education

#เล่าสู่กันฟัง 63-002 กฎการเรียน ข้อ 1

ปัจจุบันสำหรับนักเรียนแล้ว จะมีข้อมูล สารสนเทศ กฎ กติกา ระบบ ระเบียบ เงื่อนไข โอกาส ภัยคุกคาม สิ่งล่อ สิ่งเร้า ทั้งจากในตนเอง ในกลุ่มเพื่อน ในครอบครัว ในหมู่บ้าน ในโรงเรียน ในประเทศ หรือในโลก วิ่งเข้ามาหา มาชนตลอดเวลา แบบที่เรียกว่า Too fast to think แล้ว

ดร.วิริยะ ฤาชัยพาณิชย์ เคยโพสต์ไว้ใน AJWiriya
ทำให้ฉุกคิดได้ว่า น่านำมาตั้งเป็นกฎได้ 2 ข้อ ดังนี้

กฎข้อ 1
เรียนเพื่อทำงานได้
ไม่ใช่เรียนเพื่อของานใครทำ
เรียนเพื่อปัญญา
ไม่ใช่เรียนเพื่อปริญญา

กฎข้อ 2
ถ้ามีกฎใดชวนคิดต่าง
ก็อย่าเสียเวลาให้มากนัก
ให้กลับไปมอง กฎข้อ 1

สรุปว่า #เรียนเพื่อทำงานได้
เป็นคาถาที่อยากฝากไว้เป็น #แรงบันดาลใจ
ฝั่งอยู่ในใจ และคิดถึงบ่อย ๆ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10157186345671171&id=284423006170

ชวนดูหนังเรื่อง
#สยบฟ้าพิชิตปฐพี (ever night)
ที่เข้ากับคำว่า #เรียนไว้ใช้ ได้ดีจริง ๆ
http://thaiall.com/handbill/

ในทางการศึกษา มีอะไรก็ต้องบอกกันไว้ก่อน ว่าจะรับกี่คน มิเช่นนั้นจะไม่ผ่าน

นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
นักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

แต่ละปี จะมีข่าวการศึกษาที่ใหญ่หลายเรื่อง
อาทิ 31 ค.ค.2555 ก็มีมติยุบมหาวิทยาลัยอีสาน
กลางปี 2559 มีข่าว เปลี่ยนจาก admission เป็น entrance เริ่มปีการศึกษา 2561
แล้วสิ้นปี 2559 ข่าวนี้น่าจะใหญ่มาก คือ ไม่ให้ตั๋วบริหารการศึกษา
บอร์ดคุรุสภาไม่อนุมัติใบอนุญาตผู้บริหาร 4 มหาวิทยาลัย อีก 7 มหาวิทยาลัยให้ผ่านได้

ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา
ครูและนักเรียนที่โรงเรียนเรือนแพ ใน คิดถึงวิทยา

โดยที่ประชุมจึงมีมติอนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษาให้ 7 แห่ง ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.)
2. มหาวิทยาลัยศิลปากร (มศก.)
3. มหาวิทยาลัยบูรพา (มบ.)
4. มรภ.บุรีรัมย์
5. มรภ.สุราษฎร์ธานี
6. มรภ.เชียงราย
7. มรภ.ภูเก็ต

ส่วนอีก 4 แห่ง ที่ประชุมมีมติไม่อนุมัติใบอนุญาตประกอบวิชาชีพผู้บริหารการศึกษา
ให้แก่ผู้สำเร็จการศึกษาในปีการศึกษา 2557 และปีการศึกษา 2558 ดังนี้

1. มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
2. มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
3. วิทยาลัยทองสุข
4. วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม

เนื่องจากรับนักศึกษาเกินกว่าที่แจ้งให้ สกอ.
http://www.matichon.co.th/news/342244

ขอทำนาแทนทำข้อสอบ

https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158
https://www.facebook.com/tanpisitlive/posts/1196006627133158

นักเรียน .. “ขอทำนาแทนทำข้อสอบ” ผู้อ่านหลายท่านอาจรู้สึกแปลกใจ
แต่ถ้าผู้อ่านท่านใดได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา”
ก็คงจะรู้ว่าไม่ใช่นักเรียนทุกคนที่อยากเป็น แพทย์ เภสัช ทันตะ วิศวะ
เด็กบางคนมีปู่ มีพ่อทำประมงในเขื่อนมาทั้งชีวิต ก็มีฝันจะทำประมงกับครอบครัวไปทั้งชีวิตเช่นกัน เด็ก(ที่บอกว่าทำนาแทน)คนนี้ก็ไม่ได้เห็นประโยชน์อะไรของการแก้สมการ ไม่เขียนแม้แต่บรรทัดแรกที่แสดงความพยายามแก้สมการ ก็คงเพราะเขาคิดว่าจะทำนาซึ่งคาดว่าเป็นอาชีพที่เขาคุ้นเคย มีคนไทยไม่น้อยประสบความสำเร็จจากอาชีพทำนา
.. เรียกว่า วัตถุประสงค์ไม่ตรงกัน หรือมีการเลี้ยงดูทางการศึกษาแตกต่างกัน
http://www.thaiall.com/student/

+ ไปอ่านเม้นท์ที่ผู้คนเค้าแลกเปลี่ยนกันเรื่องนี้ได้ครับ
https://www.facebook.com/kapookdotcom/posts/1166799276690246
+ ชัยพร พรหมพันธุ์ ชาวนาเงินล้าน และลูกลุงจบปริญญาทุกคน เกียรตินิยมด้วย
http://hilight.kapook.com/view/42576

ถามศิษย์มาเยอะล่ะ ถามครูบ้างว่า ทำไมครูเค้าออกข้อสอบข้อนี้

คำถามที่ 63 ของ สทศ.
คำถามที่ 63 ของ สทศ.

[เหตุ]
พบโพสต์ของ อ.วิริยะ แชร์ข้อสอบ สทศ.ข้อ 63
ประเด็นต้นเรื่องตามลิงค์ ผมไม่ขอพูดถึง
แต่ที่สนใจ และเกิดคำถามเกิดขึ้นในใจผมเอง
ว่า “ครูคิดว่า ข้อสอบแบบนี้ต้องการอะไรจากเด็ก”
ถามสั้น แต่พาดพิงไปถึงวัตถุประสงค์ กระบวนการ และสิ่งที่คาดหวัง
https://www.facebook.com/ajWiriya/photos/a.109418075746852.10885.109357035752956/1146402255381757/

[ก่อนหน้านี้]
มีบทสนทนา “นิทานศิษย์คอม

ศิษย์ .. ทำไมต้องให้เขียนศัพท์
ครู .. ถามทำไมล่ะ
ศิษย์ .. ไม่อยากเขียนครับ ไม่เห็นประโยชน์
ครู .. เรียนอังกฤษ เรียนคอม เรียนไอที ก็ต้องรู้ศัพท์คอม สิครับ
มีหนังสือ “คู่มือ Cyber Security สำหรับประชาชน
ใคร ๆ เค้าก็อ่านกัน มีศัพท์ท้ายเล่ม บทที่ 9 หน้า 206
มี 28 คำ ไปอ่านนะ น่าสนใจ ดาวน์โหลดได้ด้วย
http://www.ebooksdownloadfree.net/2015/09/cyber-security.html
สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เค้าทำแจกทั่วประเทศ เป็นรูปเล่มที่ผมก็มีนะ ได้รับแจกมา
ศิษย์ .. –!
ครู .. ไปอ่านเถอะ ไม่รู้ศัพท์ แล้วจะคุยกันรู้เรื่องเหรอ
นี่ขนาดข้อสอบ TU Star ความรู้ ม.4 ม.5 เค้ายังถามเลยว่า “Zombie” คอมพิวเตอร์คืออะไร
ศิษย์ .. รู้สิ

zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล
zombie คือ การเข้าควบคุมเหยื่อระยะไกล

+ http://www.thaiall.com/blog/burin/7206/
+ https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717816878435770/
[สรุป]
ทุกปัญหามักมาจากการคิดต่าง (think different)
การคิดต่างมักต่างกันที่ วิสัยทัศน์ กลยุทธ์ เป้าหมาย วัตถุประสงค์ กระบวนการ ผลที่คาดหวัง

– วิสัยทัศน์ = เราจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– กลยุทธ์ = พัฒนานักเรียน และครู
– เป้าหมาย = ระบบการศึกษาไทยจะเป็นที่หนึ่งในอาเซียน
– วัตถุประสงค์ = เพื่อยกระดับการศึกษาของเด็กนักเรียน
– กระบวนการ = ปรับหลักสูตรให้สอดรับกับ PIZA สำหรับปีแรก
– ตัวบ่งชี้ (KPI) = คะแนนเฉลี่ยเด็กสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา สำหรับปีแรก

? การศึกษาไทยเป็นแบบนี้รึเปล่า คือ มองเป็นเส้นเดียวกัน คิดและทำเป็นระบบที่มีกลไกเดียวกัน

[ปัญหาการศึกษาไทย]
อ.วิริยะ บรรยายในแนวที่ว่า
“หวังอย่างหนึ่ง ทำอย่างหนึ่ง แล้วจะได้ผลเป็นอย่างที่หวังได้อย่างไร”
นี่คือปัญหาของระบบ objective -> process -> kpi
อย่างกรณี “ศิษย์คอม”
นั่นก็เป็นปัญหาที่ครู กับศิษย์ เห็นกระบวนการแตกต่างกัน
ที่ อ.วิริยะ พูดถึง “เด็กเรียนอย่างมีความสุข”
ก็ยังเป็นประเด็นที่น่าสนใจ และน่าติดตามอยู่เสมอ

[ข้อสอบเท่าทันโลก]
พบข้อสอบ TU Star ข้อหนึ่ง
พบว่าเด็กสมัยนี้หลายคนไม่ได้อ่านข่าวสารบ้านเมือง
คำถามถามครู
คือ “ครูคิดว่านักเรียนมัธยมปลาย ต้องติดตามข่าวสารในสื่อรึเปล่า
ข้อสอบถามว่า
โครงการ [ปลูกเลย] ที่โจอี้บอยไปเป็นจิตอาสาปลูกต้นไม้ เกิดขึ้นที่ไหน
คำตอบคือ “น่าน
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/a.1717807878436670.1073741840.1516128351937958/1717808038436654/

[TU Star]
TU Star ปีแรก รอบแรก 1/59
Menu: Star 00
มีข้อสอบมาแบ่งปัน ดูแนวข้อสอบได้ที่
https://www.facebook.com/gatconnectmaster/photos/?tab=album&album_id=1717807878436670

[O-NET]
ข้อสอบ O-NET ป.3 และ ป.6
สทศ.เปิดให้ download
http://www.niets.or.th/examdownload/

[gat]
ข้อสอบ GAT
สทศ.เปิดให้ download แล้วมีการนำมาเผยแพร่ต่อมากมาย
http://forum.02dual.com/index.php?topic=1471.0
http://www.trueplookpanya.com/knowledge/detail/30447-042944

เรื่องซึ้ง เกี่ยวกับการเลือกเดินรถของภาครัฐ สำหรับนักเรียนคนหนึ่ง

นักเรียนคนหนึ่ง
นักเรียนคนหนึ่ง

อ่านเรื่อง รถไฟบนเกาะฮอกไกโดแล้วซึ้ง
อ่านเรื่อง รถ BRT ช่องนนทรี-ราชพฤกษ์ แล้วน่าคิดตาม
อ่านเรื่อง ควบรวมโรงเรียนใน 4 รูปแบบ แล้วน่าคิดตาม

ความตรงต่อเวลา
เป็นสิ่งที่ทั้ง 2 ฝ่ายต้องรักษา
เป็นอย่างดี


19 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “กทม.​ เตรียมปิดฉาก BRT สายช่องนนทรี-ราชพฤกษ์”
รายละเอียดส่วนหนึ่ง คือ “จากข้อมูลของกทม. BRT มีผู้โดยสารเฉลี่ย 23,000 คน/วัน
พลาดจากเป้าที่วางไว้ 30,000 คน/วัน ทำให้ขาดทุนถึง 1,000 ลบ.
เนื่องจาก กทม. ต้องควักเนื้อ งบประมาณอุดหนุนโครงการ ปีล่ะ 200 กว่าลบ.
เพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบ-เดินรถให้ BTSC-บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ เป็นระยะเวลา 7 ปี
ซึ่งสัญญาจะสิ้นสุด เม.ย.2560″ แต่เตรียมหาระบบอื่นทดแทน อยู่ระหว่างศึกษา
บทความโดย : Yuii ที่มาข่าว: ประชาชาติ
http://goo.gl/wvjuax

7 มิ.ย.59 อ่านเรื่อง “สพฐ. ยันไม่ยุบโรงเรียนขนาดเล็ก”
รมว.ศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้ สพฐ.
ไปดำเนินการว่าจะมีการบริหารจัดการอย่างไร โดยเบื้องต้น สพฐ.ได้ดำเนินการใน 4 รูปแบบ
1. ควบรวมทั้งโรงเรียน
2. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียน
3. ควบรวมแบบสลับชั้นเรียนบางช่วงชั้น
4. ควบรวมแบบคละชั้น
โดยเป้าหมายหลัก คือ ต้องให้โรงเรียนมีครูครบชั้น และมีนักเรียนที่เหมาะสมกับห้องเรียน
ซึ่งก็หมายความว่าทั้ง 2 โรงเรียน ต้องมาบริหารโรงเรียนร่วมกัน
โดยวิธีการควบรวม แต่ไม่ใช่การยุบเลิกโรงเรียน เว้นแต่โรงเรียนที่มีที่ตั้งสภาพทางภูมิศาสตร์
ที่เป็นข้อจำกัด คือ อยู่ห่างไกล พื้นที่สูง อยู่บนเกาะ เป็นต้น
http://www.kruwandee.com/news-id31815.html

อ่านเรื่องควบรวมโรงเรียนแล้ว คิดถึงภาพยนตร์เรื่อง “คิดถึงวิทยา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่า The Teacher’s Diary
https://www.youtube.com/watch?v=269Mit_Ip80

15 ม.ค.59
ซึ้ง! รถไฟญี่ปุ่นยอมเดินรถรับ-ส่งนักเรียนหญิงคนเดียวจนจบการศึกษา เป็นเวลา 3 ปี
http://manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000004840

14 ม.ค.59
การรถไฟญี่ปุ่นบนเกาะฮอกไกโดจะทำการยกเลิกรถไฟเที่ยวสถานี “คายุ ชิราตากิ”
https://www.facebook.com/prince.alessandro.92/posts/10153879626451057

31 มี.ค.59
ปิดตัวแล้ว สถานีรถไฟญี่ปุ่นรับ-ส่งนร.หญิงคนเดียวจนจบการศึกษา (ชมคลิป)
http://www.manager.co.th/Japan/ViewNews.aspx?NewsID=9590000032991

12 ม.ค.59
Japan is keeping an entire train station open for just one passenger.
Kana Harada lives in Shirataki, a neighborhood with just 36 people.
She takes the train every day to the closest high school, 35 minutes away.
And She’s the only one who gets on.
“I got on and off this train for the last three years.”
“.. and this station’s presence has become something..”
“.. I have taken for granted.”
“I do feel sad to think it will disappear.”
Local residents build the station in 1955 to get kids to school.
When Harada graduates in March, the station will shut down.
“I remember getting on the train..”
“.. at an important time in my development.”
“I get very emotional about it.”
“I am glad we had this station here.”
Harada is proud to be the train’s last passenger.
[INSIDER]
https://www.youtube.com/watch?v=4BhiGKFtUA4

ธรรมาภิบาล เรื่องที่ต่างมุมก็ต่างมอง

ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน
ธรรมาภิบาล น่าจะผ่านทุกสถาบัน

ก็ สกอ.เห็นว่า หลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล
แต่ทุกมหาวิทยาลัยประเมินตนเองได้คะแนนธรรมาภิบาลผ่านเกือบทุกสถาบัน
(ที่ไม่ผ่านก็ยังไม่เห็น แต่อาจมี)

อ่านที่ ศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ และ น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ แสดงทัศนะไว้ในสื่อ
เห็นว่าน่าสนใจจึงนำไปทำเว็บเพจแกะประเด็นทั้ง 10 ของธรรมาภิบาล
เตรียมเล่าให้ลูกศิษย์ฟัง
ที่ http://www.thaiall.com/ethics/governance.htm

หลังเกิดเหตุ ดอกเตอร์ทำร้ายกันในสถาบันการศึกษา เมื่อเช้า 18 พ.ค.59 และยิงตัวตายเย็น 19 พ.ค.59 จนเป็นเหตุให้ดอกเตอร์เสียชีวิตรวม 3 คน ก็มีการหยิบประเด็นธรรมาภิบาลขึ้นมาพูดคุยในแวดวงการศึกษา เรื่อง หลักธรรมาภิบาล ซึ่งประเด็นนี้เป็นเกณฑ์ประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา ของคณะวิชา และสถาบันสำหรับทุกสถาบันการศึกษา มาตั้งแต่ปี 2553 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 7.1 เกณฑ์ที่ 6 หน้า 83 “ผู้บริหารบริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาล โดยคำนึงถึงประโยชน์ของสถาบันและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย” ส่วนปี 2557 ตามคู่มือมีตัวบ่งชี้ 5.1 เกณฑ์ที่ 4 หน้า 120 และ 142 ของคณะและสถาบันเหมือนกันว่า “บริหารงานด้วยหลักธรรมาภิบาลอย่างครบถ้วนทั้ง 10 ประการที่อธิบายการดำเนินงานอย่างชัดเจน” ซึ่งคะแนนส่วนนี้ ทุกสถาบันการศึกษาได้คะแนนเต็มเกือบทุกสถาบัน

ต่อมา 24 พ.ค.59
พบใน posttoday.com ว่า รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ เลขาธิการศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ (CHES) วิเคราะห์ว่า การเสียชีวิตของด็อกเตอร์ทั้ง 3 คน ซึ่งสังคมส่วนใหญ่มองว่าเป็นความขัดแย้งส่วนตัว แต่ในฐานะผู้ทำงานช่วยเหลือบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐมานานกว่า 10 ปี เขาเชื่อว่า ต้นตอแท้จริงมาจากระบบการบริหารจัดการที่ขาดหลักธรรมาภิบาล
http://www.posttoday.com/analysis/interview/433596

ต่อมา 25 พ.ค.59
พบใน dailynews.co.th ว่า น.ส.อาภรณ์ แก่นวงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) เปิดเผยถึงปัญหาธรรมาภิบาลในมหาวิทยาลัยว่า ปัจจุบันหลายมหาวิทยาลัยมีปัญหาธรรมาภิบาล ดูได้จากข้อร้องเรียนต่าง ๆ ทั้งที่เป็นความขัดแย้งระหว่างสภามหาวิทยาลัยกับผู้บริหาร, ผู้บริหารกับบุคลากร หรือเรื่องหลักสูตรการเรียนการสอนไม่มีคุณภาพ แต่หากทุกคนในมหาวิทยาลัยยึดหลักธรรมาภิบาลในการทำงาน ปัญหาก็จะไม่เกิด ซึ่งที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา(สกอ.) ก็พยายามส่งเสริมให้ทุกมหาวิทยาลัยมีธรรมาภิบาล โดยมีทั้งหลักสูตรพัฒนาผู้บริหารมหาวิทยาลัย และบุคลากร แต่ต้องยอมรับว่าเรื่องธรรมาภิบาลเป็นเรื่องบุคคล และการเปลี่ยนแปลงก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
http://www.dailynews.co.th/education/399997

อาจารย์ ดอกเตอร์ ม.ราชภัฎพระนคร ยิงกันเสียชีวิต 2 ราย และผู้ลงมือเสียชีวิตในเวลาต่อมา

อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร

เหตุเกิดประมาณ 9 โมง วันที่ 18 พ.ค.59 ตามข่าวทราบว่า
ที่ ห้องพุทธวิชชาลัย ชั้น 5 อาคารเรียนรวมและศูนย์วัฒนธรรม ม.ราชภัฎพระนคร
เหตุเกิดในระหว่างสอบภาคนิพนธ์ของนักศึกษาปริญญาโท ในห้องมีรวมกัน 5 คน
คือ อาจารย์ 3 ท่าน และนักศึกษา 1 คน กับเพื่อนนักศึกษาอีก 1 ท่าน
ชื่อเดิมคณะคุรุศาสตร์ เปลี่ยนเป็น วิทยาลัยการฝึกหัดครู
อาจารย์ผู้ก่อเหตุมีปัญหากับประธานสอบมาก่อน
เข้ามาแล้วก็ยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่านจนเสียชีวิต
คือ ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม อายุ 56 ปี
กศ.บ.(การบริหารการศึกษา), กศ.ม. (การศึกษาผู้ใหญ่), Ph.D.(Development Education)
ประธานสาขาวิชาบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย มรภ.พระนคร
และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี อายุ 54 ปี
ค.บ. (อุตสาหกรรมศิลป์), พณ.ม. (พัฒนาสังคม), กศ.ด. (การบริหารการศึกษา)
ผอ.สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน มรภ.พระนคร

ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี http://www.matichon.co.th/news/139724
ผศ.ดร.พิชัย ไชยสงคราม และ ดร.ณัฐพล ชุมวรฐายี
http://www.matichon.co.th/news/139724

ตามข่าวทราบว่า ดร.วันชัย ดนัยตโมนุท อายุ 60 ปี
กศ.บ. (ฟิสิกส์), วท.ม. (การวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์), ศษ.ด.(บริหารการศึกษา)
อาจารย์ประจำวิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาบริหารการศึกษา หลักสูตรปริญญาโท มรภ.พระนคร
เป็นผู้ก่อเหตุยิงอาจารย์ทั้ง 2 ท่าน
แล้วยิงตนเองจนเสียชีวิตเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2559 ที่โรงแรมสุภาพ กทม.
+ http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=1463544579
http://www.dailynews.co.th/crime/398329
+ https://www.facebook.com/matichonweekly/photos/a.494435107250507.121360.127655640595124/1300938559933487/
+ http://news.mthai.com/hot-news/general-news/495802.html
http://www.nationtv.tv/main/content/crime/378502109/

ระบบการเสนอข่าวดอกเตอร์เสียชีวิต (itinlife553)

เหตุการณ์ที่อาจารย์ดอกเตอร์ทั้ง 3 เสียชีวิตเมื่อปลายเดือนพฤษภาคม 2559 นั้น เหตุเกิดครั้งแรกที่ห้องสอบหัวข้อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษา การนำเสนอข่าวครั้งแรกทำให้มีข้อสงสัยว่าปัญหานั้นเกิดจากการถกเถียงกันระหว่างกรรมการสอบที่ร่วมกันพิจารณาผลงานนักศึกษาในประเด็นที่มาของปัญหา วัตถุประสงค์ วรรณกรรมอ้างอิง กรอบแนวคิด วิธีวิทยา เครื่องมือวิจัย การเก็บข้อมูล ผลการศึกษา หรือการเขียนรายงานสรุปผลหรือไม่ หากเป็นจริงแล้วเหตุการณ์ก็จะเกิดจากความมีอัตตาในบุคลากรทางการศึกษา

หลังตำรวจพบว่าผู้ก่อเหตุและพยายามเจรจาให้จบลงด้วยดี ระหว่างนั้นก็มีการเสนอข่าวด้วยการถ่ายทอดสด ที่มีลักษณะที่เป็นการนำเสนอเนื้อหารายการที่อาจเข้าข่ายมีพฤติกรรมแสดงออกถึงความรุนแรง เป็นการถ่ายทอดสด การฆ่าตัวตาย จนมีหนังสือตักเตือนทั้งด้วยวาจา และหนังสือไปยังสื่อที่ถ่ายทอดสดว่าให้ระมัดระวัง เพราะมีผลกระทบต่อการให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชนอย่างร้ายแรง อาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย ในมาตรา 37 หมวด 2 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 แต่ระบบและกลไกในระดับสถานีโทรทัศน์ก็ยังเป็นประเด็นคำถามว่าต้องทำอย่างไร จึงจะเหมาะสม

เนื่องจากระบบและกลไกจะถูกใช้ในเหตุการณ์ปกติ แล้วระบบและกลไกของเหตุการณ์นี้ควรเป็นแบบใด ในเมื่อเป็นเรื่องที่สังคมกำลังจับจ้อง สะท้อนความจริงของสังคม วินาทีใดระหว่างรายงานที่ควรตัดจากการถ่ายทอดสดเข้าไปในสตูดิโอ เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบทำให้เกิดความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน จุดใดที่ควรหยุดด้วยเหตุและผลเชิงวิชาชีพสื่อสารมวลชนสำหรับแต่ละสถานี มีการวิพากษ์กันมากทั้งการถ่ายทอดสดผ่านสถานีโทรทัศน์ และจากผู้ใช้งานโซเชียลมีเดีย แล้วยังมีกรณีตัวอย่างจากภาพยนตร์เรื่อง เหยี่ยวข่าวคลั่งล่าข่าวโหด หรือ คู่อำมหิตฆ่าออกทีวี หรือกรณีของปอ ทฤษฎี เองก็มีการพูดถึงปัญหาสื่อละเมิดสิทธิ ที่ขัดต่อจรรยาบรรณ ล่าสุด กสทช. ออกหนังสือขอความร่วมมือให้สถานีโทรทัศน์ปฏิบัติตาม เพราะอาจผิดกฎหมาย และมีบทลงโทษตามมา
+ http://news.mthai.com/hot-news/social-news/496117.html

http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000050882

http://www.komchadluek.net/detail/20160123/221096.html

http://www.dailynews.co.th/crime/398757

http://www.dailynews.co.th/crime/398673

บทความในไทยรัฐเค้าว่า งบการศึกษาระดับอุดมศึกษา 88% อุ้มคนรวยปานกลาง ถึง สูง

16 เมษายน 2559 อ.ธวัชชัย แชร์เรื่องที่อ่านพบจากไทยรัฐมาในกลุ่ม
1. เมื่ออ่านบทความในไทยรัฐ พบข้อมูลเชิงสถิติว่า เด็กที่จนไม่เรียนต่อมหาวิทยาลัย
คำว่าจน หมายถึง ครอบครัวรายได้ต่ำสุด 20%
ตอนแรก พบว่า 50% ในกลุ่มเด็กจน ไม่เรียนต่อ ม.ปลาย แม้เรียนฟรีก็ตาม
ตอนที่สอง พบว่า มีแค่ 7% เท่านั้นที่เด็กจนจะศึกษาต่อจนถึงอุดมศึกษา
2. แล้วงบอุดมศึกษากว่า 78 ล้าน
งบส่วนนี้จะสนับสนุนเด็กจนถึง 12%
แต่เห็นได้ชัดว่ามีถึง 88% ที่ไปสนับสนุนคนที่รายได้ปานกลาง กับรายได้สูง
3. เท่าที่อ่านดู คนที่เรียบเรียงเรื่องนี้ใช้คำว่า “อุ้ม”
ถ้าจะไม่ให้อุ้ม ก็ต้องให้เสมอภาค (Equality) ต้องจัดงบประมาณใหม่
– เด็กจน 34%
– เด็กปานกลาง 33%
– เด็กรวย 33%
4. ข้อมูลโดย ดร.ไกรยส ภัทราวาท ผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายเศรษฐศาสตร์การศึกษา
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.)
http://www.thairath.co.th/content/606365

ปล. ข่าวนี้สนใจคำว่า “อุ้ม” คำเดียว เพราะผมเห็นคล้อยตามนักข่าวเลยครับ
เรื่องอื่นไม่ได้นำมาคิดเลย คิดแล้วเดี๋ยวหาทางออกไม่ได้
เพราะคำว่าเสมอภาค (Equality) กับความยุติธรรม (Justice) มักไม่อยู่ด้วยกัน

งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา
งบการศึกษากับคิดถึงวิทยา

เรื่องนี้ทำให้นึกถึงภาพยนตร์เรื่อง คิดถึงวิทยา
http://pantip.com/topic/31811064

ข่าวปรับรูปแบบการประเมินให้ดีขึ้น เด็กจะมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

ความสุข ในมุมมองของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
– นักพัฒนาการศึกษา ก็คิดอย่าง
– ครู ก็คิดอย่าง
– เด็ก ก็คิดอย่าง
– ผู้ปกครอง ก็คิดอย่าง
– ชาวบ้านชาวช่อง ก็คิดไปอีกอย่าง

ข่าวในเดลินิวส์เมื่อ 15 เมษายน 2559 ว่า
กระทรวงศึกษาธิการ โดย นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมช.ศึกษาธิการ เปิดเผยว่า
การกำหนด หรือสร้างตัวชี้วัดความสำเร็จ (KPI) ที่กำลังพัฒนาใหม่ให้ดีกว่าเดิม และสมบูรณ์
และจะส่งต่อให้ สมศ. พัฒนาให้สอดคล้องกัน
และจะปรับปรุงการเรียนการสอนเริ่มภาคที่ 2 ปีการศึกษา 2559
เน้นวิชาหลัก เช่น คณิต วิทย์ ไทย อังกฤษ เรียนอย่างน้อยวิชาละ 1 ชั่วโมงต่อวัน
เพื่อให้เข้มแข็งทางวิชาการ และเพื่อให้เด็ก ๆ มีความสุขกับการเรียนมากขึ้น

[ความสุข]
ผมว่าใคร ๆ ก็ตั้งใจพัฒนาการศึกษาให้เด็กมีความสุขกับการเรียนมากขึ้น
ต่อไปวิชาหลักก็จะเรียนกันทุกวันตั้งแต่เด็ก เป็นประเด็นที่น่าสนใจ
เพราะโตขึ้นพอเข้ามหาวิทยาลัย อาจไปกวดวิชากันน้อยลง
เพราะเรียนมาเยอะล่ะ จึงไม่จำเป็นต้องเรียนข้างนอกอีก
– พ่อแม่ก็มีความสุข ไม่ต้องเสียตังให้ลูกไปกวดวิชา
– เด็กก็มีความสุข เรียนในห้องเยอะล่ะ ไม่ต้องไปกวดวิชา
ถ้าในโรงเรียนสอนกระหยองกระแหยง เด็กก็ต้องไปเรียนพิเศษข้างนอก
เพราะเวลาเรียนในห้องไม่พอเรียนรู้เนื้อหาที่มีอยู่ จึงต้องไปขวนขวายหาเอง
อ่านต่อที่ : http://www.dailynews.co.th/education/391701

mama tutor
mama tutor

http://www.dek-d.com/admission/25831/

ความเห็น เรื่องเห็นต่าง

teacher & student
teacher & student

ปัจจุบันครูไทย .. เลือกปฏิบัติมาได้พักหนึ่งแล้ว
กับนักเรียนแต่ละคนแตกต่างกันแล้ว
นักเรียนก็เลือกเรียนกับครูแตกต่างกันแล้ว เช่นกัน

หมายความ ..
ว่าครูไม่ได้สาดวิชา โดยไม่ดูนักเรียน ดูใกล้ชิดเลย
และนักเรียนก็ไม่ได้รอรับการสาดวิชากับอยู่อย่างเดียว
เพราะถ้าครูไม่สาด หรือสาดน้อยไป เจอเปลี่ยนที่เรียนครับ

มีข้อมูลแลกเปลี่ยน .. ดังนี้
1. นักเรียนมีหลายกลุ่ม
กลุ่มที่เปิดรับวิชาจะเลือกที่เรียนที่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนประจำจังหวัด ที่สมัครเป็นพัน แต่รับไม่กี่ร้อย
กลุ่มที่ไม่อยากรับอะไร ก็เลือกที่เรียนที่ไม่สาดวิชา
เช่น โรงเรียนในชุมชน โรงเรียนที่ไม่ต้องสอบแข่ง
2. คุณครูมักไม่เทจนหมดหน้าตักในห้องเรียน
เพราะเงื่อนไขเยอะมาก เวลาสอนน้อยลงเยอะ
ต้องเกลี่ยไปตามกลุ่มสาระ ต้องบูรณาการ ติดงานหลวง
3. ถ้าเด็กอยากเรียนมาก ครูก็เปิดติว
พากลับไปเรียนต่อที่บ้าน จัดคอร์สพิเศษ สำหรับผู้สนใจ
4. ในแต่ละโรงเรียน มีหลายห้องตามถนัด ตามชอบ
แบ่งห้อง king queen math engl
5. โรงเรียนประจำจังหวัด
สอบเข้า ม.1 แล้ว ถ้าไม่พร้อมรับการสาดวิชา
ต้องกรองอีกตอนสอบเข้า ม.4
ถ้าไม่อยากเรียน ก็ไม่ต้องทำข้อสอบ
ไปหาโรงเรียนเบา ๆ เรียนได้ เด็กเลือกได้เสมอ

กลอนโดย กอบวิทย์ พิริยะวัฒน์
http://teacherkobwit2010.wordpress.com/

เปรียบคนถือสายยางนี้นี่คือครูเปรียบสายน้ำคือความรู้ครูสอนให้
เปรียบศิษย์กับภาชนะต่างกันไป
เปรียบให้เห็นตระหนักไว้ให้คิดกัน
หากเรามุ่งแต่สาดน้ำไปมั่วซั่ว
แม้จะทั่วแต่จะรับได้ไหมนั่น
ภาชนะแต่ละใบแตกต่างกัน
แต่ละอันมีเด่นด้อยต่างกันไป
บ้างเป็นขวดบ้างเป็นแก้วบ้างเป็นอ่าง
บ้างมีรูอยู่ข้างล่างบ้างเล็กใหญ่
บ้างคว่ำอยู่ไม่เปิดรับสิ่งอื่นใด
รับน้ำได้เท่ากันไหมลองคิดดู
เช่นเดียวกับการสอนศิษย์ของครูนั้น
เด็กต่างกันคือสิ่งที่ครูต้องรู้
ปรับการสอนให้เหมาะสมช่วยอุ้มชู
ตามศักยภาพที่มีอยู่ในตัวตน
ครูที่ดีต้องไม่ใช่สาดความรู้
ตริตรองดูสอนอย่างไรให้เห็นผล
คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
พัฒนาจนศิษย์เก่งดีมีสุขเอย

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=808741769153811&set=a.118832161478112.15682.100000539852258
ที่มา: วรภัทร์ ภู่เจริญ. 2543.
การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ
กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ สสท. หน้า 11

ในภาพยนตร์จำลองเหตุการณ์ในชั้นเรียน
เล่าถึงกระบวนการพิจารณาไล่นักเรียนออกจากโรงเรียน
เห็นว่าปีที่แล้วเชิญนักเรียนที่ไม่พร้อมออกไป 12 คน