข้อนี้ เราก็คงไม่ได้ตำแหน่งเกือบบ๊วยเป็นแน่

สำหรับข้อที่ 3 ในคำแนะนำของเพียร์สันเป็นเรื่องกลาง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนทุกอาชีพ และทุกวัยอย่างแท้จริง เกี่ยวตรงคำว่าวัฒนธรรม ก็ต้องทำความเข้าใจกันก่อนว่า วัฒนธรรม หมายถึง วิถีการดำเนินชีวิต รูปแบบของกิจกรรม ความสัมพันธ์ทางสังคม มุมมองต่อโลก และแนวการปฏิบัติของมนุษย์ ซึ่งวัฒนธรรม ความเชื่อ และค่านิยมที่กระทบต่อคุณภาพการศึกษามีมากมาย อาทิเช่น อยากเรียนต้องได้เรียน สอบได้เป็นเรื่องตลกสอบตกเดี๋ยวก็สอบซ่อม จ่ายครบจบแน่ เชื่อในสิ่งที่เห็น เห็นแต่สิ่งที่อยากเชื่อ ชิงสุกก่อนห่าม ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น ตั้งใจเรียนโตขึ้นจะได้เป็นเจ้าคนนายคน รีบเรียนให้จบนะลูกจะได้มาช่วยพ่อแม่ไถนา เรียนไปก็ตกงานจะตั้งใจเรียนไปทำไม เงินซื้อได้ทุกอย่างแม้แต่ปริญญา สาธุขอให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ช่วยลูกช้างให้สอบผ่านทีเถอะ หมอดูในทีวีทักมาว่าราศีไม่ดีสอบปลายภาคตกแน่ ปล่อยให้หนูจบเถอะไม่งั้นอาจารย์เจอดีแน่

การเปลี่ยนวัฒนธรรมด้านการศึกษาของคนไทยไม่ใช่เรื่องง่าย ดังคำว่า กรุงโรมไม่อาจสร้างเสร็จในวันเดียวฉันใด ก็ไม่อาจพัฒนาการศึกษาให้สำเร็จได้ในปีเดียวฉันนั้น เพราะการเปลี่ยนวัฒนธรรมการศึกษาต้องเริ่มต้นจากการมีต้นแบบวัฒนธรรมที่ดีที่เป็นแบบอย่างได้ ถ้ายังไม่รู้ยังไม่มีวัฒนธรรมการศึกษาที่ดีมีคุณภาพ และเป็นที่ยอมรับทั้งสังคม ประเทศก็คงค่อยเดินค่อยคลานไปในความมืดโดยมีเป้าประสงค์ที่เลือนรางรออยู่ เพราะในสังคมไทยมีผู้คนที่เดินสวนทางกับวัฒนธรรมการศึกษาคุณภาพอยู่มากมาย โดยเฉพาะภาคเอกชนที่จะได้รับผลกระทบทันที ถ้าคนในสังคมเริ่มคิดเป็น ทำเป็น แล้วรู้จักเลือกอุปโภคบริโภคที่ไม่ได้ไปอิงกับค่านิยม ความเชื่อ ตามอิทธิพลของสื่อ ตามคนหมู่มาก หรือแฟชั่นที่ฟุ้งเฟ้อ

! http://blog.nation.ac.th/?p=2563

news paper
news paper

http://www.facebook.com/photo.php?fbid=477721182295748&set=a.160162067384996.39239.100001736120394

แหล่งข้อมูล
http://thelearningcurve.pearson.com/
http://www.thairath.co.th/content/edu/325982
! http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMU56ZzJPRFl5T0E9PQ==
http://www.voathai.com/content/best-education-systems-ss/1557918.html
http://www.thaiall.com/blogacla/admin/2176/
http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/population_thai.html
http://www.socialbakers.com/facebook-statistics/cities/

ไซเบอร์โฮมหนุนการศึกษาไทยจริงหรือ (itinlife390)

game addiction
game addiction

มีนักวิชาการกล่าวถึงวิธีการแก้ปัญหาขาดแคลนครูในหลายโรงเรียนของไทย เพราะปัจจุบันมีโรงเรียนที่ไม่มีครูเลย บางโรงเรียนมี 1 คน ซึ่งสถิติในภาพรวมของประเทศมีอัตราส่วนของครูต่อนักเรียนประมาณ 1 ต่อ 20 ซึ่งมีความเหมาะสม แต่มีปัญหาที่การกระจายครู พบว่า บางพื้นที่ก็กระจุก บางทีก็ไม่มีเลยสักคน แต่มีนักเรียนรอเรียนหนังสืออยู่ ประกอบกับความต่อเนื่องของนโยบายแท็บเล็ตพีซีที่จะมาเป็นปีที่สอง หนุนด้วยการขยายพื้นที่บริการวายไฟร์ (Wi-Fi) และอินเทอร์เน็ตฟรีของกระทรวงไอซีที ล้วนสนับสนุนคำว่าไซเบอร์โฮม (Cyber Home) ให้เป็นจริง

เมื่อมองการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของเด็กไทย ก็พบรายละเอียดในข่าวการจัดงานแข่งเกมออนไลน์เมื่อปลายมีนาคม 2556 ที่ให้ข้อมูลว่ามีคนไทยที่เข้าเกม Hon เดือนละเกือบ 2 ล้านคน โดยเกม Hon กับเกม Point Blank มีสัดส่วนในร้านเน็ตกว่าร้อยละ 80 ซึ่งสถิตินี้ทำให้เกิดข้อสังเกตว่าเด็กไทยเข้าถึงโลกไซเบอร์ได้มากจนบริษัทเกมเลือกประเทศไทยเป็นเวทีหนึ่งในการจัดการแข่งขันของเกมเมอร์ (Gamer) แต่ทำไมเมื่อต้องแข่งขันทางวิชาการกลับพบว่าคะแนนอยู่รั้งท้ายของโลก เมื่อสพฐ.จัดสอบ National Test (NT) โดยใช้แนวข้อสอบแบบ PISA พบว่าด้านเหตุผลมีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าด้านคำนวณและด้านภาษา แล้วไปพบหนังสั้นเรื่องหนึ่งที่ฉายภาพว่าคุณครูยืนสอนอยู่หน้าชั้น แต่นักเรียนก็เปิดเฟซบุ๊คและเล่นเกมออนไลน์ อาจเป็นบรรยากาศที่ครูปล่อยให้นักเรียนเลือกเรียนรู้ด้วยตนเองมากเกินไป การใช้อินเทอร์เน็ตผิดวัตถุประสงค์แบบไม่ถูกที่ถูกเวลา โดยเฉพาะในขณะที่ครูกำลังพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทางวิชาการเพิ่มขึ้น ก็อาจเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่สะท้อนถึงสาเหตุที่ทำให้เด็กไทยมีศักยภาพในการแข่งขันด้านการศึกษาไม่เป็นไปตามคาด

ที่น่าเป็นห่วงคือการขยายโอกาสการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตของภาครัฐไปสู่ครัวเรือน แม้จะต้องใช้เวลาอีกหลายปีกว่าจะทำให้ทุกคนเข้าถึงสวัสดิการนี้ได้ แต่ถ้าวันนั้นมาถึงก็จะมีคำถามว่ายังมีเด็กติดเกมอยู่หรือไม่ ถ้ามีก็หมายความว่าอินเทอร์เน็ตเป็นอีกสาเหตุที่ทำให้การศึกษาล้มเหลว เพราะเด็กติดเกมก็จะไม่ใส่ใจกับการเรียน แต่จะอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เล่นเกมในโลกไซเบอร์ทั้งวันทั้งคืน พฤติกรรมที่แต่งชุดนักเรียนออกบ้านไปร้านเกมก็จะเกิดขึ้นน้อยลง เพราะไซเบอร์โฮมก็เหมือนย้ายร้านเกมไปอยู่ที่บ้าน ส่วนโรงเรียนก็คงจะตั้งอยู่ที่เดิมต่อไป

http://suite101.com/article/video-game-addiction–how-much-video-gaming-is-too-much-a279998

 

กลไกที่ทำให้สังคมมั่นใจในคุณภาพบัณฑิต [itinlife389]

หมอรักษาเสือ
หมอรักษาเสือ

 

รมต.กระทรวงศึกษาธิการ เซ็นอนุมัติให้เพิกถอนใบอนุญาตจัดตั้งมหาวิทยาลัยอีสาน แม้จะมีนักศึกษาหลายพันคน อันมีจุดเริ่มต้นมาจากข่าวขายปริญญาในปี 2554 (สุชาติ ธาดาธำรงเวช, 2555) เป็นสถาบันการศึกษาล่าสุดที่ถูกเพิกถอนด้วยเหตุผลเรื่องมาตรฐานการศึกษา และผลการตรวจสอบเงื่อนไขในวิชาชีพครู ซึ่งก่อนหน้านั้นมีวิทยาลัยบัณฑิตสกลนคร ปิดเมื่อปี 2540 และวิทยาลัยศรีอีสานปิดเมื่อปี 2533 นั่นแสดงให้เห็นว่าภาครัฐมีกลไกกำกับติดตามให้สถาบันการศึกษาดำเนินการจัดการเรียนการสอนให้ผู้สำเร็จการศึกษามีความรู้ความสามารถไปทำงานในสังคมได้ตรงกับที่กำหนดไว้

elephant

หลักสูตรที่เปิดสอนระดับอุดมศึกษาอาจจำแนกได้ 2 กลุ่ม คือ มีสภาวิชาชีพ และไม่มีสภาวิชาชีพ หมายความว่าหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพรับรองจะต้องจัดการเรียนการสอนตามที่สภาวิชาชีพเห็นชอบก่อนสอน เช่น เรียนวิชาอะไร เป็นเวลาเท่าใด คุณสมบัติอาจารย์ เครื่องมือที่พร้อม เงื่อนไขการฝึกงาน เป็นต้น เพราะหลังจากสำเร็จการศึกษาแล้ว สภาวิชาชีพจะออกใบรับรองวิชาชีพให้ไปทำงาน ถ้าไม่มีใบรับรองก็ไม่สามารถทำวิชาชีพนั้นได้ อาทิ สัตวแพทย์ วิศวะ พยาบาล แพทย์ เป็นต้น การได้ใบรับรองวิชาชีพมีกระบวนการตั้งแต่ก่อนเปิดหลักสูตร ระหว่างจัดการเรียนการสอน และภายหลังจากสำเร็จการศึกษา

dog

กลางมีนาคม 2556 พบข่าวว่าหลักสูตรสัตวแพทย์ในสถาบันหนึ่ง ที่สภาวิชาชีพไปตรวจมาตรฐานครั้งแรก หลังเปิดหลักสูตรแล้ว 5 ปี พบว่าหลักสูตรไม่ผ่านหลังเปิดสอนแล้ว 5 รุ่น รวมทั้งสิ้น 170 คน ถ้าสภาฯ ไม่ออกใบรับรองให้จริงก็จะทำให้ผู้สำเร็จการศึกษากลุ่มนี้ไม่สามารถไปรักษาสัตว์ได้ อีกหลักสูตรคือ วิศวกรรมศาสตร์ที่อาจไม่ได้ใบรับรองวิชาชีพหากสภาวิชาชีพไม่รับรอง แต่บัณฑิตกลุ่มนี้สามารถนำความรู้ และปริญญาไปประกอบอาชีพแบบไม่มีใบรับรอง ซึ่งทั้ง 2 หลักสูตรนี้เป็นอีกเหตุการณ์ที่สะท้อนความเข้มงวดเรื่องคุณภาพการศึกษา ส่วนสาขาด้านไอทีนั้น ปัจจุบันยังไม่มีสภาวิชาชีพ แต่ผู้สำเร็จการศึกษามักกรองตนเองไปทำงานด้านอื่น เพราะตำแหน่ง web developer, mobile developer, developer, network admin, server admin ก็ล้วนต้องเข้าใจในเรื่องนั้นก่อนสมัครงาน เนื่องจากงานที่ทำจะวัดกันตั้งแต่วันที่เริ่มงาน ไม่มีลองผิดลองถูก หากไม่เข้าใจก็จะเริ่มต้นไม่ได้ ต่างกับอาชีพอื่นที่ค่อยเรียนรู้และฝึกฝนกันไป

 

http://th.wikipedia.org/wiki/รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1303890331&grpid=01&catid=no